1 ปี กับการจากไปของมุรซีย์ผู้นำอียิปต์

อดีต 3 เผด็จการอียิปต์ นัสเซอร์ ซาดัต มุบาร๊อก ที่เคยยิ่งใหญ่จนวันตาย แต่วันนี้ไร้คนคิดถึง และสรรพเสียงเสียใจกับการจากไป

ในขณะที่มุรซีย์ ผู้นำอียิปต์ที่ตายคาคุกเผด็จการซีซี และมุบมิบปิดบังแอบฝังศพอย่างไร้พิธี ผิดธรรมเนียมปฏิบัติต่ออดีตผู้นำประเทศ

ที่วันนี้ (17 มิถุนายน 2563) คนล้นหลามหลายล้านคนจากทั่วโลก พากันแสดงความเสียใจ แซ่ซ้องคุณงามความดีและขอดุอาอ์ให้
37 ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับมุรซี

1) ดร.มุฮัมมัด มุรซี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรม เอกการดูแลรักษาเครื่องยนต์ยานอวกาศ มหาวิทยาลัยเซาต์แคลิฟอร์เนีย อเมริกา เป็นนักวิจัยคนสำคัญของมหาวิทยาลัยที่นีล อารมสตรอง มนุษย์คนแรกที่ขึ้นดวงจันทร์สำเร็จการศึกษา

2) รอยเตอร์วิเคราะห์ “ปีเดียวที่ปกครองทำให้มุรซีเข้าในอนุสรณ์ประวัติศาสตร์”

3) เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีอียิปต์ครั้งแรกในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่อยู่ในการควบคุมของทหาร นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 1952

4) ท่องจำคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่ม ที่หมู่บ้านอุดวะฮ์บ้านเกิด ในจังหวัดชัรกียะฮ์ และจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรม มหาวิทยาลัย ด้วยคะแนนเกียรตินิยม ทำให้ได้บรรจุเป็นอาจารย์โดยอัตโนมัติ

5) ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2012 และถูกปฏิวัติในปี 2013 หลังจากมีการจัดตั้งและปลุกระดมมวลชนให้ออกมาประท้วงต่อต้าน จนมาเสียชีวิตในปี 2019 ขณะขึ้นศาลพิจารณาในความผิดข้อหาจารกรรมข้อมูลให้กับกาตาร์และฮามาส แต่ที่ประหลาดคือ คำพูดสุดท้ายในศาลของมุรซี ก่อนเสียชีวิตคือ

بلادي وإن جارت علي عزيزة وأهلي وإن ضنوا علي كرام
“โอ้ว่าประเทศที่ฉันรัก
แม้เธอจะกดขี่ต่อฉันสักเพียงไหน
เธอก็ยังสูงเกียรติและยิ่งใหญ่
ในสายตาคนอย่างฉัน

โอ้พี่น้องที่ฉันรัก
แม้พวกท่านจะทำร้ายฉันหนักเพียงไหน
พวกท่านก็ยังสูงเกียรติและยิ่งใหญ่
ในสายตาคนอย่างฉัน”

ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่จะกล่าวบทกวีนี้ มุรซีแจ้งต่อศาลว่า มีข้อมูลลับที่ทำให้ตนเองพ้นผิดได้ แต่จะไม่พูดที่นี่เพราะจะกระทบกับความมั่นคง ขอให้จัดวาระพิเศษเพื่อชี้แจง

6) วันเสียชีวิตของมุรซี ตรงกับวันเสียชีวิตของท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ทั้งสองท่านมีจุดเด่นเหมือนกันที่พยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือด

สำนักข่าว แอสโซเสตเพรส กล่าวว่า นายทหารอียิปต์บอกว่า มุรซีสั่งไม่ให้ทหารใช้กำลังในการแก้ปัญหาที่ซีนาย

7) ในขณะที่อียิปต์สั่งห้ามละหมาดศพ และร่วมพิธีฝังศพในอียิปต์ ในขณะที่ประเทศต่างๆ นับสิบๆ ประเทศทั่วโลก ทั้งมัสยิดอักซอ อินเดีย ปากีสถาน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อเมริกา อังกฤษ แคนาดา เยอรมัน และประเทศอาหรับส่วนใหญ่

รัฐบาลอียิปต์ต้องการให้ข่าวการเสียชีวิตของมุรซีเป็นข่าวเล็กๆ ผ่านแล้วผ่านเลย สื่อมวลชนอียิปต์ทั้งของรัฐและเอกชนเสนอเป็นข่าวย่อยในมุมเล็กๆ ของสื่อสิ่งพิมพ์ แต่กลับได้รับความสนใจอย่างสูงจากสังคมโลก

9) ขณะเริ่มพิจารณาคดีในชั้นศาล หลังถูกปฏิวัติ มุรซีไม่ยอมรับการดำเนินคดี พร้อมกล่าวท้าทายศาลว่า “ผมคือ ดร.มุฮัมมัด มุรซี ประธานาธิบดีอียิปต์ แต่มีการก่อกบฏโดยคณะทหาร แกนนำกบฏควรถูกนำมาขึ้นศาลที่นี่มากกว่า” ทำให้หลังจากนั้น มีการจัดทำตู้กระจกทีบเก็บเสียงไม่ให้มุรซีพูดกับผู้ใดได้อีก

10) มุรซีที่ถูกกล่าวว่าเป็นกลุ่มอิควาน แต่ความจริงได้เสนอตำแหน่งรองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีให้แก่กลุ่มต่างๆ ทั้งกลุ่มฝ่ายซ้าย กลุ่มผู้ประท้วง กลุ่มเสรีนิยม กลุ่มประชาสังคม กลุ่มนักเคลื่อนไหวการเมือง แม้ว่าคนเหล่านั้นไม่ยอมรับก็ตาม

11) ในยุคมุรซีมีการผลิตข้าวสาลีในปริมาณสูงขึ้น ด้วยการส่งเสริมเกษตรกร

12) มีการลดการนำเข้า เพิ่มสินค้าส่งออก และจำนวนนักท่องเที่ยวก็เพิ่มมากขึ้น

13) มีการปลดหนี้เกษตรกร และเพิ่มค่าจ้าง

14) ในเวลาไม่กี่เดือน สามารถแก้ปัญหาระบบจัดสรรการปันส่วนอาหารที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ อันเป็นปัฐหาเรื้อรังมาตั้งแต่ยุคซาดัตตลอดถึงยุคมุบาร๊อก อันเคยทำให้เกิดการประท้วงมาแล้วในอดีต

15) มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 170 พันล้านปอนด์อียิปต์ เป็นมูลค่ามากกว่า 180 พันล้าน น้ำมันส่งออกเพิ่มขึ้น 21 % จีดีพีเพิ่มขึ้นจาก 1.8 เป็น 2.4

16) สื่อได้รับเสรีภาพอย่างไม่เคยมีมาก่อน ก่อนจะถูกยกเลิกไปหลังรัฐประหาร มีการลงเลิกโทษกักขังชั่วคราวในความผิดหมิ่นประมาทประธานาธิบดี และปล่อยตัวผู้สื่อข่าวที่ถูกกักขังในวันที่แก้ไขกฎหมายดังกล่าวทันที

17) แต่งตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของมุบาร๊อกในการสังหารผู้ชุมนุมต่อต้าน และผลสอบสวนมีมติว่ามีความผิด แต่ถูกศาลพิพากษาให้พ้นผิดในยุคซีซี

18) ออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้เข้าร่วมการประท้วง ในปี 2011-2012 ยกเว้นคดีฆ่าคนตาย

19) ปี 2012 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เป็นฉบับแรกของอียิปต์

20) ในยุคมุรซี ชาวอียิปต์ได้เห็นขบวนรถประธานาธิบดีจำนวน 2 คัน พร้อมมอเตอร์ไซต์ 2 คัน

21) เป็นประธานาธิบดีโลกอาหรับคนแรกที่อาศัยอยู่ในบ้านเช่าตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง และปฏิเสธที่จะเข้าพักในทำเนียบประธานาธิบดี

22) ทำตัวปกติเหมือนประชาชนทั่วไป น้องชายยังคงเป็นเกษตรกรทำนา พี่สาวเสียชีวิตในโรงพยาบาลเล็กๆ ของรัฐ ลูกชายไปทำงานหาเงินยังต่างประเทศ

23) ประเทศแรกที่มุรซีไปเยี่ยมหลังรับตำแหน่ง คือซาอุดิอาระเบียเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีผลกระทบจากอาหรับสปริงส์ แต่ซาอุดีอาระเบียก็ยังคงเป็นผู้สนับสนุนงบหลักแก่ฝ่ายปฏิวัติ

24) มุรซีสนับสนุนอาหรับสปริงส์ทุกประเทศ และออกกฎหมายให้ดูแลชาวซีเรียอพยพเช่นเดียวกับชาวอียิปต์ทั้งในด้านการศึกษา การรักษาพยาบาลและอื่นๆ

25) ฉนวนกาซ่าไม่เคยได้ใช้ชีวิตอย่างดีเท่ากับยุคมุรซี และเปิดด่านให้ชาวปาเลสไตน์และสินค้าเข้าออกผ่านชายแดนได้

26) ในปี 2012 มุรซีชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี ด้วยคะแนน 51.7 ในประเทศที่ประธานาธิบดีชนะเลือกตั้งด้วยคะแนน 99.99 %

27) สาบานตนดำรงประธานาธิบดีที่จตุรัสตะห์รีร ซึ่งเป็นสถานที่ประท้วงหลักในยุคโค่นมุบาร๊อก

28) มุรซีไม่ได้ต้องการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ต้องลงตามมติของกลุ่มอิควาน

29) มุรซีเคยเป็น สส. ในปี 2000 และเป็นหัวหน้าคณะ สส. ของพรรค

30) มุรซีเคยถูกจับกุมมาก่อนหน้านี้หลายๆครั้ง ในปี 2006 ถูกจำคุก 7 เดือน ในความผิดประท้วงสนับสนุนความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ตลอดจนถูกจำคุกในปี 2011

31) เป็นหัวหน้าพรรคคนแรกของพรรคที่เป็นตัวแทนกลุ่มอิควานในอียิปต์

32) ร่วมตั้งกลุ่มกิฟายะฮ์ ต่อต้านการต่อวาระของมุบาร๊อก ในปี 2004 และตั้งกลุ่มอียิปต์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ร่วมกับ ดร.มุฮัมมัด อัลบาราได ในปี 2010

33) เป็นโฆษกกลุ่มอิควานมุสลิมีน และคณะกรรมการนโยบาย – มักตับอิรชาด – ในปี 2010

34) เคยเป็นอาจารย์สอนในอเมริกาหลายๆ มหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเซาต์แคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียนอร์จริจ ลอสแอนเจลิส และมหาวิทยาลัยฟาติห์ในลิเบีย

35) เริ่มเป็นสมาชิกกลุ่มอิควานมุสลิมีน ในปี 1977

36) กลับมาอียิปต์ในปี 1985 สอนและเป็นหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรม ที่มหาวิทยาลัยซากอซีก อียิปต์ จนกระทั่ง ปี 2010

37) เกณฑ์ทหารในปี 1975- 1976

เครดิต
เว็บไซต์อัลจาซีร่า

หมายเหตุ
ดูคลิปเกี่ยวกับมุรซีย์ใน

เขียนโดย Ghazal Benmad

แชมป์ MMA รับอิสลาม

Wilhelm Ott (37ปี) นักมวยดีกรีแชมป์ยุโรป MMA ชาวเยอรมัน เชื้อสายออสเตรีย ประกาศรับอิสลามหลังจากใช้เวลาช่วงกักตัวในบ้านศึกษาอิสลามจนในที่สุดพบกับทางนำที่แท้จริง

เหตุการณ์นี้ทำให้เราคิดได้ว่า ท่ามกลางความเลวร้าย ก็มีความดีงามเสมอ ในอัลกุรอานซูเราะฮ์อันนูร/11 กล่าวความว่า “ท่านอย่าคิดว่ามันเป็นความเลวร้ายสำหรับพวกท่าน แต่มันเป็นความดีงามให้แก่พวกท่านต่างหาก”

โควิด 19 คือมหันตภัยร้ายแรงของมนุษย์ในรอบ 100 ปี แต่มันคือโอกาสทองของ Wilhelm Ott ที่กลับสู่เส้นทางอันดั้งเดิมของตนเอง

الحمد لله الذي أنقذه من النار
ขอบคุณอัลลอฮ์ที่ทำให้เขารอดพ้นจากไฟนรก


ดูข่าวเพิ่มเติม https://www.moroccoworldnews.com/2020/04/300023/austrian-mma-fighter-wilhelm-ott-converts-to-islam/

วิเคราะห์ผลการเจรจาระหว่างปูตินกับแอร์โดฆาน ที่กรุงมอสโก

#เกาะติดอิดลิบ

อ่านเกมส์หมากรุกระดับโลก เกรวูฟกับพญาหมีขาว ใครได้ใครเสีย

บทความโดย ฮัมซะฮ์ เทเกน นักข่าวตุรกี
วิเคราะห์ผลการเจรจาระหว่างปูตินกับแอร์โดฆาน ที่กรุงมอสโก เมื่อ 5 มีนาคม 2563

******

การประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีตุรกี รอญับ ตอยยิบ แอร์โดฆาน กับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน เกี่ยวกับอิดลิบของซีเรีย ทั้งสองฝ่ายจัดทำเอกสารข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากการเจรจาประมาณ 6 ชั่วโมง

แน่นอนว่าการเจรจากัน 6 ชั่วโมงระหว่างทั้งสองฝ่าย หมายความว่า มีหลายประเด็นที่พวกเขาขัดแย้งกัน แต่มีจุดร่วมที่แข็งแกร่ง คือ ตุรกีไม่ต้องการปะทะกับรัสเซีย และรัสเซียก็ไม่ต้องการปะทะกับตุรกี

6 ชั่วโมงของการเจรจา ไม่ใช่เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายออกมาพร้อมกับการตัดสินใจให้มีการลาดตระเวนร่วมกันบนถนน M4 เท่านั้น

อาจกล่าวได้ว่า เป้าหมายร่วมกันก่อนการประชุมคือ ทั้งสองฝ่ายจะรักษาผลประโยชน์ร่วมกันมากมายของพวกเขา ปกป้องจากอันตรายใด ๆ อันเนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้น และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอิดลิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ในปัจจุบันที่ยิ่งรุนแรงมากขึ้นหากนำไปสู่การปะทะกัน ภูมิภาคจะเผชิญกับภัยพิบัติที่รุนแรงกว่าปัจจุบัน เพราะตุรกีและรัสเซียต่างเป็นประเทศใหญ่

แอร์โดฆานและปูตินหลบเลี่ยงจากความตึงเครียดในอิดลิบได้สำเร็จ ซึ่งหมายความว่าความตึงเครียดนี้ ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงใดจะไม่เป็นอันตรายต่อความสัมพันธ์ของมอสโกและอังการา ตุรกีไม่ต้องการสูญเสียความสัมพันธ์กับรัสเซีย

สิ่งที่เกิดขึ้นในในมอสโกวันนี้ ยืนยันถึงสถานะที่แข็งแกร่งของตุรกีในภาคสนาม บนโต๊ะเจรจาและในอากาศ หากไม่ใช่เพราะการแทรกแซงทางทหารของตุรกีในอิดลิบ แน่นอนระบอบอะซัดย่อมสามารถยึดได้จังหวัดอิดลิบสำเร็จไปแล้ว

วันนี้ ปูตินยอมรับความแข็งแกร่งของกองทัพตุรกี
รวมถึงความชอบธรรมของกองทัพตุรกีที่อยู่ในอิดลิบ

สิ่งที่เกิดขึ้นในมอสโกในวันนี้ ยืนยันสถานะที่แข็งแกร่งของตุรกีในด้านการเมืองเช่นเดียวกัน ดังที่แสดงให้โลกเห็นว่า ตุรกีสามารถเผชิญหน้าทางทหารและทางการทูตได้โดยลำพัง ไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากฝ่ายใดๆ ท่ามกลางความเป็นปรปักษ์อย่างรุนแรงและไร้ยางอายของรัฐบาลอาหรับบางประเทศ ที่ได้ประกาศสนับสนุนอย่างเป็นทางการต่อระบอบอะซัดในการทำสงครามกับพลเรือนในอิดลิบ

ดังนั้น นโยบายทางทหารและทางการทูตของตุรกีจึงขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาส่วนตน ท่ามกลางการลอบกัดของเดรัจฉานในภูมิภาคที่อ้างว่าเป็นอาหรับและอิสลาม ตลอดจนการฉวยโอกาสของตะวันตกบางประเทศ

แต่ตุรกีไม่ได้โง่ที่จะเข้าสู่สงครามที่ทำให้เกิดความสูญเสีย

ตุรกีฉลาดพอที่ตระหนักว่า เมื่อใดควรที่จะใช้ปืนใหญ่ และเมื่อใดควรจะหยุดมัน เมื่อใดที่จะจัดการเจรจาทางการเมืองและเมื่อใดควรจะหยุด

วันนี้ ตุรกีประสบความสำเร็จที่มอสโก โดยได้รับการยอมรับจากรัสเซียอย่างเปิดเผยและเป็นทางการว่า กองทัพตุรกีมีสิทธิที่จะตอบโต้การโจมตีใดๆ ในอิดลิบ

ซึ่งการยอมรับนี้ไม่ได้มีอยู่ก่อนการประชุมสุดยอดระหว่างทั้งสอง ซึ่งหมายความว่า รัสเซียถอนไพ่ใบสำคัญออกจากมือของระบอบอะซัด ทำให้ตุรกีถือไพ่เหนือกว่าและมีความชอบธรรมมากกว่า

ในการเจรจาที่มอสโก ตุรกียืนยันนโยบายการกลับคืนถิ่นของผู้ลี้ภัย และนี่คือเงื่อนปมที่ซ่อนอยู่ ..

คนเหล่านี้จะกลับไปยังบ้านเมืองของพวกเขาอย่างไร ในขณะที่ระบอบอะซัดยังคงอยู่

ดังนั้น นี่เป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงการยอมรับของรัสเซียต่อความต้องการของตุรกีว่า ระบอบอะซัดต้องถอนตัวออกจากเมืองเหล่านี้เพื่อให้ประชาชนกลับคืนถิ่นฐานของตน

ในมอสโกวันนี้ ประเทศตุรกีได้บีบรัสเซียให้ยอมรับจุดสังเกตการณ์ของตุรกีในอิดลิบและจะไม่ถอนออก ดังนั้นจึงเป็นการบ่งชี้ว่าตุรกียืนยันว่าเป้าหมายคือเขตข้อตกลงโซซี และไม่ใช่ข้อตกลงใหม่บนพรมแดนใหม่

ในบรรดาประเด็นหลักที่กล่าวถึงในการเจรจาที่มอสโก
คือประเด็นระบอบอะซัดถอนตัวออกจากพื้นที่ที่เข้ามาในอิดลิบ ประเด็นนี้ไม่ได้มีการพูดถึงต่อสาธารณชน ไม่ได้พูดถึงต่อหน้าสื่อมวลชน

อย่างไรก็ตาม ประเด็นก่อนหน้านี้ทำให้ตุรกีมีสิทธิ์ที่จะเคลื่อนไหวทางทหารร่วมกับกองทัพแห่งชาติซีเรียเมื่อการฝ่าฝืนการหยุดยิงโดยระบอบอะซัด ซึ่งระบอบอะซัดจะซื่อสัตย์ต่อสัญญาและข้อตกลงต่างๆ เมื่อใด ? นั่นคือปฏิบัติการสปริงชิลด์ “Spring Shield” จะถูกใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ระบุไว้ต่อไป

ในมอสโกวันนี้ ตุรกีรักษาผลประโยชน์ของรัสเซียไว้ รัสเซียรักษาผลประโยชน์ของตุรกีไว้ และตุรกีใช้ประโยชน์จากรัสเซียตามที่ต้องการ นั่นคือ สิทธิในการปฏิบัติการทางทหารต่อระบอบอะซัดในอิดลิบโดยที่รัสเซียไม่สนับสนุน

ในมอสโก แอร์โดฆานรักษาหน้าของปูตินไว้ต่อหน้าสังคมโลกและปูตินรักษาหน้าของแอร์โดฆานไว้ต่อหน้าสังคมโลก

ดังนั้นทั้งสองจึงชนะ และระบอบอะซัดเป็นฝ่ายแพ้

ระบอบอะซัดแพ้อย่างไร

ใครก็ตามที่ขายระบอบอะซัดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และปล่อยให้ขึ้นอยู่กับความเมตตาสงสารของปืนของตุรกีและกองทัพแห่งชาติซีเรีย ก็จะขายอีกในหนึ่งสัปดาห์ สองสัปดาห์และ 3 สัปดาห์ข้างหน้า ไปจนที่สุด และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงสปริงชิลด์ “Spring Shield”

หากรัสเซียมีความจริงใจในการปกป้องระบอบอะซัดในอิดลิบแน่นอนย่อมจะไม่ยอมให้ตุรกีโจมตี ที่ทำให้ระบอบอะซัดต้องพบกับความสูญเสียทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ในเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ภายใต้การยาตราของปฏิบัติการ “Spring Shield”

ในมอสโกวันนี้ รัสเซียบอกตุรกี คุณได้สิ่งที่คุณต้องการในอิดลิบ แต่หลังจากการพักรบชั่วคราว โดยที่เราทั้งคู่ จะยังคงรักษาผลประโยชน์ร่วมกันไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอิดลิบ ไม่ว่าคุณจะรุนแรงกับระบอบอะซัดแค่ไหนก็ตาม

ด้วยการนี้ แอร์โดฆานกับชาวตุรกีและชาวซีเรียล้วนได้ประโยชน์ ปูตินและรัสเซียก็ได้ประโยชน์ ส่วนระบอบอะซัดเป็นฝ่ายสูญเสีย

การเริ่มต้นปฏิบัติการของตุรกีในอิดลิบครั้งใหม่จะมีความชอบธรรมโดยการยอมรับของรัสเซียตามข้อตกลงในวันนี้ และทำให้ตุรกีมีความก้าวหน้าที่สำคัญในปฏิบัติการ“ Shield of Spring” ที่ Erdogan ไม่ได้ประกาศยุติ (การพักรบนั้นแตกต่างจากการสิ้นสุดปฏิบัติการทางทหาร)

อ่านบทความต้นฉบับ
https://aramme.com/…/أردوغان-وبوتين-انتصرا-في-موسكو-والنظام…

เขียนโดย Ghazali Benmad

ชาวอิดลิบภายใต้เปลวเพลิง

อัลจาซีร่าห์ระบุชาวอิดลิบจำนวน 1.7 ล้านคนหนีตายไปยังชายแดนตุรกี หลังจากรัฐบาลบัชชาร์ที่ได้รับการสนับสนุนทางอาวุธอย่างเต็มที่จากรัสเซียและกำลังพลจากอิหร่าน ได้โจมตีเมืองอิดลิบตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว โดยอ้างว่า ปราบปรามกลุ่มก่อการร้าย

ล่าสุดรัฐบาลตุรกีได้ขีดเส้นตายให้บัชชาร์ถอยกำลังออกจากพื้นที่ในข้อตกลงภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่า หากไม่ได้รับการตอบสนองจากขัอตกลง อาจเกิดการเผชิญหน้าครั้งใหญ่ระหว่างตุรกีฝ่ายหนึ่งกับรัสเซียและอิหร่านอีกฝ่ายหนึ่ง

เป็นที่น่าสังเกตว่า ขาวอิดลิบเกือบ 2 ล้านต้องอพยพหนีตายไปยังชายแดนตุรกี แทนที่จะได้รับการปกป้องจากรัฐบาลของตนเอง เพราะในความเป็นจริงรัฐบาลบัชชาร์อยู่ภายใต้การบริหารโดยรัฐบาลมอสโกและเตหะรานอย่างเบ็ดเสร็จแล้ว

อ่านเพิ่มเติม https://www.aljazeera.net/news/politics/2020/2/17/%D8%AA%D8%B7%D9%88%D8%B1%D8%A7%D8%AA-%D8%B3%D9%88%D8%B1%D9%8A%D8%A7-%D8%BA%D8%A7%D8%B1%D8%A7%D8%AA-%D8%AD%D9%84%D8%A8-%D9%85%D8%B9%D8%A7%D8%B1%D9%83-%D8%A5%D8%AF%D9%84%D8%A8-%D9%85%D8%A8%D8%A7%D8%AD%D8%AB%D8%A7%D8%AA-%D8%B1%D9%88%D8%B3%D9%8A%D8%A7-%D8%AA%D8%B1%D9%83%D9%8A%D8%A7

สำนักฟัตวาอิยิปต์ สั่งห้ามชาวอิยิปต์ ชมหนังซีรีย์อิงประวัติศาสตร์ของตุรกี

ดารุลอิฟตาอฺแห่งอิยิปต์ หรือสำนักให้คำวินิจฉัยทางศาสนาแห่งอียิปต์ได้ออกคำฟัตวา(ศาสนวินิจฉัย) สั่งห้ามชาวอียิปต์ติดตามหนังซีรีย์อิงประวัติศาตร์ของตุรกี 2 เรื่องได้แก่ โอทูรูล คืนชีพคืนแผ่นดิน และ หุบเขาเกรย์วูลฟ์ (Kurtlar Vadisi) โดยให้เหตุผลว่า ประธานาธิบดีแอร์โดอานต้องการปลูกฝังให้ผู้ชมคลั่งไคล้อาณาจักรอุษมานียะฮ์ในอดีต

ดารุลอิฟตาอฺแห่งอียิปต์กล่าวเพิ่มเติมว่า ประธานาธิบดีแอร์โดอานพยายามโน้มน้าวให้ประเทศในตะวันออกกลางเชื่อว่า เคยเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของการปกครองยุคอุษมานียะฮ์

นอกจากนี้ดารุลอิฟตาอฺแห่งอียิปต์ได้ให้ข้อมูลว่า ในประเทศเยอรมันมีองค์กรอิสลามกว่า 15 องค์กรที่มีความเชื่อมโยงกับองค์กรอิสลามในประเทศตุรกีพร้อมระบุว่า องค์กรเหล่านี้มีความพยายามจะทำให้สังคมเยอรมันกลายเป็นสังคมอิสลาม ผ่านการเรียนการสอนในโรงเรียน และสถาบันการศึกษาในระดับต่างๆ รวมทั้งการจัดกิจกรรมศาสนาในมัสยิดและศูนย์อิสลามทั่วประเทศเยอรมัน

โอทูรูล คืนชีพคืนแผ่นดิน เป็นหนังซีรีย์อิงประวัติศาตร์การก่อตั้งประเทศตุรกีที่เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยแอร์ทูรูล เป็นผู้วางรากฐานสำคัญให้แก่ลูกชายชื่ออุษมาน ที่ต่อมาได้สถาปนาอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในโลกอิสลามนั่นคืออาณาจักรอุษมานียะฮ์ มีผู้ติดตามทั่วโลกกว่า 3,000 ล้านคน พร้อมได้รับการแปลภาษาหลายสิบภาษาทั่วโลก

เป็นที่น่าสังเกตว่าดารุลอิฟตาอฺแห่งอิยิปต์ไม่ค่อยแตะต้องหนังซีรีย์ที่แสดงความรุนแรง ชู้สาวและการแสดงที่มีเนื้อหาขัดแย้งกับหลักการศาสนาโดยเฉพาะหนังซีรีย์ที่ฉายทั่วประเทศในช่วงเดือนรอมฎอนทุกปี

อ้างอิง http://mubasher.aljazeera.net/news/%D8%A7%D9%84%D8%A5%D9%81%D8%AA%D8%A7%D8%A1-%D8%A7%D9%84%D9%85%D8%B5%D8%B1%D9%8A%D8%A9-%D8%AA%D8%AD%D8%B0%D8%B1-%D9%85%D9%86-%D9%85%D8%B4%D8%A7%D9%87%D8%AF%D8%A9-%D9%82%D9%8A%D8%A7%D9%85%D8%A9-%D8%A3%D8%B1%D8%B7%D8%BA%D8%B1%D9%84-%D9%88%D9%88%D8%A7%D8%AF%D9%8A-%D8%A7%D9%84%D8%B0%D8%A6%D8%A7%D8%A8?fbclid=IwAR1aS4jQuymZLx6VvfMUwOmOMYHzxdAEFpH_cpTCKfD4OK5eOBJWpz4NAuE

ปาเลสไตน์ แผ่นดินไร้ประชาชาชน เพื่อทรชนที่ไร้ดินแดน

ไทม์ไลน์การกำเนิดของรัฐหนึ่ง พร้อมกับการสูญหายของอีกรัฐหนึ่ง ท่ามกลางการรู้เห็นของสหประชาชาติ การเงียบงันของโลกอิสลาม และความทุกข์ทรมานของชาวปาเลสไตน์

ปาเลสไตน์ ต้นกำเนิดแห่งวาทกรรม “แผ่นดินซึ่งผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ มอบให้กับผู้ไม่มีสิทธิครอบครอง”

จากคำประกาศบัลโฟร์ 1917 จนถึง ข้อตกลงแห่งศตวรรษ 2020

มหากาพย์แห่งการปล้นประเทศยังคงดำเนินต่อไป จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายตามมายาคติ ที่ ระบุว่าอิสราเอล คือ แผ่นดินจากไนล์ถึงยูเฟรทีส

กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ให้การต้อนรับ รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดี มฟน.

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563 เวลา 15.00 น. นายสรจักร บูรณะสัมฤทธิ กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ได้ให้การต้อนรับ รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี และคณะ ณ ที่ทำการสถานกงสุลใหญ่ฯ

โดยทั้งสองฝ่ายได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฯ กับสถานกงสุลใหญ่ฯ ทั้งนี้ กงสุลใหญ่ได้แสดงความขอบคุณอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ที่รับนักศึกษาที่สำเร็จหลักสูตรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษจากศูนย์การเรียน กศน. ณ เมืองเจดดาห์ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสถานกงสุลใหญ่ฯ จำนวน 2 คน เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฯ ในระดับอุดมศึกษา

ซึ่งอธิการบดีฯ ได้กล่าวชื่นชมสถานกงสุลใหญ่ฯ ที่จัดโครงการด้านการศึกษาแก่บุตรหลานและเยาวชนไทยที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศซาอุดีอาระเบีย ทำให้เยาวชนไทยเหล่านี้มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของทางมหาวิทยาลัยฯ ที่ต้องการยกระดับให้เยาวชนไทยมุสลิมได้มีการศึกษาที่สูงและในหลากหลายสาขาวิชามากยิ่งขึ้น

ที่มา : The Royal Thai Consulate-General in Jeddah

อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีเยี่ยมมุฟตีซาอุดิอาระเบียและ รมว. ศาสนาซาอุดิอาระเบีย

อังคารที่ 14 มกราคม 2563 (20 ญุมาดั้ลเอาวัล ฮ.ศ.1441) รองศาสตราจารย์ ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ในฐานะคณะมนตรีสันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League -MWL) เข้าเยี่ยมฯพณฯมุฟตี ชัยค์อับดุลอะซีส บินอับดุลลอฮ์ อาลิชัยค์ สมาชิกสภามนตรีก่อตั้งสันนิบาตมุสลิมโลก (Constituent Council) และผู้ชี้ขาดศาสนวินิจฉัย (Mufti) ที่สำนักงานใหญ่ดารุลอิฟตาอ์ กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย

ในวันเดียวกัน รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา ได้ไปเยี่ยมฯพณฯชัยค์ศอลิห์ อาละชัยค์ รัฐมนตรีประจำสำนักกิจการศาสนา ที่บ้านพัก ณ หมู่บ้านมูฮัมมะดียะฮ์ โดยมีชัยค์อับดุลอาซิส อัมมาร์ อดีตรมช. กระทรวงกิจการศาสนาและศาสนสมบัติร่วมให้การต้อนรับ

ตุรกีดับไฟสงครามกลางเมืองที่ลิเบียสำเร็จ

หลังจากที่รุกหนัก ประกาศยึดเมืองแล้วเมืองเล่า จนเกือบจะประกาศโค่นรัฐบาลอยู่รอมร่อ แต่กลับถูกเบรคหัวทิ่ม นายพลจัตวาอะหมัด มิสมารี โฆษกกองกำลังนายพลจัตวาคอลีฟะฮ์ ฮัฟตาร์ แห่งลิเบีย ออกแถลงการณ์ ระบุกองกำลังนายพลฮัฟตาร์ ประกาศหยุดยิงนับตั้งแต่ วันอาทิตย์ ที่ 12 มกราคม ศกนี้

รัฐบาลลิเบียรอดพ้นจากสถานการณ์คอขาดบาดตายได้อย่างหวุดหวิด

ไม่เช่นนั้นแล้ว กลุ่มอิสลามจะถูกล้างผลาญในลิเบีย ไม่ต่างกับในอียิปต์ปัจจุบัน

ทั้งนี้ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา 8/1/2562 ประธานาธิบดีตุรกีและประธานาธิบดีรัสเซีย ออกแถลงการณ์ร่วม เรียกร้องให้ทุกฝ่ายในลิเบียหยุดยิง เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม นี้

หลังจากนั้น ฝ่ายนายพลฮัฟตาร์ ก็ออกแถลงการณ์ไม่ยอมรับข้อตกลงระหว่างตุรกีกับรัสเซีย และยืนยันจะโจมตีต่อไปจนพิชิตทริโปลีได้

แต่ต่อมา เมื่อ 12 มกราคม 2563 ฝ่ายนายพลฮัฟตาร์ก็ได้เปลี่ยนจุดยืน ออกแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ประกาศหยุดยิงตามคำเรียกร้องของตุรกีและรัสเซีย

ทั้งนี้ นายพลฮัฟตาร์ ได้รับการสนับสนุนทางทหารและการเงิน จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย อิยิปต์ ซูดาน และฝรั่งเศส ประกาศเข้ายึดเมืองทริโปลี เมืองหลวงของรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติของลิเบีย ซึ่งได้รับการรับรองจากนานาชาติ ตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่ผ่านมา ท่ามกลางความไม่รู้ไม่เห็นของสหประชาชาติ ที่ไม่เคยออกมาคัดค้านหรือหาทางหยุดยั้งการโจมตีรัฐบาลที่ตนเองรับรอง

จนกระทั่ง 27 พฤศจิกายน 2562 ตุรกีประกาศข้อตกลงความร่วมมือทางทหาร กับรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติของลิเบีย ยืนยันจะไม่ให้รัฐบาลที่ชอบธรรมของลิเบียถูกโค่นเหมือนที่เกิดขึ้นในอียิปต์ ท่ามกลางเสียงคัดค้านของกลุ่มประเทศอียู และการประณามของสันนิบาตอาหรับ ซาอุดิอาระเบีย อียิปต์ และมหาวิทยาลัยอัซฮัร อ้างว่าเป็นการแทรกแซงประเทศอาหรับ และจะทำให้สงครามรุนแรงมากขึ้น

แต่ตุรกีไม่สนใจ ยืนยันคำเดิมและเริ่มส่งทหารเข้าไปยังลิเบีย

จนมาถึงการประกาศหยุดยิงครั้งแรกระหว่างสองฝ่าย

พิสูจน์ให้เห็นว่า เกรวูฟอ่านสถานการณ์ได้ขาดและถูกต้อง มากกว่ากลุ่มประเทศและกลุ่มคนที่คัดค้านและประณามเหล่านั้น

รัฐบาลและปุโรหิตทั้งหลายที่อาศัยอิสลามเกาะกินและประณามตุรกี จะรับผิดชอบในคำพูดอย่างไร เมื่อในวันนี้สังคมโลกต่างออกมายินดีกับผลงานของตุรกี

ทั้งนี้ ฝ่ายนายพลฮัฟตาร์ประกาศว่าได้ยึดหัวเมืองต่างๆในลิเบียได้มากกว่า 80 % ของพื้นที่ ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติออกมาปฏิเสธว่า ข้ออ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะลิเบียเป็นประเทศใหญ่ มีพื้นที่มากกว่าประเทศไทยราวๆ 4 เท่า ประชากรลิเบียมีประมาณ 6.3 ล้าน ราวๆ 2.3 คน ต่อตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของลิเบียเป็นพื้นที่ทะเลทราย ไม่มีประชากรอาศัย ส่วนใหญ่อยู่ในทริโปลีและเบงกาซี ที่เหลือก็กระจัดกระจายไปในที่ต่างๆ

สถานการณ์ในลิเบียขณะนี้ คลับคล้ายคลับคลากับยุคสุลต่านสุไลมาน กอนูนีย์ เมื่อกษัตริย์ฝรั่งเศสขอความช่วยเหลือจากออตโตมันต่อสู้กับสเปนที่จะเข้ามารุกราน ออตโตมันได้ส่งเครื่องแบบทหารหน่วยรบพิเศษ แค่เห็นชุดหน่วยรบพิเศษของออตโตมัน สเปนก็ถอนทัพกลับทันที

“ทุกครั้งที่พวกเขาจุดไฟสงคราม อัลลอฮ์จะดับไว้ พวกเขาพยายามก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงรักผู้ก่อความเสียหาย” (64/อัลมาอิดะฮ์)

โดย Ghazali benmad

รัฐบาลซูดานประกาศปิดวิทยุอัลกุรอาน สื่ออิสลามและองค์กรอิสลามสาธารณกุศล

เมื่อซูดานถูกปกครองโดยหมาป่าคลุมหนังแกะ

หลังจากได้ปฏิวัติรัฐบาลพลเรือนที่นำโดยนายโอมาร์ บาชิร ซึ่งมีฐานสนับสนุนจากฝ่ายอิสลามิสต์ บัดนี้รัฐบาลสภาทหารซูดานใฝ่สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ได้ประกาศปิดวิทยุอัลกุรอานนับ 10 สถานี รวมทั้งสถานีโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์หลายฉบับ อีกทั้งสั่งปิดองค์กรสาธารณกุศล 24 องค์กร โดยอ้างว่าอาจมีส่วนพัวพันกับรัฐบาลชุดก่อนและเพื่อป้องกันแนวคิดก่อการร้าย

สื่อมวลชนทุกแขนงได้แสดงความไม่พอใจและถือว่าเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ที่เป็นข้ออ้างของการโค่นล้มรัฐบาลชุดที่แล้ว หลายคนวิเคราะห์ว่า มาตรการรัฐบาลสภาทหารชุดนี้พยายามปิดหูปิดตาประชาชนมิให้เข้าถึงเสียงฝ่ายตรงกันข้ามต่างหาก

ฝ่ายรัฐบาลสภาทหารของซูดานอ้างว่าสาเหตุที่ยุบวิทยุและโทรทัศน์รวมทั้งสื่อต่างๆเนื่องจาก สื่อเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในขณะที่เราต้องการส่งคืนให้เป็นการตัดสินของประชาชนอีกครั้ง

นอกจากนี้ รัฐบาลสภาทหารชุดใหม่ ได้สั่งปิดวิชาหะดีษในหลักสูตรอิสลามศึกษาทั่วประเทศอีกด้วย

ซูดานมีการเปลี่ยนแปลงจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายใต้สภาทหารหลังจากนายโอมาร์ บะชีร วัย 75 ปี ถูกกองทัพซูดานบีบให้ลาออกเมื่อ 11 เมษายน 2019 หลังครองอำนาจนานกว่า 3 ทศวรรษโดยศาลอาญาระหว่างประเทศชี้มูลความผิดและออกหมายจับข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในภูมิภาคและทุจริตในการบริหารประเทศ

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลสภาทหารของซูดานได้ส่งกองกำลังหลายพันนาย เข้าไปในลิเบียเพื่อสนับสนุนกองกำลังของนายพลฮัฟตาร์แกนนำใฝ่คอมมิวนิสต์ลิเบียที่สั่นคลอนรัฐบาลสามัคคีแห่งชาติลิเบียขณะนี้

เหตุการณ์ในซูดานขณะนี้ ทำให้โลกอิสลามต้องหวนคิดย้อนอดีตยุคนายเคมาล มุสตะฟา อะตาร์เติร์กล้มล้างระบอบคิลาฟะฮ์อุสมานียะฮ์เลยทีเดียว เพราะทำให้เรานึกถึงนิทานอีสปเรื่องหมาป่าหุ้มหนังแกะทันที

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://bit.ly/2uyhgoX