เกาะติดการจับกุมรอชิด ฆอนนูชีย์ แกนนำกลุ่มอิสลามในตูนีเซีย [Ep.2]

สรุปสาระสำคัญจากบทความของชัยค์รอชิด ฆอนนูชีย์   รองประธานสหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ ( International  Union of  Muslim  Scholars ) และหัวหน้ากลุ่มนะฮ์เฎาะฮ์  ตูนีเซีย ***

——————————-

การที่พรรคหะรอกะฮ์นะฮ์เฎาะฮ์  ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่ใหญ่และทรงอิทธิพลที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลกอาหรับ และเป็นกลุ่มหลักในการทำให้เกิดประชาธิปไตยขึ้นในตูนีเซีย  ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ จากกลุ่มนักเคลื่อนไหวอิสลาม ที่จัดตั้งขึ้นในปี  1980  ทำงานด้านสังคม การศึกษา ขัดขืนคำสั่งของรัฐบาลเผด็จการในยุคนั้นที่กดขี่ทางศาสนาอย่างรุนแรง   กลายเป็นพรรคการเมืองที่ตัดขาด งดเว้นจากกิจกรรมอื่นๆทั้งหมดยกเว้นการเมือง

ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญ ปี 2014 ของตูนีเซียที่สมาชิกพรรคได้มีส่วนร่วมในการร่างด้วย ได้ประกันเสรีภาพในการนับถือและปฏิบัติศาสนกิจ รวมถึงการรักษาวัฒนธรรมอาหรับ จึงไม่มีเซคคิวลาร์ที่จะมาขัดขวางและกดขี่ศาสนาอิสลาม ทางกลุ่มจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องต่อสู้เพื่อการนี้อีก

ทั้งนี้ ในเมื่อความเป็นมุสลิมได้กำหนดกรอบการทำงานของเราไว้ การที่จะชี้ชัดว่าตูนีเซียใช้ปรัชญาเซคคิวลาร์หรืออิสลาม  เป็นสังคมมุสลิมหรือสังคมเซคคิวลาร์จึงไม่มีความจำเป็น เพราะรัฐธรรมนูญได้กำหนดบทบาทของศาสนาอิสลามไว้ชัดเจนแล้ว  ความคาดหวังของชาวตูนีเซียในยุคประชาธิปไตยจึงเกี่ยวข้องกับการแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งพรรคหะรอกะฮ์นะฮ์เฎาะฮ์  -พรรคที่มีส่วนร่วมเล็กๆในรัฐบาลผสม- ตระหนักและนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่างๆที่ชาวตูนีเซียปัจจุบันเผชิญอยู่

ผลจากการระดมสมองประเมินตนเองอยู่เสมอ นับตั้งแต่ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อ 35 ปีที่ผ่านมา รวมถึงการสอบถามความคิดเห็นสมาชิกกลุ่ม สมาชิกส่วนใหญ่มากกว่า 80 % เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามบริบทตูนีเซียที่เปลี่ยนแปลงจากเผด็จการสู่ประชาธิปไตย บริบทความขัดแย้งและความรุนแรงในภูมิภาคอาหรับ  ซึ่งหลายครั้ง มีความซับซ้อนยุ่งยาก อันเนื่องจากการตีความถึงความสัมพันธ์ที่ถูกต้องเหมาะสมระหว่างศาสนาและการเมือง  รวมถึงการพิสูจน์ให้เห็นว่าอิสลามสามารถไปด้วยกันได้กับประชาธิปไตย กลุ่มอิสลามสามารถมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยได้

กลุ่มนะฮ์เฎาะฮ์เดิมชื่อว่า กลุ่มอิตติญาฮ์อิสลามีย์ ใช้แนวคิดของหะซัน  บันนา ผู้นำอิควานอียิปต์ และมุศตอฟา  สิบาอีย์  ผู้นำอิควานสาขาซีเรีย  ต่อมาได้รับแนวคิดของ มาลิก  บินนบี  นักคิดจากมหาวิทยาลัยซัยตูนะฮ์  ตูนีเซีย และมุฮัมมัดตอเฮร์  บินอาชูร บิดาแห่งศาสตร์ด้านเจตนารมณ์กฎหมายอิสลาม โดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อนะฮ์เฎาะฮ์ในคราวจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองในยุคบินอาลี

จากการทำงานเพื่อศาสนาและสังคม ทำให้กลุ่มถูกกดขี่บีฑาโดยรัฐบาลเผด็จการ ทั้งโดนฆ่าและจำคุกมากมาย ทั้งในยุคของบูรกีบะฮ์ และบินอาลี

ในปี 2010 เกิดเหตุการณ์ประท้วงใหญ่จนสามารถโค่นอำนาจเผด็จการบินอาลี ลงไปได้  ทางกลุ่มก็ได้เข้าร่วมประท้วงในครั้งนี้กับชาวตูนีเซียทั่วไป และไม่ได้ใช้นามของสมาชิกกลุ่ม

หลังจากนั้น ในปี 2011 มีการเลือกตั้ง กลุ่มนะฮ์เฎาะฮ์ชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย จึงได้ร่วมกับพรรคเซคคิวลาร์ 2 พรรค ในการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ นับเป็นครั้งแรกในโลกอาหรับที่กลุ่มอิสลามกับกลุ่มเซคคิวลาร์สามารถจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติร่วมกันได้ 

แต่การเกิดความวุ่นวายและการลอบสังหารหลายๆ ครั้งประชาธิปไตยที่กำลังตั้งไข่ในตูนีเซีย จึงมีโอกาสถูกโค่นล้มได้ตลอดเวลา  ท่ามกลางความวุ่นวายดังกล่าว พรรคหะรอกะฮ์ ฯ ได้เลือกแนวทางการประนีประนอม แม้ว่าพรรคจะมีเสียงในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด แต่เพื่อความสงบของบ้านเมืองและเพื่อให้ฝ่ายปฏิวัติประชาชนสามารถดำรงอยู่ได้ พรรคจึงยินดีเสียสละอำนาจปกครองให้แก่กลุ่มแทคโนแครตที่เป็นคนกลาง ยอมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบการปกครอง แทนการหันหลังไม่ยุ่งเกี่ยวการเมืองหรือการต่อสู้ด้วยความรุนแรง

พรรคเสียสละยอมให้ตัดถ้อยคำ “หลักชะรีอะฮ์เป็นที่มาหนึ่งของกฎหมาย” ในร่างรัฐธรรมนูญ  แต่ยืนยันในเรื่องการเป็นนิติรัฐ สิทธิทางแพ่ง สิทธิทางการเมือง สังคม  เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม  และยังยอมให้ใช้ระบบประธานาธิบดีผสมระบบรัฐสภา ทั้งๆที่พรรคเห็นด้วยกับระบบรัฐสภามากกว่า

ต่อมา ในการเลือกตั้งปี 2014 พรรคแพ้การเลือกตั้งให้แก่พรรคเสียงตูนีเซีย ซึ่งเป็นฝ่ายขวากลาง ที่ตั้งขึ้นในปี 2012 พรรคได้เข้าร่วมในรัฐบาลผสมในฐานะหุ้นส่วนเล็กๆ  เพื่อการส่วนในการสถาปนารัฐธรรมนูญที่มั่นคง  แม้ว่าจะมีความเห็นไม่สอดคล้องกันทุกเรื่องไป แต่ความเป็นพันธมิตรก็ยังอยู่  เป็นบริบททางการเมืองของพรรคหะรอกะฮ์นะฮ์เฎาะฮ์ สำหรับการก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตยอิสลามของตูนีเซีย

การแยกระหว่างศาสนากับรัฐ

ในการประชุมพรรคครั้งที่ 10  เมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมา  หลังจากที่พิจารณาแล้วว่าตูนิเซียผ่านพ้นยุคเผด็จการสู่ยุคประชาธิปไตยและเสรีภาพทางศาสนาได้รับการประกัน พรรคมีมติยกเลิกงานด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นงานสังคม  การศึกษา  วัฒนธรรมหรืออื่นๆ  ยกเว้นงานด้านการเมือง  พรรคเห็นว่าควรแบ่งพันธกิจของแต่ละองค์กรให้ชัดเจน  ไม่ควรมีพรรคการเมืองที่อ้างตนว่าเป็นตัวแทนทางศาสนา  เพราะพรรคเชื่อว่า นักการเมืองไม่เหมาะที่จะไปดำรงตำแหน่งในองค์กรทางศาสนาหรือองค์กรการกุศล  องค์กรทางศาสนาควรเป็นองค์กรอิสระและเป็นกลาง ไม่ควรที่จะมีมัสยิดหรือผู้นำศาสนาที่สังกัดพรรคการเมือง  พรรคเชื่อว่ามัสยิดควรเป็นสถานที่สร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน ไม่ใช่สถานที่แบ่งแยกสร้างความห่างเหิน

การแยกระหว่างศาสนากับการเมืองในลักษณะดังกล่าว  จะทำให้บุคลากรด้านศาสนาที่ทำงานเต็มเวลามีโอกาสพัฒนาตนเองให้มีขีดความสามารถทันต่อเหตุการณ์และตอบโจทย์สังคมร่วมสมัยได้  เนื่องจากสภาพการขาดบุคลากรดังกล่าว ในยุคกดขี่ข่มเหงทางศาสนาในอดีต ไม่มีองค์กรใดที่เผยแพร่ศาสนาอิสลามสายกลาง ไม่สุดโต่ง กลุ่มนะฮ์เฎาะฮ์ในยุคนั้นจึงต้องทำงานอย่างหนัก

การประชุมพรรคครั้งนั้นมีมติด้านยุทธศาสตร์ที่มีเป้าประสงค์เพื่อเอาชนะอุปสรรคปัญหาระดับชาติของตูนีเซีย โดยเน้นการร่างรัฐธรรมนูญ ความเป็นธรรมช่วงเปลี่ยนผ่าน  การปฏิรูปหน่วยงานของรัฐ  การปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ  การผนึกกำลังหลายมิติและหลายฝ่ายเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย  และธรรมาภิบาลองค์กรศาสนาอิสลาม

ปัจจุบันพรรคไม่ได้ถูกมองว่าเป็นพรรคศาสนาอิสลาม  แต่เป็นพรรคของมุสลิมที่เป็นนักประชาธิปไตย ที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาของชาวตูนีเซียด้วยหลักการอิสลาม

ในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ  พรรคฯจะเน้นการสานเสวนาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนหลักการ “ทุนนิยมที่มีมนุษยธรรม” ซึ่งหมายถึงระบบเศรษฐกิจเสรี ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันทางสังคมและโอกาส รวมถึงการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม  การให้สถาบันการเงินเปิดโอกาสทางการลงทุนแก่ผู้ประกอบการใหม่  การลงทุนขนาดเล็ก  การส่งเสริมผู้ประกอบการวัยหนุ่มสาว  และปฏิรูปการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการของตลาด

นอกจากนั้น พรรคยังเชื่อว่าการพัฒนาประชาธิปไตยในตูนีเซียยังขึ้นอยู่กับการกำจัดอุปสรรคที่มาขัดขวางบทบาทสตรีในทุกๆด้าน  ตลอดจนการส่งเสริมความเสมอภาคและรักษาสิทธิของสตรี  ในการนี้พรรคได้เรียกร้องให้แต่ละพรรคเสนอบัญชีรายชื่อผู้สมัครชายและหญิงจำนวนเท่ากัน   และให้เพิ่มวันลาหยุดงานแก่แม่ที่คลอดบุตรมากขึ้น

การที่ไอสิสมีผู้เข้าร่วมมากมายก็เพราะสังคมมุสลิมทั่วไปในโลกอาหรับถูกกีดกันและตกอยู่ในสภาพสิ้นหวัง  เมื่อไอสิสมาพร้อมกับความหวัง  กลุ่มเยาวชนจึงตอบรับกันอย่างกว้างขวาง

ฉะนั้น  การกวาดล้างกลุ่มไอสิสให้สิ้น  จึงไม่ใช่การใช้ความรุนแรง  แต่เป็นการสถาปนาประชาธิปไตยอิสลามที่เคารพสิทธิส่วนบุคคล   ความเสมอภาคในด้านสังคมและเศรษกิจ  รวมถึงการทำนุบำรุงวัฒนธรรมและค่านิยมอาหรับและอิสลาม

#เกาะติดการจับกุมรอชิด_ฆอนนูชีย์

*** อ่านบทความต้นฉบับ

ภาษาอาหรับ

https://www.noonpost.com/content/13567

อังกฤษ

https://www.foreignaffairs.com/…/political-islam-muslim…


โดย Ghazali Benmad

เกาะติดการจับกุมรอชิด ฆอนนูชีย์ แกนนำกลุ่มอิสลามในตูนีเซีย [Ep.1]

โนอาห์ เฟลด์แมน ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายชื่อดังของฮาร์วาร์ดกล่าวถึงรอชิด ฆอนนูชีย์ หัวหน้าของกลุ่มเอนนาห์ดา ว่าเป็น “หนึ่งในนักประชาธิปไตยอิสลามคนสำคัญในโลก”

ในบทความที่ตีพิมพ์โดยบลูมเบิร์ก และหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์  เฟลด์แมนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจับกุมรอชิด ฆอนนูชีย์  โดยกล่าวว่า; ตูนิเซียเคลื่อนย้ายจากประชาธิปไตยอาหรับสปริงไปสู่เผด็จการด้วยการจับกุมและคุมขังรอชิด ฆอนนูชีย์  นักประชาธิปไตยอิสลามิสต์คนสำคัญของโลกและเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคฝ่ายค้านที่สำคัญที่สุดของประเทศ”

เฟลด์แมนกล่าวในบทความหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ว่า “เป็นข่าวที่น่าตกใจสำหรับเกิดขึ้นกับระบอบประชาธิปไตยแบบอาหรับเพียงหนึ่งเดียวที่ยังใช้งานได้”

เฟลด์แมนซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านความคิดอิสลามจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในปี 1994 เชื่อว่า การเคลื่อนไหวเพื่อจับกุม รอชิด ฆอนนูชีย์ เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวของประธานาธิบดีกัยส์ สะอีด เพื่อกำจัดเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองและปราบปรามประชาธิปไตยในตูนิเซีย  ที่ตามมาด้วยการปิดสำนักงานใหญ่ของพรรคเอ็นนาห์ดา ซึ่งนำโดยรอชิด ฆอนนูชีย์  และฝ่ายต่อต้านสะอีด ที่เรียกว่า “Salvation Front ขบวนการปลดปล่อย”

เฟลด์แมนกล่าว; รอชิด ฆอนนูชีย์ เป็นผู้นำมุสลิมคนสำคัญที่สุดที่คุณไม่เคยได้ยินชื่อ

เรื่องราวชีวิตที่น่าทึ่งของรอชิด ฆอนนูชีย์  ประกอบด้วยเรื่องราวของการใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงปี 1980 ในคุกเพราะต่อต้านเผด็จการตูนิเซีย จากนั้นลี้ภัยเป็นเวลา 2 ทศวรรษ รอชิด ฆอนนูชีย์กลับมายังตูนีเซียในปี 2011 หลังจากอาหรับสปริงได้เปิดศักราชใหม่ ในปีต่อมา ฆอนนูชีย์ได้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยของประเทศที่นำโดยเอนนาห์ดา และยังเข้าร่วมในรัฐบาลยุคอาหรับสปริง

เฟลด์แมนกล่าวต่อไปว่า “ในช่วงที่เขาถูกเนรเทศ ฆอนนูชีย์ นักอิสลามสมัยใหม่ได้พัฒนาหลักทฤษฎีที่ว่า อิสลามและประชาธิปไตยเข้ากันได้อย่างไร และสอดคล้องกันได้อย่างไร หัวใจสำคัญของทฤษฎีนี้คือหลักการที่อิสลามประณามการบีบบังคับทุกชนิดรวมถึงการบังคับทางศาสนา “ในแง่นี้ ตาม ทัศนะของฆอนนูชีย์ “รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ไม่ควรกำหนดกฎหมายทางศาสนา”  แต่ฆอนนูชีย์เสนอว่า  “นักการเมืองอิสลามิสต์ควรสนับสนุนรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญที่มีแนวคิดเสรีนิยม ซึ่งปกป้องเสรีภาพทางศาสนาและอนุญาตให้พรรคการเมืองต่างๆ รับแรงบันดาลใจจากค่านิยมทางศาสนา”

เฟลด์แมนกล่าวต่อไปว่า  ฝ่ายต่อต้านแนวคิดหลักการนิยม-ฟันดาเมนทัลลิสม์- ไม่เชื่อทัศนะของฆอนนูชีย์ และยืนยันว่า “เราไม่ควรเชื่อพวกเขา”  เมื่อเอนนาห์ดาเริ่มมีส่วนร่วมในการเมืองตูนิเซียหลังอาหรับสปริง ฝ่ายตรงข้ามคาดการณ์อย่างน่ากลัวว่า “เมื่อได้ดำรงตำแหน่ง ฆอนนูชีย์จะยุติประชาธิปไตยและบังคับใช้หลักการอิสลาม” ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่อธิบายด้วยคำขวัญของเอนนาห์ดาที่ว่า  “หนึ่งคน หนึ่งเสียง หนึ่งครั้ง”

“ในทางกลับกัน” เฟลด์แมนกล่าว “ภายใต้การนำของฆอนนูชีย์นั้น เอนนาห์ดาทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการร่างรัฐธรรมนูญตูนิเซีย ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นฉันทามติของทุกฝ่าย รัฐธรรมนูญไม่มีระบุคำว่า “กฎหมายอิสลาม” อย่าว่าจะถึงขั้นบังคับใช้”

เฟลด์แมนกล่าวต่อไปว่า “ยิ่งไปกว่านั้น ฆอนนูชีย์ยังชี้นำให้พรรคของเขาค่อย ๆ กลายเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเรื่อย ๆ และอิสลามน้อยลงเรื่อย ๆ ในที่สุดพรรคก็ประกาศว่า ต้องการเป็นพรรคของมุสลิมประชาธิปไตยตามแบบอย่างของพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยในยุโรป เอนนาห์ดามีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งซึ่งประสบความสำเร็จมาก แต่ก็ค่อยๆลดลงในการเลือกตั้งทุกครั้งต่อมา”

เฟลด์แมนซึ่งพูดภาษาอาหรับได้คล่องยืนยันว่า ฆอนนูชีย์”เต็มใจที่จะเจรจาและสร้างพันธมิตรกับพรรคต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันในตูนิเซีย ทั้งหมดนี้แสดงถึงการทดลองรูปแบบหนึ่ง และการทดสอบว่าประชาธิปไตยแบบอิสลามเป็นไปได้จริงหรือไม่  ซึ่งคำตอบก็คือ เป็นได้และยังคงเป็นอยู่”

“คำเตือนถึงความเลวร้ายของลัทธิเผด็จการอิสลามได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง โดยการทดสอบประสบการณ์ทางการเมืองในโลกแห่งความเป็นจริง”

“ในความเป็นจริง ยิ่งเอนนาห์ดาเข้าร่วมในการเมืองตูนิเซียมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งกลายเป็นเสรีนิยมมากขึ้นเท่านั้น ในทางกลับกัน ประธานาธิบดีคนปัจจุบันซึ่งเป็นเผด็จการอำนาจนิยมนั้น เป็นเซคคิวลาร์กลายๆ ไม่ใช่อิสลามิสต์  และเป็นอดีตศาสตราจารย์ด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ” เฟลด์แมนกล่าวอีก

เฟลด์แมนอธิบายว่า ข้อกล่าวหา”ยุยงให้เกิดความวุ่นวาย” ที่กระทำต่อ ฆอนนูชีย์ ในขณะนี้ เป็นเพียง “การโมเม”

เฟลด์แมนกล่าวต่อไปว่า “ในปีที่ผ่านมา สะอีดพยายามฟื้นฟูตูนิเซียให้กลับคืนสู่สถานะก่อนอาหรับสปริงในฐานะรัฐพรรคเดียว หลังจากประกาศภาวะฉุกเฉินและยุบสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ เป็นรัฐธรรมนูญที่เพิ่มอำนาจของประธานาธิบดีด้วยการลอลงของอำนาจอื่น” โดยได้รับความเห็นชอบในการลงประชามติ ที่มีชาวตูนิเซียเพียง 30% เท่านั้นที่เข้าร่วม โดยฝ่ายค้านส่วนใหญ่คว่ำบาตร ”

เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นต่อประชาธิปไตยในประเทศ ฆอนนูชีย์ กล่าวในแง่การเมืองว่า “จินตนาการถึงตูนิเซียที่ไม่มีพรรคนี้หรือพรรคนั้น… ตูนิเซียไม่มีเอนนาห์ดา ตูนิเซียไม่มีอิสลามทางการเมือง ไม่มีฝ่ายซ้าย หรือองค์ประกอบอื่นใด มันเป็นโครงการสำหรับสงครามกลางเมือง”

การที่ฆอนนูชีย์กล่าวถึงสงครามกลางเมืองเป็นเหตุผลที่ชัดเจนในการถูกจับกุม

“ฆอนนูชีย์ ได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาว่าเขาเป็นคนรักสันติ  ข้อหายั่วยุเป็นเรื่องไร้สาระ การจับกุมฆอนนูชีย์ดังกล่าว บ่งชี้ว่าสะอีดพร้อมที่จะปิดปาก แม้แต่แกนนำฝ่ายค้านที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล”

เฟลด์แมนสรุปบทความ โดยกล่าวว่า: “สำหรับตัวฆอนนูชีย์เอง ชายผู้อ่อนโยนคนนี้ ที่เห็นความผันผวนในพัฒนาการของประเทศของเขา ยังไม่ท้อถอย “ฉันมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับอนาคต” “ตูนีเซียเสรี”  ฆอนนูชีย์กล่าวหลังจากที่ผู้พิพากษาสั่งให้เขาเข้าสู่กระบวนการการสอบสวนคดีที่รอดำเนินการ

เฟลด์แมนแสดงความคิดเห็นต่อคำกล่าวของฆอนนูชีย์ว่า : “คำกล่าวนี้ยังเป็นความจริงอยู่หรือไม่ ?”

#เกาะติดการจับกุมรอชิด_ฆอนนูชีย์


โดย Ghazali Benmad

21 บทเรียนจากแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่ตุรเคียและซีเรีย

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งยิ่งใหญ่ที่ตุรเคียและซีเรีย เมื่อเช้าตรู่ในวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023 เราสามารถถอดบทเรียนอันมากมาย ส่วนหนึ่งสรุปได้ดังนี้

  1. ชาวเอทิสต์ร้องโอดครวญใต้ซากปรักหักพังว่า : โอ้อัลลอฮ์ โอ้อัลลอฮ์ เพื่อยืนยันว่า ในขณะที่ไม่มีผู้ใดให้ความช่วยเหลือ มนุษย์โดยสัญชาติญาณจะรำลึกถึงพระผู้ทรงสร้างเสมอ
  2. หน่วยกู้ภัยสามารถรวบรวมเงินทองและทรัพย์สินใต้อาคาร ที่ถล่ม ซึ่งมีมูลค่าหลายสิบล้านดอลล่าร์ โดยไม่มีใครรู้ว่าใครคือเจ้าของ เงินทองเหล่านี้ถูกรวบรวมได้อย่างไร เพื่ออะไร และพวกเขาใช้เวลารวบรวมเป็นเวลานานกี่ปี
  3. เจ้าของตึกเช่า ไล่ลูกค้ารายหนึ่งที่ติดค่าเช่าหลายเดือน สุดท้ายตึกถล่มราบคาบเนื่องจากแผ่นดินไหว ทำให้ทั้งเจ้าของของตึกและลูกค้าคนนั้น ต้องอาศัยที่เต้นท์หลังเดียวกัน เพื่อสอนว่า ทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนไม่จีรัง ยกเว้นคำพูดและการกระทำที่ดีงาม
  4. ทหารนายหนึ่ง ถูกดึงออกจากซากปรักหักพังของอาคาร ในสภาพที่เขากำลังอ่านอัลกุรอาน
  5. ชาวตุรเคียคนหนึ่งถูกจับได้ หลังจากที่เขาสร้างดราม่าให้ผู้คนเข้าใจว่า มีชาวปากีสถานคนหนึ่งตัดข้อมือศพสตรีนางหนึ่งเพื่อขโมยกำไลมือที่นางสวมใส่ แต่ภายหลังถูกจับได้ว่า เป็นฝีมือของเขาเอง และมีข่าวที่มีกลุ่มคนร้ายที่ถือโอกาสขโมยสิ่งของช่วงโกลาหลนี้ เพื่อให้บทเรียนว่า มนุษย์ที่มีจิตใจชั่วช้า สามารถกระทำได้ทุกอย่างเหนือจินตนาการ
  6. มีเจ้าของห้างสรรพสินค้าชาวตุรเคียรายหนึ่ง บริจาคสินค้าหมดร้านเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเหยื่อแผ่นดินไหวครั้งนี้ เพื่อสอนบทเรียนว่า ตุรเคียไม่เคยสิ้นคนดี

https://www.facebook.com/watch/?v=716676673270721

7. มีกลุ่มทรชนที่อำพรางเป็นหน่วยกู้ภัย แต่ที่แท้ไปปล้นขโมยทรัพย์สินของพี่น้องที่ตกทุกข์ได้ยาก พร้อมใช้วาจาดูถูกเหยียดหยามคนที่กำลังเดือดร้อน เพื่อสอนบทเรียนว่า หากมนุษย์ไร้มนุษยธรรมและจริยธรรม เขาคือฝูงสัตว์สองขาดี ๆ นี่เอง

8. สตรีชาวตุรเคียนางหนึ่ง ปฏิเสธออกจากซากปรักหักพัง จนกว่าจะได้รับเสื้อผ้าและชุดฮิญาบ เพื่อปกปิดร่างกายของนางให้มิดชิดเสียก่อน เพื่อยืนยันถึงคุณค่าที่คู่ควรของสตรีมุสลิมะฮ์ที่ยืนหยัดกับคำสอนในอิสลาม แม้กระทั่งในช่วงเวลาที่ยากลำบากก็ตาม

9. เด็กหญิงซีเรียคนหนึ่ง  หลังจากต้องอาศัยใต้ซากปรักหักพังนานกว่า 24 ชั่วโมง จนกระทั่งหน่วยกู้ภัยสามารถช่วยเหลือได้อย่างปลอดภัย หนูน้อยกลับอุทานว่า โอ้อัลลอฮ์ ฉันไม่ละหมาดเป็นเวลา 1 วันแล้ว เพื่อให้บทเรียนว่า การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ช่างมีอิทธิพลอันใหญ่หลวงต่อการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความยำเกรงและความศรัทธาของลูกหลาน

10. พบศพสาวซีเรียคนหนึ่ง ในมือขอนางมีกระดาษเขียนข้อความว่า โอ้อัลลอฮ์ ฉันขอมอบบิดาของฉันให้อยู่ในความดูแลของพระองค์  แทนคำดุอาว่า โอ้อัลลอฮ์ โปรดให้ฉันปลอดภัยด้วย  เพื่อสอนบทเรียนว่า ความรักของลูกสาวที่มีต่อบิดา ช่างยิ่งใหญ่เหลือเกิน

11. สตรีชาวตุรเคียนางหนึ่งอุ้มลูกสาวเพื่อนบ้านโดยนึกว่าเป็นลูกสาวของตัวเอง จนกระทั่งเมื่อเหตุการณ์สงบ นางเพิ่งรู้ว่า ลูกน้อยที่อยู่ในอ้อมกอดตัวเองคือลูกของเพื่อนบ้าน ส่วนลูกตัวเองเสียชีวิตใต้ซากปรักหักพัง เพื่อสอนให้เรารำลึกความโกลาหลของวันกิยามะฮ์ที่อัลกุรอานระบุว่า ทุกคนตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้กระทั่งหญิงมีครรภ์ ก็คลอดลูกโดยไม่รู้ตัว

12. หนุ่มคนหนึ่งกลับเยี่ยมพ่อแม่ที่บ้าน และเขาเสียชีวิตพร้อมกับพ่อแม่  ในขณะที่อีกครอบครัวหนึ่ง พ่อแม่เยี่ยมลูกชาย พวกเขามีความรักที่มากล้น จนกระทั่งความตายได้ผนวกรวมพวกเขา

13. คุณแม่ท้องแก่คนหนึ่ง คลอดลูกใต้ซากปรักหักพัง เธอเสียชีวิตในขณะที่ลูกรอดตายราวปาฏิหารย์ในสภาพที่สายสะดือกำลังติดกับท้องแม่ เพื่อยืนยันความเดชานุภาพของพระผู้ทรงสร้าง

https://www.facebook.com/aljazeera.net/videos/582877377031911/

14. เด็กสาวคนหนึ่งร้องช่วยชีวิตว่า ช่วยหนูด้วย  หนูยินดีรับใช้ท่านชั่วชีวิต เพื่อแสดงให้ชาวโลกรับทราบว่า การมีลมหายใจ ช่างมีคุณค่ามากมายเหลือเกิน

15. เด็กน้อยหลายรายรอดชีวิตหลังอยู่ใต้ซากปรักหักพังเป็นเวลาหลายร้อยชั่วโมง เพื่อเป็นที่ประจักษ์ว่า ความเมตตาที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ช่างมหาศาลเหลือเกิน

16. มีผู้คนนับพันเป็นผู้สูญหาย ไม่มีใครทราบตัวตนและชะตากรรมของพวกเขา นอกจากอัลลอฮ์ที่เก็บแฟ้มประวัติของพวกเขาอย่างละเอียดละออ

17. เหยื่อแผ่นดินไหวหลายรายที่เสียชีวิตในสภาพที่แสดงนิ้วชี้อย่างยืนหยัดเพื่อยืนยันถึงเอกภาพของอัลลอฮ์

18. ทีมกู้ภัยคนหนึ่งช่วยชีวิตแมวตัวหนึ่งที่ติดใต้ซากปรักหักพังเป็นเวลานานหลายวันแล้ว มันจึงตอบแทนบุญคุณผู้ช่วยชีวิตด้วยการตามติดชายคนนั้นชนิดไม่ยอมห่าง หากมันพูดได้ มันคงพูดว่า ฉันพร้อมเป็นทาสนายตลอดชีวิต เพื่อเป็นอุทาหรณ์ว่า หากแมวรู้จักตอบแทนบุญคุณถึงระดับนี้ แล้วมนุษย์จะไม่ยอมตอบแทนบุญคุณความเอื้ออารีของพระผู้ทรงสร้างได้อย่างไร

19. ชายมีอายุคนหนึ่งได้รับการช่วยเหลือจากทีมกู้ภัย โดยเขาคลานออกมาจากใต้ซากปรักหักพังในสภาพที่มือคีบบุหรี่พร้อมสูบบุหรี่อย่างสนุกปาก เพื่อแสดงว่า ชาวตุรเคียและซีเรียตกเป็นทาสของบุหรี่ชนิดเข้าในเส้นเลือด ขออัลลอฮ์ทรงช่วยเหลือพวกเขาให้รอดพ้นจากควันพิษนี้ โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตภายใต้การดูแลของผู้นำอย่างแอร์โดอาน

https://www.facebook.com/watch/?v=3373646519545319

20. ประธานาธิบดีแอร์โดอานประกาศรับบริจาคทั่วประเทศภายใต้สโลแกน “ ตุรเคีย รวมใจให้เป็นหนึ่ง” หลังรณรงค์เพียงแค่ 1 ชั่วโมง พวกเขาสามารถรวบรวมเงินบริจาคกว่า 5.5 พันล้านดอลล่าร์  แสดงว่าชาวตุรเคียเชื่อมั่นรัฐบาลและผู้นำของพวกเขาอย่างเหนียวแน่น

21. แอร์โดอานเพิ่งประกาศเยียวยาและทดแทนเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้อย่างเร่งด่วน และให้คำมั่นว่ารัฐบาลพร้อมชดเชยความเสียหายและติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด เพื่อให้โลกรู้ว่าตุรเคียพร้อมลุกขึ้นอย่างเข้มแข็งและพร้อมบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง  เพื่อปฏิบัติภารกิจในฐานะรัฐบาลโดยแท้จริง

ขออัลลอฮ์ได้โปรดประทานความเมตตาแก่ผู้เสียชีวิตและทรงรักษาเยียวยาผู้บาดเจ็บและประทานความอดทนแก่ญาติผู้สูญเสียพร้อมทดแทนแก่พวกเขาด้วยสิ่งทดแทนที่ดีงาม

وحسبنا الله ونعم الوكيل ولاحول ولا قوة إلا بالله العلي العظيم وانا لله وإنا اليه راجعون ولا حول ولا قوة إلا بالله العلي العظيم.غفرالله لنا ولكم ووالديكم ووالدينا وجميع المسلمين

https://www.facebook.com/Mazlan.Muhammad.YIU/videos/760304675640601

ร่วมช่วยเหลือ
เหยื่อแผ่นดินไหวตุรเคีย & ซีเรีย 2023 ได้ที่

ธนาคารอิสลาม

เลขบัญชี : 054-1-25763-3
ชื่อบัญชี : กองทุนเรือนร่างเดียวกันเพื่อมนุษยธรรม (The One Body Foundation)


โดย Mazlan Muhammad

นิยามอิสลาม คุณลักษณะอิสลาม 18 ประการ [ตอนที่ 2]


คำถาม: “ในยุคของเรา มีการเรียกร้องสู่ที่อิสลามแตกต่างกันไป เราอยากให้ท่านให้รายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะของศาสนาอิสลามที่ท่านเรียกร้อง เพื่อไม่ให้เราสับสน”

คำตอบ โดยเชคยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์


10- ศาสนาอิสลามยืนยันสิทธิของประชาชนในการเลือกผู้ปกครอง ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้บีบบังคับให้ประชานยอมรับผู้ปกครองที่ประชาชนไม่เห็นด้วย  อีกทั้งประชาชนมีสิทธิที่จะติดตามและตรวจสอบผู้ปกครอง และจำเป็นต้องให้คำแนะนำและช่วยเหลือแก่ผู้ปกครอง

รวมถึงต้องเชื่อฟังในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม

หากผู้ปกครองสั่งการในสิ่งผิด ก็จะไม่มีการเชื่อฟัง สำหรับผู้ปกครองที่เฉไฉออกไปจากความถูกต้อง ประชาชนต้องแนะนำและชี้แนะ  หากทำไม่ได้ก็ต้องปลีกตัว

ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะเป็นรัฐอิสลาม แต่ไม่ใช่รัฐศาสนาตามที่ตะวันตกรู้จักในยุคกลาง  หากทว่าเป็นรัฐที่ตั้งอยู่บน “การบัยอะฮ์” (ความยินยอมของมวลประชาชน) “การชูรอ” (ปรึกษาหารือ)  เป็นนิติรัฐภายใต้กฎหมายที่รัฐไม่ได้เป็นผู้บัญญัติขึ้นมาเอง

รัฐอิสลามไม่ได้ปกครองโดยนักวิชาการศาสนา  แต่ปกครองโดยผู้มีความรู้ความสามารถและมีความซื่อสัตย์สุจริต ที่หากอัลลอฮ์ประทานอำนาจทางโลกให้  พวกเขาจะดำรงการละหมาด จ่ายซะกาต กำชับความดีและหักห้ามความชั่ว

11- อิสลามปกป้องรักษาทรัพย์ และเห็นว่าทรัพย์สินเป็นรากฐานของชีวิตผู้คน เป็นกระดูกสันหลังของชีวิต

หากไม่มีทรัพย์สิน การสร้างสรรค์โลกก็จะไม่ประสบความสำเร็จ รวมถึงไม่สามารถช่วยเหลืออุปถัมภ์ศาสนาได้

ทรัพย์สินเป็นพรที่ต้องขอบคุณ  และเป็นความไว้วางใจที่ต้องรักษา  เป็นการทดสอบที่อัลลอฮ์ทดสอบผู้คนด้วยสิ่งที่พระองค์ประทานให้แก่พวกเขา 

ด้วยเหตุนี้จึงต้องแสวงหาทรัพย์สิน และพัฒนาด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ตลอดจนให้ปฏิบัติพันธะหน้าที่ของมัน และปกป้องจากความฟุ่มเฟือยและการละเลย โดยเฉพาะทรัพย์สินสาธารณะ ซึ่งในศาสนาอิสลามมีความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง เช่นเดียวกับความศักดิ์สิทธิ์ของทรัพย์สินของเด็กกำพร้า 

อิสลามเคารพกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล แต่กำหนดเงื่อนไขและพันธะต่างๆ โดยใช้กฎหมายและคำสอนเป็นแนวทางนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางสังคม

12- ศาสนาอิสลามให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดูแลกลุ่มที่อ่อนแอด้อยโอกาสในสังคม  ทั้งกรรมกร ชาวนา ผู้ใช้แรงงาน และพนักงานรายย่อย 

บุคคลเหล่านี้ถือเป็นเครื่องมือในการผลิตในยามสงบสุข และในยามสงคราม

อิสลามรักษาสิทธิของคนเหล่านั้นในเรื่องค่าจ้างและหลักประกันในการคุ้มครองการทำงาน  ตามความสามารถของแต่ละคน  ตามงานและความจำเป็นของเขา 

ศาสนาอิสลามยังดูแลผู้ที่ไม่สามารถทำงาน หรือผู้ที่ค่าจ้างไม่เพียงพอ  ทั้งในกรณีคนจน, คนขัดสน, เด็กกำพร้า และผู้เดินทาง

คนเหล่านี้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือเป็นช่วงๆ และเป็นประจำ จาก”ซะกาต” และ “ทรัพย์สินอื่นจากซะกาต” โดยการเอามาจากทรัพย์สินของบุคคลที่มีความสามารถ และเอามาจาก”ฟัยอ์-ทรัพย์สินที่ยึดมาจากสงคราม  และทรัพย์สินอื่นๆของรัฐ 

อิสลามทำงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย จึงจำกัดการเอาเปรียบของคนรวย และยกระดับคนจน

อิสลามไม่ยอมรับให้สังคมของตนมีบุคคลหนึ่งนอนอย่างอิ่มหนำสำราญ ในขณะที่เพื่อนบ้านข้างเคียงหิวโหย และเชื่อว่ารัฐมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการดูแลสิ่งเหล่านี้

13- อิสลามเชื่อว่าไม่ผิดที่มุสลิมจะรักบ้านเกิดเมืองนอนและภูมิใจในมาตุภูมิ  รวมทั้งการรักและห่วงไยเพื่อนร่วมชาติ

ชาตินิยม เผ่าพันธุ์นิยมจึงไม่ใช่สิ่งผิด ตราบใดที่ไม่ต่อต้านคำสอนอิสลาม หรือปฏิเสธอิสลาม

14- อิสลามเผชิญหน้าความคิดด้วยความคิด เผชิญกับข้อกังขาสงสัยด้วยการโต้แย้ง ไม่มีการบังคับในศาสนา หรือการบังคับในความคิด  อิสลามปฏิเสธการใช้วิธีการรุนแรงและการก่อการร้าย  ไม่ว่าจะมาจากผู้ปกครองหรือจากผู้อยู่ใต้ปกครอง  รวมถึงเชื่อมั่นในการสานเสวนาที่สร้างสรรค์และมีจุดมุ่งหมายซึ่งช่วยให้แต่ละฝ่ายได้แสดงออกซึ่งตัวตนอย่างชัดเจน ในกรอบของความตรงประเด็นและรักษาจรรยาบรรณความเห็นต่าง 

15- อิสลามเชื่อว่าอัลลอฮ์สร้างคนให้มีความแตกต่างกัน.

16- อิสลามไม่พอใจกับการยกย่องอารยธรรมอันรุ่งโรจน์ของตนในอดีตแต่เพียงอย่างเดียว แต่ให้ทำงานเพื่อสร้างอารยธรรมอิสลามร่วมสมัย ที่รับเอาส่วนดีที่สุดของอารยธรรมร่วมสมัย เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  การจัดการและการจัดองค์กรที่ดี พร้อมๆกับการรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมของตนเองไว้

17- ศาสนาอิสลามไม่ได้ให้ความสำคัญสูงสุดกับการบังคับใช้กฎหมายในเชิงรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของบทลงโทษต่างๆ ทั้งหุดู๊ดและกิศ๊อศ  แม้ว่าจะเป็นส่วนที่ละเมิดไม่ได้ในบทบัญญัติของชารีอะห์ก็ตาม

18- อิสลามเชื่อว่า มวลมุสลิมไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ล้วนเป็นประชาชาติเดียวกัน มุสลิมผู้อ่อนแอต่ำต้อยที่สุดก็มีสิทธิเท่าเทียมกับผู้อื่น  และล้วนเป็นพี่น้องกัน รวมกันเป็นหนึ่งด้วยความศรัทธาเดียวกัน กิบลัต(ทิศละหมาด)เดียวกัน และเชื่อในคัมภีร์เล่มเดียวกัน  ศาสดาเดียวกัน และบทบัญญัติเดียวกัน


แปลสรุปโดย ผศ.ดร.Ghazali Benmad

ประเทศยุโรปที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอุษมานียะฮ์

ประเทศยุโรปที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอุษมานียะฮ์

1. บัลเกเรีย 545 ปี

2. มอนเตเนโกร 539 ปี

3. โครเอเชีย 539 ปี

4. โคโซโว 539 ปี

5. บอสเนีย เฮิร์เซโกวินา 539 ปี

6. มาซิโดเนีย 490 ปี

7. โรมาเนีย 490 ปี

8. มอลโดวา 490 ปี

9. เซอร์เบีย 400 ปี

10. กรีก 400 ปี

11. จอร์เจีย 400 ปี

12. ยูเครน 308 ปี

13. ไซปรัสใต้ 293 ปี

14. ไซปรัสเหนือ 293 ปี

15. ดินแดนรัสเซียทางตอนใต้ 291 ปี

16. สโลวิเนีย 250 ปี

17. ฮังการี 160 ปี

18. อาเซอร์ไบจาน 25 ปี

19. อาร์เมเนีย 20 ปี

20. สโลวาเกีย 20 ปี


อ้างอิง :

แปลโดย Mazlan Muhammad

นิยามอิสลาม คุณลักษณะอิสลาม 18 ประการ [ตอนที่ 1]


คำถาม: “ในยุคของเรา มีการเรียกร้องสู่ที่อิสลามแตกต่างกันไป เราอยากให้ท่านให้รายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะของศาสนาอิสลามที่ท่านเรียกร้อง เพื่อไม่ให้เราสับสน”

คำตอบ โดยเชคยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์


1- อิสลามสื่อสารกับปัญญา และอาศัยปัญญาในการทำความเข้าใจศาสนาและสร้างสรรค์โลก

อิสลามเรียกร้องสู่วิทยาศาสตร์ อีกทั้งเรียกร้องให้มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และนำวิธีการที่ทันสมัยที่สุดมาใช้  และทำตามหลักวิทยาศาสตร์ในทุกด้าน

การคิดการคิดใคร่ครวญเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง

การแสวงหาความรู้ทุกประการที่สังคมมีความจำเป็นถือเป็นพันธกรณีระดับฟัรดู

ความล้าหลังทางวิทยาศาสตร์ ถือเป็นความผิดและอาชญากรรมร่วมสมัย

2- อิสลามที่เรียกร้องสู่การอิจติฮาด-วิเคราะห์สังเคราะห์-และนวัตกรรม ต่อต้านการยึดติดและการลอกเลียนแบบ  อีกทั้งเชื่อมั่นในการก้าวให้ทันความก้าวหน้าและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

ชะรีอะฮ์ไม่มีปัญหากับสิ่งใหม่ ๆ และไม่อับจนหนทางในการแก้ไขปัญหาใด ๆ  แต่เป็นความบกพร่องทางความรู้หรือเจตจำนงความมุ่งมั่นของชาวมุสลิม 

ในสมัยของเรา การอิจติฮาดได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้ เป็นสิ่งจำเป็นตามบทบัญญัติศาสนาและตามสภาพความเป็นจริงของสังคม  ผู้ที่มีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการอิจติฮาดแบบคัดเลือก หรือการอิจติฮาดเชิงสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือองค์คณะ การอิจติฮาดบางส่วนหรือทั้งหมดทุกประเด็น

3- ศาสนาอิสลามมีอัตลักษณ์ในความเป็นทางสายกลางในทุกสิ่ง และบัญญัติให้ทางสายกลางเป็นหนึ่งในคุณลักษณะพื้นฐานของประชาชาติอิสลาม

อิสลามเป็นความสมดุลเชิงบวกในทุกด้าน ทั้งด้านความเชื่อและการปฏิบัติ ด้านวัตถุธรรมและนามธรรม ให้ความสมดุลระหว่างจิตวิญญาณและวัตถุธาตุ ระหว่างสติปัญญาและจิตใจ ระหว่างโลกนี้และโลกหน้า  ระหว่างสิทธิและหน้าที่   และอื่น ๆ  ตลอดจนสร้างสมดุลที่ยุติธรรมระหว่างปัจเจกและสังคม โดยมิให้ปัจเจกบุคคลได้รับสิทธิและเสรีภาพมากเกินไปจนกระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมเหมือนสิ่งที่ทุนนิยมกระทำ แต่ก็ไม่ได้ให้อำนาจให้สังคมครอบงำและกดดันปัจเจกให้เหี่ยวเฉา ไร้แรงจูงใจและความทุ่มเท  ดังเช่นที่ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิสังคมนิยมสุดโต่งกระทำ

4- อิสลามมีลักษณะเป็นสัจนิยม ( Realism ) มองโลกตามความเป็นจริง  ไม่ได้ลอยอยู่ในโลกของอุดมคตินิยม และไม่ปฏิบัติต่อมนุษย์เหมือนเป็นเทวดา แต่เป็นมนุษย์ที่มีผิดมีถูก ยอมรับในความอ่อนแอของมนุษย์

อิสลามจึงส่งเสริมความดีและยับยั้งความชั่ว กำหนดบทลงโทษ เปิดประตูแห่งการกลับใจ  ยอมรับเหตุผลข้อจำกัด  บัญญัติการลดโทษและข้อยกเว้นในกรณีต่างๆ เช่น กรณีไม่เจตนา  หลงลืม หรือถูกบังคับ

อนุญาตให้ใช้หลักความเป็นจริงที่ต่ำกว่า เมื่ออุดมคติอันสูงส่งเป็นไปไม่ได้

5- อิสลามให้เกียรติผู้หญิง และถือว่าผู้หญิงเป็นบุคคลที่มีความสามารถเต็มตามกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่แห่งตน  อิสลามปกป้องดูแลผู้หญิงในฐานะลูกสาว ภรรยา และมารดา อีกทั้งเป็นสมาชิกของครอบครัวและสังคม ตลอดจนให้มีส่วนร่วมในศาสนพิธี  การเรียนรู้และในการทำงาน

6- อิสลามเชื่อว่าครอบครัวเป็นพื้นฐานของสังคม และการแต่งงานนั้นเป็นพื้นฐานของครอบครัว ดังนั้น ศาสนาอิสลามจึงเรียกร้อง ส่งเสริมสาเหตุ และขจัดอุปสรรคทางเศรษฐกิจออกจากเส้นทางของการสร้างครอบครัว ผ่านการศึกษาและการบัญญัติกฎหมาย  ปฏิเสธประเพณีจอมปลอมที่ทำให้การแต่งงานมีอุปสรรคและล่าช้า เช่น สินสอดทองหมั้นที่มีมูลค่าสูง  ความฟุ่มเฟือยในเรื่องของชำร่วย ของขวัญ  งานเลี้ยงและงานแต่งงาน รวมถึงการจัดเครื่องเรือน เครื่องนุ่งห่มและเฟอร์นิเจอร์  เครื่องประดับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

7- อิสลามให้ความสำคัญกับการศึกษาและการอบรมสั่งสอน  ยิ่งกว่ากฎหมาย   เพราะกฎหมายไม่ได้สร้างสังคม แต่สร้างโดยการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การชี้นำที่ลึกซึ้ง

พื้นฐานของการฟื้นฟูศิลปวิทยาและการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างคือ คนที่มีความคิดและมโนธรรม  มีศรัทธาและศีลธรรม และคนดีจึงเป็นพื้นฐานของสังคมที่ดี

8- อิสลามสร้างสังคมบนสายสัมพันธ์ของภราดรภาพและความสามัคคีในหมู่สมาชิกสังคม  ไม่มีที่สำหรับความขัดแย้งทางเชื้อชาติ  ความขัดแย้งทางศาสนา ความขัดแย้งทางชนชั้น หรือความขัดแย้งทางนิกาย. ทุกคนเป็นพี่น้องกันโดยพันธนาการของการเป็นบ่าวของอัลลอฮ์  และการเป็นบุตรของอาดัม

“إن ربكم واحد، وإن أباكم واحد”

“พระเจ้าของพวกท่านองค์เดียวกัน บรรพบุรุษของท่านคนเดียวกัน”

ความเห็นต่างระหว่างมนุษย์เป็นความประสงค์และปรีชาญาณของอัลลอฮ์ผู้ทรงฤทธานุภาพ และในวันแห่งการฟื้นคืนชีพพระองค์จะตัดสินความเห็นต่างระหว่างพวกเขา

9- อิสลามไม่ยอมรับโหราศาสตร์ และไม่มีชนชั้นนักบวชที่ผูกขาดศาสนาและมโนธรรมและปิดประตูการสื่อสารกับอัลลอฮ์ยกเว้นผ่านทางพวกเขา 

ในศาสนาอิสลาม คนทุกคนเป็นนักการศาสนา และไม่จำเป็นต้องมีคนกลางระหว่างคนกับพระเจ้า เพราะทุกคนอยู่ใกล้พระเจ้ายิ่งกว่าเส้นเลือดที่ลำคอ

นักปราชญ์ด้านศาสนาเป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น และการอ้างอิงถึงก็เฉกเช่นเดียวกับการอ้างอิงทุกคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของตน


เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ซีเอ็นเอ็น CNN

https://arabic.cnn.com/middleeast/2014/06/07/qardawi-islam

แปลสรุปโดย Ghazali Benmad

สตรีนางเดียวที่อัลกุรอานระบุชื่ออย่างชัดเจน

وَمَرْيَمَ ٱبْنَتَ عِمْرَٰنَ ٱلَّتِىٓ أَحْصَنَتْ فَرْجَهَا فَنَفَخْنَا فِيهِ مِن رُّوحِنَا وَصَدَّقَتْ بِكَلِمَٰتِ رَبِّهَا وَكُتُبِهِۦ وَكَانَتْ مِنَ ٱلْقَٰنِتِينَ ( التحريم/١٢)

ความว่า : และมัรยัมบุตรีของอิมรอน ผู้ซึ่งรักษาพรหมจารีของนาง แล้วเราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในนาง และนางได้ศรัทธาต่อบัญญัติต่าง ๆ แห่งพระเจ้าของนาง และ (ได้ศรัทธาต่อ) คัมภีร์ต่าง ๆ ของพระองค์ และนางจึงอยู่ในหมู่ผู้นอบน้อมภักดีทั้งหลาย

อิมามกุรฏุบีย์ ได้อธิบายสาเหตุที่อัลลอฮ์เรียกชื่อของนางมัรยัมในอัลกุรอานกว่า 30 ครั้ง และไม่เรียกสตรีท่านอื่นๆด้วยชื่อของนางในอัลกุรอาน เนื่องจากธรรมเนียมของชาวอาหรับ โดยเฉพาะบุคคลชั้นสูงเช่นกษัตริย์หรือผู้นำ จะไม่เรียกสตรีด้วยชื่อของนาง แต่จะเรียกฉายาหรือตามชื่อสามี ครั้นเมื่อชาวคริสเตียนได้ใส่ร้ายนางมัรยัมและบุตรชายของนางด้วยคำใส่ร้ายต่างๆนานา อัลลอฮ์จึงต้องการปกป้องนางด้วยเกียรติอันสูงส่งด้วยกล่าวชื่อจริงของนาง ถึงแม้จะฝืนธรรมเนียมของชาวอาหรับก็ตาม แถมยังใช้ชื่อนางเป็นหนึ่งในซูเราะฮ์ของอัลกุรอานอีกด้วย

‎الحكمة من التصريح باسم مريم في القرآن دون غيرها من النساء – إسلام ويب – مركز الفتوى


โดย Mazlan Muhammad

สตรีที่ได้รับการกล่าวถึงในอัลกุรอาน

1. นางฮาวา (อะอฺร็อฟ/189) 

{هُوَ ٱلَّذِى خَلَقَكُم مِّن نَّفۡسٍ وَٰحِدَةٍ وَجَعَلَ مِنۡهَا زَوۡجَهَا لِيَسۡكُنَ إِلَيۡهَاۖ فَلَمَّا تَغَشَّىٰهَا حَمَلَتۡ حَمۡلًا خَفِيفًا فَمَرَّتۡ بِهِۖ فَلَمَّآ أَثۡقَلَت دَّعَوَا ٱللَّهَ رَبَّهُمَا لَئِنۡ ءَاتَيۡتَنَا صَٰلِحًا لَّنَكُونَنَّ مِنَ ٱلشَّٰكِرِينَ}

ความว่า : “พระองค์นั้นคือผู้ที่ได้ทรงบังเกิดพวกเจ้าจากชีวิตเดียว และได้ทรงให้มีขึ้นจากชีวิตนั้น ซึ่งคู่ครองของชีวิตนั้น เพื่อชีวิตนั้นจะได้มีความสงบสุขกับนาง ครั้นเมื่อชีวิตนั้นได้สมสู่นาง นางก็อุ้มครรภ์อย่างเบา ๆ แล้วนางก็ผ่านมันไป ครั้นเมื่อนางอุ้มครรภ์หนัก เขาทั้งสองก็วิงวอนต่ออัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้าของเขาทั้งสองว่า ถ้าหากพระองค์ทรงประทานบุตรที่สมบูรณ์ให้ข้าพระองค์แล้ว แน่นอนข้าพระองค์ก็อยู่ในหมู่ผู้ขอบคุณ”

2. ภรรยานบีนูห์ (อัตตะห์รีม/10)

3. ภรรยานบีลูฏ (อัตตะห์รีม/10)

{ضَرَبَ ٱللَّهُ مَثَلًا لِّلَّذِينَ كَفَرُواْ ٱمۡرَأَتَ نُوحٍ وَٱمۡرَأَتَ لُوطٍۖ كَانَتَا تَحۡتَ عَبۡدَيۡنِ مِنۡ عِبَادِنَا صَٰلِحَيۡنِ فَخَانَتَاهُمَا فَلَمۡ يُغۡنِيَا عَنۡهُمَا مِنَ ٱللَّهِ شَيۡـًٔا وَقِيلَ ٱدۡخُلَا ٱلنَّارَ مَعَ ٱلدَّٰخِلِينَ}

ความว่า : อัลลอฮฺทรงยกอุทาหรณ์แก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาถึงภริยาของนูหฺ และภริยาของลู๊ฏ นางทั้งสองอยู่ภายใต้การปกครองของบ่าวที่ดีทั้งสองในหมู่ปวงบ่าวของเรา แต่นางทั้งสองได้ทรยศต่อเขาทั้งสอง ดังนั้นเขาทั้งสองจึงไม่สามารถช่วยเขาทั้งสองให้พ้นจากการลงโทษของอัลลอฮฺแต่ประการใด จึงมีเสียงกล่าวขึ้นว่า เจ้าทั้งสองจงเข้าไปในไฟนรกพร้อมกับบรรดาผู้ที่เข้าไปในมัน

4. ลูกสาวนบีลูฏ ( ฮูด/78-79)

{وَجَآءَهُۥ قَوۡمُهُۥ يُهۡرَعُونَ إِلَيۡهِ وَمِن قَبۡلُ كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ٱلسَّيِّـَٔاتِۚ قَالَ يَٰقَوۡمِ هَٰٓؤُلَآءِ بَنَاتِى هُنَّ أَطۡهَرُ لَكُمْۖ فَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَلَا تُخۡزُونِ فِى ضَيۡفِىٓۖ أَلَيۡسَ مِنكُمۡ رَجُلٌ رَّشِيدٌ ، قَالُواْ لَقَدۡ عَلِمۡتَ مَا لَنَا فِى بَنَاتِكَ مِنۡ حَقٍّ وَإِنَّكَ لَتَعۡلَمُ مَا نُرِيدُ}

ความว่า : “และกลุ่มชนของเขาได้มาหาเขา พวกเขารีบร้อนมายังเขา และก่อนหน้านั้นพวกเขาเคยทำความชั่ว เขากล่าวว่า กลุ่มชนของฉันเอ๋ย เหล่านี้คือลูกสาวของฉัน พวกนางนั้นบริสุทธิ์สำหรับพวกท่าน ดังนั้น พวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิดและอย่าทำให้ฉันขายหน้าต่อแขกของฉันเลย ไม่มีคนที่มีสติสัมปชัญญะในหมู่พวกท่านบ้างหรือ (ฮูด :78) พวกเขากล่าวว่า โดยแน่นอน ท่านรู้ดีว่า เราไม่มีสิทธิ์ในลูกสาวของท่าน และแท้จริงท่านรู้ดีถึงสิ่งที่เราปรารถนา (ฮูด :79)  ”

5. นางซาราห์ (อิบรอฮีม/37)

{رَّبَّنَآ إِنِّىٓ أَسۡكَنتُ مِن ذُرِّيَّتِى بِوَادٍ غَيۡرِ ذِى زَرۡعٍ عِندَ بَيۡتِكَ ٱلۡمُحَرَّمِ رَبَّنَا لِيُقِيمُواْ ٱلصَّلَوٰةَ فَٱجۡعَلۡ أَفۡـِٔدَةً مِّنَ ٱلنَّاسِ تَهۡوِىٓ إِلَيۡهِمۡ وَٱرۡزُقۡهُم مِّنَ ٱلثَّمَرَٰتِ لَعَلَّهُمۡ يَشۡكُرُونَ}

ความว่า : “โอ้พระเจ้าของเรา แท้จริงข้าพระองค์ได้ให้ลูกหลานของข้าพระองค์ พำนักอยู่ ณ ที่ราบลุ่มนี้โดยไม่มีพืชผลใดๆ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านอันเป็นเขตหวงห้ามของพระองค์ โอ้พระเจ้าของเรา เพื่อให้พวกเขาดำรงการละหมาด ขอพระองค์ทรงให้จิตใจจากปวงมนุษย์ มุ่งไปยังพวกเขา และทรงประทานปัจจัยยังชีพที่เป็นพืชผลแก่พวกเขาหวังว่าพวกเขาจะขอบคุณ”

6. นางฮาญัร ( ฮูด/71-73)

{وَٱمۡرَأَتُهُۥ قَآئِمَةٌ فَضَحِكَتۡ فَبَشَّرۡنَٰهَا بِإِسۡحَٰقَ وَمِن وَرَآءِ إِسۡحَٰقَ يَعۡقُوبَ ،  قَالَتۡ يَٰوَيۡلَتَىٰٓ ءَأَلِدُ وَأَنَا۠ عَجُوزٌ وَهَٰذَا بَعۡلِى شَيۡخًاۖ إِنَّ هَٰذَا لَشَىۡءٌ عَجِيبٌ ، قَالُوٓاْ أَتَعۡجَبِينَ مِنۡ أَمۡرِ ٱللَّهِۖ رَحۡمَتُ ٱللَّهِ وَبَرَكَٰتُهُۥ عَلَيۡكُمۡ أَهۡلَ ٱلۡبَيۡتِۚ إِنَّهُۥ حَمِيدٌ مَّجِيدٌ}

ความว่า : และภริยาของเขายืนอยู่ แล้วนางก็หัวเราะเราจึงแจ้งข่าวดีแก่นางด้วย (การได้บุตรชื่อ) อิสฮาก และหลังจากอิสฮากคือยะอ์กูบ (ฮูด:71) , นางกล่าวว่า โอ้ แปลกแท้ ๆ ฉันจะมีบุตรหรือ ขณะที่ฉันแก่แล้ว และนี่สามีของฉันก็แก่หง่อมแล้ว แท้จริงนี่เป็นเรื่องประหลาดแท้ (ฮูด :72) , พวกเขากล่าวว่า เธอแปลกใจต่อพระบัญชาของอัลลอฮ์หรือ ความเมตตาของอัลลอฮ์และความจำเริญของพระองค์จงประสบแด่พวกท่านโอ้ครอบครัว (ของอิบรฮีม) แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ได้รับการสรรเสริญ ผู้ทรงประเสริฐยิ่ง (ฮูด : 73)

7. ภรรยานบีซะกะรียา (มัรยัม/5)

{وَإِنِّى خِفۡتُ ٱلۡمَوَٰلِىَ مِن وَرَآءِى وَكَانَتِ ٱمۡرَأَتِى عَاقِرًا فَهَبۡ لِى مِن لَّدُنكَ وَلِيًّا}

ความว่า : “และแท้จริงข้าพระองค์กลัวลูกหลานของข้าพระองค์ ภายหลัง (การตายของ) ข้าพระองค์ และภริยาของข้าพระองค์ก็เป็นหมันด้วย ดังนั้นขอพระองค์ทรงโปรดประทานทายาทที่ดีจากพระองค์แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”

8. ภรรยาเจ้าเมืองอิยิปต์ (ยูซุฟ/21)

{وَقَالَ ٱلَّذِى ٱشۡتَرَىٰهُ مِن مِّصۡرَ لِٱمۡرَأَتِهِۦٓ أَكۡرِمِى مَثۡوَىٰهُ عَسَىٰٓ أَن يَنفَعَنَآ أَوۡ نَتَّخِذَهُۥ وَلَدًاۚ وَكَذَٰلِكَ مَكَّنَّا لِيُوسُفَ فِى ٱلۡأَرۡضِ وَلِنُعَلِّمَهُۥ مِن تَأۡوِيلِ ٱلۡأَحَادِيثِۚ وَٱللَّهُ غَالِبٌ عَلَىٰٓ أَمۡرِهِۦ وَلَٰكِنَّ أَكۡثَرَ ٱلنَّاسِ لَا يَعۡلَمُونَ}

ความว่า : และผู้ที่ซื้อเขามาจากอียิปต์ กล่าวกับภริยาของเขาว่า จงให้ที่พักแก่เขาอย่างมีเกียรติ บางทีเขาจะทำประโยชน์ให้เราได้บ้างหรือรับเขาเป็นบุตร และเช่นนั้นแหละเราได้ทำให้ยูซุฟมีอำนาจในแผ่นดิน และเพื่อเราจะได้สอนให้เขารู้วิชาทำนายฝัน และอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้พิชิตในกิจการของพระองค์ และแต่ว่าส่วนใหญ่ของมนุษย์ไม่รู้

9. บรรดาสตรีเมืองอิยิปต์(ยูซุฟ/30-32)

{وَقَالَ نِسۡوَةٌ فِى ٱلۡمَدِينَةِ ٱمۡرَأَتُ ٱلۡعَزِيزِ تُرَٰوِدُ فَتَىٰهَا عَن نَّفۡسِهِۦۖ قَدۡ شَغَفَهَا حُبًّاۖ إِنَّا لَنَرَىٰهَا فِى ضَلَٰلٍ مُّبِينٍ

 ، فَلَمَّا سَمِعَتۡ بِمَكۡرِهِنَّ أَرۡسَلَتۡ إِلَيۡهِنَّ وَأَعۡتَدَتۡ لَهُنَّ مُتَّكَـًٔا وَءَاتَتۡ كُلَّ وَٰحِدَةٍ مِّنۡهُنَّ سِكِّينًا وَقَالَتِ ٱخۡرُجۡ عَلَيۡهِنَّۖ فَلَمَّا رَأَيۡنَهُۥٓ أَكۡبَرۡنَهُۥ وَقَطَّعۡنَ أَيۡدِيَهُنَّ وَقُلۡنَ حَٰشَ لِلَّهِ مَا هَٰذَا بَشَرًا إِنۡ هَٰذَآ إِلَّا مَلَكٌ كَرِيمٌ ، قَالَتۡ فَذَٰلِكُنَّ ٱلَّذِى لُمۡتُنَّنِى فِيهِۖ وَلَقَدۡ رَٰوَدتُّهُۥ عَن نَّفۡسِهِۦ فَٱسۡتَعۡصَمَۖ وَلَئِن لَّمۡ يَفۡعَلۡ مَآ ءَامُرُهُۥ لَيُسۡجَنَنَّ وَلَيَكُونًا مِّنَ ٱلصَّٰغِرِينَ }

ความว่า : และพวกผู้หญิงในเมืองกล่าวว่า ภริยาของผู้ว่าฯ ได้ยั่วยวนเด็กรับใช้ของนาง แน่นอนเขาทำให้นางหลงรัก แท้จริงเราเห็นว่านางอยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้ง (ยูซุฟ : 30) , เมื่อนางได้ยินเสียง (กล่าวหา) โจษจันของนางเหล่านั้น นางจึงส่งคนไปยังนางเหล่านั้นและนางได้เตรียมที่พักพิงสำหรับนางเหล่านั้นและได้นำมีดมาให้ทุกคนในหมู่นางเหล่านั้น และนางกล่าว (แก่เขา) ว่าจงออกไปหานางเหล่านั้น เมื่อนางเหล่านั้นเห็นเขาก็ให้การสรรเสริญและเฉือนมือของพวกนาง และกล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ นี่ไม่ใช่มนุษย์เป็นแน่ มิใช่อื่นใดนอกจากมะลักผู้มีเกียรติ (ยูซุฟ : 31) , นางกล่าวว่า นั่นคือสิ่งที่พวกเธอประณามฉันเกี่ยวกับเขา และแน่นอนฉันได้ยั่วยวนเขาแต่เขาขัดขวางอย่างแข็งขัน และหากเขาไม่ปฏิบัติตามที่ฉันสั่งเขา แน่นอนเขาจะถูกจำคุกและจะอยู่ในหมู่ผู้ยอมจำนน (ยูซุฟ : 32)

10. มารดานบีมูซา (อัลเกาะศ็อศ/7)

{وَأَوۡحَيۡنَآ إِلَىٰٓ أُمِّ مُوسَىٰٓ أَنۡ أَرۡضِعِيهِۖ فَإِذَا خِفۡتِ عَلَيۡهِ فَأَلۡقِيهِ فِى ٱلۡيَمِّ وَلَا تَخَافِى وَلَا تَحۡزَنِىٓۖ إِنَّا رَآدُّوهُ إِلَيۡكِ وَجَاعِلُوهُ مِنَ ٱلۡمُرۡسَلِينَ}

ความว่า : และเราได้ดลใจแก่มารดาของมูซา จงให้นมแก่เขา เมื่อเจ้ากลัวแทนเขาก็จงโยนเขาลงไปในแม่น้ำ และเจ้าอย่าได้กลัวและอย่าได้เศร้าโศก แท้จริงเราจะให้เขากลับไปหาเจ้า และเราจะทำให้เขาเป็นหนึ่งในบรรดารอซูล

11. พี่สาวนบีมูซา (อัลเกาะศ็อศ/11)

{وَقَالَتۡ لِأُخۡتِهِۦ قُصِّيهِۖ فَبَصُرَتۡ بِهِۦ عَن جُنُبٍ وَهُمۡ لَا يَشۡعُرُونَ}

ความว่า : และนางได้กล่าวแก่พี่สาวของเขา จงติดตามไปดูเขา ดังนั้น (พี่สาวของมูซา) ได้เห็นเขาแต่ไกล โดยที่พวกเขาไม่รู้

12. ภรรยานบีมูซา (อัลเกาะศ็อศ/26)

{قَالَتۡ إِحۡدَىٰهُمَا يَٰٓأَبَتِ ٱسۡتَـٔۡجِرۡهُۖ إِنَّ خَيۡرَ مَنِ ٱسۡتَـٔۡجَرۡتَ ٱلۡقَوِىُّ ٱلۡأَمِينُ}

ความว่า : นางคนหนึ่งในสองคนกล่าวว่า โอ้คุณพ่อจ๋า จ้างเขาไว้ซิ แท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือ ผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตย์

13. ภรรยาฟิรเอาน์ (อัลเกาะศ็อศ/9)

{وَقَالَتِ ٱمۡرَأَتُ فِرۡعَوۡنَ قُرَّتُ عَيۡنٍ لِّى وَلَكَۖ لَا تَقۡتُلُوهُ عَسَىٰٓ أَن يَنفَعَنَآ أَوۡ نَتَّخِذَهُۥ وَلَدًا وَهُمۡ لَا يَشۡعُرُونَ}

ความว่า : และภริยาของฟิรเอานฺกล่าวว่า (เขาจะเป็นที่) น่าชื่นชมยินดีแก่ดิฉันและแก่ท่านอย่าฆ่าเขาเลย บางทีเขาจะเป็นประโยชน์แก่เรา หรือเราจะถือเขาเป็นลูก และพวกเขาหารู้สึกตัวไม่

14. ราชินีสะบะอฺ (อันนัมลุ/32)

{قَالَتۡ يَٰٓأَيُّهَا ٱلۡمَلَؤُاْ أَفۡتُونِى فِىٓ أَمۡرِى مَا كُنتُ قَاطِعَةً أَمۡرًا حَتَّىٰ تَشۡهَدُونِ}

ความว่า : พระนางทรงกล่าวว่า “โอ้หมู่บริหารทั้งหลายเอ๋ย ! จงให้ข้อชี้ขาดแก่ฉันในเรื่องของฉัน ฉันไม่อาจจะตัดสินใจในกิจการใด จนกว่าพวกท่านจะอยู่ร่วมด้วย”

15. ภรรยาอิมรอน ( อาละอิมรอน/35)

{إِذۡ قَالَتِ ٱمۡرَأَتُ عِمۡرَٰنَ رَبِّ إِنِّى نَذَرۡتُ لَكَ مَا فِى بَطۡنِى مُحَرَّرًا فَتَقَبَّلۡ مِنِّىٓۖ إِنَّكَ أَنتَ ٱلسَّمِيعُ ٱلۡعَلِيمُ}

ความว่า : จงรำลึกถึงขณะที่ภรรยาของอิมรอน กล่าวว่า โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ได้บนไว้ว่าให้สิ่ง(บุตร)ที่อยู่ในครรภ์ของข้าพระองค์ ถูกเจาะจงอยู่ในฐานะผู้เคารพอิบาดะฮฺต่อพระองค์และรับใช้พระองค์เท่านั้น ดังนั้นขอพระองค์ได้โปรดรับจากข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้

16. มัรยัม บินติอิมรอน ( อัตตะห์รีม/12)

{وَمَرۡيَمَ ٱبۡنَتَ عِمۡرَٰنَ ٱلَّتِىٓ أَحۡصَنَتۡ فَرۡجَهَا فَنَفَخۡنَا فِيهِ مِن رُّوحِنَا وَصَدَّقَتۡ بِكَلِمَٰتِ رَبِّهَا وَكُتُبِهِۦ وَكَانَتۡ مِنَ ٱلۡقَٰنِتِينَ}

ความว่า : และมัรยัมบุตรีของอิมรอน ผู้ซึ่งรักษาพรหมจารีของนาง แล้วเราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในนาง และนางได้ศรัทธาต่อบัญญัติต่าง ๆ แห่งพระเจ้าของนาง และ (ได้ศรัทธาต่อ) คัมภีร์ต่าง ๆ ของพระองค์ และนางจึงอยู่ในหมู่ผู้นอบน้อมภักดีทั้งหลาย

17. ภรรยานบีอัยยูบ ( อัลอันบิยา/84)

{فَٱسۡتَجَبۡنَا لَهُۥ فَكَشَفۡنَا مَا بِهِۦ مِن ضُرٍّۖ وَءَاتَيۡنَٰهُ أَهۡلَهُۥ وَمِثۡلَهُم مَّعَهُمۡ رَحۡمَةً مِّنۡ عِندِنَا وَذِكۡرَىٰ لِلۡعَٰبِدِينَ}

ความว่า : ดังนั้น เราได้ตอบรับการร้องเรียนของเขาแล้วเราได้ปลดเปลื้องสิ่งที่เป็นความทุกข์ยากแก่เขา และเราได้ให้ครอบครัวของเขาแก่เขา และเช่นเดียวกับที่เขาได้เคยมีมาก่อน (เช่น บุตรหลานและพวกพ้อง) เป็นความเมตตาจากเรา และเป็นข้อตักเตือนแก่บรรดาผู้ที่เคารพภักดี

18. ภรรยานบีมุฮัมมัด (อัลอะห์ซาบ/32)

{يَٰنِسَآءَ ٱلنَّبِىِّ لَسۡتُنَّ كَأَحَدٍ مِّنَ ٱلنِّسَآءِۚ إِنِ ٱتَّقَيۡتُنَّ فَلَا تَخۡضَعۡنَ بِٱلۡقَوۡلِ فَيَطۡمَعَ ٱلَّذِى فِى قَلۡبِهِۦ مَرَضٌ وَقُلۡنَ قَوۡلًا مَّعۡرُوفًا}

ความว่า : โอ้ บรรดาภริยาของนะบีเอ๋ย! พวกเธอไม่เหมือนกับสตรีใด ๆ ในเหล่าสตรีอื่นหากพวกเธอยำเกรง (อัลลอฮฺ) ก็ไม่ควรพูดจาเพราะพริ้งนัก เพราะจะทำให้ผู้ที่ในหัวใจของเขามีโรคเกิดความโลภ แต่จงพูดด้วยถ้อยคำที่พอเหมาะพอควร

19. อุมมุลมุมินีนเคาะดีญะฮ์ (ฏอฮา/132)

{وَأۡمُرۡ أَهۡلَكَ بِٱلصَّلَوٰةِ وَٱصۡطَبِرۡ عَلَيۡهَاۖ لَا نَسۡـَٔلُكَ رِزۡقًاۖ نَّحۡنُ نَرۡزُقُكَۗ وَٱلۡعَٰقِبَةُ لِلتَّقۡوَىٰ}

ความว่า : และเจ้าจงใช้ครอบครัวของเจ้า ให้ทำละหมาด และจงอดทนในการปฏิบัติ เรามิได้ขอเครื่องยังชีพจากเจ้า เราต่างหากเป็นผู้ให้เครื่องยังชีพแก่เจ้า และบั้นปลายนั้นสำหรับผู้ที่มีความยำเกรง

20. อุมมุลมุมินีนอาอิชะฮ์ (อันนูร:11-20)

{إِنَّ ٱلَّذِينَ جَآءُو بِٱلۡإِفۡكِ عُصۡبَةٌ مِّنكُمْۚ لَا تَحۡسَبُوهُ شَرًّا لَّكُمۖ بَلۡ هُوَ خَيۡرٌ لَّكُمْۚ لِكُلِّ ٱمۡرِئٍ مِّنۡهُم مَّا ٱكۡتَسَبَ مِنَ ٱلۡإِثۡمِۚ وَٱلَّذِى تَوَلَّىٰ كِبۡرَهُۥ مِنۡهُمۡ لَهُۥ عَذَابٌ عَظِيمٌ  ، لَّوۡلَآ إِذۡ سَمِعۡتُمُوهُ ظَنَّ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ وَٱلۡمُؤۡمِنَٰتُ بِأَنفُسِهِمۡ خَيۡرًا وَقَالُواْ هَٰذَآ إِفۡكٌ مُّبِينٌ  ، لَّوۡلَا جَآءُو عَلَيۡهِ بِأَرۡبَعَةِ شُهَدَآءَۚ فَإِذۡ لَمۡ يَأۡتُواْ بِٱلشُّهَدَآءِ فَأُوْلَٰٓئِكَ عِندَ ٱللَّهِ هُمُ ٱلۡكَٰذِبُونَ،  وَلَوۡلَا فَضۡلُ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ وَرَحۡمَتُهُۥ فِى ٱلدُّنۡيَا وَٱلۡأٓخِرَةِ لَمَسَّكُمۡ فِى مَآ أَفَضۡتُمۡ فِيهِ عَذَابٌ عَظِيمٌ ،  إِذۡ تَلَقَّوۡنَهُۥ بِأَلۡسِنَتِكُمۡ وَتَقُولُونَ بِأَفۡوَاهِكُم مَّا لَيۡسَ لَكُم بِهِۦ عِلۡمٌ وَتَحۡسَبُونَهُۥ هَيِّنًا وَهُوَ عِندَ ٱللَّهِ عَظِيمٌ ، وَلَوۡلَآ إِذۡ سَمِعۡتُمُوهُ قُلۡتُم مَّا يَكُونُ لَنَآ أَن نَّتَكَلَّمَ بِهَٰذَا سُبۡحَٰنَكَ هَٰذَا بُهۡتَٰنٌ عَظِيمٌ ،     يَعِظُكُمُ ٱللَّهُ أَن تَعُودُواْ لِمِثۡلِهِۦٓ أَبَدًا إِن كُنتُم مُّؤۡمِنِين ، وَيُبَيِّنُ ٱللَّهُ لَكُمُ ٱلۡأٓيَٰتِۚ وَٱللَّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٌ ، إِنَّ ٱلَّذِينَ يُحِبُّونَ أَن تَشِيعَ ٱلۡفَٰحِشَةُ فِى ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَهُمۡ عَذَابٌ أَلِيمٌ فِى ٱلدُّنۡيَا وَٱلۡأٓخِرَةِۚ وَٱللَّهُ يَعۡلَمُ وَأَنتُمۡ لَا تَعۡلَمُونَ، وَلَوۡلَا فَضۡلُ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ وَرَحۡمَتُهُۥ وَأَنَّ ٱللَّهَ رَءُوفٌ رَّحِيمٌ}

ความว่า : แท้จริงบรรดาผู้นำข่าวเท็จมานั้น เป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งจากพวกเจ้า พวกเจ้าอย่าได้คิดว่ามันเป็นการชั่วแก่พวกเจ้า แต่ว่ามันเป็นการดีแก่พวกเจ้า สำหรับทุกคนในพวกเขานั้น คือสิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้จากการทำบาป ส่วนผู้ที่มีบทบาทมากในเรื่องนี้ในหมู่พวกเขานั้น เขาผู้นั้นจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์ (อันนูร :11) เมื่อพวกเจ้าได้ยินข่าวเท็จนี้ ทำไมบรรดามุอฺมินและบรรดามุอฺมินะฮฺ จึงไม่คิดเปรียบเทียบกับตัวของพวกเขาเองในทางที่ดี และกล่าวว่า นี่เป็นเรื่องโกหกอย่างชัดแจ้ง (อันนูร :12) ทำไมพวกเขาจึงไม่นำพยานสี่คนมาเพื่อมัน หากพวกเขาไม่นำพยานเหล่านั้นมาแล้ว ดังนั้นชนเหล่านั้น ณ ที่อัลลอฮฺพวกเขาเป็นผู้กล่าวเท็จ (อันนูร :13) และหากมิใช่ความโปรดปรานของอัลลอฮฺแก่พวกเจ้า และความเมตตาของพระองค์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าแล้ว แน่นอนการลงโทษอย่างมหันต์ก็จะประสบแก่พวกเจ้า ในสิ่งที่พวกเจ้ากำลังง่วนกันอยู่ (อันนูร :14) ขณะที่พวกเจ้าได้รับข่าวนั้น ด้วยการพูดกันระหว่างพวกเจ้า และพวกเจ้าพูดกันในสิ่งที่พวกเจ้าไม่มีความรู้ และพวกเจ้าคิดว่ามันเป็นเรื่องเล็ก แต่ ณ ที่อัลลอฮฺนั้นมันเป็นเรื่องใหญ่ (อันนูร :15) เมื่อพวกเจ้าได้ยินมัน ทำไมพวกเจ้าจึงไม่กล่าวว่า ไม่บังควรที่เราจะพูดถึงเรื่องนี้ มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ท่าน นี่มันเป็นการกล่าวร้ายอย่ามหันต์ (อันนูร :16) อัลลอฮฺทรงตักเตือนพวกเจ้า เพื่อมิให้กลับไปประพฤติเช่นนี้อีกเป็นอันขาด หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา (อันนูร :17) และอัลลอฮฺทรงชี้แจงโองการทั้งหลายอย่างชัดเจนแก่พวกเจ้า และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ (อันนูร :18) แท้จริงบรรดาผู้ชอบที่จะให้เรื่องบัดสีแพร่หลายไปในหมู่ผู้ศรัทธานั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บปวด ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และอัลลอฮฺทรงรอบรู้และพวกเจ้าไม่รู้ (อันนูร :19) และหากมิใช่ความโปรดปรานของอัลลอฮฺแก่พวกเจ้า และความเมตตาของพระองค์แล้ว และแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ (อันนูร :20)

21. อุมมุลมุมินีนหัฟเศาะฮ์:อัตตะห์รีม/1-5)

{يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّبِىُّ لِمَ تُحَرِّمُ مَآ أَحَلَّ ٱللَّهُ لَكَۖ تَبۡتَغِى مَرۡضَاتَ أَزۡوَٰجِكَۚ وَٱللَّهُ غَفُورٌ رَّحِيمٌ ،  قَدۡ فَرَضَ ٱللَّهُ لَكُمۡ تَحِلَّةَ أَيۡمَٰنِكُمْۚ وَٱللَّهُ مَوۡلَىٰكُمْۖ وَهُوَ ٱلۡعَلِيمُ ٱلۡحَكِيمُ ، وَإِذۡ أَسَرَّ ٱلنَّبِىُّ إِلَىٰ بَعۡضِ أَزۡوَٰجِهِۦ حَدِيثًا فَلَمَّا نَبَّأَتۡ بِهِۦ وَأَظۡهَرَهُ ٱللَّهُ عَلَيۡهِ عَرَّفَ بَعۡضَهُۥ وَأَعۡرَضَ عَنۢ بَعۡضٍۖ فَلَمَّا نَبَّأَهَا بِهِۦ قَالَتۡ مَنۡ أَنۢبَأَكَ هَٰذَاۖ قَالَ نَبَّأَنِىَ ٱلۡعَلِيمُ ٱلۡخَبِيرُ ، إِن تَتُوبَآ إِلَى ٱللَّهِ فَقَدۡ صَغَتۡ قُلُوبُكُمَاۖ وَإِن تَظَٰهَرَا عَلَيۡهِ فَإِنَّ ٱللَّهَ هُوَ مَوۡلَىٰهُ وَجِبۡرِيلُ وَصَٰلِحُ ٱلۡمُؤۡمِنِينَۖ وَٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ بَعۡدَ ذَٰلِكَ ظَهِيرٌ ، عَسَىٰ رَبُّهُۥٓ إِن طَلَّقَكُنَّ أَن يُبۡدِلَهُۥٓ أَزۡوَٰجًا خَيۡرًا مِّنكُنَّ مُسۡلِمَٰتٍ مُّؤۡمِنَٰتٍ قَٰنِتَٰتٍ تَٰٓئِبَٰتٍ عَٰبِدَٰتٍ سَٰٓئِحَٰتٍ ثَيِّبَٰتٍ وَأَبۡكَارً }

ความว่า : โอ้นะบีเอ๋ย ทำไมเจ้าจึงห้ามสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงอนุมัติแก่เจ้า เพื่อแสวงหาความพึงพอใจบรรดาภริยาของเจ้าเล่า และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตา (อัตตะห์รีม :1)  แน่นอน อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดแก่พวกเจ้าแล้วในการแก้คำสาบานของพวกเจ้า และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงคุ้มครองพวกเจ้า และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ (อัตตะห์รีม :2) และจงรำลึกขณะที่ท่านนะบีได้บอกความลับเรื่องหนึ่งแก่ภริยาบางคนของเขา ครั้นเมื่อนางได้บอกเล่าเรื่องนี้ (แก่คนอื่น) และอัลลอฮฺได้ทรงแจ้งเรื่องนี้แก่เขา (ท่านนะบี) เขาก็ได้แจ้งบางส่วนของเรื่องนี้ และไม่แจ้งบางส่วน ครั้นเมื่อเขา (ท่านนะบี) ได้แจ้งเรื่องนี้แก่นาง นางได้กล่าวว่า ใครบอกเล่าเรื่องนี้แก่ท่าน เขา (ท่านนะบี) กล่าวว่า พระผู้ทรงรอบรู้ พระผู้ทรงตระหนักยิ่ง ทรงแจ้งแก่ฉัน (อัตตะห์รีม :3) หากเจ้าทั้งสองกลับเนื้อกลับตัว ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ (ก็จะเป็นการดีแก่เจ้าทั้งสอง) เพราะแน่นอนหัวใจของเจ้าทั้งสองก็โอนอ่อนอยู่แล้ว แต่หากเจ้าทั้งสองร่วมกันต่อต้านเขา (ท่านนะบี) แท้จริงอัลลอฮฺ พระองค์เป็นผู้ทรงคุ้มครองเขา อีกทั้งญิบรีล และบรรดาผู้ศรัทธาที่ดี ๆ และนอกจากนั้น มะลาอิกะฮฺก็ยังเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนอีกด้วย (อัตตะห์รีม :4) หากเขาหย่าพวกนาง บางทีพระเจ้าของเขาจะทรงเปลี่ยนแปลงให้แก่เขามีภริยาที่ดีกว่าพวกนาง เป็นหญิงที่นอบน้อมถ่อมตน เป็นหญิงผู้ศรัทธา เป็นหญิงผู้ภักดี เป็นหญิงผู้ขอลุแก่โทษ เป็นหญิงผู้มั่นต่อการอิบาดะฮฺ เป็นหญิงผู้มั่นต่อการถือศีลอด เป็นหญิงที่เป็นหม้าย และที่เป็นหญิงสาว (อัตตะห์รีม :5)        

22. อุมมุลมุมินีน ซัยนับบินติญะห์ซิ ( อัลอะห์ซาบ/37-38)

{وَإِذۡ تَقُولُ لِلَّذِىٓ أَنۡعَمَ ٱللَّهُ عَلَيۡهِ وَأَنۡعَمۡتَ عَلَيۡهِ أَمۡسِكۡ عَلَيۡكَ زَوۡجَكَ وَٱتَّقِ ٱللَّهَ وَتُخۡفِى فِى نَفۡسِكَ مَا ٱللَّهُ مُبۡدِيهِ وَتَخۡشَى ٱلنَّاسَ وَٱللَّهُ أَحَقُّ أَن تَخۡشَىٰهُۖ فَلَمَّا قَضَىٰ زَيۡدٌ مِّنۡهَا وَطَرًا زَوَّجۡنَٰكَهَا لِكَىۡ لَا يَكُونَ عَلَى ٱلۡمُؤۡمِنِينَ حَرَجٌ فِىٓ أَزۡوَٰجِ أَدۡعِيَآئِهِمۡ إِذَا قَضَوۡاْ مِنۡهُنَّ وَطَرًاۚ وَكَانَ أَمۡرُ ٱللَّهِ مَفۡعُولًا ، مَّا كَانَ عَلَى ٱلنَّبِىِّ مِنۡ حَرَجٍ فِيمَا فَرَضَ ٱللَّهُ لَهُۥۖ سُنَّةَ ٱللَّهِ فِى ٱلَّذِينَ خَلَوۡاْ مِن قَبۡلُۚ وَكَانَ أَمۡرُ ٱللَّهِ قَدَرًا مَّقۡدُورًا }

ความว่า : และจงรำลึกถึงขณะที่เจ้าพูดกับผู้ที่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานแก่เขา และเจ้าได้ให้ความสงเคราะห์แก่เขา และจงดูแลรักษาภริยาของเจ้าไว้ให้อยู่กับเจ้า และจงยำเกรงอัลลอฮฺ และเจ้าได้ซ่อนไว้ในจิตใจของเจ้าเรื่องที่อัลลอฮฺจะทรงเปิดเผยมัน และเจ้ากลัวเกรงมนุษย์ แต่อัลลอฮฺทรงสมควรยิ่งกว่าที่เจ้าจะกลัวเกรงพระองค์ ครั้นเมื่อเซด ได้หย่ากับนาง แล้ว เราได้ให้เจ้าแต่งงานกับนาง เพื่อที่จะไม่เป็นที่ลำบากใจแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายใน เรื่องการ (การสมรสกับ) ภริยาของบุตรบุญธรรมของพวกเขา เมื่อพวกเขาหย่ากับพวกนางแล้วและพระบัญชาของอัลลอฮฺนั้นจะต้องบรรลุผลเสมอ (อัลอะห์ซาบ :37) ไม่เป็นการลำบากใจอันใดแก่ท่านนะบีในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้แก่เขา (นี่คือ) แนวทางของอัลลอฮฺ (ที่ได้มีขึ้นแล้ว) ต่อบรรดาผู้ได้ล่วงลับในสมัยก่อน และพระบัญชาของอัลลอฮฺนั้นได้กำหนดไว้แล้ว (อัลอะห์ซาบ :38)

23. อุมมุลมุมินีนอุมมุหะบีบะฮ์ (มุมตะหะนะฮ์/7)

{عَسَى ٱللَّهُ أَن يَجۡعَلَ بَيۡنَكُمۡ وَبَيۡنَ ٱلَّذِينَ عَادَيۡتُم مِّنۡهُم مَّوَدَّةًۚ وَٱللَّهُ قَدِيرٌۚ وَٱللَّهُ غَفُورٌ رَّحِيمٌ}

ความว่า : บางทีอัลลอฮฺจะทรงทำให้เกิดความรักใคร่ระหว่างพวกเจ้ากับบรรดาผู้ที่พวกเจ้าถือเป็นศัตรูในหมู่พวกเขา และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอานุภาพและอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ

24. นางเคาละฮ์บินติษะละบะฮ์ (อัลมุญาดิละฮ์/1)

{قَدۡ سَمِعَ ٱللَّهُ قَوۡلَ ٱلَّتِى تُجَٰدِلُكَ فِى زَوۡجِهَا وَتَشۡتَكِىٓ إِلَى ٱللَّهِ وَٱللَّهُ يَسۡمَعُ تَحَاوُرَكُمَآۚ إِنَّ ٱللَّهَ سَمِيعٌۢ بَصِيرٌ}

ความว่า : โดยแน่นอน อัลลอฮฺทรงได้ยินถ้อยคำของสตรีที่กำลังโต้แย้งกับเจ้าในเรื่องสามีของนาง และนางได้ร้องทุกข์ต่ออัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นทรงได้ยินการตอบโต้ของเจ้าทั้งสอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรู้เห็นเสมอ

25.  สตรีผู้คลายเกลียวด้าย( อันนะห์ลุ/92)

{وَلَا تَكُونُواْ كَٱلَّتِى نَقَضَتۡ غَزۡلَهَا مِنۢ بَعۡدِ قُوَّةٍ أَنكَٰثًا تَتَّخِذُونَ أَيۡمَٰنَكُمۡ دَخَلًۢا بَيۡنَكُمۡ أَن تَكُونَ أُمَّةٌ هِىَ أَرۡبَىٰ مِنۡ أُمَّةٍۚ إِنَّمَا يَبۡلُوكُمُ ٱللَّهُ بِهِۦۚ وَلَيُبَيِّنَنَّ لَكُمۡ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ مَا كُنتُمۡ فِيهِ تَخۡتَلِفُونَ}

ความว่า : และพวกเจ้าอย่าเป็นเช่นนางที่คลายเกลียวด้ายของนาง หลังจากที่ได้ปั่นให้มันแน่นแล้ว โดยถือเอาการสาบานของพวกเจ้าเป็นการล่อลวงระหว่างพวกเจ้า เพื่อที่จะให้ชาติหนึ่งเข้มแข็งกว่าอีกชาติหนึ่ง แท้จริง อัลลอฮ์ทรงทดลองพวกเจ้าด้วยการสาบาน และแน่นอน พระองค์จะทรงชี้แจงแก่พวกเจ้าในวันกิยามะฮ์ ถึงสิ่งที่พวกเจ้าขัดแย้งกันในเรื่องนั้น

26. ภรรยาอาบูละฮับ ( อัลมะสัด/4-5)

{وَٱمۡرَأَتُهُۥ حَمَّالَةَ ٱلۡحَطَبِ ، فِى جِيدِهَا حَبۡلٌ مِّن مَّسَدٍۢ}

ความว่า : ทั้งภริยาของเขาด้วย นางเป็นผู้แบกฟืน (อัลมะสัด :4) ที่คอของนางมีเชือกถักด้วยใยอินทผลัม (อัลมะสัด :5)

จะสังเกตได้ว่าอัลกุรอานไม่ได้กล่าวชื่อนางโดยตรง เพียงแต่มีการพาดพิงโดยอ้อม หรือกล่าวถึงสตรีที่อยู่ในเหตุการณ์ บางครั้งจะติดห้อยด้วยชื่อของสามีเท่านั้น แม้กระทั่งภรรยาหรือลูกสาวของนบีมุฮัมมัด

มีเพียงสตรีนางเดียวที่อัลกุรอานระบุชื่ออย่างชัดเจน แถมในอายัตหนึ่งอัลกุรอานได้กล่าวชื่อนางและบิดาพร้อมกันด้วย ومريم بنت عمران  โดยชื่อนี้ถูกเอ่ยชื่อในอัลกุรอาน 34 ครั้ง ตามจำนวนสุญูดละหมาดฟัรฎูในแต่ละวัน

พี่น้องพอทราบสาเหตุไหมว่าเป็นเพราะเหตุใด?????????


โดย Mazlan Muhammad

Menepuk air di dulang, terpencik muka sendiri

منڤوق اير ددولڠ، ترڤنچيق موك سنديري

“Menepuk air di dulang, terpencik muka sendiri”

สุภาษิตมลายูท่อนนี้ แปลตามตรงคือ “ ตบน้ำในถาด น้ำจะกระเซ็นใส่หน้าตนเอง”

เพื่อให้บทเรียนแก่คนที่ชอบเปิดโปงความชั่วร้ายของคนอื่น สุดท้ายตัวเองกลับทำสิ่งชั่วร้ายนั้นเช่นกัน หรือเป็นประโยคที่สะกิดใจคนที่กระทำสิ่งที่สร้างความอับอายให้แก่ตนเอง

ประโยคนี้ใช้ได้กับคนที่ทำชั่ว สุดท้ายเขาได้รับผลกระทบจากการกระทำชั่วของเขาเอง

บางบริบทก็ใช้กับคนที่ชอบเล่าเรื่องที่ไม่ดีของตนเองหรือคนในครอบครัวให้คนอื่นฟัง สุดท้ายตัวเองที่ได้รับความอับอาย

สำนวนไทยเท่าที่นึกออกคือสุภาษิตที่ว่า

“ ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง “

หรือพี่น้องมีสำนวนอื่น เชิญแลกเปลี่ยนได้ครับ

🙂 🙂 🙂


โดย Mazlan Muhammad

การสังหารหมู่อำเภอชาเตียน ที่มาของชะฮีด 1,600 ชีวิต

.

นับแต่กลางศตวรรษที่ 19 จนเกือบสิ้นศตวรรษที่ 20 นับเป็นกลียุคของแผ่นดินจีน ด้วยปัญหานานัปการที่รุมเร้าเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนแอภายในราชสำนัก ภัยคุกคามจากต่างชาติ อุดมการณ์ทางการเมืองที่หลากหลาย ตลอดจนการแก่งแย่งชิงความเป็นใหญ่ในหมู่ผู้มีอำนาจ ยังความระส่ำระสายไปทั่วทุกหัวระแหง ไม่เว้นแม้แต่มณฑลยูนนาน หรือ หยวินหนาน (云南) ที่อยู่ชิดติดพรมแดนอุษาคเนย์

.

แม้เมื่อจีนรวมกันเป็นหนึ่งภายใต้ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1949 เคราะห์กรรมของพี่น้องชาวจีนก็ยังไม่หมดสิ้นเพียงเท่านั้น เนื่องจากการขึ้นสู่อำนาจของ “แก๊ง 4 คน” ซึ่งมีแนวคิดซ้ายตกขอบในปี ค.ศ.1966 ทำให้เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมโค่นล้างวัฒนธรรมประเพณีเก่าอยู่นานนับสิบปี มีผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายของคนเหล่านี้อย่างเหลือคณานับ

.

มีอยู่หนึ่งเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์กระแสหลักของชาติ คือการสังหารหมู่ที่อำเภอชาเตียนในปี ค.ศ.1975

.

.

ชาเตียน (沙甸) เป็นอำเภอหนึ่งในมณฑลยูนนาน ขึ้นกับเมืองเก้อจิ้ว (个旧) จังหวัดหงเหอ (红河) ประชาชนเกือบทั้งหมดเป็นชนชาติหุย คือมุสลิมที่มีเชื้อสายและวัฒนธรรมแบบจีนตามนิยามของรัฐบาลจีนแดง

.

ในยุคที่ “แก๊ง 4 คน” เรืองอำนาจ ศาสนาทั้งหมดถูกตราหน้าในฐานะยาเสพติดที่มอมเมาประชาชน ถ่วงรั้งความก้าวหน้าของชาติ รัฐจึงใช้อำนาจในการกำจัดศาสนา บีบคั้นให้ผู้คนสมาทานความเชื่อแบบลัทธิเหมาแทน

.

อำเภอชาเตียนได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงจากนโยบายดังกล่าว มัสยิดทุกแห่งถูกสั่งปิด ประชาชนไม่มีสิทธิ์ละหมาด อัลกุรอานถูกเผาทิ้ง มิหนำซ้ำชาวหุยจำนวนมากยังถูกบีบบังคับให้กินเนื้อหมู มีรายงานว่ามัสยิดแห่งหนึ่งถูกใช้เป็นโรงเชือดหมู กระดูกหมูที่ถูกเชือดแล้วก็โยนทิ้งลงบ่อน้ำที่ใช้สำหรับอาบน้ำละหมาด

.

นั่นเป็นพฤติกรรมที่ชาวอำเภอชาเตียนยากจะยอมรับ ในปี ค.ศ.1974 ชาวหุยในชาเตียนและพื้นที่ข้างเคียงรวม 1,000 คนจึงขึ้นรถไฟไปปักกิ่งเพื่อรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ปัญหายังคงยืดเยื้อต่อไป

.

ปลายปีเดียวกัน ชาวหุยมากกว่า 800 คนเดินทางไปยังนครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนาน เพื่อเรียกร้องเสรีภาพในการนับถือศาสนาในรัฐธรรมนูญ พร้อมกันนั้น พวกเขาได้จัดตั้งกองกำลังของตนเองเพื่อคุ้มกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นด้วย

.

ท่าทีที่แข็งกร้าวของกองกำลังชาวหุยสร้างความหวาดระแวงแก่รัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง คำเรียกร้องเหล่านั้นไม่เพียงได้รับการเมินเฉยแทนคำตอบ หากพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังมองว่านั่นคือการแข็งข้อต่อระบอบการปกครอง

.

กรกฎาคม ค.ศ.1975 ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองฝ่ายก็ดำเนินมาถึงจุดแตกหัก ประธานเหมา เจ๋อตง ลงนามมอบฉันทะให้กองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLA) ให้เข้าปราบปรามกองกำลังชาวหุย

.

กองทัพนายทหารที่ผ่านการฝึกฝนอย่างดีนับ 10,000 นาย ยกพลเข้าล้อมอำเภอชาเตียนอย่างแน่นหนาก่อนเช้ามืดวันที่ 29 กรกฎาคม ส่งผลให้เกิดการปะทะกันระหว่างชาวบ้านที่มีอาวุธกับเจ้าหน้าที่รัฐ

.

หนึ่งสัปดาห์แห่งการต่อสู้ผ่านไปพร้อมกับคราบเลือดและเขม่าปืนที่เพิ่มร่องรอยมากขึ้นทุกขณะ PLA ใช้ทั้งปืน ปืนใหญ่วิถีโค้ง เครื่องพ่นไฟ และระเบิดทางอากาศในการโจมตี เป็นเหตุให้ชาวหุยนับร้อย ๆ คนล้มตาย บ้านเรือนกว่า 4,400 หลังถูกทำลาย ความเสียหายลามไปสู่อำเภอข้างเคียงด้วย

.

รัฐบาลระบุตัวเลขผู้เสียชีวิตไว้ที่ 130 คน ในขณะที่บรรดาอิหม่ามหรือผู้นำชาวหุยในชาเตียนประมาณผู้เสียชีวิตไว้ที่ 1,600 คน เป็นเด็ก 300 คน ซึ่งนั่นเป็นจำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของผู้คนทั้งหมดในอำเภอที่มีอยู่ในเวลานั้น

.

.

ครั้นเมื่อประธานเหมาถึงแก่อสัญกรรมในปีถัดมา แก๊ง 4 คนก็พลอยหมดอำนาจ ทั้ง 4 ถูกจับกุมและพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำจีนคนใหม่เร่งดำเนินการเยียวยาผู้เสียหายและออกแถลงขอโทษพี่น้องหุยในอำเภอชาเตียนอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1979 พร้อมทั้งประณามเหตุการณ์สังหารหมู่ครั้งนั้นว่า “เป็นการกระทำที่เลวร้ายและรุนแรงที่สุดในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม”

.

ตั้งแต่นั้นมา ชาเตียนก็ได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากรัฐ กองทัพหน่วยที่เคยทำลายได้รับคำสั่งให้กลับมาสร้างเมืองนี้ใหม่ พร้อม ๆ กับที่เติ้ง เสี่ยวผิง เริ่มต้นเปิดประเทศ รัฐบาลได้เอื้อให้ธุรกิจของอำเภอชาเตียนเข้าถึงตลาดมาเลเซียและชาติตะวันออกกลางได้ง่ายดาย ทั้งยังส่งนักเรียนนักศึกษาชาวหุยไปเล่าเรียนภาษาและศาสนาในต่างแดนเป็นจำนวนมาก

.

ส่วนผู้ที่จากไปในเหตุการณ์นองเลือดเมื่อปี 1975 คนรุ่นหลังและผู้รอดชีวิตได้ยกย่องพวกเขาเป็น “ชะฮีด” หรือผู้พลีชีพเพื่อยืนหยัดความศรัทธาต่ออิสลาม รัฐบาลจีนยุคใหม่สร้างอนุสรณ์สถานเป็นเสาสูง จารึกข้อความฟาติฮะห์ (บทแรกในอัลกุรอาน) เอาไว้เพื่อรำลึกถึงเหล่าชะฮีด ที่ภาษาจีนเรียกทับศัพท์ว่า ชาซีเต๋อ (沙希德)

.

ปัจจุบัน ชาเตียนมีชื่อเสียงในฐานะเมืองท่องเที่ยวเชิงฮาลาล สิ่งปลูกสร้างหลังใหญ่สุดของที่นี่คือ มัสยิดกลางชาเตียน (沙甸大清真寺) อันโดดเด่นเป็นสง่าด้วยยอดโดมสีเขียวและหออะซาน 4 มุมซึ่งประยุกต์มาจากมัสยิดอันนะบะวีย์ซึ่งเป็นที่ฝังศพศาสดามุฮัมมัดในนครมะดีนะฮ์ มีความจุมากถึง 10,000 คน เป็นมัสยิดที่ใหญ่และงามที่สุดแห่งหนึ่งในมณฑลยูนนาน

.

อย่างไรก็ดี อดีตที่เคยเกิดขึ้นก็ไม่มีวันลบเลือนได้หมด มัสยิดกลางอันงดงามหลังนี้ก็ได้รับการขนานนามว่า เป็นอนุสรณ์สถานแห่งการไถ่บาปที่ถือกำเนิดขึ้นบนรอยเลือดและคราบน้ำตาของชาวชาเตียนเอง


เครดิตภาพ @Zhu Yi Qing
เครดิตภาพ @Zhu Yi Qing

เครดิตข้อมูล : Pattadon Kijchainukul

https://www.facebook.com/pattadon.kijchainukul/posts/pfbid025wN6u4hNpoz4wYTgBJNNzt592huFPEKLbMfD1heD4Era39cSwMW4aSzjgaPM9iCBl