อาณาจักรมด อัศจรรย์แห่งอัลกุรอาน (ตอนจบ)

อัลลอฮฺตรัสว่า

وَحُشِرَ لِسُلَیۡمَـٰنَ جُنُودُهُۥ مِنَ ٱلۡجِنِّ وَٱلۡإِنسِ وَٱلطَّیۡرِ فَهُمۡ یُوزَعُونَ ، حَتَّىٰۤ إِذَاۤ أَتَوۡا۟ عَلَىٰ وَادِ ٱلنَّمۡلِ قَالَتۡ نَمۡلَةࣱ یَـٰۤأَیُّهَا ٱلنَّمۡلُ ٱدۡخُلُوا۟ مَسَـٰكِنَكُمۡ لَا یَحۡطِمَنَّكُمۡ سُلَیۡمَـٰنُ وَجُنُودُهُۥ وَهُمۡ لَا یَشۡعُرُونَ ، فَتَبَسَّمَ ضَاحِكࣰا مِّن قَوۡلِهَا وَقَالَ رَبِّ أَوۡزِعۡنِیۤ أَنۡ أَشۡكُرَ نِعۡمَتَكَ ٱلَّتِیۤ أَنۡعَمۡتَ عَلَیَّ وَعَلَىٰ وَ ٰ⁠لِدَیَّ وَأَنۡ أَعۡمَلَ صَـٰلِحࣰا تَرۡضَىٰهُ وَأَدۡخِلۡنِی بِرَحۡمَتِكَ فِی عِبَادِكَ ٱلصَّـٰلِحِینَ

ความว่า

 “และไพร่พลของเขา(นบีสุลัยมาน)ที่เป็นญิน มนุษย์และนก ได้ถูกให้มาชุมนุมต่อหน้าสุลัยมาน และพวกเขาถูกจัดให้เป็นระเบียบ จนกระทั่งเมื่อพวกเขาได้มาถึงทุ่งที่มีมดมาก (ณ เมืองชาม) มดตัวหนึ่งได้พูดว่า “โอ้พวกมดเอ๋ย! พวกเจ้าจงเข้าไปในรังของพวกเจ้าเถิด เผื่อว่าสุลัยมานและไพร่พลของเขาจะได้ไม่บดขยี้พวกเจ้า โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว เขา (สุลัยมาน) ยิ้มแกมหัวเราะต่อคำพูดของมันและกล่าวว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานแก่ข้าพระองค์ เพื่อให้ข้าพระองค์ขอบคุณต่อความโปรดปรานของพระองค์ท่าน ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงโปรดปรานแก่ข้าพระองค์ และบิดามารดาของข้าพระองค์ และให้ข้าพระองค์กระทำความดีเพื่อให้พระองค์ทรงพอพระทัยมัน และทรงให้ข้าพระองค์เข้าอยู่ในความเมตตาของพระองค์ ในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์ที่ดีทั้งหลาย”(อันนัมลุ 27,17-19)

อายัตข้างต้นได้อธิบายบทหนึ่งในซูเราะฮฺอันนัมลุ (มด) ที่ได้ระบุว่า ไพร่พลของนบีสุลัยมานซึ่งประกอบด้วยมนุษย์ ญินและสิงสาราสัตว์รวมทั้งนกชนิดต่างๆ ได้ถูกเกณฑ์เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญ เหล่าทหารจึงเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบและเดินทางตามคำสั่งของนบีสุลัยมาน จนกระทั่งพวกเขาได้เดินทางถึงบริเวณทุ่งที่มีมดมากมายอาศัยอยู่ หัวหน้ามดจึงรู้อันตรายที่จะเกิดขึ้น เลยออกคำสั่งให้ประชากรมดหลบเข้าไปในรัง เพื่อความปลอดภัยและไม่ถูกนบีสุลัยมานและไพร่พลของเขาบดขยี้โดยที่พวกเขาไม่รู้สึกตัว ซึ่งหัวหน้ามดทราบดีว่า กองทัพนี้มีมารยาทอันสูงส่ง และไม่เคยสร้างความเดือดร้อนใดๆ แม้ต่อมดตัวเดียวก็ไม่เคยทำร้าย แต่กลัวว่า พวกเขาไม่รู้ตัวว่าอยู่ในบริเวณทุ่งมด เลยอาจเหยียบมดโดยไม่ตั้งใจก็ได้ นบีสุลัยมานได้ฟังคำสนทนาของหัวหน้ามดนี้ก็อมยิ้มอย่างมีความสุข พร้อมขอดุอาต่ออัลลอฮฺให้พระองค์ชี้นำเขาสู่เส้นทางอันเที่ยงตรง อย่าให้อำนาจอันล้นฟ้าที่อัลลอฮฺประทานให้เป็นสาเหตุให้เขาเหิมเกริม เย่อหยิ่งลำพองตนไปเลย

การตั้งชื่อซูเราะฮฺอันนัมลุ ซึ่งมีความหมายว่ามดนี้ ทำให้เราทราบว่า อัลกุรอานให้ความสำคัญต่อสัตว์ตัวเล็กๆนี้ได้เป็นอย่างดี และเป็นการส่งสัญญาณแก่ศรัทธาชนให้ศึกษาสัตว์ประเภทนี้ เพื่อนำเป็นอุทาหรณ์เตือนใจสำหรับการดำเนินชีวิตที่ประสบผลสำเร็จต่อไป

มดเป็นหนึ่งในสัญญาณของอัลลอฮฺที่เป็นปรากฏการณ์ (آيات الله الكونية) ในขณะที่อัลกุรอานคือสัญญาณของอัลลอฮฺที่เป็นลายลักษณ์ (آيات الله المقروءة) ดังนั้นทั้ง 2 สัญญาณนี้ไม่มีทางขัดแย้งกัน เพราะล้วนมาจากแหล่งอันเดียวกันคืออัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา

เราลองมาดูความมหัศจรรย์ของ 2 สัญญาณนี้ว่ามีความสอดคล้องกันอย่างไรบ้าง

1. อัลกุรอานได้ฟันธงว่า หัวหน้ามดที่ออกคำสั่งให้ประชากรมดหลบเข้ารังนั้นเป็นเพศเมีย (قالت نملة) ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาปัจจุบันพบว่า มดนางพญาเป็นมดที่มีอิทธิพลที่สุดเป็นเสมือนราชินีที่มีหน้าที่คอยบงการประชากรมดทั้งหมดตามที่ได้เขียนในบทความก่อนหน้านี้

2. มดมีภาษาเฉพาะที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน (قالت نملة) หมายถึง “หัวหน้ามดกล่าวว่า” ซึ่งสอดคล้องกับการค้นพบในปัจจุบันว่า สัตว์แต่ละประเภทมีภาษาเฉพาะของมัน โดยเฉพาะมดที่มีระบบสื่อสารอันยอดเยี่ยมตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

3. ประชากรมดมีบ้านประจำของมัน (مساكنكم)หมายถึง “บ้านอันมากมายของเจ้า” ซึ่งการศึกษาปัจจุบันพบว่า ประชากรมดจะอาศัยเป็นอาณาจักรใหญ่ บางชนิดมีรังต่างๆที่เชื่อมโยงติดต่อกันถึง45,000 รังทีเดียว

4. อาณาจักรมดมีอาณาบริเวณที่กว้างมาก บางชนิดคลุมเนื้อที่กว่า 2.7 ตร.กม. ซึ่งศัพท์

อัลกุรอานใช้คำว่า(وادي النمل) อันหมายถึงทุ่งหรือลานกว้างภายในอาณาจักรนี้มีห้องหับมากมายแยกเป็นสัดส่วน อาทิ ประตูเข้าชั้นนอก ประตูเข้าชั้นใน โรงเก็บอาหาร ห้องกินอาหาร ศูนย์ยามรักษาความปลอดภัย ห้องประทับราชินี ห้องวางไข่ ห้องปฐมพยาบาลลูกอ่อน ห้องฝังศพมด ห้องพักผ่อน และอื่นๆอีกมากมาย

5. อัลกุรอานยังบอกถึงความเฉลียวฉลาดของมดที่สามารถพยากรณ์เหตุการณ์ร้ายต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำโดยในอายัตนี้นางพญามดได้แจ้งให้ประชากรมดทราบถึงภยันตรายของกองทัพนบีสุลัยมานที่อาจเหยียบพวกมันโดยไม่รู้ตัว แสดงว่ามดสามารถคาดเดาเส้นทางของกองทัพนบีสุลัยมานว่า จะผ่านเส้นทางที่เป็นที่สร้างของอาณาจักรของมันได้อย่างถูกต้อง มดจึงเป็นหนึ่งในจำนวนสัตว์ที่สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ธรรมชาติได้อย่างแม่นยำ และพวกมันสามารถหามาตรการในการรับมือกับเหตุร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

6.คำว่า لا يحطمنكم سليمان وجنوده หมายถึง เผื่อว่าสุลัยมานและไพร่พลของเขาจะได้ไม่บดขยี้พวกเจ้า

คำว่า “ไม่บดขยี้” ฟังอย่างผิวเผินแล้วเหมือนกับมดแตกเป็นเสี่ยงๆ คล้ายกับการแตกของวัสดุประเภทคริสตัลหรือกระจก ทั้งๆที่มดก็เป็นสัตว์ธรรมดา ซึ่งตามความเข้าใจเบื้องต้นอาจพูดได้ว่า อัลกุรอานน่าจะใช้คำที่มีความหมายว่า “ไม่ถูกเหยียบ” มากกว่า “ไม่บดขยี้” แต่ผลจากการวิจัยพบว่า องค์ประกอบส่วนใหญ่ของมดเป็นส่วนผสมของสารเคมีที่มีลักษณะคล้ายคริสตัลหรือกระจก ดังนั้นคำที่เหมาะสมในที่นี้คือ “ไม่บดขยี้” มากกว่า

นี่คือ 6 ประการสำคัญที่อัลลอฮฺพูดถึงเกี่ยวกับมดในอายัตเดียว คืออายัตที่ 18 ของซูเราะฮฺอันนัมลุ ซึ่งอาจดูเหมือนเป็นการกล่าวที่น้อยไปหากเปรียบเทียบกับชื่อซูเราะฮฺ แต่ในเมื่ออายัตนี้เป็นของผู้ทรงรอบรู้และปรีชาญาณ นั่นหมายถึงทุกถ้อยคำที่บรรจงเลือกให้เป็นส่วนประกอบของอายัตนี้จึงเต็มสะพรั่งไปด้วยความหมายอันลึกซึ้งที่ยิ่งค้นไปเท่าไหร่ก็ยิ่งพบเจอองค์ความรู้อันมากมายมหาศาล

สำหรับผู้ศรัทธาและผู้ถวิลหาสัจธรรม อายัตเดียวก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับใช้เป็นอุทาหรณ์เตือนใจ

ก่อนจากกัน ขอตั้งคำถามที่ไม่จำเป็นต้องตอบดังนี้ครับ

– พี่น้องเคยอ่านชีวประวัติของนบีมูฮัมมัดว่า นบีเคยศึกษาเรื่องมดจากใครที่ไหนมาบ้าง หากตอบว่านบีไม่เคยศึกษาเรื่องนี้มาก่อน แล้วท่านสามารถอธิบายความลี้ลับเหล่านี้ได้อย่างไร

– ชาร์ล ดาร์วิน เคยพูดถึงมดบ้างไหม คาร์ล มาร์กซ์ เลนิน หรือ เพลโต โซเครติส หรือแม้กระทั่ง เหมา เจ๋อ ตุง เคยเขียนตำราว่าด้วยมดบ้างหรือเปล่า หากมีตำรา เนื้อหาเป็นอย่างไรบ้าง หากไม่มี แล้วบังอาจมาจัดระเบียบให้กับมนุษย์และสร้างทฤษฎีสังคมอันจอมปลอมให้มนุษย์ปฏิบัติได้อย่างไรทั้งๆที่ตนเองไม่มีความรู้แม้กระทั่งเรื่องมด

– สุดท้าย อ่านเรื่องมดแล้ว พี่น้องได้บทเรียนอะไรบ้างและมีแนวทางพัฒนาตนเองโดยใช้หลักปรัชญามดได้อย่างไร วัสสลาม

والله أعلم وهو الموفق والهادي إلى سواء السبيل


เขียนโดย Mazlan Muhammad

แหล่งอ้างอิง

http://midad.com/article/197775/الإعجاز-العلمي-للقرآن-في-النمل

https://www.masrawy.com/islameyat/others-e3gaz/details/2014/10/7/361535/معجزة-النمل-في-القرآن-الكريم

อาณาจักรมด อัศจรรย์แห่งอัลกุรอาน [ตอนที่2]

การวางผังเมือง การจัดระเบียบสังคมที่มีผู้คนอาศัยอยู่ร่วมกันตามเมืองใหญ่ๆนับล้านคน พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูปโภค เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด มนุษย์ต้องอาศัยกฎหมายและกติกาทางสังคมมาบังคับใช้ เพื่อสร้างสังคมที่สันติสุข แต่มนุษย์โดยสันดานแล้วชอบล่วงละเมิด ฝ่าฝืน เอาใจตัวเอง เอาเปรียบคนอื่น ทำงานโดยหวังกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก ส่วนความสุขสบายของคนอื่นจะเป็นเรื่องรอง ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนนับวันยิ่งห่างไกลไปทุกที เราจึงมีแต่สังคม 2 ประเภทเท่านั้นคือกลุ่มที่ไม่รู้จะกินอะไร และกลุ่มที่ไม่มีอะไรจะกิน หรือรวยกระจุก จนกระจาย จะมีน้อยคนที่ยอมเหน็ดเหนื่อยและยากลำบากเพื่อความสุขสบายของผู้อื่น หากมีคนบอกเราว่ามีสังคมมนุษย์ที่มีแต่ความเอื้ออาทร สมัครสมานสามัคคี ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น แต่ละคนทำงานเพื่อความสุขของส่วนรวม ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่อิจฉาริษยา เราจะบอกได้เลยว่านั่นเป็นสังคมในอุดมคติหรือเป็นสังคมยุคนบีและเศาะฮาบะฮฺเท่านั้น มันไม่มีทางเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน

ณ โอกาสนี้ เราขอบอกว่ายังมีชุมชนหนึ่งที่เป็นต้นแบบของการเสียสละ ความร่วมมือ ความสมานสามัคคี ความขยัน ไม่ย่อท้อและไม่เบื่อหน่าย รักและห่วงแหนสถาบัน ยอมปกป้องสถาบันแม้ต้องแลกด้วยชีวิตก็ตาม แต่ที่น่าพิศวงอย่างยิ่งคือสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะด้วยการบังคับทางกฎหมายใดๆ แต่เป็นความสมัครใจของบรรดาสมาชิก มันคืออาณาจักรมดนั่นเองครับ

สังคมมดอาศัยอยู่เป็นแสนๆตัว บางชนิดเป็นล้านตัว แต่ละตัวในสมาชิกต่างรับผิดชอบต่อหน้าที่และบทบาทของตนอย่างขยันขันแข็ง ทุกตัวต้องทำงานเพื่อรักษาอาณาจักรของตน ในสังคมนี้จะไม่มีผู้อดอยาก ไม่มีผู้ขัดสนแม้แต่ตัวเดียว พวกมันรู้จักแบ่งปันอาหารแม้กระทั่งน้ำดื่มเพียงหยดเดียว ไม่มีตัวไหนที่คอยเอาเปรียบเพื่อน กินแรงเพื่อนหรือเอาแต่ได้ ในชุมชนของมันไม่มีผู้ร้ายแม้แต่ตัวเดียว แต่ละตัวทำหน้าที่อย่างขยันขันแข็งตลอด 24 ชม. สังคมมดจึงเป็นสังคมแห่งความเอื้ออาทรที่เป็นความน่าทึ่งของพระผู้ทรงสร้างอย่างแท้จริง

เราเคยสังเกตจังหวะเดินของมดบ้างไหม มีช่วงไหนบ้างที่มันเดินอย่างเลื่อนลอย ไร้จุดหมาย หรือเดินแบบคนคอตกที่หมดอาลัยตายอยากกับชีวิต เราไม่เคยเจอเลย แต่ละตัวมีแต่ความมุ่งมั่น กระฉับกระเฉงและใฝ่หาตลอดเวลา ไม่เชื่อพี่น้องลองสังเกตดู

ในป่าทึบแห่งหนึ่งในประเทศออสเตรเลีย มีมดพันธุ์หนึ่ง เรียกว่า มดจักรเย็บ เพราะมันจะสร้างอาณาจักรโดยการถักทอใบไม้และมาตัดต่อเป็นรังด้วยกรรมวิธีทางเคมีที่แปลกประหลาดมาก

มดบางประเภทในป่าอะเมซอน รู้จักทำเกษตรเพื่อตุนเป็นอาหารยามคับขันหรือยามข้าวยากหมากแพง (มดคงไม่กินหมากน่ะครับ)ให้แก่ประชากรในอาณาจักรของมัน โดยเริ่มจากการตัดใบไม้และกิ่งก้านพร้อมลำเลียงเข้าไปในอาณาจักร มันจะทำงานหนักอย่างนี้ตลอดเวลา 24 ชม. การลำเลียงใบไม้ในลักษณะนี้ เสมือนที่ชายคนหนึ่งแบกของน้ำหนัก 250 กก. แล้ววิ่งด้วยความเร็ว 1.5 กม./ชั่วโมง โดยไม่หยุดพัก พวกมันสร้างถนนเส้นต่างๆ เพื่อความสะดวกในการลำเลียงของงานบรรทุก และสิ่งที่น่าทึ่งมากกว่านี้ คือ จะมีฝ่ายซ่อมแซมถนนหรือฝ่ายขจัดสิ่งกีดขวางตามถนนเพื่อให้การลำเลียงดำเนินไปอย่างสะดวกที่สุด(ไม่สะดุดกิ่งไม้จนหัวคะมำได้) บางส่วนก็ทำหน้าที่เป็นสะพานมีชีวิตให้บรรดานักลำเลียงสามารถส่งของตามเวลาและจำนวนที่กำหนดโดยการร้อยเรียงจับตัวกันเป็นสะพานให้เพื่อนข้ามอย่างสะดวก นับเป็นภาพแห่งความเสียสละที่หาไม่ได้อีกแล้ว มดลำเลียงเหล่านี้มีจำนวนประมาณ 500,000 ตัว ทำงานไม่หยุดหย่อนตลอด 24 ชม. โดยไม่รู้จักคำว่าย่อท้อและเบื่อหน่าย

มนุษย์ตัดต้นไม้โดยใช้เครื่องจักรช่วย แต่มดพันธุ์นี้จะตัดด้วยอวัยวะของมันที่ทำหน้าที่เสมือนเลื่อยที่มีประสิทธิภาพที่สุด และเพื่อให้การตัดใบไม้ดำเนินไปอย่างสะดวก เลื่อยของมันจะปล่อยน้ำมันหล่อลื่นตลอดเวลา

มดจะสร้างอาณาจักรภายในรังของมัน พวกมันจะใช้ใบไม้เหล่านี้เข้าไปในรังเพื่อจัดทำสวนเฉพาะ หลังจากมดลำเลียงมอบใบไม้ แก่มดเกษตรแล้ว จะมีอีกกลุ่มหนึ่งทำหน้าที่ในการฆ่าเชื้อใบไม้ มันจะทำความสะอาดใบไม้จนกระทั่งมั่นใจว่าปลอดจากสารพิษต่างๆที่อาจติดอยู่กับใบไม้ จากนั้นมดเกษตรก็เริ่มทำสวนด้วยกรรมวิธีที่น่าทึ่งยิ่ง จากนั้นเยื่อใยที่ไม่มีประโยชน์ก็จะถูกขนย้ายออกจากรังเพื่อเป็นการทำความสะอาดรังครั้งใหญ่ (Big Cleaning Day)

มดทหารจะทำหน้าที่ปกป้องอาณาจักรแม้นต้องแลกด้วยชีวิต นับเป็นการเสียสละที่เกินบรรยายจริงๆ

หากเราสังเกตที่มดลำเลียงใบไม้ จะพบว่ามีมดตัวหนึ่งที่ประจำการเกาะติดใบไม้เพื่อทำหน้าที่อารักขาจากการจู่โจมทางอากาศที่อาจเกิดขึ้นทุกเมื่อ มันทำหน้าที่คล้ายทหารอารักขาความปลอดภัยของคาราวานกองทัพที่ลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ มดอารักขานี้จะทำหน้าที่อารักขาใบไม้อย่างกล้าหาญแม้ต้องแลกด้วยชีวิตก็ตาม

ความสลับซับซ้อนของอาณาจักรมดในลักษณะนี้เป็นสิ่งยืนยันถึงการมีอยู่ของพระผู้ทรงสร้าง เพราะเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งเหล่านี้จะเกิดโดยการบังเอิญ ตามความหลอกลวงของทฤษฎีวิวัฒนาการที่อุตริโดยชาร์ล ดาร์วิน

ต่อภาค [3]


เขียนโดย Mazlan Muhammad

อาณาจักรมด อัศจรรย์แห่งอัลกุรอาน [ตอนที่ 1]

มดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มีมากกว่า 12,000 ชนิด คาดกันว่ามีประชากรมดในโลกนี้จำนวนกว่า 1 พันล้านล้านตัว อาณาจักรมดที่ใหญ่ที่สุดที่ค้นพบคือที่บริเวณลุ่มแม่น้ำ Ishikari รัฐ Hokkaido ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีประชากรมดอาศัยอยู่ในอาณาจักรนี้จำนวน 306 ล้านตัว มีนางพญามดถึง 1 ล้านตัว อาศัยอยู่ในรังต่างๆที่เชื่อมโยงติดต่อกันถึง 45,000 รัง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2.7 ตร.กม. มดบางชนิดสามารถขุดดินทำรังได้ลึกถึง 8 เมตร กว้าง 7 เมตร ขนดินทิ้งข้างนอกด้วยปริมาณดินที่มีน้ำหนักกว่า 40 ตัน

การสร้างอาณาจักรมดในลักษณะนี้ แสดงว่ามดเป็นแมลงสัตว์สังคม (Social Insect) คือมักทำรังไปในทิศทางเดียวกัน ในแต่ละรังก็มีการแบ่งวรรณะอย่างชัดเจน ประกอบด้วย

1) มดนางพญา ผู้เป็นราชินี ไม่ทำงานอะไรทั้งสิ้น อยู่ติดรัง คอยออกไข่ตามจำนวนที่รังต้องการ

2) มดลูกตัวเมียมีปีก สืบพันธุ์ได้ รับภาระใหญ่คือสืบพันธุ์ของรังต่อไป

3) มดตัวเมียไม่มีปีก เป็นหมัน มีชื่ออื่นว่ามดงาน คือทำทุกอย่างตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ดูแลไข่และบริบาลตัวอ่อน ปรนนิบัติราชินี หาอาหาร ทำความสะอาดรัง ลำเลียงศพมดตัวผู้ที่ตายในรัง เป็นทหารป้องกันอันตรายซึ่งจะมีตัวกำยำกว่ามดอื่นๆ มีการแบ่งงานทำหน้าที่อย่างมีระบบตามอายุขัย มดบางพันธุ์มีหน้าที่เป็นเกษตรกรปลูกไร่นาในรังผลิตอาหารให้กับประชากรมด ซึ่งมดงานที่มีตำแหน่ง สว.(สูงวัย) จะทำหน้าที่หาอาหารจากภายนอกรังในฐานะผู้มากประสบการณ์ ดังนั้นมดที่เรามักเจอเพ่นพ่านตามที่ต่างๆ น่าจะเป็นมดไม้ใกล้ฝั่ง จวนเจียนจะตายตามอายุขัย แต่ก็ยังปฏิบัติหน้าที่ด้วยความภูมิใจ และ

4) มดตัวผู้ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย มีอายุสั้นที่สุดในจำนวนประชากรมดทั้งหลาย มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับนางพญาเพียงครั้งเดียว แล้วก็ตายจากไปอย่างไร้ศักดิ์ศรีที่สุด

นางพญามดเป็นผู้มีอิทธิพลสูงสุด มีหน้าที่วางไข่และควบคุมจำนวนประชากรมดในฐานะผู้ให้กำเนิดประชากรมดในอาณาจักรของตน เป็นศูนย์บัญชาการควบคุมทิศทางของรัง เมื่อใดที่มดนางพญาตาย เมื่อนั้น หมายถึงอวสานของประชากรมดทั้งรัง จะกลายเป็นรังร้าง เพราะมดงานจะกระจัดกระจายไปที่อื่นเหมือนบ้านแตกสาแหรกขาด เพราะฉะนั้น ประชากรมดจึงให้ความสำคัญและทะนุถนอมมดนางพญามาก มดนางพญาจึงมีอายุยาวนานที่สุด บางพันธุ์มีอายุ 5 ปี แต่บางชนิดอายุยืนถึง 25 ปีทีเดียว

มดมีความสามารถสื่อสารระหว่างกันได้อย่างน่าทึ่งด้วยการปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า “ฟิโรโมน”ออกจากนอกกายแทรกผ่านเข้าไปในร่างกายของมดตัวอื่นๆนับล้านตัว ด้วยใช้ระบบนี้ มดนับล้านตัวจะร้องอุทาน ร้องไห้หรือดีใจพร้อมกันนับล้านตัวได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งถือเป็นการสื่อสารด้วยระบบไฮเทคก้าวล้ำเป็นอย่างยิ่ง

มดมีพลังอันมหาศาล และน่าเป็นสัตว์ที่มีพละกำลังที่แข็งแรงที่สุดในโลก เพราะมันสามารถยกสิ่งของที่หนักกว่าน้ำหนักของตัวมันถึง 20 เท่า ในขณะที่แชมป์ยกน้ำหนักระดับโอลิมปิกสามารถยกน้ำหนักไม่เกิน 5 เท่าของน้ำหนักตนเองเท่านั้น

นี่คือเสี้ยวหนึ่งของความมหัศจรรย์ของมดที่ถูกค้นพบโดยมนุษย์ยุคเทคโนโลยีในปัจจุบัน

หากมีคนบอกท่านผู้อ่านว่า กว่า 1,400 ปีมาแล้ว มีหนังสือเล่มหนึ่งที่ประกาศโดยชายคนหนึ่งที่ไม่มีการศึกษา ไม่เคยศึกษาจากใครที่ไหนมาก่อน แถมยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้อีกต่างหาก ที่สำคัญไม่มีการบันทึกในประวัติส่วนตัวของชายคนนี้ว่าท่านมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องมด แต่แล้วในหนังสือเล่มนี้พูดถึงเรื่องมดได้อย่างน่าทึ่งทั้งความลี้ลับในสาระเนื้อหาและความถูกต้องตามหลักวิชาการที่ค้นพบในปัจจุบัน ท่านจะเชื่อไหม อะไรคือข้อพิสูจน์ และจะพิสูจน์กันอย่างไร


เขียนโดย Mazlan Muhammad

อ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/มด

จุดยืนของพวกเขาที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

เมื่อฉันได้ยินคำประกาศของผู้นำและบรรดานักการเมืองฝรั่งเศส ที่ไม่แยแสกรณีการบอยคอตสินค้าโดยชาวมุสลิมทั่วโลก เพื่อเป็นการประท้วงรัฐบาลฝรั่งเศสที่สนับสนุนการเผยแพร่ภาพการ์ตูนดูหมิ่นนบีมูฮัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ซึ่งพวกเขาได้ยืนยันว่า “เราจะไม่ยอมก้มหัวกับการข่มขู่เหล่านี้และเราไม่มีวันละทิ้งจุดยืนของเรา

ทำให้ฉันนึกถึงคำยืนยันของชาวอวิชชายุคแรกที่อัลกุรอานได้เล่า (ความว่า)

“และพวกหัวหน้าของพวกเขาพากันออกไป (พลางกล่าวว่า) “จงก้าวหน้าต่อไปและอดทน ในการยึดมั่นต่อบรรดาพระเจ้าของพวกท่านต่อไป! แท้จริงเป็นเรื่องที่ถูกวางแผนไว้แล้ว” (ศอด/6)

ใช่ซิ จุดยืนของพวกท่านเป็นเหตุให้เด็กแรกเกิดจำนวน 60 % กลายเป็นลูกนอกสมรส

จุดยืนของพวกท่าน ได้ทำให้สตรีถูกกระทำชำเราในทุกๆ 7 นาที จนทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงเพื่อปกป้องสตรีมาหลายครั้งหลายหน

จุดยืนของพวกท่าน เป็นเหตุให้ในทุกๆ 3 วัน จะมีสุภาพสตรีชาวฝรั่งเศสถูกฆาตกรรมโดยสามี เพื่อนชายหรือคู่ชีวิตของนาง

จุดยืนของพวกท่าน ทำให้สตรีถูกล่วงละเมิดทางเพศบนขนส่งสาธารณะ ที่แม้กระทั่งหน่วยงานสิทธิสตรีของฝรั่งเศสก็ออกมายอมรับ

จุดยืนของพวกท่าน เป็นเหตุให้สถาบันทางครอบครัวล่มสลาย และทำให้ฝรั่งเศสออกกฎหมายห้ามบุตรบุญธรรมเรียกผู้อุปการะซึ่งเป็นคู่ชีวิตร่วมเพศว่า พ่อหรือแม่ แต่บัญญัติให้เรียกว่า พ่อคนที่1 และพ่อคนที่ 2 แทน

จุดยีนของพวกท่าน ได้ทำให้พวกท่านสร้างสุสานแห่งปารีสที่อัดแน่นด้วยกระดูกและหัวกะโหลกหลายล้านชิ้น จากร่างไร้วิญญาณกว่า 6 ล้านชีวิต เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์สุดสยองให้แขกมาเชยชมด้วยความภาคภูมิใจ

จุดยืนของพวกท่าน ได้จับขังชาวแอฟริกา ยัดเข้าในสวนสัตว์มนุษย์ แล้วเชิญชวนทุกคนมาชมเหมือนดูสัตว์ประหลาดภายใต้ชื่ออันสวยหรูว่า นิทรรศการทางชาติพันธุ์ แต่ในความเป็นจริงคือความอัปยศของการเหยียดผิวที่รุนแรงที่สุดที่สร้างโดยอารยธรรมชาติตะวันตก

จุดยืนของพวกท่าน ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการปล้นสะดมความร่ำรวยของชาวแอฟริกา แล้วปล่อยให้พวกเขาเป็นชาติที่ยากจนที่สุดในโลก ใช้ชีวิตอย่างหิวโหย อดตายอย่างทรมาน

ด้วยทัศนคติอันบิดเบี้ยวของพวกท่านที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเช่นนี้ พวกท่านยังกล้ามาสอนอิสลามให้แก่เราอีกหรือ

แล้วยังมีหน้ามาบอกว่า อิสลามคือก่อการร้าย


โดย Mazlan Muhammad

ประชาธิปไตยหลุดพ้นจากอิสลามหรือไม่ ? [ตอนที่ 4]

โดย ชีคดร. ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวีย์

อดีตประธานสหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ [ International Union for Muslim Scholars-IUMS  ] และประธานสภาฟัตวาและการวิจัยแห่งยุโรป [ European Council for Fatwa]

จุดเด่นของระบอบประชาธิปไตย

จุดเด่นของระบอบประชาธิปไตยคือ เป็นการค้นพบสูตรและวิธีการที่ถือเป็นหลักประกันที่ดีที่สุดในการปกป้องประชาชนจากการกดขี่ของเหล่าจักรพรรดิและกษัตริย์ทรราช หลังการต่อสู้อันยาวนานเพื่อให้ได้มาสิ่งนี้

ไม่มีข้อห้ามสำหรับมนุษยชาติ นักคิดและผู้นำในการคิดหาสูตรและวิธีการอื่น ๆ ที่อาจนำไปสู่สิ่งที่สมบูรณ์และเป็นอุดมคติมากกว่านี้ แต่จนกว่าสิ่งนี้จะเป็นไปได้และประสบความสำเร็จในความเป็นจริง เราคิดว่าจำเป็นต้องอ้างอิงจากวิธีการของประชาธิปไตยในการบรรลุสู่ความยุติธรรม การปรึกษาหารือการเคารพสิทธิมนุษยชน ในการเผชิญกับการกดขี่ข่มเหงของทรราชในโลกนี้

ในบรรดากฎชะรีอะห์ดังกล่าวได้แก่

– สิ่งที่สิ่งวายิบ(ข้อบังคับ)ไม่อาจบรรลุผลได้โดยไม่มีสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็ถือสิ่งวายิบ(ข้อบังคับ)

– วัตถุประสงค์ใดๆ ทางกฎหมายที่ไม่อาจสัมฤทธิ์ผลได้นอกจากด้วยเหตุปัจจัยใดๆ ปัจจัยดังกล่าวก็จะมีสถานะเดียวกับเป้าหมาย 

ศาสนาอิสลามไม่ห้ามอ้างอิงความคิดเชิงทฤษฎีหรือวิธีการแก้ปัญหาที่ใช้ได้จริงจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม  เพราะศาสดา – ขอพระเจ้าอวยพรและมอบสันติสุขให้ท่าน – รับแนวคิด“ ขุดร่องลึก” ในช่วงสงครามอะห์ซาบ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งของเปอร์เซีย

และท่านใช้ประโยชน์จากนักเชลยศึกในสงครามบัดร์ เพื่อสอนหนังสือให้แก่เด็กๆที่ไม่รู้วิธีอ่านและเขียน

เพราะสติปัญญาเป็นสิ่งของที่ผู้ศรัทธาที่ทำหล่นหายไป หากเขาพบมันที่ใด เขาก็มีสิทธิได้รับเป็นเจ้าของมากกว่าผู้อื่น

ข้าพเจ้าได้ระบุไว้ในหนังสือบางเล่มว่า เป็นสิทธิ์ของเราที่จะอ้างแนวคิดและวิธีการที่เป็นประโยชน์ต่อเราจากผู้อื่น ตราบใดที่ไม่ขัดแย้งกับหลักการที่ชัดเจน หรือกฎชะรีอะฮฺที่ตายตัว

เราต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เรานำมาอ้างอิง และเติมเต็มจิตวิญญาณที่จะทำให้สิ่งที่นำมานั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรา และทำให้สิ่งนั้นเสียอัตลักษณ์แรกไป

การเลือกตั้งถือเป็นการทำหน้าที่เป็นพยานลักษณะหนึ่ง

ระบบการเลือกตั้งหรือระบบการลงคะแนน ในมุมมองของศาสนาอิสลาม ก็คือ “การทำหน้าที่เป็นพยาน” ของความถูกต้องเหมาะสมของผู้สมัคร

คุณสมบัติของ “เจ้าของคะแนนเสียง” จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของพยาน คือจะต้องมีความยุติธรรมและประพฤติดี ดังที่อัลลอฮ์ผู้ทรงอำนาจกล่าวว่า

وأشهدوا ذوي عدل منكم

“และจงให้พวกท่านผู้ที่มีความยุติธรรม จำนวน 2 คน เป็นพยาน” (อัลกุรอาน : อัตตอล้าก-การหย่าร้าง: 2)

ممن ترضون من الشهداء

 “จากบรรดาผู้ที่พวกท่านยอมรับในหมู่พยาน”  (Al-Baqarah: 282)

ดังนั้น ใครก็ตามที่เป็นพยานโดยทุจริต ก็ถือว่าได้กระทำการเป็นพยานเท็จ ซึ่งอัลกุรอานได้เชื่อมโยงกับการตั้งภาคีต่อพระเจ้า โดยกล่าวว่า

فاجتنبوا الرجس من الأوثان واجتنبوا قول الزور

 “ดังนั้นจงหลีกเลี่ยงสิ่งที่น่ารังเกียจจากบรรดารูปเคารพและหลีกเลี่ยงคำพูดเท็จ (อัลฮัจญ์: 30)

 ดังนั้น ใครก็ตามที่เป็นพยานให้ผู้สมัครเพียงเพราะเขาเป็นญาติหรือคนในท้องถิ่นของตน หรือเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวที่แสวงหาจากผู้สมัคร แสดงว่าเขาได้ฝ่าฝืนคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงอำนาจ ที่บัญชาว่า

وأقيموا الشهادة لله

“และจงเป็นพยานเพื่ออัลลอฮ์” (อัลกุรอาน : อัตตอล้าก-: 2)

และผู้ใดที่ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้งของตน จนเป็นเหตุทำให้คนดีมีความสามารถสอบตก และผู้ไม่สมควรหรือเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามบทบัญญัติอิสลามที่ว่าต้องเป็น”คนเก่งและดี” กลายเป็นผู้พ่ายแพ้ ถือว่าเขามีความผิดฐานปกปิดการให้การเป็นพยาน ในเรื่องที่มีความจำเป็นต่อสังคมมากที่สุด

และผู้ทรงอำนาจตรัสว่า:

ولايأب الشهداء إذا ما دعوا

 “และพยานจะไม่ปฏิเสธหากพวกเขาถูกร้องขอ” (Al-Baqarah: 282)

ولا تكتموا الشهادة ومن يكتمها فإنه آثم قلبه

 “และอย่าปิดบังพยานหลักฐาน และผู้ใดปกปิดมัน ถือว่าเขาเป็นคนใจบาป” (Al-Baqarah: 283)

คุณสมบัติและเงื่อนไขอื่นๆ ของผู้สมัครก็เช่นเดียวกัน ถือเป็นคุณสมบัติที่ควรให้ความสำคัญยิ่งกว่า 

เมื่อรวมถึงเงื่อนไขและแนวทางเหล่านี้ในระบบการเลือกตั้งแล้ว เราจึงถือว่า การเลือกตั้งเป็นระบบอิสลาม แม้ว่าจะมีการนำมาจากผู้อื่นก็ตาม

ระหว่างอำนาจอธิปไตยของประชาชน และอำนาจอธิปไตยของอัลลอฮ์

สิ่งที่เราต้องการมุ่งเน้น ณ ที่นี่คือสิ่งที่เราได้กล่าวไว้ในตอนต้นซึ่งก็คือ : แก่นแท้ของประชาธิปไตยสอดคล้องกับแก่นแท้ของศาสนาอิสลามอย่างแน่นอน  หากเราอ้างอิงแหล่งที่มาดั้งเดิมของอิสลาม และนำมาจากแหล่งที่มาอันบริสุทธิ์ ได้แก่ อัลกุรอานและซุนนะห์ และผลงานของบรรดาคอลีฟะฮ์ผู้อาวุโสไม่ใช่จากประวัติศาสตร์ของผู้นำมุสลิม  ความอยุติธรรมกษัตริย์ทรราช หรือจากฟัตวาของนักปราชญ์ของสุลต่าน หรือกัลยาณชนผู้ไม่ศึกษาในศาสตร์อย่างลึกซึ้งถ่องแท้

คำพูดที่กล่าวว่า : ประชาธิปไตยหมายถึงการปกครองประชาชนโดยประชาชน  เป็นการขัดแย้งกับหลักการที่ว่า “อำนาจเป็นของอัลลอฮ์”  ถือว่าเป็นคำพูดที่ไม่มีเหตุผลรองรับ เพราะไม่จำเป็นสำหรับผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยว่า จะต้องปฏิเสธอำนาจของพระเจ้าเหนือมวลมนุษย์ เนื่องจากผู้ที่สนับสนุนประชาธิปไตยส่วนใหญ่ไม่ได้คิดถึงสิ่งนี้ แต่สิ่งที่พวกเขาหมายถึงอย่างกระตือรือร้นคือ การปฏิเสธการปกครองแบบเผด็จการ  การปฏิเสธการปกครองของผู้นำทรราชที่อ้างประชาชนมากกว่า

ระบอบประชาธิปไตยที่คนเหล่านี้หมายถึง เป็นเรื่องที่ประชาชนเลือกผู้ปกครองตามที่พวกเขาต้องการ โดยให้มีการตรวจสอบการกระทำของผู้ปกครองเหล่านั้น  รวมถึงปฏิเสธคำสั่งของผู้นำหากพวกเขาละเมิดรัฐธรรมนูญของประเทศ  ที่ในวลีของอิสลามเรียกว่า  “การปฏิเสธคำสั่งหากผู้นำสั่งให้ทำบาป” และมีสิทธิ์ถอดถอนพวกเขา ออกหากพวกเขาเบี่ยงเบนและไม่ยุติธรรม  และไม่ตอบรับคำแนะนำหรือคำเตือน

หลักการของ “อัลหุกม์ ลิลลาฮ์-อำนาจอธิปไตยเป็นของอัลลอฮ์” หมายความว่าอะไร ?

ข้าพเจ้าอยากจะย้ำเตือนก่อน ณ ตรงนี้ว่า หลักการ “อัลหุกม์ ลิลลาฮ์-อำนาจอธิปไตยเป็นของอัลลอฮ์” เป็นหลักการของศาสนาอิสลามที่แท้จริง  ที่นักวิชาการด้านอุศูลุลฟิกฮ์ – ศาสตร์ว่าด้วยการวินิจฉัยบทบัญญัติอิสลาม – ทั้งหมดต่างยอมรับหลักการนี้ ในการอภิปรายเกี่ยวกับ “บทบัญญัติกฎหมายอิสลาม-หุกุ่มชัรอีย์” และในกรณีอภิปรายเกี่ยวกับ “ผู้ปกครอง” พวกเขาเห็นพ้องกันว่า“ ผู้ปกครอง” คือพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพ  และศาสดาเป็นผู้สื่อสารของพระเจ้า  โดยที่อัลลอฮ์ผู้ทรงฤทธานุภาพเป็นผู้สั่งใช้ และผู้สั่งห้าม อนุญาตและไม่อนุญาต ตลอดจนบัญญัติกฎเกณฑ์ต่างๆ

และคำกล่าวของกลุ่มคอวาริจญ์-กลุ่มกบฏในยุคคอลีฟะฮ์แรกๆ- ที่ว่า  “ลาหุกม์ อิลลา ลิลลาฮ์-ไม่มีอำนาจปกครองใด ยกเว้นเป็นสิทธิสำหรับพระเจ้าเท่านั้น ” เป็นคำกล่าวที่ถูกต้องในตัวของมันเอง แต่สิ่งที่ไม่ถูกต้องคือการใช้ผิดที่ผิดทาง  โดยที่พวกเขาใช้เพื่อปฏิเสธคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการที่เป็นมนุษย์ในข้อพิพาท ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดแย้งกับบทบัญญัติของอัลกุรอานที่ยอมรับการอนุญาโตตุลาการในหลายๆที่ 

หนึ่งในสิ่งที่ทราบกันดีที่สุดคือ กรณีอนุญาโตตุลาการระหว่างคู่สมรสหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างพวกเขา

นั่นคือเหตุผลที่ท่านคอลีฟะฮ์อาลีผู้ซื่อสัตย์ – ขอให้พระเจ้าพอใจกับเขา – ตอบโต้ต่อชาวคาริจโดยกล่าวว่า “คำพูดแห่งความจริง แต่ใช้เพื่อสนองความเท็จ” ท่านอาลีตำหนิที่พวกเขาใช้หลักการนี้ไปคัดค้านหลักการอื่นของอัลลอฮ์ ( หมายถึง กรณีอนุญาโตตุลาการที่ท่านอาลีทำกับท่านมุอาวียะฮ์ เพื่อยุติข้อพิพาท แตคอวาริจญ์ไม่ยอมรับ – ผู้แปล )

จะไม่ใช่คำพูดแห่งความจริงได้อย่างไร เพราะหลักการนี้นำมาจากคัมภีร์อัลกุรอานที่ชัดเจน  อัลลอฮ์กล่าวว่า

إن الحكم إلا لله

“ไม่มีการพิพากษา/ปกครอง นอกจากมีไว้เพื่ออัลลอฮ์เท่านั้น” (ยูซุฟ : 40)

 ดังนั้น การปกครองของพระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์เหนือมนุษย์นั้นเป็นความจริงแท้แน่นอน และแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1 – อำนาจปกครองจักรวาล ซึ่งหมายความว่า พระเจ้าทรงเป็นผู้จัดการบริหารจักรวาล ผู้บริหารกิจการของพระองค์ ซึ่งเป็นไปตามลิขิตของพระองค์  ตามกฎเกณฑ์ที่ไม่มีผันแปร ไม่ว่าเป็นสิ่งที่รู้และไม่รู้  ดังเช่นในคำพูดนั้นพระผู้ทรงฤทธานุภาพว่า

أو لم يروا أنا نأتي الأرض ننقصها من أطرافها والله يحكم لا معقب لحكمه وهو سريع الحساب

“หรือพวกเขาไม่เห็นว่าเรามาถึงโลกที่เราลดหลั่นมันลงมาจากชายขอบ และอัลลอฮ์ทรงปกครอง และไม่มีการปกครองหลังจากการปกครองของพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ตัดสินอย่างรวดเร็ว” ( อัรเราะด์ : 41)

สิ่งที่ปรากฎมาในความเข้าใจทันทีคือ การปกครองในที่นี้หมายถึง การปกครองในเชิงบริหารจัดการจักรวาล ไม่ใช่การปกครองในเชิงนิติบัญญัติในเรื่องกฎหมาย

2- การกำกับดูแลด้านกฎหมายเชิงบทบัญญัติ  ซึ่งเป็นอำนาจปกครองด้วยงานคำสั่งใช้และข้อห้าม ข้อผูกมัดและการใช้สิทธิเลือก  และเป็นสิ่งที่ปรากฏในคำสั่งที่พระเจ้าส่งผู้ส่งสารมา และพระองค์ทรงส่งคัมภีร์มา เพื่อใช้การกำหนดภาระหน้าที่ ข้ออนุญาตและข้อต้องห้าม .. สิ่งนี้ไม่ได้ถูกปฏิเสธโดยมุสลิมที่ยอมรับอัลลอฮ์ในฐานะองค์พระผู้เป็นเจ้า และอิสลามเป็นศาสนา และมูฮัมหมัด – ขอพระเจ้าอวยพรเขาและประทานสันติสุขแก่เขา – เป็นศาสดาและศาสนทูต

[*** ซึ่งหมายถึง การวินิจฉัยบทบัญญัติศาสนาต่อกรณีต่างๆ ก็ถือเป็นกระทำของมนุษย์ แต่ทุกฝ่ายล้วนยอมรับ ไม่มีใครปฏิเสธว่าทำไม่ได้ แต่พอจะใช้หลักการเรื่องอนุญาโตตุลาการ กลุ่มคอวาริจญ์กลับอ้างว่า เป็นการตัดสิน/พิพากษาของมนุษย์ ขัดแย้งกับอัลกุรอานที่ยอมรับหลักอนุญาโตตุลาการ – ผู้แปล   ]

มุสลิมที่เรียกร้องประชาธิปไตย เป็นเพียงการเรียกร้องโดยถือว่ารูปแบบหนึ่งของการปกครองโดยใช้หลักการทางการเมืองของศาสนาอิสลามในการเลือกผู้ปกครอง การนำหลักการชูรอ-การปรึกษาหารือและคำแนะนำ การกำชับในสิ่งที่ดีและห้ามมิให้ทำสิ่งที่ผิด  ต่อต้านความอยุติธรรมและปฏิเสธการละเมิดฝ่าฝืนบทบัญญัติศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการ “ไม่เชื่ออย่างชัดเจน” ตามหลักการที่พิสูจน์ได้

สิ่งที่ยืนยันสิ่งนี้คือ : รัฐธรรมนูญระบุ – ในขณะที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย – ว่า ศาสนาของรัฐคือศาสนาอิสลาม และกฎหมายอิสลามเป็นที่มาของกฎหมาย และนี่คือการยืนยันอำนาจอธิปไตยของพระเจ้า  นั่นคือหลักนิติธรรมของพระองค์และวจนของอัลลอฮ์มีสถานะสูงสุด เป็นไปได้ที่จะเพิ่มมาตราที่ชัดเจนในรัฐธรรมนูญว่า กฎหมายหรือระบบทุกระบบ ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดของชะรีอะฮ์ถือว่าเป็นโมฆะ  ดังนั้นจึงไม่จำเป็นสำหรับการเรียกร้องประชาธิปไตยว่า จะต้องเป็นการปกครองของประชาชนแทนที่การปกครองของพระเจ้า เนื่องจากไม่มีความขัดแย้งระหว่างกัน

และหากสิ่งนั้นจำเป็นในข้อกำหนดของระบอบประชาธิปไตยคำกล่าวที่ถูกต้องของผู้ตรวจสอบในหมู่นักวิชาการของศาสนาอิสลาม: หลักคำสอนนั้นจำเป็นไม่ใช่หลักคำสอนและไม่อนุญาตให้ผู้คนปฏิเสธศรัทธาหรือปฏิเสธศรัทธาโดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของหลักคำสอนของพวกเขาพวกเขาอาจไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้และพวกเขาอาจไม่ได้คิดถึงพวกเขาเลย

ถึงกระนั้น แม้ว่าบางครั้ง ระบอบประชาธิปไตยจะมีเจตนาให้มนุษย์มีอำนาจปกครองเหนือศาสนา แต่ทัศนะที่ถูกต้องของนักวิชาการอิสลามเห็นว่า  องค์ประกอบทุกอย่างของแนวคิดสำนักหนึ่ง ไม่จำเป็นจะต้องครบถ้วนสมบูรณ์เสมอไป  ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ตีตราว่า ผู้ที่ถือแนวคิดของสำนักใดๆ หลุดพ้นจากศาสนาอิสลามเพียงแค่ยึดถือแนวคิดของสำนักนั้น เพราะบางครั้งผู้ที่ยึดถือแนวคิดนั้น อาจไม่ยึดถือตามทั้งหมด บางครั้งอาจไม่คาดคิดด้วยซ้ำไป


แปลสรุปโดย Ghazali Benmad

ความสัมพันธ์ระหว่างอิควานกับรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย จากอดีตที่แน่นแฟ้นกับปัจจุบันที่ขาดสะบั้น (ตอนที่ 1)

นักวิเคราะห์การเมืองตะวันออกกลางให้ข้อสังเกตว่า เค้าลางแห่งความสัมพันธ์อันร้าวลึกระหว่างซาอุดิอาระเบียกับกลุ่มอิควาน เริ่มปรากฏเป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจน หลังจากการครองอำนาจของกษัตริย์ซัลมาน บินอับดุลอาซิส ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางท่านถือว่าเป็นยุคล้างบางกลุ่มอิควานทีเดียว โดยเฉพาะหลังคำแถลงการณ์ ของอะมีรสะอูด ฟัยศอล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี 2015 ที่ระบุว่า “เราไม่มีปัญหากับกลุ่มอิควาน แต่เรามีปัญหากับคนบางคนในองค์กรนี้ ที่ร่วมให้คำสัตยาบัน (บัยอะฮ์)ผู้นำสูงสุด (มุรชิด)ของพวกเขา” ซึ่งหลังจาก คำแถลงการณ์นี้ผ่านไปเพียง 1 ปี กลุ่มอิควานก็ถูกซาอุดิอาระเบียประกาศเป็นองค์กรก่อการร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายหลังมกุฎราชกุมารมูฮัมมัด บินซัลมาน ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า ห้วงเวลาฮันนี่มูนระหว่างกลุ่มอิควานกับซาอุดิอาระเบียได้สิ้นสุดแล้ว

“เราทุกคนคืออิควาน” นี่คือพระราชดำรัสของกษัตริย์อับดุลอาซิส อาละซาอูด ผู้สถาปนาประเทศซาอุดีอาระเบียที่มีต่อหะซัน อันบันนา หลังจากผู้ก่อตั้งอิควานคนนี้ขออนุญาตจัดตั้งสาขาย่อยกลุ่มอิควานที่ซาอุดิอาระเบีย หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย กับกลุ่มอิควานมีความแน่นแฟ้นตามลำดับ สี่อของซาอุดิอาระเบียทุกแขนงได้นำเสนอข่าวการมาเยือนซาอุดิอาระเบียของหะซัน อัลบันนา ช่วงประกอบพิธีฮัจญ์ปี 1936 อย่างล้นหลาม หนังสือพิมพ์ อุมมุลกุรอ ซึ่งเป็นสื่อกระแสหลักสมัยนั้น พาดหัวข้อข่าวหน้า 1 ว่า “ยินดีต้อนรับหะซัน อัลบันนา”

หลังจากถูกรัฐบาลอียิปต์ประกาศยุบองค์กรอิควานในปี 1948 หะซัน อัลบันนาได้รับเชิญจากรัฐบาลซาอุดีอาระเบียให้ลี้ภัยไปยังแผ่นดินหะรอมัยน์ แต่หลังจากนั้นไม่นาน หะซัน อัลบันนาถูกลอบสังหารเมื่อต้นปี 1949 แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองยังเป็นไปด้วยดี กลุ่มอิควานได้รับอนุญาตให้จัดประชุมใหญ่สามัญเพื่อเลือกตั้งผู้นำสูงสุด (มุรชิด) ช่วงเทศกาลฮัจญ์อีกด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง ได้งอกเงยด้วยดีตามลำดับโดยเฉพาะยุคกษัตริย์ไฟศอล บินอับดุลอาซิส ที่ถือเป็นยุคทองของกลุ่มอิควานในซาอุดิอาระเบีย

ระหว่างปลายทศวรรษ 1950 จนถึงกลางทศวรรษ 1970 ถือเป็นช่วงที่ทั้งสองได้รวมพลังเพื่อสร้างคุณูปการแก่ประชาชาติอิสลามอย่างแท้จริง โดยเฉพาะกรณีปกป้องมัสยิดอัลอักศอและปาเลสไตน์ นอกจากนี้กลุ่มอิควานถือเป็นกำลังหลักในการวางรากฐานการพัฒนาด้านการศึกษาและสังคมในซาอุดิอาระเบีย กลุ่มแกนนำอิควานจากอียิปต์ ซีเรียและซูดาน ได้หลั่งไหลเข้ามาในซาอุดิอาระเบีย เพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาและยกระดับการศึกษาในประเทศอย่างกว้างขวาง

ชีคมูฮัมมัด อัลฆอซาลี (เสียชีวิตปี 1996 ที่กรุงริยาด อายุ 79 ปี และถูกฝังศพที่สุสานอัลบาเกี้ยะอฺ ที่อัลมะดีนะฮ์) ชีคซัยยิด ซาบิก ( เสียชีวิตปี 2000 อายุ 85 ปี เจ้าของตำรา ฟิกฮุสุนนะฮ์) ชีคมูฮัมมัด กุฏุบ (เสียชีวิตปี 2014 ที่กรุงเจดดะห์ ขณะอายุ 94 ปี) ถือเป็นเมธีศาสตราจารย์ด้านอิสลามศึกษาที่มหาวิทยาลัยอุมมุลกุรอ มหานครมักกะฮ์ ชีคมูฮัมมัด กุฏุบเคยได้รับเกียรติสูงสุดด้วยรางวัลกษัตริย์ไฟศาลนานาชาติด้านอิสลามศึกษาปี 1988 ชึคอัลฆอซาลี เคยรับรางวัลกษัตริย์ไฟศาลด้านบริการอิสลามปี 1989 และซัยยิด ซาบิก เคยรับรางวัลกษัตริย์ไฟศาลนานาชาติด้านอิสลามศึกษาปี 1994 มาแล้ว

ในขณะที่อะบุลอะอฺลา อัลเมาดูดีย์ และอะบุลหะซัน อะลีอันนัดวีย์ ถือเป็นบุคลลแรกที่ได้รับรางวัลเกียริติยศนี้ในปี 1979 และ 1980 ตามลำดับ

แม้กระทั่งศ. ดร. ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวีย์ เราะญับ ฏอยยิบแอร์โดอาน และชีครออิด ศอลาห์ผู้มีฉายาชีคแห่งอัลอักศอ ต่างก็ได้รับรางวัลอันทรงคุณค่านี้ในปี 1994,2010 และ 2013 ตามลำดับ

ยังไม่รวมบุคคลสำคัญอีกมากมายที่เคยได้รับรางวัลนี้ อันแสดงถึงคุณูปการอันยิ่งใหญ่และผลงานที่โดดเด่นของพวกเขาด้านบริการอิสลามและอิสลามศึกษาในระดับโลก ซึ่งบุคคลดังกล่าวล้วนแล้วมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับกลุ่มอิควานทั้งในฐานะแกนนำ สมาชิกหรือผู้ให้ความร่วมมือ

โปรดดู

https://www.wikiwand.com/ar/جائزة_الملك_فيصل_العالمية_في_خدمة_الإسلام

https://ar.m.wikipedia.org/wiki/جائزة_الملك_فيصل_العالمية_في_الدراسات_الإسلامية

ในยุคนั้น ถือได้ว่า ทั้งมหาวิทยาลัยอิสลามอัลมะดีนะฮ์ ที่มีปรมาจารย์ด้านสถานการณ์โลกอิสลามอย่าง ดร. อาลี ยุร็อยชะฮ์จากอิยิปต์ และมีชีคอะบุล อะอฺลาอัลเมาดูดีย์และอะบุลหะซัน อะลีอันนัดวีย์เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่คอยกำกับดูแลด้านปรัชญาและวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยอิสลามอิมามมุฮัมมัดบินซาอูดที่นครริยาด ซึ่งมีปรมาจารย์ด้านตัฟซีรอย่างดร. มันนาอฺ ก็อฏฏอนจากซีเรีย ในฐานะคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ชีคมูฮัมมัด อัรรอวีย์จากอิยิปต์ในตำแหน่งคณบดีคณะอุศูลุดดีน ชีดอับดุลฟัตตาห์อะบูฆุดดะฮ์ ปรมาจารย์ด้านหะดีษจากซีเรีย และมหาวิทยาลัยอุมมุลกุรอที่มหานครมักกะฮ์ ซึ่งมีแกนนำอิควานอย่างซัยยิด ซาบิก เชคมุฮัมมัด อัลฆอซาลีและชีคมุฮัมมัด กฏุบ เป็นอาจารย์ประจำ คือมหาวิทยาลัยที่ได้รับการพัฒนาขับเคลื่อนโดยกลุ่มแกนนำอิควานอย่างแท้จริง ถือเป็นยุคทองของการศึกษาในประเทศซาอุดิอาระเบียที่สามารถสร้างผลผลิตอันดีงามที่กระจัดกระจายไปทั่วโลก

บุคลากรมุสลิมที่มีบทบาททั้งในซาอุดิอาระเบียหรือทั่วโลกอิสลามในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี ประธานองค์กร และนักวิชาการมุสลิมมากมาย ต่างเคยเป็นลูกศิษย์ในชั้นเรียนหรือในฐานะนักศึกษาภายใต้ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอกจากปรมาจารย์เหล่านี้กันทั้งนั้น

แม้กระทั่งหลังเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์กษัตริย์ไฟศาลในปี 1975 กลุ่มอิควาน ก็ยังถูกมองว่าเป็นกลุ่มแนวสันติและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับโศกนาฏกรรมครั้งนี้ หน่วยข่าวกรองทั้งในและต่างประเทศต่างมีความเห็นตรงกันว่า เหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้ถือเป็นเรื่องภายในที่ถูกมือที่มองไม่เห็น หลอกใช้เป็นเครื่องมือ โดยไม่มีใครกล้าคิดด้วยซ้ำว่า กลุ่มอิควานจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุร้ายนี้

แล้วอะไรคือตัวแปรสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นนี้ต้องขาดสะบั้นลง ติดตามตอนที่ 2 ครับ

มาครงไร้มารยาท

● บทความโดย  ดร.มุฮัมมัด  ซอฆีร

กรรมการสหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ  International Union of Muslim Scholars

● อ่านบทความต้นฉบับ

http://iumsonline.org/ar/ContentDetails.aspx?ID=12505

ยุคอาณานิคมที่ผ่านมา อังกฤษและฝรั่งเศสจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศมหาอำนาจที่ยึดครองประเทศอื่น ๆ และสร้างอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ด้วยความมั่งคั่งและการกดขี่ประชาชน

แต่การยึดครองของฝรั่งเศสแตกต่างจากอังกฤษ ที่ไกลกว่าระดับการปล้นชิงความมั่งคั่งและความพยายามในการควบคุมความเข้มแข็งไปสู่ความพยายามเพื่อเปลี่ยนอัตลักษณ์และรื้อโครงสร้างทางสังคม และบังคับใช้วัฒนธรรมฝรั่งเศสในทุกมิติ โดยเฉพาะภาษา  ฝรั่งเศสเปิดตัวสงครามที่ดุเดือดกับภาษาอื่น ๆ บังคับใช้ภาษาฝรั่งเศสในการติดต่อสื่อสารและการศึกษา  บุกขยี้สังคมเพื่อเปลี่ยนขนบธรรมเนียมประเพณีและวิธีคิด

ในขณะที่อังกฤษ มักเพียงพอกับการมีกองกำลังทหารอยู่รอบๆ เพื่อให้มั่นใจว่า สามารถควบคุมทางการเมืองและเศรษฐกิจได้เท่านั้น

ประวัติศาสตร์ยังบันทึกอาชญากรรมและการสังหารโหดในประวัติศาสตร์ในอาณานิคมของฝรั่งเศส ที่ประเทศอื่นไม่สามารถทัดเทียมได้ ไม่ว่า ณ ที่ใดก็ตาม โดยที่ฝรั่งเศสเองเป็นผู้บันทึกการก่ออาชญากรรมเหล่านี้ผ่านพิพิธภัณฑ์ “มานุษยวิทยา” ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในกรุงปารีส ซึ่งมีการจัดแสดงกะโหลกศีรษะและกระดูกของผู้นำการปฏิวัติและกลุ่มต่อต้านที่ฝรั่งเศสได้ทรมาน สังหารและทำร้ายศพพวกเขา และนำศพของพวกเขามาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ เพื่ออวดอำนาจและข่มขู่ฝ่ายต่อต้าน

และเมื่อไม่นานมานี้ แอลจีเรียได้นำกะโหลกศีรษะของผู้พลีชีพบางส่วนคืนไป เป็นกะโหลกผู้เสียชีวิตจากการปฏิวัติแอลจีเรียที่ต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศสที่นานกว่า 130 ปี ฝรั่งเศสก่ออาชญากรรมในแอลจีเรีย เทียบเท่ากับอาชญากรรมในทุกประเทศที่ฝรั่งเศสยึดครอง

เพียงแค่ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 ฝรั่งเศสได้สังหารผู้พลีชีพไป 45,000 คนจากเมืองเซติฟและบริเวณรายรอบ

จำนวนชาวแอลจีเรียทั้งหมดที่ฝรั่งเศสสังหารมีถึง 7 ล้านคน รวมถึงผู้พลีชีพมากกว่าหนึ่งล้านคนในช่วงการปฏิวัติปลดปล่อย 7 ปี 

เมื่อฝรั่งเศสจะจากไป ก็ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ในทะเลทรายแอลจีเรีย  ทิ้งผลกระทบและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่ยังคงต้องทนทุกข์ทรมานจนถึงปัจจุบัน

อคติและการเหยียดเชื้อชาติที่ถูกฝังลึก

จากนั้นประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล  มาครง ก็ได้แถลงเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางอารยธรรมของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและความกลัวอิสลามที่มีต่ออนาคตและองค์ประกอบหลักของฝรั่งเศส รวมทั้งการแสดงออกถึงความเกลียดชังที่ซ่อนเร้น และเปิดเผยการเหยียดเชื้อชาติอย่างลึกซึ้งด้วยการโจมตีอิสลามในฐานะศาสนา  โดยอธิบายว่าอิสลามอยู่ในช่วงวิกฤต 

[ ทั้งนี้ ในการแถลงดังกล่าว มาครงนอกจากจะโจมตีกลุ่มหัวรุนแรงแล้ว ยังได้โจมตีหลักการอิสลามในเรื่องการแบ่งแยกชายหญิง ตลอดจนการคลุมหิญาบ การแยกกิจกรรมเฉพาะศาสนาอิสลาม การแยกสระว่ายน้ำชายหญิง และการละหมาดในสถาบันของรัฐ ไม่เพียงเฉพาะในฝรั่งเศส แต่ยังลามไปถึงมุสลิมทั่วโลก- ผู้แปล ]

https://m.youtube.com/watch?feature=emb_rel_end&v=VrkF50Ye86U

นี่คือพัฒนาการที่อันตรายและเป็นการดูหมิ่นศาสนาโดยตรง ไม่ใช่มุสลิมบางคนที่เชื่อในศาสนานี้หรือเป็นศาสนิกของศาสนา และเป็นการใช้สำนวนที่แสดงถึงการเหยียดศาสนาที่ขัดแย้งกับลัทธิฆราวาสของฝรั่งเศสที่พูดถึงการแยกศาสนาออกจากรัฐ ซึ่งในความเป็นจริง กลับเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับปรัชญาการเมืองฝรั่งเศส

เช่นตัวอย่างกรณีผ้าคลุมศีรษะ  จะเห็นว่าฝรั่งเศสใช้ความสามารถทั้งหมดในการต่อต้านการคลุมศีรษะและถือว่าผ้าคลุมเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาที่บ่งบอกถึงศาสนาอิสลาม ไม่ใช่ความปรารถนาที่จะสงวนเนื้อสงวนตัวปกปิดไม่ให้ประเจิดประเจ้อ  และถือว่าเป็นหลักคำสอนทางศาสนา ไม่ใช่เรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล 

เราได้เห็นในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า สมาชิกรัฐสภาฝรั่งเศสลุกขึ้นและออกจากห้องประชุม เนื่องจากการมีสตรีมุสลิมจากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งคลุมศีรษะเข้าร่วมประชุม  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยืนยันว่า ความอคติต่ออิสลาม ยังสถิตอยู่ในความคิดและในจิตวิญญาณของพวกเขา  และวิกฤตที่แท้จริงอยู่ที่ความรู้สึกเหยียดหยามเผ่าพันธุ์ในตัวของพวกเขา และความล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าที่มาพร้อมกับมาครงตั้งแต่เริ่มต้นการบริหารประเทศของเขา  และความพยายามของมาครงที่จะเอาใจชาวฝรั่งเศสสุดโต่งด้วยการนำเสนอประเด็นที่น่ารังเกียจนี้  ตลอดจนความพยายามที่จะยึดโยงกับความสำเร็จปลอมๆ แม้จะอยู่นอกดินแดนฝรั่งเศสก็ตาม ดังที่เราเห็นในเหตุระเบิดท่าเรือเบรุต ซึ่งมาครงยืนกรานที่จะเป็นผู้นำในสถานการณ์ในเลบานอน ที่ทั้งจูบและกอดสตรี เพื่อให้ลืมปัญหากลุ่มเสื้อเหลืองและความล้มเหลวซ้ำซากในฝรั่งเศส

อิสลามและเเอร์โดฆาน

นอกจากนั้น มาครงยังสับสนระหว่างศาสนาอิสลามและแอร์โดฆาน  เป็นที่รู้จักกันดีว่า ประธานาธิบดีตุรกีสร้างความปวดหัวอย่างต่อเนื่องให้กับมาครง เพราะทุกการเผชิญหน้าที่ต่อสู้กับแอร์โดฆาน มาครงไม่ประสบความสำเร็จ และถอยกลับมาอย่างน่าสมเพช ตั้งแต่ในลิเบีย  ปัญหาเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกและข้อพิพาทกับกรีซ  และล่าสุดก็ในอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจาน

ดังนั้น คำตอบของประธานาธิบดีตุรกีจึงรุนแรงและเหมาะสมกับการโจมตีของมาครงต่อศาสนาอิสลาม  แอร์โดฆานอธิบายว่า คำพูดของมาครงหยาบคายและไร้มารยาท

นอกจากคำตอบโต้ของเเอร์โดฆาน เราไม่ได้ยินเสียงของผู้นำอาหรับคนใดอีก  มีแต่กระบอกเสียงของพวกเขาพากันกล่าวว่า  เเอร์โดฆานเล่นกับอารมณ์ของมวลชน  ราวกับว่าผู้นำของพวกเขาไม่มีอารมณ์ความรู้สึก

ส่วนในระดับมวลชนนั้น ปฏิกิริยาแสดงมาอย่างกรี้ยวโกรธสะเทือนในโลกไซเบอร์และสื่อออนไลน์ ในการประณามคำพูดของมาครง และการเหยียดเชื้อชาติของเขา และคนหนุ่มสาวได้อธิบายวิกฤตที่แท้จริงของมาครงด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ

รวมถึงนักวิชาการ หน่วยงานและสถาบันทางวิชาการต่างพากันติดตามเหตุการณ์ดังกล่าว  พวกเขาได้นำเหตุผลมาหักล้างข้อสงสัยเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชัยค์อัซฮัร และสภาอุลามาอ์อาวุโสของอัลอัซฮัร  พวกเขาเน้นย้ำว่าข้อความเหล่านี้เป็นข้อกล่าวหาที่โมเมและสับสน  ถูกนำมาใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต่ำช้า

สหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ  International Union of Muslim Scholars รวมถึง ศ.ดร.อาลี  กอเราะฮ์ดาฆี  เลขาธิการสหพันธ์ฯ  ยืนยันว่า มาครงตกอยู่ในภาวะวิกฤติทางศีลธรรม  และอิสลามไม่แบกรับความผิดพลาดของผู้นำจอมปลอมที่สร้างวิกฤตด้วยการช่วยเหลือของพวกเขา

ชัยค์อะหมัด  คอลีลีย์  มุฟตีแห่งรัฐสุลต่านโอมานยังได้ออกแถลงการณ์ ระบุว่าสิ่งที่มาครงพูดเป็นผลของความอคติที่มาจากความเกลียดชังในใจเขา

 สิ่งเหล่านี้เป็นจุดยืนที่น่ายกย่อง แต่มีเพียงน้อยนิดและไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับในโลกอิสลามที่กว้างใหญ่ไพศาลที่ถูกกล่าวหาในด้านความเชื่อ  ปฏิกิริยาตอบสนองยังไม่เหมาะสมกับความผิดที่ได้ก่อไว้   มุสลิมน่าจะออกมาปกป้องศาสนาของพวกเขา เช่นดังการปกป้องในยามที่ธงของรัฐถูกเผา  หรือบิดเบือนเหยียดหยามภาพของผู้นำ

บรรดาผู้ที่ไม่ได้สนใจและเมินเฉยต่อเรื่องนี้ พวกเขาจะต้องทบทวนความสัมพันธ์ของพวกเขากับอิสลาม  และตรวจสอบดูว่าสมาชิกภาพของเขาที่มีต่ออิสลาม มีความชอบธรรมหรือไม่


แปลสรุปโดย

Ghazali Benmad

คนทำงานเพื่อศาสนากับคนทำงานแอบอ้างศาสนา มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

وهناك فرق بين الذي يخدم الدين والذي يستخدم الدين لأن الذي يخدم الدين دائما يقف بجانب المظلوم ‏لأن محاربة الظلم جوهر كل الأديان والذي يستخدم الدين دائما يقف بجانب  الظالم لأنه في الحقيقة  يتاجر بالدين لا غير

คนทำงานเพื่อศาสนากับคนทำงานแอบอ้างศาสนา มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

เพราะคนทำงานเพื่อศาสนา เขาจะอยู่เคียงข้างผู้ถูกอธรรม และจะอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับผู้อธรรมเสมอ เพราะการต่อต้านอธรรมคือแก่นแกนของคำสอนทุกศาสนา

ในขณะที่คนทำงานแอบอ้างศาสนา เขาจะสนับสนุนผู้อธรรมเสมอ เพราะในความเป็นจริง เขาเป็นเพียงคนฉวยโอกาสใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือเท่านั้น


ศ. ดร. มูฮัมมัด อัลมุคตาร์ อัชชันกีฏีย์

ศาสตราจารย์ด้านจริยธรรมการเมือง มหาวิทยาลัยหะมัด บินเคาะลีฟะฮ์ ประเทศกาตาร์

อิสลามกับงานสาธารณกุศล

งานสาธารณกุศล หมายถึง งานที่มนุษย์สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นคุณประโยชน์เชิงรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เว้นแต่เพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮ์

หัวใจของศรัทธาชนที่อุทิศตนทำงานด้านสาธารณกุศล จะมีความผูกพันและโยงใยกับโลกอาคิเราะฮ์(ปรโลกอันนิรันดร์) หวังในผลตอบแทนของอัลลอฮ์

และใฝ่ฝันที่จะเข้าสวนสวรรค์ของพระองค์ ชีวิตของเขาบนโลกนี้จะเปี่ยมด้วยความสิริมงคล หัวใจที่เบิกบาน มีชีวิตที่สดใส ที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเลขได้

งานสาธารณกุศลจึงเป็นวัตถุประสงค์หลักของอิสลามที่ประกาศโดยนบีมุฮัมมัด

อิสลามเชิญชวนสู่การกระทำความดีผ่านบทบัญญัติในอัลกุรอานและแบบอย่าง(ซุนนะฮ์) สรุปได้ดังนี้

  1. อิสลามได้กำชับให้ศรัทธาชนกระทำแต่ความดี ดังปรากฏในอัลกุรอานความว่า
    “และจงประกอบความดี หวังว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ” (อัลกุรอาน 22:77)
    “และความดีใด ๆ ที่พวกเขากระทำ พวกเขาจะไม่ถูกปฏิเสธในความดีนั้นเป็นอันขาด และอัลลอฮ์ทรงรู้ดีต่อบรรดาผู้ที่ยำเกรง”(อัลกุรอาน 3:115)
  2. อิสลามกำชับให้ศรัทธาชนใช้วาจาที่สุภาพอ่อนโยน ดังปรากฏในอัลกุรอานความว่า
    “และจงพูดจาแก่เพื่อนมนุษย์อย่างดี” (อัลกุรอาน 2:83)
    นะบีมุฮัมมัด กล่าวไว้ความว่า
    ผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันอาคิเราะฮ์แล้ว เขาพึงใช้วาจาที่ดีหรือนิ่งเสีย
  3. อิสลามกำชับให้มุสลิมเร่งรีบในการกระทำความดี อัลลอฮ์ ตรัสไว้ความว่า
    “และพวกเจ้าจงรีบเร่งกันไปสู่การอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเจ้า และไปสู่สวรรค์ซึ่งความกว้างของมันนั้น คือบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน โดยที่มันถูกเตรียมไว้สำหรับบรรดาผู้ที่ยำเกรง” (อัลกุรอาน 3:133)

    อะบูฮุร็อยเราะฮ์เล่าว่า มีกลุ่มผู้ยากจนมาหานบีมุฮัมมัด พร้อมร้องเรียนว่า บุคคลที่ร่ำรวยสามารถกอบโกยผลบุญอันมากมาย และได้พำนักอยู่ ณ ชั้นสูงสุดในสวนสวรรค์ พวกเขาละหมาดเหมือนพวกเราละหมาด พวกเขาถือศีลอดเหมือนกับเราถือศีลอด แต่พวกเขามีทรัพย์สมบัติอันเหลือเฟือในการทำหัจญ์ การทำอุมเราะฮ์ ญิฮาดและการบริจาคทาน ในขณะที่พวกเราไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้ นะบีมุฮัมมัด

    จึงกล่าวว่า
    เอาไหมล่ะ! ฉันจะบอกพวกท่าน หากพวกท่านปฏิบัติแล้ว พวกท่านจะได้ผลบุญมากกว่าผู้คนก่อนหน้าพวกท่านไม่มีใครที่สามารถเทียบเคียงพวกท่านและพวกท่านจะเป็นผู้ประเสริฐสุด เว้นแต่จะมีบุคคลที่กระทำเหมือนพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงกล่าว ตัสบีห์ (سُبْحَانَ الله) ตะห์มีด(الحَمْدُ لِله) และตักบีร(اللهُ أَكْبَرُ) หลังละหมาดทุกครั้ง จำนวน 33 ครั้ง
  4. อิสลามเชิญชวนให้ศรัทธาชนกระทำแต่ความดี อัลลอฮ์ ตรัสไว้ความว่า
    “และจงให้มีขึ้นในบรรดาพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่เชิญชวนไปสู่ความดีและใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และห้ามปรามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบ และชนเหล่านี้แหละคือผู้ได้รับความสำเร็จ” (อัลกุรอาน 3:104)
    นบีมุฮัมมัด กล่าวไว้ความว่า
    “ผู้ใดที่ชี้แนะให้กระทำความดี เขาจะได้ผลบุญเทียบเท่ากับผู้ที่ปฏิบัติความดีนั้น”
  5. อิสลามสอนให้มุสลิมส่งเสริมการกระทำความดี อัลกุรอานกล่าวไว้ความว่า
    “เจ้าเห็นแล้วมิใช่หรือ ผู้ที่ปฏิเสธการตอบแทน นั่นก็คือผู้ที่ไม่สนใจใยดีต่อเด็กกำพร้า และไม่สนับสนุนในการให้อาหารแก่ผู้ขัดสน” (อัลกุรอาน 107:1-3)

    อัลกุรอานได้เล่าถึงสาเหตุของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ต้องเข้านรกว่า
    “แท้จริง เขามิได้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ผู้ยิ่งใหญ่ และเขามิได้ส่งเสริมให้อาหารแก่คนขัดสน” (อัลกุรอาน 69:33-34)
    อัลกุรอานได้ประณามผู้ปฏิเสธศรัทธา

    ความว่า “มิใช่เช่นนั้นดอก แต่ว่าพวกเจ้ามิได้ให้เกียรติแก่เด็กกำพร้าต่างหาก และพวกเจ้ามิได้ส่งเสริมกันในการให้อาหารแก่คนยากจนและขัดสน” (อัลกุรอาน 89:17-18)
    อัลกุรอานสอนให้เรารู้ว่า นอกจากอิสลามได้สั่งใช้มุสลิมให้อาหารแก่ผู้ขัดสนแล้ว อิสลามได้เพิ่มภารกิจแก่มุสลิมด้วยการกำชับให้สนับสนุนและส่งเสริมในการให้อาหารแก่ผู้ยากไร้อีกด้วย
  6. อิสลามสอนให้มุสลิมมีความตั้งใจที่จะกระทำความดี
    อิสลามเปิดโอกาสให้ผู้ที่ตั้งใจที่จะกระทำความดี เพราะการตั้งใจที่บริสุทธิ์ย่อมประเสริฐกว่าการกระทำที่มีสิ่งไม่ดีแอบแฝงอยู่ ดังปรากฏในหะดีษที่นบีมุฮัมมัด กล่าวไว้ความว่า
    โลกใบนี้มีไว้เพื่อคน 4 ประเภทได้แก่
    1) บ่าวที่อัลลอฮ์ ทรงประทานทรัพย์สมบัติและความรู้ให้แก่เขา เขาเกรงกลัวอัลลอฮ์ และกระชับสัมพันธ์ไมตรีระหว่างเพื่อนนุษย์และเขารับรู้สิทธิของอัลลอฮ์ ที่พึงให้ บุคคลผู้นี้คือบุคคลที่ประเสริฐสุด
    2) บ่าวที่อัลลอฮ์
    ไม่ประทานทั้งทรัพย์สมบัติและความรู้ แต่เขากล่าวว่า “หากฉันมีทรัพย์สมบัติ ฉันจะกระทำเยี่ยงคนๆ นั้น เขาจึงตั้งใจที่จะกระทำความชั่วอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเขาทั้งสองคนจะได้รับบาปอย่างเท่าเทียมกัน
  7. อิสลามส่งเสริมให้กระทำความดี แม้เพียงน้อยนิด อัลกุรอานได้กล่าวไว้ความว่า
    “ดังนั้น ผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าละอองธุลี เขาก็จะเห็นมัน” (อัลกุรอาน 99:7)
    อัลลอฮ์ ได้ตรัสอีกความว่า
    “แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงอธรรมแม้เพียงน้ำหนักเท่าผงธุลี และถ้ามันเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งอย่างใด พระองค์ก็จะทรงเพิ่มพูนความดีนั้นเป็นทวีคูณ และทรงประทานให้จากที่พระองค์ ซึ่งรางวัลอันใหญ่หลวง” (อัลกุรอาน 4:40)
    นบีมุฮัมมัด กล่าวไว้ความว่า
    “การบริจาคเงินจำนวน 1 ดิรฮัม มีคุณค่าที่ประเสริฐกว่า 100,000 ดิรฮัม เหล่าเศาะฮาบะฮ์จึงถามว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? นบีมุฮัมมัด จึงตอบว่า ผู้ชายคนหนึ่งมีเงินจำนวน 2 ดิรฮัม เขาได้บริจาคจำนวน 1 ดิรฮัม (ครึ่งหนึ่งของทรัพย์สมบัติของเขา)ในขณะที่ชายคนหนึ่งไปที่กรุสมบัติของเขาอันมากมาย และได้บริจาคจำนวน 100,000 ดิรฮัม
  8. อิสลามประณามคนที่ขัดขวางการทำความดี
    การขัดขวางการกระทำความดีเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่มีนิสัยอันต่ำช้า ดังอัลกุรอานกล่าวไว้ความว่า
    “และเจ้าอย่าปฏิบัติตามทุกคนที่เป็นนักสาบานที่ต่ำช้า ผู้นินทาตระเวนใส่ร้ายผู้อื่น ผู้ขัดขวางการทำความดี ผู้อธรรมล่วงละเมิดและกระทำบาป” (อัลกุรอาน 68:10-12)
    อัลลอฮ์ ได้ตรัสอีกความว่า
    “เจ้าทั้งสอง(2 มะลาอิกะฮ์) จงโยนทุกคนที่ปฏิเสธศรัทธา และดื้อรั้นลงในนรกญะฮันนัม ผู้ขัดขวางการทำดี ผู้ฝ่าฝืนและเคลือบแลง(ในวันปรโลก)” (อัลกุรอาน 50:24-25)
  9. อิสลามส่งเสริมสู่การกระทำความดี อัลกุรอานกล่าวไว้ความว่า
    “และพวกเจ้าจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรมและความยำเกรง และจงอย่าช่วยกันในสิ่งที่เป็นบาปและเป็นศัตรูกัน และพึงกลัวเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรุนแรงในการลงโทษ” (อัลกุรอาน 5:2)
    นบีมุฮัมมัด กล่าวไว้ความว่า
    “อุปมาผู้ศรัทธาด้วยกัน อุปมัยดั่งอาคารหลังหนึ่งที่ทุกส่วนต่างค้ำจุนซึ่งกันและกัน และนะบีมุฮัมมัดได้สอดนิ้วมือทั้งสองข้างของท่านเข้าด้วยกัน”
  10. ผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำความดี ย่อมได้รับผลบุญอย่างเท่าเทียมกัน
    ท่านหญิงอาอิชะฮ์เล่าว่า นบีมุฮัมมัด กล่าวว่า
    “หากหญิงคนหนึ่งบริจาคอาหารที่มีประโยชน์ที่มีอยู่ในบ้านของนาง นางจะได้รับผลบุญจากการที่นางบริจาคไว้ สามีของนางก็จะได้รับผลบุญเนื่องจากเขาเป็นผู้แสวงหา และคนใช้ในบ้านก็จะได้ผลบุญเช่นเดียวกัน(เนื่องจากมีส่วนร่วมในการทำความดี) ทั้ง 3 คนจะได้รับผลบุญอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการลดหย่อนแต่อย่างใด”
    เช่นเดียวกันกับผู้ที่ทำงานในองค์กรสาธารณกุศลต่างๆ ถึงแม้เขาจะทำงานโดยรับเงินเดือนประจำหรือค่าตอบแทนอื่นๆ หากเขามีความตั้งใจที่บริสุทธิ์เพื่ออัลลอฮ์ แล้ว เขาจะได้รับผลบุญเช่นเดียวกันกับผู้บริจาคทุกประการ

คุณลักษณะเฉพาะของงานสาธารณกุศลในอิสลาม
งานสาธารณกุศลในอิสลามมีคุณลักษณะสรุปได้ดังนี้

  1. มีความครอบคลุม
    งานสาธารณกุศลในอิสลาม มีเนื้อที่กว้างขวางครอบคลุมทุกอย่างที่เป็นความดี อิสลามสอนให้มุสลิมปฏิบัติความดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่บรรดาผู้ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ ไม่ว่าคนๆ นั้นจะอยู่ใกล้หรือไกล เป็นมิตรหรือศัตรู มุสลิมหรือชนต่างศาสนิก มนุษย์หรือสัตว์
    มุสลิมไม่ได้รับอนุญาตให้วางกรอบการกระทำความดีเฉพาะแก่พวกพ้องหรือญาติสนิทเท่านั้น ความโกรธแค้นและความเป็นศัตรูไม่สามารถเป็นกำแพงสกัดกั้นมิให้มุสลิมปฏิบัติความดี มุสลิมจึงเป็นบุคคลที่แผ่เมตตาแก่ทุกสรรพสิ่ง ดังนบีมุฮัมมัด กล่าวไว้ความว่า
    “จะไม่มีสิทธิ์เข้าสวรรค์ เว้นแต่ผู้ที่มีจิตใจโอบอ้อมอารี บรรดาเศาะฮาบะฮ์จึงกล่าวว่า พวกเราทุกคนมีจิตใจที่โอบอ้อมอารีอยู่แล้ว นบีมุฮัมมัดจึงกล่าวว่า แท้จริง มิใช่เป็นการโอบอ้อมอารีแก่บรรดาญาติสนิทมิตรสหายเท่านั้น แต่เป็นการโอบอ้อมอารีที่ครอบคลุมทุกสิ่ง

    อิสลามสอนให้มุสลิมกระทำความดี แม้ต่อชนต่างศาสนิก อัลลอฮ์

    ตรัสไว้ความว่า
    “อัลลอฮ์ มิได้ทรงห้ามพวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะทำความดีและให้ความยุติธรรมแก่บรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนาและพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า แท้จริง อัลลอฮ์ทรงรักผู้มีความยุติธรรม” (อัลกุรอาน 60:8)
    อัลลอฮ์ได้ตรัสอีกความว่า
    “และพวกเขาให้อาหารเนื่องด้วยความรักต่อพระองค์แก่คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยศึก” (อัลกุรอาน 76:8)

    อัลกุรอานกำชับให้มุสลิมกระทำความดี แม้แต่กับเชลยสงคราม และถือว่าการกระทำดังกล่าว เป็นคุณสมบัติของบรรดาศรัทธาชนที่แท้จริง

    อิสลามสอนให้มุสลิมกระทำความดีแม้แต่สัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภคหรือใช้งาน ดังนบีมุฮัมมัด

    กล่าวไว้ความว่า
    “ท่านทั้งหลายจงยำเกรงอัลลอฮ์ด้วยการทำความดีแก่สัตว์เลี้ยง จงขับขี่มันด้วยดี และจงบริโภคมันด้วยดี”
    อิสลามสอนให้มุสลิมกระทำความดีต่อแมว สุนัขและสัตว์อื่นๆ การกระทำความดีต่อสัตว์เป็นสาเหตุหนึ่งของการเข้าสวรรค์ ในขณะที่การทำร้ายหรือกระทำทารุณสัตว์ เป็นสาเหตุแห่งความพิโรธของอัลลอฮ์ จนทำให้คนนั้นต้องถูกทรมานในขุมนรก
  1. มีความหลากหลาย
    ความดีมีมากมายหลายประเภท ดังนั้นมุสลิมไม่ควรจำกัดความดีเพียงมิติเดียว ต้องหาวิธีการทำความดีที่หลากหลาย ตามความต้องการของสังคมและกำลังความสามารถของแต่ละคน

    บางครั้งทำความดีด้วยการบริจาคทรัพย์สมบัติ ให้อาหาร มอบเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มหรือบริจาคความดีที่เป็นรูปธรรมทั้งหลาย

    บางครั้งทำความดีเชิงนามธรรม เช่นให้การสั่งสอนอบรม และทำความเข้าใจในศาสนา สร้างรอยยิ้มให้แก่เพื่อนมนุษย์ ผ่อนทุกข์คลายกังวล ซับน้ำตาแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ให้กำลังใจ ให้ความหวังในความโปรดปรานของอัลลอฮ์ ขจัดความท้อแท้สิ้นหวัง หรือบริจาคทรัพย์สินเงินทอง ให้ยืมสิ่งของหรือเงินแก่ผู้ที่เดือดร้อน ซึ่งนบีมุฮัมมัด

    ได้สอนว่าผลบุญของการให้ยืมมีมากกว่าการบริจาคทานเสียอีก

    บางครั้งอาจบริจาคเวลาและความคิดหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเช่นแพทย์ วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ซึ่งอาจจะบริจาคเวลาเพียง 1 ชั่วโมงต่อ 1 สัปดาห์ หรือ 10 วันใน 1 ปีเพื่องานสาธารณกุศล เพราะการบริจาคเวลาและทรัพย์สินทางปัญญาหรือความเชี่ยวชาญ ในบางครั้งมีประโยชน์และเป็นที่ต้องการมากกว่าการบริจาคทรัพย์สินเงินทองด้วยซ้ำไป

    บางครั้งไกล่เกลี่ยคู่กรณีที่บาดหมางกัน สั่งใช้ให้กระทำความดีและห้ามปรามความชั่วหรือการบริจาคคำพูดที่ไพเราะหรือแม้แต่เก็บขยะหรือสิ่งปฏิกูลบนท้องถนนที่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้เดินทาง

    มีหะดีษบทหนึ่งความว่า อะบูฮุร็อยเราะฮ์เล่าว่า ฉันได้ยินนบีมุฮัมมัด
    กล่าวว่า
    “แท้จริงฉันเห็นชายคนหนึ่งกำลังกลิ้งตัวอย่างมีความสุขในสวรรค์ เนื่องจากเขาเคยตัดทิ้งต้นไม้ที่ล้มทับบนถนน เพื่อมิให้สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนที่สัญจรไปมา” (รายงานโดยมุสลิม)มีหะดีษที่เล่าโดยอะบูซัรความว่า “ฉันถามรสูลุลเลาะฮ์ว่าอะไรหรือที่ทำให้คนๆ หนึ่งรอดพ้นจากไฟนรก นบีตอบว่าศรัทธาต่ออัลลอฮ์”

    ฉันถามว่า : โอ้นบี
    จำเป็นต้องมีอะมัล(การปฏิบัติ)พร้อมกับการศรัทธาด้วยหรือ?

    นะบีตอบว่า : ท่านจงบริจาคทรัพย์สมบัติเล็กๆ น้อยๆ จากสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงประทานแก่ท่าน อะบูซัรถามว่า : หากเขาเป็นคนอนาถาที่ไม่สามารถบริจาคสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เลย

    นบีตอบว่า : จงสั่งใช้ในความดี และห้ามปรามความชั่ว
    อะบูซัรถามว่า : หากเขาไม่มีความสามารถสั่งใช้ความดีและห้ามปรามความชั่ว

    นบีตอบว่า : จงช่วยเหลือคนอื่นในการงานที่เขาถนัด
    อะบูซัรถามว่า : หากไม่มีงานที่เขาถนัด

    นบีตอบว่า : จงช่วยเหลือผู้ถูกรังแกอย่างอธรรม
    อะบูซัรถามว่า : โอ้นบี หากเขาเป็นผู้อ่อนแอไม่สามารถช่วยเหลือผู้ถูกรังแกอย่างอธรรม

    นบีตอบว่า : จงหวังในสิ่งดีๆ แก่เพื่อนของเขาและจงยับยั้งการกระทำที่สร้างความเดือดร้อนแก่เพื่อนมนุษย์
    อะบูซัรถามว่า : โอ้รสูลุลเลาะฮ์
    หากเขากระทำดังกล่าวเขาจะเข้าสวรรค์ได้หรือไม่

    นบีตอบว่า : ไม่มีศรัทธาชนคนใดที่กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งจากการกระทำดังกล่าว เว้นแต่สิ่งนั้นจะนำพาเขาเข้าสู่สวนสวรรค์
  1. มีความต่อเนื่อง
    งานสาธารณกุศลในอิสลามจะมีความต่อเนื่อง การทำความดีของมุสลิมจะมีความเกี่ยวเนื่องกับความศรัทธา ซึ่งจะต้องปฏิบัติเมื่อถึงเวลาที่สั่งใช้ให้กระทำ เช่น การจ่ายซะกาตเมื่อครบจำนวนและเวลาที่กำหนด การจ่ายซะกาตฟิฏเราะฮ์เมื่อถึงวันรายอฟิฏรี ในขณะเดียวกันมุสลิมมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับเงื่อนเวลา เช่น การทำความดีแก่เพื่อนบ้าน ญาติสนิทมิตรสหาย การอุปถัมภ์ช่วยเหลือผู้ขัดสนและเด็กกำพร้า ให้อาหารแก่เพื่อนบ้านที่กำลังหิวโหย

    ดังที่นบีมุฮัมมัด กล่าวไว้ความว่า
    “จะไม่เป็นผู้ศรัทธาสำหรับผู้คนที่นอนหลับในเวลากลางคืนในสภาพที่อิ่มหนำ ทั้งๆที่เขารู้ว่ามีเพื่อนบ้านกำลังหิวโหยอยู่”

    เช่นเดียวกันกับการให้ที่พำนักพักพิงแก่ผู้เดินทาง ให้เกียรติและดูแลแขกผู้มาเยี่ยมมาเยือน ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อนและการทำความดีอื่นๆ อีกมากมายที่เปิดกว้างสำหรับมุสลิม แข่งขันในการสะสมแต้มแห่งความดีเพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮ์ มุสลิมทุกคนจึงใฝ่ฝันที่จะกระทำแต่ความดี ไม่ว่าในรูปแบบของการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นหรือการเชิญชวนและเสนอแนะคนอื่นให้ปฏิบัติความดี ซึ่งทุกฝ่ายล้วนได้รับผลบุญจากอัลลอฮ์อย่างเท่าเทียมกัน

    คุณค่าการทำงานในอิสลาม มิใช่ประเมินด้านปริมาณที่มากมายเพียงอย่างเดียว อัลลอฮ์

    จะทรงตอบแทนคุณงามความดีที่ได้ปฏิบัติแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม ดังอัลลอฮ์

    ตรัสไว้ความว่า
    “ดังนั้นผู้ใดกระทำความดีหนักเท่าละอองธุลี เขาก็จะเห็นมัน” (อัลกุรอาน 99:7)

    บรรดาเศาะฮาบะฮ์เคยบริจาคทานเสี้ยวหนึ่งของลูกอินทผาลัมหรือองุ่นเม็ดหนึ่ง พร้อมกล่าวว่า อินทผาลัมหรือองุ่นเม็ดนี้ประกอบด้วยละอองธุลีอันมากมายที่เราจะต้องได้รับผลบุญในวันแห่งการตอบแทน

    อิบนุมัสอูดเล่าว่า นบีมุฮัมมัด กล่าวว่า
    “ท่านทั้งหลายมีหน้าที่ป้องกันตัวเองจากไฟนรก แม้ด้วยการบริจาคเสี้ยวหนึ่งของลูกอินทผาลัม”

    บางคนสร้างเงื่อนไขให้แก่ตนเองในการทำงานสาธารณกุศลโดยยึดเงื่อนเวลาเป็นตัวกำหนด เช่นช่วงที่เป็นนักศึกษา ช่วงที่ยังไม่มีครอบครัว ช่วงที่ยังไม่มีภาระ ช่วงที่สุขสบาย ช่วงที่อยู่ในตำแหน่งที่ดี หรือช่วงหลังเกษียณ เมื่อยังไม่ถึงเวลาดังกล่าวแล้ว เขาก็จะหันหลังให้กับงานสาธารณกุศลอย่างสิ้นเชิง แต่สำหรับมุสลิมผู้ศรัทธา งานสาธารณกุศลคือส่วนหนึ่งของชีวิตที่ขาดช่วงไม่ได้ ต้องพยายามทำงานตราบใดที่มีกำลังความสามารถและโอกาส แม้ว่าเขาจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม
  1. มีแรงจูงใจอันสูงส่ง
    ความมีแรงจูงใจอันสูงส่งที่ช่วยผลักดันให้มุสลิมยอมอุทิศตนทำงานด้วยความสมัครใจ มีใจสาธารณะ ยึดมั่นในหลักการ การทำความดีอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งท้าทายและบททดสอบ มีความมุ่งมั่นทำงานสู่ความสำเร็จโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่าย ส่วนหนึ่งของแรงจูงใจอันสูงส่งได้แก่

    4.1 แสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮ์
    ประการแรกที่เป็นแรงจูงใจที่สำคัญสำหรับมุสลิมในการทำงานสาธารณกุศลคือ การแสวงหาความโปรดปรานและความพึงพอใจจากอัลลอฮ์

    ดังอัลกุรอาน กล่าวไว้ความว่า
    “และพวกเขาให้อาหารแก่คนยากจน เด็กกำพร้าและเชลยศึก ทั้งๆที่พวกเขาก็ชอบอาหารนั้น (พวกเขากล่าวว่า) แท้จริงเราให้อาหารแก่พวกท่าน โดยหวังความโปรดปรานของอัลลอฮ์ เรามิได้หวังการตอบแทนและการขอบคุณจากพวกท่านแต่ประการใด” (อัลกุรอาน 76:8-9)

    อัลลอฮ์ได้ตรัสอีกความว่า
    “และอุปมาบรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์ของพวกเขา เพื่อแสวงหาความพึงใจของอัลลอฮ์ และเพื่อให้เกิดความมั่นคงแก่ตัวของพวกเขาเองนั้น ดังอุปมัยสวนแห่งหนึ่ง ณ ที่เนินสูง ซึ่งมีฝนหนักประสบแก่มัน แล้วมันก็นำมาซึ่งผลของมันสองเท่า แต่ถ้ามิได้มีฝนหนักประสบแก่มัน ก็มีฝนปรอยๆ และอัลลอฮ์นั้นทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกันอยู่” (อัลกุรอาน 2:265)

    ส่วนหนึ่งของการแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮ์

    คือ ความใฝ่ฝันที่จะเป็นส่วนหนึ่งของชาวสวรรค์ การได้รับผลบุญและความสุขสบายในสวรรค์ ดังปรากฏในหะดีษกุดซีย์ที่อัลลอฮ์

    ตรัสว่า ฉันได้เตรียมสำหรับบ่าวที่ดีของฉันในสวรรค์ ด้วยการตอบแทนที่มนุษย์ไม่เคยประจักษ์ด้วยสายตา ไม่เคยสดับรับฟังด้วยหู และไม่เคยคาดคิดโดยจินตนาการ จงอ่านอัลกุรอานความว่า

    “ดังนั้น จึงไม่มีชีวิตใดรู้การตอบแทนที่ถูกซ่อนไว้สำหรับพวกเขา ให้เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตา เป็นการตอบแทนในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้” (32:17)

    มุสลิมทุกคนใฝ่ฝันที่จะเข้าสวรรค์ซึ่งมิใช่เป็นเพียงพำนักแห่งความรื่นรมย์ที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น แต่ยังเป็นวิมานแห่งความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์

    ดังอัลกุรอานกล่าวไว้ความว่า
    “อัลลอฮ์ได้ทรงสัญญาแก่บรรดามุมินชายและบรรดามุมินหญิง ซึ่งบรรดาสวนสวรรค์ ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่ภายใต้สวนสวรรค์เหล่านั้น โดยที่พวกเขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาล และบรรดาสถานที่พำนักอันดีซึ่งอยู่ในบรรดาสวนสวรรค์แห่งความวัฒนาสถาพร และความโปรดปรานจากอัลลอฮ์นั้นใหญ่กว่า นั่นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง” (อัลกุรอาน 9:72)

    แรงจูงใจด้านจิตวิญญาณอันสูงส่งเช่นนี้เป็นแรงผลักดันให้บรรดาเศาะฮาบะฮ์เร่งรีบการกระทำความดีภายหลังจากพวกเขาได้สดับรับฟังอัลกุรอานที่เชิญชวนให้กระทำความดี โดยไม่หวงแหนทรัพย์สมบัติที่เป็นเพียงสิ่งครอบครองนอกกายแต่อย่างใด ประการเดียวที่เป็นความใฝ่ฝันของพวกเขาคือการได้รับการตอบแทนจากอัลลอฮ์

    ดังปรากฏในหะดีษที่เล่าโดยอะนัสความว่า
    อะบูฏ็อลหะฮ์เป็นชาวอันศ็อรผู้มีสวนอินทผาลัมมากที่สุด และสวนอินทผาลัมที่เขารักและหวงแหนมากที่สุดคือสวนที่ชื่อว่า บัยรุหาอ์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของมัสยิดนบี นบีมูฮัมมัดเคยเข้าในสวนและดื่มน้ำอันใสสะอาดจากสวนดังกล่าว หลังจากที่อายะฮ์อัลกุรอานถูกประทานลงมาความว่า

    “พวกเจ้าจะไม่ได้คุณธรรมเลยจนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้าชอบ และสิ่งใดที่พวกเจ้าบริจาคไป แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรู้ในสิ่งนั้นดี” (อัลกุรอาน 3/92)

    อะบูฏ็อลหะฮ์จึงรีบไปหานบีมุฮัมมัด พร้อมกล่าวว่า โอ้เราะซูลลุลเลาะฮ์

    อัลลอฮ์ได้ตรัสความว่า พวกเจ้าจะไม่ได้คุณธรรมเลยจนกว่าพวกเจ้าจะบริจาคจากสิ่งที่พวกเจ้าชอบ สวนที่ฉันรักและหวงแหนมากที่สุดคือสวนบัยรุหาอ์ ดังนั้นฉันบริจาคสวนนี้โดยหวังในความดีและเก็บรักษา ณ อัลลอฮ์ ท่านจงใช้ประโยชน์จากสวนนี้ตามที่ท่านเห็นควรเถิด นบีมุฮัมมัดจึงตอบด้วยความดีใจว่า นับเป็นทรัพย์สมบัติที่มีกำไร นับเป็นทรัพย์สมบัติที่มีกำไร

    4.2 แรงจูงใจด้านจริยธรรม
    อัลกุรอานได้สร้างแรงจูงใจอันสำคัญสำหรับมุสลิมที่ทำงานด้านสาธารณกุศลด้วยการเรียกพวกเขาว่าผู้ยำเกรง ผู้ศรัทธาที่แท้จริง ผู้มีสติปัญญา ผู้กระทำความดี และบรรดาคนดี ดังอัลกุรอานกล่าวไว้ความว่า

    “คัมภีร์นี้ ไม่มีความสงสัยใด ๆ ในนั้น เป็นทางนำสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงเท่านั้น คือบรรดาผู้ศรัทธาต่อสิ่งเร้นลับและดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขานั้น พวกเขาก็บริจาค” (อัลกุรอาน 2:2-3)

    อัลลอฮ์ได้ตรัสอีกความว่า
    “คือบรรดาผู้ที่ดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา พวกเขาก็บริจาค ชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือ ผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง โดยที่พวกเขาจะได้รับหลายชั้น ณ พระเจ้าของพวกเขา และจะได้รับการอภัยโทษและปัจจัยยังชีพอันมากมาย” (อัลกุรอาน 8:3-4)

    อัลลอฮ์ได้ตรัสอีกความว่า
    “และบรรดาผู้อดทนโดยหวังพระพักตร์ (ความโปรดปราน) ของพระเจ้าของพวกเขา และดำรงการละหมาดและบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา โดยซ่อนเร้นและเปิดเผย และพวกเขาขจัดความชั่วด้วยความดี ชนเหล่านั้นสำหรับพวกเขาคือที่พำนักในบั้นปลายที่ดี” (อัลกุรอาน 13:22)

    อัลลอฮ์ได้ตรัสอีกความว่า
    “และในทรัพย์สมบัติของพวกเขาจัดไว้เป็นส่วนของผู้เอ่ยขอ และผู้ไม่เอ่ยขอ” (อัลกุรอาน 51:19)

    มุสลิมใฝ่ฝันที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นหนึ่งในจำนวนผู้คนที่อัลกุรอานได้กล่าวถึงข้างต้น ทั้งนี้เพื่อยกระดับตนเองเข้าสู่การเป็นศรัทธาชนที่แท้จริงที่จะได้รับการตอบแทนที่ยั่งยืนจากอัลลอฮ์

    4.3 มีความสิริมงคล(บะเราะกะฮ์) และได้รับการตอบแทนบนโลกนี้
    อิสลามเป็นศาสนาที่กำหนดเป้าหมายให้แก่มุสลิม ในการใช้ชีวิตที่รวบรวมความดีไว้ คือความดีงามบนโลกนี้และความดีงามในปรโลก การที่มุสลิมใฝ่ฝันที่จะได้รับความดีงามในปรโลกแต่เขาจะได้รับสิ่งดีๆบนโลกนี้ด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความบะเราะกะฮ์(สิริมงคล)ในชีวิตตนเอง ครอบครัว ทรัพย์สินเงินทอง และการได้รับการตอบแทนจากอัลลอฮ์ ดังอัลกุรอานกล่าวไว้ความว่า
    “และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธากันและมีความยำเกรงแล้วไซร้ แน่นอนเราก็เปิดให้แก่พวกเขา ซึ่งบรรดาความบะเราะกะฮ์(สิริมงคล)จากฟากฟ้าและแผ่นดิน” (อัลกุรอาน 7:96)

    อัลลอฮ์ได้ตรัสอีกความว่า
    “และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮ์ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขาและจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากแหล่งที่เขามิได้คาดคิด และผู้ใดมอบหมายแด่อัลลอฮ์ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้พอเพียงแก่เขา” (65:2-3)

    อัลลอฮ์ได้ตรัสอีกความว่า
    “และอันใดที่พวกเจ้าบริจาคจากสิ่งใดก็ดี พระองค์จะทรงทดแทนมัน และพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ดีเลิศแห่งบรรดาผู้ประทานปัจจัยยังชีพ” (34:39)

    นบีมุฮัมมัดกล่าวไว้ความว่า
    “ทุกๆ เช้าของบ่าวทุกคน จะมีมะลาอิกะฮ์(เทวทูต) 2 มะลาอิกะฮ์ ลงมาโดยมะลาอิกะฮ์หนึ่งจะกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์ขอได้โปรดประทานสิ่งทดแทนสำหรับผู้บริจาคด้วยเถิด ในขณะที่มะลาอิกะฮ์หนึ่งกล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์ขอได้โปรดประทานความพินาศแก่ผู้ตระหนี่ถี่เหนียวด้วยเถิด

    กวีอาหรับได้กล่าวไว้ความว่า
    “จงบอกฉัน ผู้บริจาคใจบุญคนไหนบ้างที่หมดตัวเยี่ยงยาจกอนาถา และจงบอกฉัน ผู้ตระหนี่ขี้เหนียวคนใดบ้างที่มีชีวิตค้ำฟ้าชั่วนิรันดร์”

    การตอบแทนความดีงามบนโลกนี้มีลักษณะที่หลากหลาย เช่น ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์และแข็งแรง มีหัวใจที่เบิกบาน มีครอบครัวที่เปี่ยมสุข มีลูกหลานที่ดี มีทรัพย์สินเงินทองที่เพียงพอและไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณภาพ ดังอัลกุรอานกล่าวไว้ความว่า
    “ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขาที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้” (อัลกุรอาน 16:97)

    มุสลิมจะไม่ใช้ชีวิตอย่างคับแค้นและเศร้าหมอง ถูกรุมเร้าด้วยสารพันปัญหาและจมปลักในความอับจนที่ไม่สามารถหาทางออกได้ ดังที่อัลกุรอานกล่าวไว้ความว่า
    “และผู้ใดผินหลังจากการรำลึกถึงข้า แท้จริงสำหรับเขาคือ การมีชีวิตอยู่อย่างคับแค้นและเราจะให้เขาฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮ์ในสภาพของคนตาบอด” (อัลกุรอาน 20:124)

มุสลิมไม่ว่าในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม องค์กรและประชาชาติ จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีที่สามารถสัมผัสได้ในโลกแห่งความเป็นจริง เป็นวิถีชีวิตที่เคียงคู่กับความเป็นมุสลิมที่แท้จริงที่แยกออกจากกันไม่ได้ มุสลิมกับความดีเปรียบเสมือนด้านสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน ที่หากปราศจากด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะกลายเป็นเศษเงินที่หมดคุณค่าและไร้ความหมายโดยปริยาย


เรียบเรียงโดย
ผศ. มัสลัน มาหะมะ

คัดจากหนังสือ
อิสลาม วิถีแห่งชีวิต

http://hsmi.psu.ac.th/?p=1827

รัฐธรรมนูญอัลมะดีนะฮ์ สรรสาระสันติภาพที่ยั่งยืน

รัฐธรรมนูญอัลมะดีนะฮฺคือรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่เป็นลายลักษณ์ฉบับแรกในประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์ที่นักประวัติศาสตร์และนักบูรพาคดีเชื่อว่า เป็นอารยธรรมอันสูงส่งของมนุษยชาติและถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าแห่งความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอิสลาม เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างพลเมืองที่มีความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ ศาสนาและชนชั้น เพื่อใช้ชีวิตอย่างสันติ

วัตถุประสงค์หลักของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ วางรากฐานสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตที่สันติ สานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชนเผ่าต่างๆ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศอรฺ ชาวยิวและชนต่างศาสนิกอื่นๆ กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชาชน ผู้นำและรัฐในการสร้างสังคมสันติภาพ ตลอดจนประกาศความเป็นรัฐเอกราชและความเป็นผู้นำสูงสุดของนบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم

นักบูรพาคดีชาวโรมาเนียชื่อ Constant Jeor Jeo ได้กล่าวว่า “รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกอบด้วย 52 มาตรา ทุกมาตราเป็นความคิดที่สร้างสรรค์โดยมูฮัมมัด ในจำนวนนี้มี 25 มาตราที่พูดถึงชาวมุสลิมเป็นการเฉพาะ และอีก 27 มาตราได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับชนต่างศาสนิกโดยเฉพาะยิวและชนต่างศาสนิกอื่นๆ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกร่างขึ้นโดยมีสาระสำคัญที่อนุญาตให้ชนต่างศาสนิกสามารถดำรงชีวิตกับสังคมมุสลิมอย่างอิสระ สามารถปฏิบัติตามบทบัญญัติทางศาสนาตามความเชื่อของแต่ละชุมชนอย่างเสรี แต่ละชุมชนไม่อนุญาตสร้างความเดือดร้อนหรือก่อความไม่สงบแก่ชุมชนอื่น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกร่างขึ้นในปีแรกของการฮิจเราะฮฺหรือปี 623 ค.ศ. แต่ทุกครั้งที่เมืองอัลมะดีนะฮฺถูกคุกคามจากศัตรู พลเมืองอัลมะดีนะฮฺทุกคนต้องลุกขึ้นปกป้องจากภัยคุกคามนี้”

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญอัลมะดีนะฮฺสรุปได้ดังนี้

  1. ประชาชาติมุสลิมอยู่ในฐานะที่เหนือกว่าการติดยึดในเรื่องเผ่าพันธุ์และสีผิว
    “แท้จริง พวกเขาคือประชาชาติเดียวกันที่แตกต่างจากชาวพลเมืองอื่น”

นัยตามมาตรานี้ ทำให้ชาวมุสลิมถึงแม้จะมาจากเผ่าพันธุ์ วงศ์ตระกูล เชื้อชาติและภาษาที่ต่างกัน แต่พวกเขามีความผูกพันกับสายใยอันเดียวกัน นั่นคือ อิสลาม และด้วยมาตรานี้ นบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم ได้ทลายกำแพงความเป็นท้องถิ่นนิยม ภาคนิยม ภาษานิยมและชาตินิยมอย่างหมดสิ้น พร้อมสร้างชาติพันธุ์ใหม่คือชาติพันธุ์อิสลาม ทุกคนกลายเป็นประชาชาติเดียวกันคือประชาชาติอิสลาม

  1. การสร้างหลักประกันสังคมร่วมกันระหว่างพลเมือง
    “แท้จริงศรัทธาชนไม่สามารถปล่อยให้ปัญหาของมุสลิมถูกแก้ไขตามลำพัง แต่เขาต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน แก้ปัญหาด้วยคุณธรรมโดยเฉพาะเรื่องการไถ่ตัวมุสลิมจากการถูกจองจำ”

มาตรานี้ได้ส่งสัญญาณแก่มุสลิมทุกคนว่า พวกเขาคือพี่น้องกัน จำเป็นต้องเกื้อกูลอุดหนุนซึ่งกันและกัน พวกเขาคือเรือนร่างอันเดียวกัน อวัยวะส่วนไหนเจ็บปวด อวัยวะส่วนอื่นเจ็บปวดไปด้วย

  1. การลงโทษผู้บิดพลิ้วสัญญา
    “ศรัทธาชนต้องลุกขึ้นต่อต้านโดยพร้อมเพรียงกันต่อทุกพฤติกรรมที่ส่อถึงการทรยศหักหลัง การสร้างศัตรูหรือสร้างความปั่นป่วนในสังคมมุสลิม ทุกคนต้องร่วมมือกันต่อต้านกับบุคคลที่มีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ ถึงแม้จะเป็นลูกหลานใครก็ตาม”
    อาศัยมาตรานี้ นบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم ได้สั่งประหารชีวิตยิวเผ่ากุร็อยเซาะฮฺกลุ่มหนึ่งหลังสงครามอัลอะหฺซาบ(สงครามพันธมิตร) ซึ่งยิวกลุ่มนี้ได้เป็นไส้ศึกร่วมมือกับศัตรูในการโจมตีเมืองอัลมะดีนะฮฺ ถึงแม้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอัลมะดีนะฮฺก็ตาม
  2. การให้เกียรติแก่ทุกคนที่มุสลิมประกันความปลอดภัย
    “แท้จริงอัลลอฮฺจะประกันความปลอดภัยแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แม้กระทั่งผู้ที่ต่ำต้อยที่สุดก็ได้รับสิทธินี้อย่างเสมอภาค ศรัทธาชนจะต้องร่วมมือประกันความปลอดภัยซึ่งกันและกัน”
    มุสลิมทุกคนสามารถประกันความปลอดภัยแก่ใครก็ได้ที่เขาต้องการไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม และทุกคนในสังคมต้องเคารพการประกันความปลอดภัยนี้ ถึงแม้ผู้ประกันจะมาจากประชาชนธรรมดาผู้ต่ำต้อยก็ตาม และแม้กระทั่งผู้ประกันจะเป็นผู้หญิงก็ตาม ดังหะดีษหนึ่งที่นบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم ได้กล่าวแก่อุมมุฮานิว่า “แท้จริง ฉันจะประกันความปลอดภัยแก่ผู้ที่ท่านประกันความปลอดภัยแก่เขาโอ้ อุมมุฮานิ” (อัลบุคอรีย์/6158 และมุสลิม/336)
  3. การปกป้องประชาชนต่างศาสนิกและชนกลุ่มน้อย
    “ผู้ใดก็ตามจากหมู่ชาวยิวที่ได้ตามเรา พวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือ พวกเขาจะไม่ถูกอธรรม และไม่มีใครสามารถคุกคามพวกเขาได้”
    มาตรานี้เป็นการประกาศอย่างชัดเจนว่า ชนต่างศาสนิกจะไม่ถูกคุกคามจากรัฐหรือสังคมมุสลิม ตราบใดที่เขาปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี มุสลิมหรือรัฐอิสลามไม่สามารถเอาประเด็นศาสนาเพื่อทำร้ายหรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นได้ ตราบใดที่เขาใช้ชีวิตในสังคมอย่างสันติ
  4. หลักประกันความปลอดภัยในสังคมและประกันให้ค่าสินไหมทดแทน
    “ผู้ใดที่ฆ่าผู้ศรัทธาโดยปราศจากเหตุผลที่เป็นที่อนุญาต เขาจะถูกตัดสินด้วยการประหารชีวิต ยกเว้นทายาทที่ถูกฆ่ายินยอมรับค่าสินไหมทดแทน ศรัทธาชนทั้งหลายต้องลุกขึ้นประณามฆาตกรรมนี้ ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์กระทำการอื่นใด ยกเว้นลงโทษผู้กระทำผิดเท่านั้น”
    มาตรานี้เป็นหลักสำคัญต่อกระบวนการสร้างสันติภาพที่สามารถลบล้างวัฒนธรรมแห่งการล้างแค้นที่บานปลายและไม่มีวันสิ้นสุดในสังคมญาฮิลียะฮฺในอดีต รัฐธรรมนูญยังได้ระบุว่า การลงโทษใดๆ สามารถบังคับใช้ต่อผู้กระทำผิดเท่านั้น และบุคคลอื่นจะไม่ถูกลงโทษเนื่องจากการกระทำผิดของสหายของเขา
  5. แหล่งคำตัดสินสุดท้ายคือชะรีอะฮฺอิสลาม
    “หากมีข้อพิพาทใดๆ ในระหว่างท่าน จงหันกลับไปสู่การตัดสินของอัลลอฮฺ และมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم

มาตรานี้เป็นการประกาศว่า การตัดสินของอัลลอฮฺ และเราะซูล صلى الله عليه وسلم ถือเป็นที่สิ้นสุดและทุกคนต้องเชื่อฟังคำตัดสินนี้

  1. เสรีภาพด้านการนับถือศาสนา

ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่กลุ่มชนต่างๆ ในการนับถือศาสนาและสามารถปฏิบัติคำสอนศาสนาตามความเชื่อของแต่ละคน ดังที่ได้ระบุในมาตราหนึ่งว่า “ยิวบะนีเอาว์ฟฺ เป็นประชาชาติหนึ่งร่วมกับบรรดาผู้ศรัทธา ยิวมีศาสนาประจำของพวกเขา และมุสลิมีนก็มีศาสนาประจำของพวกเขาเช่นกัน”

  1. การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อปกป้องรัฐถือเป็นหน้าที่ของทุกคน
    “ชาวยิวมีหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านการเงินพร้อมๆ กับผู้ศรัทธา ตราบใดที่พวกเขาร่วมทำสงครามพร้อมกับชาวมุสลิม”
    เพราะอัลมะดีนะฮฺเป็นรัฐของคนทุกคน ดังนั้นพลเมืองอัลมะดีนะฮฺทุกคนต้องปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนและปกป้องรัฐจากภัยคุกคามอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม
  2. ทุกเผ่าพันธุ์ได้รับอิสรภาพในการจัดการเรื่องเงินและรายได้ของตน
    “ชาวยิวมีหน้าที่แบ่งปันปัจจัยยังชีพในกลุ่มพวกเขา และชาวมุสลิมมีหน้าที่แบ่งปันปัจจัยยังชีพในกลุ่มพวกเขาเช่นกัน”
    ในเมื่อแต่ละกลุ่มชนมีหน้าที่ใช้จ่ายเพื่อปกป้องและรักษาความมั่นคงของรัฐ ดังนั้นแต่ละกลุ่มชนในสังคมต่างมีหน้าที่แบ่งปันปัจจัยยังชีพของตนโดยที่รัฐหรือกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ไม่มีสิทธิ์ไปก้าวก่ายและครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเพียงผู้เดียว
  3. การปกป้องรัฐอัลมะดีนะฮฺจากภัยคุกคามเป็นสิ่งวาญิบสำหรับทุกคน
    “ในระหว่างพวกเขา ต้องให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการต่อต้านผู้รุกรานพลเมืองของรัฐธรรมนูญฉบับนี้”

มาตรการนี้ถือเป็นการมอบหมายหน้าที่ให้แก่ทุกคนที่เป็นพลเมืองอัลมะดีนะฮฺในการปกป้องจากภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกที่สั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาล

  1. การให้คำตักเตือน การทำความดีระหว่างมุสลิมด้วยกันและชนต่างศาสนิก ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน
    “ในระหว่างพวกเขาต้องดำรงไว้ซึ่งการตักเตือนและการทำความดี ไม่ใช่กระทำบาปทั้งหลาย”
    สถานะดั้งเดิมของความสัมพันธ์ระหว่างพลเมือง ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม คือ การให้คำตักเตือน เสนอแนะสิ่งดี ประกอบคุณงามความดีให้แก่กัน ไม่ใช่สร้างความบาดหมางระหว่างกัน และการนับถือศาสนาที่ต่างกัน ไม่ใช่เป็นต้นเหตุสร้างความบาดหมางระหว่างกัน
  2. พลเมืองทุกคนสามารถทำสัญญากับฝ่ายใดก็ได้ ตราบใดที่ไม่กระทบกับความมั่นคงของชาติ

มาตรานี้เป็นการส่งเสริมให้พลเมืองทุกคนแข่งขันทำความดี สรรค์สร้างสิ่งประโยชน์และพัฒนาสังคมอย่างเต็มความสามารถ และเพื่อให้สามารถดำเนินไปอย่างสำเร็จสูงสุด รัฐจึงให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายทำสัญญาสร้างความร่วมมือทำคุณประโยชน์ ตราบใดที่ไม่กระทบกับความมั่นคงของชาติ

  1. พลเมืองมีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกอธรรม
    “แท้จริง การยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกอธรรมเป็นสิ่งวาญิบ”
    ดังนั้น ทุกคนต้องลุกขึ้นต่อสู้กับความอยุติธรรมและต้องปลดปล่อยอธรรมให้หมดไปจากสังคมมุสลิมไม่ว่าผู้ถูกอธรรมจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม
  2. การประกันความปลอดภัยแก่พลเมืองทุกคน เป็นหน้าที่สำคัญของรัฐ

รัฐจะต้องประกันความปลอดภัยแก่ประชาชน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางศาสนาและเผ่าพันธุ์

นี่คือสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับอัลมะดีนะฮฺที่สามารถสร้างสังคมปรองดองที่แท้จริง ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระเสรีและเกิดสันติสุขที่แท้จริง เพราะความหายนะและความปั่นป่วนในสังคม เกิดขึ้นเนื่องจากมนุษย์พยายามใช้อำนาจบังคับขู่เข็ญเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ตราบใดที่ไม่สามารถยับยั้งสกัดกั้นการบีบบังคับและการยกย่องบูชามนุษย์ด้วยกัน ตลอดจนปฏิเสธการนับถือพระเจ้าอันจอมปลอมและตราบใดที่ไม่สามารถปลดปล่อยมนุษย์ให้มีความอิสระในการเลือกทางเดินชีวิตและความต้องการอันแท้จริงของตนเองแล้ว มนุษย์จะต้องประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง สังคมก็จะมีแต่ความวุ่นวาย ด้วยเหตุนี้ ภารกิจสำคัญของนบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم และผู้ที่เจริญรอยตามท่าน คือ ปลดปล่อยมนุษย์ให้หลุดพ้นจากพันธนาการการเคารพบูชามนุษย์ด้วยกันสู่การเคารพบูชาอัลลอฮฺ ผู้ทรงเอกา ปล่อยอิสรภาพมวลมนุษย์จากห่วงโซ่อันคับแคบของโลกดุนยาสู่ความไพศาลของดุนยาและอาคิเราะฮฺ ทำให้มนุษยชาติหลุดพ้นจากกรงเล็บแห่งความอธรรมทางศาสนาสู่ความยุติธรรมของอัลอิสลาม


เขียนโดย ผศ. มัสลัน มาหะมะ