บทความ ประวัติศาสตร์

100 ปี สนธิสัญญาโลซาน (ตอนที่ 4)

● เฉลียง ประวัติศาสตร์ : สนธิสัญญาโลซาน ข้อตกลงที่ก่อให้เกิดประเทศในตะวันออกกลางนั้นใกล้จะล่มสลายหรือไม่ ?

○ โดย อัลจาซีร่า


ในบริบทนี้ ไม่เพียงแต่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์เท่านั้นที่กำหนดนโยบายด้านภูมิรัฐศาสตร์ของมหาอำนาจต่อภูมิภาค
นี้ แต่ยังรวมถึงความเชื่อมั่นอย่างสูงต่อความเป็นปึกแผ่นทางธรรมชาติที่รวบรวมชาวมุสลิมทั้งหมดจากจีน อินโดนีเซีย ตะวันออกไกล ถึงแอฟริกาตะวันตกให้เป็นหนึ่งเดียว

ฝ่ายนโยบายทางการเมืองระหว่างประเทศจึงมีแนวโน้มที่จะให้น้ำหนักกับ “หลักการทางการเมืองของศาสนาอิสลาม” มากกว่า ความเป็น “อาหรับ” “อิหร่าน” หรือ “ตุรกี”

ดังนั้น ลัทธิล่าอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศส จึงพยายามพัฒนาวิชาความรู้ของพวกเขาเกี่ยวกับภูมิภาคภายใต้กรอบนโยบาย”ทำอิสลามให้เป็นลูกไก่ในกำมือ” ในตะวันออกกลาง แอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นคือ การใช้การกดขี่และการบิดเบือนปลอมแปลงอิสลามให้เป็นศาสนาที่มีหน้าที่แคบๆ ในการรับใช้รัฐชาติหรือชาติพันธุ์เท่านั้น [17]

หลังจากการถอนตัวของอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสจากภูมิภาคตะวันออกกลาง สภาพสูญญากาศทางอำนาจสร้างความกังวลให้แก่ฝ่ายการเมืองและยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากความกลัวต่อสหภาพโซเวียต และกังวลว่าการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคจะตกเป็นเป้าหมายสำหรับความทะเยอทะยานของรัสเซียในการแสวงหาน้ำอุ่น ตามทัศนะของอเมริกาการที่อังกฤษสันนิบาตจัดตั้งอาหรับในช่วงกลางทศวรรษที่ 1940 ยังถือว่าไม่เพียงพอ และนั่นเป็นเหตุผลว่าในปี 1950 ทำไมอเมริกันจึงบีบให้ประเทศอาหรับเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางทหารกับประเทศในระดับภูมิภาคที่จงรักภักดีต่อตะวันตก ดังที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดตั้งสนธิสัญญาแบกแดด ในปี 1955 ประกอบด้วย อิรัก อิหร่าน ตุรกี ปากีสถาน และอังกฤษ [18]

ความกังวลของอเมริกันบ่งชี้อย่างชัดเจนถึงการไม่มีตัวตนทางการเมืองที่มั่นคงในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม คำพูดนี้ใช้ไม่ได้กับอิหร่านและตุรกี เนื่องจากมีความชัดเจนของตัวตนทางการเมืองในทั้งสองประเทศ แต่เป็นคำที่ใช้ได้กับโลกอาหรับที่ถึงแม้ว่าจะเป็นหุ้นส่วนที่แน่นแฟ้นกับประเทศตะวันตก แต่ก็ไร้ศักดิ์ศรีและการเคารพให้เกียรติ เฉกเช่นที่ตุรกีได้รับจากตะวันตก ในฐานะสมาชิกหลักในโครงสร้างทางทหารของนาโต้ [19]

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างตุรกีและโลกอาหรับในระดับการเมืองและการทหาร เราพิจารณา 2 ประเด็นคือ

ประเด็นแรก ตุรกีได้ผ่านการทดสอบการแบ่งประเทศ ตุรกีประสบความสำเร็จในประวัติศาสตร์ หลังจากที่เติร์กทำให้สนธิสัญญา Sever ล้มเหลว ซึ่งแตกต่างจากโลกอาหรับ ซึ่งถูกแบ่งออกเป็นหลายประเทศผ่านสนธิสัญญา Sykes-Picot

ประการที่สองคือ สิ่งที่เกิดขึ้นในสงครามอิสรภาพตุรกีซึ่ง Mustafa Kemal และกองทัพตุรกี ได้ยัดเยียดความพ่ายแพ้ให้แก่ฝ่ายพันธมิตร อันประกอบด้วยกองทัพฝรั่งเศส อังกฤษและกรีซ ในขณะที่กองทัพของประเทศอาหรับที่สำคัญที่สุดรวมกันในการเผชิญหน้ากับกลุ่มไซออนิสม์ ในช่วงสงครามปี 1948 และระหว่างสงครามหกวัน ในปี 1967 ที่อิสราเอลสามารถเอาชนะประเทศอาหรับทั้งสาม คือ อียิปต์ ซีเรียและจอร์แดนและครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศทั้ง 3 ได้

ความอ่อนแอทางการเมืองและการทหารที่ชัดเจน เห็นได้จากการที่โครงสร้างของภูมิภาคนี้ยังคงสูญหายไปอย่างสมบูรณ์และไม่สามารถจัดตั้งสังคมที่เชื่อมโยงกันเป็นผลสำเร็จและเป็นจริงจนถึงวันนี้ [20]

● ค้นหารัฐศูนย์กลางของโลกอิสลาม ตามความเห็นของผู้เขียน “การปะทะทางอารยธรรม”

ในหนังสือดัง “The Clash of Civilizations -การปะทะทางอารยธรรม : การสร้างระเบียบสากล” ซามูเอล เฮนติงตัน นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน นำเสนอวิสัยทัศน์ของอนาคตทางภูมิศาสตร์ของโลกว่า ปัจจัยทางวัฒนธรรมและอารยธรรมจะมีบทบาทสำคัญในรูปแบบกลุ่มประเทศนานาชาติใหม่ในศตวรรษที่ 21

เฮนติงตันเห็นว่า อารยธรรมที่สำคัญ วัฒนธรรมหรือศาสนาหลัก ล้วนมีรัฐหลัก เช่น จีนในอารยธรรม “ขงจื้อ” ที่ทอดยาวจาก ไต้หวัน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และเวียดนาม

รัสเซียในอารยธรรมออร์โธดอกซ์ ตลอดไปจนเบลารุส กรีซ ยูเครน บัลแกเรีย เซอร์เบีย และไซปรัส

“ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ – คาทอลิกตะวันตก” มีอเมริกาเป็นรัฐหลัก

ในขณะที่โลกอิสลามขาดรัฐที่เป็นศูนย์กลาง ทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและความขัดแย้งซึ่งอย่างที่ฮันติงตันกล่าวว่าเป็นความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและเกิดความขัดแย้งอย่างหนัก ตามทัศนะของเฮนติงตัน


เฮนติงตัน นำเสนอชาติแกนนำ 6 ชาติ ที่พอมีโอกาสเป็น “ชาติผู้นำโลกมุสลิม” ได้แก่ อียิปต์ เนื่องจากจำนวนประชากร และความเป็นศูนย์กลางในตะวันออกกลางและมีอัลอัซฮัร ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาอิสลามที่ใหญ่ที่สุดในโลกมุสลิม อินโดนีเซีย เนื่องจากเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดเพราะมีประชากรมากที่สุด รวมถึงซาอุดีอาระเบีย ปากีสถาน และอิหร่าน และตุรกี [21]

เฮนติงตันประเมินว่า อินโดนีเซียไม่เหมาะสมที่จะเป็นประเทศผู้นำตั้งอยู่ชายแดนโลกมุสลิมและห่างไกลจากศูนย์กลางในโลกอาหรับมากเกินไป ส่วนอียิปต์ไม่พร้อมด้านเศรษฐกิจ ส่วนซาอุดิอาระเบียก็เพราะประชากรน้อยเกินไป อิหร่านก็มีความต่างทางแนวคิดทางศาสนากับประชาคมมุสลมส่วนใหญ่ ปากีสถานมีความขัดแย้งทางเชื้อชาติและการเมืองไม่มั่นคง

สำหรับตุรกี เฮนติงตันประเมินว่าไม่พร้อมเช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า ระบอบเซคคิวลาร์ของอะตาเติร์กมีความเข้มงวดมาก ไม่เปิดโอกาสให้ตุรกีแสดงบทบาทนำโลกมุสลิมได้ ตามข้อเท็จจริงในปี 1996 ที่เขียนหนังสือนี้

ถึงกระนั้น เมื่อเอ่ยถึงตุรกี เทียบกับชาติต่างๆที่กล่าวมา เฮนติงตันกล่าวว่า “ตุรกีเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์ ประชากร ความเจริญทางเศรษฐกิจ ความเป็นปึกแผ่นทางสังคม จารีตทางทหาร และศักยภาพ ที่พร้อมจะเป็นแกนนำโลกมุสลิม” [ 22 ]

เฮนติงตันตั้งคำถามว่า “อะไรจะเกิดขึ้น หากตุรกีหวนมานิยามตนเองใหม่ สักวันหนึ่งตุรกีเป็นไปได้ที่ตุรกีพร้อมที่จะทิ้งบทบาทที่ไร้อนาคตและอัปยศอดสู จากการพยายามร้องขอเข้าเป็นสมาชิกสมาคมตะวันตก และเริ่มบทบาทในประวัติศาสตร์ของตน ที่มีอิทธิพลมากกว่า มีศักดิ์ศรีมากกว่า ในฐานะแกนนำอิสลามและแกนนำในการต่อต้านตะวันตก

เฮนติงตันวางเงื่อนไขหลัก 2 ประการ ที่จะทำให้ตุรกีทำเช่นนั้นได้ ประการแรกคือการยกเลิกมรดกของอะตาเติร์กอย่างเบ็ดเสร็จดังที่รัสเซียทิ้งมรดกของเลนิน และประการที่สองคือการหาผู้นำระดับเดียวกับอะตาเติร์ก ที่รวมศาสนาและความชอบธรรมทางการเมือง เพื่อสร้างตุรกีเป็นประเทศศูนย์กลางของโลกมุสลิม

(จบตอนที่ 4 )

อ่านตอนที่ 1 https://www.theustaz.com/?p=3001
อ่านตอนที่ 2 https://www.theustaz.com/?p=3073
อ่านตอนที่ 3 https://www.theustaz.com/?p=3116
อ่านตอนที่ 4 https://www.theustaz.com/?p=3124
อ่านตอนที่ 5 https://www.theustaz.com/?p=3127

อ่านต้นฉบับ https://midan.aljazeera.net/…/2020/2/20/مئة-عام-من-التيه-ال…