บทความ บทความวิชาการ

ไกส์ สะอีด รัฐประหารในตูนิเซีย และการวิเคราะห์สถานการณ์

การเลือกตั้ง ไกส์ สะอิด สู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐตูนิเซียนั้นเหนือความคาดหมายโดยสิ้นเชิง เนื่องจากเขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองใด ๆ และไม่มีความรู้เรื่องงานการเมืองมาก่อน  คุณสมบัติทั้งหมดของเขาคือเขาเป็นศาสตราจารย์ด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัย และพูดภาษาอาหรับในแบบที่ไม่ปกติสำหรับผู้พูดและผู้ปฏิบัติงานการเมืองในโลกอาหรับ

ผู้ที่เลือกไม่นึกว่าสะอีดจะนำตูนิเซียมาสู่สิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้ แรงจูงใจหลักของชาวตูนิเซียคือการเปลี่ยนจากชนชั้นสูงทางการเมืองที่ปกครองแบบเดิมๆ ที่ชาวตูนิเซียเบื่อหน่าย มาเป็นโฉมหน้าใหม่ที่สามารถช่วยประเทศชาติจากความล้าหลังทางเศรษฐกิจ และการแบ่งขั้วทางการเมืองระหว่างฝ่ายต่างๆ ในทุกรูปแบบและอุดมการณ์

ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง สะอีดไม่ลังเลเลยที่จะวิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นปกครอง และยังจุดชนวนความขัดแย้งด้วยการปฏิเสธกฎหมายว่าด้วยมรดกที่เท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง เขายังย้ำคำพูดของเขาว่า “ตุลาการอิสระดีกว่ารัฐธรรมนูญพันฉบับ” ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเชื่อว่าประชาชนเองควรพัฒนาแผนและยุทธศาสตร์ทางปัญญาและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนประเทศชาติหลังการปฏิวัติ โดยกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า อำนาจจะอยู่ในมือของประชาชน ผู้ตัดสินชะตากรรมและปกครองทางเลือกของตน”

โครงการของสะอีดได้กำหนดขึ้นเพื่อนำเสนอแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับสังคม และแนวความคิดนี้มีพื้นฐานมาจากท้องถิ่นสู่ระดับภูมิภาคและจากส่วนกลางเพื่อให้กฎหมายระดับชาติเป็นกฎหมายที่แสดงออกถึงเจตจำนงของประชาชน นอกจากนี้ สะอีดยังกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการต่อต้านการทุจริต

ทันทีที่มีอำนาจหลังชนะการเลือกตั้งในปี 2019 สะอีดต้องการพลิกโฉมวิถีทางการเมืองในแบบของตนเอง ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมืองในตูนิเซีย และปะทะกับพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคนะฮ์เฎาะฮ์ ซึ่งครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และไม่สงบจนกระทั่งหลังจากที่สะอีดเลือกนายกรัฐมนตรีเอง ซึ่งสะอีดได้เลือกฮิชาม  มาชีชีย์ ผู้พิพากษาอาวุโส  ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของตนในทำเนียบประธานาธิบดี

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในตูนิเซียไม่ได้มีเสถียรภาพ สะอีดปฏิเสธการแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยอ้างว่ามีบุคคลที่ทุจริตที่มาจากระบอบการปกครองก่อนหน้านี้ หลังจากนั้น สะอีดรู้สึกว่าถูกรัฐสภาและรัฐบาลมองข้าม และจบลง ด้วยการต่อต้านประชาธิปไตยในภาพรวม โดยเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา สะอีดได้บังคับนายกรัฐมนตรีที่เลือกมาเองให้ลาออก พร้อมระงับรัฐสภา 30 วัน และให้อำนาจสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรง อำนาจบริหารทั้งหมด  ทั้งฝ่ายประธานาธิบดีและฝ่ายรัฐบาล  ทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุม

ไกส์ สะอิด เชื่อว่าสิ่งที่ตนทำไม่ถือเป็นการทำรัฐประหารต่อต้านระบอบประชาธิปไตยหรือเป็นการละเมิดกฎหมาย และเห็นว่ากระทำการภายในขอบเขตที่มาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญตูนิเซียกำหนด แต่ตีความด้วยวิธีของตนเองในการเป็นข้ออ้างการทำรัฐประหารเส้นทางประชาธิปไตย   ในขณะที่นักรัฐธรรมนูญและนักกฎหมายส่วนใหญ่ในตูนิเซีย ประณามการตีความและการกระทำของเขาดังกล่าว ในแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ที่แล้ว ผู้พิพากษา 45 คนได้ประณามอย่างรุนแรงต่อมาตรการที่ประธานาธิบดีประกาศเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมที่แล้ว โดยพิจารณาว่ามาตรการดังกล่าวผิดปกติและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  รวมถึงการจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนไหวและการเดินทางของผู้พิพากษาเช่นเดียวกับพลเมืองคนอื่นๆ

ใครอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารของไกส์ สะอีด ต่อระบอบประชาธิปไตยของตูนิเซีย

ประสบการณ์การเปลี่ยนผ่านระบอบประชาธิปไตยในตูนิเซียเป็นประสบการณ์เดียวที่รอดพ้นจากหายนะจากประสบการณ์ที่คล้ายกันซึ่งเริ่มต้นจาก “การปฏิวัติอาหรับสปริง” เมื่อกว่าสิบปีก่อน ขณะที่ประสบความสำเร็จในการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์  รวมทั้งรัฐธรรมนูญที่ รับรองโดยฉันทามติและความยินยอมของสาธารณะ ตลอดจนประมุขแห่งรัฐซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานิติบัญญัติที่เป็นตัวแทนของกระแสการเมืองและปัญญาชนส่วนใหญ่ในสังคมตูนิเซีย

ที่สำคัญที่สุด ระบอบประชาธิปไตยนี้สามารถ -แม้ว่าจะมีความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง- สร้างบรรยากาศของเสรีภาพสาธารณะและรับประกันสิทธิมนุษยชนที่ประเทศอาหรับและระบอบการปกครองอื่น ๆ ทั้งหมดต่างอิจฉา อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นปรากฎว่า ความพร้อมของกฎเกณฑ์ส่วนใหญ่ของรูปแบบประชาธิปไตยในระบบการปกครองของตูนีเซียขณะนี้ไม่สามารถรับรองความแข็งแกร่งของรัฐที่ดำเนินการโดยระบบนี้ หรือประกันประสิทธิภาพที่จะทำให้ตูนิเซีย -โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการระบาดของโรคโคโรนาที่กำลังดำเนินอยู่ – สั่นสะเทือน ที่แสดงถึงการล่มสลายทางการเมือง สังคม และสุขภาพ ทำให้ประธานาธิบดีต้องใช้มาตรการพิเศษและการตัดสินใจที่เฉียบขาดตามความเห็นของตน

ข้อมูลชี้ว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารของประธานาธิบดี ไกส์  สะอีด ที่ต่อต้านรัฐธรรมนูญ เพราะอิมิเรตมุ่งมั่นที่จะยุติอาหรับสปริงซึ่งเริ่มขึ้นในตูนิเซียในปี 2011 และเป็นสิ่งที่อิมิเรตกระทำในอียิปต์ยุคประชาธิปไตย นี่คือสิ่งที่สะอีดอ้างถึงในคำกล่าวบางโอกาสว่า มีบางประเทศในภูมิภาคสนับสนุนทางการเงินและการทหาร

ล่าสุด อันวาร์ การ์กัช อดีตที่ปรึกษาทางการทูตของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ไปเยือนตูนีเซีย พร้อมกับคณะผู้แทนระดับสูง  เมื่อวันอาทิตย์ (8-8-2021) ซึ่งระบุว่า “สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เข้าใจและสนับสนุนการตัดสินใจทางประวัติศาสตร์ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ และยังตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องตูนิเซียและตอบสนองต่อเจตจำนงของประชาชน”

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้พยายามมาระยะหนึ่งแล้วที่จะปิดล้อมและต่อสู้กับกระแสอิสลามในทุกส่วนของโลกอาหรับ และไม่ได้ละเว้นความพยายามใดๆ เลยนอกจากจะทำมัน  และใช้เงินหลายพันล้านเหรียญเพื่อบรรลุเป้าหมาย และยังใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อขจัดอุดมการณ์อาหรับสปริงที่เริ่มต้นในตูนิเซียเช่นเดียวกัน

เป็นเรื่องแปลกที่ยูเออีเป็นหนึ่งในประเทศที่สานสัมพันธ์ปกติกับอิสราเอล ซึ่งประธานาธิบดีสะอีดในแถลงการณ์ “ใครก็ตามที่มีความสัมพันธ์กับคณะผู้แย่งชิงถือเป็นผู้ทรยศขั้นสูง” การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงในแนวความคิดนี้จะเข้าใจได้อย่างไร และการสานสัมพันธ์กับอิสราเอลยังคงเป็นการทรยศสูงสุดสำหรับเขาหรือไม่ !

การเยือนไคโรของ ไกส์ ซาอีด ก่อนหน้านี้ เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการทำรัฐประหารเพื่อต่อต้านประสบการณ์ประชาธิปไตย ตราบใดที่กลุ่มอิสลามิสต์อยู่ข้างหน้าในฉากการเมือง และสิ่งนี้ได้รับการยืนยันจากการเยือนล่าสุดของ ซามิห์  ชุกรี รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์  และการเฉลิมฉลองของการเคลื่อนไหวเหล่านี้ในสื่ออียิปต์และเอมิเรตส์  โดยเห็นว่าการตัดสินใจของประธานาธิบดีตูนิเซียครั้งนี้ เป็นการลุกฮือเพื่ออิสรภาพครั้งใหม่และการสลัดพ้นจากกลุ่มอิควานมุสลิมีน”

เช่นเดียวกับการเยือนตูนีเซียของฟัยซอล ฟัรฮาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งซาอุดิอาระเบีย  และประกาศว่าราชอาณาจักรจะยืนหยัดตามมาตรการของไกส์  สะอีด  ยังไม่รวมถึงความเงียบของประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการเหล่านี้ ไม่ได้มองว่าเป็นละเมิดประชาธิปไตย และปูทางให้ระบบเผด็จการและการกดขี่ โดยไม่ได้ประณามใดๆ  รวมถึงบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ที่ยกย่องและสนับสนุน

สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นหลังรัฐประหารนิ่มๆ

การเคลื่อนไหวประหลาดของสะอีด เกิดขึ้นหลังจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลและกลุ่มนะฮ์เฎาะฮ์เพียงวันเดียว และหลังจากการติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตลอดจนความโกรธที่เพิ่มขึ้นต่อความไม่สมดุลทางการเมืองเรื้อรัง รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้ถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับตูนิเซียหลังจากการปฏิวัติในปี 2011 ที่จุดชนวนให้เกิด “การปฏิวัติอาหรับ” และล้มล้างการปกครองแบบเบ็ดเสร็จเพื่อสนับสนุนการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ล้มเหลวในการบรรลุความเจริญรุ่งเรือง

บางทีฉากทั่วไปในตูนิเซียจนถึงขณะนี้ สามารถคาดการณ์ได้ว่าอาจเกิดได้ 3 สถานการณ์ และผู้เขียนคิดว่า ประธานาธิบดีจะไม่ถอนการตัดสินใจ และวันและเดือนที่จะมาถึงจะเป็นพยานถึงการคาดการณ์นี้ :

สถานการณ์แรก: อาจเป็นการค้นหาทางออกตามรัฐธรรมนูญ และการลงประชามติเกี่ยวกับการตัดสินใจของประธานาธิบดี หรือการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาก่อนกำหนด และเป็นเรื่องที่ความขัดแย้งก็ยังคงหมุนเวียนอยู่ต่อไป การแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้หมายถึงการหวนคืนสู่จุดศูนย์และการดำรงอยู่ของวิกฤตทางการเมือง ทั้งด้านพลังทางการเมืองและพรรคการเมืองในทุกรูปแบบ ตลอดจนภาคประชาสังคม สถานการณ์นี้ถือว่าอันตรายน้อยที่สุด

สถานการณ์ที่สอง: ยืดเวลาวิกฤต กำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน และขัดขวางชีวิตทางการเมืองและพลเรือนระหว่างที่ซาอิดเป็นประธานาธิบดีตูนิเซีย ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับกองกำลังต่อต้านการปฏิวัติ  แต่สถานการณ์นี้จะก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองและสังคมในตูนิเซีย

สถานการณ์ที่สาม: การทำรัฐประหารโดยสมบูรณ์และชัดเจน เช่น แบบจำลองอียิปต์ การกดขี่เสรีภาพ และการปิดปาก ซึ่งถือเป็นการก่อรัฐประหารทางเศรษฐกิจและการเมือง และต้องใช้เงินทุนระยะยาว และฉันคิดว่าสิ่งนี้เป็นไปได้ โดยเฉพาะ ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดิอาระเบียในการต่อต้านการปฏิวัติ ดังนั้นจึงต้องใช้ความโหดร้ายและการปราบปรามอย่างมาก และสิ่งนี้นำไปสู่ความโกลาหล เนื่องจากภาคประชาสังคมของตูนิเซียสามารถคัดค้านสถานการณ์นี้ได้ ข้าพเจ้าไม่ได้ตัดเรื่องนี้ออกไปเป็นการส่วนตัว เมื่อพิจารณาถึงสภาพการแก้แค้นที่ฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติชอบที่จะขจัดสิ่งที่เหลืออยู่ของการปฏิวัติอาหรับ

ชาวตูนิเซียจะมีความคิดเห็นที่ต่างออกไปและขัดขวางสถานการณ์เหล่านี้ทั้งหมดหรือไม่ โดยที่จะเป็นผู้มีอำนาจตัวจริงและมีความสามารถที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนเองไว้ได้หรือไม่ และฝ่ายการเมืองและพรรคการเมืองจะมองข้ามความแตกต่างที่เพิ่มมากขึ้นทุกวี่วัน และจะรวมตัวกันเพื่อเผชิญกับรัฐประหารครั้งนี้และกำหนดวาระร่วมกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ ประชาธิปไตย หรือฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติที่สนับสนุนสะอีดจะมีชัยในที่สุด !

ฉันหวังว่า ชาวตูนิเซียจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด และทำให้เจ้าชายแห่งการปฏิวัติที่ต่อต้านการปฏิวัติผิดหวัง  อย่างที่เกิดขึ้นในตุรกี เมื่อชาวตุรกีลุกขึ้นเผชิญหน้ากับรัฐประหารในเดือนกรกฎาคม 15 ต.ค. 2016 และเสียสละเพื่อฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยของตนเองโดยไม่พึ่งพิงจากภายนอก และเชื่อว่าเสรีภาพไม่ใช่ของบริจาค แต่ต้องแย่งชิงมา

โดยสรุป ฉันขอพูดว่า: การปกครองแบบเผด็จการคือการกำหนดเจตจำนงของคนบางคนและเครือข่ายของเขา ทำลายเจตจำนงของปวงชน ทำลายจิตวิญญาณของประชาชน ทำลายความเป็นไปได้ของความก้าวหน้าของพวกเขา กำจัดเจตจำนงของประชาชน ยกเลิกเหตุผลสำหรับการดำรงอยู่ของพวกเขา ลิดรอนทรัพย์สิน  เกียรติ สติปัญญา ปิดปาก ริบเสรีภาพ และเคียงคู่มากับการทุจริตที่จะทำลายบ้านเมืองให้พังพินาศย่อยยับ

บทความโดย: ดร.จามาล นัศศอร์ กรรมการสหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ


แปลสรุปโดย Ghazali Benmad

อ่านต้นฉบับ

https://bit.ly/3jMZXGM