ภารกิจส่งความช่วยเหลือแก่ชาวกาซ่า รอบที่ 5

8 มิถุนายน 2567

เวลา 10.30 น.

ประธานมูลนิธิเรือนร่างเดียวกันกล่าวว่า ภารกิจความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวกาซ่ารอบ 5 ครั้งนี้ เน้นสร้างเต้นท์ชั่วคราวจำนวน 30 หลังที่คานยูนุสและดีร์บาลาห์ พื้นที่ตอนกลางกาซ่า ซึ่งยังมีผู้อพยพไร้ที่พักเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังจัดกุรบานวัวจำนวน 10 ตัว โดยจะเชือดวัวที่ประเทศอินเดีย และจะลำเลียงส่งเนื้อกุรบานเข้าแจกจ่ายแก่ชาวกาซ่าภายในเวลา 30-40 วัน

“หลังเกิดยุทธการพายุแกร่งแห่งอักศอเมื่อเดือนตุลาคม 2023 มูลนิธิเรือนร่างเดียวกันได้จัดโครงการช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ชาวกาซ่า โดยได้ส่งมอบความช่วยเหลือมาแล้วจำนวน 4 รอบ รวมครั้งนี้รอบที่ 5 จำนวน 1,200,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,232,588 บาท

ส่งมอบความช่วยเหลือรอบแรก และ รอบสอง
ส่งมอบความช่วยเหลือรอบสาม
ส่งมอบความช่วยเหลือรอบที่สี่

ทีมข่าวต่างประเทศ

โครงการสร้างเต้นท์ที่พักชั่วคราวให้แก่ชาวกาซ่า

มอบเงินช่วยเหลือ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

ผศ. มัสลัน มาหะมะ ประธานมูลนิธิเรือนร่างเดียวกันกล่าวว่า เนื่องจากงบประมาณที่ค่อนข้างจำกัด เรามีความจำเป็นสร้างเต้นท์ที่พักชั่วคราว ใช้งบประมาณหลังละ 500 ดอลล่าร์ โดยในแต่ละหลังสามารถจุสมาชิกในครอบครัว 10-15 คน ซึ่งต้องอาศัยอยู่อย่างแออัดมาก แต่ก็สามารถสร้างรอยยิ้มให้พี่น้องได้มาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ต้องอาศัยบนถนนโดยไม่มีอะไรปิดกั้นใด ๆ แม้กระทั่งช่วงฝนตกหรือสภาพอากาศอันหนาวเหน็บ

โครงการนี้เป็นโครงการสืบเนื่องของการรณรงค์ #RAMADAN4UGAZA ที่ได้ดำเนินการก่อนหน้านี้แล้ว แต่เนื่องจากการสร้างเต้นท์ที่พักชั่วคราวเป็นโครงการนำร่องที่จำเป็นเร่งด่วน ทีมงานภาคสนามจึงได้จัดโครงการนี้ท่ามกลางข้อจำกัดมากมาย


ทีมข่าวต่างประเทศ

อธิการบดี มฟน. เยี่ยมคารวะประธานกิจการศาสนาแห่งตุรเกีย

14 พฤษภาคม 2567


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

จุฬาราชมนตรีพร้อมด้วยอธิการบดีมฟน.ร่วมประชุมสุดยอดอุละมาอฺโลกที่อิสตันบูล

13 พฤษภาคม 2567

10.00 น.

ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้มีนักวิชาการระดับโลกกว่า  200 คนเข้าร่วมประชุม ซึ่งได้รับเกียรติจากประธานาธิบดี ฯพณฯ เราะญับ ต็อยยิบ แอร์โดอาน เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้เข้าร่วมประชุมสุดยอดครั้งนี้ ณ สำนักงานประธานาธิบดี ประจำกรุงอิสตันบูล พระราชวังโดลมาบาห์เช่

ประธานสำนักงานกิจการศาสนา Prof.Dr.Ali  Erbas ในฐานะเจ้าภาพและประธานการประชุมสุดยอดครั้งนี้ได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “การฟื้นฟูวาระหลักของสนธิสัญญาปกป้องผู้ถูกกดขี่ (สนธิสัญญาอัลฟุฎูล) ศึกษากรณีชาวกาซ่า

การประชุมครั้งนี้มีการนำเสนอประเด็นย่อย 4 หัวข้อได้แก่ 1) การเสริมสร้างการตื่นรู้ของประชาชาติอิสลามต่อความท้าทายร่วมสมัย 2) ยุทธศาสตร์การสื่อสารและแสวงจุดร่วมในการสกัดการรุกคืบของแนวคิดสุดโต่งอันเป็นภัยคุกคามต่อประชาชาติอิสลาม 3) วาทกรรมที่เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความสงบสุขของมนุษยชาติ 4) วิกฤติกาซ่าและบททดสอบแห่งมนุษยธรรม


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

ปธน.แอร์โดอานย้ำ การสังหารหมู่ครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติได้เกิดขึ้นแล้วที่กาซ่า

https://www.facebook.com/diyanetbasin/videos/1177096986793875

ประธานาธิบดีแอร์โดอานได้เน้นย้ำว่าการสังหารหมู่ที่โหดร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้เกิดขึ้นแล้วที่ฉนวนกาซาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2023

ส่วนหนึ่งของเนื้อหาสุนทรพจน์ของผู้นำตุรเกียสรุปได้ดังนี้

“อิสราเอล ซึ่งได้ขยายอาณาเขตผ่านการยึดครอง การกดขี่และการสังหารหมู่อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ก่อตั้ง จนกระทั่งวินาทีนี้ ซึ่งยังคงทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องหลั่งเลือด จนกระทั่งปัจจุบัน มีเด็ก 15,000 คนถูกสังหารอย่างโหดร้าย พี่น้องชาวปาเลสไตน์ถูกสังเวยชีวิต 35,000 รายส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและพลเรือน และอีก 80,000 คนได้รับบาดเจ็บ ผู้คนประมาณ 2 ล้านคนถูกบังคับให้อพยพออกจากบ้านและประเทศของตน กาซ่าซึ่งเคยเป็นเรือนจำเปิดขนาดใหญ่ ก่อนวันที่ 7 ตุลาคม ได้กลายเป็นสุสานขนาดใหญ่โตที่สุด ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เราพบเห็นเฉพาะในเยอรมนียุคฮิตเลอร์เท่านั้น “

“ในช่วง 219 วันที่ผ่านมา เราได้เห็นเหตุการณ์เช่นนี้ ซึ่งไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้ มีการทิ้งระเบิดถล่มโรงพยาบาล สถานที่มีเกียรติทางศาสนา โรงเรียน มหาวิทยาลัย ทำลายระบบส่ธารณูปโภคและชุมชนพลเรือน ซึ่งไม่มีใครแตะต้องได้ แม้กระทั่งเอ่ยถึงแม้เพียงประโยคเดียว”

 “หลักการ กฎเกณฑ์และแนวปฏิบัติทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ได้ถูกเหยียบย่ำต่อหน้าต่อตาชาวโลก”

“เราสามารถมองเห็นใบหน้าที่แท้จริงของระบอบและองค์กรระหว่างประเทศที่ถูกกระชากอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันได้ประจักษ์ชัดว่าประเทศที่พูดถึงสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในทุกโอกาสสนับสนุนผู้ที่สังหารชาวกาซ่าจำนวน 35,000 คนต่อหน้าสายตาชาวโลก”

“เราได้เห็นแล้วว่าองค์กรสื่อระหว่างประเทศไม่สามารถเอ่ยถึงนักข่าว 150 คนแม้เพียงประโยคเดียว ที่ถูกอิสราเอลสังหารอย่างเลือดเย็น เราได้เห็นแล้วว่าสหประชาชาติไม่สามารถปกป้องแม้แต่บุคลากรในสังกัดของตนเอง นับประสาอะไรกับชีวิตของชาวปาเลสไตน์”

“เราได้เห็นแจ้งแล้วว่าผู้ที่กล่าวเมื่อวานนี้ว่า “สิทธิในการประท้วงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์’ แต่วันนี้พวกเขาไม่สามารถอดทนต่อการแสดงจุดยืนของกลุ่มผู้สนับสนุนปาเลสไตน์ได้”

ประธานาธิบดีแอร์โดอานกล่าวอีกว่า ดูเหมือนว่าสหภาพยุโรปยอมจำนนต่ออิสราเอลมากเกินไปที่จะเรียกร้องให้มีการหยุดยิง และกล่าวว่า “เราเห็นอธิการบดีที่ถูกไล่ออกจากงานเพียงเพราะพวกเขาวิพากษ์วิจารณ์อิสราเอล นักการเมืองก็สิ้นสภาพทั้งตำแหน่งและเกียรติภูม ศิลปินถูกคุกคาม และนักศึกษาไม่มีสิทธิพูดและเสนอความคิดเห็นใด ๆ ทั้ง ๆ ที่เราป่าวประกาศเรื่องเสรีภาพทางความคิด”

 “เราได้เห็นแล้วว่าบรรดาผู้ที่โฆษณาตัวเองว่าเป็น ‘ดินแดนแห่งเสรีภาพ’ จู่ ๆ ก็หันไปพึ่งพาลัทธิฟาสซิสต์ เมื่อผลประโยชน์ของอิสราเอลตกเป็นเดิมพัน”

ประธานาธิบดีแอร์โดอานกล่าวย้ำว่า เราเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและอยู่เคียงข้างกับชาวปาเลสไตน์ตั้งแต่วันแรก และจุดยืนนี้ไม่เคยเปลี่ยนแปลง”

“เราเคยเห็นคนที่บิดเบือนความจริง นิ่งเงียบ โกหกและสร้างข้อมูลเท็จเพื่อสนับสนุนมาตรการโฆษณาชวนเชื่อของอิสราเอล เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตราหน้าว่าฆาตกรสงคราม ในฐานะชาวตุรกี เราได้แสดงน้ำใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอย่างเต็มที่กับชาวปาเลสไตน์ตั้งแต่วันแรก เรากำลังใช้ความพยายามอย่างเข้มข้นเพื่อหยุดยั้งการนองเลือดในฉนวนกาซ่าและป้องกันการโจมตีของอิสราเอล เราเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ฉนวนกาซ่ามากที่สุด โดยมีจำนวนความช่วยเหลือประมาณ 54,000 ตัน เราส่งน้ำดื่มสะอาด 127 ตันทุกสัปดาห์ไปยังฉนวนกาซา ซึ่งอิสราเอลได้ทำลายทรัพยากรน้ำของตน ผู้ป่วยและผู้ได้รับบาดเจ็บจากฉนวนกาซามากกว่า 400 ราย รวมถึงผู้ป่วยโรคมะเร็ง ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในประเทศของเรา”

ประธานฝ่ายกิจการศาสนา ศ. ดร. อาลี อัรบาช ชี้ให้เห็นในสุนทรพจน์ของท่านว่าทุกวันนี้ โลกกำลังผันผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ ภายใต้ปัญหาอันสลับซับซ้อน เช่น สงคราม ความยากจน การก่อการร้าย และความสิ้นหวัง ท่านกล่าวว่า “โลกต้องการค่านิยมสากลของศาสนาอิสลาม ศีลธรรมอันดีงามและหลักการที่ยึดถือความจริงมากขึ้นกว่าเดิม ในทางกลับกัน เราสังเกตด้วยความเสียใจว่าชาวมุสลิมผู้ซึ่งควรนำความหวังมาสู่โลกด้วยข้อความแห่งความเมตตาของศาสนาอิสลาม ต้องเผชิญกับปัญหาร้ายแรงในโลกนี้”

ท่านระบุว่า ระยะห่างระหว่างความจริงของอิสลามกับชีวิตและความสับสนยุ่งเหยิงของชาวมุสลิมยังเบียดบังความหมายของศาสนาอิสลามสำหรับมนุษยชาติด้วย

“น่าเสียดายที่ชาวมุสลิมอ่อนแอเกินไปและไม่มีศักยภาพพอที่จะนำเสนอหลักการสากลของศาสนาอิสลามแก่มนุษยชาติ เรารู้ว่าอิสลามมีวิสัยทัศน์ของมนุษย์ที่เน้นไปที่สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน พระองค์ทรงมีหลักความจำเป็นพื้นฐานคือ รักษาศาสนา ชีวิต สติปัญญา ทรัพย์สิน ศักดิ์ศรีและวงศ์ตระกูล มีวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เน้นการตระหนักถึงความรับผิดชอบและศีลธรรมอันดี มีแนวคิดเรื่องกฎหมายที่รับรองชีวิตที่มีเกียรติและปลอดภัย “มีวิสัยทัศน์ของศิลปะที่เป็นสัญลักษณ์ของความสง่างามและสุนทรียศาสตร์”

https://www.facebook.com/diyanetbasin/videos/467237259197378

เอื้อเฟื้อรูปและข่าว : Diyanet İşleri Başkanlığı 


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

จุฬาราชมนตรีแสดงความยินดีกับอธิการบดีมฟน.

ทั้งสองท่านมีโอกาสพบเจอในงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2567  โดยประธานาธิบดีแห่งตุรเกีย นายเราะญับ ตอยยิบ แอร์โดอานให้เกียรติเป็นเจ้าภาพ ณ ทำเนียบประธานาธิบดี ประจำอิสตันบูล พระราชวังโดลมาบาห์เช่

เอื้อเฟื้อภาพโดย: Diyanet İşleri Başkanlığı

ท่านจุฬาราชมนตรี อาจารย์อรุณ บุญชมและอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฎอนี รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียาในฐานะสองนักวิชาการอิสลามจากประเทศไทยที่ได้รับเชิญเข้าร่วม ประชุมสุดยอดอุละมาอฺโลกอิสลาม ในหัวข้อ “A Common Strategy of Discourse and Action against Extremism Threatening the Ummah” จัดโดย สำนักกิจการศาสนา สาธารณรัฐตุรเกีย (Diyanet) ณ Grand Cevahir Hotel กรุงอิสตันบูล ระหว่างวันที่ 13 – 14 พฤษภาคม 2567

رافقتكم السلامة وفي رعاية الله


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

อธิการมฟน. ได้รับโล่ศิษย์เก่าดีเด่นณ ม.มาดีนะห์

ในงานนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้มอบรางวัลเกียรติคุณ “ศิษย์เก่าผู้สร้างคุณประโยชน์ดีเด่น” ด้านต่างๆ ดังนี้

1- ผู้สร้างคุณประโยชน์ดีเด่นสาชาวิชาการ

2- ผู้สร้างคุณประโยชน์ดีเด่นสาขาผลงานทางสังคม

3-ผู้สร้างคุณประโยชน์ดีเด่นสาขานวัตกกรรมความคิดสร้างสรรค์และผู้นำด้านการประกอบการ

4- ผู้สร้างคุณประโยชน์ดีเด่นสาขาการพัฒนาที่ยั่งยืนและความสำเร็จทางวิชาชีพ

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา ได้รับเกียรติรับ“รางวัลโล่เกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่น สาขานวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์เเละผู้นำด้านการประกอบการ”

‎(الإبداع وريادة الأعمال)

โดยได้รับเกียรติจากเจ้าชายซัลมาน บิน สุลฏอน บินอับดุลอาซิซ อาลสุอูด ผู้ว่าการนครมะดีนะห์เป็นผู้มอบรางวัล

ถือเป็นเกียรติเเละความภาคภูมิใจอย่างยิ่งเเก่นักศึกษาไทยเเละปวงชนชาวไทยทั้งปวงโดยเฉพาะชาวพิกุลจากรั้วมหาวิทยาลัยฟาฏอนี

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา

มีผลงานโดดเด่นเเละเป็นที่ยอมรับจากทั้งในเเละต่างประเทศ

เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอิสลามมะดีนะห์เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาวิชาดะวะห์เเละอุศูลุดดีน คณะดะวะห์เเละอุศูลุดดีน

มหาวิทยาลัยอิสลามมะดีนะห์ เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกที่มุ่งสร้างเเละพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่สังคมสันติสุข ผ่านหลักการอิสลามสายกลางที่วางอยู่บนพื้นฐานอัลกุรอานเเละสุนนะห์ของท่านนบีมูฮัมมัดศ็อลลัลลอหุอะลัยฮิวะสัลลัม

สถาบันอิสลามเเห่งนี้ ถือเป็นชานชาลาแห่งการประสิทธิ์ประสาทองค์ความรู้อิสลาม ตลอดจนบ่มเพาะเเละเจียระไนบรรดาผู้รู้เเละนักวิชาการ อันนำไปสู่ความสำเร็จและสร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านต่างๆ ทั่วโลก

อังคาร 28 เชาวาล 1445 / 7 พฤษภาคม 2024

เวลา 20:00 น.

ณ มหาวิทยาลัยอิสลาม นครมะดีนะห์


รายงานโดย A Fattah Lutfi Japakiya

สร้างบ้านให้แก่ผู้ด้อยโอกาส หลังที่ 3

30 เมษายน 2567

เวลา 13.45 น.

ผศ. มัสลัน มาหะมะ กล่าวว่า เงินจำนวนดังกล่าว เป็นการระดมสงเคราะห์จากพี่น้องทั่วประเทศ โดยเริ่มจากซื้อที่ดินขนาด 5 x 20 ม. ราคา 70,000 บาท เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 และได้ก่อสร้างบ้านบนที่ดินดังกล่าวด้วยงบประมาณที่พี่น้องทยอยให้ความช่วยเหลือตามโอกาสต่าง ๆ จนกระทั่งแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์และจัดพิธีมอบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 

الحمد لله الذي بنعمته تتم الصالحات

#การงานที่ประเสริฐสุดคือสร้างรอยยิ้มให้ผู้คน

#คนที่ประเสริฐที่สุดคือคนที่สร้างประโยชน์แก่คนอื่น

#เราไม่เคยลืมพี่น้องใกล้บ้าน

#เราส่งความช่วยเหลือแก่พี่น้องไกลบ้าน

#เพราะพี่น้องเราต้องการมากกว่าดุอา

#เพราะเราคือเรือนร่างเดียวกัน


โดยทีมข่าว Theustaz.com

มฟน. จัดละหมาดขอฝนอธิการบดีเรียกร้องมุสลิมีนหมั่นขออิสติฆฟาร์

28 เมษายน 2567 

เวลา 09.00 น.

มหาวิทยาลัยฟาฏอนีร่วมกับชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัยจัดพิธีละหมาดขอฝน นำโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัย รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา กล่าวคุตบะฮ์ ชี้สาเหตุของการเกิดฝนแล้งเนื่องจากบาปและการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮ์

จึงขอให้ทุกคน หันกลับไปสู่อัลลอฮ์ด้วยการขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮ์ด้วยหัวใจที่ศรัทธาและยำเกรง เพราะด้วยความศรัทธาและยำเกรงเท่านั้น ที่เป็นกุญแจสำคัญในการเปิดประตูความโปรดปรานของอัลลอฮ์

Cerdit : รูปจาก เพจ เช่ากล้องโปร ยะลา

https://www.facebook.com/FTUtv/videos/6873483132753108

โดยประมาณเวลา 14.00 ฝนได้ตกลงมา ทำให้บริเวณฟมน.โดยรอบฉุ่มฉ่ำ อัลฮัมดูลิลลาฮฺ

โลกอิสลามได้สูญเสียปูชนียบุคคลอีกราย

หากเป็นดาราฮอลีวู้ด นักธุรกิจหมื่นล้าน หรือนักกีฬาระดับตำนานเสียชีวิต ข่าวคราวการเสียชีวิตของพวกเขาคงได้รับการเผยแพร่ไปจนถึงดาวอังคาร

แต่นี่เป็นเพราะเป็นอุละมาอฺ มุร็อบบีย์ นักต่อสู้เพื่ออิสลาม นักผสมผสานระหว่างองค์ความรู้กับการปฎิบัติในภาคสนามได้อย่างลงตัว ผู้มีจุดยืนอันเข้มแข็งดุจภูผา บ้านของท่านที่เยเมนถูกกบฏฮูซีย์ถล่มย่อยยับพร้อมกับญาติพี่น้องและสหายที่ต้องสังเวยชีวิต ทำให้ท่านตัดสินใจลี้ภัยไปยังซาอุฯ 5 ปี และสุดท้ายต้องหาแหล่งพักพิงที่อบอุ่นกว่าคืออิสตันบูลจนกระทั่งเสียชีวิต

ข่าวคราวการเสียชีวิตของท่าน อาจดูเงียบเชียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่อาจสร้างความเสียใจอย่างใหญ่หลวงให้แก่ชาวฟากฟ้าก็เป็นได้


โดย Mazlan Muhammad