ละครอิงประวัติศาสตร์ การพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิล

เริ่มต้นด้วยการแจ้งข่าวดีของเราะสูลุลลอฮ์ที่กล่าวว่า “คอนสแตนติโนเปิลจะถูกพิชิตอย่างแน่นอน แม่ทัพที่ดีที่สุดคือแม่ทัพที่พิชิตเมืองนี้ และกองทัพที่ดีที่สุดคือกองทัพนี้เช่นกัน”

หลังจากการแจ้งข่าวดีนี้ โลกอิสลามต้องรอเกือบ 800 ปี กว่าจะเกิดขึ้นจริงในปี 1453 เมื่อสุลตานหนุ่มมูฮัมมัด อัลฟาติห์พร้อมไพร่พล 300,000 นาย บุกพิชิตเมืองหลวงอาณาจักรไบเซนไทน์ภาคตะวันออกนี้

ประวัติศาสตร์การต่อสู้ การเตรียมความพร้อม การปลูกความหวัง การทำสิ่งนอกความคาดหมาย การบากบั่นมุ่งมั่นใฝ่สัมฤทธิ์ เราสามารถเรียนรู้ผ่านละครอิงประวัติศาสตร์ตอนนี้

กำหนดวันที่ 1 ของเดือนซุ้ลฮิจยะห์ และวันอีฎิ้ลอัดฮา ฮ.ศ.1441

ตามที่ได้ประกาศให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศดูดวงจันทร์ เพื่อกำหนดวันที่ 1 ของเดือนซุ้ลฮิจยะห์ ฮ.ศ.1441 ในวันอังคาร ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2563 เวลาหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้านั้น ปรากฎว่าในวันและเวลาดังกล่าว มีผู้เห็นดวงจันทร์

จึงขอประกาศว่า วันที่ 1 ของเดือนซุ้ลฮิจยะห์ ฮ.ศ.1441 ตรงกับวันพุธ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2563 และวันอีฎิ้ลอัดฮา ฮ.ศ.1441 ตรงกับวันศุกร์ ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2563 จึงขอให้พี่น้องมุสลิมทั่วประเทศได้ปฏิบัติศาสนกิจในวันดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน

ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2563

อาลัยอายาโซเฟียหรืออาการหวาดกลัวอิสลามกันแน่

ศ.ดร.อะหมัด รัยซูนีย์ ประธานสหพันธ์อุลามาอิสลามนานาชาติ International Union for Muslim Scholar – IUMS


วินาทีที่มีการตัดสินใจคืนสถานภาพมัสยิดใหญ่ ที่รู้จักกันในนามมัสยิดอายาโซเฟียในเมืองอิสตันบูลของตุรกี สู่สถานภาพเดิมดังที่เคยเป็นมาก่อนปี ค.ศ. 1932 คลื่นแห่งความโกรธ การประท้วงและการผรุสวาสกล่าวร้าย ก็พลันปรากฏออกมาจากกลุ่มนิกายคริสต์บางส่วน ชาติตะวันตกบางส่วน แล้วก็ตามมาด้วยชาวอาหรับใจคดเหมือนเดิม

น่าแปลกใจที่ยูเนสโกซึ่งน่าจะเป็นกลางในประเด็นทางศาสนาและการเมือง กลับเข้าร่วมกระบวนกับพวกเขาด้วย

ขั้นตอนของศาลยุติธรรมตุรกีและประธานาธิบดีตุรกีคือการไม่แปลงโบสถ์เป็นมัสยิดอย่างที่บางคนกล่าว หรือจะเปลี่ยนโบสถ์เป็นพิพิธภัณฑ์หรือปิดโบสถ์

แต่เป็นการเปลี่ยนมัสยิดที่เสียหายให้กลายเป็นมัสยิดที่ใช้งานได้

อะไรเป็นอันตรายต่อคริสเตียนและคริสตจักรของพวกเขาในการเปลี่ยนอาคารอายาโซเฟียจากสถานที่ท่องเที่ยวไปยังสถานที่ซึ่งเป็นที่สักการะพระเจ้าและกล่าวถึงพระเจ้า

ชาวคริสต์ต้องการที่จะให้อายาโซเฟียเป็นที่ท่องเที่ยวมากกว่าที่จะเปิดให้เป็นสถานที่เคารพพระเจ้าผู้ทรงอำนาจและการอ่านอัลกุรอานหรือ

อัลกุรอานกล่าวถึงบทบาทของศาสนสถานต่างๆ ยกย่องภารกิจและสิทธิในการปกป้อง ตราบใดที่พวกเขานมัสการ และกล่าวถึงพระเจ้า

อัลลอฮ์ผู้ทรงอำนาจกล่าวว่า:
وَلَوْلَا دَفْعُ اللَّهِ النَّاسَ بَعْضَهُمْ بِبَعْضٍ لَهُدِّمَتْ صَوَامِعُ وَبِيَعٌ وَصَلَوَاتٌ وَمَسَاجِدُ يُذْكَرُ فِيهَا اسْمُ اللَّهِ كَثِيرًا وَلَيَنْصُرَنَّ اللَّهُ مَنْ يَنْصُرُهُ إِنَّ اللَّهَ لَقَوِيٌّ عَزِيزٌ} [الحج: 40].
สำหรับการเปลี่ยนอายาโซเฟีย (Hagia Sophia) จากโบสถ์เป็นมัสยิดนั้น เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมานานกว่าห้าศตวรรษครึ่ง และความจริงวันนี้ควรพุ่งเป้าความโกรธไปที่ตุรกีร่วมสมัยและประธานาธิบดีแอร์โดฆาน ไม่ใช่จักรวรรดิออตโตมันและสุลต่านมุฮัมมัด ผู้พิชิต

สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ไม่มีอะไรมากไปกว่าการเปิดมัสยิดอีกครั้งและกลับไปทำหน้าที่เดิม สิ่งนี้ไม่ได้เป็นเหตุให้ใครๆต้องโกรธเคืองหรือคัดค้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเรื่องภายในของตุรกีแต่เพียงผู้เดียว เหตุใดจึงต้องเป็นทำแบบผู้ปกครองสั่งผู้อยู่ใต้อาณัติ และความคิดบงการเหนือผู้อื่น

แต่ถ้าเราต้องการกลับไปที่ปัญหาของการเปลี่ยนโบสถ์คริสตจักรให้กลายเป็นมัสยิด สิ่งนี้จะนำเราไปสู่การวิจารณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ไม่สิ้นสุด หากเป็นเช่นนั้น เราก็ต้องเปิดประเด็นมัสยิดในแอนดาลุสเซีย ซีซิลี รัสเซียและยูโกสลาเวียด้วยเช่นกัน

และไม่ต้องย้อนกลับไปไกลมากฝรั่งเศสก็ปิดทำการปิด 50 มัสยิด ในรอบไม่กี่ปีล่วงมานี้ โดยไม่ต้องกล่าวถึงกรณีของอินเดีย จีนและพม่า

เราขอให้ผู้ประท้วงที่โกรธเคืองจากการเปลี่ยนพิพิธภัณฑ์เป็นมัสยิดอายาโซเฟีย ถ้าตุรกีเปลี่ยนจากพิพิธภัณฑ์เป็นโรงภาพยนตร์ โรงละครโอเปร่าหรือสนามสู้วัวกระทิง คุณจะโกรธไหม? หรือคุณจะเงียบ หรือคุณจะตบมือ?!

สำหรับผู้ที่ร้องไห้กับ “มรดกของมนุษยชาติ” “ที่มนุษยชาติจะถูกลิดรอน จะบอกว่า – และพวกเขารู้เรื่องนี้ – ว่าอาคารจะยังคงเป็นอย่างที่มันเป็น หรือจะดีกว่าที่มันเป็น

สำหรับการจัดแสดงทางศิลปะโบราณคดีและประวัติศาสตร์ สิ่งเหล่านั้นจะกลับไปยังสถานที่ที่เหมาะสม

ส่วนมรดกทางสถาปัตยกรรมนั้น ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในนามของมัสยิด และสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับโบสถ์ ก็จะได้รับการบำรุงรักษาที่สมบูรณ์

ไม่ต้องทำให้เข้าใจผิดดีกว่า พูดอย่างเปิดเผยเลยว่า : เราต่อต้านศาสนาอิสลาม ต่อต้านการละหมาด และต่อการอ่านอัลกุรอาน


แปลสรุปโดย Ghazali Benmad

อ้างจาก https://www.facebook.com/iumsonline/posts/3455862327780140

ราชกิจจานุเบกษาตุรกีประกาศ สถานะใหม่ของอายาโซเฟีย

ราชกิจจานุเบกษาตุรกีประกาศคำสั่งของประธานาธิบดีว่าด้วยสถานะใหม่ของอายาโซเฟีย

ด้วยศาลปกครองสูงสุดแห่งตุรกีได้มีมติยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีตุรกีเมื่อปี ค.ศ. 1934 ว่าด้วยการเปลี่ยนสถานะอายาโซเฟียจากมัสยิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ในนามรัฐบาลตุรกี ขอประกาศว่าบัดนี้ กิจการการดำเนินงานของอายาโซเฟียจะอยู่ภายใต้กำกับดูแลของกรมกิจการศาสนาในฐานะมัสยิดโดยบริบูรณ์

Recep Tayyip Erdogan
presiden Turki
10 – 07 – 2020


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

นับถอยหลังสู่อิสรภาพ

การรอคอยคือการทรมาน แต่บางครั้งคือความหวังของผู้ศรัทธา ถึงแม้จะเนิ่นนานสักปานใดก็ตาม

Sameeh Qa”adan (77 ปี) จากเมืองราฟะห์ กาซ่า นับปฏิทินถอยหลังรอคอยลูกชายชื่อ Abdul Rauf ซึ่งถูกทหารยิวจับตัวและตัดสินเข้าคุกนาน 17 ปี

123 คือจำนวนวันที่ยังหลงเหลือของลูกชายที่จะกลับสู่อิสรภาพอีกครั้ง ส่วนคุณแม่ของ Abdul Rauf ได้กลับสู่ความเมตตาของอัลลอฮ์โดยไม่มีโอกาสเห็นหน้าลูกรักอีกเลย หวังว่าครอบครัวนี้ จะอยู่กันพร้อมหน้าอย่างสุขสถาพรอีกครั้งในสวรรค์ฟิรเดาส์

เป็นภาพที่ไม่สามารถดูได้นอกจากที่ปาเลสไตน์ และไม่มีใครที่สามารถสร้างอธรรมที่ไร้มนุษยธรรมเช่นนี้ นอกจากยิวไซออนิสต์

เอื้อเฟื้อภาพ โดย شريف أبو شمالة ซึ่งนำเรื่องราวจาก Hani AL-shaer

ตุรกี คือ หนึ่งในชาติผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน

“ประเทศที่ไร้ซึ่งพลังงาน จะมาอ้างว่าเป็นประเทศที่มีอารยธรรมไม่ได้”

ประธานาธิบดีแอร์โดอาน แห่งประเทศตุรกี กล่าวปราศรัยผ่านการประชุมทางไกล (Video conference) ในโอกาสพิธีเปิดโรงไฟฟ้าระบบ hydroelectric แห่งใหม่ โดยท่านได้กล่าวว่า “ส่วนแบ่งที่ใหญ่ที่สุดของการลงทุนด้านพลังงานของเรา ปัจจุบันกำลังมุ่งสู่ภาคพลังงานทดแทน เรามองเห็นการใช้พลังงานทดแทนในทุกย่างก้าวของเรา และเราเป็นหนึ่งในชาติผู้นำด้านการใช้พลังงานทดแทน เรามีขีดความสามารถของการติดตั้งพลังงานทดแทนอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก และอันดับที่ 6 ของยุโรป”

ประธานาธิบดีแอร์โดอาน ยังได้กล่าวย้ำว่า สภาพแวดล้อมของความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่เกิดขึ้นจากการดิ้นรนต่อสู้และความเพียรพยายามที่ยิ่งใหญ่ ได้สะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนด้านพลังงานเชิงบวก ท่านชวนให้นึกถึงการขุดเจาะในทะเลที่ตุรกีใช้เรือขุดเจาะที่ชื่อ Fatih และ Yavuz

ท่านกล่าวว่า “เราได้ขัดขวางเกมและกับดักที่ตั้งกับประเทศของเรา โดยเฉพาะในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก หลังจากเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เราได้ดำเนินการสำรวจและขุดเจาะในทะเลดำ หากไม่มีการเรียกร้องสิทธิใด ๆ จากกฎหมายระหว่างประเทศ เราจะดำเนินงานของเราต่อไป”

“ประเทศที่ไร้ซึ่งพลังงาน จะมาอ้างว่าเป็นประเทศที่มีอารยธรรมไม่ได้” ประธานาธิบดีแอร์โดอานกล่าวย้ำทิ้งท้าย


สรุปโดย ทีมงานต่างประเทศ

แหล่งอ้างอิง
https://www.tccb.gov.tr/en/news/542/120576/-turkey-is-one-of-the-leading-countries-in-renewable-energy-

สกอท. ยกเลิกการใช้เครื่องหมายฮาลาล

ฝ่ายกิจการฮาลาล สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) ได้ประกาศยกเลิกการใช้เครื่องหมายฮาลาล บริษัทโกลเด้นไลน์ บิสซิเนสจำกัด จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามหนังสือ สกอท. 06.1176/2563 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2563 ความละเอียดดังนี้

เรื่อง ยกเลิกการใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลบริษัทโกลเด้นไลน์ บิสซิเนสจำกัด

เรียน กรรมการผู้จัดการบริษัทโกลเด้นไลน์ บิสซิเนสจำกัด

ตามที่ฝ่ายกิจการสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้รับรายงานการเชือดไก่ที่เชือดโดยใช้ไฟฟ้าในการ Stunning เกินค่าที่สามารถยอมรับได้ เป็นผลทำให้ไก่ที่ผ่านการ Stunning ตายก่อนการเชือดเหตุเกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 และโรงงานได้นำไก่ดังกล่าวเข้าในระบบการผลิต ไม่ได้แยกออก ทำให้ไก่ที่เชือดไม่ถูกต้อง (ฮารอม) เข้าไปในการผลิตปกติ

ในเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ฝ่ายกิจการฮาลาลได้ตั้งคณะทำงานดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงโดยเชิญผู้แทนจาก 3 ฝ่ายให้ข้อมูลประกอบด้วย

(1) ผู้ควบคุมเชือดสัตว์ 2 คน (นายอำนาจ มีทองคำและนายอนุวัฒน์ หวังเจริญ)
(2) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
(3) ผู้แทนบริษัทโกลเด้นไลน์ บิสซิเนสจำกัด

คณะทำงานได้สรุปผลการสอบสวนข้อเท็จจริงนำเสนอฝ่ายกิจการฮาลาล สกอท. และผลการประชุมพิจารณาเมื่อวันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 2563 มีมติให้ยกเลิกหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของบริษัทโกลเด้นไลน์ บิสซิเนสจำกัด และผู้ว่าจ้างผลิต (OEM) ทุกทะเบียนที่ให้การรับรองฮาลาลและให้บริษัทเก็บผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายรับรองฮาลาลบนผลิตภัณฑ์ออกจากท้องตลาดให้หมดภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในหนังสือฉบับนี้

จึงเรียนมาเพื่อทราบและดำเนินการตามมติฝ่ายกิจการฮาลาล สกอท.

ขอแสดงความนับถือ
นายสมาน อาดัม
รองเลขาธิการ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

รัฐบาลซาอุดิอาระเบียออกมาตรการเกณฑ์อนุญาตให้ประกอบพิธีฮัจญ์ในปีนี้อย่างจำกัด

อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี : ซาอุดิอาระเบียไม่เคยลดละความพยายามในการเอื้ออำนวยบรรยากาศแห่งศรัทธาและแรงบันดาลใจตามเจตนารมณ์อิสลาม

ริยาด 08 ซุลเกาะดะฮ์ 1441(29/6/2020)

สำนักข่าวซาอุดิอาระเบีย WAS ระบุอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีและประธานมูลนิธิมะดีนะตุสสลาม รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา ยืนยันว่า มาตรการของซาอุดิอาระเบียที่อนุญาตให้ผู้ถือสัญชาติต่างๆที่พำนักในซาอุดิอาระเบียสามารถประกอบพิธีฮัจญ์ตามจำนวนที่จำกัด ถือเป็นมติที่มีความรอบคอบ และสุขุมคัมภีรภาพที่สุดที่คำนึงถึงความปลอดภัยของอาคันตุกะของพระผู้แห่งความเมตตา

ทั้งนี้เนื่องจากการทำฮัจญ์มีเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งคือความสามารถในการเดินทาง ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์หลักของอิสลามที่คำนึงถึงความปลอดภัยของบรรดาผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ช่วงเวลาที่พวกเขาใช้ชีวิตในแผ่นดินหะรอม

อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนียังได้กล่าวว่า ซาอุดิอาระเบียไม่เคยลดละความพยายามที่จะเอื้ออำนวยบรรยากาศแห่งการศรัทธาและสันติสุข พร้อมร่วมขอพรให้ซาอุดิอาระเบียยืนหยัดบนหลักดุลยภาพแห่งอิสลามในการผดุงไว้ซึ่งสันติภาพสากลตลอดไป

รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ประกาศปิดการทำอุมเราะฮ์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และกระทรวงฮัจญ์ได้ประกาศกำหนดจำนวนผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ในปีนี้ตามจำนวนที่จำกัดเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่กำลังเป็นวิกฤตโลกในปัจจุบัน

อ้างอิงจาก
https://www.spa.gov.sa/viewfullstory.php?lang=ar&newsid=2103462#2103462

ตุรกีจัดอบรมครูสอนอัลกุรอาน 132 คน ที่ซีเรีย

อย่ามองแค่สงคราม แต่จงมองให้ไกลว่า ผลของสงคราม เกิดอะไรขึ้น

องค์กรความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมตุรกี (IHH) จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรครูสอนอัลกุอานจำนวน 132 คน ด้วยความร่วมมือจากผู้ว่าราชการจังหวัดชานลี โอร์ฟาแห่งตุรกี และการประสานงานจากสภาเทศบาลเมืองเราะสุลอัยน์ ซีเรีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำยูเฟรทีส

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ผลิตครูสอนอันกุรอาน เพื่อสอนเยาวชนซีเรียตามสถาบันการสอนอัลกุรอานที่เปิดในเมืองเราะสุลอัยน์ ซีเรีย

แหล่งข่าวระบุว่า โครงการนี้ นับเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นตามคำดำริของประธานาธิบดีตุรกี นายแอร์โดอาน โดยที่องค์กร IHH ตุรกี ได้เปิดสถาบันสอนอัลกุรอานนำร่องในเมืองนี้แล้วจำนวน 2 แห่ง ทั้งนี้สภาเทศบาลเมืองเราะสุลอัยน์ได้สนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างอาคารและองค์กร IHH ได้สนับสนุนค่าอุปกรณ์และการบริหารจัดการ

ก่อนหน้านี้เมืองเราะสุลอัยน์ ถูกปกครองโดยกลุ่มก่อการร้าย PKK/PYD ซึ่งได้ปิดสถานเรียนอัลกุรอานและสั่งปิดโรงเรียนสอนศาสนาอีกหลายแห่ง แต่หลังจากแผนปฏิบัติการ “ต้นน้ำสันติภาพ” ที่นำโดยกองกำลังตุรกี ซึ่งได้ขับไล่กลุ่มก่อการร้ายดังกล่าวเมื่อเดือนตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่แห่งนี้กลับสู่สันติภาพอีกครั้ง


อ้างอิงจาก https://tr.agency/news-102865


สรุปโดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ลิเบีย : จากสงครามกลางเมืองถึงสงครามตัวแทน

การลุกฮือของประชาชนในลิเบียจากปรากฏการณ์อาหรับสปริงที่ตามมาด้วยการแทรกแซงทางทหารของกองกำลังนาโต้ ได้ทำให้ระบอบกัดดาฟีที่ดำรงอยู่มายาวนานกว่า 4 ทศวรรษต้องจบสิ้นลง

แต่ผลที่ตามมาประการหนึ่งหลังจากนั้นคือการถือกำเนิดเกิดขึ้นมากมายของกลุ่มติดอาวุธที่มีอุดมการณ์เป้าหมายแตกต่างหลากหลาย ส่วนใหญ่สังกัดกลุ่มชนเผ่าและวงศ์ตระกูลต่างๆ

นับรวม ๆ กันแล้วกลุ่มติดอาวุธเหล่านี้มีจำนวนมากถึง 100 ถึง 300 กลุ่ม โดยมีสมาชิกที่เข้าร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ มากถึง 125,000 คน

ยิ่งเวลาผ่านไป จำนวนกลุ่มติดอาวุธก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลปี 2014 ปรากฏว่ามีกลุ่มติดอาวุธในลิเบียอยู่ไม่ต่ำกว่า 1,600 กลุ่ม ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่ ทั้งที่เป็นกลุ่มนิยมแนวทางศาสนาและเป็นกลุ่มที่ไม่นิยมแนวทางศาสนา

แต่กลุ่มติดอาวุธสำคัญ ๆ นั้นเคลื่อนไหวอยู่ในจังหวัดซินตาน มิสราต้า เบงกาซี และตริโปลี

นับตั้งแต่ปี 2012 กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ (ที่บางครั้งก็ผนวกรวมหลายกลุ่มเข้าเป็นพันธมิตรกัน) ได้เข้าไปมีบทบาททางการเมืองโดยการสังกัดอยู่กับพรรคการเมืองสำคัญฝ่ายต่าง ๆ การเข้าร่วมสังกัดพรรคการเมืองส่วนใหญ่จะใช้ความสัมพันธ์ทางสายตระกูล ชนเผ่า ความรู้สึกภูมิภาคนิยม อุดมการณ์ศาสนา และอุดมการณ์การเมืองเป็นเครื่องมือยึดโยงระหว่างกัน

ถึงอย่างนั้นกลุ่มติดอาวุธส่วนใหญ่หลังยุคกัดดาฟีก็ได้หลอมรวมเป็นพันธมิตรที่เข้าไปสังกัดกองทัพลิเบีย 2 หน่วยงานคือ กองกำลังป้องกันลิเบีย (Libya Shield Force) และกรรมาธิการความมั่นคงสูงสุด (Supreme Security Committee)

ทั้ง 2 หน่วยงานนี้ถูกสถาปนาขึ้นเป็นหน่วยงานความมั่นคงในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยที่หน่วยงานแรกสังกัดอยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหม ขณะที่หน่วยงานหลังอยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย

แม้จะสังกัดกระทรวง แต่กองกำลังติดอาวุธกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ก็มีอำนาจที่เป็นอิสระและเคลื่อนไหวตามเป้าหมายของตนเองเป็นหลัก บางกลุ่มมีเป้าหมายทางอุดมการณ์ บางกลุ่มเคลื่อนไหวให้ตนเองมีอำนาจทางการเมือง บางกลุ่มมีเป้าหมายระดับท้องถิ่น และบางกลุ่มก็มีเป้าหมายก่ออาชญากรรม

ด้วยเหตุนี้ ในช่วงที่กองทัพลิเบียอ่อนแอไร้เอกภาพจึงทำให้กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้มีอำนาจมากขึ้น อันเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้สถานการณ์ความรุนแรงในลิเบียเลวร้ายลง

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้กลุ่มติดอาวุธแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนสภาแห่งชาติลิเบีย (General National Congress: GNC) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองตริโปลี โดยที่สมาชิกส่วนใหญ่ของสภานี้นิยมแนวทางอิสลาม (ตอนหลังพัฒนาไปเป็นรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก)

ขณะที่อีกฝ่ายสนับสนุนสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในเมืองตับลู๊ก (Tobluk) โดยสมาชิกส่วนใหญ่ของสภานี้นิยมแนวทางเซคิวล่าร์ (พัฒนาไปเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในภายหลัง)

สถานการณ์ความรุนแรงยิ่งเลวร้ายลงเมื่อแต่ละฝ่ายพยายามขอความช่วยเหลือจากตัวแสดงที่เป็นรัฐและไม่ใช่รัฐอื่น ๆ ทั้งที่เป็นตัวแสดงในภูมิภาคตะวันออกกลางและนอกภูมิภาค เกิดเป็นสงครามตัวแทนในลิเบียที่ยากจะแก้ไขได้

ส่วนใครเป็นใครในสงครามตัวแทนนี้ ค่อยมาอธิบายขยายความกันอีกทีครับ

เครดิตภาพจาก https://www.aljazeera.com/news/2020/01/eyes-berlin-world-powers-set-libya-talks-200118052038464.html

เขียนโดย Srawut Aree