แอร์โดอานกับหนังสือเล่มใหม่

แอร์โดอานได้จรดปากกาเขียนหนังสือเล่มใหม่ชื่อว่า “มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างโลกให้ยุติธรรมมากกว่านี้ “ หนังสือได้วางจำหน่ายแล้วเมื่อต้นเดือนกันยายน 2021 ที่ผ่านมา

แอร์โดอานเริ่มอธิบายความพยายามของตุรกียุคใหม่ ที่จะสร้างรัฐสวัสดิการและยุติธรรมแก่มนุษยชาติ พร้อมระบุความท้าทายที่ตุรกีต้องเผชิญ โดยเฉพาะ ความอยุติธรรม ปัญหาผู้อพยพปัญหาก่อการร้ายสากล การเป็นศัตรูต่ออิสลาม (อิสลาโมโฟเบีย) ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และการเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐาน

หนังสือเล่มนี้ ยังแตะประเด็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ของโลกโดยเฉพาะสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บทบาทหน้าที่และการเป็นสมาชิกถาวร ที่ท่านมักพูดอยู่เสมอว่า “โลกนี้ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะถูกควบคุมโดย 5 ประเทศ”

แอร์โดอานได้แสดงความมั่นใจถึงความเป็นไปได้ของโลก ในการสถาปนาสังคมที่ยุติธรรมกว่า โดยมีการจัดระเบียบที่เป็นสัดส่วนและยุติธรรมโดยเฉพาะการยกเลิกการใช้สิทธิ์วีโต้ของชาติมหาอำนาจ

“ไม่มีใครสามารถปัดความรับผิดชอบตราบใดที่ในโลกนี้ ยังมีเด็กๆต้องเสียชีวิตเพราะความรุนแรง”

“ความยุติธรรมเป็น 1 ในข้อเรียกร้องของประชากรโลกมากที่สุดขณะนี้ แต่เสียดาย องค์กรที่ทำหน้าที่ผดุงความยุติธรรม กลับกลายเป็นองค์กรที่มีปัญหาด้านความยุติธรรมมากที่สุด”

“ท่ามกลางโลกที่ขาดแคลนความปรานีจึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ที่จะเป็นตัวแทนผดุงความยุติธรรมและตอบสนองเสียงเรียกร้องของผู้อ่อนแอ”

“เราจะยังคงพูดตลอดเวลาว่า โลกนี้ใหญ่กว่า 5 ประเทศที่จะมาควบคุมได้ จนกว่าจะมีระบบที่สามารถทำให้สัจธรรมคือความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความเข้มแข็งคือสัจธรรม”

“ปัญหาของโลกปัจจุบัน จะไม่ถูกแก้ไขโดยองค์กรที่คำนึงถึงความต้องการในอดีต ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า องค์กรเหล่านี้ได้ก่อปัญหาใหม่เกิดขึ้นมากมาย”

“เราต้องการระเบียบโลกใหม่ที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นความหวังของชาวโลกที่เฝ้าฝันความยุติธรรมมาก กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน”

เป็นเนื้อหาที่กระแทกกล่องดวงใจของเจ้าของระเบียบโลกใหม่ในขณะนี้ และอาจเป็นแรงกระเพื่อมสร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ของโลกในอนาคตอันใกล้ – ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮ์ –

หนังสือเล่มนี้จะถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ อาหรับ เยอรมัน ฝรั่งเศส รัสเซียและสเปน โดยรายได้ทั้งหมดจะมอบให้แก่หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยแห่งตุรกี ( AFAD)


อ้างอิง

https://mubasher.aljazeera.net/news/2021/9/6/%D8%A3%D8%B1%D8%AF%D9%88%D8%BA%D8%A7%D9%86-%D9%8A%D8%B5%D8%AF%D8%B1-%D9%83%D8%AA%D8%A7%D8%A8%D8%A7-%D8%A8%D8%B9%D9%86%D9%88%D8%A7%D9%86-%D9%85%D9%86-%D8%A7%D9%84%D9%85%D9%85%D9%83%D9%86?fbclid=IwAR2gfeh-bk4KPujqW9cXm8dfj4lncRVkAP5SBnsoxfuKHN3-AqT3xGY5Avo

แปลสรุปโดย Mazlan Muhammad

รมว. กิจการศาสนาตุรกีเป็นประธานเชิดชูเด็กและเยาวชน ที่จบการอบรมการอ่านและท่องจำอัลกุรอาน

รมว. กิจการศาสนาตุรกี ศ. อาลี อัรบาช เป็นประธานเชิดชูเด็กและเยาวชนจำนวน 2 ล้านคนทั่วประเทศที่จบการอบรมการอ่านและท่องจำอัลกุรอานช่วงปิดภาคฤดูร้อนที่ผ่านมา พร้อมด้วยครูสอนอัลกุรอานจำนวน 110,000 คน โดยพิธีดังกล่าวจัดขึ้นในมัสยิดอายาโซเฟีย ที่มีการเชิญผู้แทนเด็กๆและครูทั่วประเทศเข้าร่วม

มีบางคนยังตั้งแง่ว่า ตุรกีเป็นรัฐเซคิวล่าร์ ใฝ่ประชาธิปไตย ผู้นำไม่ไว้เครา ยังสนับสนุนกฏหมายเกย์กะเทย ยังมีผับบาร์ แหล่งโสเภณี แหล่งอบายมุขมากมาย

ถึงขนาดฟัตวาผู้นำตุรกีปัจจุบันว่าเป็นหัวหน้ามุนาฟิก และตกมุรตัด

พวกเขาไม่มีวันเข้าใจว่า ชาวตุรกีรับมรดกบาปทีมีการปลูกฝังมายาวนานนับศตวรรษอย่างเป็นระบบ โดยมีอำนาจ “รัฐลึก” คอยปกป้องอย่างแน่นหนาและเข้มแข็ง

พวกเขาไม่มีวันเข้าใจการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ต้องอาศัยความอดทนอดกลั้น การเตรียมการและวางแผนที่รัดกุม การลำดับความสำคัญของปัญหาอันสลับซับซ้อน การวางนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติที่อาศัยวิสัยทัศน์และโลกทัศน์อันเฉียบแหลม

การที่หน่อไม้จะงอกเงยท่ามกลางดงป่าอันหนาทึบ นอกจากต้องต่อสู้ชูกิ่งก้านท่ามกลางต้นไม้อันใหญ่โตแล้ว ยังต้องดิ้นรนปกป้องตัวเองจากเหล่าสัตว์ป่าที่คอยกัดแทะหรือขุดทำลายใช้เป็นอาหารอีกด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลายาวนาน และเผชิญกับความยากลำบากแค่ไหน

#พวกเขาไม่มีวันเข้าใจ


เครดิตภาพและข่าว

Hamza Tekin

https://www.diyanet.gov.tr/ar-SA/%D8%A7%D9%84%D9%85%D8%A4%D8%B3%D8%B3%D9%8A%D8%A9/%D8%A7%D9%84%D8%AA%D9%81%D8%A7%D8%B5%D9%8A%D9%84/32662/———2021—

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

คลองอิสตันบูล…โครงการแห่งศตวรรษ

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 27 มิถุนายน 2564 ประธานาธิบดีแอร์โดอานเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “คลองอิสตันบูล” ใช้งบประมาณ 15,000 ล้านดอลล่าร์ ใช้เวลาดำเนินโครงการ 6 ปี


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ใครคือ ฟาติมา กาวักจี กุลฮาน

ฟาติมา กาวักจี กุลฮาน (Fatima Kavakci Gülhan – Abu Syanab) หญิงสาวตุรกีที่สวมฮิญาบ ซึ่งได้รับเลือกโดยท่านประธานาธิบดีแอร์โดอานให้เป็นล่ามแปลภาษาในการประชุมสุดยอดผู้นำนาโต้ล่าสุด

เธอคือใคร

ฟาติมา เป็นลูกสาวของ นางมัรวะฮ์ ศอฟา กาวักจี (Merve Kavakcı)อดีตนักการเมืองหญิง ผู้สวมผ้าคลุมฮิญาบเข้าสภาในสมัยการปกครองของทายาทเคมาลลิสต์ และต้องถูกไล่ออกจากสภาและโดนเนรเทศเพราะสวมฮิญาบในปี 1999 ต่อมาในปี 2017 นางได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตตุรกีประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์จนกระทั่งปัจจุบัน ส่วนพ่อของเธอเป็นชาวจอร์แดนที่อพยพจากปาเลสไตน์ ซึ่งถือสัญชาติสหรัฐอเมริกา หากจะกล่าวว่า เธอมีเชื้อสายปาเลสไตน์ ก็ไม่ผิดนัก

ฟาติมา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัย George Mason สหรัฐอเมริกา

จากนั้นเธอก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมและคริสเตียนในสาขาวิชาเสรีศึกษาที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์

นอกเหนือจากการศึกษาระดับป. เอกในวอชิงตัน ดี.ซี. เธอยังทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยในสถานที่ต่างๆ เช่นองค์กร Beckettfund เพื่อเสรีภาพทางศาสนา, ศูนย์นักวิชาการ Woodrow Wilson International และรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา  นอกจากนี้เธอยังทำงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสังกัดสำนักงานประธานาธิบดีตุรกีอีกด้วย

การปรากฏตัวของเธอเคียงข้างประธานาธิบดีตุรกี ในช่วงเวลาสำคัญเข่นนี้ เป็นวาระแห่งประวัติศาสตร์ ที่ปธน. แอร์โดอานต้องการสื่อสารไปยังโลก โดยเฉพาะชาวเซคิวล่าร์และสาวกเคมาลิสต์ตุรกีว่า ฮิญาบในตุรกีคือสัญลักษณ์ของเสรีชนเหมือนกับการถอดฮิญาบของชาวเซคิวล่าร์ที่มักอ้างเสรีชนเข่นกัน

ก่อนหน้านี้ 20 ปี ฮิญาบในตุรกีถูกจองจำในบริเวณบ้านและมัสยิดช่วงละหมาด และผู้ใส่ฮิญาบต่อหน้าสาธารณะคืออาชญากรรมรุนแรงที่โดนลงโทษรุนแรงถึงขั้นถูกถอนสัญชาติ บัดนี้ฝันร้ายดังกล่าว ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ยุคแห่งการถูกบังคับให้ปฏิเสธพระเจ้าได้กลายเป็นอดีตอันขมขื่นเท่านั้น  บัดนี้ฮิญาบได้สร้างสีสันทั่วฟ้าตุรกีอีกครา

ลองคิดเล่นๆว่า หากตุรกีออกกฎหมายบังคับให้สตรีมุสลิมะฮ์ตุรกีใส่ฮิญาบ ใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษรุนแรงถึงขั้นถอนสัญชาติ

ถามว่า โลกใบนี้จะเกิดอะไรขึ้น


อ่านเพิ่มเติม

https://www.trtarabi.com/now/%D8%AE%D8%B7%D9%81%D8%AA-%D8%A7%D9%84%D8%A3%D9%86%D8%B8%D8%A7%D8%B1-%D9%85%D9%86-%D8%A7%D9%84%D8%B2%D8%B9%D9%85%D8%A7%D8%A1-%D9%85%D9%86-%D9%81%D8%A7%D8%B7%D9%85%D8%A9-%D9%82%D8%A7%D9%88%D9%82%D8%AC%D9%8A-%D8%A3%D8%A8%D9%88-%D8%B4%D9%86%D8%A8-%D9%85%D8%AA%D8%B1%D8%AC%D9%85%D8%A9-%D8%A3%D8%B1%D8%AF%D9%88%D8%BA%D8%A7%D9%86-5771935

โดย Mazlan Muhammad

ขอบคุณคูเวตจัดโครงการ “อักศอสยอง”

รัฐบาลคูเวตโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับองค์กรและประชาชนชาวคูเวตจัดโครงการ “อักศอสยอง” เพื่อรณรงค์บริจาคช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ ในวันที่ 21/5/2021 ที่ผ่านมา โดยภายในคืนเดียวสามารถระดมเงินบริจาคทั้งสิ้นจำนวน 2,331,267 ดีนาร์คูเวต (1 ดีนาร์ = 104.39 บาท) หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 243,360,962 บาท ขณะนี้ได้ปิดการรับบริจาคแล้ว

การรณรงค์ครั้งนี้มีหน่วยงานรัฐบาลเอกชน บริษัท องค์กร มูลนิธิและบุคคลชาวคูเวตจำนวน 58,965 รายเข้าร่วม โดยเร่งให้ความช่วยเหลือ 3 ด้าน ได้แก่การแพทย์ อาหารและที่อยู่อาศัย ที่ครอบคลุมทั้งในเขตกาซ่าและเวสต์แบงค์ โดยเฉพาะบริเวณอัลกุดส์

นี่คือ 1 ในความดีงามที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นรางวัลให้แก่ชาวปาเลสไตน์ หลังจากถูกโอบล้อมมิให้ส่งความช่วยเหลือใดๆแก่ชาวกาซ่านานกว่า 15 ปี

ต่อไปนี้ชาวกาซ่าจะถูกต่อเครื่องหายใจโดยชาวโลก โดยเฉพาะประชาชาติอิสลามที่มีจำนวนเกือบ 2 พันล้านคน หลังจากที่พวกเขาโดนบีบคอนานกว่า 15 ปี

อัลลอฮ์ให้ทางออกแก่ผู้ศรัทธาเสมอ

ถึงแม้จะใช้เวลานานและผ่านความยากลำบากสักปานใดก็ตาม

https://4aqsa.com/ensan?fbclid=IwAR2vDEtVikDHLhjPU7XPpzRAwbn2A2Jd6UXV0NE4xyovhxa0RCrPcompHFg


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

การละหมาดและการละศีลอดครั้งแรก จากมัสยิดอายาโซเฟีย หลังจากปิดไป 86 ปี

เสียงอะซานแรกสำหรับละศีลอดดังขึ้นอีกครั้งจากหออะซานของมัสยิดอายาโซเฟียในเมืองอิสตันบูลของตุรกี  หลังจากหยุดชะงักไป 86 ปี จากการเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี 1934

ฉากทัศนียภาพกระชากหัวใจของสุเหร่าอายาโซเฟียในเย็นวันอังคาร เมื่อผู้อะซานได้ขึ้นไปบนหออะซานหนึ่งของมัสยิดอายาโซเฟีย อันเป็นหนึ่งในสี่หอของมัสยิด เพื่อให้สัญญาณละศีลอดและประกอบพิธีละหมาดสำหรับวันแรกของเดือนรอมฎอน

ช่างภาพในภูมิภาคได้จับภาพผู้อะซานที่ขึ้นไปยังหอคอย ในขณะที่อะซานดังก้องไปทั่วทั้งบริเวณ  สถานที่ที่ปรากฏขึ้นด้านหลังยังมีมัสยิดสุลต่านอาห์เหม็ดและเรือบางส่วนที่เตรียมจะข้ามช่องแคบบอสฟอรัส

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2020 ศาลยุติธรรมของตุรกีได้ออกคำพิพากษาให้อายาโซเฟียคืนสภาพกลับไปเป็นมัสยิดเหมือนเดิม หลังจากเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี  1934

คำพิพากษาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในตุรกีโดยฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน  รวมถึงการสนับสนุนอย่างกว้างขวางที่ปรากฏบนเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ในตุรกีตลอดจนนักวิชาการมุสลิมหลายพันคนทั่วโลก  ที่ยกย่องช่วงเวลาประวัติศาสตร์นี้ซึ่งพวกเขาเห็นว่า เป็นการฟื้นฟูสิทธิของชาวมุสลิมที่ถูกลิดรอนไป


โดย Ghazali Benmad

ดิ้นเฮือกสุดท้ายของกลุ่มเคมาลิสต์

ตุรกีเริ่มสอบสวน 103 นายพลนอกราชการที่ร่อนแถลงการณ์ปกป้องอะตาเติร์กและคัดค้านรัฐบาลตุรกี

กระทรวงกลาโหมตุรกีโจมตีแถลงการณ์ของนายทหารตุรกีที่เกษียณอายุแล้วว่า “ตาบอดเพราะความโลภและความอิจฉา”

วันอาทิตย์วันนี้ 4/4/2021 กระทรวงกลาโหมตุรกีโจมตีถ้อยแถลงของนายพลตุรกีที่เกษียณอายุราชการซึ่งออกเมื่อเย็นวันเสาร์

“กองทัพไม่สามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบรรลุวัตถุประสงค์ส่วนตัวของผู้ที่ไม่มีภารกิจหรือความรับผิดชอบใด ๆ ” กระทรวงกล่าวในแถลงการณ์

และเสริมว่า “เป็นที่ชัดเจนว่าการเผยแพร่แถลงการณ์ดังกล่าวมีแต่จะทำร้ายประชาธิปไตยของเรา”

และเน้นว่า “ไม่สามารถใช้กองทัพเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายความทะเยอทะยานและความหวังส่วนตัวของผู้ที่ไม่มีภารกิจหรือความรับผิดชอบใด ๆ “

กระทรวงเน้นย้ำว่า “ผู้ที่ตาบอดและไม่ต้องการเห็นความสำเร็จของกองทัพตุรกี ทั้งกองทัพเรือ  กองทัพบกและกองทัพอากาศ  เป็นกลุ่มเดียวที่ถูกบังตาด้วยความโลภและความอิจฉา “

นอกจากนี้ในวันอาทิตย์วันนี้ สำนักงานอัยการในกรุงอังการาเมืองหลวงของตุรกีได้เปิดการสอบสวนแถลงการณ์ดังกล่าวของนายทหารที่เกษียณอายุแล้ว

ทั้งนี้ นายพลที่เกษียณอายุราชการ 103 คนในกองทัพเรือตุรกีลงนามในแถลงการณ์เมื่อเย็นวันเสาร์โดยมุ่งโจมตีรัฐบาลตุรกีและประธานาธิบดีแอร์โดฆานของตุรกี พร้อมข่มขู่สำทับ ห้ามแตะรัฐธรรมนูญและค่านิยมของอะตาเติร์ก


โดย Ghazali Benmad

ผลงานเถื่อนบัชชาร์

โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในแอเลบโปโดนกองกำลังทมิฬบัชชาร์ที่สนับสนุนโดยอิหร่านถล่มด้วยขีปนาวุธ ทำให้เด็กน้อย 6 คนเสียชีวิต และโรงพยาบาลได้รับความเสียหายทั้งหลัง

นับเป็นเวลานาน 10 ปีที่นายบัชชาร์ อะสัด เข่าฆ่า สังหารและทำลายบ้านเรือน โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเปิดเผยจากกองกำลังที่มาจากอิหร่าน แต่ประชาคมโลกยังทำอะไรไม่ได้กับบัชชาร์แม้เพียงประณาม


ขอบคุณคลิปจาก TRT عربي

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

4 บุคคลทรงอิทธิพลในซีเรีย

หลังจากซีเรียต้องอยู่ภายใต้อุ้งมือของ 2 พ่อลูกตระกูลอะสัดมานานกว่า 50 ปี ซีเรียมีบุคคลอย่างน้อย 4 คนที่ทรงอิทธิพลเหนือดินแดนชาม ได้แก่

            1.         ฮาฟิศ อะสัด ถือกำเนิดที่เมืองลาซิกียะฮ์ ถิ่นผู้นับถือลัทธินุศ็อยรีย์มีจำนวนไม่ถึง 5% ของประชากรซีเรียซึ่งมีจำนวนกว่า 90% ของประเทศเป็นมุสลิมสุนหนี่ สมัยที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในปี 1967 เขาได้ฝากผลงานชิ้นโบว์แดงด้วยการขายที่ราบสูงโกลันให้แก่อิสราเอลในละครสงคราม 6 วันด้วยการรับสินบนจำนวน 6 ล้านดอลลาร์ ในปี 1970 เขาได้รับการคัดเลือกเป็นผู้นำด้วยคะแนนสนับสนุนท่วมท้นจำนวน 99.98 % โดยมีเสียงไม่เห็นด้วยเพียง 219 เสียงเท่านั้น เขาปกครองซีเรียทั้งประเทศเหมือนเป็นเรือกสวนไร่นาของตัวเอง ท่ามกลางน้ำตา คราบเลือดและซากศพของผู้บริสุทธิ์ชาวมุสลิมสุนหนี่ผู้บริสุทธิ์ เขาเสียชีวิตหลังจากสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าเหนือแผ่นดินซีเรียเมื่อปีค.ศ. 2000 ขณะอายุ 70 ปี

            2.         ชัยค์อัลอัลลามะฮ์ มูฮัมมัด สะอี้ด รอมฎอนอัลบูฏีย์ ชาวเคิร์ดผู้ถือกำเนิดที่ตุรกี แต่อพยพพร้อมบิดาและครอบครัว ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่กรุงดามัสกัส ซีเรีย เป็นอุละมาอฺผู้ยิ่งใหญ่สายอะชาอิเราะฮ์ ด้วยผลงานทางวิชาการด้านอิสลามศึกษามากมาย ชัยค์อัลบูฏีย์ถือเป็นผู้สนับสนุนผู้นำ 2 พ่อลูกตระกูลอะสัดอย่างสุดซอย ท่านได้นำละหมาดญะนาซะฮ์ของนายฮาฟิศ อะสัด และร่ำไห้ต่อหน้าศพอย่างอาลัยอาวรณ์ หลังจากนายบาสิล อะสัด(ลูกชายคนโตของนายฮาฟิศอะสัด) เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุรถยนต์ ท่านบอกว่าได้ฝันว่านายบาสิลอยู่ในสวรรค์ นอกจากนี้ท่านยังกล่าวขื่นชมนายหะซัน นัศรุลลอฮ์ ผู้นำฮิสบุลลอฮ์แห่งเลบานอน ท่านเสียชีวิตในเหตุการณ์ลอบสังหารด้วยระเบิดในมัสยิดที่ท่านสอนหนังสือเมื่อปี 2013 ขณะมีอายุ 84 ปี ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งด้านบวกและลบ โดยเฉพาะจุดยืนของท่านที่ไม่เห็นด้วยกับการประท้วงรัฐบาลของชาวซีเรีย

غفر الله له  وتجاوز عنه ورحمه وأدخله فسيح جناته

          3.         ชัยค์อัลอัลลามะฮ์มูฮัมมัด อาลี อัศศอบูนีย์

อุละมาอฺผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค เกิดเมื่อ 1 มกราคม 1930 ที่เมืองหะลับ(แอเลบโป) ซีเรีย เสียชีวิตแล้ว เมื่อ 19 มีนาคม 2021 ขณะอายุ 91 ปี ถือเป็นการสูญเสียผู้รู้ที่สำคัญในโลกอิสลามโดยเฉพาะด้านตัฟซีรอัลกุรอาน เจ้าของผลงานตำราด้านอิสลามศึกษากว่า 50 เล่ม

ถูกรัฐบาลซีเรียยุคฮาฟิศอะสัด ขึ้นบัญชีดำหมายหัว เนื่องจากท่านมีทัศนะว่า ผู้นำคนไหนที่ก้าวขึ้นมามีอำนาจโดยวิธีการบังคับและการใช้กำลัง ผู้นำคนนั้นจะต้องได้รับการต่อต้านจากประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้นำเรียกร้องประชาชนให้ปฏิเสธพระเจ้าและสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าอย่างฮาฟิศอะสัด

ชัยค์อัศศอบูนีย์ได้วิจารณ์นายบัชชาร์ อะสัด ประธานาธิบดีซีเรียคนปัจจุบันว่าเป็น มุสัยลิมะฮ์ อัลกัซซาบ และตักเตือนชัยค์มูฮัมมัด รอมฎอน อัลบูฏีย์ ด้วยคำตักเตือนที่รุนแรงชนิดไม่อ้อมค้อม เพราะชัยค์อัลบูฏีย์สนับสนุนนายฮาฟิศ อะสัด และบัชชาร์ อะสัด รวมทั้งไม่เห็นด้วยที่ขาวซีเรียลุกขึ้นประท้วงนายบัชชาร์อะสัดเมื่อปี 2011

ด้วยจุดยืนอันดุดันและมั่นคงที่สนับสนุนและเคียงข้างการประท้วงของชาวซีเรีย ทำให้สื่ออาหรับและชาวซีเรียตั้งฉายาท่านว่า “الشيخ الثائر” หรือผู้เฒ่านักปฏิวัติและถือเป็นอุละมาอฺผู้ยืนหยัดพูดสัจธรรมต่อหน้าผู้นำเผด็จการ

غفر الله له ورحمه رحمة واسعة وأدخله فسيح جناته ورزق لأهله وذويه الصبر والسلوان

            4.         บัชชาร์ อะสัด

ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีปี 2000 หลังอสัญกรรมของบิดานายฮาฟิศ อะสัด และยังอยู่ยงคงกระพันในอำนาจจนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลานานถึง 22 ปีแล้ว ผลงานเถื่อนในระยะเวลา 10 ปีหลังนี้คือการทำให้ประเทศซีเรียทั้งประเทศกลายเป็นทุ่งสังหารและดินแดนมิคสัญญีครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ทำให้มีผู้อพยพกว่า 10 ล้านคน ประชาชนถูกสังหารกว่า 1 ล้านคน บ้านเรือนและอาคารถูกถล่มจนราบเป็นหน้ากลอง แต่เขายังนั่งอยู่บนเก้าอี้ผู้นำสูงสุดของซีเรียอย่างเหนียวแน่น

3 คนได้จากไปแล้วด้วยผลงานอันมากมายทั้งดีและชั่ว ทั้งบวกและลบ แต่การตัดสินที่ยุติธรรมที่สุด ละเอียดที่สุดแม้เท่าผงธุลี คือการตัดสินของพระเจ้าผู้ทรงยุติธรรมและทรงรอบรู้ ทั้ง 3 ท่านกำลังได้รับการพิจารณาและรับผลอานิสงค์ที่ตนเองได้กระทำแล้ว

ส่วนอีกคน กำลังโลดแล่นบนยุทธจักรเถื่อนมากมาย เขาอาจจะรอดพ้นจากการตัดสินและได้รับการอุ้มชูจากมหาอำนาจบนโลกนี้ แต่เขาไม่มีวันรอดพ้นจากการพิพากษาของพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาลอย่างแน่นอน


โดย Mazlan Muhammad

สตรีชาวอเมริกันเข้ารับอิสลามหลังติดตามซีรีส์ประวัติศาสตร์ชื่อดังของตุรกี “Ertugrul Resurrection-คืนชีพคืนแผ่นดิน”

ได้รับอิทธิพลจากซีรีส์ประวัติศาสตร์ชื่อดังของตุรกี “Ertugrul Resurrection-คืนชีพคืนแผ่นดิน” สตรีชาวอเมริกันในนิวยอร์กซิตี้ประกาศนับถือศาสนาอิสลาม หลังจากติดตามเหตุการณ์ในซีรีส์ที่พูดถึงยุคที่มีส่วนในการก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมัน

นางเปลี่ยนชื่อเป็น“คอดีญะฮ์” กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว “อนาโตเลีย” ว่า เธอตัดสินใจเข้ารับอิสลามเนื่องจากได้รับผลกระทบจากซีรีส์เรื่อง The Resurrection of Ertugrul และสิ่งที่เธอได้ยินเกี่ยวกับพระเจ้า, อิสลาม, สันติภาพ, ความยุติธรรม และช่วยเหลือผู้ถูกกดขี่

หญิงวัย 60 ปีกล่าวว่า ก่อนที่เธอจะดูซีรีส์เธอไม่รู้อะไรเกี่ยวกับยุคประวัติศาสตร์นั้น และซีรีส์นี้ดึงดูดเธอด้วยการเสนอแนวคิดของศาสนาอิสลามความยุติธรรมและการช่วยเหลือผู้ถูกกดขี่

เธอระบุว่าเธอรักตัวละครของแอร์ตุฆรุล ตูร์กูต  และ เซลจัน มากกว่าคนอื่น ๆ ในซีรีส์ โดยแสดงความผิดหวังเมื่อเธอรู้ว่า บัมซี  ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือแอร์ตุฆรุลและยืนอยู่ข้างเขา

ตัวละครอิบนุอารอบีก็เป็นที่ชื่นชอบของเธอ  เธอดูซีรีส์นี้ 4 ครั้งติดต่อกันและตอนนี้เธอดูซีรีส์นี้เป็นครั้งที่ 5 โดยแสดงความชื่นชมในคุณค่าที่เขานำเสนอโดยเฉพาะเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม

นอกจากนี้เธอยังชี้ให้เห็นว่าเธอถูก “แยกทางสังคม” โดยเพื่อนของเธอหลังจากที่พวกเขาทราบข่าวเกี่ยวกับการเข้ารับศาสนาอิสลามของเธอ โดยแสดงความหวังว่าเธอจะได้ไปเยือนตุรกี และชมสุสานทางประวัติศาสตร์ของตัวละครในซีรีส์โดยเร็วที่สุด


โดย Ghazali Benmad