ราชสกุลออตโตมาน ความจริงที่ยิ่งกว่านิยาย

ราชวงศ์ออตโตมาน ตระกูลสูงศักดิ์ที่ถูกโค่นบัลลังก์ และถูกเนรเทศขับไล่ไสส่งออกจากประเทศ ต้องระเหเร่ร่อน ถูกหยามเหยียด ชนิดที่ไม่มีเลือดขัตติยาตระกูลใดในโลกเคยประสบชะตากรรมเฉกนี้

สิ่งที่พรรคประชาชนสาธารณะ CHP ของกามาล อะตาเติร์ก กระทำต่อราชวงศ์ออตโตมาน เป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดเคยทำ ไม่ว่าจะเป็นกาฟิร มะยูซี หรือยิว

ไม่มีในประวัติศาสตร์ว่ามีกาฟิรใดกระทำต่อบรรพบุรุษของตน เหมือนกับที่พรรคนี้กระทำต่อลูกหลานของสุลต่านมุฮัมมัด ฟาติห์

พวกเขาเนรเทศ ขับไล่ไสส่งราชสกุลเหล่านี้ในยามราตรี ในชุดลำลอง ไปยังประเทศยุโรป

บุตรและภริยาสุลต่าน ต่อรองว่า ขอให้เนรเทศไปยังจอร์แดน อียิปต์ หรือซีเรียได้ไหม อย่าเนรเทศไปยังยุโรปเลย

แต่คำสั่งจากตะวันตกเด็ดขาดชัดเจน ไม่มีข้อแม้ ให้เนรเทศไปยังยุโรปเท่านั้น เพื่อต้องการแก้แค้นให้สาแก่ใจ และเหยียดหยามศักดิ์ศรีให้ถึงที่สุด

พวกเขาจึงเนรเทศราชสกุลเหล่านั้น บางส่วนก็ถูกส่งไปยังเทสซาโลนิกีในกรีซ ถิ่นที่เคยเป็นภูมิลำเนาของยิว บางส่วนก็ถูกส่งตัวไปยังยุโรป

พวกเขาเนรเทศสุลต่านวะฮีดุดดีน สุลต่านคนสุดท้ายของราชวงศ์ออตโตมาน พร้อมภริยาไปยังฝรั่งเศส ในตอนกลางคืน พร้อมกับได้ยึดทรัพย์สินทั้งหมด ให้ไปเพียงตัวเปล่าในชุดลำลอง ไม่มีเงินติดตัวแม้แต่สตางค์แดงเดียว

มีคำบอกเล่าว่า ลูกๆของสุลต่านได้ปิดหน้าปิดตาออกขอทานในกรุงปารีส เพื่อปิดบังไม่ให้คนรู้จัก

ในขณะที่สุลต่านเสียชีวิต ทางโบสถ์ของฝรั่งเศสได้ยึดศพท่านไว้เพื่อประกันหนี้ที่ท่านติดค้างอยู่กับห้างร้านต่างๆ ชาวมุสลิมที่นั่นจึงรวบรวมเงินจ่ายหนี้ดังกล่าว และนำศพใส่โลง ส่งไปฝังยังประเทศซีเรีย

หลังจากนั้น 20 ปี มีบุคคลแรกที่ออกตามหาพวกเขา นั่นคือ ชะฮีดนายกรัฐมนตรีอัดนาน แมนเดรส แห่งตุรกี ที่ได้เดินทางไปยังฝรั่งเศสเพื่อตามหาพวกเขาเหล่านั้น

เมื่อถึงไปยังฝรั่งเศส ก็ได้สอบถามถึงที่อยู่ของพวกเขา อัดนาน แมนเดรส กล่าวถามไปทั่วว่า บอกที่อยู่บิดามารดาของฉันหน่อย

ในที่สุด อัดนาน แมนเดรส ได้ไปถึงยังหมู่บ้านเล็กๆในกรุงปารีส ตรงไปที่สถานที่ล้างจานของโรงงานแห่งหนึ่ง จึงได้พบกับราชินีชาฟีเกาะฮ์ ภริยาสุลต่านอับดุลหะมีดที่ 2 ซึ่งมีอายุได้ 85 ปี และเจ้าหญิงอาอีชะฮ์ ธิดาสาว อายุ 60 ปี ทำงานล้างจานอยู่ในโรงงานนั้นด้วยค่าจ้างเพียงเล็กน้อย !

อัดนาน แมนเดรส ถึงกับร่ำไห้ด้วยความสงสาร พร้อมกับจูบมือของเลือดขัตติยาทั้งสอง

เจ้าหญิงอาอีชะฮ์จึงถามขึ้นว่า ท่านเป็นใคร
อัดนาน แมนเดรส ตอบว่า ผมเป็นนายกรัฐมนตรีตุรกีครับ
ได้ยินดังนั้น นางก็วางจานลง พลางกล่าวว่า ลูกเอ๋ย ไปอยู่ไหนมา ทำไมจึงได้มาช้านัก

ด้วยความดีใจอย่างที่สุด นางถึงกับเป็นลมหมดสติไปในเวลานั้นทันที

อัดนาน แมนเดรส กลับมายังแองการ่า กล่าวกับ ยะลาล บิยาร ว่า ฉันจะออกกฎหมายนิรโทษกรรม และนำตัวมารดากลับมายังตุรกี

ตอนแรก ยะลาล บิยาร ก็คัดค้าน แค่เมื่อเห็นความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของแมนเดรส ก็ยินยอม แต่มีเงื่อนไขว่า ให้กลับได้เฉพาะธิดาเท่านั้น ไม่รวมบุตรชายของสุลต่านอับดุลหะมีดและสุลต่านวะฮีดุดดีน

อัดนาน แมนเดรส ได้กลับไปยังปารีส นำตัวราชินีชะฟีเกาะฮ์และเจ้าหญิงอาอีชะฮ์กลับสู่ตุรกี ส่วนบรรดาบุตรชาย ได้กลับตุรกีในยุคที่นัจมุดดีน อัรบะกาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ท่านเหล่านั้น

หลังจากถูกปฏิวัติ ข้อหาส่วนหนึ่งที่อัดนาน แมนเดรส ถูกกล่าวหา ได้แก่ การขโมยสมบัติชาติไปอุปการะเลี้ยงดูราชินีและธิดาของสุลต่าน

ทั้งๆที่ในความเป็นจริง ทุกครั้งในวันอีด อัดนาน แมนเดรส จะไปเยี่ยมราชินีชะฟีเกาะฮ์และเจ้าหญิงอาอีชะฮ์ พร้อมจูบมือและมอบเงินส่วนตัวจากเงินเดือนของตนเอง ให้แก่ทั้งสองท่านๆ ละ 10,000 ลีร่า

ชะฮีดอัดนาน แมนเดรส ถูกประหารชีวิตในวันที่ 17 กันยายน 1961

หลังจากนั้นเพียงวันเดียว ในวันที่ 18 กันยายน 1961 มีคนไปพบศพของราชินีชะฟีเกาะฮ์และเจ้าหญิงอาอิชะฮ์ เสียชีวิตอยู่ในสภาพสุยูดในขณะละหมาด…

ขอให้อัลลอฮ์เมตตา และรับความเป็นชะฮีดของท่านอัดนาน แมนเดรส วีรบุรุษแห่งออตโตมานด้วยเทอญ

ขอให้อัลลอฮ์เมตตาสายสกุลสุลต่านออตโตมานทุกท่าน ที่ยอมสละบัลลังก์ อำนาจวาสนา และยศถาบรรดาศักดิ์…เพียงเพื่อพิทักษ์รักษาอัลอักซอ ไว้จนวินาทีสุดท้ายของบัลลังก์คอลีฟะฮ์ออตโตมาน ที่สืบทอดมายาวนานกว่า 600 ปี …


เขียนโดย Ghazali Benmad

ขุดโคตรรอฟิเฎาะฮฺ ตอนที่ 7

ชีอะฮฺอิสมาอีลียะฮฺได้ไปตั้งรกรากที่มอร็อกโค โดยการเผยแผ่คำสอนของ อะบูอับดุลลอฮฺ อัชชีอีย์พวกเขาได้รับอิทธิพลจากรุสตัม บินหุเซ็น ผู้สถาปนาอาณาจักรเกาะรอมิเฏาะฮฺที่เยเมน ทั้งอิสมาอีลียะฮฺและเกาะรอมิเฏาะฮฺ ต่างถือว่า อิสมาอีล บินญะฟัรอัศศอดิก เป็นอิมาม หาใช่มูซา อัลกาซิม อิมามคนที่ 7 ตามความเชื่อของชีอะฮฺอิมาม 12

ลูกหลานของมัยมูน อัลก็อดดาหฺ (ยิวจากเมืองกูฟะฮฺ) ชื่อว่า อุบัยดิลลาฮฺ บินหุเซ็น บินอะหฺมัด บินอับดุลลอฮฺ บินมัยมูนอัลก็อดดาหฺ ได้สถาปนารัฐอิสมาอีลียะฮฺที่มอร็อกโคพร้อมอ้างตนเองเป็นอิมามมะฮฺดี เขายังแอบอ้างว่า ตนเองเป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากอิสมาอีล บินญะฟัรอัศศอดิก

เพื่อให้การเผยแผ่ลัทธินี้ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วไป เขาจึงเรียกอาณาจักรตนเองว่า ฟาฏิมียะฮฺ ทั้งๆที่เขาสืบเชื้อสายยิว แต่ก็ได้รับการตอบรับจากผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มมุสลิมที่ไม่ค่อยได้รับการศึกษาทางศาสนา ลัทธินี้ได้ขยายอิทธิพลไปยังแอฟริกาเหนือ จนกระทั่งสามารถยึดครองอิยิปต์ในปีฮ.ศ. 359 ภายใต้การนำของอัลมุอิซ ลิดีนิลลาฮฺ อัลอุบัยดี และกลายเป็นต้นกำเนิดของ
อาณาจักรอุบัยดิยูน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบูรณะและพัฒนาเมืองไคโรและสร้างมัสยิดอัลอัซฮัร

ในช่วงดังกล่าว พวกเขาได้เผยแพร่หลักคำสอนอันบิดเบือน การด่าทอเศาะฮาบะฮฺ อุตริกรรม จนกระทั่งสิ่งอบายมุขและพฤติกรรมไร้จริยธรรมทั้งหลายได้แพร่กระจายไปทั่วทุกหย่อมหญ้า นอกจากนี้ พวกเขายังเข่นฆ่าอุละมาอฺซุนนะฮฺ มีผู้นำบางคนของพวกเขาแอบอ้างตนเองเป็นพระเจ้า

เพื่อสนับสนุนการเผยแผ่ของลัทธินี้ พวกเขาได้สร้างมัสยิดมากมาย ลัทธินี้สามารถปกครองอิยิปต์ แผ่ขยายไปถึงเมืองชามและดินแดนส่วนหนึ่งในหิญาซนาน 200 ปี จนกระทั่งจอมทัพเศาะลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์สามารถปราบปรามลัทธินี้ได้สำเร็จเมื่อปี ฮ.ศ. 567 อิยิปต์จึงปลอดจากเชื้อร้ายของลัทธิชีอะฮฺอิสมาอีลิยะฮฺนับแต่นั้นมา

ส่วนลัทธิที่ 3 คือชีอะฮฺอิมาม 12 พวกเขาได้สร้างสิ่งอุตริกรรมทางศาสนาที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชีอะฮฺทั้ง 2 ลัทธิที่ได้กล่าวมา เพียงแต่พวกเขาศรัทธาต่ออัลลอฮฺ เราะซูล และการฟื้นคืนชีพ แต่ก็ได้ต่อเติมเสริมแต่งคำสอนอิสลามไว้อย่างมากมายจนไม่หลงเหลือเคัาเดิมของศาสนา ส่วนหนึ่งของบรรดาแกนนำของพวกเขาได้สร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับชนชั้นปกครองของเปอร์เซียและอิรัก ด้วยวิธีนี้ พวกเขาจึงสามารถครองอำนาจแถบเปอร์เซียระหว่าง ฮ.ศ. 261- ฮ.ศ.389 (128ปี) มีอำนาจในแผ่นดินอิรักระหว่าง ฮ.ศ. 317 – ฮ.ศ 369 (52 ปี) และครองอำนาจแถบเมืองหะลับ (เมืองชาม) ระหว่างปี ฮ.ศ. 333 – ฮ.ศ. 392 (59 ปี)

ชีอะฮฺกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังสำคัญที่ทำให้อาณาจักรอับบาสียะฮฺล่มสลายในปี ฮ.ศ. 334 และสามารถยึดกรุงแบกแดดนานนับ 100 ปี จนกระทั่งในปี ฮ.ศ. 447 ชาวซะลาญิเกาะฮฺสายซุนนะฮฺสามารถยึดคืนอิรักจากการปกครองของชีอะฮฺ และเมืองอิรักถูกปกครองโดยชาวซุนนะฮฺอีกครั้ง

ในช่วงชีอะฮฺเรืองอำนาจ พวกเขาได้แสดงความเกลียดชังต่ออุละมาอฺซุนนะฮฺอย่างเข้ากระดูกดำ มีการเขียนข้อความด่าทอบรรดาเศาะฮาบะฮฺตามผนังมัสยิด โดยเฉพาะการสาปแช่งท่านอะบูบักร์และอุมัร์ในคุตบะฮฺ

อาจกล่าวได้ว่า ฮิจเราะฮฺศักราชที่ 4 ถือได้ว่าเป็นศตวรรษแห่งการเรืองอำนาจของชีอะฮฺโดยแท้จริง

ชีอะฮฺอิมาม 12 เถลิงอำนาจแถบอิหร่านและอิรัก ส่วนหนึ่งก็ยึดครองประเทศทางตอนเหนือของอิหร่านและอัฟกานิสถาน ส่วนหนึ่งมีอำนาจแถบเมืองหะลับ (ซีเรีย) ส่วนชีอะฮฺเกาะรอมิเฏาะฮฺ ก็สถาปนารัฐชีอะฮฺแถบภาคเหนือของคาบสมุทรอาหรับ ดินแดนหิญาซ ดามัสกัสและเยเมน ในขณะที่อาณาจักรอุบัยดิยูนหรือฟาฏิมียะฮฺ ก็ปกครองประเทศอิสลามแถบแอฟริกา รวมทั้งบางส่วนในฟิลัสฏีน ซีเรียและเลบานอน

ในปลายศตวรรษที่ 4 ฮิจเราะฮฺ อาณาจักรชีอะฮฺเกาะรอมิเฏาะฮฺก็ถึงคราวอวสาน และกลางศตวรรษที่ 5 ฮิจเราะฮฺ (ปี 447) อาณาจักรบะนีบูวัยฮฺที่ปกครองอิรักก็สิ้นอำนาจลง ในขณะที่ชีอะฮฺอิสมาอีลียะฮฺก็เสื่อมอำนาจในช่วงกลางศตวรรษที่ 6 (567ฮ.ศ.) โลกอิสลามได้กลับเข้าสู่อ้อมอกของชาวซุนนะฮฺอีกครั้ง ถึงแม้ชีอะฮฺอิมาม 12 ยังแผ่อิทธิพลในอิหร่านและอิรัก แต่ก็อ่อนกำลังมากและไม่สามารถสถาปนาเป็นรัฐอิสระได้

เรื่องราวทำท่าจะไปด้วยดี จนกระทั่งในปี ฮ.ศ. 907 (ต้นฮิจเราะฮฺศักราชที่ 10) มีชายชาวเปอร์เซียนามว่า อิสมาอีล อัศเศาะฟะวีย์ ได้ประกาศสถาปนารัฐอัศเศาะฟะวียะฮฺในอิหร่าน ท่ามกลางหยาดเลือดและซากศพของพี่น้องชาวซุนนะฮฺ เขาได้สร้างรัฐอันธพาลนี้ด้วยอำนาจเผด็จการ รัฐนี้ได้กลายเป็นหอกข้างแคร่ที่สร้างความเดือดร้อนแก่อาณาจักรอุษมานียะฮฺและประเทศอิสลามใกล้เคียงอย่างมาก พวกเขาได้ทำสัญญาลับกับกองทัพโปรตุเกสเพื่อโจมตีอาณาจักรอุษมานียะฮฺ จนกระทั่งสามารถยึดครองส่วนหนึ่งของอิรักและได้เผยแพร่อะกีดะฮฺชีอะฮฺเข้าไปยังดินแดนแถบนี้

ความขัดแย้งและสงครามระหว่างเศาะฟะวียะฮฺและอาณาจักรอุษมานียะฮฺได้ปะทุขึ้นอย่างต่อเนื่องนานกว่า 2 ศตวรรษ จนกระทั่งอาณาจักรเศาะฟะวียะฮฺสิ้นอำนาจลงเมื่อปี ฮ.ศ. 1148

หลังจากนั้น ถึงคราวอาณาจักรอุษมานียะฮฺประสบกับความอ่อนแอ ดินแดนแถบอิหร่านก็มีการผลัดเปลี่ยนผู้นำที่สืบเชื้อสายมาจากเปอร์เซีย แต่ผู้นำทุกคนต่างก็จงรักภักดีต่อประเทศมหาอำนาจจากยุโรปขณะนั้น โดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย

ในปีฮ.ศ. 1193 อิหร่านถูกปกครองโดยกษัตริย์ชีอะฮฺ เชื้อสายเปอร์เซียนามว่า มุฮัมมัด ฟาญาร์ ถึงแม้พระองค์เป็นชีอะฮฺอิมาม 12 แต่ก็เป็นบุคคลที่ไม่ยึดมั่นกับคำสอนชีอะฮฺมากนัก ราชวงศ์นี้มีอำนาจสืบทอดกันมาจนถึงปี ฮ.ศ. 1343 ก็ถูก ริฎอ ปาห์เลวียึดอำนาจด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษ เขาได้สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์พร้อมขนานนามตนเองว่า ชาห์แห่งอิหร่าน ต่อมาพระองค์เกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลอังกฤษ เป็นเหตุให้ นายมุฮัมมัด บินริฎอ ปาห์เลวี ซึ่งเป็นพระโอรสได้ยึดอำนาจและสถาปนาตนเองเป็นชาห์แห่งอิหร่านแทนเมื่อ ปี ฮ.ศ. 1359 (ค.ศ. 1941)

ชาห์ปาเลวี คนที่ 2 ได้ครองราชย์และเป็นกษัตริย์แห่งอิหร่านเรื่อยมาจนกระทั่งปี ฮ.ศ. 1399 (ค.ศ.1979) อิหม่ามโคไมนี่ได้นำคลื่นมหาชนปฏิวัติระบอบนี้ได้สำเร็จ ภายใต้การปฏิวัติที่(แอบ)ใช้ชื่อว่า การปฏิวัติอิสลามอิหร่าน พร้อมสถาปนาประเทศเป็น สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ท่ามกลางแสดงความยินดีจากมุสลิมทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะผู้มีวิญญาณของนักเคลื่อนไหวอิสลามที่ใฝ่ฝันการหวนกลับของระบบคิลาฟะฮฺและรัฐอิสลามที่ยึดเจตนารมณ์อิสลามเป็นหลักในการปกครองและบริหารจัดการประเทศ

นี่คือภาพย่อเรื่องราวของชีอะฮฺรอฟิเฎาะฮฺจากจุดเริ่มต้นจนกระทั่งปัจจุบัน

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ลัทธินี้ไม่มีภารกิจหลักอื่นใดนอกจากเป็นพลังปฏิปักษ์ที่สั่นคลอนอาณาจักรอิสลามเท่านั้น ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ พวกเขาไม่เคยสร้างปัญหาใดๆ กับศัตรูอิสลาม ไม่ว่ากองทัพครูเสด รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส หรือแม้กระทั่งกองทัพตาตาร์และมองโกเลีย สิ่งที่เราพบเห็นมาโดยตลอดคือ ลัทธินี้มีความสัมพันธ์อันแนบแน่นและสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับอริราชศัตรูของประเทศอิสลามมาโดยตลอด

ผู้เขียนกล้าฟันธงเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่า เราจะเอาโทษรุ่นลูกรุ่นหลาน เนื่องจากความผิดพลาดของบรรพบุรุษ เราไม่ได้เหมารวมว่า ในเมื่อบรรพบุรุษทำผิดแล้ว บรรดาลูกหลานก็ทำผิดเช่นกัน แต่สิ่งที่อยากให้ท่านผู้อ่านคิดตามก็คือ การวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ เราจำเป็นต้องมองที่รากเหง้าของปัญหานั้นๆ และรากเหง้าของแต่ละปัญหาคือหลักอะกีดะฮฺ แนวคิดและหลักสูตร หากประเด็นเหล่านี้มีความเหมือนกัน ต่อให้ฉายซ้ำเป็นร้อยๆ ภาคและใช้ระยะเวลานานนับศตวรรษ สุดท้ายก็มีฉากอวสานและบทสรุปที่ใกล้เคียงกัน เช่นเดียวกันกับรอฟิเฎาะฮฺยุคนี้กับยุคก่อน ซึ่งต่างก็มีหลักอะกีดะฮฺ แนวคิดและหลักสูตรที่มาจากแหล่งเดียวกัน ตราบใดที่ลัทธินี้ยังมีความเชื่อว่าอิมามจะต้องมาจากวงศ์ตระกูลเฉพาะ อิมามเป็นบุคคลพิเศษที่ไม่กระทำบาป(มะอฺศูม) ตราบใดที่ยังมีความเชื่อว่าเศาะฮาบะฮฺเป็นผู้ทรยศหักหลังและเป็นกลุ่มชนที่ชั่วร้ายที่สุด ตราบใดที่ยังด่าทอเศาะฮาบะฮฺและสาปแช่งภรรยานบีซึ่งเป็นมารดาของบรรดาผู้ศรัทธา ตราบใดที่ยังมีความเชื่อว่าอัลกุรอานในปัจจุบันและซุนนะฮฺยังไม่สมบูรณ์ ตราบใดที่ยังมีความเชื่อมั่นในหลักตะกียะฮฺ และเชื่อว่าการโกหกปลิ้นปล้อนเป็นเก้าในสิบส่วนของศาสนา ตราบนั้นเราก็ไม่สามารถหวังดีและคิดเชิงบวกกับลัทธินี้ ประโยคเดียวที่เป็นข้อสรุปในเรื่องนี้ก็คือ บรรพบุรุษเป็นยังไง บรรดาลูกหลานก็เป็นยังงั้น สำนวนไทยๆ มักพูดสั้นๆ ว่า ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น นั่นเองครับ

(ต่อ) อันตรายของรอฟิเฎาะฮฺ

ขุดโคตรรอฟิเฎาะฮฺ ตอนที่ 6

อัลลอฮฺได้กล่าวความว่า “ท่านทั้งหลาย จงเล่าเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อพวกเขาจะได้ไตร่ตรอง” (อัลอะรอฟ : 176)

ดังนั้นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น เพื่อต้องการให้เราคิดทบทวนเป็นอุทาหรณ์และบทเรียน หาไม่แล้ว มันก็ไม่ต่างกับนวนิยายปรำปราที่ไม่สามารถนำสาระประโยชน์ใดๆ เลย

การเล่าเรื่อราวของรอฟิเฎาะฮฺในอดีต ก็มีวัตถุประสงค์หลักเพียงประการเดียวคือใช้เหตุการณ์ในอดีตเป็นเครื่องมือทำความเข้าใจปัจจุบัน และคาดการณ์ล่วงหน้าว่าเรื่องราวจะจบลงกันอย่างไร เพราะบทละครเดียวกันที่ประพันธ์โดยคนๆ เดียวกัน ถึงแม้จะมีการแสดงซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่า ก็จะมีเค้าโครงเรื่องและมีตอนอวสานที่เหมือนกัน

เราได้ทราบมาแล้วว่า หลังจากที่หะซัน อัลอัสกะรีย์เสียชีวิตไป ชีอะฮฺเกิดภาวะ “ตีบตันทางการเมือง” พวกเขาได้เริ่มแยกเป็นก๊กเป็นเหล่าตามความบิดเบือนของแต่ละกลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือลัทธิชีอะฮฺอิมาม 12 แต่ก็ยังมีหลายกลุ่มที่เกิดมาช่วงนี้ และกลุ่มที่สร้างอันตรายแก่ประชาชาติมุสลิมมากที่สุด คงไม่มีใครเกินกลุ่มลัทธิอิสมาอีลียะฮฺ ซึ่งเป็นลัทธิชีอะฺฮฺสุดโต่งที่อุละมาอฺซุนนะฮฺส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นกลุ่มที่พ้นสภาพจากอิสลามโดยสิ้นเชิง พวกเขาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มบาฏินียะฮฺที่เชื่อว่าหลักชะรีอะฮฺมีทั้งเนื้อหาที่สามารถเข้าใจอย่างตรงไปตรงมาตามตัวบท แต่ในอีกแง่หนึ่งเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่จำเป็นต้องถอดรหัสโดยผู้รู้ที่พวกเขายอมรับเท่านั้น เช่นเดียวกันกับอัลกุรอานและหะดีษที่มีเนื้อหาที่ซ่อนเร้นอยู่ ดังนั้นพวกเขาไม่ละหมาด ไม่ออกซะกาต ไม่ศิยาม ไม่ถือศีลอดและไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนบัญญัติอื่นๆ เหมือนชาวซุนนะฮฺทั่วไป แต่พวกเขามีวิธีถอดรหัสคำสอนเหล่านี้ตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขาเอง

ลัทธินี้ เริ่มต้นมาจากยิวจากเมืองกูฟะฮฺคนหนึ่งชื่อ มัยมูน อัลก็อดดาหฺ ที่เสแสร้งรับอิสลามแต่เกลียดชังอิสลามอยู่เต็มอก เขาได้เข้าไปตีสนิทกับมุฮัมมัด บินอิสมาอีล บินญะอฺฟัรอัศศอดิก ซึ่งท่านอิสมาอีล บินญะฟัรท่านนี้ มีศักดิ์เป็นพี่ชายของมูซา อัลกาซิม (อิมามคนที่ 7) ในฐานะเป็นลูกชายคนโต ท่าน จึงมีสิทธิ์เป็นอิมามแทนพ่อ แต่อิสมาอีลเสียชีวิตตั้งแต่อิมามญะฟัรยังมีชีวิตอยู่ ตำแหน่งอิมามจึงตกเป็นของมูซา อัลกาซิม

ลัทธินี้จึงกุเรื่องว่า ความจริงแล้วอิสมาอีลไม่ตาย เขาจะกลับมาฟื้นคืนชีพใหม่ตามความเชื่ออันบิดเบือน และเขาคืออิมามมะฮฺดีผู้เป็นที่รอคอย ลัทธินี้จึงถูกขนานนามว่า อิสมาอีลียะฮฺหรืออัลบาฏินียะฮฺตามที่ได้กล่าวมา

มัยมูน อัลก็อดดาหฺได้ออกอุบายวางแผนระยะยาวเพื่อทำลายอิสลามจากภายใน เขาได้ตั้งชื่อลูกชายคนโตของเขาชื่อว่า มุฮัมมัด และได้สั่งเสียว่าต่อไปนี้ให้ตั้งชื่อลูกหลานของเขาให้เหมือนกับชื่อลูกหลานของมุฮัมมัด บินอิสมาอีลที่มาจากอาลุลบัยต์ เมื่อเวลาผ่านไป ชาวยิวกลุ่มนี้ได้แอบอ้างว่าต้นตระกูลของตนเองมาจากอาลุลบัยต์ ซึ่งตำแหน่งอิมามหลังจากนี้ต้องมาจากต้นตระกูลของตนเอง ไม่ใช่มาจากตระกูลของมูซาอัลกาซิม บินญะฟัรอัศศอดิก

หลังจากนั้น ทุกอย่างก็เป็นไปตามแผนอันสกปรกนี้ บรรดาลูกหลานของมัยมูน อัลก็อดดาหฺ ได้สถาปนาลัทธิใหม่ที่แอบอ้างอิสลาม ทั้งๆที่อิสลามไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับลัทธิเพี้ยนนี้เลย พวกเขาเชื่อว่า อัลลอฮฺสามารถสิงเข้าไปในตัวตนของอิมาม พวกเขาจึงเชื่อว่าอิมามคือพระเจ้า พวกเขายังเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด การฟื้นขึ้นใหม่ของอิมามที่เสียชีวิตแล้ว ภารกิจหลักของพวกเขาช่วงนี้คือการลอบฆ่าบรรดาอุละมาอฺซุนนะฮฺ

ซ้ำร้ายยิ่งกว่านี้ เมื่อพวกเขาสามารถจับมือกับกลุ่มลุทธิคลั่งชาติชาวเปอร์เซียที่เคียดแค้นอิสลามเป็นทุนเดิม ทำให้แผนสกปรกนี้ดำเนินไปอย่างสะดวกโยธิน ความเจ้าเล่ห์เพทุบาย ทรยศหักหลังและพฤติกรรมทรามของชาวยิว ได้ผสมผสานกับไฟอาฆาตแค้นและแรงริษยาของโซโรแอสเตอร์ จนกลายเป็นเนื้อทองอันเดียวกัน มันคือความชั่วร้ายยกกำลังที่สร้างรอยแผลฉกรรจ์แก่ร่างกายของประชาชาติมุสลิมนับตั้งแต่นั้นมา

ครั้นเวลาผ่านไป เชื้อร้ายเหล่านี้ได้ตกผลึกไปถึงชายคนหนึ่งนามว่า หัมดาน บิน อัชอัษ ซึ่งมีฉายาว่า ก็อรมัฏ ( قرمط แปลว่าผู้มีร่างกายสั้นเตี้ยตามรูปร่างของตนเอง) และกลายเป็นผู้ก่อตั้งลัทธิชีอะฮฺเกาะรอมิเฏาะฮฺ

ลัทธิร้ายนี้เป็นอีกลัทธิหนึ่งที่แยกออกจากลัทธิอิสมาอีลียะฮฺ พวกเขามีความเชื่อว่า ทรัพย์สมบัติและสตรีเป็นของสาธารณะ ทุกคนมีสิทธิ์ครอบครองโดยเท่าเทียมกัน สังคมในสมัยนั้นจึงอุดมด้วยการปล้นสะดม เข่นฆ่า กระทำชำเราสตรีและพฤติกรรมทรามทั้งหลาย

สรุปแล้ว ช่วงกลางศตวรรษที่ 3 ฮิจเราะฮฺนี้ ได้เกิดลัทธิบิดเบือน 3 ลัทธิใหญ่ๆ คือ ชีอะฮฺอิมามิยะฮฺ อิสมาอีลียะฮฺ และเกาะรอมิเฏาะฮฺ แต่ละกลุ่มลัทธิก็อ้างว่ากลุ่มตนคือกลุ่มที่ถูกต้องและเป็นตัวแทนของอาลุลบัยต์ที่แท้จริง แต่ที่น่าสังเกตคือทั้ง 3 ลัทธินี้ไม่เคยมีประวัติเกิดความขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นทำสงครามระหว่างกัน แต่ฝ่ายที่โดนรุมทำลายจากลัทธิเหล่านี้คือมุสลิมซุนนะฮฺ ที่น่าแปลกประหลาดมากกว่านี้คือ ลัทธิเหล่านี้ไม่เคยสร้างความลำบากใจแก่ชาวยิว คริสเตียน นักรบตาตาร์ นักรบมองโกเลียที่เคยรุกรานอาณาจักรอิสลามแม้แต่น้อย อาจกล่าวได้ว่าพวกเขาไม่เคยทำสงครามอย่างจริงจังกับชนชาติเหล่านี้เลย และชนชาติเหล่านี้ก็ไม่เคยทำสงครามอย่างจริงจังกับกลุ่มลัทธินี้เช่นกัน กลุ่มเดียวที่กลายเป็นเหยื่อของความโหดร้ายของลัทธิทั้ง 3 และชนชาติเหล่านั้นคือประชาชาติมุสลิมซุนนะฮฺ อัลลอฮุลมุสตะอาน

ถึงกระนั้นก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว กลุ่มลัทธิทั้ง 3 นี้ยังไม่สามารถสถาปนารัฐอิสระได้ พวกเขาเป็นเพียงเม็ดทรายในรองเท้าที่คอยสร้างปัญหากับการรุดหน้าของอาณาจักรอิสลามมาโดยตลอด แต่เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 3 ฮิจเราะฮฺและต้นศตวรรษที่ 4 ฮิจเราะฮฺ ทุกอย่างได้เปลี่ยนไป และได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของตำนานแห่งความเศร้าโศกของประชาชาติอิสลามนับแต่นั้นมา

ในกลุ่ม 3 ลัทธินี้ ลัทธิแรกที่สามารถก้าวมีอำนาจทางการเมืองและสถาปนาเป็นอาณาจักรอิสระคือ ลัทธิเกาะรอมิเฏาะฮฺ พวกเขาสถาปนาอาณาจักรเกาะรอมิเฏาะฮฺครั้งแรกที่เยเมน ภายใต้การนำของจอมโหด นายรุสตัม บินหะซัน และสามารถขยายอิทธิพลไปถึงมอร็อกโค แต่ก็ล่มสลายไปในระยะเวลาอันสั้นๆ จนกระทั่งพวกเขาสามารถสถาปนารัฐอิสระอีกครั้งในบริเวณภาคตะวันออกของคาบสมุทรอาหรับแถบบริเวณประเทศบาห์เรนและดินแดนใกล้เคียงในปัจจุบัน ภายใต้การนำของหัมดาน ก็อรมัฏในปี 320 ฮ.ศ.

การกำเนิดรัฐเกาะรอมิเฏาะฮฺแถบบริเวณคาบสมุทรอาหรับ ได้สร้างความเดือดร้อนอันใหญ่หลวงแก่ประชาชาติมุสลิม ด้วยความเชื่อที่ผิดเพี้ยนและการปลูกฝังแนวคิดสุดโต่ง พวกเขาได้เข่นฆ่า ปล้นสะดม ฉุดกระชากสตรีไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ที่โหดร้ายที่สุดคือโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในปี 317 ฮ.ศ. เมื่อพวกเขาบุกไปจู่โจมมัสยิดหะรอมและเข่นฆ่าผู้คนที่กำลังเฏาะวาฟ พร้อมทั้งยึดหินดำ(อัลหะญะรุลอัสวัด) พาไปที่เมืองหลวงของเขาแถบภาคตะวันออกของคาบสมุทรอาหรับ หินดำอยู่ภายใต้ครอบครองของกลุ่มลัทธินี้นานถึง 22 ปี จนกระทั่งถูกส่งคืนไปยังกะอฺบะฮฺอีกครั้งในปี ฮ.ศ. 339
…………..
………….

มีต่อครับ (อาณาจักรอิสมาอีลียะฮฺที่มอร็อกโค และฟาฏิมียะฮฺที่อิยิปต์)

ขุดโคตรรอฟิเฎาะฮฺ ตอนที่ 5

หลังการเสียชีวิตของหะซัน อัสกะรีย์ อิมามคนที่ 11 กลุ่มนี้เกิดภาวะตีบตันทางการเมือง จึงหาทางออกด้วยการสร้างละครอวตารอิมามมะฮฺดีย์ขึ้นมา โดยอุปโลกน์เด็กชายมุฮัมมัด บินหะซันอัสกะรีย์เป็นอิมามมะฮฺดีย์ ตามบทถูกกำหนดไว้ว่าเด็กคนนี้ไม่ตาย เพียงแต่หายตัวในถ้ำสิรด้าบ และจะกลับมาปกครองโลกอีกครั้ง

พวกเขาอ้างว่าท่านนบีฯได้สั่งเสียรายชื่ออิมามทั้ง 12 คนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว แต่บรรดาเศาะฮาบะฮฺได้ปกปิดคำสั่งเสียนี้ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงหุก่มว่าบรรดาเศาะฮาบะฮฺเป็นกาฟิร ยกเว้นจำนวนไม่เกิน 13 คนเท่านั้น พวกเขาจึงเอาระบบที่ว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ของชาวเปอร์เซียมาใช้เป็นกฎมณเฑียรบาลในการแต่งตั้งบรรดาอิมาม และเชื่อว่ากฎนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำสอนในศาสนา พวกเขายังเชื่อว่าบรรดาอิมามมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ไร้มลทิน บริสุทธิ์ผ่องแผ้วปราศจากการทำบาปทั้งมวล คำพูดของบรรดาอิมามเทียบเท่าฐานะของอัลกุรอานและหะดีษ คำวินิจฉัยของบรรดาอิมามจึงเป็นที่สิ้นสุดและเป็นต้นกำเนิดของกฎหมายต่างๆ ตามหลักศาสนบัญญัติ อิมามโคไมนี่ได้เคยกล่าวว่า “ความจำเป็นสูงสุดในมัซฮับของเราที่ทุกคนต้องเชื่อถือคือ บรรดาอิมามของเรามีฐานะที่สูงส่งที่ไม่มีใครสามารถบรรลุได้ แม้กระทั่งบรรดามะลาอิกะฮฺผู้ใกล้ชิดและนบีที่ถูกประทานมาก็ตาม” ด้วยเหตุนี้ของพวกเขาจึงทำตนเป็นศัตรูกับเศาะฮาบะฮฺโดยรวม ยกเว้นบางคนที่นับได้เพียงหยิบมือเดียวเท่านั้น

หากถามยิวว่า ใครคือผู้ประเสริฐสุดในศาสนาของพวกท่าน ยิวคงตอบว่าสหายของนบีมูซา หากถามคริสเตียนว่า ใครคือผู้ประเสริฐสุดในศาสนาของพวกท่าน คริสเตียนคงตอบอย่างไม่ลังเลว่าสหายของนบีอีซา แต่หากถามรอฟิเฎาะฮฺว่า ใครคือผู้ที่ชั่วช้าสามานย์ที่สุดในประชาชาติของนบีมุฮัมมัด พวกเขาต้องตอบอย่างทันควันว่า สหายของนบีมุฮัมมัดและภรรยาของท่านแน่นอน

ไม่เพียงบรรดาเศาะฮาบะฮฺเท่านั้น แต่พวกเขายังไม่ยอมรับอุลามะอฺของชาวซุนนะฮฺทุกคน พวกเขาปฏิเสธตำราหะดีษที่ชาวซุนนะฮฺยึดถือ ดังนั้นตำราหะดีษและแหล่งอ้างอิงทางศาสนาต่างๆ ไม่ว่า บุคอรี มุสลิม ติรมีซีย์ นะวาวีย์ อะบูหะนีฟะฮฺ มาลิก ชาฟิอีย์ อิบนุฮัมบัล อิบนุกะษีร วมุฮัมมัด อัลฟาติฮฺ เศาะลาฮุดดีน อัยยูบี และคนอื่นๆ จึงไม่มีคุณค่าใดๆ และไม่อยู่ในสารบบของอารยธรรมอิสลามตามทัศนะของพวกเขาแม้แต่น้อย

ประการเดียวที่เป็นแหล่งอ้างอิงอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาก็คือ คำพูดของบรรดาอิมาม ทั้งที่มาจากคำพูดของอิมามเองหรือมีการกล่าวอ้างว่าเป็นคำพูดของอิมาม และด้วยอาศัยแหล่งเดียวนี้ คำสอนของพวกเขาจึงอุดมด้วยอุตริกรรมทางศาสนามากมาย ทั้งในประเด็นอะกีดะฮฺ อิบาดะฮฺ มุอามะลาต และอัคลาก

เรื่องราวต่างๆที่อุปโลกน์ขึ้นมาไม่ว่าเรื่องตะกียะฮฺ การฟื้นคืนชีพบนโลก จุดยืนต่อเศาะฮาบะฮฺ และภรรยาท่านนบี ความเชื่อที่ว่าด้วยอัลกุรอานถูกบิดเบือน อะกีดะฮฺที่อคติกับอัลลอฮฺ อุตริกรรมที่กุโบร์ สถานบูชาในพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งบิดอะฮฺวันที่ 10 มุฮัรรอม และอื่นๆอีกมากมายร้อยพันประการล้วนแล้วมาจากคำพูดของบรรดาอิมามที่อยู่เหนือการพิสูจน์และพิจารณาตามหลักวิชาการทั่วไป

นี่คือเสี้ยวหนึ่งของความเชื่อของลัทธิชีอะฮฺอิมาม 12 ซึ่งยังมีสารพัดความเชื่อที่แตกหน่อแยกกอ ออกไปเป็นลัทธิต่างๆ โดยเฉพาะยุคที่เรียกว่า ยุคแห่งการตีบตันทางการเมืองของกลุ่มรอฟิเฎาะฮฺซึ่งเกิดขึ้นกลางศตวรรษที่ 3 ฮิจเราะฮฺภายหลังการเสียชีวิตของ หะซัน อัลอัสกะรีย์

นับแต่นั้นมา ตำรับตำราต่างๆ ตาม
แนวคิดนี้ จึงถูกเขียนมามากมาย เพื่อผดุงแนวคิดของตนและเผยแพร่ไปยังดินแดนแถบเปอร์เซียโดยเฉพาะและประเทศในโลกอิสลามโดยรวม ถึงกระนั้นก็ตาม พวกเขายังไม่สามารถสร้างรัฐเป็นของตนเอง จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 3 ฮ. และต้นศตวรรษที่ 4 ฮ. ประวัติศาสตร์อิสลามได้ถลำเข้าไปสู่จุดที่อันตรายสุดๆ ทั้งนี้เนื่องจากลัทธินี้ได้ก่อร่างสถาปนารัฐเป็นของตนเองในดินแดนต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอิสลาม และได้วิวัฒนาการเป็นหอกข้างแคร่ที่คอยทิ่มแทงความเจริญเติบโตของอาณาจักรอิสลามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ประชาชาติอิสลามถูกผลักไสไล่ส่งสู่ก้นเหวที่เต็มไปด้วยภยันตรายโดยฝีมือของกลุ่มลัทธิที่แอบอ้างว่ารักและเชิดชูวงศ์วานนบีที่สุด

ติดตามเรื่อยๆ ครับ

ขุดโคตรรอฟิเฎาะฮฺ ตอนที่ 4

เมื่อหามุกเดิมๆไม่ได้ กลุ่มนี้จึงสรรหาวาทกรรมใหม่เพื่อยืดอายุในการเดินหน้าตามแผนการณ์ที่ได้วางไว้ ตัวละครใหม่ที่ได้รับการเลือกเฟ้นให้ปรากฎบนเวทีช่วงนี้คือ อิมามมะฮฺดีย์ และบุคคลที่เหมาะสมที่จะได้รับการสวมโขนอิมามมะฮฺดีย์ก็คือชายน้อย อายุ 5 ขวบ ที่หายตัวลึกลับพร้อมๆกับนวนิยายภาคแปลกพิศดารซึ่งเต็มไปด้วยอิทธิฤทธิ์อภินิหารพิลึกกึกกือชนิดหนังละครบทอภินิหารต่างๆ ต้องชิดซ้ายไปเลย ส่วนเนื้อหาจะมีความตื่นเต้นเร้าใจเพียงใด ท่านผู้อ่านสามารถค้นอ่านในตำราที่เกี่ยวข้องได้ไม่ยากเย็น

มหากาพย์อิมามมะฮฺดีย์ตามความเชื่อของกลุ่มนี้ จึงกลายเป็นที่มาของหลักคำสอนที่บิดเบือนและผิดเพี้ยนจากคำสอนของอิสลามที่ถูกต้อง และนี่คือแกนคำสอนของลัทธิชีอะฮฺอิมาม 12 ที่แผ่อิทธิพลอย่างกว้างขวางในโลกมุสลิมปัจจุบัน
พวกเขาเชื่อว่าอิมามมี 12 ท่านเท่านั้นคือ
1) อะลี บินอะบูฏอลิบ
2) หะซัน บินอะลี
3) หุเซ็น บินอะลี
4) อะลี ไซนุลอาบิดีน
5) มุฮัมมัด อัลบากิร
6) ญะฟัร อัศศอดิก
7) มูซาอัลกาซิม
8) อะลี อัรริฎอ
9) มุฮัมมัด อัลเญาววาด
10) อะลี อัลฮาดี
11) หะซัน อัสกะรีย์
และ 12) มุฮัมมัด บินหะซันอัสกะรีย์

การจำกัดอิมามเพียง 12 ท่านถือเป็นปัญหาอันใหญ่หลวงและเป็นชนักปักหลังที่คอยทิ่มแทงลัทธินี้ตลอดเวลา เพราะพวกเขาเริ่มนับอิมามคนแรกจากท่านอะลี หาใช่เราะซูลุลลอฮฺไม่ และเป็นที่ทราบกันดีว่าอะลีได้รับการแต่งตั้งเป็นเคาะลีฟะฮฺหลังจากที่เราะซูลุลลอฮฺเสียชีวิตไปแล้ว เกือบ 26 ปี เป็นไปได้หรือที่อะลีคนเดียวจะแบกรับสาสน์แห่งอิสลามทั้งหมดเพื่อถ่ายทอดให้แก่วงศ์วาน ช่วงเวลาของการเกิดภาวะสูญญากาศทางผู้นำนี้ ท่านผู้อ่านลองคิดดูว่า ใครเล่าที่เป็นอิมามของประชาชาติมุสลิม ใครเล่าที่โบกสะบัดธงอิสลามให้ขจรขจายไปทั่วทุกมุมโลก การเป็นยุคที่ประเสริฐสุดของประชาชาตินี้ตามคำบอกเล่าของเราะซูลุลลอฮฺถูกลอยแพอย่างโดดเดี่ยวไร้ผู้นำถึงระดับนี้เชียวหรือ

แต่ถ้ารวมเราะซูลุลลอฮฺเป็นอิมามคนแรก ละครเรื่องนี้ก็คงจบตั้งแต่ต้น เพราะจะไปจบสิ้นไปที่อิมามคนที่ 11 เท่านั้น แสดงว่าอิมามมะฮฺดียังไม่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ซึ่งก็ขัดแย้งกับหลักอะกีดะฮฺของลัทธินี้

ในเมื่อพวกเขาเกิดภาวะความอับจนและเจอทางตันไม่ว่าในมิติทางศาสนาและปัญญา พวกเขาจึงไม่มีช่องทางอื่นยกเว้นมิติที่ 3 มาหักล้างกันและกลายเป็นตัวกำกับทิศทางความอยู่รอดของตนเอง นั่นคือมิติแห่งอารมณ์ใฝ่ต่ำและกิเลสตัณหา
ลัทธินี้มีความเชื่อว่า อิมามสิ้นสุดลงที่อิมามคนที่ 12 เท่านั้น เขาผู้นี้คืออิมามมะฮฺดีย์ผู้ถูกรอคอย และเป็นคนเดียวกันกับเด็กชายมุฮัมมัด บินหะซันอัสกะรีย์ ที่เชื่อกันว่าเขาไม่ตาย แต่ไปปลีกวิเวกแค่ 40 วันเท่านั้น เมื่อเวลาล่วงผ่านไป ก็เขียนบทใหม่ว่าเป็น 40 เดือน 40 ปี จนกระทั่งมีการแบ่งช่วงการหายตัวเป็น 2 ช่วงด้วยกัน คือการหายตัวแบบชั่วคราวและการหายตัวอย่างยาว การหายตัวในช่วงแรกเพราะสาเหตุมาจากกลัวกับการไล่ล่าของรัฐบาลอับบาสิยะฮฺ ทั้งๆที่ในตำราอ้างว่าเด็กคนนี้มีอิทธิฤทธิ์ผิดมนุษย์มนา ขนาดอยู่ในครรภ์มารดาและช่วงคลอดออกมาลืมตาดูโลกก็ผิดวิสัยมนุษย์ธรรมดาแล้ว ครั้นพอคลอดออกมา ก็มีมะลาอิกะฮฺคอยปกป้องจากเพทภัยทั้งปวง แต่เหตุไฉนกลับต้องซุกซ่อนหลบภัยเข้าไปในถ้ำสิรด้าบนานกว่า 1000 ปีมาแล้ว ปัจจุบันลัทธินี้มีประเทศที่เข้มแข็งและมีกองกำลังทางทหารที่มีประสิทธิภาพคอยปกป้อง ซึ่งมีศักยภาพพอที่จะรักษาความปลอดภัยแก่อิมามมะฮฺดีได้ จึงน่าจะปรากฎตัวได้แล้ว

แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่เห็นโผล่มาสักที
ท่านผู้อ่านเคยได้ยินนวนิยายแนวอวตารในศาสนาไหนบ้างที่มีผู้คนรอคอยการกลับมาของผู้นำนานนับพันปีเหมือนคำสอนที่ปรากฎในลัทธินี้

แนวคิดเรื่องอิมามะฮฺ(การเป็นผู้นำ) การอวตารลงมาของอิมามมะฮฺดี จุดยืนต่ออัลกุรอาน หะดีษ บรรดเศาะฮาบะฮฺและภรรยาท่านนบี ความเชื่อในความบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่เกิดคำสอนอันบิดเบือนต่างๆ ซึ่งได้รับการหลอมรวมจากศาสนายิว คริสเตียน โซโรแอสเตอร์ พุทธ ฮินดู พราหมณ์ หรือแม้กระทั่งศาสนายุคอิยิปต์โบราณหรือยุคกรีกโรมันในอดีตกาล คำสอนเหล่านี้ถูกคลุกเคล้าผสมผสานกับคำสอนอิสลามจนกลายเป็นเนื้อเดียวกันอย่างแยกไม่ออก ทั้งๆ ที่อิสลามไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำสอนอันบิดเบือนเหล่านี้เลย แม้กระทั่งอิมามทั้ง 12 คนก็ไม่เคยมีหลักอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺที่ผิดเพี้ยนจากคำสอนของอิสลามแม้แต่น้อย

มีต่อครับ

ขุดโคตรรอฟิเฎาะฮฺ ตอนที่ 3

ท่านมุฮัมมัด อัลบากิรได้เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 114 ลูกชายของท่านคนหนึ่งชื่อ ญะฟัร อัศศอดิก ถือเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ ท่านได้ยืนหยัดบนหลักอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺตามครรลองของบรรดาเศาะฮาบะฮฺและตาบิอีนทุกประการ

ในช่วงปลายราชวงศ์อุมะวียะฮฺ เกิดขบวนการโค่นล้มรัฐบาลนำโดยกลุ่มตระกูลอับบาสียะฮฺซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มที่แปรพักต์ออกจากซัยด์ บินอะลีซัยนุลอาบิดีน ด้วยการใช้แผนแยกกันเดินร่วมกันตี ทำให้พวกเขาสามารถโค่นล้มราชวงศ์อุมะวียะฮฺได้สำเร็จเมื่อปี ฮ.ศ.132 แต่อาศัยความเจนจัดทางการเมืองที่เหนือกว่า ทำให้อะบุลอับบาส อัสสัฟฟาหฺชิงความได้เปรียบสถาปนาตนเองเป็นเคาะลีฟะฮฺ และหลังจากที่เขาเสียชีวิต อะบูญะอฺฟัร อัลมันศูร น้องชายของอะบุลอับบาสได้รับการแต่งตั้งเป็นเคาะลีฟะฮฺแทน และได้กลายเป็นต้นกำเนิดของราชวงศ์อับบาสียะฮฺในเวลาต่อมา สร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มแนวร่วมที่เคยเคียงบ่าเคียงไหล่โค่นล้มรัฐบาลมาตั้งแต่ต้น กลุ่มนี้ต้องการให้ลูกหลานของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบเป็นเคาะลีฟะฮฺ พวกเขาจึงรวมตัวปฏิวัติรัฐบาลโดยใช้ชื่อว่า อัฏฏอลิบิยยูน (มาจากอะลี บินอะบูฏอลิบ) เพื่อประกาศจุดยืนที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับอับบาสิยยูน (มาจากอับบาส บินอับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นศักดิ์เป็นอาของนบี)

ญะอฺฟัร อัศศอดิกได้เสียชีวิตเมื่อปี 148 ท่านมีลูกชายที่อาลิมเช่นกันชื่อ มูซา อัลกาซิมซึ่งได้เสียชวิตในปี 183 หลังจากนั้น มูซาอัรริฎอลูกชายของอัลกาซิมขึ้นเป็นทายาทรับช่วงต่อ
สมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺอัลมะมูน ท่านได้ดำเนินนโยบายเรียกคะเเนนนิยมกับกลุ่มอัฏฏอลิบิยยูน เพื่อลดกระแสการต่อต้านรัฐบาล เขาจึงแต่งตั้งมูซา อัรริฎอเป็นผู้สืบทายาทเคาะลีฟะฮฺ ทำให้ฝ่ายของราชวงศ์อับบาสียะฮฺไม่พอใจมาก และเป็นเหตุให้อััรริฎอเสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ กลุ่มอัฏฏอลิบิยยูนจึงกล่าวหาเคาะลีฟะฮฺอัลมะมูนว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนี้ การปฏิวัติจึงปะทุขึ้นมาเป็นระลอกๆอีกครั้ง

เวลาผ่านไป สถานการณ์ได้คลี่คลายในระดับหนึ่ง แต่แนวคิดเพื่อโค่นล้มรัฐบาลอับบาสียะฮฺยังเป็นไฟสุมขอนที่รอวันเวลาปะทุขึ้นได้ทุกเมื่อ พวกเขาเปรียบเสมือนพรรคการเมืองที่มีเป้าหมายชิงอำนาจจากรัฐบาลกลางเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อปลีกย่อยความขัดแย้งด้านอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺแต่อย่างใดเลย

เป็นที่น่าสังเกตว่า แนวคิดในการโค่นล้มรัฐบาลกรุงแบกแดด ได้รับความสนใจจากชาวเปอร์เซียเป็นอย่างยิ่ง เพราะนับตั้งแต่การล่มสลายของอาณาจักรเปอร์เซียอย่างเบ็ดเสร็จในสมัยท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัร บินอัลค็อฏฏอบ ถึงแม้ไฟโซโรแอสเตอร์ถูกดับมอดด้วยรัศมีแห่งอิสลามนับตั้งแต่วันกำเนิดของนบีมุฮัมมัดด้วยซ้ำ แต่ไฟแห่งอาฆาตแค้นของพวกเขาที่มีต่ออิสลามและชาวมุสลิมยังไม่เคยดับสนิท ชาวเปอร์เซียเป็นผู้คลั่งไคล้ในชาติพันธุ์มาก พวกเขาคิดว่าชาติพันธุ์เปอร์เซียย่อมประเสริฐกว่าชาติพันธุ์อาหรับเบดูอีน แนวคิดนี้ได้หยั่งลึกเข้าไปในเส้นเลือดและซึมซับเข้าไปในทุกอณูชีวิตของพวกเขาอยู่แล้ว พวกเขายกย่องบูชาสัญลักษณ์และพิธีกรรมทางศาสนาดั้งเดิมนี้ แม้กระทั่ง ไฟ ที่เคยเป็นสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของลัทธิโซโรแอสเตอร์ยุคอดีตกาลก็ตาม

ท่านผู้อ่านลองตั้งคำถามดูว่า ทำไมรอฟิเฎาะฮฺยุคปัจจุบันยกย่องท่านหุเซ็นมากกว่าท่านหะซัน และมากกว่าท่านอะลีด้วยซ้ำ หากท่านผู้อ่านทราบว่า หนึ่งในภรรยาของท่านหุเซ็นผู้มีนามว่า ชาห์ ซินาน ยัสดะเจอร์ พระราชธิดาในกษัตริย์องค์สุดท้ายของเปอร์เซีย และบรรดาอิมามชีอะฮฺ 12 หลังจากท่านหุเซ็นแล้ว ล้วนแล้วแต่เป็นลูกหลานของท่านหุเซ็นที่มาจากแม่ของพระธิดาแห่งเปอร์เซียนี้แล้ว เชื่อว่าท่านผู้อ่านสามารถไขข้อสงสัยหลายประการทีเดียว
กลุ่มลัทธิคลั่งชาตินี้ตระหนักว่า ลำพังแค่อาศัยอิทธิพลของตนเอง ไม่สามารถสร้างคะแนนนิยมพอที่จะสั่นคลอนรัฐบาลอิสลามได้ พวกเขาจึงต้องพึ่งพาอาศัยอิทธิพลของอัฏฏอลิบิยยูนมาเป็นต้นทุนในการสั่นคลอนอาณาจักรอิสลามที่เคยสยบอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของพวกเขามาก่อน หากปราศจากอาภรณ์ของอัฏฏอลิบิยยูน พวกเขาไม่สามารถอำพรางตนเองเพื่อก้าวไปสู่จุดสูงสุดของอำนาจได้ ดังนั้นเพื่อ

1) ทวงคืนอำนาจที่สูญเสียไป
2) โค่นล้มรัฐบาลอิสลาม และ
3) ทำลายอิสลามจากภายใน

พวกเขาได้สวมเสื้อผ้ายี่ห้ออัฏฏอลิบิยยูนด้วยการชูประเด็นการยกย่องวงศ์วานนบีและอาลุลบัยต์ ด้วยแนวคิดนี้ ทำให้พวกเขาได้พัฒนาจากการเป็นกลุ่มการเมืองอย่างเดียว กลายเป็นลัทธิที่บิดเบือนทางศาสนาด้วยการผสมผสานคำสอนจากกลุ่มลัทธิบิดเบือนต่างๆเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺอิสลาม ทั้งๆที่บรรดาผู้นำที่พวกเขาเชื่อถือ ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับคำสอนเหล่านี้เลย
ลัทธิบิดเบือนทางศาสนาจึงเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้น
ต่อครับ………..

ขุดโคตรรอฟิเฎาะฮฺ ตอนที่ 2

นักประวัติศาสตร์บางคนมีทัศนะว่า ชีอะฮฺ เริ่มต้นหลังจากฆาตกรรมท่านฮุเซ็น บินอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งเป็นทัศนะที่มีความเป็นไปได้สูงมาก หลังจากที่ท่านฮุเซ็นได้ออกจากมะดีนะฮฺสู่อีรัคตามคำเชิญชวนของกลุ่มที่สนับสนุนท่าน แต่เมื่อถึงที่เมืองกัรบาลา พวกเขาได้กลับลอยแพท่านหุเซ็นให้เผชิญหน้ากับกองกำลังฝ่ายตรงกันข้ามอย่างโดดเดี่ยว เป็นผลทำให้ท่านฮุเซ็นถูกฆ่าอย่างทารุณ บรรดาผู้สนับสนุนท่านจึงมีจุดยืนต่อต้านราชวงศ์อุมะวียะฮฺ และมีมติออกจากการสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์นี้ ในช่วงนี้เกิดสงครามบ่อยครั้ง ทำให้สูญเสียชีวิตของแต่ละฝ่ายมากมาย มีการกล่าวถึงคำว่า ชีอะฮฺ กันอย่างแพร่หลาย และกลุ่มนี้มีความผูกพันกับท่านฮุเซ็นมากกว่าท่านอะลีด้วยซ้ำ ดังที่เราเห็นในปัจจุบันที่พวกเขาจัดพิธีกรรมรำลึกการเสียชีวิตของท่านฮุเซ็นอย่างเอิกเกริกใหญ่โตพร้อมบทรำพึงรำพันมากมายตลอดจนร้องห่มร้องไห้ ทุบตี ทรมานตัวเองเสมือนคนบ้าคลั่ง ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่เคยจัดพิธีกรรมเช่นนี้ เพื่อรำลึกถึงการเสียชีวิตของท่านอะลีเลย แม้กระทั่งท่านหะซัน บินอะลีที่อาจกล่าวได้ว่าแทบหลุดวงจรที่ไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงในแวดวงชีอะฮฺยุคนี้เลย
การตัดสินใจของท่านฮุเซ็นสู่เมืองอีรัค นับเป็นประเด็นใหญ่ที่เราควรพูดถึงเป็นอย่างยิ่งครับ

ตามอะกีดะฮฺของชาวรอฟีเฎาะฮฺมีความเชื่อว่าบรรดาอิมามเป็นมะอฺศูม การตัดสินใจของอิมามไม่เคยผิดพลาดและพวกเขาสามารถหยั่งรู้ฟ้าดินจนสามารถรับรู้วันตายของตัวเองด้วยซ้ำ
การตัดสินใจของท่านฮุเซ็นสู่เมืองอีรัคมีสาเหตุมาจาก 2 กรณีเท่านั้น คือ
1. เนื่องจากการตัดสินใจอันเด็ดเดี่ยวของท่าน
2. เนื่องจากเป็นคำวิวรณ์(วะฮฺยู) ที่เป็นคำสั่งจากอัลลอฮฺ

หากเป็นกรณีแรกการตัดสินใจของท่านเป็นการตัดสินใจที่มะอฺศูม(ตามความเชื่อของลัทธิรอฟิเฎาะฮฺ) แล้วเราจะไปเสียอกเสียใจกับผลของการตัดสินใจที่ถูกต้องของอิมามไปทำไม ท่านอิมามสามารถทำนายอนาคตมิใช่หรือ แล้วด้วยเหตุผลประการใดที่อิมามยังเข้าไปในอีรัคด้วยความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอกแล้วว่าจะลงเอยด้วยรูปแบบใด
หากเป็นกรณีที่สอง ทุกอย่างก็จบ เพราะมุสลิมไม่มีสิทธิ์แสดงปฏิกิริยาใดๆ ต่อคำสั่งของอัลลอฮฺนอกจากยอมจำนนและยอมรับด้วยความบริสุทธิ์ใจเท่านั้น เขาไม่สามารถตีโพยตีพายหรือแสดงอาการไม่พอใจต่อคำตัดสินของอัลลอฮฺโดยเด็ดขาด หาไม่แล้ว เขาจะถูกผนวกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชนที่ไม่ศรัทธาต่อเกาะฏอและกอดัรของอัลลอฮฺเลยทีเดียว มุสลิมทุกคนถูกสั่งใช้ให้ค้นหาวิธีการใดๆก็ได้ที่ถูกต้องเพื่อประกันความปลอดภัยของตนเอง หากเกิดสิ่งดี เขาควรชุโกร์ และหากเกิดสิ่งที่ไม่ดี เขาควรศอบัรและมอบหมายแด่อัลลอฮฺสุบฮานะฮูวะตะอาลา ไม่ควรรำพึงรำพันเสียใจร่ำไห้กับสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วนานนับพันๆปี ที่แม้แต่คนไม่เชื่อในพระเจ้าก็ยังไม่ทำเยี่ยงนี้

สรุปแล้ว กลุ่มชนที่แปรพักต์ออกจากการสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์อุมะวียะฮฺคือกลุ่มชนที่มีความคิดเห็นที่ขัดแย้งทางการเมืองเท่านั้น พวกเขายังยึดมั่นในหลักการอะกีดะฮฺและหลักชะรีอะฮฺเฉกเช่นชาวสุนนะฮฺทุกประการ แม้กระทั่งบรรดาอิมามยุคแรกๆ ที่ชาวชีอะฮฺยกย่องว่าเป็นทายาทที่สืบทอดจากท่านอะลีก็ไม่่่ใช่ใครอื่น นอกจากเป็นกลุ่มชนยุคเศาะฮาบะฮ์และยุคตาบิอีนที่ยึดมั่นกับหลักพื้นฐานของชาวสุนนะฮฺทุกประการ

หลังจากกการชะฮีดของท่านฮุเซ็น เหตุการณ์เริ่มคลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติในระดับหนึ่ง ในช่วงนี้ลูกชายของท่านคือ อะลีซัยนุลอะบีดีน บิน ฮุเซ็นมีความโดดเด่นมาก ท่านเป็นคนอาลิมที่ใช้ชีวิตอย่างสมถะ ไม่เคยปรากฏร่องรอยที่บ่งบอกว่าท่านมีทัศนะขัดแย้งกับบรรดาเศาะฮาบะฮฺและตาบิอีนในประเด็นอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺเลย
ท่านอาลีซัยนุลอาบิดีนมีบุตรชาย 2 คนที่เป็นคนอาลิมและตักวา คนหนึ่งชื่อมุฮัมมัด อัลบากิร และอีกคนชื่อ ซัยด์ ท่านทั้งสองมีทัศนะเดียวกันกับบรรดาเศาะฮาบะฮฺและตาบิอีน มีเพียงประเด็นเดียวที่ ซัยด์ มีทัศนะว่าท่านอะลี บิน อะบีฏอลิบเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมได้รับตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮฺมากกว่าท่านอะบูบักร์ อุมัรและอุษมาน แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าซัยด์ มีหลักอะกีดะฮฺที่ต่างกับบรรดาเศาะฮาบะฮฺ ท่านได้ยอมรับการเป็นเคาะลีฟะฮฺของเศาะฮาบะฮฺทั้ง 3 ท่าน แต่เห็นว่าท่านอะลีมีความเหมาะสมกว่าเท่านั้น เพราะท่านเชื่อว่า ในบางกรณี อนุญาตให้แต่งตั้งผู้นำที่มีความประเสริฐน้อยกว่าถึงแม้จะมีผู้นำที่มีคุณสมบัติที่ประเสริฐกว่าก็ตาม ส่วนในประเด็นอื่นๆ ท่านซัยด์มีความเห็นพ้องกันกับเศาะฮาบะฮฺและตาบิอีนทุกประการ
ซัยด์ บิน อะลีซัยนุลอาบีดีน ได้ตัดสินใจไม่สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์อุมาวียะฮฺตามรอยปู่ของท่าน (ฮุเซ็น) เช่นเดียวกัน จนกระทั่งท่านถูกฆาตกรรมเสียชีวิตในปี 122 ฮ.ศ. บรรดาสานุศิษย์ของท่านได้ริเริ่มก่อตั้งสำนักแนวคิดตามแนวคิดของท่านที่รู้จักในนาม สำนักคิดซัยดียะฮฺ ซึ่งเป็นสำนักคิดที่ใกล้เคียงกับชาวสุนนะฮฺมากที่สุด เว้นแต่ประเด็นเดียวเท่านั้นคือพวกเขาเชื่อว่าท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ มีความประเสริฐและเหมาะสมกว่าเคาะลีฟะฮฺทั้ง 3 สำนักคิดซัยดียะฮฺมีอยู่แพร่หลายในประเทศเยเมนปัจจุบัน

ช่วงที่ท่านซัยด์ บินอะลีมีชีวิตอยู่ มีบรรดาสานุศิษย์กลุ่มหนึ่งได้ถามท่านเกี่ยวกับอะบูบักร์และอุมัร ท่านจึงได้กล่าวพรทั้งสองด้วยคำดุอาที่ดี แต่สานุศิษย์กลุ่มนี้ได้ปฏิเสธแนวคิดของท่านและได้ปฏิเสธที่จะกล่าวพรต่ออะบูบักร์และอุมัร กลุ่มนี้จึงถูกเรียกภายหลังว่า รอฟิเฎาะฮฺ หมายถึง กลุ่มชนที่ปฏิเสธ หมายถึง ปฏิเสธแนวคิดของท่านซัยด์ และในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธการเป็นผู้นำของท่านอะบูบักร์และอุมัร กลุ่มนี้ได้แผ่อิทธิพลอย่างกว้างขวางและเป็นต้นตำรับของลัทธิอิมาม 12 ซึ่งเป็นลัทธิที่ครองอำนาจในอิหร่าน เลบานอน และแผ่ขยายอย่างกว้างขวางในประเทศอาหรับและโลกมุสลิมในปัจจุบัน นับแต่นั้นเป็นต้นมา พวกเขาจึงสิ้นสภาพของการเป็นชีอะฮฺอะลีทุกประการ แต่ชื่อที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวคิดและอะกีดะฮฺของพวกเขาคือ รอฟิเฎาะฮฺ หมายถึง ผู้ปฏิเสธแนวคิดของท่านซัยด์ และปฏิเสธการเป็นผู้นำของท่านอะบูบักร์และอุมัรนั้นเอง

มีต่อภาค 3


โดย ทีมงานวิชาการ

ขุดโคตรรอฟิเฎาะฮฺ ตอนที่ 1

อุละมาอฺอุศูลได้ตั้งกฎกติกาไว้ว่า “การวินิจฉัยชี้ชัดสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถือเป็นส่วนหนึ่งของทัศนวิสัยต่อสิ่งนั้น” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เราไม่สามารถชี้ชัดฟันธงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนกว่าเราจะรู้แจ้งเห็นจริงสิ่งนั้นอย่างชัดเจนด้วยปัญญาของตนเองอย่างทะลุปรุโปร่งเสียก่อน

เช่นเดียวกันกับกรณี รอฟิเฎาะฮฺ ก่อนที่เราจะตัดสินว่ากลุ่มลัทธินี้จะผิดถูกอย่างไร เราควรต้องศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อนว่ารอฟิเฎาะฮฺคือใคร อะไรคือแก่นแกนคำสอนของพวกเขา หลักอะกีดะฮฺและหลักชะรีอะฮของพวกเขามีประวัติความเป็นมาอย่างไร อะไรคือเป้าหมายและความใฝ่ฝันสูงสุดของพวกเขา สภาพปัจจุบันของพวกเขาเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้คือโจทย์สำคัญและกุญแจหลักที่เราจะไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกทางมากขึ้น

รอฟิเฎาะฮฺคือใคร
ก่อนอื่น ผู้เขียนต้องขอเรียนว่า บางครั้งผู้เขียนใช้”รอฟิเฎาะฮฺ” แทนคำว่า”ชีอะฮฺ” ซึ่งคิดว่า
ท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้ เมื่ออ่านบทความนี้จนจบครับ

ความจริงมันไม่ใช่เป็นปัญหาทางภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ หรือปัญหาด้านพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านตามที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นปัญหาที่ได้หยั่งลึกจนกระทบถึงแก่นแกนทางอะกีดะฮฺ ชะรีอะฮฺและประวัติศาสตร์ที่เราต้องหวนกลับศึกษารากเหง้าของปัญหาทั้ง 3 ประเด็นนี้อย่างเข้าถึงจริงๆ

ขอเริ่มประเด็นทางประวัติศาสตร์ก่อนครับ

นักประวัติศาสตร์ได้มีทัศนะที่หลากหลายว่า ชีอะฮฺมีจุดเริ่มต้นอย่างไร แต่เกือบทุกทัศนะเห็นพ้องกันว่าหลังจากฟิตนะฮฺการฆาตกรรมท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ชาวมุสลิมยุคนั้นได้แตกออกมาเป็นสองขั้วใหญ่ๆ(ถึงแม้มีกลุ่มน้อยที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดก็ตาม) ขั้วแรกเป็นกลุ่มที่สนับสนุนอะลีเป็นเคาะลีฟะฮฺ ซึ่งถือเป็นกลุ่มส่วนใหญ่ ส่วนขั้วที่สองสนับสนุนท่านมุอาวิยะฮฺที่ปักหลักที่เมืองชาม แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ากลุ่มที่สนับสนุนท่านอะลี คือกลุ่มที่มีหลักอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺที่เหมือนกับกลุ่มชีอะฮฺในปัจจุบัน ประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มนี้คือประเด็นทางการเมืองและที่มาของอำนาจการปกครองเท่านั้น ท้้ั้งสองฝ่ายยังยึดมั่นตามหลักการชาวสุนนะฮฺทุกประการ และท่านอะลีก็ไม่ได้
เรียกร้องและเชิญชวนสู่อะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺใหม่ตามความเชื่อของชีอะฮฺยุคปัจจุบัน แม้กระทั่งชาวสุนนะฮฺส่วนใหญ่ในยุคนั้นจนถึงยุคนี้ก็เห็นว่า ฝ่ายอะลีมีความชอบธรรมมากกว่าฝ่ายมุอาวิยะฮฺด้วยซ้ำ ชาวสุนนะฮฺ ยังรักและชื่นชมท่านและครอบครัวท่านเหมือนเศาะฮาบะฮฺท่านอื่นๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพวกเขาได้ขอบะเราะกะฮฺจากอัลลอฮฺด้วยการตั้งชื่อลูกหลานตามชื่อของท่านและลูกหลานของท่านเสมอมา นี่คือจุดยืนของชาวสุนนะฮฺที่ไม่เคยแปรเปลี่ยน ในขณะเดียวก็เห็นว่าฝ่ายมุอาวิยะฮฺก็ได้อิจญ์ติฮาดแล้ว แต่การอิจญ์ติฮาดของเขาอาจพลาดพลั้งไป ซึ่งตามหลักการแล้ว เมื่อมุจญ์ตะฮิดได้อิจญ์ติฮาดในประเด็นหนึ่ง หากเขาถูก เขาจะได้ผลบุญสองเท่า คือผลบุญของการอิจญ์ติฮาดและผลบุญของความถูกต้อง ส่วนผู้ที่อิจญ์ติฮาดพลาดพลั้งไป เขาจะได้รับเพียงผลบุญเดียวคือผลบุญของการอิจญ์ติฮาดเท่านั้น ท่านมุอาวิยะฮฺจึงเข้าข่ายของผู้อิจญ์ติฮาดที่พลาดพลั้ง เราจึงขอดุอาให้อัลลอฮฺทรงอภัยโทษในความผิดพลาดของเขา เราไม่ควรไปวิพากษ์วิจารณ์ท่านในทางที่เสียหาย แต่ในขณะเดียวกันเราก็ไม่ปักใจเชื่อว่าพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่มะอฺศูม(ได้รับการปกป้องไม่ให้กระทำบาปเหมือนบรรดานบี) พวกเขาคือมนุษย์ปุถุชนที่มีทั้งถูกต้องและพลาดพลั้ง แต่ความประเสริฐของพวกเขายิ่งใหญ่กว่าและสามารถลบล้างความผิดพลาดของพวกเขาได้ พวกเขาคือประชาชาติที่ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ละคนก็ได้รับผลการตอบแทนจากอัลลอฮฺอย่างยุติธรรมที่สุด ทั้งการกระทำที่ดีและไม่ดี แล้วเราเป็นใครที่หาญกล้าฟันธงว่าใครผิดใครถูก ในขณะที่เราเพิ่งเกิดมาตามหลังพวกเขาเป็นพันๆปี หากการบริจาคทานของเรามีจำนวนมากมายก่ายกองเท่ากับโลกนี้ทั้งใบ ยังไม่สามารถเทียบได้กับการบริจาคของพวกเขาเท่าอุ้งมือ ท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัร บินอับดุลอะซีส เราะหิมะฮุลลอฮฺได้กล่าวว่า “อัลลอฮฺได้ทำให้มือของเราปลอดภัยจากการหลั่งเลือดพวกเขา ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นที่ต้องรักษาลิ้นของเรามิให้ใส่ร้ายเกียรติศักดิ์ศรีของพวกเขา” เพราะการรักพวกเขาคือสัญลักษณ์ของอีมาน ในขณะที่ชิงชังและเคียดแค้นพวกเขาคืออัตลักษณ์ของชาวมุนาฟิกและซินดีก(ผู้บิดเบือน)

สรุปแล้ว ชีอะฮฺตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับท่านอะลีเลย และท่านอะลีก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับหลักอะกีดะฮฺและหลักชะรีอะฮฺของลัทธิกลุ่มนี้ ชีอะฮฺอะลียุคแรกคือกลุ่มที่สนับสนุนท่านอะลีและเห็นว่าท่านอะลีมีความเหมาะสมกับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺมากกว่าท่านมุอาวียะฮฺ ทั้งสองฝ่ายนี้มีความขัดแย้งประเด็นทางการเมืองและที่มาของอำนาจทางการปกครองเท่านั้น ไม่ได้ขัดแย้งด้านอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺแต่ประการใด ชีอะฮฺอะลีในยุคแรกคือชาวสุนนะฮฺที่สนับสนุนอะลีในประเด็นความเหมาะสมการเป็นเคาะลีฟะฮฺเท่านั้น ไม่ใช่เหมือนชีอะฮฺที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักการอิสลามเหมือนปัจจุบัน

ต่อภาค 2 >> https://www.theustaz.com/?p=4378


โดย ทีมงานวิชาการ