บทความ บทความวิชาการ

เกาะติดการจับกุมรอชิด ฆอนนูชีย์ แกนนำกลุ่มอิสลามในตูนีเซีย [Ep.5]

นิตยสารอเมริกัน “The New Yorker” ; ฆอนนูชีย์ นักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกอาหรับ ผู้สังเคราะห์ความเป็นไปได้ของการไปได้ด้วยกันระหว่างประชาธิปไตยเสรีนิยมและการปกครองแบบอิสลาม

นิตยสารอเมริกัน “The New Yorker” ตีพิมพ์บทความของ เดวิด ดี. เคิร์กแพทริก David D. Kirkpatrick นักเขียนชาวอเมริกา เจ้าของรางวัลพูลิตเซอร์ 3 รางวัล ซึ่งได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการจับกุมชัยค์รอชิด ฆอนนูชียื หัวหน้าขบวนการเอนนาห์ดา ในตูนิเซีย น่าสนใจหลายประเด็นด้วยกัน

เคิร์กแพทริก นิยามตัวตนของฆอนนูชีย์ว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกอาหรับผู้สังเคราะห์ความเป็นไปได้ของการไปได้ด้วยกันระหว่างประชาธิปไตยเสรีนิยมและการปกครองแบบอิสลาม  และนิยามประชาธิปไตยต้นแบบว่า “ประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จ คือ ประชาธิปแบบฉันทามติ  ไม่ใช่ประชาธิปแบบเสียงส่วนใหญ่” 

บทความในดินิวยอร์คเกอระบุว่า ตูนิเซีย บ้านเกิดของอาหรับสปริง  และเป็นสถานที่สุดท้ายที่อาหรับสปริงล้มเหลว หลังจากทศวรรษแห่งเสรีภาพและประชาธิปไตย ในปี 2022 ประธานาธิบดีไกส์ สะอีด ผู้มีอำนาจคนใหม่ได้ปิดรัฐสภาและไม่นานหลังจากนั้นก็เริ่มบังคับใช้รัฐธรรมนูญเผด็จการและจับกุมผู้วิจารณ์ ในสัปดาห์นี้ ในที่สุดตำรวจก็มาถึงรอชิด ฆอนนูชีย์ หัวหน้าพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดของตูนิเซียและนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกอาหรับผู้สังเคราะห์ความเป็นไปได้ของการไปได้ด้วยกันระหว่างประชาธิปไตยเสรีนิยมและการปกครองแบบอิสลาม

เคิร์กแพทริก รายงานประวัติชีวิตว่า ฆอนนูชีย์ เกิดในปี 1941 ในครอบครัวชาวนาชาวไร่ผู้ยากไร้ในตูนิเซียตอนใต้อันห่างไกล ฆอนนูชีย์ศึกษาในกรุงไคโร ดามัสกัส และปารีส; ทำงานบริการในยุโรป; และกลับมาที่ตูนิสในปี 1971 ในยุคที่การเมืองอิสลามแนวภราดรภาพมุสลิมกำลังขยายไปทั่วทั้งภูมิภาค โดยเป็นทางเลือกแทนระบอบเผด็จการ และในปี 2524 ฆอนนูชีย์ได้ร่วมก่อตั้งขบวนการอิสลามิสต์ตูนิเซีย โดยถูกจำคุกและถูกทรมานเป็นเวลา 3 ปี และในปี 1987 ฆอนนูชีย์ถูกจับกุมอีกครั้งและถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ก็ได้ลี้ภัยไปยังลอนดอน เพราะประเทศอาหรับไม่ต้อนรับ

เหตุใดฆอนนูชีย์จึงคิดว่าความปลอดภัยนั้นมีในโลกตะวันตกเท่านั้น

เคิร์กแพทริกให้เหตุผลถึงแนวคิดของฆอนนูชีย์ว่า เพราะประสบการณ์ของฆอนนูชีย์เกี่ยวกับประชาธิปไตยเสรีนิยมของสหราชอาณาจักรผ่านเลนส์อิสลาม ทำให้ฆอนนูชีย์แตกต่างจากปัญญาชนอาหรับอื่นๆ  ฆอนนูชีย์เขียนไว้ในบทความสำคัญของเขาเรื่อง “เสรีภาพสาธารณะในรัฐอิสลาม” โดยเริ่มเขียนในคุกและตีพิมพ์เป็นภาษาอาหรับในปี 1993 ว่า “นักวิชาการอิสลามได้สรุปมานานแล้วว่าใน “ดารุลอิสลาม-ประเทศอิสลาม” ที่แท้จริงนั้น มุสลิมต้องรู้สึกปลอดภัยในเสรีภาพ ทรัพย์สิน ศาสนา และศักดิ์ศรี” 

ในการนี้ ฆอนนูชีย์สรุปว่า รัฐอิสลามที่แท้จริงจะต้องตั้งอยู่บน “เสรีภาพทางความคิด” สำหรับทั้งมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม โดยอ้างคำพูดของนักวิชาการผู้โด่งดังในศตวรรษที่ 12

เคิร์กแพทริกกล่าวถึงแนวคิดของฆอนนูชีย์อีกว่า  “ฆอนนูชีย์กระตุ้นให้ชาวมุสลิมเรียนรู้จากประชาธิปไตยแบบตะวันตก—เพื่อรับประโยชน์จากผลการลองผิดลองถูกที่ดีที่สุดของมนุษยชาติ โดยไม่ต้องไปคำนึงถึงต้นกำเนิดทางศาสนาของตะวันตก เนื่องจากภูมิปัญญาเป็นฝาแฝดของศาสนา”

ฆอนนูชีย์กลับมาที่ตูนิเซียในปี 2011 เมื่อมีการประท้วงต่อต้านความโหดร้ายของตำรวจ ทำให้บินอาลี ผู้นำตูนีเซียที่ปกครองมานานต้องลี้ภัย และทำให้การปฏิวัติอาหรับสปริงขยับขยาย 

ฆอนนูชีย์ช่วยให้การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของประเทศเป็นไปอย่างเสรีที่สุดในภูมิภาค และเขาได้พยายามอย่างดีที่สุดเพื่อกอบกู้โอกาสสำหรับประชาธิปไตยในที่อื่นๆ ในช่วงปลายอาหรับสปริงในปี 2013 เมื่อ 10 ปีก่อน ฆอนนูชีย์บินไปอียิปต์เพื่อเสนอคำแนะนำแก่มุฮัมมัด มุร์ซี ประธานาธิบดีที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยคนแรกของพรรคภราดรภาพมุสลิม

.

เคิร์กแพทริกเล่าเหตุการณ์ตอนนั้นว่า ความคาดหวังในช่วงอาหรับสปริงหลายเดือนดังกล่าวนั้นยากแก่การรำลึกถึงสำหรับวันนี้   ในเวลานั้น ตูนิเซีย อียิปต์ และลิเบียต่างก็จัดการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและเริ่มร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ผู้เชี่ยวชาญจากตะวันตกอ้างอิงเยเมนเป็นต้นแบบในการส่งมอบอำนาจอย่างสันติ แม้แต่ในซีเรีย แทนที่จะเป็นอิสลามแนวสุดโต่ง กลุ่มกบฏส่วนใหญ่ยังคงเดินขบวนภายใต้ร่มธงของประชาธิปไตย  การประท้วงไม่ได้กลายเป็นสงครามกลางเมืองระหว่างนิกาย แต่พายุทรายกำลังพัดเข้าหาจัตุรัสตะห์รีร(ในอียิปต์) ซึ่งการประท้วงได้ดำเนินไป 18 วัน โดยได้รับแรงบันดาลใจจากตูนิเซียเมื่อ 2 ปีครึ่งก่อนหน้า  และได้โค่นล้มประธานาธิบดีฮุสนี มุบาร๊อก เปิดทางให้มุรซีย์   จนมาถึงช่วงที่ฝ่ายตรงข้ามของมุรซีกำลังเรียกร้องให้มีการประท้วงเพื่อเรียกร้องให้มุรซีย์ลาออก และผู้บัญชาการทหารเริ่มส่งสัญญาณสับสนเกี่ยวกับความจงรักภักดี

ฆอนนูชีย์ใช้เวลากว่าสองทศวรรษในการคิดและเขียนเกี่ยวกับคำมั่นสัญญาเดียวกันกับที่กลุ่มภราดรภาพมุสลิมของอียิปต์ได้หาเสียงไว้ นั่นคือการผสมผสานการปกครองแบบอิสลามเข้ากับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและเสรีภาพส่วนบุคคล

เคิร์กแพทริกเล่าว่า ระหว่างการเดินทางไปไคโร ฆอนนูชีย์บอกเขาว่า ไม่กี่เดือนต่อมาที่สำนักงานใหญ่ของพรรคในตูนีเซีย ฆอนนูชีย์พยายามโน้มน้าวให้มุร์ซีเชื่อว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้นตามที่หาเสียงไว้ มุรซีย์ควรสละอำนาจบางส่วนโดยสมัครใจ ( ภายหลังที่ปรึกษาของมุร์ซีได้ยืนยันโครงร่างกว้างๆ ของข้อเสนอของฆอนนูชีย์ ซึ่งได้บอกเคิร์กแพทริกโดยมีเงื่อนไขว่าให้เก็บเป็นความลับในขณะนั้น) หลังจากการปฏิวัติเช่นที่เกิดขึ้นในอียิปต์และตูนิเซีย พรรคเสียงข้างมากควรเข้าใจเสียงเปราะบางที่น่าวิตกของชนกลุ่มน้อยทางการเมืองหรือศาสนา  เช่น  ชนกลุ่มน้อยในอียิปต์ ผู้มีแนวคิดเซคคิวลาร์ และคริสเตียนคอปติก อย่างน้อยพวกเขาเคยได้รับความคุ้มครองบางอย่างภายใต้ระบอบเผด็จการเก่า  แต่ตอนนี้สิ่งเหล่านี้หายไปแล้ว ด้วยเหตุผลเพียงเล็กน้อยว่า ให้เชื่อถือคำสัญญาเกี่ยวกับหลักนิติธรรม การตรวจสอบและถ่วงดุล และสิทธิส่วนบุคคล

“เนื่องจากความสำเร็จในการเลือกตั้งของกลุ่มภราดรภาพ – มุร์ซีชนะการให้สัตยาบันในรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว – เพื่อผลประโยชน์ของประชาธิปไตยและเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคู่แข่งที่อ่อนแอกว่า มุร์ซีควรสร้างรัฐบาลที่มีเอกภาพก่อนการเลือกตั้งอีกครั้ง เหตุใดจึงยังคงเป็นสายล่อฟ้าสำหรับความกลัวหรือความไม่พอใจของฝ่ายตรงข้าม “ประชาธิปไตยแบบฉันทามติประสบความสำเร็จ—ไม่ใช่ประชาธิปไตยของคนส่วนใหญ่” ฆอนนูชีย์บอกเคิร์กแพทริก ตามที่ปรากฎในบทความ

แต่มุร์ซีปฏิเสธคำแนะนำนั้น โดยเชื่อว่าการยอมมอบอำนาจภายใต้การคุกคามของการประท้วงจะเป็นการยอมจำนนต่อการบีบบังคับทางการเมืองและเป็นแบบอย่างที่อันตราย

เคิร์กแพทริกกล่าวถึงคุณสมบัติของฆอนนูชีย์อีกว่า “จากการที่ชาวอียิปต์มากกว่าพันคนถูกสังหารตามท้องถนนเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร ติดคุกอีกนับหมื่น ผู้ที่อยู่ใต้ดินหรือถูกเนรเทศเรียกร้องให้มีการแก้แค้นกลุ่มเสรีนิยมที่เห็นได้ชัดว่าสนับสนุนการปฏิวัติของซีซี  แต่ฆอนนูชีย์ยังคงเรียกร้องให้มีการคืนดีกัน “เรืออียิปต์จำเป็นต้องรวมชาวอียิปต์ทั้งหมดไว้ด้วยกัน และไม่ทิ้งบางส่วนลงน้ำ” ฆอนนูชีย์บอกฉัน “ไม่ควรมีการลงโทษหมู่ การเยียวยารักษาประชาธิปไตยที่ล้มเหลวคือการเป็นประชาธิปไตยที่มากกว่า”

ในช่วงหลายเดือนหลังการรัฐประหารในอียิปต์ ความล้มเหลวของอาหรับสปริงในพื้นที่ต่างๆก็ตามมาเรื่อยๆ  ทำให้ความสิ้นหวังและแนวคิดสุดโต่งก่อตัวขึ้น  นับเป็นไปในทางตรงข้ามกับปี 2011 ที่จัตุรัสตะห์รีรปลุกระดมการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในเมืองหลวงทั่วภูมิภาค 

FILE PHOTO: Egyptian pro-democracy supporters gather in Tahrir Square in Cairo February 18, 2011. Egyptians held a nationwide “Victory March” on Friday to celebrate the overthrow of Hosni Mubarak’s 30-year rule one week ago, to protect the revolution and to remind new military rulers of the power of the street. Hundreds of thousands joined the rallies, which are also a memorial to the 365 people who died in the 18-day uprising, with many Egyptians expressing their intention to guard their newly-won prospect of democracy. Picture taken with a fish-eye lens. REUTERS/Mohamed Abd El-Ghany (EGYPT – Tags: CIVIL UNREST POLITICS)/File Photo

บทความกล่าวต่อไปว่า  “ตูนิเซียเป็นข้อยกเว้นสำหรับจุดเปลี่ยนหลังการรัฐประหาร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะฆอนนูชีย์ทำตามคำแนะนำที่เขาให้กับมุรซีย์   ในปีถัดมาพรรคนิยมอิสลามที่เขาร่วมก่อตั้งและเป็นผู้นำ  ได้รับบทบาทที่โดดเด่นในสภาเปลี่ยนผ่าน”

ในช่วงปลายปี 2013 เกิดการลอบสังหารนักการเมืองเซคคิวลาร์ฝ่ายซ้ายที่เอนเอียงไปทางซ้ายคู่หนึ่ง  ได้ทำให้กระบวนการทางการเมืองและการร่างรัฐธรรมนูญหยุดชะงักลง ฝ่ายตรงข้ามสงสัยว่ากลุ่มนิยมอิสลามหัวรุนแรงเป็นผู้ลงมือสังหาร และกล่าวโทษเอ็นนาห์ดาว่าล้มเหลวในการป้องกันพวกเขา

ฆอนนูชีย์ซึ่งไม่ได้ดำรงตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งในเวลานั้น ท้าทายคนจำนวนมากในพรรคของเขาเพื่อบรรลุข้อตกลงแบ่งปันอำนาจกับผู้นำหลักของฝ่ายค้านเซคคิวลาร์  และเอ็นนาห์ดามอบอำนาจโดยสมัครใจให้รัฐบาลรักษาการเพื่อดูแลการเลือกตั้งใหม่

การอนุเคราะห์ของฆอนนูชีย์ได้ทำลายวิกฤติลงโดยสิ้นเชิง การปฏิวัติของตูนิเซียฉลองครบรอบ 4 ปี โดยเป็นการปฏิวัติอาหรับสปริงเพียงแห่งเดียวที่ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จ และองค์กรภาคประชาสังคมที่ช่วยสนับสนุนการเจรจาระหว่างฆอนนูชีย์และฝ่ายค้านได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ “เราไม่ใช่เทวดา เราต้องการมีอำนาจ” ฆอนนูชีย์กล่าวในการเยือนวอชิงตัน “แต่เราเชื่ออย่างแรงกล้าว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมีความสำคัญมากกว่าการที่เราได้มีอำนาจ”

ความเป็นผู้นำของเขาทำให้เอนนาห์ดาเป็นตัวอย่างที่ไม่เหมือนใคร สำหรับสิ่งที่บางคนเรียกว่า “อิสลามแบบเสรีนิยม” ในความเป็นจริง ฆอนนุชีย์ช่วยเกลี้ยกล่อมให้ผู้นำเอนนาห์ดาให้เลิกใช้ป้ายชื่อ “อิสลามิสต์” และอธิบายตัวเองว่าเป็น “มุสลิมประชาธิปไตย” (ฆอนนูชีย์ตีพิมพ์บทความในวารสาร  Foreign Affairs  เพื่ออธิบายแนวคิดนี้ อ่านสรุปบทความนี้ใน เกาะติด ฯ บทความที่  2 ) พรรคของเขาซึ่งเป็นผู้นำการร่างรัฐธรรมนูญได้ผลักดันรัฐธรรมนูญที่มีการคุ้มครองสิทธิสตรีและชนกลุ่มน้อยทางศาสนาอย่างชัดเจน

เคิร์กแพทริกกล่าวว่า “เมื่อพูดถึงเหตุการณ์ในปี 2014 ฆอนนูชีย์ยังตั้งข้อสังเกตว่ารัฐธรรมนูญของตูนิเซียเป็นหนึ่งในรัฐธรรมนูญอาหรับไม่กี่ฉบับที่ไม่ได้อ้างอิงถึงกฎหมายอิสลาม เขารับรองกับฉันว่า ตูนิเซียรับรองเสรีภาพสำหรับมัสยิด โบสถ์ สุเหร่ายิว และแม้แต่ “ผับ”  ฆอนนูชีย์ไม่ถึงขั้นสนับสนุนการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน แต่อธิบายว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องส่วนตัว  ซึ่งเป็นท่าทีเสรีนิยมมากกว่าที่รัฐบาลอาหรับเกือบทุกประเทศยึดถือ”

บทความกล่าวต่อว่า “อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่หนักหน่วงของตูนิเซียไม่ได้ฟื้นตัวอย่างเต็มที่จากสถานการณ์ความวุ่นวายหลังการจลาจลอาหรับสปริง และโรคระบาดทำให้รีสอร์ทปิดตัวลง

หลายปีที่รัฐบาลรักษาการของตูนิเซียและรัฐบาลต่อมาแสดงความเฉยเมย ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ต่อนักการเมืองทั้งหมด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเอ็นนาห์ดา  ในระหว่างการเลือกตั้งในปี 2019  ฆอนนูชีย์บุ่มบ่ามตัดสินใจในการหาตำแหน่งในรัฐสภา และได้รับเลือกให้เป็นประธานรัฐสภา ฆอนนูชีย์ได้กลายเป็นนักการเมืองไปแล้ว  อิมาด ชาฮีน  นักวิชาการด้านอิสลามการเมืองที่ถูกเนรเทศจากอียิปต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะที่ฮาวาร์ด กล่าวว่า “รัฐสภาตูนีเซียนั้นเป็นเวทีละครสัตว์ ไม่ใช่สถานที่สำหรับผู้นำที่มีความรู้ความสามารถเช่นเขาจะเป็นประธาน และเขาจะถูกกลืนกินโดยการเมืองโสโครก”

ดังนั้น ในการเลือกตั้งปี 2019  ผู้มีสิทธิเลือกตั้งปฏิเสธผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทุกคนที่เคยดำรงตำแหน่งสาธารณะต่างตกที่นั่งลำบาก  โดยที่การเลือกตั้งรอบแรก นักประชานิยม 2 คน คือ เจ้าพ่อสื่อคนสำคัญและศาสตราจารย์กฎหมายผู้คลุมเครือ ได้รับคะแนนเสียงรวมกันเพียงหนึ่งในสาม 

ในการเลือกตั้งรอบสอง ศาสตราจารย์สะอีด ชนะขาดลอย สะอีดแตกต่างจากฆอนนูชีย์ในหลาย ๆ ด้าน  เขาหลีกเลี่ยงปรัชญาหรือกลุ่มการเมืองที่เป็นที่รู้จัก เขาแสดงท่าทีต่อต้านตะวันตกอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งตอนนี้ตูนิเซียต้องการความช่วยเหลืออย่างมากจากกองทุนนี้

รัฐธรรมนูญของสะอีดสัญญาว่า “รัฐจะทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของอิสลามบริสุทธิ์” และ”ให้อำนาจรัฐบาลในการควบคุมการตีความและการสอนอิสลาม” สะอีดเรียกชาวเกย์ว่า “กลุ่มเบี่ยงเบน” และสนับสนุนการถือว่าคนรักร่วมเพศเป็นอาชญากร และในปีนี้ ด้วยการใช้”ทฤษฎีการแทนที่” สะอีดได้เริ่มกระแสต่อต้านคนผิวดำด้วยการโยนบาปให้ผู้อพยพชาวแอฟริกันผิวสีว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาทางเศรษฐกิจของตูนิเซีย

ในตอนแรก สะอีดอ้างวิกฤตของโรคระบาดเป็นข้ออ้างในการยุบสภาและบริหารโดยกฤษฎีกา แต่เพียงไม่นาน ก็เริ่มควบคุมตัวนักวิจารณ์และฝ่ายตรงข้ามจำนวนมาก ปิดท้ายด้วยการจับกุมฆอนนูชีย์ในสัปดาห์นี้

อาชญากรรมที่ถูกกล่าวหาของฆอนนูชีย์เกี่ยวข้องกับถ้อยแถลงที่เขากล่าวเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้วว่า : “ตูนิเซียที่ไม่มีเอนนาห์ดา ไม่มีอิสลามทางการเมือง ไม่มีส่วนซ้ายหรือส่วนประกอบใดๆ ของตูนิเซีย คือเส้นการสำหรับสงครามกลางเมือง” ไม่นานก่อนพลบค่ำและการละศีลอดในวันจันทร์ (ที่ 27 รอมฎอน ) ซึ่งเป็นคืนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของเดือนรอมฎอน เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบกว่าร้อยนายบุกเข้าไปในบ้านของเขา ดังที่พรรคของฆอนนูชีย์ระบุในถ้อยแถลง  หลังจากถูกคุมขังสองวัน ฆอนนูชีย์ ซึ่งขณะนี้อายุ 81 ปี ถูกสอบปากคำเป็นเวลา 8 ชั่วโมง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ผู้พิพากษาได้ตัดสินให้ควบคุมตัวไว้ก่อนการพิจารณาคดี ในตอนแรกฆอนนูชีย์ถูกกล่าวหาว่ายุยงปลุกปั่น ปัจจุบันเขาถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการประทุษร้ายต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งเป็นอาชญากรรมที่มีโทษถึงประหารชีวิต

บทความกล่าวอีกว่า การที่สะอีดทำลายระบอบประชาธิปไตยของตูนิเซียนั้นชัดเจน แต่การคุมขังผู้นำพิเศษเช่นฆอนนูชีย์ ก็เป็นความพ่ายแพ้ต่อสังคมโลกเช่นกัน

สำหรับกลุ่มอิสลามิสต์ที่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง การจำคุกฆอนนูชีย์ถือเป็นเครื่องพิสูจน์หลักฐานใหม่ที่แสดงถึงความไร้ประโยชน์ของหีบบัตรเลือกตั้ง และการไร้เสียงของฆอนนูชีย์ก็เป็นการสูญเสียของตะวันตกเช่นกัน

“การอยู่ร่วมกันระหว่างอิสลามกับลัทธิเสรีนิยมและการปกครองแบบประชาธิปไตย” โรเบิร์ต คาเกน นักประวัติศาสตร์ด้านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ บอกผม “เป็นทางออกของปัญหาของเราในโลกอาหรับ และเป็นทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นกับเรา” นั่นเป็นความหวังที่ฆอนนูชีย์พยายามกอบกู้ในอียิปต์เมื่อสิบปีก่อน

ในวิดีโอที่บันทึกไว้ล่วงหน้าซึ่งเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี ฆอนนูชีย์เรียกร้องให้ชาวตูนีเซียมีความอดทน เขาบอกกับชาวตูนิเซียว่า “จงเชื่อมั่นในหลักการของการปฏิวัติของพวกท่าน และประชาธิปไตยจะไม่ใช่อดีตที่ผ่านไปแล้วในตูนีเซีย” ♦

#เกาะติดการจับกุมรอชิด_ฆอนนูชีย์

#ประชาธิปไตยเสรีนิยม

#อิสลามกับประชาธิปไตย


โดย Ghazali Benmad