บทความ ประวัติศาสตร์

100 ปี สนธิสัญญาโลซาน (ตอนที่ 3)

● เฉลียง ประวัติศาสตร์ : สนธิสัญญาโลซาน ข้อตกลงที่ก่อให้เกิดประเทศในตะวันออกกลางนั้นใกล้จะล่มสลายหรือไม่ ?

○ โดย อัลจาซีร่า

ในบริบทนี้ สาธารณรัฐตุรกีจึงเกิดขึ้นในดินแดนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิออตโตมันหลังจากพ่ายแพ้ในสงคราม ในฐานะรัฐชาติที่มีมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่ ภายหลังจากการแลกเปลี่ยนประชากรและบังคับอพยพชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่มุสลิมออกไป อัตลักษณ์ภายนอกของรัฐตุรกีในฐานะรัฐอิสลามนั้นแตกต่างอย่างมากกับอัตลักษณ์ภายในใหม่ ที่มุสตาฟา กามาล อะตาเติร์กต้องการให้ละทิ้งอัตลักษณ์ของอิสลาม ละทิ้งระบอบคอลีฟะฮ์ และบทบาทของศาสนาในชีวิตสาธารณะ ตลอดจนละทิ้งความขัดแย้งกับกองกำลังของระบอบอาณานิคม ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมันในปี 1924 และเนรเทศสุลต่านออตโตมันและครอบครัวออกจากจากดินแดนตุรกี ทำให้เกิดสถานการณ์ระหว่างประเทศใหม่ในตะวันออกกลางและสูญญากาศสำหรับความถูกต้องชอบธรรม อันเป็นไปไม่ได้ที่จะมีทางเลือกบนซากปรักหักพังของออตโตมัน ดังที่ Ahmet Davutoglu ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขา [14]

ในบริบทนี้ มีการกล่าวถึง “ความเป็นไปไม่ได้” ในหลายโอกาส เริ่มต้นด้วยการกล่าวของ George Qurm เกี่ยวกับ “โครงสร้างที่เป็นไปไม่ได้” ทางภูมิรัฐศาสตร์ ตลอดจนคำกล่าวของวาอิล หัลลาค ศาสตราจารย์ทางสังคมวิทยาที่ American Columbia University, เกี่ยวกับ “รัฐที่เป็นไปไม่ได้” อันหมายความว่า รัฐอิสลามที่มีอำนาจในภูมิภาคนี้ในประวัติศาสตร์ ได้กลายเป็นแนวคิดทางการเมืองที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งเป็นผลมาจากความย้อนแย้งกับธรรมชาติของความทันสมัยทางการเมือง ทางกฎหมายและทางสังคมในปัจจุบัน จนเกิดวิกฤติทางศีลธรรม ที่ไม่สอดคล้องกับความคาดหวัง ด้วยเหตุนี้มีข้อมูลมากมายยืนยันถึงความเป็นไม่ได้ในระดับต่างๆ มีการกล่าวถึงสถานการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ทุกครั้งเมื่อมีการนำเสนอแนวทางที่สอดคล้องกับหลักความเชื่อของสังคม เพื่อที่จะเปลี่ยนความเป็นจริงทางการเมืองที่เป็นเรื่องยากและสลับซับซ้อน ที่เกิดขึ้นเนื่องจากสนธิสัญญาโลซานในภูมิภาคนี้ ผ่านการขับเคลื่อนไปสู่การเป็น “เวสต์ฟาเลีย” ในตะวันออกกลาง

● จุดอ่อนของโลก : สูญญากาศอำนาจในตะวันออกกลาง

หลังจากลงนามในสนธิสัญญาโลซานที่ 2 แล้ว ตุรกีใหม่ได้ใช้ยุทธศาสตร์การป้องกันโดยอาศัยแนวคิดเรื่องความมั่นคงชายแดนสำหรับรัฐชาติที่มีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แคบๆ และมีความพยายามที่จะเป็นส่วนหนึ่งของค่ายตะวันตกที่เจริญแล้ว ไม่ใช่ผู้ที่จะมาแทนที่หรือมาคัดค้าน ในบริบทนี้สาธารณรัฐตุรกีได้เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ภายใต้ร่มเงาด้านความมั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ที่ต้องการรับมือภัยคุกคามจากสหภาพโซเวียต ดังนั้นตุรกีจึงได้ผันตัวเองออกจากพื้นที่สำคัญดั้งเดิม และสูญเสียอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ในกลุ่มประชาคมมุสลิมที่กว้างไกล จากนั้นก็สูญเสียทางการเงินและภาวะเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจของตุรกีก็เพิ่มขึ้นเมื่อช่วงทศวรรษที่ 7 เนื่องจากความเหินห่างและถูกกีดกันจากการอาศัยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับเพื่อนบ้านที่ร่ำรวยที่สุดในโลกอาหรับ [15]

การแยกระหว่างตุรกีและโลกอาหรับ ได้ก่อให้เกิดภาวะวิกฤติในการกำหนดเอกลักษณ์ทางการเมืองของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่ของโลกนับสิบล้านคน

หลังจากการแยกตัวระหว่างโลกตุรกี-ที่ทอดยาวมาจากตุรกิสถานในจีน ผ่านทางเหนือของอนุทวีปอินเดียในภาคตะวันออกตลอดเอเชียกลางจนถึงอนาโตเลีย บอลข่าน และคอเคซัส- กับโลกอาหรับ ทำให้การจำกัดความภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีพรมแดนชัดเจน และการอธิยายอัตลักษณ์ทางมานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและการเมือง ทำได้ยาก เพราะมีหมอกที่หนาจัด เว้นแต่จะต้องกลับคืนสู่การอฑิบายคำจำกัดความของคำว่า “โลกอิสลาม”จึงจะสามารถเข้าใจได้ถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นในภูมิภาค ที่เอกสารของนักล่าเมืองขึ้นชาวยุโรปเรียกว่า”ตะวันออกใกล้” หรือ”ตะวันออกกลาง” ตามคำนิยามทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาในยุคของการบริหารของบุชผู้ลูก

การแยกจากกันระหว่างโลกตุรกีและโลกอาหรับนี้ ได้สร้างวิกฤตในการอธิบายเอกลักษณ์ทางการเมืองของผู้คนหลายสิบล้านคนในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่ของโลก ที่การยอมรับแนวคิดของรัฐชาติจะกีดกันพวกเขามิให้แสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางการเมืองและวัฒนธรรมที่ถูกกดทับในอดีตโดยลัทธิล่าอาณานิคม และระบอบเผด็จการที่มีอำนาจมากที่สุดในภูมิภาคนี้ในปัจจุบัน

ศาสนาอิสลามที่นี่เป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจความเป็นจริงของภูมิภาคนี้ของโลก ซึ่งศาสนาในภูมิภาคนี้มีสมรรถภาพสูงยิ่งในโลกในการก่อตัวของสังคมวิทยาทางการเมือง ในลักษณะที่ศาสนามีความโดดเด่นในด้านการมีอิทธิพลเหนือองค์ประกอบอื่น ๆ

นั่นคือเหตุผลว่าทำไมภูมิศาสตร์และอารยธรรมของภูมิภาคนี้ในอดีต จึงมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับศาสนา นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่ Fernan Broadwell ในหนังสือ “กฎแห่งอารยธรรม” ยอมรับคำว่า “อิสลาม” และ “โลกอิสลาม” ตลอดจนการถือว่าศาสนาเป็นพื้นฐานในการอ้างอิงถึงเอกลักษณ์ของสังคมในภูมิภาคนี้ ซึ่งแตกต่างจากการแบ่งภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์ที่เขาเคยใช้ในการอธิบายสังคมอื่น ๆ [16]

( จบตอน 3 )

อ่านตอนที่ 1 https://www.theustaz.com/?p=3001
อ่านตอนที่ 2 https://www.theustaz.com/?p=3073
อ่านตอนที่ 3 https://www.theustaz.com/?p=3116
อ่านตอนที่ 4 https://www.theustaz.com/?p=3124
อ่านตอนที่ 5 https://www.theustaz.com/?p=3127

อ่านต้นฉบับ https://midan.aljazeera.net/…/2020/2/20/مئة-عام-من-التيه-ال…