ข่าว ข่าวต่างประเทศ

รากเหง้าความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจาน

ภูมิภาค “Karabakh” หมายถึง ภูเขาหรือที่ราบสูงของไร่องุ่นสีดำ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศอาเซอร์ไบจาน มีพื้นที่ประมาณ 4,800 ตร. กม. ( ใหญ่กว่าพื้นที่ของจังหวัดยะลาที่มีเนื้อที่ 4,521 ตร. กม. )คิดเป็นประมาณ 20% ของพื้นที่อาเซอร์ไบจาน มีประชากรประมาณ 150,000 คน

ทั้งภูมิภาคตั้งอยู่ในดินแดนของอาเซอร์ไบจาน พลเมืองส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติอาร์เมเนียที่สถาปนาดินแดนของตนเองอย่างผิดกฎหมาย เรียกว่า “สาธารณรัฐอาร์ทซัค”โดยได้รับการสนับสนุนและแทรกแซงโดยตรงจากอาร์เมเนีย ที่ละเมิดมติของสหประชาชาติที่รับรองภูมิภาคนี้เป็นของอาเซอร์ไบจาน และตั้งอยู่ในดินแดนของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องถอนการยึดครองอาร์เมเนียไปในเวลาเดียวกัน

หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 และด้วยการสนับสนุนของรัสเซียและอาร์เมเนีย  กลุ่มกบฏอาร์เมเนียในภูมิภาคนี้ ได้กลายเป็นต้นเหตุของการสังหารหมู่อย่างโหดเหี้ยมจำนวนมากต่อชาวอาเซอร์ไบจาน พวกเขาถูกบังคับอพยพออกจากถิ่นกำเนิด เพื่อหลีกทางให้กับกองกำลังอาร์เมเนียที่เข้ามาใหม่ ซึ่งได้เผาทำลายหมู่บ้านและสังหารผู้หญิง เด็กและผู้สูงอายุ ท่ามกลางสายตาของโลกและสภาความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งไม่สามารถหยุดยั้งการโจมตีที่ดำเนินการโดยกองกำลังหัวรุนแรงเหล่านั้น

การโจมตีที่ไร้มนุษยธรรมนี้ ส่งผลให้ชาวอาเซอร์ไบจานนับล้านคนต้องอพยพออกจากภูมิภาคนี้ แก๊งติดอาวุธหัวรุนแรงของอาร์เมเนีย ใช้ข้ออ้างทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ ในการโจมตีอาเซอร์ไบจานอย่างต่อเนื่องและเป็นครั้งคราว

การโจมตีโดยแก๊งติดอาวุธชาวอาร์เมเนียในภูมิภาค “คาราบัค” ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์และภูมิศาสตร์ขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายผู้ลี้ภัยโดยประมาณกว่า 1.2 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอาเซอร์รี่ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ในคาราบัค กลายเป็นชาวอาร์เมเนีย

ถือเป็นการปล้นประเทศอีกกรณีหนึ่ง ที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ยิวปล้นปาเลสไตน์จัดตั้งรัฐเถื่อนอิสราเอล เพียงแต่ที่ปาเลสไตน์ โลกปล่อยให้เป็นหน้าที่ของยิว ในขณะที่อาเซอร์ไบจานสหประชาชาตินั่งชมอาร์เมเนีย ซึ่งนับถือคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์จัดตั้งรัฐอันธพาล”สาธารณรัฐอาร์ทซัค” ที่คาราบัค อาเซอร์ไบจาน

นอกจากนี้ กองกำลังกบฏอาร์เมเนียที่ยึดครองภูมิภาคนี้ยังได้รับการสนับสนุนโดยตรงและอย่างมีนัยสำคัญจากประเทศอาร์เมเนียและชุมชนชาวอาร์เมเนียพลัดถิ่น เนื่องจากการล็อบบี้ในสหรัฐอเมริกาทำให้อาร์เมเนียเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากความช่วยเหลือของอเมริกาเป็นอันดับสองของโลก รองจากรัฐบาลยิวไซออนิสต์ ยังไม่รวมรัสเซียที่มีความผูกพันทางศาสนาอย่างแนบแน่นกับชาวอาร์เมเนีย

นี่คือสถานีประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นที่สุดสำหรับภูมิภาคนากอร์โนคาราบัค

● 1922 อดีตสหภาพโซเวียตได้ประกาศให้เอกราชแก่คาราบัค แต่ยังคงยึดครองอาเซอร์ไบจาน

● 1988 กลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนที่ผนวกคาราบัคเข้ากับอาร์เมเนีย และเรียกร้องเอกราชจากอาเซอร์ไบจานพร้อมดำเนินการโจมตีอาเซอร์ไบจานอย่างต่อเนื่อง

● 1991 การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและเอกราชของอาเซอร์ไบจานกระตุ้นให้อาร์เมเนียสนับสนุนการเป็นอิสระของภูมิภาคคาราบัคจากอาเซอร์ไบจาน โดยจุดชนวนสงครามด้วยการสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์อาร์เมเนีย

● 1992  อาร์เมเนียโจมตีอาเซอร์ไบจานและประกาศสงครามเพื่อยึดครองภูมิภาคนี้ ซึ่งสงครามดำเนินต่อไปจนถึงปี 1994 คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 30,000 คน

● 2001 สหรัฐอเมริกาประกาศข้อตกลงสันติภาพระหว่างอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียเกี่ยวกับดินแดน “คาราบัค”

● 2008 การโจมตีซ้ำของอาร์เมเนียต่ออาเซอร์ไบจาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บและเกือบจะกลายเป็นสงครามที่ยืดเยื้อครอบคลุม ซึ่งมีการดำเนินการระหว่างประเทศเพื่อหยุดยั้งสงครามดังกล่าว

● 2014 อาร์เมเนียโจมตีอาเซอร์ไบจานอีกครั้ง

● 2016 อาร์เมเนียโจมตีอาเซอร์ไบจานซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตและบาดเจ็บและความพยายามของสหประชาชาติในการหยุดยิง

● ล่าสุด เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2020 ทั้ง 2 ชาติที่เคยเป็นดินแดนบริวารของอดีตสหภาพโซเวียตในภูมิภาคเอเชียกลางนี้ ได้ก่อสงครามอีกครั้ง ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเคลื่อนย้ายอาวุธหนักระดมยิงใส่รวมถึงใช้ปฏิบัติการทางอากาศจากฝูงบินรบต่างๆ ส่งผลให้ทางอาร์เมเนียเรียกร้องให้บรรลุข้อตกลงหยุดยิง แต่นายอิลฮาม อาลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน ยืนกรานว่าสัญญาหยุดยิงจะกระทำได้ต่อเมื่ออาร์เมเนียถอนกำลังออกจากคาราบัคเท่านั้นและจะต้องมีตารางเวลาที่ชัดเจนเพื่อบีบบังคับให้อาร์เมเนียออกจากดินแดนที่ตนยึดครอง

ในขณะที่ นายนิโคล ปาชินยาน นายกรัฐมนตรีอาร์เมเนีย ได้กระตุ้นต่อชาติตะวันตกให้ระดมช่วยเหลืออาร์เมเนียขัดขวางตุรกีที่เข้าแทรกแซงสนับสนุนอาเซอร์ไบจานว่า

“หากโลกไม่แสดงจุดยืนบางอย่างที่จำเป็นต่อตุรกี ก็รอพวกเขาที่จะบุกเข้าประตูเวียนนาอีกครั้งในไม่ช้านี้  เนื่องจากอาร์เมเนียเป็นป้อมปราการสุดท้ายที่ต่อต้านตุรกี  เออร์โดอานสนับสนุนอาเซอร์ไบจานต่อต้านเรา ในความพยายามที่จะฟื้นอาณาจักรบรรพบุรุษของพวกเขา”


สรุปโดย

ทีมข่าวต่างประเทศ