รัฐบาลซาอุฯ ส่งสารแสดงความยินดีกับปธน.อิหร่านคนใหม่

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ :

https://www.spa.gov.sa/N2146855?fbclid=IwY2xjawEYBANleHRuA2FlbQIxMAABHTZi1HEfVdfOzroklOZ5G4J5RnTjiQ_7K6Njh1bAYNcIpzu6_c3kFhDrmw_aem_1DtqWIRgm9yTNEBtUPADNg


ทีมงานข่าวต่างประเทศ

ภารกิจส่งความช่วยเหลือแก่ชาวกาซ่ารอบที่ 6/2024


28 กรกฎาคม 2567 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น

โดยจะนำเงินจำนวนดังกล่าวจัดโครงการ 3 โครงการหลักคือ

1. สร้างเต้นท์ชั่วคราวจำนวน 35 หลัง

2. ซ่อมแซมบ่อน้ำเพื่ออุปโภคจำนวน 1 บ่อ

2. ซื้อน้ำดื่ม เพื่อแจกจ่ายแก่ครอบครัวผู้เดือดร้อนจำนวน 100-200 ครอบครัว

وجزاكم الله خيرا

ภารกิจส่งความช่วยเหลือแก่ชาวกาซ่า รอบที่ 5

8 มิถุนายน 2567

เวลา 10.30 น.

ประธานมูลนิธิเรือนร่างเดียวกันกล่าวว่า ภารกิจความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวกาซ่ารอบ 5 ครั้งนี้ เน้นสร้างเต้นท์ชั่วคราวจำนวน 30 หลังที่คานยูนุสและดีร์บาลาห์ พื้นที่ตอนกลางกาซ่า ซึ่งยังมีผู้อพยพไร้ที่พักเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังจัดกุรบานวัวจำนวน 10 ตัว โดยจะเชือดวัวที่ประเทศอินเดีย และจะลำเลียงส่งเนื้อกุรบานเข้าแจกจ่ายแก่ชาวกาซ่าภายในเวลา 30-40 วัน

“หลังเกิดยุทธการพายุแกร่งแห่งอักศอเมื่อเดือนตุลาคม 2023 มูลนิธิเรือนร่างเดียวกันได้จัดโครงการช่วยเหลือเร่งด่วนแก่ชาวกาซ่า โดยได้ส่งมอบความช่วยเหลือมาแล้วจำนวน 4 รอบ รวมครั้งนี้รอบที่ 5 จำนวน 1,200,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,232,588 บาท

ส่งมอบความช่วยเหลือรอบแรก และ รอบสอง
ส่งมอบความช่วยเหลือรอบสาม
ส่งมอบความช่วยเหลือรอบที่สี่

ทีมข่าวต่างประเทศ

โครงการสร้างเต้นท์ที่พักชั่วคราวให้แก่ชาวกาซ่า

มอบเงินช่วยเหลือ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

ผศ. มัสลัน มาหะมะ ประธานมูลนิธิเรือนร่างเดียวกันกล่าวว่า เนื่องจากงบประมาณที่ค่อนข้างจำกัด เรามีความจำเป็นสร้างเต้นท์ที่พักชั่วคราว ใช้งบประมาณหลังละ 500 ดอลล่าร์ โดยในแต่ละหลังสามารถจุสมาชิกในครอบครัว 10-15 คน ซึ่งต้องอาศัยอยู่อย่างแออัดมาก แต่ก็สามารถสร้างรอยยิ้มให้พี่น้องได้มาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ต้องอาศัยบนถนนโดยไม่มีอะไรปิดกั้นใด ๆ แม้กระทั่งช่วงฝนตกหรือสภาพอากาศอันหนาวเหน็บ

โครงการนี้เป็นโครงการสืบเนื่องของการรณรงค์ #RAMADAN4UGAZA ที่ได้ดำเนินการก่อนหน้านี้แล้ว แต่เนื่องจากการสร้างเต้นท์ที่พักชั่วคราวเป็นโครงการนำร่องที่จำเป็นเร่งด่วน ทีมงานภาคสนามจึงได้จัดโครงการนี้ท่ามกลางข้อจำกัดมากมาย


ทีมข่าวต่างประเทศ

อธิการบดี มฟน. เยี่ยมคารวะประธานกิจการศาสนาแห่งตุรเกีย

14 พฤษภาคม 2567


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

จุฬาราชมนตรีแสดงความยินดีกับอธิการบดีมฟน.

ทั้งสองท่านมีโอกาสพบเจอในงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2567  โดยประธานาธิบดีแห่งตุรเกีย นายเราะญับ ตอยยิบ แอร์โดอานให้เกียรติเป็นเจ้าภาพ ณ ทำเนียบประธานาธิบดี ประจำอิสตันบูล พระราชวังโดลมาบาห์เช่

เอื้อเฟื้อภาพโดย: Diyanet İşleri Başkanlığı

ท่านจุฬาราชมนตรี อาจารย์อรุณ บุญชมและอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฎอนี รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียาในฐานะสองนักวิชาการอิสลามจากประเทศไทยที่ได้รับเชิญเข้าร่วม ประชุมสุดยอดอุละมาอฺโลกอิสลาม ในหัวข้อ “A Common Strategy of Discourse and Action against Extremism Threatening the Ummah” จัดโดย สำนักกิจการศาสนา สาธารณรัฐตุรเกีย (Diyanet) ณ Grand Cevahir Hotel กรุงอิสตันบูล ระหว่างวันที่ 13 – 14 พฤษภาคม 2567

رافقتكم السلامة وفي رعاية الله


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

อธิการมฟน. ได้รับโล่ศิษย์เก่าดีเด่นณ ม.มาดีนะห์

ในงานนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้มอบรางวัลเกียรติคุณ “ศิษย์เก่าผู้สร้างคุณประโยชน์ดีเด่น” ด้านต่างๆ ดังนี้

1- ผู้สร้างคุณประโยชน์ดีเด่นสาชาวิชาการ

2- ผู้สร้างคุณประโยชน์ดีเด่นสาขาผลงานทางสังคม

3-ผู้สร้างคุณประโยชน์ดีเด่นสาขานวัตกกรรมความคิดสร้างสรรค์และผู้นำด้านการประกอบการ

4- ผู้สร้างคุณประโยชน์ดีเด่นสาขาการพัฒนาที่ยั่งยืนและความสำเร็จทางวิชาชีพ

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา ได้รับเกียรติรับ“รางวัลโล่เกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่น สาขานวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์เเละผู้นำด้านการประกอบการ”

‎(الإبداع وريادة الأعمال)

โดยได้รับเกียรติจากเจ้าชายซัลมาน บิน สุลฏอน บินอับดุลอาซิซ อาลสุอูด ผู้ว่าการนครมะดีนะห์เป็นผู้มอบรางวัล

ถือเป็นเกียรติเเละความภาคภูมิใจอย่างยิ่งเเก่นักศึกษาไทยเเละปวงชนชาวไทยทั้งปวงโดยเฉพาะชาวพิกุลจากรั้วมหาวิทยาลัยฟาฏอนี

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา

มีผลงานโดดเด่นเเละเป็นที่ยอมรับจากทั้งในเเละต่างประเทศ

เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอิสลามมะดีนะห์เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาวิชาดะวะห์เเละอุศูลุดดีน คณะดะวะห์เเละอุศูลุดดีน

มหาวิทยาลัยอิสลามมะดีนะห์ เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกที่มุ่งสร้างเเละพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่สังคมสันติสุข ผ่านหลักการอิสลามสายกลางที่วางอยู่บนพื้นฐานอัลกุรอานเเละสุนนะห์ของท่านนบีมูฮัมมัดศ็อลลัลลอหุอะลัยฮิวะสัลลัม

สถาบันอิสลามเเห่งนี้ ถือเป็นชานชาลาแห่งการประสิทธิ์ประสาทองค์ความรู้อิสลาม ตลอดจนบ่มเพาะเเละเจียระไนบรรดาผู้รู้เเละนักวิชาการ อันนำไปสู่ความสำเร็จและสร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ในด้านต่างๆ ทั่วโลก

อังคาร 28 เชาวาล 1445 / 7 พฤษภาคม 2024

เวลา 20:00 น.

ณ มหาวิทยาลัยอิสลาม นครมะดีนะห์


รายงานโดย A Fattah Lutfi Japakiya

เรือนร่างเดียวกันช่วยกาซ่าทะลุ 5 ล้านบาท

ดร. ไฟศาล อาแซ เลขานุการมูลนิธิเรือนร่างเดียวกันกล่าวว่า “เราได้ระดมความช่วยเหลือจากทุกช่องทาง ผ่านการบรรยาย ผลิตคลิปวิดิโอ ไลฟ์สด อ่านคุตบะฮ์ แจกกระปุก#RAMADAN4UGAZA และประชาสัมพันธ์ทางสื่ออนไลน์ เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์โครงการ ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดีจากพี่น้องทั่วประเทศ“

“เราได้มอบความช่วยเหลือแก่กาซ่ารอบแรกผ่าน Ghirass society development สำนักงานใหญ่ตุรเกีย ที่กรุงอิสตันบูล เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2566 จำนวนเงิน 800,000 บาท  ส่งความช่วยเหลือรอบสองเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ผ่าน AL-Quds Foundation – Malaysia จำนวนเงิน 750,000 บาท ส่งความช่วยเหลือรอบสาม ผ่าน Ghirass society developme และ AL-Quds Foundation – Malaysia ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2567 จำนวน 1,800,000 บาท และรอบสี่ ผ่านสององค์กรดังกล่าวเช่นกัน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2567 จำนวน 1,682,588 บาท รวมทั้งสี่รอบเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 5,032,588 บาท” ดร. ไฟศาลกล่าว

ส่งมอบเงินช่วยเหลือรอบแรกที่อิสตันบูล , ตุรเคีย
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สอง ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ,มาเลเซีย
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สาม ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สาม ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สาม ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สาม ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ส่งมอบเงินช่วยเหลือกาซ่าครั้งที่สี่ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

ประมวลภาพเงินบริจาคพี่น้องชาวไทยถึงมือพี่น้องกาซ่าแล้ว

พี่น้องที่ประสงค์จะส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวกาซ่า สามารถบริจาคได้ผ่าน

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

เลขบัญชี : 054-1-25763-3

ชื่อบัญชี : กองทุนเรือนร่างเดียวกันเพื่อมนุษยธรรม (The One Body Foundation)

———————————————————

ธนาคารกสิกรไทย

เลขบัญชี : 172-3-89822-2

ชื่อบัญชี : มูลนิธิเรือนร่างเดียวกัน


ทีมข่าวต่างประเทศ

#4UGAZA1/2024

20 มกราคม 2567

ประธานมูลนิธิเรือนร่างเดียวกันกล่าวว่า การส่งความช่วยเหลือครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 3 เดือนตั้งแต่เกิดสงครามที่กาซ่า โดยรอบแรกได้ส่งมอบที่ตุรเกียจำนวน 800,000 บาทเมื่อ 29 ตุลาคม 2566 และรอบสองที่กัวลาลัมเปอร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 จำนวน 750,000 บาท รวมทั้งสิ้น 3,357,000 บาท


ทีมข่าวต่างประเทศ

รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯรับรองการโจมตีของรัฐเถื่อนต่อชาวปาเลสไตน์

รัฐบาลอเมริกาออกมาปกป้องอิสราเอล แม้ว่าการโจมตีของอิสราเอล จะทำให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไปแล้วกว่า  25,000 ราย มากกว่าครึ่งเป็นเด็กและสตรี  และผู้บาดเจ็บมากกว่า 60,000 ราย   แต่บลิงเกน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ   ถือว่าคำฟ้องของแอฟริกาใต้เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่กระทำโดยอิสราเอลนั้น “ไม่มีมูลความจริง”!!

จุดยืนนี้เป็นจุดยืนเดียวกันกับประธานาธิบดีเฮอร์ซ็อกของอิสราเอลที่อธิบายว่า เป็นคำฟ้องที่ไร้สาระ

เอกสารเปล่าที่ลงนามโดยฝ่ายบริหารของอเมริกาทั้งหมดมอบให้อิสราเอล

การคุ้มครองนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเนทันยาฮู  แต่เป็นการให้การสนับสนุนและความคุ้มครองตลอดกาลแก่อิสราเอล

การคุ้มครองที่สมบูรณ์นี้ทำให้อเมริกากลายเป็นสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมของอิสราเอลที่กำลังดำเนินอยู่ และผลักดันให้อิสราเอลก่ออาชญากรรมต่อไป และปฏิเสธแรงกดดันหรือแนวทางแก้ไขใด ๆ ที่อาจจะมีจากคำวินิจฉัยจากศาลโลก ที่จำกัดโครงการยึดครองและขยายที่จะดำเนินการจนกว่าจะสิ้นสุด

รัฐบาลอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ไม่เคยเรียกร้องให้หยุดยิง!!

แต่ความโหดร้ายของอิสราเอลที่กระทำต่อพลเรือนชาวปาเลสไตน์  ปลุกความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนทั่วไป และทำให้ผู้คนหลายล้านคน ลุกขึ้นจากความอบอุ่นจากเตียงที่แสนสบายไปสู่ความหนาวเย็นของท้องถนน ทั้งในยุโรปและอเมริกา


Cerdit : Ghazali Benmad