รัฐธรรมนูญอัลมะดีนะฮ์ สรรสาระสันติภาพที่ยั่งยืน

รัฐธรรมนูญอัลมะดีนะฮฺคือรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่เป็นลายลักษณ์ฉบับแรกในประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์ที่นักประวัติศาสตร์และนักบูรพาคดีเชื่อว่า เป็นอารยธรรมอันสูงส่งของมนุษยชาติและถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าแห่งความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอิสลาม เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างพลเมืองที่มีความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ ศาสนาและชนชั้น เพื่อใช้ชีวิตอย่างสันติ

วัตถุประสงค์หลักของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ วางรากฐานสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตที่สันติ สานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชนเผ่าต่างๆ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศอรฺ ชาวยิวและชนต่างศาสนิกอื่นๆ กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชาชน ผู้นำและรัฐในการสร้างสังคมสันติภาพ ตลอดจนประกาศความเป็นรัฐเอกราชและความเป็นผู้นำสูงสุดของนบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم

นักบูรพาคดีชาวโรมาเนียชื่อ Constant Jeor Jeo ได้กล่าวว่า “รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกอบด้วย 52 มาตรา ทุกมาตราเป็นความคิดที่สร้างสรรค์โดยมูฮัมมัด ในจำนวนนี้มี 25 มาตราที่พูดถึงชาวมุสลิมเป็นการเฉพาะ และอีก 27 มาตราได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับชนต่างศาสนิกโดยเฉพาะยิวและชนต่างศาสนิกอื่นๆ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกร่างขึ้นโดยมีสาระสำคัญที่อนุญาตให้ชนต่างศาสนิกสามารถดำรงชีวิตกับสังคมมุสลิมอย่างอิสระ สามารถปฏิบัติตามบทบัญญัติทางศาสนาตามความเชื่อของแต่ละชุมชนอย่างเสรี แต่ละชุมชนไม่อนุญาตสร้างความเดือดร้อนหรือก่อความไม่สงบแก่ชุมชนอื่น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกร่างขึ้นในปีแรกของการฮิจเราะฮฺหรือปี 623 ค.ศ. แต่ทุกครั้งที่เมืองอัลมะดีนะฮฺถูกคุกคามจากศัตรู พลเมืองอัลมะดีนะฮฺทุกคนต้องลุกขึ้นปกป้องจากภัยคุกคามนี้”

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญอัลมะดีนะฮฺสรุปได้ดังนี้

  1. ประชาชาติมุสลิมอยู่ในฐานะที่เหนือกว่าการติดยึดในเรื่องเผ่าพันธุ์และสีผิว
    “แท้จริง พวกเขาคือประชาชาติเดียวกันที่แตกต่างจากชาวพลเมืองอื่น”

นัยตามมาตรานี้ ทำให้ชาวมุสลิมถึงแม้จะมาจากเผ่าพันธุ์ วงศ์ตระกูล เชื้อชาติและภาษาที่ต่างกัน แต่พวกเขามีความผูกพันกับสายใยอันเดียวกัน นั่นคือ อิสลาม และด้วยมาตรานี้ นบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم ได้ทลายกำแพงความเป็นท้องถิ่นนิยม ภาคนิยม ภาษานิยมและชาตินิยมอย่างหมดสิ้น พร้อมสร้างชาติพันธุ์ใหม่คือชาติพันธุ์อิสลาม ทุกคนกลายเป็นประชาชาติเดียวกันคือประชาชาติอิสลาม

  1. การสร้างหลักประกันสังคมร่วมกันระหว่างพลเมือง
    “แท้จริงศรัทธาชนไม่สามารถปล่อยให้ปัญหาของมุสลิมถูกแก้ไขตามลำพัง แต่เขาต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน แก้ปัญหาด้วยคุณธรรมโดยเฉพาะเรื่องการไถ่ตัวมุสลิมจากการถูกจองจำ”

มาตรานี้ได้ส่งสัญญาณแก่มุสลิมทุกคนว่า พวกเขาคือพี่น้องกัน จำเป็นต้องเกื้อกูลอุดหนุนซึ่งกันและกัน พวกเขาคือเรือนร่างอันเดียวกัน อวัยวะส่วนไหนเจ็บปวด อวัยวะส่วนอื่นเจ็บปวดไปด้วย

  1. การลงโทษผู้บิดพลิ้วสัญญา
    “ศรัทธาชนต้องลุกขึ้นต่อต้านโดยพร้อมเพรียงกันต่อทุกพฤติกรรมที่ส่อถึงการทรยศหักหลัง การสร้างศัตรูหรือสร้างความปั่นป่วนในสังคมมุสลิม ทุกคนต้องร่วมมือกันต่อต้านกับบุคคลที่มีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ ถึงแม้จะเป็นลูกหลานใครก็ตาม”
    อาศัยมาตรานี้ นบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم ได้สั่งประหารชีวิตยิวเผ่ากุร็อยเซาะฮฺกลุ่มหนึ่งหลังสงครามอัลอะหฺซาบ(สงครามพันธมิตร) ซึ่งยิวกลุ่มนี้ได้เป็นไส้ศึกร่วมมือกับศัตรูในการโจมตีเมืองอัลมะดีนะฮฺ ถึงแม้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอัลมะดีนะฮฺก็ตาม
  2. การให้เกียรติแก่ทุกคนที่มุสลิมประกันความปลอดภัย
    “แท้จริงอัลลอฮฺจะประกันความปลอดภัยแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แม้กระทั่งผู้ที่ต่ำต้อยที่สุดก็ได้รับสิทธินี้อย่างเสมอภาค ศรัทธาชนจะต้องร่วมมือประกันความปลอดภัยซึ่งกันและกัน”
    มุสลิมทุกคนสามารถประกันความปลอดภัยแก่ใครก็ได้ที่เขาต้องการไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม และทุกคนในสังคมต้องเคารพการประกันความปลอดภัยนี้ ถึงแม้ผู้ประกันจะมาจากประชาชนธรรมดาผู้ต่ำต้อยก็ตาม และแม้กระทั่งผู้ประกันจะเป็นผู้หญิงก็ตาม ดังหะดีษหนึ่งที่นบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم ได้กล่าวแก่อุมมุฮานิว่า “แท้จริง ฉันจะประกันความปลอดภัยแก่ผู้ที่ท่านประกันความปลอดภัยแก่เขาโอ้ อุมมุฮานิ” (อัลบุคอรีย์/6158 และมุสลิม/336)
  3. การปกป้องประชาชนต่างศาสนิกและชนกลุ่มน้อย
    “ผู้ใดก็ตามจากหมู่ชาวยิวที่ได้ตามเรา พวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือ พวกเขาจะไม่ถูกอธรรม และไม่มีใครสามารถคุกคามพวกเขาได้”
    มาตรานี้เป็นการประกาศอย่างชัดเจนว่า ชนต่างศาสนิกจะไม่ถูกคุกคามจากรัฐหรือสังคมมุสลิม ตราบใดที่เขาปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี มุสลิมหรือรัฐอิสลามไม่สามารถเอาประเด็นศาสนาเพื่อทำร้ายหรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นได้ ตราบใดที่เขาใช้ชีวิตในสังคมอย่างสันติ
  4. หลักประกันความปลอดภัยในสังคมและประกันให้ค่าสินไหมทดแทน
    “ผู้ใดที่ฆ่าผู้ศรัทธาโดยปราศจากเหตุผลที่เป็นที่อนุญาต เขาจะถูกตัดสินด้วยการประหารชีวิต ยกเว้นทายาทที่ถูกฆ่ายินยอมรับค่าสินไหมทดแทน ศรัทธาชนทั้งหลายต้องลุกขึ้นประณามฆาตกรรมนี้ ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์กระทำการอื่นใด ยกเว้นลงโทษผู้กระทำผิดเท่านั้น”
    มาตรานี้เป็นหลักสำคัญต่อกระบวนการสร้างสันติภาพที่สามารถลบล้างวัฒนธรรมแห่งการล้างแค้นที่บานปลายและไม่มีวันสิ้นสุดในสังคมญาฮิลียะฮฺในอดีต รัฐธรรมนูญยังได้ระบุว่า การลงโทษใดๆ สามารถบังคับใช้ต่อผู้กระทำผิดเท่านั้น และบุคคลอื่นจะไม่ถูกลงโทษเนื่องจากการกระทำผิดของสหายของเขา
  5. แหล่งคำตัดสินสุดท้ายคือชะรีอะฮฺอิสลาม
    “หากมีข้อพิพาทใดๆ ในระหว่างท่าน จงหันกลับไปสู่การตัดสินของอัลลอฮฺ และมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم

มาตรานี้เป็นการประกาศว่า การตัดสินของอัลลอฮฺ และเราะซูล صلى الله عليه وسلم ถือเป็นที่สิ้นสุดและทุกคนต้องเชื่อฟังคำตัดสินนี้

  1. เสรีภาพด้านการนับถือศาสนา

ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่กลุ่มชนต่างๆ ในการนับถือศาสนาและสามารถปฏิบัติคำสอนศาสนาตามความเชื่อของแต่ละคน ดังที่ได้ระบุในมาตราหนึ่งว่า “ยิวบะนีเอาว์ฟฺ เป็นประชาชาติหนึ่งร่วมกับบรรดาผู้ศรัทธา ยิวมีศาสนาประจำของพวกเขา และมุสลิมีนก็มีศาสนาประจำของพวกเขาเช่นกัน”

  1. การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อปกป้องรัฐถือเป็นหน้าที่ของทุกคน
    “ชาวยิวมีหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านการเงินพร้อมๆ กับผู้ศรัทธา ตราบใดที่พวกเขาร่วมทำสงครามพร้อมกับชาวมุสลิม”
    เพราะอัลมะดีนะฮฺเป็นรัฐของคนทุกคน ดังนั้นพลเมืองอัลมะดีนะฮฺทุกคนต้องปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนและปกป้องรัฐจากภัยคุกคามอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม
  2. ทุกเผ่าพันธุ์ได้รับอิสรภาพในการจัดการเรื่องเงินและรายได้ของตน
    “ชาวยิวมีหน้าที่แบ่งปันปัจจัยยังชีพในกลุ่มพวกเขา และชาวมุสลิมมีหน้าที่แบ่งปันปัจจัยยังชีพในกลุ่มพวกเขาเช่นกัน”
    ในเมื่อแต่ละกลุ่มชนมีหน้าที่ใช้จ่ายเพื่อปกป้องและรักษาความมั่นคงของรัฐ ดังนั้นแต่ละกลุ่มชนในสังคมต่างมีหน้าที่แบ่งปันปัจจัยยังชีพของตนโดยที่รัฐหรือกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ไม่มีสิทธิ์ไปก้าวก่ายและครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเพียงผู้เดียว
  3. การปกป้องรัฐอัลมะดีนะฮฺจากภัยคุกคามเป็นสิ่งวาญิบสำหรับทุกคน
    “ในระหว่างพวกเขา ต้องให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการต่อต้านผู้รุกรานพลเมืองของรัฐธรรมนูญฉบับนี้”

มาตรการนี้ถือเป็นการมอบหมายหน้าที่ให้แก่ทุกคนที่เป็นพลเมืองอัลมะดีนะฮฺในการปกป้องจากภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกที่สั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาล

  1. การให้คำตักเตือน การทำความดีระหว่างมุสลิมด้วยกันและชนต่างศาสนิก ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน
    “ในระหว่างพวกเขาต้องดำรงไว้ซึ่งการตักเตือนและการทำความดี ไม่ใช่กระทำบาปทั้งหลาย”
    สถานะดั้งเดิมของความสัมพันธ์ระหว่างพลเมือง ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม คือ การให้คำตักเตือน เสนอแนะสิ่งดี ประกอบคุณงามความดีให้แก่กัน ไม่ใช่สร้างความบาดหมางระหว่างกัน และการนับถือศาสนาที่ต่างกัน ไม่ใช่เป็นต้นเหตุสร้างความบาดหมางระหว่างกัน
  2. พลเมืองทุกคนสามารถทำสัญญากับฝ่ายใดก็ได้ ตราบใดที่ไม่กระทบกับความมั่นคงของชาติ

มาตรานี้เป็นการส่งเสริมให้พลเมืองทุกคนแข่งขันทำความดี สรรค์สร้างสิ่งประโยชน์และพัฒนาสังคมอย่างเต็มความสามารถ และเพื่อให้สามารถดำเนินไปอย่างสำเร็จสูงสุด รัฐจึงให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายทำสัญญาสร้างความร่วมมือทำคุณประโยชน์ ตราบใดที่ไม่กระทบกับความมั่นคงของชาติ

  1. พลเมืองมีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกอธรรม
    “แท้จริง การยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกอธรรมเป็นสิ่งวาญิบ”
    ดังนั้น ทุกคนต้องลุกขึ้นต่อสู้กับความอยุติธรรมและต้องปลดปล่อยอธรรมให้หมดไปจากสังคมมุสลิมไม่ว่าผู้ถูกอธรรมจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม
  2. การประกันความปลอดภัยแก่พลเมืองทุกคน เป็นหน้าที่สำคัญของรัฐ

รัฐจะต้องประกันความปลอดภัยแก่ประชาชน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางศาสนาและเผ่าพันธุ์

นี่คือสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับอัลมะดีนะฮฺที่สามารถสร้างสังคมปรองดองที่แท้จริง ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระเสรีและเกิดสันติสุขที่แท้จริง เพราะความหายนะและความปั่นป่วนในสังคม เกิดขึ้นเนื่องจากมนุษย์พยายามใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ตราบใดที่ไม่สามารถยับยั้งสกัดกั้นการบีบบังคับและการยกย่องบูชามนุษย์ด้วยกัน ตลอดจนปฏิเสธการนับถือพระเจ้าอันจอมปลอมและตราบใดที่ไม่สามารถปลดปล่อยมนุษย์ให้มีความอิสระในการเลือกทางเดินชีวิตและความต้องการอันแท้จริงของตนเองแล้ว มนุษย์จะต้องประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง สังคมก็จะมีแต่ความวุ่นวาย ด้วยเหตุนี้ ภารกิจสำคัญของนบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم และผู้ที่เจริญรอยตามท่าน คือ ปลดปล่อยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากพันธนาการการเคารพบูชามนุษย์ด้วยกันสู่การเคารพบูชาอัลลอฮฺ ผู้ทรงเอกา ปล่อยอิสรภาพมวลมนุษย์จากห่วงโซ่อันคับแคบของโลกดุนยาสู่ความไพศาลของดุนยาและอาคิเราะฮฺ ทำให้มนุษยชาติหลุดพ้นจากกรงเล็บแห่งความอธรรมทางศาสนาสู่ความยุติธรรมของอัลอิสลาม


เขียนโดย ผศ. มัสลัน มาหะมะ

ประชาธิปไตยหลุดพ้นจากอิสลามหรือไม่ ? [ ตอนที่ 3 ]

คำตอบโดย ศ.ดร.ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวัย์ อดีตประธานสหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ

คำสอนในซุนนะฮ์ ได้ตำหนิผู้นำทรราชอย่างรุนแรง

ซุนนะฮฺได้กล่าวตำหนิผู้นำทรราช ซึ่งปกครองประชาชนด้วยกฎเหล็กและด้วยวิธีการรุนแรง ประชาชนไม่มีใครกล้าตอบโต้และเห็นแย้งกับพวกเขาแม้แต่คำเดียว ซุนนะฮ์ได้ระบุว่า ในวันกิยามะฮ์ พวกเขาจะกระโจนเข้าในนรกเหมือนแมลงเม่าเข้ากองไฟ

นอกจากนี้ ซุนนะฮ์ยังกล่าวตำหนิผู้ที่คุกเข่าและประจบสอพลอกลุ่มทรราช หรือเป็นมือไม้ช่วยเหลือพวกเขา

ซุนนะฮฺยังได้กล่าวโทษอุมมะฮ์ที่ตกอยู่ภายใต้ความหวาดกลัวที่แพร่กระจายไปทั่ว และไม่กล้าพูดกับผู้อธรรมได้ว่า โอ้ผู้กดขี่เอ๋ย

มีรายงานจากอบูมูซา ว่า ท่านศาสนทูต صلى الله عليه وسلم กล่าวว่า

إن في جهنم واديًا وفي الوادي بئر يقال له هبهب، حق على الله أن يسكنه كل جبار عنيد”

“ มีหุบเขาในนรกญะฮันนัม และในหุบเขามีบ่อลูกหนึ่งชื่อว่า “ฮับฮับ” พระเจ้าทรงมีสิทธิที่จะให้ผู้ใช้อำนาจบาตรใหญ่ที่ดื้อรั้นทุกคนได้พำนักอาศัยอยู่”

[ รายงานโดยอัล อัตฏอบารอนี ด้วยสายรายงานที่ดี และอัลหากิม เห็นว่าเป็นหะดีษซอเฮี้ยะห์ และอัลซะฮะบีย์เห็นพ้องด้วย 4/332 ]

และรายงานจากมุอาวียะฮ์ ว่า ท่านศาสดา صلى الله عليه وسلم กล่าวว่า

يكون من بعدي أئمة يقولون لا يرد عليه قولهم يتقاحمون في النار كما يتقاحم القردة

จะมีผู้นำยุคหลังจากฉัน พวกเขาพูดโดยไม่มีสิทธิ์โต้แย้งใดๆ และพวกเขาจะกระโจนลงในไฟนรกเหมือนกับฝูงลิง

[หะดีษรายงานโดยอบูยะลาและอัลตอบารอนีย์ ในหนังสือ Sahih Al-Jami Al-Sagheer เลขที่ 3615 ]

รายงานจากจาบิรว่า ท่านศาสดา صلى الله عليه وسلم กล่าวกับ กะอับ บินอัจเราะฮ์ ว่า

أعاذك الله من إمارة السفهاء يا كعب”. قال: وما إمارة السفهاء؟ قال: “أمراء يكونون بعدي، لا يهدون بهديي ولا يستنون بسنتي، فمن صدقهم بكذبهم، وأعانهم على ظلمهم، فأولئك ليسوا مني ولست منهم، ولا يردون على حوض، ومن لم يصدقهم بكذبهم ولم يعنهم على ظلمهم، فأولئك مني، وأنا منهم، وسيردون على حوضي

“ขอพระเจ้าปกป้องท่านจากการปกครองของคนพาล โอ้กะอับ ”

เขากล่าวว่า “การปกครองของคนพาลคืออะไรครับ ?

ท่านนบี صلى الله عليه وسلم กล่าวว่า

“ ผู้นำยุคหลังจากฉัน พวกเขาไม่ปฏิบัติตามแนวทางของฉัน ใครก็ตามที่เชื่อในการโกหกของพวกเขา และช่วยพวกเขาในการกระทำความอยุติธรรม คนเหล่านั้นไม่ใช่พวกของฉันและฉันไม่ได้เป็นพวกเขา และพวกเขาไม่อาจมายังสระของฉันในสวรรค์

ส่วนคนที่ไม่เชื่อในคำโกหกของพวกเขา และไม่ช่วยพวกเขาในการกระทำความอยุติธรรม คนเหล่านั้นเป็นพวกของฉันและฉันก็เป็นพวกเขา และพวกเขาจะได้มายังสระของฉัน ในสวรรค์”

[รายงานโดยอะหมัด และอัลบัซซาร และผู้รายงานล้วนเชื่อถือได้ ]

หะดีษมัรฟูอ์ รายงานจากมุอาวียะฮ์ ว่า

لا تقدس أمة لا يقضى فيها بالحق، ولا يأخذ الضعيف منها حقه من القوي غير متعتع”

“ประชาชาติหนึ่งจะไร้ศักดิ์ศรี เมื่อไม่มีการพิพากษาด้วยความยุติธรรม และผู้อ่อนแอจะไม่สามารถเอาสิทธิของตนจากผู้แข็งแกร่งโดยปราศจากความหวาดกลัว”

[รายงานโดยอัลอัตฏอบารอนี โดยผู้รายงานที่น่าเชื่อถือ]

หะดีษมัรฟูอ์ รายงานจากอับดุลลอฮ์ บินอัมร์ ว่า

“إذا رأيت أمتي تهاب أن تقول للظالم : يا ظالم فقد تودع منهم”

เมื่อท่านเห็นประชาชาติของฉันกลัวที่จะกล่าวกับผู้กดขี่ว่า “โอ้ผู้กดขี่” ก็จะถึงกาลต้องสิ้นสูญแล้ว”

[ รายงานโดยอะหมัดใน อัลมุสนัด ชากิรเห็นว่าเป็นสายรายงานที่ศอเฮี้ยะห์/6521]

ชูรอ (การให้คำปรึกษา) นาซีฮัต (การให้คำแนะนำ) อัมร์บิลมะรูฟ (ส่งเสริมความดี) และนะห์ยุอานิลมุงกัร (ห้ามปรามความชั่ว)

ศาสนาอิสลามได้บัญญัติให้การชูรอ-ปรึกษาหารือ- เป็นหนึ่งในกฎเกณฑ์ของวิถีชีวิตอิสลาม บังคับให้ผู้ปกครองต้องขอคำปรึกษา และบังคับให้อุมมะฮฺต้องให้คำแนะนำ ถึงขั้นถือว่าการให้คำแนะนำนั้นเป็นแกนหลักของศาสนาอิสลาม อันรวมถึงการให้คำแนะนำแก่ผู้นำของชาวมุสลิม

นอกจากนี้ อิสลามยังถือว่า การส่งเสริมความดีและการยับยั้งความชั่ว(อัมร์บิลมะรูฟ และนะห์ยุอานิลมุงกัร) เป็นหน้าที่บังคับ

ยิ่งไปกว่านั้น อิสลามยังถือว่า การญิฮาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการพูดความจริงต่อหน้าทรราช

أفضل الجهاد كلمة حق تقال عند سلطان جائر

“การญิฮาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการพูดความจริงต่อหน้าทรราช”

ซึ่งหมายความว่า การต่อต้านการกดขี่ข่มเหงและการคอร์รัปชั่นภายใน เป็นที่ชื่นชมของพระเจ้ามากกว่าการต่อต้านศัตรูจากภายนอก เพราะประการแรกมักเป็นสาเหตุของประการหลัง

ผู้ปกครองในมโนทัศน์ของศาสนาอิสลาม

ผู้ปกครองในมโนทัศน์ของศาสนาอิสลาม คือตัวแทนของอุมมะฮฺหรือพนักงานที่ได้รับการว่าจ้าง และเป็นสิทธิของตัวการที่จะตรวจสอบตัวแทนหรือถอนการเป็นตัวแทนได้ตามประสงค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากตัวแทนละเมิดพันธกิจที่ได้รับมอบหมายจากตัวการ

ในศาสนาอิสลาม ผู้ปกครองไม่ใช่เป็นผู้มีอำนาจโดยเด็ดขาด แต่ถือเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อาจมีถูกมีผิด อาจเป็นคนยุติธรรมและไม่ยุติธรรม และเป็นสิทธิของประชากรมุสลิมทั่วไป ที่จะทำการแก้ไข หากผู้ปกครองทำผิด

นี่คือสิ่งที่ประกาศโดยผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวมุสลิมรองจากศาสนทูตของพระเจ้า – ขอให้พรของพระเจ้าและสันติจงมีแด่ท่าน- คอลีฟะฮ์ทั้งสี่ คุลาฟาอ์รอชิดูนอัลมะฮ์ดียูน ที่เราถูกบัญชาใช้ให้ปฏิบัติตามซุนนะห์ของพวกเขาอย่างเข้มงวด เนื่องจากถือเป็นการสืบทอดจากครูคนแรก นบีมูฮัมหมัด – ขอให้พรของพระเจ้าและสันติจงมีแด่ท่าน

ในสุนทรพจน์ครั้งแรกของคอลีฟะฮ์ท่านแรก อาบูบักร์ ท่านกล่าวว่า“ โอ้ประชาชนของฉัน หากพวกท่านเห็นว่าฉันทำถูก ก็จงสนับสนุนฉัน แต่หากเห็นว่าฉันทำผิดก็จงแก้ไขให้ถูก จงเชื่อฟังฉันตราบเท่าที่ฉันเชื่อฟังอัลลอฮ์ หากฉันฝ่าฝืนต่อพระองค์ พวกท่านก็ไม่ต้องเชื่อฟังฉันต่อไป”

ท่านอุมัร คอลีฟะฮ์ท่านที่ 2 กล่าวว่า ” ขอพระเจ้าทรงเมตตาบุคคลที่ชี้แนะฉันถึงความผิดพลาดของฉัน” และว่า “หากเห็นว่าฉันทำผิดก็จงแก้ไขให้ถูก” พวกเขาจึงกล่าวว่า “โอ้บุตรคอตตอบ หากเราเห็นท่านทำผิด เราจะแก้ไขด้วยดาบของเรา”

ครั้งหนึ่งสตรีนางหนึ่งตอบโต้ท่านขณะปราศรัยอยู่บนแท่นมิมบัร ท่านอุมัรไม่ได้โกรธคืองอะไรเลย ซ้ำยังกล่าวว่า “ผู้หญิงคนนี้ถูก อุมัรผิด”

ท่านอาลี ได้กล่าวกับชายคนหนึ่งที่โต้แย้งท่านว่า “ฉันมีทั้งที่ถูกและผิด”

{وفوق كل ذي علم عليم} (يوسف : 76).

“และพระองค์ทรงรู้เหนือผู้รู้ทุกคน” (ยูซุฟ : 76)

อิสลามนำหน้าในการกำหนดหลักการ

อิสลามนำหน้าประชาธิปไตยในการกำหนดหลักการที่เป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยดังกล่าว แต่ปล่อยรายละเอียดไว้สำหรับความอุตสาหะพยายามของมุสลิมในการวิเคราะห์วินิจฉัยจากแหล่งมาของบทบัญญัติ และสอดคล้องกับผลประโยชน์ทางโลก พัฒนาการชีวิต ตามความเหมาะสมของเวลา สถานที่และบริบทของสังคม

(มีต่อ)

อ่านบทความต้นฉบับ

https://www.al-qaradawi.net/node/3775?fbclid=IwAR2CCbcZr-E1yiMBQ2wFqZ_TsvmpzPrQ-Vmuwh2KT0mB5RnEgQL0ZIbHDqo


แปลสรุปโดย Ghazail Benmad

ตักที่ใส ไสที่ขุ่น

หลายสัปดาห์ที่แล้ว มีผู้อาวุโสท่านหนึ่งที่ผมเคารพส่งข้อความสั้นๆทางไลน์แต่สะกิดใจมาก

ท่านฝากข้อความว่า

“ ตักที่ใส ไสที่ขุ่น”
เป็นครั้งแรกที่ได้ยินสำนวนนี้ ทำให้นึกถึงสำนวนมลายูที่ว่า
“Ambil yang jernih, buang yang keruh”
พอไปดูสำนวนอังกฤษพบสำนวนว่า
“Take clear, clear clouds”
สำนวนอาหรับที่มีความหมายคล้ายกันคือ
خذ ما صفا ودع ما كدر

เข้าใจว่า สมัยก่อน วิถีชีวิตชาวบ้านต้องบริโภคน้ำจากบ่อน้ำหรือบึง ซึ่งอาจมีน้ำขุ่นผสมอยู่ด้วย ภูมิปัญญาชาวบ้านจึงสอนว่า เมื่อเจอแหล่งน้ำที่มีทั้งขุ่นและใส เราควรตักที่ใส แล้วไสที่ขุ่น เพื่อสามารถนำมาดื่มได้ ไม่ใช่ปฏิเสธและไม่ใช้ประโยชน์จากบ่อนั้นเลย

ทักษะการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันก็เช่นกัน เรามีบ่อทางปัญญา แหล่งข้อมูลและองค์ความรู้มากมายที่ผสมปนเปกันทั้งที่ใสสะอาดและขุ่นมัว โดยเฉพาะกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และมีสติ เราจำเป็นต้องแยกแยะว่าอันไหนใสสะอาดที่สามารถใช้ประโยชน์ได้และอันไหนที่ขุ่นที่อาจสร้างอันตรายถึงชีวิตได้

เช่นเดียวกันกับการคบเพื่อน การทำงานในองค์กร การใช้ชีวิตในครอบครัวและอื่นๆ เราจะใช้ความสามารถในการแยกแยะระหว่างน้ำใสและน้ำขุ่นได้อย่างไร

เช่นเดียวกันกับระบอบประชาธิปไตยในบริบทสังคมมุสลิมที่มีสถานะเป็นชนกลุ่มน้อยและไม่ใช่เป็นแกนรัฐบาล ในเมื่อยังไม่มีแหล่งน้ำอันบริสุทธิ์ เราจึงมีความจำเป็นต้องเลือกส่วนที่เป็นน้ำใส และพยายามไสส่วนที่เป็นน้ำขุ่น หากเราปฏิเสธทั้งระบบ เราจะขาดน้ำจนเป็นอันตรายแก่ขีวิตได้

ขอบคุณท่านอาวุโสที่ฝากข้อคิดนี้ครับ

ประชาธิปไตยหลุดพ้นจากอิสลามหรือไม่ ? [ ตอนที่ 2 ]

โดย ศ.ดร.ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวีย์  อดีตประธานสหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ

  • อัลกุรอานรณรงค์ต่อต้านผู้ปกครองที่สถาปนาตัวเองเป็นพระเจ้า

อัลกุรอานได้วิพากษ์อย่างรุนแรงต่อผู้ปกครองที่สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าในโลกนี้ และถือเอามนุษย์เป็นข้าทาส เฉกเช่น กษัตริย์นัมรูด ( แห่งดินแดนเมโสโปเตเมียในบรรพกาล ) รวมถึงท่าทีของนัมรูดต่อนบีอิบริอฮีม และท่าทีของอิบรอฮีมต่อนัมรูด ว่า

أَلَمْ تَرَ إِلَى الَّذِي حَاجَّ إِبْرَاهِيمَ فِي رَبِّهِ أَنْ آتَاهُ اللَّهُ الْمُلْكَ إِذْ قَالَ إِبْرَاهِيمُ رَبِّيَ الَّذِي يُحْيِي وَيُمِيتُ قَالَ أَنَا أُحْيِي وَأُمِيتُ ۖ قَالَ إِبْرَاهِيمُ فَإِنَّ اللَّهَ يَأْتِي بِالشَّمْسِ مِنَ الْمَشْرِقِ فَأْتِ بِهَا مِنَ الْمَغْرِبِ فَبُهِتَ الَّذِي كَفَرَ ۗ وَاللَّهُ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الظَّالِمِينَ

 “ท่าน (มุฮัมมัด) มิได้พิจารณาดูผู้ที่โต้แย้งต่ออิบรอฮีมในเรื่องพระเจ้าของเขาเนื่องจากการที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานอำนาจแก่เขาดอกหรือ  ขณะที่อิบรอฮีมได้กล่าวว่า “พระเจ้าของฉันนั้นคือผู้ที่ให้ชีวิตและให้ความตาย” เขากล่าวว่า “ข้าก็ให้ชีวิตและให้ความตายได้” อิบรอฮีมกล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮ์นั้นนำดวงอาทิตย์มาจากทิศตะวันออก ท่านจงนำมันมาจากทิศตะวันตกเถิด” แล้วผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้นก็อับจนปัญญา และอัลลอฮ์นั้นจะไม่ประทานแนวทางอันถูกต้องแก่ผู้อธรรมทั้งหลาย” ( อัลบะกอเราะห์ : 258 )

ทรราชนี้อ้างว่าเขาให้ชีวิตและหยิบยื่นความตายได้เช่นเดียวกับที่พระเจ้าของอิบรอฮีม – ผู้ซึ่งเป็นพระเจ้าของโลก – ให้ชีวิตและความตาย ดังนั้นผู้คนควรนับถือเขาเหมือนกับการที่พวกเขานับถือต่อพระเจ้าของอิบรอฮีม  และเขาก็อวดดีถึงขั้นอ้างว่าให้ชีวิตและให้ความตาย โดยการนำชายสองคนจากท้องถนนและตัดสินประหารชีวิตโดยไม่มีความผิด และดำเนินการลงโทษคนหนึ่งในนั้นทันที  พร้อมกล่าวว่า “ดูเถิดคนนี้ข้าให้ความตาย และยกโทษให้อีกคนหนึ่ง แล้วพูดว่า “ดูเถิด ข้าให้ชีวิตเขาแล้ว ! ฉันไม่ได้ให้ชีวิตและความตายกระนั้นหรือ!

และในทำนองเดียวกัน ฟาโรห์ผู้ซึ่งประกาศก้องในหมู่ประชาชนของเขาว่า أَنَا رَبُّكُمُ الْأَعْلَىٰ 

“ ฉันคือพระเจ้าผู้สูงสุดของพวกท่าน” (อันนาซิอาต : 24)

และกล่าวด้วยความองอาจว่า :

‎ يَا أَيُّهَا الْمَلأُ مَا عَلِمْتُ لَكُمْ مِنْ إِلَهٍ غَيْرِي

โอ้ผู้คนทั้งหลาย ฉันไม่รับทราบว่ามีพระเจ้าอื่นของจากฉัน” ( อัลกอศ็อศ : 38)

คัมภีร์กุรอานได้เปิดเผยขั้วพันธมิตรสามานย์ 3 ฝ่าย ได้แก่

ฝ่ายแรก  คือผู้ปกครองที่สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้า มีอำนาจบาตรใหญ่เหนือประชาชน ฝ่ายนี้มีฟาโรห์เป็นตัวแทน

ฝ่ายที่ 2   คือนักการเมืองผู้แสวงผลประโยชน์ ซึ่งทุ่มเทสติปัญญาและประสบการณ์ของเขา เพื่อรับใช้และพิทักษ์รักษาฐานอำนาจของทรราช และทำให้ผู้คนเชื่องยอม พร้อมถวายความจงรักภักดีต่อฟาโรห์ ฝ่ายนี้มีฮามานเป็นตัวแทน

และฝ่ายที่ 3 คือกลุ่มนายทุนหรือกลุ่มอำมาตย์ผู้ได้รับประโยชน์จากการปกครองของทรราช พวกเขาสนับสนุนทรราชด้วยการใช้จ่ายเงินของตนบางส่วนเพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากหยาดเหงื่อและเลือดของประชาชน ฝ่ายนี้มีกอรูนเป็นตัวแทน

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึงขั้วพันธมิตรของทั้ง 3 กลุ่มนี้ในเรื่องการฝ่าฝืนศีลธรรมและการล่วงละเมิด ตลอดจนการเผชิญหน้ากับสาส์นของมูซา จนกระทั่งอัลลอฮ์จัดการกับฟาโรห์อย่างน่าสมเพช

‎وَلَقَدْ أَرْسَلْنَا مُوسَىٰ بِآيَاتِنَا وَسُلْطَانٍ مُبِينٍ  * إِلَىٰ فِرۡعَوۡنَ وَهَٰمَٰنَ وَقَٰرُونَ فَقَالُواْ سَٰحِرٞ كَذَّابٞ 

“และแน่นอน เราได้ส่งมูซามาพร้อมด้วยสัญญาณต่าง ๆ ของเราและหลักฐานอันชัดแจ้ง ไปยังฟาโรห์ และฮามาน และกอรูน แล้วพวกเขาก็กล่าวว่า (มูซาเป็น) มายากลนักโกหกตัวฉกาจ” (ฆอฟิร : 23, 24)

‎وَقَٰرُونَ وَفِرۡعَوۡنَ وَهَٰمَٰنَۖ وَلَقَدۡ جَآءَهُم مُّوسَىٰ بِٱلۡبَيِّنَٰتِ فَٱسۡتَكۡبَرُواْ فِي ٱلۡأَرۡضِ وَمَا كَانُواْ سَٰبِقِينَ

และ (เราได้ทำลาย) กอรูน ฟาโรห์และฮามาน และโดยแน่นอนมูซาได้มายังพวกเขาพร้อมด้วยหลักฐานอันชัดแจ้ง แต่พวกเขาหยิ่งผยองในแผ่นดิน และพวกเขาก็หาได้รอดพ้นไปจากเราไม่  ( อัลอังกะบูต : 39)

สิ่งที่น่าแปลกก็คือ กอรูนมีเชื้อชาติเดียวกับมูซา และคนละเชื้อชาติกับฟาโรห์ แต่เขากลับทรยศต่อชนเชื้อชาติเดียวกัน และเข้าร่วมกับฟาโรห์ ซึ่งเป็นศัตรูของพวกเขา โดยฟาโรห์ก็ยอมรับเขา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ทางวัตถุเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขามารวมกันได้แม้จะแตกต่างกันทางเชื้อชาติและเชื้อสายก็ตาม

  • คัมภีร์อัลกุรอานเชื่อมโยงการปกครองแบบเผด็จการและการทุจริต

ในบรรดาความโดดเด่นของคัมภีร์อัลกุรอาน คือการเชื่อมโยงการกดขี่กับการแพร่กระจายของการคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชาติล่มสลาย

พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพกล่าวว่า:

‎أَلَمْ تَرَ كَيْفَ فَعَلَ رَبُّكَ بِعَاد (6) إِرَمِ ذَاتِ الْعمَادِ (7) الَّتِى لَمْ يُخْلَقْ مِثْلُهَا فِى الْبِلَـدِ (8) وَثَمُودَ الَّذِينَ جَابُواْ الصَّخْرَ بِالْوَادِ (9) وَفرِعَوْنَ ذِى الأَوْتَادِ (10) الَّذِينَ طَغَوْا فِى الْبِلَـدِ (11) فَأَكْثَرُواْ فِيهَا الْفَسَادَ (12) فَصَبَّ عَلَيهِمْ رَبُّكَ سَوْطَ عَذَاب (13) إِنَّ رَبَّكَ لَبِالْمِرْصَادِ (14)

“เจ้าไม่เห็นดอกหรือว่า พระเจ้าของเจ้ากระทำต่อพวกอ๊าดอย่างไร

อิรอม  มีเสาหินสูงตระหง่าน

ซึ่งไม่มีสิ่งก่อสร้างที่เทียบเท่าได้ตามหัวเมืองต่าง ๆ

และพวกซะมูดผู้สกัดหิน ณ หุบเขา

และฟิรเอานฺ เจ้าแห่งหมุดต่างๆ

พวกเขาได้กดขี่ทั่วแว่นแคว้นต่าง ๆ

แล้วก่อความเสียหายอย่างมากมายในหัวเมืองเหล่านั้น

ดังนั้นพระเจ้าของเจ้าจึงกระหน่ำการลงโทษนานาชนิดบนพวกเขา

แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้นทรงเฝ้าดูอย่างแน่นอน” [อัลฟัจร์ : 6-14]

คัมภีร์อัลกุรอานอาจแทนคำว่า “ทรราช” الطغيان ด้วยคำว่า “การเหิมเกริม” العلو ซึ่งหมายถึง ความเย่อหยิ่งและการใช้อำนาจเหนือสรรพสิ่ง ด้วยการสร้างความอัปยศอดสูและการกดขี่ข่มเหง

ดังที่อัลลอฮ์กล่าวถึงฟาโรห์ว่า

‎إِنَّهُۥ كَانَ عَالِيٗا مِّنَ ٱلۡمُسۡرِفِينَ

“แท้จริงเขาเป็นหนึ่งที่ใฝ่สูงในบรรดาผู้ละเมิด” (อัดดุคอน: 31)

إِنَّ فِرۡعَوۡنَ عَلَا فِي ٱلۡأَرۡضِ وَجَعَلَ أَهۡلَهَا شِيَعٗا يَسۡتَضۡعِفُ طَآئِفَةٗ مِّنۡهُمۡ يُذَبِّحُ أَبۡنَآءَهُمۡ وَيَسۡتَحۡيِۦ نِسَآءَهُمۡۚ إِنَّهُۥ كَانَ مِنَ ٱلۡمُفۡسِدِينَ

“แท้จริง ฟาโรห์ได้เหิมเกริมในแผ่นดิน และแบ่งแยกประชาชนออกเป็นกลุ่มๆ  ทำให้กลุ่มหนึ่งอ่อนแอ ฆ่าลูกชายของพวกเขา และไว้ชีวิตผู้หญิงของพวกเขา  เขาเป็นหนึ่งในผู้สร้างความเสื่อมเสีย”  (อัลกอศ๊อศ : 4)

ดังนั้นเราจึงเห็น “ความเหิมเกริม” และ “การสร้างความเสื่อมเสีย” จะอยู่คู่กัน

  • คัมภีร์อัลกุรอานได้ตำหนิอย่างรุนแรงต่อชนชาติที่เชื่อฟังทรราช

คัมภีร์อัลกุรอานไม่ได้ตำหนิเฉพาะกลุ่มทรราชแต่เพียงผู้เดียว แต่ยังรวมถึงประชาชนและผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพวกเขา ยอมคุกเข่าให้กับพวกเขา  โดยถือว่า เป็นการร่วมรับผิดชอบกับพวกเขาด้วย

อัลลอฮ์ผู้ทรงอำนาจกล่าวถึงกลุ่มชนของนบีนุห์ว่า

‎قَالَ نُوحٌ رَبِّ إِنَّهُمْ عَصَوْنِي وَاتَّبَعُوا مَنْ لَمْ يَزِدْهُ مَالُهُ وَوَلَدُهُ إِلَّا خَسَارًا

นุห์กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของฉัน พวกเขาไม่เชื่อฟังฉันและทำตามผู้ที่ทรัพย์สินและลูกชายของเขาไม่ได้เพิ่มพูนอะไรนอกจากการสูญเสียเท่านั้น ( นุห์ :  21)

และอัลลอฮ์มหาบริสุทธิ์กล่าวถึงชนเผ่าของนบีฮูดว่า

‎وتلك عاد جحدوا بآيات ربهم وعصوا رسله واتبعوا أمر كل جبار عنيد

และชาวเผ่าอ๊าดเหล่านี้ปฏิเสธสัญญาณของพระเจ้าของพวกเขา และฝ่าฝืนศาสนทูตของเขา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้มีอำนาจผู้ดื้อรั้นทุกคน “(ฮูด: 59)

และกล่าวถึงชนชาติของฟาโรห์ว่า

‎فَٱسۡتَخَفَّ قَوۡمَهُۥ فَأَطَاعُوهُۚ إِنَّهُمۡ كَانُواْ قَوۡمٗا فَٰسِقِينَ

เขา(ฟาโรห์) ก็พาลกับชนชาติของเขา และพวกเขาก็เชื่อฟังต่อเขา พวกเขาเป็นคนชั่วช้าสามานย์(อัซซุครุฟ : 54)

‎ فَاتَّبَعُوا أَمْرَ فِرْعَوْنَ ۖ وَمَا أَمْرُ فِرْعَوْنَ بِرَشِيدٍ

‎يَقۡدُمُ قَوۡمَهُۥ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ فَأَوۡرَدَهُمُ ٱلنَّارَۖ وَبِئۡسَ ٱلۡوِرۡدُ ٱلۡمَوۡرُودُ

ดังนั้น พวกเขาได้ปฏิบัติตามคำสั่งของฟาโรห์ ทั้งๆสิ่งที่ฟาโรห์ทำนั้นไม่มีเหตุผล  เขา(ฟาโรห์)จะนำหน้ากลุ่มชนของเขาในวันกิยามะฮฺ และนำพวกเขาลงในไฟนรก และมันเป็นทางลงที่ชั่วช้าที่พวกเขาได้ลงไป (ฮูด : 97 – 98 )

การที่คนทั่วไปถูกถือว่าเป็นผู้ร่วมรับผิด หรือเป็นส่วนหนึ่งของความผิดดังกล่าว เพราะพวกเขาเป็นผู้สร้างทรราชขึ้นมาเอง ดังวลีที่กล่าวว่า มีคนถามฟาโรห์ว่า  ท่านเป็นฟาโรห์ได้เพราะอะไร ฟาโรห์ตอบว่า เพราะฉันไม่พบใครขัดขวางฉัน

  • ทหารและเครื่องมือของทรราชร่วมรับผิดชอบเช่นกัน

ผู้ที่แบกรับความรับผิดชอบกับทรราชคือ“ เครื่องมือแห่งอำนาจ” ที่อัลกุรอานเรียกว่า“ ทหาร” ซึ่งหมายถึง“ กำลังทหาร” อันเป็นเขี้ยวเล็บของอำนาจทางการเมือง ที่คอยเป็นแส้คอยลงโทษและคุกคามมวลชน หากพวกเขาก่อกบฏหรือคิดจะกบฏ

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า

‎ إِنَّ فِرۡعَوۡنَ وَهَٰمَٰنَ وَجُنُودَهُمَا كَانُواْ خَٰطِـِٔينَ

“แท้จริงฟาโรห์และฮามาน และไพร่พลของเขาทั้งสองเป็นพวกที่มีความผิด” (อัลกอศ๊อศ : 8 )

‎فَأَخَذۡنَٰهُ وَجُنُودَهُۥ فَنَبَذۡنَٰهُمۡ فِي ٱلۡيَمِّۖ فَٱنظُرۡ كَيۡفَ كَانَ عَٰقِبَةُ ٱلظَّـٰلِمِينَ

“ดังนั้น เราได้ลงโทษเขาและไพร่พลของเขา เราได้โยนพวกเขาลงไปในทะเล จงพิจารณาเถิด บั้นปลายของพวกอธรรมเป็นเช่นไร” (อัลกอศ๊อศ : 40 )


บทความต้นฉบับ https://www.al-qaradawi.net/node/3775

แปลสรุปโดย Ghazali Benmad

ประชาธิปไตยหลุดพ้นจากอิสลามหรือไม่ ? [ ตอนที่ 1 ]

โดย ศ.ดร.ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวีย์ อดีตประธานสหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ

■ คำถาม

มุสลิมบางกลุ่มมีทัศนะว่า ประชาธิปไตยนั้นเข้ากันไม่ได้กับอิสลาม บ้างเห็นว่า ระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่หลุดพ้นจากศาสนาอิสลามอย่างสิ้นเชิง พวกเขาใช้ข้ออ้างว่า ประชาธิปไตยหมายถึงการปกครองประชาชนโดยประชาชน อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชน แต่ในศาสนาอิสลามประชาชนไม่ใช่ผู้มีอำนาจที่แท้จริง แต่ผู้มีอำนาจสูงสุดคืออัลลอฮ์เท่านั้น ดังที่อัลกุรอานกล่าวความว่า “ ไม่มีการตัดสินใดๆ นอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น “ (Al-An’am: 57)

ทำให้กลุ่มเสรีนิยมและผู้สนับสนุนเสรีภาพเห็นว่า ชาวมุสลิมเป็นศัตรูกับประชาธิปไตย และเป็นเครือข่ายผู้สนับสนุนเผด็จการทรราช

ดังนั้น จึงขอให้ท่านช่วยให้ความกระจ่างว่า อิสลามเป็นศัตรูกับประชาธิปไตยจริงหรือ และประชาธิปไตยนั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของการปฏิเสธศรัทธาหรือความชั่วร้ายตามที่มีผู้กล่าวอ้างหรือไม่ หรือเป็นเพียงการกล่าวเท็จต่ออิสลาม ทั้งที่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น

เราขอพรต่ออัลลอฮ์เพื่อช่วยให้ท่านเปิดเผยความจริง ชี้แจงหักล้างข้อโต้แย้ง ขอขอบคุณและขอให้อัลลอฮ์ตอบแทนท่านด้วยความดีงาม

■ คำตอบ

الحمد لله، والصلاة والسلام على رسول الله، وعلى آله وصحبه ومن والاه، وبعد

ข้าพเจ้าก็รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่เกิดความสับสนอลหม่านระหว่างความจริงกับความเท็จในหมู่ผู้เคร่งครัดศาสนาโดยทั่วไปและในหมู่ผู้พูดในนามของศาสนาอิสลามบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเด็นคำถามของพี่น้องที่ได้ระบุข้างต้น ถึงขั้นการกล่าวหาผู้คนว่า หลุดพ้นจากศาสนาหรือผิดศีลธรรมกลายเป็นเรื่องง่ายดาย ราวกับว่าพวกเขาไม่รับรู้ว่าในอิสลามถือว่า การกล่าวหาผู้คนว่าหลุดพ้นจากศาสนา เป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงอุกฉกรรจ์ และจะย้อนกลับมาเข้าตัวผู้ที่กล่าวหาผู้อื่น ดังปรากฏในหะดีษศอฮีห์

คำถามที่พี่น้องผู้มีเกียรติถามนี้ จึงไม่แปลกสำหรับข้าพเจ้า เพราะพี่น้องของเขาจากแอลจีเรียได้ถามมาหลายครั้ง และด้วยคำถามชัดเจนว่า [ ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่หลุดพ้นจากอิสลามหรือไม่ ? ]

○ การตัดสินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นกิ่งก้านของความรู้แจ้งถึงสิ่งนั้น

ที่แปลกประหลาด บางคนฟันธงว่าประชาธิปไตยเป็นความเลวที่ชัดเจน หรือเป็นการปฏิเสธศาสนาอย่างชัดเจน ทั้งๆที่เขาไม่รู้ถึงแก่นแท้หรือแม้กระทั่งมโนทัศน์ในภาพรวมของมัน

หนึ่งในบรรดากฎที่นักวิชาการบรรพกาลของเรากำหนดไว้คือ การตัดสินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นกิ่งก้านของความรู้แจ้งถึงสิ่งนั้น

ดังนั้นใครก็ตามที่ชี้ขาดในบางสิ่งที่เขาไม่รู้ การตัดสินของเขาก็ถือว่าผิดพลาด แม้ว่าจะถูกต้องก็ตาม เพราะเป็นการยิงที่โดนเป้าโดยบังเอิญเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ จึงปรากฏในหะดีษว่า ผู้พิพากษาที่ตัดสินโดยไม่มีความรู้หรือรู้ความจริงแต่กลับไม่พิพากษาตามข้อเท็จจริง ล้วนถือว่ามีความผิดทั้งสิ้น

ประชาธิปไตยที่ประชาชนทั่วโลกเรียกร้องก็เช่นกัน มวลชนจำนวนมากในตะวันออกและตะวันตกกำลังดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้ได้มันมา

บางส่วนก็ได้มาหลังจากการต่อสู้กับทรราชอย่างขมขื่น คนหลายพันคน ถึงนับล้านๆคน ต้องหลั่งเลือดและตกเป็นเหยื่อ เช่นในยุโรปตะวันออกและที่อื่น ๆ ทำให้กลุ่มอิสลามบางส่วนยอมรับว่าประชาธิปไตยเป็นวิธีการหนึ่ง ในการยับยั้งการปกครองโดยบุคคล และสามารถตัดเขี้ยวเล็บของลัทธิเผด็จการทางการเมืองที่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวมุสลิมของเรา

ดังนั้น ประชาธิปไตย ถือเป็นการหลุดพ้นจากศาสนาอิสลามอย่างที่พวกผิวเผินบางคนพูดหรือไม่

เราลองมาดูว่า อะไรคือแก่นแกนของประชาธิปไตย

แก่นแกนของประชาธิปไตย คือการให้ประชาชนเลือกผู้ที่จะมาปกครองบริหารพวกเขา และการไม่บีบบังคับประชาชนให้ยอมรับผู้ปกครองหรือรัฐบาลที่พวกเขาเกลียดชัง ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะตรวจสอบผู้ปกครองหากกระทำความผิด มีสิทธิ์ที่จะปลดผู้นำหากเบี่ยงเบน และไม่นำผู้คนไปสู่แนวทางเศรษฐกิจหรือทางสังคม วัฒนธรรมหรือการเมือง ที่พวกเขาไม่ยอมรับและไม่พอใจ แนวทางที่หากว่าประชาชนบางคนต่อต้านก็จะขับไล่ไสส่งและกระทำทารุณกรรม รวมถึงการทรมานและสังหาร

นี่คือแก่นแกนของประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่งมนุษยชาติได้ค้นพบรูปแบบและวิธีการที่ใช้ได้จริง เช่น การเลือกตั้ง และการลงประชามติของประชาชน ความเหนือกว่าของเสียงข้างมาก ความหลากหลายของพรรคการเมือง สิทธิของคนส่วนน้อยในการเป็นฝ่านค้าน เสรีภาพของสื่อมวลชน ความเป็นอิสระของตุลาการ ฯลฯ

ถามว่า ประชาธิปไตย ในสาระสำคัญที่เรากล่าวถึงนั้น ขัดกับอิสลามหรือไม่การขัดกันนี้มาจากไหน มีหลักฐานบทไหนบ้างจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺที่บ่งชี้กรณีนี้

● แก่นแกนของประชาธิปไตยสอดคล้องกับศาสนาอิสลาม

ความจริงแล้ว หากพิจารณาแก่นแกนของประชาธิปไตยก็จะพบว่า สิ่งนี้คือแก่นแกนของศาสนาอิสลามเช่นกัน

อิสลามไม่ยอมรับผู้นำละหมาดที่ผู้ตามเกลียดชัง
ปรากฏในหะดีษว่า

ثلاثة لا ترتفع صلاتهم فوق رءوسهم شبرًا ..” وذكر أولهم : “رجل أم قومًا وهم له كارهون ..”

“ บุคคล 3 ประเภทที่ละหมาดของเขา จะไม่ถูกยกขึ้นไปสูงกว่าศีรษะของพวกเขาแม้เพียงหนึ่งกระเบียดนิ้ว .. ” และกล่าวถึงคนแรกว่า:“ ชายคนหนึ่ง นำละหมาดผู้คน ในขณะที่ผู้คนรังเกียจเขา”

(หะดีษรายงานโดยอิบนุมาจะฮ์ เลขหะดีษ 971 /ศอฮีห์)

นี่เป็นกรณีละหมาด แล้วในเรื่องวิถีชีวิตและการเมืองการปกครองจะเป็นเช่นไร

มีหะดีษกล่าวว่า

خير أئمتكم ـ أي حكامكم ـ الذين تحبونهم ويحبونكم، وتصلون عليهم ـ أي تدعون لهم ـ ويصلون عليكم، وشرار أئمتكم الذين تبغضونهم ويبغضونكم، وتلعنونهم ويلعنونكم” (رواه مسلم عن عوف بن مالك).

ผู้นำที่ดีที่สุดของพวกท่าน คือผู้ที่พวกท่านรักพวกเขาและพวกเขารักพวกท่าน และพวกท่านขอพรให้พวกเขา และพวกเขาขอพรให้พวกท่าน และผู้นำของพวกท่านที่ชั่วร้ายที่สุดคือผู้นำที่พวกท่านรังเกียจพวกเขาและพวกเขารังเกียจพวกท่าน พวกท่านสาปแช่งพวกเขาและพวกเขาสาปแช่งพวกท่าน (หะดีษรายงานโดยมุสลิม จากเอาฟ์ บินมาลิก)

อัลกุรอานรณรงค์ต่อต้านผู้ปกครองที่สถาปนาตัวเองเป็นพระเจ้า

อัลกุรอานได้รณรงค์อย่างรุนแรงต่อผู้ปกครองที่สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าในโลกนี้ และถือเอามนุษย์เป็นข้าทาส เฉกเช่น กษัตริย์นัมรูด ( แห่งดินแดนเมโสโปเตเมียในบรรพกาล ) รวมถึงท่าทีของนัมรูดต่อนบีอิบริอฮีม และท่าทีของอิบรอฮีมต่อนัมรูด ว่า

‎أَلَمْ تَرَ إِلَى الَّذِي حَاجَّ إِبْرَاهِيمَ فِي رَبِّهِ أَنْ آتَاهُ اللَّهُ الْمُلْكَ إِذْ قَالَ إِبْرَاهِيمُ رَبِّيَ الَّذِي يُحْيِي وَيُمِيتُ قَالَ أَنَا أُحْيِي وَأُمِيتُ ۖ قَالَ إِبْرَاهِيمُ فَإِنَّ اللَّهَ يَأْتِي بِالشَّمْسِ مِنَ الْمَشْرِقِ فَأْتِ بِهَا مِنَ الْمَغْرِبِ فَبُهِتَ الَّذِي كَفَرَ ۗ وَاللَّهُ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الظَّالِمِينَ

“ท่าน (มุฮัมมัด) มิได้พิจารณาดูผู้ที่โต้แย้งต่ออิบรอฮีมในเรื่องพระเจ้าของเขาเนื่องจากการที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานอำนาจแก่เขาดอกหรือ ขณะที่อิบรอฮีมได้กล่าวว่า “พระเจ้าของฉันนั้นคือผู้ที่ให้ชีวิตและให้ความตาย” เขากล่าวว่า “ข้าก็ให้ชีวิตและให้ความตายได้” อิบรอฮีมกล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮ์นั้นนำดวงอาทิตย์มาจากทิศตะวันออก ท่านจงนำมันมาจากทิศตะวันตกเถิด” แล้วผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้นก็อับจนปัญญา และอัลลอฮ์นั้นจะไม่ประทานแนวทางอันถูกต้องแก่ผู้อธรรมทั้งหลาย” ( อัลบะกอเราะห์ : 258 )

ทรราชนี้อ้างว่าเขาให้ชีวิตและหยิบยื่นความตายได้เช่นเดียวกับที่พระเจ้าของอิบรอฮีม – ผู้ซึ่งเป็นพระเจ้าของโลก – ให้ชีวิตและความตาย ดังนั้นผู้คนควรนับถือเขาเหมือนกับการที่พวกเขานับถือต่อพระเจ้าของอิบรอฮีม และเขาก็อวดดีถึงขั้นอ้างว่าให้ชีวิตและให้ความตาย โดยการนำชายสองคนจากท้องถนนและตัดสินประหารชีวิตโดยไม่มีความผิด และดำเนินการลงโทษคนหนึ่งในนั้นทันที พร้อมกล่าวว่า “ดูเถิดคนนี้ข้าให้ความตาย และยกโทษให้อีกคนหนึ่ง แล้วพูดว่า “ดูเถิด ข้าให้ชีวิตเขาแล้ว ! ฉันไม่ได้ให้ชีวิตและความตายกระนั้นหรือ!

และในทำนองเดียวกัน ฟาโรห์ผู้ซึ่งประกาศก้องในหมู่ประชาชนของเขาว่า
أَنَا رَبُّكُمُ الْأَعْلَىٰ
“ ฉันคือพระเจ้าผู้สูงสุดของพวกท่าน” (อันนาซิอาต : 24)

และกล่าวด้วยความองอาจว่า :
‎ يَا أَيُّهَا الْمَلأُ مَا عَلِمْتُ لَكُمْ مِنْ إِلَهٍ غَيْرِي

โอ้ผู้คนทั้งหลาย ฉันไม่รับทราบว่ามีพระเจ้าอื่นของจากฉัน” ( อัลกอศ็อศ : 38)

คัมภีร์กุรอานได้เปิดเผยขั้วพันธมิตรสามานย์ 3 ฝ่าย ได้แก่

ฝ่ายแรก คือผู้ปกครองที่สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้า มีอำนาจบาตรใหญ่เหนือประชาชน ฝ่ายนี้มีฟาโรห์เป็นตัวแทน

ฝ่ายที่ 2 คือนักการเมืองผู้แสวงผลประโยชน์ ซึ่งทุ่มเทสติปัญญาและประสบการณ์ของเขา เพื่อรับใช้และพิทักษ์รักษาฐานอำนาจของทรราช และทำให้ผู้คนเชื่องยอม พร้อมถวายความจงรักภักดีต่อฟาโรห์ ฝ่ายนี้มีฮามานเป็นตัวแทน

และฝ่ายที่ 3 คือกลุ่มนายทุนหรือกลุ่มอำมาตย์ผู้ได้รับประโยชน์จากการปกครองของทรราช พวกเขาสนับสนุนทรราชด้วยการใช้จ่ายเงินของตนบางส่วนเพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากหยาดเหงื่อและเลือดของประชาชน ฝ่ายนี้มีกอรูนเป็นตัวแทน

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึงขั้วพันธมิตรของทั้ง 3 กลุ่มนี้ในเรื่องการฝ่าฝืนศีลธรรมและการล่วงละเมิด ตลอดจนการเผชิญหน้ากับสาส์นของมูซา จนกระทั่งอัลลอฮ์จัดการกับฟาโรห์อย่างน่าสมเพช

‎وَلَقَدۡ أَرۡسَلۡنَا مُوسَىٰ بِـَٔايَـٰتِنَا وَسُلۡطَـٰنٍ۬ مُّبِينٍ * إِلَىٰ فِرۡعَوۡنَ وَهَـٰمَـٰنَ وَقَـٰرُونَ فَقَالُواْ سَـٰحِرٌ۬ ڪَذَّابٌ۬

“และแน่นอน เราได้ส่งมูซามาพร้อมด้วยสัญญาณต่าง ๆ ของเราและหลักฐานอันชัดแจ้ง ไปยังฟาโรห์ และฮามาน และกอรูน แล้วพวกเขาก็กล่าวว่า (มูซาเป็น) มายากลนักโกหกตัวฉกาจ”
(ฆอฟิร : 23, 24)

‎وَقَٰرُونَ وَفِرۡعَوۡنَ وَهَٰمَٰنَۖ وَلَقَدۡ جَآءَهُم مُّوسَىٰ بِٱلۡبَيِّنَٰتِ فَٱسۡتَكۡبَرُواْ فِي ٱلۡأَرۡضِ وَمَا كَانُواْ سَٰبِقِينَ

และ (เราได้ทำลาย) กอรูน ฟาโรห์และฮามาน และโดยแน่นอนมูซาได้มายังพวกเขาพร้อมด้วยหลักฐานอันชัดแจ้ง แต่พวกเขาหยิ่งผยองในแผ่นดิน และพวกเขาก็หาได้รอดพ้นไปจากเราไม่ ( อัลอังกะบูต : 39)

สิ่งที่น่าแปลกก็คือ กอรูนมีเชื้อชาติเดียวกับมูซา และคนละเชื้อชาติกับฟาโรห์ แต่เขากลับทรยศต่อชนเชื้อชาติเดียวกัน และเข้าร่วมกับฟาโรห์ ซึ่งเป็นศัตรูของพวกเขา โดยฟาโรห์ก็ยอมรับเขา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ทางวัตถุเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขามารวมกันได้แม้จะแตกต่างกันทางเชื้อชาติและเชื้อสายก็ตาม

คัมภีร์อัลกุรอานเชื่อมโยงการปกครองแบบเผด็จการและการทุจริต

ในบรรดาความโดดเด่นของคัมภีร์อัลกุรอาน คือการเชื่อมโยงการกดขี่กับการแพร่กระจายของการคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชาติล่มสลาย

พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพกล่าวว่า:

‎أَلَمْ تَرَ كَيْفَ فَعَلَ رَبُّكَ بِعَاد (6) إِرَمِ ذَاتِ الْعمَادِ (7) الَّتِى لَمْ يُخْلَقْ مِثْلُهَا فِى الْبِلَـدِ (8) وَثَمُودَ الَّذِينَ جَابُواْ الصَّخْرَ بِالْوَادِ (9) وَفرِعَوْنَ ذِى الأَوْتَادِ (10) الَّذِينَ طَغَوْا فِى الْبِلَـدِ (11) فَأَكْثَرُواْ فِيهَا الْفَسَادَ (12) فَصَبَّ عَلَيهِمْ رَبُّكَ سَوْطَ عَذَاب (13) إِنَّ رَبَّكَ لَبِالْمِرْصَادِ (14)

“เจ้าไม่เห็นดอกหรือว่า พระเจ้าของเจ้ากระทำต่อพวกอ๊าดอย่างไร
อิรอม มีเสาหินสูงตระหง่าน
ซึ่งไม่มีสิ่งก่อสร้างที่เทียบเท่าได้ตามหัวเมืองต่าง ๆ
และพวกซะมูดผู้สกัดหิน ณ หุบเขา
และฟิรเอานฺ เจ้าแห่งหมุดต่างๆ
พวกเขาได้กดขี่ทั่วแว่นแคว้นต่าง ๆ
แล้วก่อความเสียหายอย่างมากมายในหัวเมืองเหล่านั้น
ดังนั้นพระเจ้าของเจ้าจึงกระหน่ำการลงโทษนานาชนิดบนพวกเขา
แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้นทรงเฝ้าดูอย่างแน่นอน”
[อัลฟัจร์ : 6-14]

คัมภีร์อัลกุรอานอาจแทนคำว่า “ทรราช” الطغيان ด้วยคำว่า “การเหิมเกริม” العلو ซึ่งหมายถึง ความเย่อหยิ่งและการใช้อำนาจเหนือสรรพสิ่ง ด้วยการสร้างความอัปยศอดสูและการกดขี่ข่มเหง

ดังที่อัลลอฮ์กล่าวถึงฟาโรห์ว่า

‎إِنَّهُۥ كَانَ عَالِيٗا مِّنَ ٱلۡمُسۡرِفِينَ

“แท้จริงเขาเป็นหนึ่งที่ใฝ่สูงในบรรดาผู้ละเมิด” (อัดดุคอน: 31)

‎إِنَّ فِرۡعَوۡنَ عَلَا فِي ٱلۡأَرۡضِ وَجَعَلَ أَهۡلَهَا شِيَعٗا يَسۡتَضۡعِفُ طَآئِفَةٗ مِّنۡهُمۡ يُذَبِّحُ أَبۡنَآءَهُمۡ وَيَسۡتَحۡيِۦ نِسَآءَهُمۡۚ إِنَّهُۥ كَانَ مِنَ ٱلۡمُفۡسِدِينَ

“แท้จริง ฟาโรห์ได้เหิมเกริมในแผ่นดิน และแบ่งแยกประชาชนออกเป็นกลุ่มๆ ทำให้กลุ่มหนึ่งอ่อนแอ ฆ่าลูกชายของพวกเขา และไว้ชีวิตผู้หญิงของพวกเขา เขาเป็นหนึ่งในผู้สร้างความเสื่อมเสีย” (อัลกอศ๊อศ : 4)

ดังนั้นเราจึงเห็น “ความเหิมเกริม” และ “การสร้างความเสื่อมเสีย” จะอยู่คู่กัน

คัมภีร์อัลกุรอานได้ตำหนิอย่างรุนแรงต่อชนชาติที่เชื่อฟังทรราช

คัมภีร์อัลกุรอานไม่ได้ตำหนิเฉพาะกลุ่มทรราชแต่เพียงผู้เดียว แต่ยังรวมถึงประชาชนและผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพวกเขา ยอมคุกเข่าให้กับพวกเขา โดยถือว่า เป็นการร่วมรับผิดชอบกับพวกเขาด้วย

อัลลอฮ์ผู้ทรงอำนาจกล่าวถึงกลุ่มชนของนบีนุห์ว่า

‎قَالَ نُوحٌ رَبِّ إِنَّهُمْ عَصَوْنِي وَاتَّبَعُوا مَنْ لَمْ يَزِدْهُ مَالُهُ وَوَلَدُهُ إِلَّا خَسَارًا

นุห์กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของฉัน พวกเขาไม่เชื่อฟังฉันและทำตามผู้ที่ทรัพย์สินและลูกชายของเขาไม่ได้เพิ่มพูนอะไรนอกจากการสูญเสียเท่านั้น ( นุห์ : 21)

และอัลลอฮ์มหาบริสุทธิ์กล่าวถึงชนเผ่าของนบีฮูดว่า

‎وتلك عاد جحدوا بآيات ربهم وعصوا رسله واتبعوا أمر كل جبار عنيد

และชาวเผ่าอ๊าดเหล่านี้ปฏิเสธสัญญาณของพระเจ้าของพวกเขา และฝ่าฝืนศาสนทูตของเขา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้มีอำนาจผู้ดื้อรั้นทุกคน “(ฮูด: 59)

และกล่าวถึงชนชาติของฟาโรห์ว่า

‎فَٱسۡتَخَفَّ قَوۡمَهُۥ فَأَطَاعُوهُۚ إِنَّهُمۡ كَانُواْ قَوۡمٗا فَٰسِقِينَ

เขา(ฟาโรห์) ก็พาลกับชนชาติของเขา และพวกเขาก็เชื่อฟังต่อเขา พวกเขาเป็นคนชั่วช้าสามานย์(อัซซุครุฟ : 54)

‎ فَاتَّبَعُوا أَمْرَ فِرْعَوْنَ ۖ وَمَا أَمْرُ فِرْعَوْنَ بِرَشِيدٍ
‎يَقۡدُمُ قَوۡمَهُۥ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ فَأَوۡرَدَهُمُ ٱلنَّارَۖ وَبِئۡسَ ٱلۡوِرۡدُ ٱلۡمَوۡرُودُ

ดังนั้น พวกเขาได้ปฏิบัติตามคำสั่งของฟาโรห์ ทั้งๆสิ่งที่ฟาโรห์ทำนั้นไม่มีเหตุผล เขา(ฟาโรห์)จะนำหน้ากลุ่มชนของเขาในวันกิยามะฮฺ และนำพวกเขาลงในไฟนรก และมันเป็นทางลงที่ชั่วช้าที่พวกเขาได้ลงไป (ฮูด : 97 – 98 )

การที่คนทั่วไปถูกถือว่าเป็นผู้ร่วมรับผิด หรือเป็นส่วนหนึ่งของความผิดดังกล่าว เพราะพวกเขาเป็นผู้สร้างทรราชขึ้นมาเอง ดังวลีที่กล่าวว่า มีคนถามฟาโรห์ว่า ท่านเป็นฟาโรห์ได้เพราะอะไร ฟาโรห์ตอบว่า เพราะฉันไม่พบใครขัดขวางฉัน

ทหารและเครื่องมือของทรราชร่วมรับผิดชอบเช่นกัน

ผู้ที่แบกรับความรับผิดชอบกับทรราชคือ“ เครื่องมือแห่งอำนาจ” ที่อัลกุรอานเรียกว่า“ ทหาร” ซึ่งหมายถึง“ กำลังทหาร” อันเป็นเขี้ยวเล็บของอำนาจทางการเมือง ที่คอยเป็นแส้คอยลงโทษและคุกคามมวลชน หากพวกเขากบฏหรือคิดจะกบฏ

คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า
‎ إِنَّ فِرۡعَوۡنَ وَهَٰمَٰنَ وَجُنُودَهُمَا كَانُواْ خَٰطِـِٔينَ

“แท้จริงฟาโรห์และฮามาน และไพร่พลของเขาทั้งสองเป็นพวกที่มีความผิด” (อัลกอศ๊อศ : 8 )

‎فَأَخَذۡنَٰهُ وَجُنُودَهُۥ فَنَبَذۡنَٰهُمۡ فِي ٱلۡيَمِّۖ فَٱنظُرۡ كَيۡفَ كَانَ عَٰقِبَةُ ٱلظَّـٰلِمِينَ

“ดังนั้น เราได้ลงโทษเขาและไพร่พลของเขา เราได้โยนพวกเขาลงไปในทะเล จงพิจารณาเถิด บั้นปลายของพวกอธรรมเป็นเช่นไร” (อัลกอศ๊อศ : 40 )


บทความต้นฉบับ https://www.al-qaradawi.net/node/3775

แปลสรุปโดย Ghazali Benmad

อิสลามกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เนื่องจากมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติจากน้ำมือของมนุษย์ และการทำลายนั้นมีความรวดเร็วและรุนแรงเกินกว่าธรรมชาติจะฟื้นฟูด้วยตัวเอง ดังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องมีการรณรงค์ให้ทุกคนในสังคมช่วยกันอนุรักษ์ และมีจิตสำนึกอย่างจริงจังก่อนที่จะส่งผลกระทบเลวร้ายไปกว่านี้

          ในทัศนะอิสลาม มนุษย์มีหน้าที่บริหารจัดการโลกนี้ให้เป็นไปตามความประสงค์ของพระองค์ มนุษย์เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จรรโลงสังคมสู่การพัฒนาและความเจริญ ถึงแม้มนุษย์จะมีสติปัญญาและมีสามัญสำนึกในการทำความดี แต่บางครั้งมักถูกชักจูงด้วยอารมณ์ใฝ่ต่ำ และความต้องการที่ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นเหตุให้มนุษย์ทำลายสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือแม้กระทั่งตนเอง อัลลอฮ์ ได้ตรัสในอัลกุรอานความว่า :

“และหากว่าความจริงได้คล้อยตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขาแล้ว ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินรวมทั้งบรรดาสรรพสิ่งที่อยู่ในนั้นต้องเสียหายอย่างแน่นอน”

(อัลกุรอาน 23:71)

          จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีกฎกติกาเพื่อสามารถโน้มน้าว ให้รู้จักการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนสามารถใช้ชีวิตร่วมกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม และวิถีชีวิตอย่างกลมกลืนและยั่งยืน


อิสลามจึงเป็นกฏสากลที่วางกรอบให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้


          1. อิสลามให้มนุษย์ได้รับรู้ต้นกำเนิดของตนเอง และรับรู้ภารกิจหลักในการกำเนิดมาบนโลกนี้ เขาไม่มีสิทธิที่จะแสดงอำนาจตามอำเภอใจและสร้างความเดือดร้อนแก่สิ่งรอบข้างแม้กระทั่งตนเอง ภารกิจประการเดียวของมนุษย์บนโลกนี้คือการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า ทุกกิจการงานไม่ว่าทั้งเปิดเผยและที่ลับ ส่วนตัวหรือส่วนรวม ล้วนแล้วต้องมีความโยงใยและสอดคล้องกับคำสอนของอัลลอฮ์ เพราะการกระทำจะเป็นตัวชี้วัด ที่บ่งบอกถึงความศรัทธาต่ออัลลอฮ์ที่แท้จริง ในขณะเดียวกัน การศรัทธาจะเป็นกุญแจดอกแรกสำหรับไขประตูสู่การยอมจำนนเป็นบ่าวผู้เคารพภักดี


          2. ความรู้ที่ถูกต้องคือสะพานเชื่อมที่ทำให้มนุษย์รู้จักใช้ชีวิตในฐานะบ่าวของอัลลอฮ์   ความรู้ที่ถูกต้องจะไม่ขัดแย้งกับสติปัญญาอันบริสุทธิ์ ในขณะที่สติปัญญาและความรู้ จำเป็นต้องได้รับการชี้นำจากคำวิวรณ์ของอัลลอฮ์ ที่ได้รับการขยายความและประมวลสรุปโดยจริยวัตรของนะบีมุฮัมมัด 

          ดังนั้นการแสวงหาความรู้จึงเป็นหน้าที่หลักของมุสลิมโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ เพศ ช่วงอายุ เวลา สถานที่และสถานการณ์ ความรู้ที่ถูกต้องและสติปัญญาได้เป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์รู้จักใช้ชีวิตร่วมกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย อ่อนน้อมถ่อมตน และความพอเพียงที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการสันติภาพอันแท้จริง

          พึงทราบว่า การภักดีต่ออัลลอฮ์  โดยปราศจากความรู้ (ไม่ว่าในระดับใดก็ตาม) ย่อมเกิดโทษมหันต์ ยิ่งกว่าก่อประโยชน์อันอนันต์ โดยเฉพาะหากการภักดีต่ออัลลอฮ์นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องและสร้างผลกระทบกับผู้คนส่วนรวม 


          3. มนุษย์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือสรีระร่างกาย สติปัญญา และจิตวิญญาณ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการแยกส่วน อิสลามได้คำนึงถึงองค์ประกอบด้วยมุมมองที่สมดุลย์และยุติธรรม ทุกองค์ประกอบจะต้องได้รับการดูแลพัฒนาอย่างเท่าเทียม แม้แต่แนวคิดเล็กๆ ที่จุดประกายโดยเศาะฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งมีแนวคิดที่จะปลีกตัวออกจากสังคม  กลุ่มหนึ่งไม่ยอมแต่งงาน กลุ่มสองจะถือศีลอดตลอดทั้งปี และกลุ่มสามจะดำรงการละหมาดตลอดเวลาโดยไม่พักผ่อน เพื่อจะได้มีเวลาในการบำเพ็ญตนต่ออัลลอฮ์โดยไม่มีสิ่งอื่นรบกวนทำลายสมาธิ แต่เมื่อนะบีมุฮัมมัด  ทราบข่าวจึงเรียกเศาะฮาบะฮ์ทั้งสามกลุ่มนั้นมาเพื่อตักเตือนและสั่งสอนพวกเขาว่า

 “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ แท้จริงฉันเป็นผู้ยำเกรงอัลลอฮ์มากที่สุดในหมู่สูเจ้า ฉันถือศีลอดแต่บางวันฉันก็ทานอาหาร ฉันละหมาดและฉันผักผ่อน และฉันแต่งงาน ใครก็ตามที่ไม่ประสงค์ดำเนินรอยตามจริยวัตรของฉัน เขาเหล่านั้นมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของฉัน”

(รายงานโดย มุสลิม)

          อิสลามจึงให้ความสำคัญในการรักษาความสมดุลย์ในร่างกายมนุษย์ องค์ประกอบทุกส่วนต้องได้รับสิทธิ์อย่างเท่าเทียมกัน มีหน้าที่ที่สอดคล้องกับสัญชาติญานโดยไม่มีการรุกล้ำหรือสร้างความเดือดร้อนซึ่งกันและกัน


          4. มนุษย์คือส่วนหนึ่งของสังคมที่ไม่สามารถปลีกตัวออกจากกันได้ หน้าที่สำคัญนอกเหนือจากความรับผิดชอบต่อตนเองแล้ว เขาต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ทั้งนี้เพราะปรากฏการณ์ในสังคมที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ไม่ว่าด้านบวกหรือด้านลบ ย่อมมีผลกระทบต่อสมาชิกในสังคม ดังหะดีษบทหนึ่งที่นะบีมุฮัมมัด กล่าวไว้ความว่า

“ได้อุปมาผู้คนในสังคมที่มีหน้าที่ปกป้องบทบัญญัติของอัลลอฮ์ เสมือนผู้ที่อยู่ในเรือลำเดียวกัน ผู้ที่อยู่ชั้นล่างมักขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ชั้นบนในการให้น้ำเพื่อบริโภค จนกระทั่งผู้ที่อยู่ชั้นล่างเกรงใจ เลยฉุกคิดว่าหากเราทุบเรือเป็นรูโหว่เพียงเล็กน้อยเพื่อสะดวกในการรับน้ำก็จะเป็นการดี เพราะเพื่อนๆ ที่อยู่ชั้นบนจะไม่เดือดร้อน ซึ่งหากผู้คนชั้นบนไม่หักห้ามหรือทักท้วงการกระทำดังกล่าว พวกเขาก็จะจมเรือทั้งลำ แต่ถ้ามีผู้คนหักห้ามไว้ พวกเขาก็ปลอดภัยทั้งลำเช่นเดียวกัน”

(รายงานโดยบุคอรี)

          อิสลามจึงห้ามมิให้มีการรุกรานหรือสร้างความเดือด ทรัพยากรมนุษย์จำเป็นต้องได้รับการรักษาและอนุรักษ์ไว้โดยไม่คำนึงถึงศาสนา ชนชาติ และเผ่าพันธุ์ อิสลามถือว่าการมลายหายไปของโลกนี้ยังมีสถานะที่เบากว่าบาปของการหลั่งเลือดชีวิตหนึ่งที่บริสุทธิ์ อิสลามจึงประณามการกระทำที่นำไปสู่การทำลายในทุกรูปแบบ ดังอัลลอฮ์  ได้กล่าวไว้ ความว่า

 “และเมื่อพวกเขาหันหลังไปแล้ว เขาก็เพียรพยายามในแผ่นดินเพื่อก่อความเสียหายและทำลายพืชผลและเผ่าพันธุ์ และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบการก่อความเสียหาย”

(อัลกุรอาน 2 : 205 )


          5.  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้านสังคมและสุขภาพ อิสลามส่งเสริมให้มนุษย์กระทำคุณงามความดีและสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม ดังปรากฏในหะดีษ ความว่า

“อีมานมี 70 กว่า หรือ 60 กว่าสาขา สุดยอดของอีมาน คือคำกล่าวที่ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์

และอีมานที่มีระดับต่ำสุดคือ การเก็บกวาดสิ่งที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้บนถนนหนทาง”

( รายงานโดยมุสลิม )

          การเก็บกวาดขยะสิ่งปฏิกูลและสิ่งที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้บนถนนหนทาง ถึงแม้จะเป็นขั้นอีมานที่ต่ำสุด แต่หากผู้ใดกระทำอย่างบริสุทธิ์ใจและหวังผลตอบแทนจากความโปรดปรานของอัลลอฮ์  แล้ว เขาจะได้รับการอภัยโทษจากอัลลอฮ์  และเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาเข้าสวรรค์  ดังหะดีษบทหนึ่งความว่า  อบูฮุร็อยเราะฮ์เล่าว่า ฉันได้ยินท่านนะบีมุฮัมมัด  กล่าวว่า

 “แท้จริงฉันเห็นชายคนหนึ่งกำลังพลิกตัวในสวรรค์ เนื่องจากเขาเคยตัดทิ้งต้นไม้ที่ล้มทับบนถนน เพื่อมิให้สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนที่สัญจรไปมา”

(รายงานโดยมุสลิม)

          อิสลามห้ามมิให้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงน้ำ ทั้งน้ำนิ่งหรือน้ำไหล การถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะในแหล่งน้ำ ถือเป็นการกระทำที่ถูกสาปแช่ง ดังหะดีษที่เล่าโดยมุอาซบินญะบัลเล่าว่า นะบีมุฮัมมัด กล่าวว่า

“จงยำเกรงสถานที่ที่เป็นสาเหตุของการสาปแช่ง ทั้ง 3 แห่ง คือ การถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะใน(1)แหล่งน้ำ (2)บนถนนที่ผู้คนสัญจรไปมา และ(3)ใต้ร่มเงา” 

( รายงานโดยเฏาะบะรอนีย์ )

     ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ทุกกิจการของมนุษย์จะต้องอยู่ภายใต้กฏกติกาที่นะบีมุฮัมมัด  ได้กำหนดว่า

“ไม่มีการสร้างความเดือดร้อนและไม่มีการตอบโต้ความเดือดร้อนด้วยการสร้างความเดือดร้อนทดแทน” 

( รายงานโดยอีมามมาลิก)


          6. อิสลามกำชับให้มุสลิมทุกคนมีจิตใจที่อ่อนโยน ให้เกียรติทุกชีวิตที่อยู่รอบตัว โดยเฉพาะชีวิตมนุษย์ อิสลามจึงห้ามการทรมานสัตว์ และการฆ่าสัตว์โดยเปล่าประโยชน์ อิสลามสอนว่า

 “หญิงนางหนึ่งต้องเข้านรกเพราะทรมานแมวตัวหนึ่งด้วยการจับขังและไม่ให้อาหารมัน จนกระทั่งแมวตัวนั้นตายเพราะความหิว”

( รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)

ในขณะเดียวกัน

“ชายคนหนึ่งเข้าสวรรค์เนื่องจากรินน้ำแก่สุนัขจรจัดที่กำลังกระหายน้ำ อิสลามถือว่า การให้อาหารแก่ทุกกระเพาะที่เปียกชื้น ( ทุกสิ่งที่มีชีวิต ) เป็นการให้ทานประการหนึ่ง”

( รายงานโดยบุคอรี และมุสลิม)

          มุสลิมไม่กล้าแม้กระทั่งฆ่านกตัวเดียวโดยเปล่าประโยชน์ เพราะตามหะดีษที่รายงานโดยอันนะสาอีย์และอิบนุหิบบาน กล่าวไว้ความว่า

“ใครก็ตามที่ฆ่านกตัวหนึ่งโดยเปล่าประโยชน์ นกตัวนั้นจะร้องตะโกนประท้วงในวันกิยามะฮ์ พร้อมกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์ ชายคนนั้นได้ฆ่าฉันโดยไม่มีวัตถุประสงค์อื่นใด เขาฆ่าฉันโดยมิได้หวังประโยชน์อันใดจากฉันเลย”

          เคาะลีฟะฮ์อบูบักรเคยสั่งเสียแก่จอมทัพอุซามะฮ์ ก่อนที่จะนำเหล่าทหารสู่เมืองชามว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้ตัดทำลายต้นไม้ที่ออกดอก ออกผล อย่าเข่นฆ่าแพะ วัว หรืออูฐ เว้นแต่เพื่อการบริโภคเท่านั้น”

          มนุษย์ผู้ซึมซับคำสอนเหล่านี้ จะไม่เป็นต้นเหตุของการทำลายป่าไม้ การตายของปลานับล้านตัวในแม่น้ำหรือทะเล หรือสร้างความเดือดร้อนแก่สรรพสัตว์ที่ใช้ชีวิตในป่า เพราะถ้าเขาสามารถใช้อิทธิพลหลบหลีกการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีบนโลกนี้ แต่เขาไม่มีทางหลบพ้นการถูกสอบสวนจากอัลลอฮ์  ผู้ทรงเกรียงไกรในวันอาคิเราะฮ์อย่างแน่นอน

          อิสลามยังกำชับให้มุสลิมตระหนักและให้ความสำคัญกับการปลูกต้นไม้ การเพาะปลูก ณ ที่ดินร้าง การพัฒนาที่ดินเพื่อเป็นแหล่งประกอบอาชีพ โดยยึดหลักความยุติธรรม ความสมดุล และความพอเพียง


          7. อิสลามประณามการใช้ชีวิตที่สุรุ่ยสุร่าย ฟุ้งเฟ้อ โดยถือว่าการสุรุ่ยสุร่ายเป็นญาติพี่น้องของชัยฏอน ( เหล่ามารร้าย ) นะบีมุฮัมมัด ได้ทักท้วง สะอัดที่กำลังอาบน้ำละหมาดโดยใช้น้ำมากเกินว่า

 “ทำไมถึงต้องใช้น้ำมากถึงขนาดนี้โอ้สะอัด ?

สะอัดจึงถามกลับว่าการใช้น้ำมาก ๆ เพื่ออาบน้ำละหมาด ถือเป็นการฟุ่มเฟือยกระนั้นหรือ ? 

นะบีมุฮำหมัด  จึงตอบว่า ใช่ ถึงแม้ท่านจะอาบน้ำละหมาดในลำคลองที่กำลังไหลเชี่ยวก็ตาม”

( รายงานโดยฮากิม )

          หากการใช้น้ำมากเกินเพื่ออาบน้ำละหมาดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำอิบาดะฮ์ (การเคารพภักดี ) ยังถือว่าฟุ่มเฟือย ดังนั้นมุสลิมทุกคนพึงระวังการใช้น้ำเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ในชีวิตประจำวัน

          คำสอนของอิสลามได้กล่าวถึงการจัดระเบียบ ให้มนุษย์รู้จักการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับตนเอง  สังคม สิ่งแวดล้อม โดยถือว่าเป็นภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และร่วมมือกันปกป้องอนุรักษ์ เพื่อพัฒนาชีวิตที่ครอบคลุมและสมบรูณ์ มีความผูกพันอย่างแนบแน่นกับผู้ทรงสร้างสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารจัดการและผู้จัดระเบียบสากลจักรวาลอันเกรียงไกร อิสลามเชื่อว่าผู้ที่สามารถทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมก็คือ “มนุษย์” นั่นเอง ดังอัลกุรอานกล่าวไว้ความว่า

 “การบ่อนทำลาย ได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากการกระทำด้วยน้ำมือของมนุษย์”

( อัลกุรอาน 30 : 41 )

          ภารกิจหลักของมุสลิม คือการเอื้ออำนวยให้เกิดระบบและกระบวนการสันติสุขบนโลกนี้ที่สามารถสัมผัสได้ในชีวิตจริง ซึ่งถือเป็นเจตนารมณ์อันสูงส่งของอิสลาม ดังอัลกุรอานได้กล่าวไว้ ความว่า

“และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด นอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลจักรวาล”
(อัลกุรอาน21: 107)


เรียบเรียงโดย อ.มัสลัน  มาหะมะ

Pemergian – การจากไป

Dunia yang cerah ceria.
Menjadi gerhana duka.
Wajah-wajah yang riang gembira.
Bertukar muram, penuh hiba.

โลกที่เคยสดใส
กลายเป็นเสมือนสุริยุปราคา
ใบหน้าที่เคยแจ่มสุข
กลับหมองคล้ำ สลดเศร้า

Terputuslah gema wahyu Ilahi
Permata suci telah hilang sirna.
Yang menyeri dunia lara.
Dengan perginya Rasul tercinta.
(Rasulullah)

วิวรณ์แห่งพระเจ้าได้ขาดสะบั้น
แสงมณีได้อันตรธานหายไป
ที่เคยส่องแสงโลกหล้า
เพราะการจากไปของรอซูลผู้เป็นสุดที่รัก

Pemilik keagungan yang tiada tara.
Berakhlak luhur dan qudwah mulia.
Sebagai contoh untuk warga dunia.
Menabur rahmat ke semesta raya.
(Rasulullah)

คือมหาบุรุษที่ไม่มีใครเทียบเท่า
มีจริยธรรมที่สูงส่งและแบบอย่างที่ดี
คือต้นแบบของชาวโลกหล้า
โปรยความเมตตาแก่สากลจักรวาล

Saat pemergianmu. (Rasulullah)
Kota Madinah bersedih pilu.
Tiada lagi senyum tawa.
Tiada lagi gurau senda.
Yang ada, hanya air mata darah.

(ท่อนฮุก)
(Rasulullah)

วินาทีการจากไปของท่าน
มะดีนะฮ์ทั้งเมืองตกอยู่ในอาการภวังค์
ไม่มีแล้วรอยยิ้มและเสียงหัวร่อ
ไม่มีอีกแล้วการหยอกล้อ
มีเพียงน้ำตาที่หลั่งเป็นเลือด

Meskipun jasadmu telah pergi.
Kembali menemui kekasih sejati.
Namun pusakamu dijulang tinggi.
Kerana mu Rasulullah.
Rasulullah.

แม้นท่านได้จากไปแล้ว
กลับไปหาสุดที่รักที่แท้จริง
ทว่ามรดกของท่านยังได้รับการเชิดชู
เพราะท่านคือรอซูลุลลอฮ์


Ibnu Desa
11 Safar 1442 (28/8/2020)
Narathiwat Airport

เป็นการสะท้อนบรรยากาศในวันที่นบีมูฮัมมัด صلى الله عليه وسلم ได้จากโลกนี้ไปอย่างนิรันดร์ หลังจากที่ท่านได้ปฏิบัติภารกิจอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ท่ามกลางความโศกเศร้าของบรรดาเศาะฮาบะฮ์ที่รักท่านเหนือสิ่งใดในโลกนี้แม้กระทั่งชีวิต ท่านจากไปแล้ว แต่มรดกของท่านยังคงอยู่ตราบจนวันกิยามะฮ์ صلى الله عليه وسلم

ลุกมานสอนลูก : บทเรียนและแนวปฏิบัติ

ความหมายอัลกุรอานซูเราะฮฺ ลุกมาน โองการ 12-19

12. และโดยแน่นอน เราได้ให้ฮิกมะฮฺ แก่ลุกมานว่า จงขอบพระคุณต่ออัลลอฮฺ และผู้ใดขอบคุณแท้จริงเขาก็ขอบคุณตัวของเขาเอง และผู้ใดปฏิเสธแท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงร่ำรวยและทรงได้รับการสรรเสริญ

13. และจงรำลึกเมื่อลุกมานได้กล่าวแก่บุตรของเขา โดยสั่งสอนเขาว่า “โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าได้ตั้งภาคีใดๆต่ออัลลอฮฺ เพราะแท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์โดยแน่นอน

14. และเราได้สั่งการมนุษย์เกี่ยวกับบิดามารดาของเขา โดยมีมารดาของเขาได้อุ้มครรภ์เขาอ่อนเพลียลงครั้งแล้วครั้งเล่า และการหย่านมของเขาในระยะเวลาสองปี เจ้าจงขอบคุณข้า และบิดามารดาของเจ้า ยังเรานั้นคือการกลับไปสู่

15. และถ้าเขาทั้งสองบังคับเจ้าให้ตั้งภาคีต่อข้า โดยที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น เจ้าอย่าได้เชื่อฟังปฏิบัติตามเขาทั้งสอง และจงอดทนอยู่กับเขาทั้งสองในโลกนี้ด้วยการทำความดีและจงปฏิบัติตามทางของผู้ที่กลับไปสู่ข้า และยังเรานั้นคือทางกลับของพวกเจ้า ดังนั้น ข้าจะบอกแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไว้

16.โอ้ลูกเอ๋ย แท้จริง (หากว่าความผิดนั้น) มันจะหนักเท่าเมล็ดผักสักเมล็ดหนึ่ง มันจะซ่อนอยู่ในหิน หรืออยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายหรืออยู่ในแผ่นดิน อัลลอฮฺก็จะทรงนำมันออกมาแท้จริง อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง

17. โอ้ลูกเอ๋ย เจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจงใช้กันให้กระทำความดี และจงห้ามปรามกันให้ละเว้นการทำความชั่ว และจงอดทนต่อสิ่งที่ประสบกับเจ้า แท้จริง นั่นคือส่วนหนึ่งจากกิจการที่หนักแน่น มั่นคง

18. และเจ้าอย่าหันแก้ม (ใบหน้า) ของเจ้าให้แก่ผู้คนอย่างยะโส และอย่าเดินไปตามแผ่นดินอย่างไร้มารยาท แท้จริง อัลลอฮฺ มิทรงชอบทุกผู้หยิ่งจองหอง และผู้คุยโวโอ้อวด

19.และเจ้าจงก้าวเท้าของเจ้าพอประมาณและจงลดเสียงของเจ้าลง แท้จริง เสียงที่น่าเกลียดยิ่งคือเสียง (ร้อง) ของลา

ลุกมานคือใคร ?

  • คือบุคคลที่อัลลอฮฺกล่าวถึงในอัลกุรอาน และเป็นชื่อซูเราะฮฺลำดับที่ 31
  • ลุกมานเป็นทาสชาวเอธิโอเปีย มีอาชีพเป็นช่างไม้ (ความเห็นของ Ibnu Abbas)
  • ลุกมานเป็นชาวซูดาน มีร่างกายที่แข็งแรง อัลลอฮฺทรงประทานฮิกมะฮฺ(วิทยปัญญา)แก่เขา แต่ไม่แต่งตั้งเขาให้เป็นนบี (ความเห็นของ Said bin Musayyab)
  • ลุกมานเป็นทาสที่ศอลิหฺ ไม่ใช่นบี มีริมฝีปากหนา เท้าใหญ่และเป็นผู้ตัดสินคดี (ผู้พิพากษา) ชาวบะนีอิสรออีล (ความเห็นของ Mujahid) ในสมัยนบีดาวูด
  • เจ้านายเคยสั่งใช้ให้ลุกมาน เชือดแพะตัวหนึ่งและให้เขาเก็บเนื้อที่ดีที่สุดจำนวน 2 ชิ้น ลุกมานจึงเก็บลิ้นและหัวใจ พอเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เจ้านายได้สั่งให้เขาเชือดแพะอีกตัวหนึ่งพร้อมสั่งให้เก็บเนื้อที่ไม่ดีที่สุดจำนวน 2 ชิ้น ลุกมานจึงเก็บลิ้นและหัวใจ เช่นเดียวกัน เมื่อเจ้านายถามเหตุผลของการกระทำดังกล่าว ลุกมานจึงตอบว่าไม่มีอวัยวะอื่นใดที่ประเสริฐสุดมากกว่าลิ้นและหัวใจ ถ้าหากทั้งสองอยู่ในสภาพดี และไม่มีอวัยวะอื่นใดที่ชั่วช้ามากกว่าลิ้นและหัวใจ หากทั้งสอง อยู่ในสภาพที่ชั่วร้าย

คุณสมบัติของลุกมานอัล-หะกีม

  • เป็นคนที่ศอลิห
  • อัลลอฮฺทรงประทานฮิกมะฮฺให้แก่เขา ซึ่งทำให้เขามีสติปัญญาอันเฉียบแหลม มีความรู้ที่ลุ่มลึก และมีคำพูดที่เต็มไปด้วยสาระและความหมาย
  • มีอะกีดะฮฺที่ถูกต้อง เข้าใจในศาสนา
  • ฐานสำคัญของการอบรมลูก
1. ฐานแห่งอะกีดะฮฺ
2. ฐานแห่งอิบาดะฮฺ
3. ฐานแห่งคุณธรรมจริยธรรม

จากรากฐานทั้ง 3 ประการดังกล่าวข้างต้น ลุกมานได้สั่งเสียแก่ลูกให้ยึดมั่นคำสอน 10 ประการดังนี้

1) จงอย่าตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ
มาตรการและแนวปฏิบัติ

  • พ่อแม่ต้องสั่งสอนและอบรมลูกให้มีอะกีดะฮฺที่ถูกต้อง มอบความรักต่ออัลลอฮฺ รักท่านนบี วงศ์วานของท่านนบี และรักการอ่านอัลกุรอาน ดังหะดีษที่รายงานโดยอัต-เฏาะบะรอนี ความว่า “ท่านจงอบรมบรรดาลูกๆของท่านใน 3 ประการ คือให้มีความรักต่อนบีของพวกท่าน ให้มีความรักต่อวงศ์วานของนบี และให้มีความรักในการอ่านอัลกุรอาน”
  • การอะซานและอิกอมะฮฺแก่ทารกแรกเกิด
  • จงเปิดหูลูกน้อยของท่านด้วยคำกล่าวว่า “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ)” (รายงานโดยอัล-หากิม)
  • การป้องกันกลลวงและภัยคุกคามจากชัยฏอนด้วยวิธีการดังนี้ :

* อ่านดุอาก่อนมีเพศสัมพันธ์กับภรรยา
* ดุอาให้แก่ลูก
* อ่านซูเราะฮฺอิคลาศ อัลฟะลัก และอันนาส พร้อมเป่าทั่วร่างกายของลูก
* ระมัดระวังไม่ให้ลูกออกจากบ้านในเวลาค่ำคืนโดยเฉพาะช่วงพลบค่ำเพราะช่วงดังกล่าวญินมักกระจายเพ่นพ่านเป็นจำนวนมาก(ความหมายหะดีษรายงานโดยอัล-บุคอรี)
* หลีกเลี่ยงจากความเชื่อและประเพณีที่นำไปสู่ชิรกฺ อาทิ ความเชื่อในโชคลาง เวทมนต์ ไสยศาสตร์ หมอดู ประเพณีต่างๆที่นิยมปฏิบัติช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอดที่ขัดกับอิสลาม ความเชื่อในการตั้งชื่อที่มีผลต่อสุขภาพเด็ก
* ไม่เชื่อในสิ่งปาฏิหาริย์ของนวนิยายอันไร้สาระ ความเชื่อในภูตผี ปีศาจ

2) จงทำความดีต่อพ่อแม่
มาตรการและแนวปฏิบัติ

  • ลูกไม่สามารถทดแทนบุญคุณของพ่อได้เว้นแต่เขาเจอพ่อในสภาพที่เป็นทาส และเขาจ่ายค่าตัวของพ่อพร้อมทั้งปล่อยพ่อเป็นไท (หะดีษ)
  • ลูกต้องทำความดีต่อแม่มากกว่าพ่อถึง 3 เท่า (ความหมายจากหะดีษ)
  • เชื่อฟังพ่อแม่ตราบใดที่ท่านไม่สั่งใช้ให้กระทำสิ่งที่ขัดกับหลักการอิสลาม
  • พ่อแม่ต้องให้ความยุติธรรมต่อบรรดาลูกๆแม้กระทั่งสิ่งเล็กๆน้อยๆ เช่นการจุมพิต การมอบของขวัญ การซื้อเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายเป็นต้น พ่อแม่ไม่ควรเป็นต้นเหตุให้บรรดาลูกๆ ต้องเนรคุณและมีเรื่องบาดหมางระหว่างกันเนื่องจากความไม่ยุติธรรมและความลำเอียงของพ่อแม่
  • ห่างไกลจากการเป็นลูกเนรคุณ ที่มีสัญญานต่างๆ 33 ประการ ดังนี้

1. ทำให้พ่อแม่เสียใจหรือเสียน้ำตาเนื่องจากคำพูด การกระทำหรือพฤติกรรม
2. ตะคอก ทะเลาะวิวาทหรือขึ้นเสียงต่อหน้าพ่อแม่
3. กล่าวคำว่า “อุฟ” ดื้อหรือไม่ทำตามคำสั่งใช้ของพ่อแม่
4. หน้าบูดบึ้ง ขมวดคิ้ว แสดงไม่พอใจพ่อแม่
5. มองพ่อแม่ด้วยหางตา หรือมองด้วยสายตาแสดงความไม่พอใจ
6. สั่งใช้พ่อแม่ทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน เช่น ซักเสื้อผ้าของเรา หุงหาอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามท่านแก่ชรา แต่ถ้าหากทั้งสองยินดีให้ความช่วยเหลือด้วยความสมัครใจก็ไม่ถือว่าเนรคุณ แต่ลูกๆ ควรตอบแทนด้วยการขอบคุณและดุอาแก่ท่านทั้งสองตลอดเวลา
7. ตำหนิอาหารที่เตรียมโดยคุณแม่ การกระทำเช่นนี้ มีความผิด 2 ประการ ประการแรก ฝ่าฝืนสุนนะฮฺท่านนบี(ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) เพราะท่าน นบีฯไม่เคยตำหนิอาหารเลย หากท่านชอบ ท่านก็จะทานอาหารนั้น หากท่านไม่ชอบ ท่านจะไม่ทานโดยไม่ตำหนิอะไรเลย ประการที่สอง แสดงกิริยามารยาทที่ไม่ดีต่อคุณแม่
8. ไม่ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้าน เช่น ซักเสื้อผ้า หุงอาหาร เลี้ยงดูน้องๆ เป็นต้น
9. ตัดคำพูดของพ่อแม่ กล่าวหาพ่อแม่ว่าพูดโกหกหรือโต้เถียงกับพ่อแม่
10. ไม่ปรึกษาหารือพ่อแม่ ไม่ขออนุญาตพ่อแม่ยามออกนอกบ้านหรือเที่ยวตามบ้านเพื่อน
11. ไม่ขออนุญาตยามเข้าห้องนอนพ่อแม่
12. ชอบเล่าเรื่องที่สร้างความไม่สบายใจแก่พ่อแม่
13. ทำลายชื่อเสียงหรือนินทาพ่อแม่ลับหลัง
14. แช่งหรือด่าพ่อแม่ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ด่าพ่อแม่ทางตรงคือด่าพ่อแม่ต่อหน้าทั้งสอง ส่วนด่าพ่อแม่ทางอ้อมคือการที่เราด่าพ่อแม่เพื่อนของเราและเพื่อนคนนั้นก็ด่าพ่อแม่เรากลับ ดังนั้นคำด่าของเพื่อนเราเปรียบเสมือนเราด่าพ่อแม่โดยทางอ้อมเพราะเราเป็นต้นเหตุที่ทำให้เพื่อนด่าพ่อแม่เรา
15. นำพาสิ่งหะรอมเข้ามาในบ้าน เช่น เครื่องดนตรี ทำให้พ่อแม่พลอยรับความไม่ดีจากสิ่งหะรอมนั้นด้วย
16. กระทำสิ่งหะรอมต่อหน้าพ่อแม่ เช่น สูบบุหรี่ ฟังเพลง ไม่ละหมาด ไม่ลุกขึ้นเมื่อทั้งสองปลุกให้ตื่นละหมาด
17. ทำให้ชื่อเสียงพ่อแม่ด่างพร้อยเพราะการกระทำของเรา เช่น เมื่อลูกๆชอบลักเล็กขโมยน้อย ติดยาเสพติด เล่นการพนัน ซิ่งมอเตอร์ไซค์ ทำให้พ่อแม่ต้องอับอายหรือเสียชื่อเสียงไปด้วย
18. ทำให้พ่อแม่ยากลำบาก บางครั้งพ่อแม่ต้องระเหเร่ร่อนตามหาลูกๆที่หนีออกจากบ้านหรือต้องขึ้นลงโรงพักเพื่อให้ประกันลูกๆที่กระทำผิดกฎหมายซึ่งสร้างความลำบากแก่พ่อแม่เป็นอย่างยิ่ง ทำให้พ่อแม่เสียเวลาและเงินทองเพื่อเป็นธุระแก่ลูกรัก
19. ออกจากบ้านหรือเที่ยวบ้านเพื่อนเป็นเวลานาน ทำให้พ่อแม่เป็นห่วง บางทีพ่อแม่ต้องการความช่วยเหลือจากลูกหรือประสบกับความยากลำบากและเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหนัก แต่ลูกๆกำลังสนุกสนานกับเพื่อนๆที่สถานเริงรมย์หรืองานเลี้ยงฉลองในโอกาสต่างๆ
20. ชอบให้พ่อแม่ทำโน่นทำนี่เป็นประจำ ให้ซื้อของเป็นประจำ และไม่รักษาสิ่งของที่พ่อแม่ซื้อ คะยั้นคะยอพ่อแม่ซื้อสิ่งของที่แพงๆทั้งที่พ่อแม่มีรายได้ที่ไม่เพียงพอ
21. รักภรรยาหรือสามีมากกว่าพ่อแม่ ทะเลาะกับพ่อแม่เนื่องจากภรรยาหรือสามีที่ไม่ดี อ่อนโยนต่อภรรยาหรือสามี แต่แข็งกร้าวต่อหน้าพ่อแม่
22. ปลีกตัวจากพ่อแม่ ไม่อาศัยอยู่พร้อมกันกับพ่อแม่โดยเฉพาะยามที่ทั้งสองแก่เฒ่า
23. ลูกบางคนรู้สึกอับอายหรือกระดากใจที่จะแนะนำพ่อแม่ให้คนอื่นรู้จัก บางครั้งก็ไม่ยอมรับเป็นพ่อแม่ของตนเองเนื่องจากต้องการปิดบังรากเหง้าของตนเอง
24. ตบตีหรือทำร้ายพ่อแม่
25. ให้พ่อแม่พำนักที่บ้านพักคนชราหรือสถานสงเคราะห์คนชราโดยที่ลูกๆไม่ยอมดูแลและปรนนิบัติพ่อแม่ เรามักได้ยินว่าพ่อแม่มีความสามารถเลี้ยงลูก 10 คนได้ แต่บางทีลูกทั้ง 10 คน ไม่สามารถดูแลปรนนิบัติพ่อแม่ได้
26. ไม่ให้ความสำคัญต่อกิจการของพ่อแม่ ไม่แนะนำหรือตักเตือนพ่อแม่ยามที่ทั้งสองผิดพลาดหรือกระทำบาป
27. ตระหนี่ขี้เหนียวและไม่ยอมใช้จ่ายแก่พ่อแม่แต่ชอบแสดงตนเป็นคนใจกว้างยามเข้าสังคมกับเพื่อนๆ
28. ชอบทวงบุญคุณที่ได้กระทำต่อพ่อแม่ ทั้งๆที่พ่อแม่ไม่เคยทวงบุญคุณของตนเองที่ได้กระทำต่อลูกๆเลย
29. ขโมยทรัพย์สินเงินทองของพ่อแม่ หลอกใช้เงินของพ่อแม่
30. ชอบทำตัวงอแงจนเกินเหตุ ทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจ เช่น เวลาป่วยไข้ก็มักจะทำไม่สบายจนเกินเหตุ เป็นต้น
31. ทิ้งพ่อแม่อาศัยที่บ้านตามลำพัง โดยที่ตนเองอาศัยที่อื่นโดยไม่ขออนุญาตพ่อแม่ก่อน
32. ลูกบางคนตั้งภาวนาให้พ่อแม่ห่างไกลให้พ้นจากตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อพ่อแม่ป่วยเป็นโรคหรือแก่ชรา
33. ลูกบางคนยอมแม้กระทั่งต้องฆ่าพ่อแม่เนื่องจากความโกรธเคือง เมาหรือหวังมรดกของพ่อแม่

3) จงเจริญรอยตามกลุ่มผู้ศรัทธาและบรรดาผู้ได้รับทางนำ
มาตรการและแนวปฏิบัติ

  • คบเพื่อนที่ดี ห่างไกลจากเพื่อนที่ไม่ดี
  • บุคคลย่อมมีนิสัยและมีพฤติกรรมที่เหมือนกับเพื่อนผู้ใกล้ชิดของเขา ดังนั้นท่านจึงมองเพื่อนผู้ใกล้ชิดของเขา ท่านก็จะรู้นิสัยที่แท้จริงของบุคคลนั้น (หะดีษรายงานโดยอัต-ติรมีซีย์)
  • ระมัดระวังแนวคิด คำสอนหรือทฤษฎีที่คิดค้นโดยบรรดาผู้ปฏิเสธอัลลอฮฺ ไม่ให้เข้ามามีอิทธิพลต่อความคิดของลูกๆ เช่นทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินที่เชื่อว่ามนุษย์มีต้นกำเนิดมาจากลิง ทฤษฎีของซิกส์มัน ฟรอยด์ที่พยายามเกี่ยวโยงพฤติกรรมของมนุษย์กับเซ็กส์ ทฤษฎีแม็คคิววิลลี่ที่สอนให้มนุษย์ทำอะไรด้วยวิธีการใดก็ได้ ถ้าหากมีวัตถุประสงค์ที่ดี (ดังกรณีหวยบนดิน การเปิดบ่อนคาสิโนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือการใช้วิชามารเพื่อเอาชนะการเลือกตั้ง เป็นต้น)
  • ศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางของผู้ที่อัลลอฮฺทรงประทานฮิดายัต เช่น บรรดานบี บรรดาเศาะฮาบะฮฺ บรรดาศอลิฮีน เป็นต้น “เศาะฮาบะฮฺของฉันเปรียบเสมือนดวงดาว ท่านจะพบกับทางนำตราบใดที่ท่านยึดมั่นปฏิบัติตามดาวดวงใดดวงหนึ่งในจำนวนดวงดาวเหล่านั้น” (รายงานโดยอัล-บัยฮะกีย์) อิบนุ มัสอูด กล่าวว่า ใครก็ตามที่ต้องการเอาเยี่ยงอย่าง ก็จงปฏิบัติตามเยี่ยงอย่างของบรรดาเศาะฮาบะฮฺของท่านนบีมูฮำมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)
  • ระมัดระวังและสอดส่องพฤติกรรมของลูกมิให้ตกเป็นเหยื่อของการลอกเลียนต้นแบบอันจอมปลอม อาทิ ดารานักแสดง นักร้อง นักกีฬาที่มีประวัติด่างพร้อย สื่อลามกอนาจาร สื่ออิเล็กโทรนิกส์ทั้งหลาย เว็บไซต์ แช็ตรูม มือถือ เป็นต้น พ่อแม่ต้องรู้เท่าทันโลกและรู้เท่าทันลูกด้วย

4) การซึมซับและปลูกฝังความรอบรู้ของอัลลอฮฺและการตรวจสอบของพระองค์  
มาตรการและแนวปฏิบัติ

  • ปลูกฝังในความรอบรู้ของอัลลอฮฺที่ครอบคลุมทั้งสิ่งที่เปิดเผยและซ่อนเร้น
  • ปลูกฝังในความสำคัญของอิคลาศ
  • ปลูกฝังการสอบสวนของอัลลอฮฺในทุกกิจการของมนุษย์
  • การตักเตือนลูกในเรื่อง การลักเล็กขโมยน้อย การไม่ยอมรับผิด การพูดจาโกหก การรังแกพี่น้องด้วยกัน
  • พ่อแม่ต้องหมั่นเล่าเรื่องแก่ลูกๆเกี่ยวกับความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺของบรรดาบรรพชนที่ทรงคุณธรรม(สะลัฟศอลิหฺ)

5) จงดำรงละหมาด
มาตรการและแนวปฏิบัติ

  • “ท่านทั้งหลายจงสั่งใช้ลูกๆของท่านให้ดำรงละหมาดเมื่อเขามีอายุครบ 7 ขวบ และจงเฆี่ยนตี (หากพวกเขาไม่ละหมาด) เมื่ออายุครบ 10 ขวบ และจงแยกเตียงนอน (ให้พวกเขานอนในห้องส่วนตัวต่างหาก)” (รายงานโดยฮากิม)
  • พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับลูกในการดำรงละหมาด
  • การอบรมลูกๆให้มีความสัมพันธ์กับมัสยิดตลอดเวลา
  • การปลูกฝังให้ลูกๆรักษาละหมาดทั้งฟัรฎูและสุนัตต่างๆ โดยเฉพาะละหมาดก่อนหลังละหมาดฟัรฎู ละหมาดฎูฮา ละหมาดหลังเที่ยงคืน และละหมาดวิตรฺ

6) จงใช้กันให้กระทำความดีและจงห้ามปรามกันให้ละเว้น การทำความชั่ว
มาตรการและแนวปฏิบัติ

  • ปลูกฝังให้ลูกๆทำแต่ความดีและเผยแผ่ความดีสู่มวลมนุษย์
  • ช่วยเหลือสนับสนุนในกิจการความดีและการตักวา ไม่ช่วยเหลือสนับสนุนในกิจการที่นำไปสู่อบายมุขและการล่วงละเมิด
  • ปลูกฝังในมารยาทการเชิญชวนสู่ความดีและการห้ามปรามความชั่วร้าย
  • อิสลามส่งเสริมการทำความดีและมีมารยาทที่ประเสริฐต่อมนุษย์ และถือว่ามนุษย์คือพี่น้องที่มาจากบิดามารดาคนเดียวกัน
  • อิสลามส่งเสริมให้กระทำความดีต่อสิ่งแวดล้อม ต้นไม้ สิงสาราสัตว์ สิ่งของสาธารณะ และถือว่าบุคคลที่ประเสริฐสุดคือบุคคลที่สร้างคุณประโยชน์แก่มวลมนุษย์มากที่สุด
  • จงระวังการห้ามปรามและการยับยั้งความชั่วร้ายที่อาจก่อความชั่วร้ายหรือภัยที่รุนแรงกว่า

7) จงอดทนต่อสิ่งที่ประสบกับเจ้า
มาตรการและแนวปฏิบัติ

  • การอดทนมี 3 ประเภท คือ การอดทนต่อความทุกข์ยากที่ประสบ การอดทนเพื่อกระทำสิ่งฏออัต และการอดทนไม่กระทำสิ่งต้องห้ามหรืออบายมุข
  • อิบาดัตทุกประการมีผลตอบแทนที่อัลลอฮฺกำหนดไว้อย่างแน่นอน เว้นแต่การอดทน (ศอบัร) “แท้จริงผู้อดทนนั้นจะได้รับการตอบแทนรางวัลของพวกเขาอย่างสมบูรณ์โดยประมาณการไม่ได้” (ความหมายจากสูเราะฮฺ อัซ-ซุมัร : 10)
  • ลักษณะการศอบัรฺที่ดี คือ การศอบัรฺในช่วงแรกที่ประสบความทุกข์ยาก

8) อย่าหยิ่งยะโส โอ้อวด และดูถูกคนอื่น
มาตรการและแนวปฏิบัติ

  • ปลูกฝังลูกๆให้รู้จักขอบคุณอัลลอฮฺในความดีที่ได้รับ เช่น เรียนเก่ง มีหน้าตาน่ารัก ความสุขสบายที่ได้รับ
  • ให้โอกาสลูกๆ คบเพื่อนในวัยเดียวกันอย่างสร้างสรรค์
  • ปลูกฝังการให้ทานและให้ความช่วยเหลือแก่คนยากจน คนอนาถา
  • การหยิ่งยะโส คือ การปฏิเสธความจริง และการดูถูกคนอื่น
  • “จะไม่มีสิทธิเข้าสวรรค์สำหรับผู้หยิ่งยะโสแม้เพียงน้อยนิดเท่าเมล็ดผักก็ตาม” (หะดีษรายงานโดยอบู ดาวูด)
  • การปลูกฝังนิสัยการอ่อนน้อมถ่อมตน
  • รู้จักตักเตือนลูกๆ อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามกาลเทศะ

9) จงก้าวเท้าพอประมาณ
มาตรการและแนวปฏิบัติ

  • ปลูกฝังมารยาทการเดินในอิสลาม
  • ปลูกฝังนิสัยพอประมาณ ความพอดี
  • ปลูกฝังให้ยึดมั่นแนวคิดสายกลาง ไม่สุดโต่ง สุดขอบ รู้จักเดินบนเส้นทางชีวิตด้วยความพอดี
  • ปลูกฝังนิสัยประหยัดอดออม ไม่สุรุ่ยสุร่าย และไม่ตระหนี่ขี้เหนียว
  • สร้างความพร้อมแก่ลูกๆที่จะเผชิญหน้ากับชีวิตในอนาคตอันหลากหลาย อย่างเท่าทัน และมีสติ
  • อัลลอฮฺทรงปรานีแก่ผู้ที่รู้จักประมาณตนในศักยภาพของตนเอง

10) จงลดเสียงของเจ้า
มาตรการและแนวปฏิบัติ

  • ปลูกฝังมารยาทการพูดและการทักทาย
  • การลดเสียงขณะพูด เป็นส่วนหนึ่งของคุณลักษณะของผู้ถ่อมตน
  • ปลูกฝังในคำสอนของอิสลามที่ว่าด้วยการรักษาลิ้น
  • บุคคลย่อมไม่สามารถเป็นนักพูดที่ดี ตราบใดที่เขาไม่สามารถยกระดับการเป็นนักฟังที่ดี

ลูกคือ :

  • แก้วตาดวงใจ
  • บททดสอบ
  • ศัตรูผู้เป็นสุดที่รัก
  • ผู้ที่สามารถเพิ่มพูนความดีของพ่อแม่ยามที่ท่านทั้งสองเสียชีวิตแล้ว
  • ลูกทุกคนเกิดมาในสภาพบริสุทธ์ พ่อแม่ต่างหากที่เป็นผู้ทาสีให้เป็นยิว คริสเตียน หรือมาญูซี(ลัทธิบูชาไฟ)
  • พ่อแม่ควรรู้ว่า การอบรมสั่งสอนคือการให้ ดังนั้นบุคคลไม่สามารถที่จะให้ในสิ่งที่ตนไม่มี
  • ครอบครัวคุณภาพ สื่อคุณภาพ พื้นที่คุณภาพและการศึกษาคุณภาพ มีส่วนสำคัญยิ่งในการเสริมสร้างลูกศอลิหฺ ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องร่วมมือกัน ไม่ใช่มอบภาระให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังกลอนอาหรับกล่าวไว้ความว่า “อาคารหลังหนึ่งจะไม่สามารถสร้างแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ได้ ถ้าหากคุณเป็นผู้สร้างเพียงผู้เดียว แต่คนอื่นพากันทุบทิ้งทำลาย”

เขียนโดย อ. มัสลัน มาหะมะ
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยอิสลามยะลา

ราชสกุลออตโตมาน ความจริงที่ยิ่งกว่านิยาย

ราชวงศ์ออตโตมาน ตระกูลสูงศักดิ์ที่ถูกโค่นบัลลังก์ และถูกเนรเทศขับไล่ไสส่งออกจากประเทศ ต้องระเหเร่ร่อน ถูกหยามเหยียด ชนิดที่ไม่มีเลือดขัตติยาตระกูลใดในโลกเคยประสบชะตากรรมเฉกนี้

สิ่งที่พรรคประชาชนสาธารณะ CHP ของกามาล อะตาเติร์ก กระทำต่อราชวงศ์ออตโตมาน เป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดเคยทำ ไม่ว่าจะเป็นกาฟิร มะยูซี หรือยิว

ไม่มีในประวัติศาสตร์ว่ามีกาฟิรใดกระทำต่อบรรพบุรุษของตน เหมือนกับที่พรรคนี้กระทำต่อลูกหลานของสุลต่านมุฮัมมัด ฟาติห์

พวกเขาเนรเทศ ขับไล่ไสส่งราชสกุลเหล่านี้ในยามราตรี ในชุดลำลอง ไปยังประเทศยุโรป

บุตรและภริยาสุลต่าน ต่อรองว่า ขอให้เนรเทศไปยังจอร์แดน อียิปต์ หรือซีเรียได้ไหม อย่าเนรเทศไปยังยุโรปเลย

แต่คำสั่งจากตะวันตกเด็ดขาดชัดเจน ไม่มีข้อแม้ ให้เนรเทศไปยังยุโรปเท่านั้น เพื่อต้องการแก้แค้นให้สาแก่ใจ และเหยียดหยามศักดิ์ศรีให้ถึงที่สุด

พวกเขาจึงเนรเทศราชสกุลเหล่านั้น บางส่วนก็ถูกส่งไปยังเทสซาโลนิกีในกรีซ ถิ่นที่เคยเป็นภูมิลำเนาของยิว บางส่วนก็ถูกส่งตัวไปยังยุโรป

พวกเขาเนรเทศสุลต่านวะฮีดุดดีน สุลต่านคนสุดท้ายของราชวงศ์ออตโตมาน พร้อมภริยาไปยังฝรั่งเศส ในตอนกลางคืน พร้อมกับได้ยึดทรัพย์สินทั้งหมด ให้ไปเพียงตัวเปล่าในชุดลำลอง ไม่มีเงินติดตัวแม้แต่สตางค์แดงเดียว

มีคำบอกเล่าว่า ลูกๆของสุลต่านได้ปิดหน้าปิดตาออกขอทานในกรุงปารีส เพื่อปิดบังไม่ให้คนรู้จัก

ในขณะที่สุลต่านเสียชีวิต ทางโบสถ์ของฝรั่งเศสได้ยึดศพท่านไว้เพื่อประกันหนี้ที่ท่านติดค้างอยู่กับห้างร้านต่างๆ ชาวมุสลิมที่นั่นจึงรวบรวมเงินจ่ายหนี้ดังกล่าว และนำศพใส่โลง ส่งไปฝังยังประเทศซีเรีย

หลังจากนั้น 20 ปี มีบุคคลแรกที่ออกตามหาพวกเขา นั่นคือ ชะฮีดนายกรัฐมนตรีอัดนาน แมนเดรส แห่งตุรกี ที่ได้เดินทางไปยังฝรั่งเศสเพื่อตามหาพวกเขาเหล่านั้น

เมื่อถึงไปยังฝรั่งเศส ก็ได้สอบถามถึงที่อยู่ของพวกเขา อัดนาน แมนเดรส กล่าวถามไปทั่วว่า บอกที่อยู่บิดามารดาของฉันหน่อย

ในที่สุด อัดนาน แมนเดรส ได้ไปถึงยังหมู่บ้านเล็กๆในกรุงปารีส ตรงไปที่สถานที่ล้างจานของโรงงานแห่งหนึ่ง จึงได้พบกับราชินีชาฟีเกาะฮ์ ภริยาสุลต่านอับดุลหะมีดที่ 2 ซึ่งมีอายุได้ 85 ปี และเจ้าหญิงอาอีชะฮ์ ธิดาสาว อายุ 60 ปี ทำงานล้างจานอยู่ในโรงงานนั้นด้วยค่าจ้างเพียงเล็กน้อย !

อัดนาน แมนเดรส ถึงกับร่ำไห้ด้วยความสงสาร พร้อมกับจูบมือของเลือดขัตติยาทั้งสอง

เจ้าหญิงอาอีชะฮ์จึงถามขึ้นว่า ท่านเป็นใคร
อัดนาน แมนเดรส ตอบว่า ผมเป็นนายกรัฐมนตรีตุรกีครับ
ได้ยินดังนั้น นางก็วางจานลง พลางกล่าวว่า ลูกเอ๋ย ไปอยู่ไหนมา ทำไมจึงได้มาช้านัก

ด้วยความดีใจอย่างที่สุด นางถึงกับเป็นลมหมดสติไปในเวลานั้นทันที

อัดนาน แมนเดรส กลับมายังแองการ่า กล่าวกับ ยะลาล บิยาร ว่า ฉันจะออกกฎหมายนิรโทษกรรม และนำตัวมารดากลับมายังตุรกี

ตอนแรก ยะลาล บิยาร ก็คัดค้าน แค่เมื่อเห็นความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของแมนเดรส ก็ยินยอม แต่มีเงื่อนไขว่า ให้กลับได้เฉพาะธิดาเท่านั้น ไม่รวมบุตรชายของสุลต่านอับดุลหะมีดและสุลต่านวะฮีดุดดีน

อัดนาน แมนเดรส ได้กลับไปยังปารีส นำตัวราชินีชะฟีเกาะฮ์และเจ้าหญิงอาอีชะฮ์กลับสู่ตุรกี ส่วนบรรดาบุตรชาย ได้กลับตุรกีในยุคที่นัจมุดดีน อัรบะกาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ท่านเหล่านั้น

หลังจากถูกปฏิวัติ ข้อหาส่วนหนึ่งที่อัดนาน แมนเดรส ถูกกล่าวหา ได้แก่ การขโมยสมบัติชาติไปอุปการะเลี้ยงดูราชินีและธิดาของสุลต่าน

ทั้งๆที่ในความเป็นจริง ทุกครั้งในวันอีด อัดนาน แมนเดรส จะไปเยี่ยมราชินีชะฟีเกาะฮ์และเจ้าหญิงอาอีชะฮ์ พร้อมจูบมือและมอบเงินส่วนตัวจากเงินเดือนของตนเอง ให้แก่ทั้งสองท่านๆ ละ 10,000 ลีร่า

ชะฮีดอัดนาน แมนเดรส ถูกประหารชีวิตในวันที่ 17 กันยายน 1961

หลังจากนั้นเพียงวันเดียว ในวันที่ 18 กันยายน 1961 มีคนไปพบศพของราชินีชะฟีเกาะฮ์และเจ้าหญิงอาอิชะฮ์ เสียชีวิตอยู่ในสภาพสุยูดในขณะละหมาด…

ขอให้อัลลอฮ์เมตตา และรับความเป็นชะฮีดของท่านอัดนาน แมนเดรส วีรบุรุษแห่งออตโตมานด้วยเทอญ

ขอให้อัลลอฮ์เมตตาสายสกุลสุลต่านออตโตมานทุกท่าน ที่ยอมสละบัลลังก์ อำนาจวาสนา และยศถาบรรดาศักดิ์…เพียงเพื่อพิทักษ์รักษาอัลอักซอ ไว้จนวินาทีสุดท้ายของบัลลังก์คอลีฟะฮ์ออตโตมาน ที่สืบทอดมายาวนานกว่า 600 ปี …


เขียนโดย Ghazali Benmad