บทความ บทความวิชาการ

ขุดโคตรรอฟิเฎาะฮฺ ตอนที่ 3

ท่านมุฮัมมัด อัลบากิรได้เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 114 ลูกชายของท่านคนหนึ่งชื่อ ญะฟัร อัศศอดิก ถือเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ ท่านได้ยืนหยัดบนหลักอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺตามครรลองของบรรดาเศาะฮาบะฮฺและตาบิอีนทุกประการ

ในช่วงปลายราชวงศ์อุมะวียะฮฺ เกิดขบวนการโค่นล้มรัฐบาลนำโดยกลุ่มตระกูลอับบาสียะฮฺซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มที่แปรพักต์ออกจากซัยด์ บินอะลีซัยนุลอาบิดีน ด้วยการใช้แผนแยกกันเดินร่วมกันตี ทำให้พวกเขาสามารถโค่นล้มราชวงศ์อุมะวียะฮฺได้สำเร็จเมื่อปี ฮ.ศ.132 แต่อาศัยความเจนจัดทางการเมืองที่เหนือกว่า ทำให้อะบุลอับบาส อัสสัฟฟาหฺชิงความได้เปรียบสถาปนาตนเองเป็นเคาะลีฟะฮฺ และหลังจากที่เขาเสียชีวิต อะบูญะอฺฟัร อัลมันศูร น้องชายของอะบุลอับบาสได้รับการแต่งตั้งเป็นเคาะลีฟะฮฺแทน และได้กลายเป็นต้นกำเนิดของราชวงศ์อับบาสียะฮฺในเวลาต่อมา สร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มแนวร่วมที่เคยเคียงบ่าเคียงไหล่โค่นล้มรัฐบาลมาตั้งแต่ต้น กลุ่มนี้ต้องการให้ลูกหลานของท่านอะลี บินอะบีฏอลิบเป็นเคาะลีฟะฮฺ พวกเขาจึงรวมตัวปฏิวัติรัฐบาลโดยใช้ชื่อว่า อัฏฏอลิบิยยูน (มาจากอะลี บินอะบูฏอลิบ) เพื่อประกาศจุดยืนที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับอับบาสิยยูน (มาจากอับบาส บินอับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นศักดิ์เป็นอาของนบี)

ญะอฺฟัร อัศศอดิกได้เสียชีวิตเมื่อปี 148 ท่านมีลูกชายที่อาลิมเช่นกันชื่อ มูซา อัลกาซิมซึ่งได้เสียชวิตในปี 183 หลังจากนั้น มูซาอัรริฎอลูกชายของอัลกาซิมขึ้นเป็นทายาทรับช่วงต่อ
สมัยการปกครองของเคาะลีฟะฮฺอัลมะมูน ท่านได้ดำเนินนโยบายเรียกคะเเนนนิยมกับกลุ่มอัฏฏอลิบิยยูน เพื่อลดกระแสการต่อต้านรัฐบาล เขาจึงแต่งตั้งมูซา อัรริฎอเป็นผู้สืบทายาทเคาะลีฟะฮฺ ทำให้ฝ่ายของราชวงศ์อับบาสียะฮฺไม่พอใจมาก และเป็นเหตุให้อััรริฎอเสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ กลุ่มอัฏฏอลิบิยยูนจึงกล่าวหาเคาะลีฟะฮฺอัลมะมูนว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนี้ การปฏิวัติจึงปะทุขึ้นมาเป็นระลอกๆอีกครั้ง

เวลาผ่านไป สถานการณ์ได้คลี่คลายในระดับหนึ่ง แต่แนวคิดเพื่อโค่นล้มรัฐบาลอับบาสียะฮฺยังเป็นไฟสุมขอนที่รอวันเวลาปะทุขึ้นได้ทุกเมื่อ พวกเขาเปรียบเสมือนพรรคการเมืองที่มีเป้าหมายชิงอำนาจจากรัฐบาลกลางเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อปลีกย่อยความขัดแย้งด้านอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺแต่อย่างใดเลย

เป็นที่น่าสังเกตว่า แนวคิดในการโค่นล้มรัฐบาลกรุงแบกแดด ได้รับความสนใจจากชาวเปอร์เซียเป็นอย่างยิ่ง เพราะนับตั้งแต่การล่มสลายของอาณาจักรเปอร์เซียอย่างเบ็ดเสร็จในสมัยท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัร บินอัลค็อฏฏอบ ถึงแม้ไฟโซโรแอสเตอร์ถูกดับมอดด้วยรัศมีแห่งอิสลามนับตั้งแต่วันกำเนิดของนบีมุฮัมมัดด้วยซ้ำ แต่ไฟแห่งอาฆาตแค้นของพวกเขาที่มีต่ออิสลามและชาวมุสลิมยังไม่เคยดับสนิท ชาวเปอร์เซียเป็นผู้คลั่งไคล้ในชาติพันธุ์มาก พวกเขาคิดว่าชาติพันธุ์เปอร์เซียย่อมประเสริฐกว่าชาติพันธุ์อาหรับเบดูอีน แนวคิดนี้ได้หยั่งลึกเข้าไปในเส้นเลือดและซึมซับเข้าไปในทุกอณูชีวิตของพวกเขาอยู่แล้ว พวกเขายกย่องบูชาสัญลักษณ์และพิธีกรรมทางศาสนาดั้งเดิมนี้ แม้กระทั่ง ไฟ ที่เคยเป็นสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของลัทธิโซโรแอสเตอร์ยุคอดีตกาลก็ตาม

ท่านผู้อ่านลองตั้งคำถามดูว่า ทำไมรอฟิเฎาะฮฺยุคปัจจุบันยกย่องท่านหุเซ็นมากกว่าท่านหะซัน และมากกว่าท่านอะลีด้วยซ้ำ หากท่านผู้อ่านทราบว่า หนึ่งในภรรยาของท่านหุเซ็นผู้มีนามว่า ชาห์ ซินาน ยัสดะเจอร์ พระราชธิดาในกษัตริย์องค์สุดท้ายของเปอร์เซีย และบรรดาอิมามชีอะฮฺ 12 หลังจากท่านหุเซ็นแล้ว ล้วนแล้วแต่เป็นลูกหลานของท่านหุเซ็นที่มาจากแม่ของพระธิดาแห่งเปอร์เซียนี้แล้ว เชื่อว่าท่านผู้อ่านสามารถไขข้อสงสัยหลายประการทีเดียว
กลุ่มลัทธิคลั่งชาตินี้ตระหนักว่า ลำพังแค่อาศัยอิทธิพลของตนเอง ไม่สามารถสร้างคะแนนนิยมพอที่จะสั่นคลอนรัฐบาลอิสลามได้ พวกเขาจึงต้องพึ่งพาอาศัยอิทธิพลของอัฏฏอลิบิยยูนมาเป็นต้นทุนในการสั่นคลอนอาณาจักรอิสลามที่เคยสยบอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของพวกเขามาก่อน หากปราศจากอาภรณ์ของอัฏฏอลิบิยยูน พวกเขาไม่สามารถอำพรางตนเองเพื่อก้าวไปสู่จุดสูงสุดของอำนาจได้ ดังนั้นเพื่อ

1) ทวงคืนอำนาจที่สูญเสียไป
2) โค่นล้มรัฐบาลอิสลาม และ
3) ทำลายอิสลามจากภายใน

พวกเขาได้สวมเสื้อผ้ายี่ห้ออัฏฏอลิบิยยูนด้วยการชูประเด็นการยกย่องวงศ์วานนบีและอาลุลบัยต์ ด้วยแนวคิดนี้ ทำให้พวกเขาได้พัฒนาจากการเป็นกลุ่มการเมืองอย่างเดียว กลายเป็นลัทธิที่บิดเบือนทางศาสนาด้วยการผสมผสานคำสอนจากกลุ่มลัทธิบิดเบือนต่างๆเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺอิสลาม ทั้งๆที่บรรดาผู้นำที่พวกเขาเชื่อถือ ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับคำสอนเหล่านี้เลย
ลัทธิบิดเบือนทางศาสนาจึงเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้น
ต่อครับ………..