บทความ ประวัติศาสตร์

อันดาลูเซีย อัญมณีที่สาปสูญ ตอนที่ 1

อิสลามได้เผยแพร่ในดินแดนอันดาลูเซีย(สเปนปัจจุบัน) ตั้งแต่ปีฮ.ศ.93-897 (ค.ศ.688-1492) ตลอดระยะกว่า 8 ศตวรรษ ชาวมุสลิมได้สร้างอารยธรรมที่เจริญสุดขีดทั้งด้าน สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาเมืองและอื่นๆ ในขณะที่ยุโรปยุคนั้น กำลังจมปลักในความเสื่อมโทรมและเสื่อมทรามทางศาสนา วัฒนธรรมและสังคม จนกระทั่งนักปรัชญาสตรีชาวอิตาลี เพทราค (ค.ศ.1330) ได้ประดิษฐ์วาทกรรมสะท้อนสังคมยุคนี้ว่าเป็น ยุคมืด ( Dark Ages)

อันดาลูเซียภายใต้การปกครองของมุสลิม ได้กลายเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ที่ผู้คนจากทั่วสารทิศหลั่งไหลเข้ามาตักตวงศาสตร์ในทุกแขนงวิชา ทั้งอิสลามศึกษา ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ การแพทย์ สถาปัตยกรรมและอื่นๆ ชาวยุโรปจึงนิยมส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนจากบรรดาคณาจารย์ชาวอาหรับ จนกระทั่งการพูดสนทนาภาษาอาหรับในยุคนั้นกลายเป็นสัญลักษณ์ของคนศิวิไลส์ทีเดียว

แต่แล้วอันดาลูเซียก็ประสบกับสัจธรรมแห่งวงล้อชีวิต ที่ทุกอย่างเมื่อถึงจุดสูงสุดแล้ว ย่อมเสื่อมถอยและร่วงโรยเป็นธรรมดา

มุสลิมเสียเมืองกรานาดา ฐานที่มั่นสุดท้ายเมื่อ มุฮัมมัดหรือโบอับดิล (Boabdil) ยอมจำนนต่อกองทัพคริสเตียนแห่งคารธิล ซึ่งนำโดยกษัตริย์เฟอร์ดินานด์และพระราชินีอิซาเบลล่า โดยได้มีการลงนามในสัญญาที่บรรจุเนื้อหา 67 ข้อ ซึ่งเป็นสัญญายอมจำนนที่ยาวที่สุดในโลก พร้อมทั้งมอบกุญแจเมืองแก่กษัตริย์เฟอร์ดินานในวันที่ 2 มกราคม 1492 ซึ่งถือเป็นการปิดฉากของการปกครองของมุสลิมในแผ่นดินอันดาลูเซียที่ยาวนานถึง 804 ปี

การล่มสลายของประชาชาติถือเป็นสิ่งปกติในประวัติศาสตร์ แต่การสูญสิ้นอารยธรรมที่สะสมกันอย่างต่อเนื่องกว่า 800 ปี เสมือนไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่เคยคาดคิดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

มันคือการทำลายล้างทางอารยธรรมอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์แบบที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

เพียงแต่ในความสมบูรณ์แบบนี้ อุดมด้วยความอำมหิตและโหดร้ายสยดสยองชวนขนลุกทีเดียว

แต่แล้วอันดาลูเซียก็ประสบกับสัจธรรมแห่งวงล้อชีวิต ที่ทุกอย่างเมื่อถึงจุดสูงสุดแล้ว ย่อมเสื่อมถอยและร่วงโรยเป็นธรรมดา

  • อารยธรรมอิสลามที่เคยเจริญสุดขีดได้พบจุดจบอย่างเบ็ดเสร็จได้อย่างไร อะไรคือคือสาเหตุหลักของการล่มสลายในครั้งนี้
  • ทำไมอันดาลูเซียหรือสเปนในปัจจุบันจึงไม่มีร่องรอยของอารยธรรมอิสลามแม้แต่น้อย ทั้งๆที่ ณ ดินแดนแห่งนี้อาทิตย์อุทัยแห่งอิสลามเคยเจิสจรัสทอแสงนานกว่า 800 ปี
  • ประวัติศาสตร์มีไว้เพื่อเป็นบทเรียน ไม่ใช่สร้างโอกาสความภาคภูมิใจที่ไม่มีตัวตนหรือเป็นเวทีแสดงบทเศร้าที่ไม่รู้จักจบ

พบคำตอบได้ในตอนต่อไปครับ
เชิญติดตาม

ตอนที่ 2 > https://www.theustaz.com/?p=395

เขียนโดย ผศ.มัสลัน มาหะมะ