อาลัยฮีโร่ที่ไม่มี “รางวัลโนเบล”

สรรสาระวันหยุด : อาลัยฮีโร่ที่ไม่มี “รางวัลโนเบล” ทีมนักเตรียมสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีเออร์โดกันของตุรกี

เมื่อวันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ตุรกีกล่าวคำอำลาเมาลานา อิดรีสเซงเกน Maulana Idris Zengin นักกวีและนักเขียนวรรณกรรมเด็กที่   เสียชีวิต ในวัย 56 ปี ขณะเข้ารับการรักษาในจังหวัด Kahramanmaraş (ทางใต้) เพื่อผ่าตัดหัวใจและเปลี่ยนตำแหน่งของหลอดเลือดทั้ง 4 เส้น  แม้ว่าแพทย์จะพยายามช่วยเหลืออย่างเต็มที่ก็ตาม และผู้ติดตามงานเขียนของเขาหลายพันคนเข้าร่วมพิธีศพที่มัสยิดสุลต่านอัยยูบ อันเก่าแก่ในอิสตันบูล

เมาลานา อิดรีสเซงเกน นักเขียนวรรณกรรมเด็กที่โดดเด่นคนหนึ่งในไม่กี่คนที่เติบโตขึ้นมาในตุรกีในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา  เกิดในปี 1966 ในเขต Andreen ของ Kahramanmaraş  เป็นผู้แต่งหนังสือสำหรับเด็กมากกว่า 70 เล่ม และหนังสือของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาเยอรมัน อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ อูรดู และฮังการี  และงานเขียนบางส่วนของเขาได้กลายเป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่ฉายทางช่องทีวี

สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งในเยอรมนีดูแลการแปลหนังสือที่เขาเขียนในชุด “Stranger Men” เป็น 9 ภาษาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการออกเป็นหนังสือ

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลวรรณกรรมสำหรับเด็ก ที่มอบให้โดย Gokyuzo Publishing House ในปี 1987 จากหนังสือกวีนิพนธ์เรื่อง “My Childhood in the Colours of Birds” รวมถึงรางวัลวรรณกรรมสำหรับเด็กจากสหภาพนักเขียนชาวตุรกีในปี 1998 จากผลงานเขียนหนังสือ “ร้านสยองขวัญ” รวมถึงรางวัลระดับนานาชาติที่นำเสนอโดยนิตยสาร “ภาษาตุรกีของฉัน” ที่ตีพิมพ์ในโคโซโว / พริซเรนในปี 2008 ที่เป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้มีส่วนสนับสนุนภาษาตุรกี

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ยังได้รับรางวัล “นักเขียนวรรณกรรมเด็กที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด” ในปี 2011 จากมูลนิธิ Berikim Foundation for Education และเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาและจัดพิมพ์หนังสือเด็ก ซึ่งก่อตั้งขึ้นภายใต้การนำของมุสตาฟา รูฮิ ชีริน หนึ่งในนักเขียนวรรณกรรมเด็กที่มีชื่อเสียงที่สุดในตุรกี

งานเขียนของเซงเกนได้รับการศึกษาวิจัยในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในกรุงไคโร  เบอร์ลิน  อิสตันบูล ชานัคคาเล และเออร์ซูรุมในตุรกี

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ได้เข้าร่วมในการประชุมและกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับวรรณกรรมสำหรับเด็กในหลายเมืองทั่วโลก รวมถึงแฟรงก์เฟิร์ต ดามัสกัส โคโลญ บูดาเปสต์  พริสตินา   ลอนดอน และปักกิ่ง และยังทำงานเป็นที่ปรึกษาและผู้แต่งสารคดีหลายเรื่อง และเป็นหนึ่งในผู้เตรียมสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีเออร์โดกันของตุรกี

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเยาวชนคนรุ่นใหม่และการปกป้องสิทธิของพวกเขา แทนที่จะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องของผู้ใหญ่  และยังได้ออกนิตยสารสำหรับเด็กชื่อ “Cheto” พร้อมหนังสือนิทาน 

นิตยสารดังกล่าวมีการตีพิมพ์บทความ บทกวี เรื่องราว ความทรงจำ และภาพวาดของเยาวชนในระดับมัธยมต้น  มัธยมปลาย และมหาวิทยาลัย โดยมีสโลแกนว่า “หากคุณมีปัญญา ก็อย่าอวดดีเลย”

อิดรีสเซงเกนเชื่อว่าจิตใจของเด็กและคนหนุ่มสาวควรถูกหล่อหลอมผ่านเรื่องราว เกมการละเล่น และแอนิเมชั่นที่สะท้อนถึงค่านิยมเฉพาะในภูมิภาคของเรา

เด็ก ๆ ของตุรกี ตลอดจนผู้ใหญ่ที่คงมีหัวใจอยู่ในวัยเด็กต่างเสียใจกับการสูญเสียอิดรีสเซงเกน ผู้มีจิตวิญญาณที่สงบ  จริงใจและสวยงาม

อิดรีสเซงเกนขึ้นครองบัลลังก์แห่งหัวใจนับพันๆดวง ด้วยบทกวีและเรื่องเล่าของเขา และมีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อวรรณกรรมสำหรับเด็กในโลกนี้ จนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายและจากโลกนี้ไป

เราสามารถสรุปบุคลิกของอิดรีสเซงเกนได้ในลักษณะเหล่านี้ : สงบ เศร้า  ใจกว้าง ร่าเริง มีสติสัมปชัญญะ ขี้อาย ฉลาด หน่อมแน้ม กังวล ล้อเล่น ใจดี และสง่างาม…

ผู้มีบุคลิกที่สวยงามมากมายเช่นเมาลานา อิดรีสเซงเกนซึ่งตะวันออกอำลาสู่ปรโลก วีรบุรุษตะวันออกที่โลกไม่รู้จักเหล่านี้ทุ่มเทความพยายามอย่างไม่ลดละเพื่อสร้างผลงานในโลกนี้ แต่น่าเสียดายที่พวกเขาจากเราไว้อย่างเงียบ ๆ โดยปราศจากการได้รับสถานะที่เหมาะสมในระดับโลก

นักเขียนชาวตะวันตกคนหนึ่งบอกว่า: “ถ้าเมาลานา อิดรีสเซงเกน เป็นนักเขียนชาวตะวันตก เขาได้รับรางวัลโนเบลสำหรับนิทานมหัศจรรย์เหล่านี้ตั้งนานแล้ว”

เช่นเดียวกับนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งตะวันออกจำนวนมาก น่าเสียดายที่ เมาลานา อิดรีสเซงเกน อพยพไปพำนักยังโลกของความเป็นอมตะ  โดยไม่ได้รับรางวัลใดๆ ในระดับโลก แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังคงเป็นวีรบุรุษในสายตาของผู้คนมากมายตลอดไป


Credit: Ghazali Benmad

งานประชุมพบปะศาสนสัมพันธ์ หัวข้อ ค่านิยมร่วมระหว่างศาสนิกชน

กรุงริยาด 11 พฤษภาคม 2565

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี เเละประธานร่วมศาสนาเพื่อสันติภาพ สภาศาสนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย เป็นตัวเเทนประเทศไทยร่วมงานประชุมพบปะศาสนสัมพันธ์ ณ กรุงริยาด ซาอุดิอาระเบีย จัดโดยองค์การสันนิบาตโลกมุสลิม

โดยงานนี้จัดขึ้นเป็นครั้งเเรก ณ กรุงริยาด มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการตกผลึกถึงมุมมองเเละวิสัยทัศน์ที่ดีทางอารยธรรมมนุษยชาติ สร้างความตระหนักร่วมกันถึงคุณค่าของดุลยภาพในสังคมมนุษย์ ส่งเสริมให้เกิดมิตรภาพ ภราดรภาพ เเละประสานความร่วมมือกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ทั้งปวง ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ส่งผลให้เกิดความขัดเเย้งกันในหมู่ศาสนิกชน อีกทั้งสร้างความตระหนักร่วมกันเเก่บรรดาผู้นำศาสนาเเละผู้นำทางความคิดทั่วโลกให้มีความเข้าใจในเรื่องสันติภาพ สมานฉันท์ เอื้ออาทรกันเเละกันของมนุษย์ชาติทุกศาสนาในโลกนี้ เพื่อพัฒนาสังคมมนุษย์ให้ดำรงอยู่กันอย่างสุขสันติที่ยั่งยืน

ในงานนี้ถือเป็นการรวมตัวของผู้ทรงคุณวุฒิจากบรรดาผู้นำศานาทุกศาสนา เช่น อิสลาม คริสต์ ยิว ฮินดู พุทธ เเละอื่นๆ ตลอดจนผู้นำทางความคิดที่ทรงอิทธิพลเเละตัวเเทนองค์กรขับเคลื่อนงานศาสนาชื่อดังจากทั่วโลก

ขอขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อ H.E. Dr. Muhammad bin Abdulkarim Al-Issa  เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลกและคณะทีมงานที่ให้เกียรติต้อนรับเเละรับรองเเขกในงานทุกท่านอย่างสมเกียรติ


Credit : A Fattah Lutfy Japakiya

การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ขั้นปกติระหว่างซาอุดิอาระเบียกับประเทศไทยสู่ศักราชแห่งมิตรภาพใหม่ที่ครอบคลุมทุกมิติแห่งความร่วมมือ

⁃          ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างสองประเทศนี้เริ่มตั้งแต่พ.ศ. 2500 โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศได้มีการเยี่ยมเยียนแลกเปลี่ยนเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี

            ⁃          การเยี่ยมเยียนของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาในวันที่ 25 มกราคม 2565 เป็นไปตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัดบินซัลมานบินอับดุลอาซีซอัลซะอูด มกุฏราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย เพื่อเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์ที่ดีที่ครอบคลุมทุกมิติแห่งความร่วมมือทั้งในเวทีระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

            ⁃          ซาอุดิอาระเบียร์มีความยินดีรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศนี้และยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตโดยจะมีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำเมืองหลวงของทั้งสองประเทศในอนาคตอันใกล้

            ⁃          ประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ฉันมิตรครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ ที่ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราชอาณาจักรทั้งสอง

            ⁃          การรื้อฟื้นความสัมพันธ์อย่างปกติระหว่างสองประเทศนี้ได้ส่งสัญญาณให้ส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ครอบคลุมทุกสาขา ได้แก่ด้านการเมือง ความมั่นคง อุตสาหกรรมการค้า เศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวและเกษตรกรรม รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมและการขนส่งเพื่อการค้าและการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาล การเปิดโอกาสด้านการลงทุนให้เป็นไปตามพระราชวิสัยทัศน์ 2030 อันเข้มแข็งของประเทศซาอุดีอาระเบียและสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติและวาระการพัฒนาแห่งชาติของประเทศไทย

            ⁃          รัฐบาลซาอุดิอาระเบียตระหนักและให้ความสำคัญกับกิจการของชาวมุสลิมในประเทศไทยโดยเฉพาะเรื่องการสร้างมัสยิด ศูนย์อิสลาม การพิมพ์แจกอัลกุรอาน โครงการละศีลอด การแจกจ่ายอินทผาลัมและมอบทุนการศึกษา

            ⁃          ซาอุดิอาระเบียสนับสนุนด้านงบประมาณโครงการผู้พิทักษ์สองมัสยิดอันทรงเกียรติกษัตริย์ซัลมาน บินอับดุลอาซีซอัลซะอูด ที่เมืองมะดีนะตุสสลาม จังหวัดปัตตานี

            ⁃          ซาอุดิอาระเบียได้ส่งออกสินค้าเข้าประเทศไทยในปี 2020 มูลค่า 4,000 ล้านดอลล่าร์ ในขณะที่ประเทศไทยได้ส่งออกสินค้าไปยังซาอุดิอาระเบียมูลค่า 1.65 พันล้านดอลล่าร์ 

            ⁃          ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนสินค้าของทั้งสองประเทศนี้ มีมูลค่าสูงถึง 18,000 ล้านดอลล่าร์

ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online
ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online
ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online
ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online

ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online

อ่านข่าวเพิ่มเติม


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

นสพ. อังกฤษโจมตีแอร์โดอาน

หนังสือพิมพ์อังกฤษ Financial Times 

ฉบับวันที่ 29 พ.ย. 64 กล่าวโจมตีแอร์โดอาน เนื่องจากค่าเงินลีร่าดิ่งต่ำเป็นประวัติการณ์ หลังแบงค์ชาติตุรกีหั่นดอกเบี้ย ทำให้เงินลีร่าทรุดตัวลงกว่า 40 % นับตั้งแต่ต้นปีนี้

หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ได้พาดหัวข้อข่าวกล่าวถึงแอร์โดอานว่า “ จะอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีนานแค่ไหน”

ปธน. แอร์โดอานได้ออกมาหนุนนโยบายดอกเบี้ยต่ำ และปกป้องการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของรัฐบาล

ปธน.เออร์โดอาน กล่าวว่า ตุรกีจำเป็นต้องมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นการส่งออก การลงทุน และการจ้างงาน แม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นเกือบ 20% และค่าเงินลีราดิ่งลงก็ตาม

ปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อในตุรกีพุ่งขึ้นแตะระดับ 19.89% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี และสูงกว่าระดับเป้าหมาย 5% ที่ธนาคารกลางกำหนดไว้ถึง 4 เท่า

สถานการณ์ในตุรกีทำให้หุ้นธนาคารในยุโรปพากันร่วงระนาวเมื่อต้นสัปดาห์เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลว่า วิกฤตค่าเงินตุรกีอาจลุกลามประเทศอื่น ๆ ในยุโรป

แหล่งข้อมูล


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

สหรัฐฯ เชิญ 110 ชาติ ร่วมซัมมิตประชาธิปไตย

สหรัฐฯ ส่งเทียบเชิญ 110 ประเทศและดินแดนทั่วโลก รวมถึงไต้หวัน เข้าร่วมประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย สร้างความไม่พอใจให้จีน ขณะที่การเชิญครั้งนี้ไม่มีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย ในขณะที่โลกอาหรับมีเพียงประเทศอิรักที่ได้รับเชิญ

สำนักข่าว CNN รายงานว่า กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยรายชื่อประเทศและดินแดนที่ได้รับเทียบเชิญเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย (Summit for Democracy) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณค่าทางประชาธิปไตย และการยกระดับสิทธิมนุษยชนทั่วโลก โดยมีการทยอยส่งบัตรเชิญออนไลน์ให้แก่ผู้เข้าร่วม 110 คน มีทั้งผู้นำและตัวแทนระดับสูงแทนผู้นำ

รายชื่อดังกล่าวประกอบด้วย 110 ประเทศและดินแดน รวมทั้งไต้หวัน แต่ไม่มี จีนกับรัสเซีย โดยจะเป็นการประชุมทางไกลในวันที่ 9-10 ธ.ค. 2564

อนึ่ง สำหรับในทวีปเอเชีย สหรัฐฯ เชิญพันธมิตรอย่าง ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ แต่ไม่มีประเทศไทยและเวียดนาม นอกจากนั้นยังไม่มีชื่อของอียิปต์ และชาติสมาชิกนาโตอย่างตุรกีด้วย ขณะที่ในตะวันออกกลาง มีเพียงอิรักและอิสราเอลที่ได้รับการเทียบเชิญ

รายชื่อประเทศ

https://www.state.gov/participant-list-the-summit-for-democracy/

อ้างอิง

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2250061


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

หนังสือพิมพ์ Haaretz อิสราเอลรายงานว่า :

ลูกชายนายพลฮัฟตาร์แห่งลิเบีย ได้บินไปยังอิสราเอลโดยเครื่องบินส่วนตัว เพื่อให้อิสราเอลสนับสนุนทางการทหารและด้านการเมือง แลกกับความสัมพันธ์อย่างปกติกับอิสราเอล

นายซัดดัม ลูกชายนายฮัฟตาร์ นายพลที่ปฏิวัติรัฐบาลประชาชนลิเบียและนำพาลิเบียทำสงครามกลางเมือง ได้ไปเยี่ยมเทลอาวีฟ หลังกลับจากกรุงดูไบ โดยได้นำสารของบิดาว่า หากพรรคของบิดาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมีขึ้นเดือนธันวาคม ปลายปีนี้ ลิเบียพร้อมเจริญสัมพันธ์อย่างปกติกับอิสราเอลทันที

อ่านเพิ่มเติม

https://arabic.rt.com/middle_east/1291468-صحيفة-إسرائيلية-نجل-خليفة-حفتر-زار-تل-أبيب-سرا-للحصول-على-الدعم-والمساعدة-العسكرية/

-الجزيرة نت


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ตุรกีจะไปทางไหน

นิตยสาร Le Mond ฝรั่งเศส ระบุตุรกีภายใต้การนำของแอร์โดอานทำให้เราต้องทึ่ง แต่ก็อดผวาไม่ได้ 

นิตยสารดังกล่าวได้ตีพิมพ์ฉบับพิเศษโดยเผยแพร่บทความหัวข้อ “ตุรกีจะไปทางไหน” ซึ่งได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านตุรกี เป็นเนื้อหาจำนวน 100 หน้า สรุปว่าตุรกีเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งในภูมิภาคและมีจุดเด่นทางภูมิศาสตร์และประชากรศาสตร์ที่มีความหลากหลายจำนวน 83 ล้านคน  นอกจากนี้ยังมีพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ใหญ่โต

นิตยสารดังกล่าวระบุว่า ในระยะเวลา 11 ปีระหว่างปี 2003-2011 แอร์โดอานได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในตุรกีพร้อมกับสถาปนาตนเองเป็น”บุคคลปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ”

“ในระดับประเทศ ตุรกีได้พัฒนาระบบสาธารณูปโภค ระบบการบริการและสาธารณสุข การเพิ่มGDP ถึง 3 เท่า และนี่คือปัจจัยที่แอร์โดอานได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทุกครั้ง ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา ถึงแม้การบริหารจะมีกลิ่นอายเผด็จการก็ตาม “ นิตยสาร Le Mond กล่าวสรุป

“อย่างไรก็ตาม พรรคยุติธรรมและพัฒนาภายใต้การนำของแอร์โดอานได้สูญเสียที่นั่งให้แก่พรรคฝ่ายค้านใฝ่เคมาลิสต์ในการเลือกตั้งท้องถิ่นล่าสุด โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างอิสตันบูลและอังการ่า” นิตยสารชื่อดังกล่าวทิ้งท้าย 


อ่านเพิ่มเติม

โดย Mazlan Muhammad

วันรำลึกมุสตะฟาเคมาล

นอกจากวันสาธารณรัฐ 29 ตุลาคมของทุกปีแล้ว ประเทศตุรกียังมีวันสำคัญอีกวันหนึ่งคือวันที่ 10 พฤศจิกายน

เวลา 09.05 น. ในวันที่ 10 พฤศจิกายนทุกปี ชาวตุรกีทั้งประเทศจะยืนไว้อาลัยนาน 1 นาทีเพื่อรำลึกถึงผู้สถาปนาสาธารณรัฐตุรกีฉายาบิดาแห่งตุรกี (อะตาร์เตอร์ก) ซึ่งได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1938 หลังมีอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือตุรกีนาน 16 ปี

ผู้เขียนยังจดจำวินาทีนี้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก การเดินทางครั้งแรกไปยังตุรกีในปี 2012 ตรงกับวันที่ 10 พ.ย. และกำลังเยี่ยมชมวังโดลมาบาห์เชพอดี 

ช่วงเวลา 1 นาทีนี้ ทั่วตุรกีคล้ายถูกมนต์สะกด เพราะทั้งประเทศวจะต้องแน่นิ่งเงียบสงบ  ทั้งเสียงผู้คน รถราที่สัญจรบนท้องถนน เรือในทะเล ฝูงชนที่เดินเหินตามที่ต่าง ๆ แม้กระทั่งนักเรียนที่อยู่ตามโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศจะต้องร้องไห้ ถึงแม้จะเป็นการร้องไห้ที่ถูกบังคับหรือเสแสร้งก็ตาม เด็ก ๆ จะต้องร้องเพลงที่มีเนื้อหาว่า “ในวังโดลมาบาห์เช บิดาของเราได้เสียชีวิตเวลา 09.05 น. ท่านได้ปิดดวงตา โลกทั้งใบได้ร่ำไห้สุดอาดูร”

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองตุรกีนางโอซลาม อัลเบรัก เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ Yeni Safak Turki ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ในหัวข้อ “อะตาร์เตอร์กยังไม่ตาย เขายังมีชีวิตอยู่ในใจของเรา” นางอัลเบรักเล่าว่า ในอดีตครูดนตรีจะฝึกซ้อมให้นักเรียนทุกคนจดจำประโยคดังกล่าว นักเรียนคนไหนที่ไม่จำ ทางโรงเรียนจะเรียกผู้ปกครองมาปรับทัศนคติ พร้อมตักเตือนว่าลูกของตนอาจถูกไล่ออกจากโรงเรียน

นางอัลเบรักย้อนความทรงจำเล่าว่า เรานึกว่า โลกทั้งใบจะยืนร่วมไว้อาลัยพร้อมกับเรา แต่เมื่อโตขึ้น เราจึงทราบว่า แม้กระทั่งตุรกี ก็ยังไม่ยืนไว้อาลัย นับประสาอะไรกับโลกทั้งใบ ฉันไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แทนที่จะใช้เวลา 1 นาทีนี้อ่านอัลฟาติหะฮ์ มอบผลบุญให้กับผู้ตาย แต่กลับเลือกยืนนิ่งเหมือนศพที่มีลมหายใจ ทำให้ฉันรู้ว่าในตุรกีจะมีคนสองกลุ่ม คือกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ยืนไว้อาลัยทั้งด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับเหมือนสมัยเรายังเป็นเด็กนักเรียน ซึ่งฉันเชื่อว่าคนที่ยืนไว้อาลัยด้วยความสมัครใจ มีจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ส่วนกลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ไม่ยืนไว้อาลัยแม้แต่วินาทีเดียวซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่

อัลเบรักตั้งคำถามว่า เพราะอะไรที่ชาวตุรกีส่วนใหญ่ไม่ยืนไว้อาลัยให้กับรัฐบุรุษผู้นี้ ซึ่งนางได้ค้นพบสาเหตุอันมากมาย ส่วนหนึ่งคือ เพราะอะตาร์เตอร์กได้สังหารนักวิชาการทางศาสนามากมาย เขาได้เปลี่ยนอักษรเขียนจากอักษรอาหรับเป็นอักษรตุรกีเมื่อปีค.ศ. 1928 จนกระทั่งในปัจจุบัน ชาวตุรกีไม่สามารถอ่านภาษาบรรพบุรุษของตนเอง เขายังเปลี่ยนอาซานจากภาษาอาหรับเป็นภาษาตุรกีซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกทำกัน อะตาร์เตอร์กยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีนานถึง 16 ปี ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 1921 กำหนดว่า วาระประธานาธิบดีเพียง 7 ปีเท่านั้น นอกจากนี้อะตาร์เตอร์กยังยุบพรรคฝ่ายค้านและบริหารประเทศด้วยพรรคเดียวคือพรรคสาธารณรัฐ

และเหตุผลอีกมากมายที่ประชาชนชาวตุรกีโดยส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า บุรุษผู้มีเค้าโครงใบหน้าที่ไม่ใช่ชาติพันธุ์ของตุรกีคนนี้ ไม่สมควรได้รับการยกย่อง ถึงแม้จะมีฉายาว่าบิดาแห่งชาวเตอร์กก็ตาม

นางอัลเบรักยังระบุอีกว่า ลัทธิเคมาลิสต์ที่ได้ยึดมั่นแนวคิดเซคิวล่าร์และวัตถุนิยม ได้สร้างนรกทั้งเป็นให้แก่ชาวตุรกีที่กว่า 85 % เป็นชาวมุสลิมที่ยึดมั่นในศาสนา หลังการเสียชีวิตของเขาจนถึงปี 2002 พวกเขาได้จับและซ้อมทรมานทุกคนที่มีข้อความภาษาอาหรับในบ้านแม้กระทั่งคำเดียวคนที่เขียนกลอนวิพากษ์ลัทธินี้แม้เพียงบทเดียวก็จะถูกซ้อมทรมาน หรือถูกดำเนินคดีพวกเขายังห้ามสตรีมมุสลิมใส่ผ้าคลุมเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ยังไม่รวมการปฏิวัติที่นองเลือดประชาชนผู้บริสุทธิ์เพียงเพื่อปกป้องลัทธิเคมาลิสต์

ผลงานของมุสตะฟา เคมาล และทายาทของเขาได้สร้างบาดแผลอันร้าวลึกให้แก่ประชาชนชาวตุรกีนานกว่า 6 ทศวรรษ ทำให้ประชาชนครั่นคร้ามและเข็ดหลาบกับลัทธินี้เป็นอย่างมาก การที่พวกเขาปฏิเสธให้เกียรตินายมุสตะฟา เคมาล ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่มีความชอบธรรมอยู่บ้าง

ความจริงมุสตะฟา เคมาลและพรรคพวก ไม่ใช่ผู้กอบกู้เอกราชตุรกีเพียงฝ่ายเดียว แต่ยังมีกองทัพอุษมานียะฮ์ที่มาจากปากีสถานและอินเดียที่กู่ร้อง”อัลลอฮุอักบัร” (อัลลอฮ์ผู้ยิ่งใหญ่) เข้าสมทบทำสงครามกอบกู้เอกราชในปี 1922 อีกด้วย แต่หลังจากได้รับชัยชนะแล้ว มุสตะฟา เคมาลได้รวบรวมแกนนำทหารเซคิวล่าร์และได้สร้างความมั่นใจให้ชาติตะวันตกว่า ตนเองและพรรคพวกสามารถปกป้องและอารักขาระบอบเซคิวล่าร์และทุนนิยมในตุรกี จนกระทั่งชาติตะวันตกไว้วางใจและประกาศสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีภายใต้สนธิสัญญา “โลซาน”

และด้วยสัญญาทาสฉบับนี้ พวกเขาได้สถาปนารัฐเซคิวล่าร์ที่คลั่งไคล้ พร้อมทำลายและเหยียบย่ำสิทธิพื้นฐานของประชาชนในด้านต่าง ๆ ทั้งสังคมวัฒนธรรม การศึกษาและศาสนา ไม่เว้นแม้กระทั่งศักดิ์ศรีของบรรพบุรุษที่เคยปกครองโลกอิสลามมานานกว่า 6 ศตวรรษ 

อ่านเพิ่มเติม

https://www.turkpress.co/node/15008


โดย Mazlan Muhammad

โดนย่างสดตายอนาถพร้อมผู้อารักขา

สตอกโฮล์ม 4 ต.ค.- นายลาร์ส วิคส์ ชาวสวีเดนนักวาดการ์ตูนดูหมิ่นศาสดามูฮัมมัดของศาสนาอิสลาม เสียชีวิตแล้ว จากอุบัติเหตุรถที่โดยสารมาพร้อมกับตำรวจอารักขา 2 นาย ชนกับรถรรทุกเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น

ตำรวจสวีเดนยืนยันว่า นายวิคส์วัย 75 ปี และตำรวจ 2 นายที่อารักขานายวิคส์เสียชีวิตเข่นเดียวกัน อุบัติเหตุเกิดขึ้นใกล้เมืองมาร์การิด ทางใต้ของสวีเดน รถที่นายวิคส์โดยสารมากับตำรวจชนกับรถบรรทุกที่วิ่งสวนมา ทำให้ไฟไหม้รถทั้งสองคัน

นายวิคส์อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของตำรวจสวีเดนตั้งแต่การ์ตูนดูหมิ่นศาสดาของศาสนาอิสลามที่เขาวาดในปี 2550 สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวมุสลิม กลุ่มอัลกออิดะห์เคยตั้งค่าหัวเขาไว้ที่ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 ล้าน 3 แสนบาท) เขาเคยถูกลอบยิงขณะร่วมประชุมในปี 2558 แต่ลูกกระสุนพลาดไปถูกคนอื่นเสียชีวิต เขาจึงได้รับอารักขาจากตำรวจ 2 นาย แต่ก็ต้องเจอไฟไหม้เผาตัวเองพร้อมตำรวจผู้อารักขาทั้ง 2 นาย ในอุบัติเหตุทางรถยนต์

 


อ้างอิง

https://mgronline.com/around/detail/9640000098213

https://www.france24.com/ar/أوروبا/20211004-مقتل-فنان-الكاريكاتور-السويدي-لارش-فيلكس-صاحب-الرسوم-الكاريكاتورية-المسيئة-للنبي-محمد-في-حادث-سير

โดย Mazlan Muhammad

อดีตผู้คุมนักโทษประกาศรับอิสลาม

Steve Wood (40 ปี) อดีตผู้คุมนักโทษชาวอเมริกัน ที่คุกกวนตานาโม ประกาศรับอิสลาม หลังจากที่เขาเห็นพฤติกรรมของนักโทษที่ยังคงยึดมั่นปฏิบัติคำสอนอิสลามอย่างเคร่งครัด

ถึงแม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก โดยเฉพาะนักโทษชาวมอริเตเนียหมายเลข 760 นายมูฮัมมัด วะลัดศอลาฮีย์

ซึ่งมีมารยาทงดงาม มีความสุขุมเยือกเย็นชอบยิ้มอยู่ตลอดเวลา ทำให้เขาประทับใจกับนักโทษคนนี้ และเป็นผู้ที่ทำให้เขาประกาศรับอิสลามในเวลาต่อมา


อ้างอิง และ ข้อมูลเพิ่มเติม

https://mubasher.aljazeera.net/programs/evening-window/2021/9/13/%D8%B3%D8%AA%D9%8A%D9%81-%D9%88%D9%88%D8%AF-%D8%B3%D8%AC%D8%A7%D9%86-%D8%B3%D8%A7%D8%A8%D9%82-%D9%81%D9%8A-%D8%BA%D9%88%D8%A7%D9%86%D8%AA%D8%A7%D9%86%D8%A7%D9%85%D9%88-%D8%A3%D8%B3%D9%84%D9%85?fbclid=IwAR0aHFDSbQUv5lKyXDxaPOpvJH1u70ii-6HmzKVdCfPzSSKvtaEC7bhoLs8

โดยทีมข่าวต่างประเทศ