บทความ ประวัติศาสตร์

100 ปี สนธิสัญญาโลซาน (ตอนที่ 1)

● เฉลียง ประวัติศาสตร์ : สนธิสัญญาโลซาน ข้อตกลงที่ก่อให้เกิดประเทศในตะวันออกกลางนั้นใกล้จะล่มสลายหรือไม่ ?

○ โดย อัลจาซีร่า

วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นโดยไม่หยุดยั้ง ความขัดแย้งทางความเชื่อและทางชาติพันธุ์ สงครามตัวแทนที่บีบบังคับให้คนย้ายถิ่นฐานเป็นจำนวนมากมายมหาศาล และการพลัดถิ่นของผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัยหลายสิบล้านคน พื้นที่บ่อเกิดการแบ่งแยกดินแดนและการก่อจลาจลในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่เท่ากับประเทศเช่นอังกฤษ ที่เกิดขึ้นในซีเรียตะวันออกเฉียงเหนือและอิรักตะวันตก

รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ระเบิด การระเบิดพลีชีพ ที่ทำให้คนตายหลักสิบและหลักร้อยทุก ๆ สัปดาห์ และบางครั้งทุกวัน

การเดินขบวนประท้วง การวางเพลิงก่อความไม่สงบและการเผายางที่มีควันดำเพิ่มขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมท้องฟ้าของกรุงแบกแดดและเบรุต

นี่คือความเป็นจริงของภูมิภาคนี้ หลังจาก 100 ปีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งตามมาด้วยการเจรจาและการตั้งถิ่นฐาน ที่นำไปสู่สนธิสัญญาโลซานน์ ครั้งที่ 2 ในปี 1923 ซึ่งรวมถึงข้อตกลง เซค-ปีโกต์ (Sykes-Picot) ระหว่างฝรั่งเศสและอังกฤษ ในการกำหนดพรมแดนทางการเมืองของตะวันออกกลางสมัยใหม่ที่เรารู้ในวันนี้

วันนี้ใกล้ครบรอบ 100 ปี ของสนธิสัญญาโลซาน ครั้งที่ 2 ซึ่งได้ทำลายจักรวรรดิออตโตมัน ในวันนี้องค์ประกอบของภูมิภาคตะวันออกกลางได้พังพินาศ ตะวันออกกลางได้กลับคืนสู่สภาพคล้ายกับช่วงสนธิสัญญาโลซานน์ ในขณะที่ตุรกีได้กลับคืนสู่ภูมิภาคต่างๆ ที่ต้องถอนตัวออกไปภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาโลซาน พร้อมด้วยกองกำลังทหารในสนามรบ ผ่านทางการปฏิบัติการทางทหารหรือข้อตกลงว่าด้วยการใช้กำลังทหาร ดังที่กระทำในลิเบียเมื่อเร็ว ๆ นี้ตามข้อตกลงกับรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติในตริโปลี ที่นำโดยฟายิซ สัรรอจ

และก่อนหน้านั้นในซีเรียผ่านปฏิบัติการ “โล่ห์ยูเฟรติส” ในปี 2560 และ “กิ่งมะกอก” ในปี 2561 และ “ต้นน้ำสันติภาพ” ในปี 2562 ตามด้วยปฏิบัติการทางทหารในอิดลิบปัจจุบัน ตลอดจนปฏิบัติการก่อนหน้านี้ในปี 2015 ในพื้นที่บะชีเกาะฮ์ทางเหนือของโมซุล ในอิรัก

ความขัดแย้ง สงครามกลางเมืองและระดับภูมิภาค การลุกฮือและการปฏิวัติ อันนำการแทรกแซงต่างๆ ในระดับประเทศและระดับภูมิภาค สะท้อนถึงความเปราะบางและความตึงเครียดของโครงสร้างในตะวันออกกลาง และแสดงให้เห็นถึงสูญญากาศเรื้อรังในเรื่องอำนาจ และการไม่มีตัวตนทางการเมืองที่แข็งแกร่งที่สามารถปกป้องโครงสร้างจากการหลุดกร่อน

บทความนี้จะพิจารณาภูมิหลังของสนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งเป็นรากฐานของปัญหาส่วนใหญ่ของตะวันออกกลางร่วมสมัย บางทีเราอาจเข้าใจภูมิหลังเกี่ยวกับการแทรกแซงทางทหารของตุรกีในภูมิภาคนี้อีกครั้งในประเทศอาหรับหลายๆ ประเทศ หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมันเมื่อ 95 ปีก่อน

● จาก สนธิสัญญา“ Sever” ถึงสนธิสัญญาโลซาน

การสร้างรัฐชาติในตะวันออกกลางเกิดขึ้นหลังจาก มุศตอฟา กามาลอะตาเติร์ก ปฏิเสธสนธิสัญญา Sefer ซึ่งจัดทำโดยประเทศที่ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และบังคับใช้กับตุรกี หลังจากชนเชื้อชาติที่ไม่ใช่ตุรกีส่วนใหญ่ เช่น ชาวเคิร์ดได้รับเอกราช

อะตาเติร์กได้ต่อสู้อย่างดุเดือดกับกรีซและประเทศพันธมิตร จบลงด้วยการลงนามในข้อตกลงใหม่ที่ โรงแรม “Beaurivage Place” ในโลซาน ในภาคใต้ของสวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 1923 ระหว่างตุรกี อังกฤษและฝรั่งเศส แยกออกจากสนธิสัญญาโลซานครั้งแรก หรือข้อตกลง Oshi” ระหว่างอิตาลีและจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 1912

สนธิสัญญาโลซานน์ 2 เป็นใบมรณภาพอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิออตโตมันในระดับกฎหมายระหว่างประเทศ และใบแจ้งเกิดของสาธารณรัฐตุรกีร่วมสมัย ในปี พ. ศ. 2466 ก่อนที่จะมีการประกาศยกเลิกการปกครองของคอลีฟะฮ์ในปี 2467

สนธิสัญญาโลซาน มี 143 ข้อ เกี่ยวข้องกับสถานภาพใหม่ของตุรกีในกฎหมายระหว่างประเทศ และจัดการความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรที่ชนะในสงคราม ภูมิรัฐศาสตร์ของตุรกีสมัยใหม่ พรมแดนกับกรีซและบัลแกเรีย การสละสิทธิ์ของตุรกีในเรื่องสิทธิทางการเมือง สิทธิทางการเงิน และสิทธิในอธิปไตยในซีเรีย อิรัก อียิปต์ ซูดาน ลิเบียและไซปรัส นอกเหนือจากการจัดระบบควบคุมการใช้ช่องแคบตุรกีในยามสงครามและสันติภาพ

● สนธิสัญญาโลซานมีบทบาททางประวัติศาสตร์แบบเดียวกับบทบาทของสนธิสัญญา “เวสต์ฟาเลีย” ในปี 1648 [1]

หนึ่งในผลทางกฎหมายและการเมืองที่โดดเด่นที่สุดของสนธิสัญญาโลซานคือการเกิดขึ้นของแนวคิดของรัฐชาติ บนพื้นฐานของแนวคิด “รัฐ-ประชาชน”

สนธิสัญญาโลซานน์ได้กำหนดพรมแดนภูมิรัฐศาสตร์สำหรับทั่วทั้งตะวันออกกลางในช่วงทศวรรษหลังการลงนามในสนธิสัญญานั้น [1]

ในบริบทนี้ตุรกีถือเป็นประเทศเดียวในตะวันออกกลางที่ได้ประโยชน์จากสนธิสัญญาดังกล่าว หลังจากรอดพ้นจากชะตากรรมการแบ่งแยกเขตแดนของกองกำลังที่กระทำโดยมหาอำนาจผ่านสนธิสัญญา Sevres ซึ่งตุรกียังคงเป็นประเทศเอกราชที่แท้จริงเพียงประเทศเดียวในหมู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “รัฐอิสระ” ในขณะที่ความเป็นจริงแล้วยังคงเป็นเมืองขึ้น [2]

สนธิสัญญาโลซานน์กำหนดชะตากรรมของผู้อยู่อาศัยในภูมิภาคนี้ ตามหลัก 2 สองประการ คือหลักกำหนดเขตแดนทางการเมืองของชาติ และหลักการของสัญชาติซึ่งเชื่อมโยงกับ “อัตลักษณ์” ของรัฐใหม่ที่สนธิสัญญาสร้างขึ้น หรือเป็นผลมาจากสัญญานี้

ในบริบทนี้ เลบานอนและซีเรียจึงอยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส ปาเลสไตน์และภาคตะวันออกของจอร์แดน ภายใต้อาณัติของอังกฤษ และราชอาณาจักรฮาชิไมซ์แห่งแคว้นหิญาซ ซึ่งปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญาถูกโค่นไป หลังจากอังกฤษอนุญาตให้อับดุลอาซิซ อัลซาอุด ยึดครองดินแดนหิญาซ [3]

● โครงสร้างที่เป็นไปไม่ได้ของตะวันออกกลาง : โลกอาหรับหรืออิสลาม?

ในหนังสือสำคัญเกี่ยวกับการก่อตัวของแผนที่การเมืองของตะวันออกกลางสมัยใหม่ “Peace Beyond Peace” นักประวัติศาสตร์และนักเขียนชาวอเมริกัน David Fromkin กล่าวว่า การยึดครองของอังกฤษทุกหนทุกแห่งในโลกได้ทำลายโครงสร้างทางการเมืองของชนพื้นเมืองและแทนที่ด้วยโครงสร้างใหม่ ตามรูปแบบของยุโรป ตามกฎหมายของยุโรป ไม่ว่าจะเป็นในอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์หรือทะเลทรายแอฟริกา ซึ่งไม่ได้แบ่งตามเผ่าชนอีกต่อไป แต่จะแบ่งออกเป็นประเทศต่างๆ ตามลักษณะการปกครองในยุโรป อย่างไรก็ตามDavid Fromkin หยุดอยู่ที่ส่วนหนึ่งของโลก เพราะสงสัยว่าการยึดครองของยุโรปทำให้เกิดผลที่ลึกและยั่งยืนเหมือนในที่อื่น ๆ หรือไม่? [4]

Fromkin กล่าวว่า ตะวันออกกลางได้เป็นดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้เพราะประเทศในยุโรปได้ก่อร่างขึ้นใหม่ หลังจากการปกครองของชาวออตโตมันในตะวันออกกลางที่พูดภาษาอาหรับ และทำลายโครงสร้างเดิมอย่างไม่อาจแก้ไขได้อีก และยุโรป หรือสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ยังได้กำหนดพรมแดนและแต่งตั้งผู้ปกครอง แบบที่พบได้ทั่วโลกในยุคอาณานิคม [5] ตามทัศนะของ Fromkin ในระหว่างช่วงเวลาระหว่าง 2457-2465 ได้มีการกำหนดข้อตกลงหลังสงคราม เพื่อยุติความขัดแย้งในตะวันออกกลางในหมู่ผู้มีอำนาจในยุโรป แต่มันกลับส่งผลให้เกิดปัญหาตะวันออกกลาง ในหัวใจของตะวันออกกลางเอง

สิ่งที่แตกต่างของ “ปัญหาตะวันออก” ตามสิ่งที่ชาวยุโรปเรียกกันในช่วงก่อนการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน หรือปัญหาตะวันออกกลางที่เรารู้ในทุกวันนี้คือ มันแตกต่างจากความแตกต่างแบบดั้งเดิมที่เราพบในสถานที่อื่น ๆ ของโลก ที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ปกครองและเขตแดน

แต่ ณ ที่นี้ ยังมีข้อเรียกร้องที่ยกมาจนถึงทุกวันนี้ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิดำรงอยู่ของประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเชื้อชาติยังคงแสวงหาสิทธิ์ในการตัดสินใจด้วยตนเอง ดังนั้นตะวันออกกลางจึงยังคงเป็นภูมิภาคที่ร้อนแรงที่สุดในโลกเนื่องจากสงครามบ่อยครั้งเพื่อการดำรงอยู่และสิทธิ์ในการตัดสินใจด้วยตนเอง . [6]

เบื้องหลังปัญหาทั้งหมดที่ตะวันออกกลางร่วมสมัยกำลังประสบอยู่ เช่น ปัญหาอนาคตทางการเมืองของชาวเคิร์ด หรือชะตากรรมทางการเมืองของชาวปาเลสไตน์ยังคงเป็นคำถามที่ยังคงแสวงหาคำตอบ : ระบบการเมืองสมัยใหม่ในปัจจุบันนี้ที่ยุโรปโยกย้ายไปยังภูมิภาคตะวันออกกลาง จากประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์หลังสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย จะสามารถดำรงอยู่ในตะวันออกกลางที่แตกต่างจากยุโรป รวมถึงลักษณะของการแบ่งดินแดนออกเป็นรัฐฆราวาสตามสัญชาติของคนในชาติ ซึ่งตรงกันข้ามของฐานรากต่างๆของจักรวรรดิออตโตมันที่กว้างไกลกินเนื้อที่ 3 ทวีป ที่ตั้งอยู่บนแนวคิดชุมชนพหุเชื้อชาติ [7]

อ่านตอนที่ 1 https://www.theustaz.com/?p=3001
อ่านตอนที่ 2 https://www.theustaz.com/?p=3073
อ่านตอนที่ 3 https://www.theustaz.com/?p=3116
อ่านตอนที่ 4 https://www.theustaz.com/?p=3124
อ่านตอนที่ 5 https://www.theustaz.com/?p=3127

อ่านต้นฉบับ
https://midan.aljazeera.net/intellect/history/2020/2/20/%d9%85%d8%a6%d8%a9-%d8%b9%d8%a7%d9%85-%d9%85%d9%86-%d8%a7%d9%84%d8%aa%d9%8a%d9%87-%d8%a7%d9%84%d8%b3%d9%8a%d8%a7%d8%b3%d9%8a?fbclid=iwar2cfyinwmstoyva1o2rl1t5qbblamx41afvlcrxhmomourfiasw09mzldo