โอไอซี ปฏิเสธแผนสันติภาพสหรัฐหรือข้อตกลงแห่งศตวรรษ

องค์การความร่วมมืออิสลาม(โอไอซี)ได้ประชุมฉุกเฉินระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ที่กรุงเจดดาห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2020 พร้อมปฏิเสธแผนสันติภาพในมายาคติของสหรัฐฯ ที่เป็นที่รู้จักในนามข้อตกลงแห่งศตวรรษ

โอไอซี ได้เรียกร้องบรรดาประเทศสมาชิกงดให้ความร่วมมือใดๆ กับรัฐบาลสหรัฐฯในเรื่องนี้ และได้ออกคำแถลงการณ์ว่า เราปฏิเสธข้อตกลงนี้เนื่องจากเป็นข้อตกลงที่ไม่ตอบสนองสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวปาเลสไตน์ และขัดแย้งกับแหล่งอ้างอิงทางศาสนาว่าด้วยการสร้างสันติภาพ

ที่ประชุมถือว่า ข้อตกลงแห่งศตวรรษนี้ มีเนื้อหาที่สอดรับกับนิยายปรัมปราของอิสราเอลและเป็นการสร้างความชอบธรรมผนวกดินแดนปาเลสไตน์ภายใต้ข้ออ้างสร้างความมั่นคงแต่รัฐอิสราเอลเท่านั้น ทั้งๆ ที่ขัดแย้งอย่างชัดเจนกับกฎหมายระหว่างประเทศ อนุสัญญาสหประชาชาติและข้อตกลงอนุภาคีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

ที่ประชุมยืนยันว่า สันติภาพในตะวันออกกลางจะไม่มีทางเกิดขึ้นจนกว่าจะยุติการครอบครองแผ่นดินโดยอธรรม และการถอนกองกำลังจากแผ่นดินปาเลสไตน์ อัลกุดส์ รวมทั้งพื้นที่ยึดครองปี 1967

ที่ประชุมได้ย้ำว่า ปัญหาปาเลสไตน์คือศูนย์กลางปัญหาของประชาชาติอิสลามสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อยุติการยึดครองเท่านั้น พร้อมระบุว่าอัลกุดส์คือเมืองหลวงถาวรของชาวปาเลสไตน์

องค์การความร่วมมืออิสลาม (Organization of the Islamic Cooperation,OIC) เป็นองค์การระหว่างประเทศของชาติมุสลิม มีสมาชิกราว 57 ประเทศ ประชากรรวมกว่า 1.2 พันล้านคน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมสรรพกำลัง ปกป้องผลประโยชน์ของชาติสมาชิก รวมถึงการพูดเป็นเสียงเดียวกันในเรื่องสำคัญ ๆ ในเวทีสากล

โอไอซี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2512 โดยมีการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกที่กรุงราบัต ประเทศโมร็อคโก หลังมัสยิดอัลอักศอถูกวางเพลิงได้รับความเสียหายจากฝีมือยิวสุดโต่ง ปัจจุบัน ชัยค์ยูซุฟ อัล-โอซัยมีน ชาวซาอุดิอาระเบียดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการคนที่ 11

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ปาเลสไตน์ แผ่นดินไร้ประชาชาชน เพื่อทรชนที่ไร้ดินแดน

ไทม์ไลน์การกำเนิดของรัฐหนึ่ง พร้อมกับการสูญหายของอีกรัฐหนึ่ง ท่ามกลางการรู้เห็นของสหประชาชาติ การเงียบงันของโลกอิสลาม และความทุกข์ทรมานของชาวปาเลสไตน์

ปาเลสไตน์ ต้นกำเนิดแห่งวาทกรรม “แผ่นดินซึ่งผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ มอบให้กับผู้ไม่มีสิทธิครอบครอง”

จากคำประกาศบัลโฟร์ 1917 จนถึง ข้อตกลงแห่งศตวรรษ 2020

มหากาพย์แห่งการปล้นประเทศยังคงดำเนินต่อไป จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายตามมายาคติ ที่ ระบุว่าอิสราเอล คือ แผ่นดินจากไนล์ถึงยูเฟรทีส

ยอดผู้เสียชีวิตเหยื่อไวรัสโคโรน่าพุ่ง คนติดเชื้อกว่าหมื่นรายทั่วจีน

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน ( NHC) เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 2,590 ราย และจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 45 ราย ณ วันเสาร์(1ก.พ.)โดยผู้เสียชีวิตทั้งหมดถูกพบในมณฑลหูเป่ย์

การพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม ทำให้ขณะนี้จำนวนผู้เสียชีวิตเพราะไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ในจีนเพิ่มเป็น 304 ราย ส่วนผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็น 14,380 ราย

ทั้งนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่จีนถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลกมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากประเทศต่างๆพากันคุมเข้มด้านการเดินทางของชาวจีนที่จะเข้าประเทศ แม้ว่าองค์การอนามัยโลก(WHO)จะออกประกาศคำแนะนำเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ออกมาและย้ำว่าขณะนี้ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะจำกัดการค้าขายหรือการเดินทางไปยังประเทศจีน

อ้างอิง https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/864621

สันนิบาตอาหรับประชุมฉุกเฉิน ปฏิเสธแผนสันติภาพสหรัฐฯ

สันนิบาตอาหรับได้ประชุมฉุกเฉิน ที่กรุงไคโร เมื่อวันที่ 1 กพ. 2563 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาขิกสันนิบาตอาหรับเข้าร่วมประชุม ตามคำเชิญของนายมะห์มูด อับบาสผู้นำปาเลสไตน์ เพื่อกำหนดท่าทีหลังประธานาธิบดีสหรัฐฯนายโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศแผนสันติภาพมอบปาเลสไตน์ให้แก่อิสราเอล

ที่ประชุมมีมติคัดค้านแผนสันติภาพดังกล่าวและถือว่าขัดแย้งกับข้อตกลงสันติภาพและกฎหมายสากลรวมทั้งฝ่าฝืนมติสหประชาขาติ

นายมะห์มูด อับบาส ผู้นำปาเลสไตน์ได้ประกาศจะตัดความสัมพันธ์กับอิสราเอลและรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคง แต่ในขณะเดียวกันนายมะห์มูด อับบาส กล่าวว่าชาวปาเลสไตน์พร้อมประกาศให้ปาเลสไตน์เป็นเขตปลอดอาวุธตามข้อเสนอของทรัมป์ เพราะการใช้กองกำลังทางอาวุธไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

สันนิบาตอาหรับมักจะมีมติคัดค้านแผนสันติภาพสหรัฐฯ-อิสราเอลมาโดยตลอด แต่ทั่วโลกยังกังขาว่า มติดังกล่าวมีผลในภาคปฏิบัติหรือไม่ และสร้างแรงกดดันให้สหรัฐฯและอิสราเอลมากน้อยแค่ไหน

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

อ้างอิงจาก https://www.aljazeera.net/news/politics/2020/2/1/%D9%81%D9%84%D8%B3%D8%B7%D9%8A%D9%86-%D8%B5%D9%81%D9%82%D8%A9-%D8%A7%D9%84%D9%82%D8%B1%D9%86-%D8%A7%D9%84%D8%AC%D8%A7%D9%85%D8%B9%D8%A9-%D8%A7%D9%84%D8%B9%D8%B1%D8%A8%D9%8A%D8%A9

แผนปล้นปาเลสไตน์ของกลุ่มสุดโต่ง

การร่วมมือจมหัวจมท้าย ระหว่างกลุ่มอีวานเจลิคัล Evangelicalism คริสต์อเมริกาขวาจัดกับยิวขวาจัด ในแผนปล้นแห่งศตวรรษ

*
สรุปสาระสำคัญบทความเรื่อง Israel’s hard-right and US Evangelicals unite for the heist of the century ใน TRT WORLD โดย Antony Loewenstein นักข่าวอิสระ อยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม
*

ประธานาธิบดีทรัมป์ของอเมริกาประกาศล่าสุด ถึงข้อตกลงแห่งศตวรรษเพื่อสร้างสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ที่เข้าข้างอิสราเอลอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ไม่ตอบรับข้อเสนอขั้นต่ำของชาวปาเลสไตน์ที่จะตั้งรัฐอิสระที่มีเยรูซาเล็มตะวันออกเป็นเมืองหลวง

ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่ประธานาธิบดีอเมริกาจะประกาศข้อตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลและอาหรับ ในวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา อีลอน เลวี่ Eylon Levy นักข่าวชาวอิสราเอลได้โพสต์ข้อความว่า “จำเป็นจะต้องลดความคาดหวังสำหรับข้อเสนอที่จะมีขึ้น” อีลอน เลวี่ยังกล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดที่จะแก้ไขข้อพิพาทได้ เราหวังเพียงแต่ว่าข้อเสนอที่จะมีขึ้นนั้น สามารถลดข้อพิพาทลงบ้างเล็กน้อย”

อีลอน เลวี่ยังกล่าวว่า “การยึดครองจะไม่มีวันสิ้นสุดลง แต่จะลดน้อยลงบ้างหรือไม่เท่านั้น อย่าได้ถามว่าชาวปาเลสไตน์จะได้เสรีภาพหรือไม่ แต่จงถามว่าเพราะเขาจะมีเสรีภาพมากขึ้นหรือไม่ เราจะต้องคิดบนข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ไม่ใช่บนฐานการแบ่งแยกประเทศ”

สิ่งที่เลวี่เขียน ได้อธิบายหลักคิดชาวอิสราเอลมากมาย ทั้งในกลุ่มผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็นสายกลางและต่อต้านแนวคิดตกขอบ

แผนสันติภาพของทรัมป์ จะเป็นที่พึงพอใจให้แก่ชาวอิสราเอลส่วนใหญ่ เพราะว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตใดๆ สิทธิพิเศษของเขาจะไม่ลดลง พวกเขาสามารถเดินทางข้ามพรมแดนได้โดยอิสระ และมีชีวิตอยู่ภายใต้การปกครองของพลเรือน

ทั้งยังจะได้รับการต้อนรับในเวทีนานาชาติ รัฐบาลและเผด็จการทั่วโลก จะชื่นชมกับวิถีของอิสราเอลในการในการยึดครองปาเลสไตน์ในลักษณะนี้

ในขณะเดียวกัน ชาวปาเลสไตน์ไม่มีโอกาสได้ใช้สิทธิ์ใดๆ เหมือนชาวอิสราเอลดังกล่าว

ความจริงแล้วสิ่งที่เรียกว่า ข้อตกลงสันติภาพที่ทรัมป์ได้นำเสนอ ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับผู้ที่ติดตามเส้นทางของรัฐบาลอเมริกาใน 3 ปีหลัง

ทรัมป์และนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ได้เผยให้เห็นความฝันของกลุ่มอีวานเจลิคัล Evangelicalism คริสต์อเมริกาขวาจัดชาวอเมริกา และกลุ่มอิสราเอลหัวรุนแรง และกลุ่มนิคมชาวอิสราเอล และ เบนนี่ เกนทซ์ หัวหน้าฝ่ายค้านอิสราเอล ในเอกสารฉบับเดียว

แผนสันติภาพดังกล่าวได้ยืนยันว่า ชาวยิวทุกคนในนิคมชาวยิว จะยังคงอยู่ในบ้านของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นนิคมที่มีการพัฒนาโดยสมบูรณ์ หรือว่าที่กำลังเริ่มก่อสร้างอย่างเร่งด่วยในเขต West Bank ที่อิสราเอลจะทำการยึดในอนาคตหลังจากนี้ และอัลกุดส์จะตกอยู่ภายใต้ อำนาจของอิสราเอลโดยสมบูรณ์

แต่ปัญหาอยู่ที่ชาวปาเลสไตน์ไม่มีความหวังใดๆ ที่จะได้รับความยุติธรรมในข้อเรียกร้องที่ชอบธรรม และผู้นำอาหรับส่วนใหญ่จะปฏิเสธแผนสันติภาพนี้ในทางพิธีการ แม้ว่าพวกเขายังต้องการที่จะร่วมมือกับอิสราเอลในการทำสงครามทางอุดมการณ์กับอิหร่าน

ในขณะที่สหภาพยุโรปเองก็มีความแตกแยก แต่จะมีเสียงสนับสนุนอิสราเอลในการตั้งอาณานิคมมากขึ้น แม้ว่าอาจจะได้ยินเสียงคัดค้านจากประเทศที่สำคัญเช่น เบลเยี่ยม แต่จะเห็นการสนับสนุน โดยสมบูรณ์จากประเทศอื่นๆ ที่มีแนวคิดเช่นเดียวกับอิสราเอล รวมถึงอังกฤษ

ซึ่งรัฐบาลปาเลสไตน์และกลุ่มฮามาสก็ได้ปฏิเสธแผนดังกล่าวแล้ว

ถึงกระนั้น ชาวยิวในนิคมหัวรุนแรงก็ยังปฏิเสธแผนของทรัมป์ เช่นกลุ่มผู้หญิงเขียว ที่สนับสนุนการตั้งนิคมชาวยิว แถลงว่า แผ่นดินของอิสราเอลเป็นแผ่นดินเฉพาะสำหรับชาวยิว และจะไม่อนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่โดยเสรีในแผ่นดินนี้

แผนสันติภาพของทรัมป์ ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างสันติภาพ หรือสร้างความพึงพอใจให้กับชาวปาเลสไตน์ซึ่งไม่ได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมการประกาศข้อตกลงดังกล่าวที่มีขึ้นในทำเนียบขาว ซึ่งเชลดอน อะเดลสัน พวกขวาจัดนายทุนใหญ่ของพรรครีพับลิกัน ผู้ที่ต้องการโจมตีอิหร่านด้วยนิวเคลียร์ นั่งอยู่ในห้องที่เต็มไปด้วย กลุ่มผู้ต่อต้านอิสลามและอาหรับ กลุ่มบ้าสงคราม นักสร้างความเกลียดชัง ตลอดจนกลุ่มอีวานเจลิคัล Evangelicalism คริสต์อเมริกาขวาจัด นายคนนี้คือหัวโจกการปล้นแห่งศตวรรษที่ทรัมป์ได้นำเสนอขณะนี้

มาไรฟ์ ซอนส์เซน นักเขียนยิวชาวอเมริกาคนดังได้โพสต์ข้อความ เมื่อได้สังเกตเห็นผู้เข้าร่วมในห้องเพื่อฟังคำปราศรัยของธรรมและเนทันยาฮูว่า “จดจำภาพนี้ไว้ให้ดี ภาพของไซออนิสต์อีวานเจลิคัลผู้นี้ ผู้ที่เชื่อว่าจะเกิดวันอวสานของโลกและการกลับมาของพระเยซูครั้งที่ 2 ที่จะนำไปสู่การทำลายล้างชาวยิวทั้งหมด เขานั่งอยู่กลางห้องที่รายรอบไปด้วยชาวยิว เขาปรบมือยามที่ผู้นำชาวยิวได้แสดงกิริยาท่าทางต่างๆ ทั้งยังเป็นผู้สนับสนุนไซออนิสต์แอนตี้เซมิติกผู้ต่อต้านยิว”

ทั้งนี้ เชลดอน อะเดลสัน ผู้นี้เป็นคริสต์ไซออนิสต์ระดับแกนนำ ผู้ข่มขู่ทำลายล้างชาวปาเลสไตน์ทั้งหมด

ถึงกระนั้น ในอิสราเอลก็ยังมีเสียงคัดค้าน ฮาไจ อิลอาด Hagai El Ad ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวสารข้อมูลสิทธิมนุษยชนในแผ่นดินที่ถูกยึดครอง Executive Director of Btselem เขียนหลังจากทรัมป์ได้ประกาศแผนดังกล่าวว่า “วันนี้หรือพรุ่งนี้ จะมีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงหรือไม่

เวลานี้มีคน 14 ล้านคน อาศัยอยู่ระหว่างแม่น้ำจอร์แดนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน 4 ล้านคนเป็นชาวปาเลสไตน์ ที่ไม่มีสิทธิทางการเมืองใดๆเลย เราอยู่ที่นี่ เรายังคงอยู่ที่นี่ภายใต้รัฐบาลในเยรูซาเล็ม รัฐบาลที่ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการที่จะให้การสนับสนุนชนชาติหนึ่ง ให้เอาเปรียบอีกชนชาติหนึ่ง ท่ามกลางการละเมิดสิทธิ์ที่ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

แล้วในอนาคต สิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวปาเลสไตน์ในวันนี้ที่พวกเขาไม่มีสิทธิ์ หรือประเทศ แต่อยู่ในประเทศที่แบ่งแยกเชื้อชาติโดยสมบูรณ์ ไม่มีสิ่งใดจะมาลบล้างความอดสูหรือความจริงอันนี้ได้ แต่ความจริงอันเจ็บปวดวันนี้ ทำให้เกิดความหวังขึ้นในอนาคต ความหวังเดียวที่จะทำให้เกิดสันติภาพอย่างแท้จริง อนาคตที่ไม่มีกลุ่มชนหนึ่งเหนือกว่ากลุ่มชนหนึ่ง และกดขี่อีกกลุ่มชนหนึ่ง แต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันโดยสมบูรณ์ มีสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีให้กับทุกคนโดยเท่าเทียมกัน”

อิสราเอลวันนี้และพรุ่งนี้ จะยังคงเดินหน้าทำลายหมู่บ้านอาหรับเบดุอินต่อไป และจะยังคงกล่าวร้ายต่อนักการเมืองชาวปาเลสไตน์ และชาวปาเลสไตน์ในลุ่มน้ำจอร์แดนจะยังคงต่อสู้เพื่อชีวิตของตัวเอง โดยที่ไม่มีการทำร้ายต่อทหารและผู้ถิ่นฐานในนิคมชาวยิว

แม้ว่าทรัมป์อาจจะพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งในปีนี้ แต่ความคาดหวังก็เกี่ยวกับข้อเสนอของประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครตให้แก่ชาวปาเลสไตน์ก็ไม่น่าจะมีอะไรดีขึ้น เพราะว่าประวัติของโจ บายเด้น มีเรื่องที่น่าวิตกกังวลอย่างมากมาย แม้ว่าจะมีความหวังอยู่บ้างกับ เบอร์นี่ เซนเดอรส์ ก็ตาม

แต่เราจะสิ้นหวังหรือไม่ ไม่มีวัน เพราะมีสงครามภายในสังคมยิวอเมริกา เกี่ยวกับความเห็นที่ว่าผู้ใดจะเป็นตัวแทนชาวยิวยุคใหม่ ซึ่งการต่อสู้นี้จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น

ขณะสิ้นสุดการแถลงข่าวของทรัมป์และเนทันยาฮูในกรุงวอชิงตัน จะได้ยินเสียงดนตรีในเพลง What a Wonderful World “โลกนี้ช่างแสนงามเหลือเกิน” ประกอบบรรยากาศท่ามกลางแขกเหรื่อกำลังแสดงความยินดีต่อกัน อันแสดงถึงการดูถูกดูแคลนชาวปาเลสไตน์อย่างชัดเจน

เขียนโดย Ghazali Benmad

อ่านบทความต้นฉบับ https://www.trtworld.com/opinion/israel-s-hard-right-and-us-evangelicals-unite-for-the-heist-of-the-century-33315

ปธน. ตูนีเซียระบุแผนสันติภาพทรัมป์คือ “อธรรมแห่งศตวรรษ”

ประธานาธิบดีตูนีเซีย นาย ไกส์ สะอีด ได้ให้สัมภาษณ์เนื่อง 100 วันหลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีกรณีแผนสันติภาพทรัมป์ ว่า “ ข้อตกลงแห่งศตวรรษนี้ความจริงคือ อธรรมแห่งศตวรรษ ที่เป็นผลของการยึดครองของอิสราเอลต่อแผ่นดินปาเลสไตน์ที่ต่อเนื่องกันมา”

ประธานาธิบดีตูนีเซียยังยืนยันว่า การสร้างความสัมพันธ์อย่างปกติกับอิสราเอลถือเป็นการทรยศ และข้อตกลงนี้จะถูกปฏิเสธโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ เพราะปาเลสไตน์ไม่ใช่ไร่นาที่จะมีการซื้อขายได้ตามอำเภอใจของใครผู้ใด

อ้างอิง https://www.facebook.com/178851562816716/posts/493827284652474/?d=n

รายละเอียดข้อตกลงแห่งศตวรรษ (Deal of the Century)

ประธานาธิบดีทรัมป์แห่งสหรัฐฯ แถลงรายละเอียดข้อตกลงแห่งศตวรรษ 10 ข้อเพื่อสร้างสันติภาพอิสราเอล -ปาเลสไตน์ พร้อมยืนยันว่าสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีฝ่ายที่ยอมเสียสละ ซึ่งสหรัฐฯไม่ประสงค์ให้อิสราเอลเสียสละในเรื่องใดๆกรณีนี้

รายละเอียด 10 ข้อมีดังนี้
1.นิคมสร้างตนเองของอิสราเอลที่อยู่ในเขตเวสต์แบงค์ จะต้องผนวกรวมเข้าไปในเขตครอบครองของประเทศอิสราเอลเท่านั้น

2.ลุ่มแม่น้ำจอร์แดนที่อิสราเอลอ้างว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของอิสราเอล ต้องเป็นเขตที่อยู่ภายใต้การปกครองของอิสราเอลเท่านั้น

3.อัลกุดส์จะต้องเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีการแบ่งแยกฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกและเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลหนึ่งเดียวเท่านั้น

4.ประชาชนทุกศาสนามีอิสระเดินทางไปยังสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณอัลกุดส์ และจะยังอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลจอร์แดนต่อไป

5.เมืองหลวงของชาวปาเลสไตน์ในอนาคต จะถูกกำหนดขึ้นใหม่ทางภาคตะวันออกหรือภาคเหนือของกำแพงที่ล้อมรอบอัลกุดส์ สถานที่แห่งใหม่นี้อาจตั้งชื่ออัลกุดส์ หรือชื่อใหม่ที่กำหนดโดยรัฐบาลปาเลสไตน์ในอนาคต

6.องค์กรฮามาสจะต้องปลดอาวุธ เช่นเดียวกับเขตกาซ่าและรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต จะต้องเป็นเขตปลอดอาวุธเช่นกัน

7.ถนนหรืออุโมงค์ใต้ดินที่เชื่อมระหว่างเขตเวสต์แบงค์และกาซ่า จะถูกสร้างขึ้นโดยให้อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของอิสราเอลเท่านั้น

8.ทั้งสองฝ่ายต้องให้การยอมรับรัฐปาเลสไตน์ใหม่ว่าเป็นรัฐของชาวปาเลสไตน์ และยอมรับรัฐอิสราเอลว่าเป็นรัฐของชาวอิสราเอลเท่านั้น

9.อิสราเอลจะไม่ดำเนินการก่อสร้างใดๆ ในเขตนิคมสร้างตนเองแห่งใหม่ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอิสราเอลเป็นเวลา 4 ปี พร้อมจะได้รับงบสนับสนุนเพื่อการพัฒนาจำนวน 50,000 ล้านดอลล่าร์

10. ชาวปาเลสไตน์ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องกลับสู่มาตุภูมิเดิม

อ้างอิง
https://arabic.cnn.com/middle-east/article/2020/01/29/here-are-key-points-trumps-plan

เนทันยาฮูขอบคุณชาติอาหรับ 3 ประเทศที่เป็นสักขีพยานข้อตกลงแห่งศตวรรษ (Deal of the Century)

นายกรัฐมนตรีอิสราเอลขอบคุณประเทศอาหรับ 3 ประเทศที่ร่วมเป็นสักขีพยานในข้อตกลงแห่งศตวรรษที่นำเสนอโดยประธานาธิบดีทรัมป์แห่งสหรัฐฯ เพื่อสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง ที่ทำเนียบขาว เมื่อ 28 มกราคม 2563 พร้อมกล่าวชื่นชมแผนการดังกล่าวว่าเป็นแผนการสันติภาะแห่งประวัติศาสตร์

3 ประเทศที่นายเนทันยาฮูกล่าวขอบคุณคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมานและบาห์เรน ที่ได้ส่งทูตของตนที่ประจำกรุงวอชิงตันเข้าร่วมเป็นสักขีพยานครั้งนี้

อ้างอิง https://arabic.sputniknews.com/world/202001281044210807-%D9%86%D8%AA%D9%86%D9%8A%D8%A7%D9%87%D9%88-%D9%8A%D8%B4%D9%83%D8%B1-%D8%B3%D9%81%D8%B1%D8%A7%D8%A1-3-%D8%AF%D9%88%D9%84-%D8%B9%D8%B1%D8%A8%D9%8A%D8%A9-%D8%AD%D8%B6%D8%B1%D9%88%D8%A7-%D8%A5%D8%B9%D9%84%D8%A7%D9%86-%D8%AA%D8%B1%D8%A7%D9%85%D8%A8-%D8%B5%D9%81%D9%82%D8%A9-%D8%A7%D9%84%D9%82%D8%B1%D9%86-%D9%81%D9%8A-%D8%A7%D9%84%D8%A8%D9%8A%D8%AA-%D8%A7%D9%84%D8%A3%D8%A8%D9%8A%D8%B6/

ข้อตกลงแห่งศตวรรษ 2020 (Deal of the Century) รื้อฟื้นคำประกาศบัลโฟร์ 1917

สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยแผนการตะวันออกกลางต่อสาธารณชนในวันที่ 28 ม.ค. 2020 ที่ทำเนียบขาวภายหลังรัฐบาลของปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ใช้เวลาร่างแผนดังกล่าวถึง 2 ปี โดยแผนการตะวันออกกลางจะเป็นแนวทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์

โดยปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ได้หารือถึงรายละเอียดของแผนการสันติภาพกับนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ที่กรุงวอชิงตัน เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (27 ม.ค. 2020) โดยภายหลังการหารือดังกล่าว นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู กล่าวชื่นชมแผนการดังกล่าวว่าเป็นแผนการสันติภาพแห่งประวัติศาสตร์

แผนสันติภาพหรือข้อตกลงแห่งศตวรรษครั้งนี้ ทำให้โลกอิสลามนึกถึงคำประกาศบัลโฟร์ที่รัฐบาลอังกฤษโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษสมัยนั้น นายอาเธอร์ บัลโฟร์ได้พิมพ์ข้อความจำนวน 67 คำส่งไปยังบิดาแห่งไซออนนิสต์ นายธิวดอร์ เฮิรติเซิล ซึ่งมีสาระหลักมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่ชาวยิว สร้างตำนาน ”สัญญาจากผู้ที่ไม่ใช่เป็นเจ้าของมอบให้กับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ครอบครอง” ที่กลายเป็นปฐมเหตุแห่งความขัดเเย้งในตะวันออกกลางที่ยืดเยื้อจนกระทั่งปัจจุบัน

ช่วงแถลงข่าว ประธานาธิบดีทรัมป์ เปิดเผยว่า แผนสันติภาพที่มีเนื้อหา 80 หน้านี้ ถือเป็นหลักไมล์สำคัญของการสร้างสันติภาพและมีความแตกต่างกับแผนการที่ผ่านมา เรามีวิสัยทัศน์อันชัดเจนว่า อัลกุดส์คือเมืองหลวงของอิสราเอลอันเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น เขายืนยันว่า สันติภาพมีความจำเป็นที่คู่กรณีต้องเสียสละ แต่เราจะไม่เรียกร้องให้อิสราเอลเสียสละใดๆเพื่อสร้างสันติภาพ

ทรัมป์ได้กล่าวถึงผลงานตนเองที่สร้างคุณประโยชน์มากมายให้แก่อิสราเอลอาทิ ย้ายสถานทูตสหรัฐฯไปยังอัลกุดส์รวมทั้งยอมรับที่ราบสูงโกลานให้เป็นกรรมสิทธิ์ถาวรของอิสราเอล

ทรัมป์เปิดเผยว่าตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมาแผนสันติภาพดำเนินไปอย่างเชื่องช้ามาก บัดนี้ได้เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับชาวปาเลสไตน์ที่จะปกครองแผ่นดินโดยสมบูรณ์ที่สามารถขยายเพิ่มขึ้นมากมายหลายเท่า

ทรัมป์ได้สัญญาจะมีการลงทุนเพื่อพัฒนาปาเลสไตน์ด้วยวงเงินจำนวน 50,000 ล้านดอลล่าร์ พร้อมยืนยันว่ากลุ่มต่อต้านแผนสันติภาพนี้โดยเฉพาะกลุ่มฮามาสและญิฮาดอิสลามจะต้องยุติบทบาทลง

เป็นที่น่าสังเกตว่า ข้อตกลงนี้จัดขึ้น ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิสราเอลที่ทำเนียบขาว โดยไม่มีคู่กรณีสำคัญคือผู้แทนของชาวปาเลสไตน์เข้าร่วมแม้แต่คนเดียว ซึ่งทำให้เรานึกถึงสัญญาบัลโฟร์ที่เกิดขึ้นในปี 1917 หลังเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา

ข้อตกลงแห่งศตวรรษครั้งนี้ มีชาติอาหรับส่งผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตร่วมเป็นสักขีพยาน 3 ประเทศคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรนและโอมาน ส่วนประเทศอาหรับอื่นๆต่างส่งสัญญาณที่ดีและชื่นชมกับความสำเร็จของข้อตกลงครั้งนี้ ในขณะที่สันนิบาตอาหรับ องค์การความร่วมมืออิสลามหรือโอไอซี ยังไม่แสดงปฏิกิริยาใดๆ

ทั้งนี้ทางสหรัฐไม่สามารถหาข้อยุติของรายละเอียดแผนการสันติภาพได้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากอิสราเอลมีปัญหาทางด้านเสถียรภาพทางการเมือง โดยส่งผลให้นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ไม่สามารถรวมเสียงข้างมากเพื่อจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งส่งผลต่อความล่าช้าในการหาข้อสรุปต่อแผนการดังกล่าว

จากการขาดผู้ชนะที่เด็ดขาดในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ส่งผลให้อิสราเอลจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในปีนี้ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมืองยังคงเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อต่อไป ดังนั้นทางสหรัฐฯ จึงเชิญผู้นำทางการเมืองของอิสราเอลมาหารือ เพื่อให้การจัดทำแผนสันติภาพสามารถหาข้อยุติได้

ในขณะที่ประธานาธิบดีทรัมป์ยังต้องการสร้างหลักประกันว่า ตนสามารถรักษาตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในการเลือกตั้งสมัยหน้า

ทางด้านประธานาธิบดีแอร์โดอานแห่งตุรกีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลตุรกี ได้แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับแผนสันติภาพนี้ พร้อมยืนยันว่าอัลกุดส์คือเส้นแดงที่ไม่มีใครสามารถแตะต้องได้

โดยทีมงานต่างประเทศ

ลิงค์อ้างอิง
https://www.aljazeera.net/news/politics/2020/1/28/%d8%a3%d9%85%d9%8a%d8%b1%d9%83%d8%a7-%d8%b5%d9%81%d9%82%d8%a9-%d8%a7%d9%84%d9%82%d8%b1%d9%86-%d8%ae%d8%b7%d8%a9-%d8%aa%d8%b1%d8%a7%d9%85%d8%a8-%d9%81%d9%84%d8%b3%d8%b7%d9%8a%d9%86-%d8%a5%d8%b3%d8%b1%d8%a7%d8%a6%d9%8a%d9%84?fbclid=iwar1ftjkghfniwd4jegjeevlb18_uc3ucrvj55oguzmfrf2gkgwfdwvixbu0

https://www.bbc.com/thai/international-41862209?fbclid=IwAR3l8_v5hTy26HyNcpLUx2m-VkCJn3uJcutfdAdEgrEgZHeLPEQuHHIOn5M

กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ให้การต้อนรับ รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดี มฟน.

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563 เวลา 15.00 น. นายสรจักร บูรณะสัมฤทธิ กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ได้ให้การต้อนรับ รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี และคณะ ณ ที่ทำการสถานกงสุลใหญ่ฯ

โดยทั้งสองฝ่ายได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฯ กับสถานกงสุลใหญ่ฯ ทั้งนี้ กงสุลใหญ่ได้แสดงความขอบคุณอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ที่รับนักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษจากศูนย์การเรียน กศน. ณ เมืองเจดดาห์ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสถานกงสุลใหญ่ฯ จำนวน 2 คน เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฯ ในระดับอุดมศึกษา

ซึ่งอธิการบดีฯ ได้กล่าวชื่นชมสถานกงสุลใหญ่ฯ ที่จัดโครงการด้านการศึกษาแก่บุตรหลานและเยาวชนไทยที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศซาอุดีอาระเบีย ทำให้เยาวชนไทยเหล่านี้มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของทางมหาวิทยาลัยฯ ที่ต้องการยกระดับให้เยาวชนไทยมุสลิมได้มีการศึกษาที่สูงและในหลากหลายสาขาวิชามากยิ่งขึ้น

ที่มา : The Royal Thai Consulate-General in Jeddah