รัฐบาลตุรกีประณามอ่านอัลกุรอานด้วยภาษาตุรกี

นายฟัครุดดีน อัลทูน ผู้อำนวยการสำนักงานการสื่อสารสำนักประธานาธิบดีแห่งตุรกี ประณามการอ่านอัลกุรอานด้วยภาษาตุรกีในงานที่จัดโดยสำนักงานเทศมนตรีประจำกรุงอิสตันบูล เมื่อวันจันทร์ที่ 21/12/2020 โดยกล่าวว่า “ตุรกีไม่มีทางหวนกลับสู่อดีตอันมืดมนอีกแล้ว”

นายฟัครุดดีน กล่าวว่า การอ่านด้วยภาษาตุรกีสื่อความหมายที่ห่างไกลกับแกนภาษาอาหรับ ทุกคนไม่สามารถกระทำสิ่งนี้ด้วยข้ออ้างการเปิดใจกว้าง

สำนักงานเทศมนตรีประจำกรุงอิสตันบูล โดยนายอักร็อมอิมาม โอฆลู นายกเทศมนตรีนครอิสตันบูลในนามพรรคประชาชนสาธารณรัฐ ได้จุดกระแสความไม่พอใจให้แก่ชาวตุรกีทั่วประเทศด้วยเปิดพิธีอ่านอัลกุรอานในภาษาตุรกี ในงานคล้ายวันครบรอบ 747 ปีแห่งการเสียชีวิตของชัยค์ญะลาลุดดีน อัรรูมี ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม “ เมาลานา” ในงานดังกล่าวยังมีการอาซานด้วยภาษาตุรกีและมีการปะปนระหว่างชายหญิงอย่างอิสระอีกด้วย

นายนูฮ์ อัลเบรัก นักเขียนตุรกีกล่าวว่าพรรคประชาชนสาธารณรัฐคือภาพแห่งความสะพรึงกลัวของอิสลามที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลือกสนับสนุนนายอักร็อม อิมามโอฆลูหลังจากที่เขาอ่านซูเราะฮ์ยาซีนที่มัสยิดอัยยูบ ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งคราวก่อน พวกเขาต้องรับผิดชอบต่อการกระทำอันน่าละอายนี้

 มุร็อด บาร์กาซี นักประวัติศาสตร์ตุรกีเขียนบทความตอนหนึ่งว่า เราเคยชินกับพิธีการที่เป็นการดูถูกเมาลานาในรูปแบบต่างๆมาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ในรอบ 747 ปีที่ผ่านมา เราไม่เคยถูกหยามเหยียดถึงขนาดนี้ ทุกคนต้องให้เกียรติประเพณีอันดีงามที่บรรพบุรุษของเราได้ปฏิบัติเป็นธรรมเนียมอยู่แล้วแต่ไม่จำเป็นต้องดูหมิ่นศาสนาถึงระดับนี้

ชาวตุรกีมีความทรงจำที่ปวดร้าวกับอาซานด้วยภาษาตุรกี ซึ่งทำให้พวกเขารำลึกถึงยุคมืดของชาติตุรกีในปี 1932  อันเป็นปีแรกที่มีการห้ามอะซานด้วยภาษาอาหรับ และในปี 1941 ประธานาธิบดี อิศมัต อิโนโน ทายาทของนายเคมาล อะตาร์เตอร์กได้ออกกฏหมายสั่งห้ามประชาชนทั่วประเทศตุรกีอาซานด้วยภาษาอาหรับ ชาวตุรกีถูกบังคับอาซานด้วยภาษาตุรกีเป็นเวลานานถึง 18 ปีจนกระทั่งเมื่อปี 1950 นายกรัฐมนตรีนายอัดนาน แมนเดรีส ได้อนุญาตให้อาซานเป็นภาษาอาหรับอีกครั้งตราบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนายแมนเดรีส ถูกทหารก่อปฏิวัติและลงโทษด้วยการแขวนคอในปี 1961 แมนเดรีสได้รับฉายาจากชาวตุรกีเป็นซะฮีดแห่งอาซาน

ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นเพราะบรรดาแกนนำพรรคประชาชนสาธารณรัฐได้รณรงค์ให้ชาวตุรกีอาซานและอ่านอัลกุรอานด้วยภาษาตุรกีมาแล้วในปี 2018 โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้ชาวตุรกีมีความเข้าใจเนื้อหามากขึ้น ทั้งนี้พวกเขาเห็นว่า การอ่านอัลกุรอานและอาซานด้วยภาษาอาหรับ ถือเป็นการดูถูกภาษาตุรกี ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ


อ้างอิงจาก

https://m.arabi21.com/Story/1323255?fbclid=IwAR06CYm4dIufYDD_SBzBi57IiHQzX6DWjIa2m4d4n4-k1fG0Ss_FT1Q6GVo

https://www.turkpress.co/node/76424?fbclid=IwAR3mY4zNyMWlWGvVDqR0HAt2bXDMMxaRbwGHNIm3qd6IojM1tsR13iIBHvQ

โดยทีมงานต่างประเทศ

ตาปลอม ( Eye Prosthesis ) ชาวกาซ่า

ทันตแพทย์ชาวกาซ่า ปาเลสไตน์สามารถผลิตตาปลอมชนิดทำเฉพาะบุคคล ( Customized Eye Prosthesis ) ที่ใกล้เคียงกับตาอีกข้าง โดยมีการลงสีตาขาว ตาดำ เส้นเลือด ให้มีรายละเอียดคล้ายตาจริงอีกข้างของผู้ป่วยให้มากที่สุด สามารถขัดเคลือบและทำความสะอาดได้ และมีขนาดที่พอดีกับร่องลูกตาของผู้ป่วย

การใส่ตาปลอมให้ผู้ป่วยนั้น ถึงแม้ไม่สามารถช่วยในการมองเห็นได้ แต่เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วย กลับไปยืนในสังคมได้อย่างมั่นใจอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยได้มาก

นพ. อิยาด อัลฮุลัยส์ ผู้อำนวยการศูนย์รักษาตาที่กาซ่าเปิดเผยว่า การใส่ตาปลอมมีความสำคัญต่อผู้ป่วยมากเพราะจากคนที่มีปมด้อยในสังคม ทำให้สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตเยี่ยงคนปกติทั่วไป “เราสามารถผลิตตาปลอมที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ป่วยที่สูญเสียตาโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเด็กและวัยรุ่นซึ่งเป็นพลังสำคัญของสังคม นพ. อิยาดกล่าว

นายรานี อายุ 15 ปี ผู้สูญเสียลูกตาข้างซ้ายเนื่องจากโดนกระสุนปืนของทหารยิวเมื่อปี 2019 กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้รับโอกาสใส่ตาปลอม เพราะตนและครอบครัวไม่สามารถใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ เช่นเดียวกันกับ ดช. อาห์มัด ที่สูญเสียลูกตาข้างหนึ่งเนื่องจากถูกสะเก็ดระเบิดของทหารยิวเมื่อหลายปีที่ผ่านมา

TIKA (Turkish Cooperation and Coordination Agency – สำนักงานความร่วมมือและประสานงานแห่งตุรกี) ได้สนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายใส่ตาปลอมแก่ชาวปาเลสไตน์จำนวน 10 ราย โดยค่าใช้จ่ายผลิตตาปลอมต้องใช้งบประมาณ 1,000 ดอลล่าร์ต่อลูกตา

หวังว่า ในอนาคตอันใกล้ พี่น้องจากประเทศไทยสามารถมีส่วนร่วมมอบตาปลอมให้พี่น้องชาวกาซ่า ปาเลสไตน์ได้เช่นเดียวกัน إن شاء الله


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ชาวฝรั่งเศสไม่พอใจผลงานของมาครง

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศฝรั่งเศสแถลงผลการประเมินผลงานของรัฐบาลนายมาครง ปรากฏว่าชาวฝรั่งเศสเกือบ 60 % ไม่พอใจผลงานของประธานาธิบดีมาครง

ผลการสอบถามผ่านอินเตอร์เน็ตโดยมีผู้ให้คำตอบ 1,936 คน ปรากฏว่า นายมาครงซึ่งกำลังถูกกักบริเวณ เนื่องจากติดเชื้อโควิด-19 มีคะแนนความไม่พอใจของประชาชนลดลงถึง 38% ช่วงเดือนธันวาคมนี้

ผลการประเมินกรณีความพึงพอใจของประชาชนต่อการเเก้ปัญหาโควิด-19

ปรากฏว่าชาวฝรั่งเศสเง 7 ใน 10 คน ไม่เชื่อมั่น นอกจากนี้ชาวฝรั่งเศสมีความเห็นว่ารัฐบาลที่นำโดยนายมาครงไม่สามารถแก้วิกฤติโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อ้างจาก

https://www.trtarabi.com/now/%D8%A7%D8%B3%D8%AA%D8%B7%D9%84%D8%A7%D8%B9-%D8%B1%D8%A3%D9%8A-60-%D9%85%D9%86-%D8%A7%D9%84%D9%81%D8%B1%D9%86%D8%B3%D9%8A%D9%8A%D9%86-%D8%BA%D9%8A%D8%B1-%D8%B1%D8%A7%D8%B6%D9%8A%D9%86-%D8%B9%D9%86-%D8%A3%D8%AF%D8%A7%D8%A1-%D9%85%D8%A7%D9%83%D8%B1%D9%88%D9%86-3899190?fbclid=IwAR1G99-HGnBaSsnDJedQONGgreSpNvYwAhTZ93XLkOjjN0B526Ej1J5RPTI

โดย ทีมงานต่างประเทศ

เส้นทางสายไหมยุคใหม่

เมื่อวันศุกร์ที่ 4/12/2020 รัฐบาลตุรกีปล่อยรถไฟลำเลียงสินค้าขบวนแรกจากตุรกีปลายทางประเทศจีน โดยใช้เส้นทางสายไหมเส้นใหม่ผ่าน 2 ทวีป 2 ทะเลและ 5 ประเทศ คือตุรกี จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซคัสถานและจีน ใช้ระยะทางทั้งสิ้น 8,693 กม. โดยใช้เวลาในการเดินทาง 12 วัน

รัฐบาลตุรกีประกาศปล่อยรถไฟลำเลียงสินค้าขบวนแรกจากรถไฟสินค้าจำนวน 10 ขบวนเพื่อภารกิจนี้ โดยแต่ละขบวนมี 42 โบกี้ ที่บรรทุกสินค้าจากตุรกีไปยังจีน และจากจีนไปยังประเทศยุโรป ปลายทางกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวะก้าวสำคัญของประเทศตุรกีที่ดำริอภิมหาโครงการแห่งศตวรรษนี้ สู่ความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจตามวิสัยทัศน์ 2023


โดย ทีมงานต่างประเทศ

เมืองเฆนชา (Gence)

เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของอาเซอร์ใบจานด้านจำนวนประชากร ซึ่งมีจำนวน 332,600 คน ตั้งอยู่บนที่ราบสูง 400 – 450 ม.กว่าระดับน้ำทะเล ห่างจากเมืองหลวงบากูไปทางตะวันตก 375 กม. มีภูมิประเทศสวยงามและมีวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ยาวนานย้อนถึง 494 ปีก่อนคริสตศักราช มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมาย

ช่วงสงครามอาร์เมเนีย-อาเซอร์ไบจานที่ผ่านมา กองกำลังอาร์เมเนียได้ถล่มเป้าหมายพลเรือน ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 61 คน บาดเจ็บ 282 คน อาคารราชการจำนวน 341 แห่งได้รับความเสียหาย บ้านจำนวน 1,846 หลังถูกถล่มราบ อะพาร์ตเมนท์จำนวน 90 อาคารเสียหายยับเยิน รัฐบาลตุรกีและอาเซอร์ไบจานกล่าวหารัฐบาลอาร์เมเนียเป็นอาชญากรสงคราม แต่อาร์เมเนียปฏิเสธ

หลังสงครามสงบ ประชาชนกลับไปยังหมู่บ้านของตนเอง ท่ามกลางซากปรักหักพังของบ้านเรือนที่ถูกก่อการร้ายในนามรัฐบาลอาร์เมเนียถล่มจนราบคาบ

สื่อกระแสหลักระดับโลก ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ แม้กระทั่งมุสลิมบางคน ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า อาร์เมเนียคือใคร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลอาร์เมเนียได้สร้างวีรกรรมโฉดต่อชาวอาเซอร์ไบจานอย่างไรบ้าง

อ้างอิงจาก

https://www.aljazeera.net/news/politics/2020/10/17/معارك-قره-باغ-إسقاط-طائرة-مسيرة


โดย ทีมงานต่างประเทศ

PKK ลูกรัก…..ก่อการร้าย

PKK คือใคร?

PKK ย่อมาจาก Partya Karkeren Kurdistan แปลว่า พรรคแรงงานเคิร์ดิสถาน ก่อตั้งปี 1978 โดยผู้นำเคิร์ดชื่อนายอับดุลลอฮ์ โอจลาน มีอุดมการณ์เลื่อมใสลัทธิมาร์กซ์- เลนิน มีเป้าหมายเพื่อจัดตั้งรัฐเคิร์ดอิสระ ที่เรียกว่ารัฐเคิร์ดอันยิ่งใหญ่ ที่ครอบคลุมพื้นที่ในซีเรีย อิรัก อิหร่านและตุรกี มีศูนย์บัญชาการที่จังหวัดดิยาร์ บักร์ เมืองทางตอนใต้ของตุรกี ในช่วงแรกได้รับการสนับสนุนทางด้านการฝึกฝนกองกำลังจากรัฐบาลซีเรีย ยุคฮาฟิศ อะซัดเป็นผู้นำ และเป็นจุดเริ่มต้นของปฏิบัติการก่อการร้ายยาวนานกว่า 40 ปี ที่คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ชาวตุรกีกว่า 40,000 ศพ

ระหว่างปี 1980-1990 พวกเขาเริ่มปฏิบัติการด้วยการโจมตีชาวตุรกีเป็นเป้าหมายหลัก โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ เผาทำลายหมู่บ้าน สังหารผู้บริสุทธิ์ทั้งเด็กและสตรี

ปี 1998 นายโอจลานถูกขับออกจากซีเรีย ไปกบดานที่เทือกเขากันดีลทางภาคเหนือของประเทศอิรัก และได้กลายเป็นฐานที่มั่นใหม่ของพรรคนี้ จนกระทั่งปัจจุบัน

PKK ถูกรัฐบาลตุรกีปราบปรามอย่างหนัก จนกระทั่งนายโอจลาน ถูกจับตัวที่ประเทศเคนยาและถูกส่งตัวกลับตุรกีและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต

ระหว่างปี 1999-2004 ตุรกี รวมทั้งสหรัฐอเมริกา  ซีเรีย และประเทศสหภาพยุโรปประกาศ PKK อยู่ในบัญชีกลุ่มก่อการร้าย ในขณะที่รัสเซีย จีน อิยิปต์และอินเดียไม่ถือว่า PKK เป็นกลุ่มก่อการร้าย

ช่วงเวลาดังกล่าว เกิดกลุ่มติดอาวุธใหม่ที่มีอุดมการณ์อันเดียวกันกับ PKK และถือเป็นสาขา PKK ก็ว่าได้ภายใต้ชื่อ PYD หรือพรรคประชาธิปไตยเคิร์ด-ซีเรีย และพรรค YPG หรือพรรคปกป้องประชาชน โดยทั้งสองกลุ่มนี้มีกองกำลังตามตะเข็บชายแดนตุรกี-ซีเรียซึ่งมีความยาวกว่า 900 กม.  และตุรกี-อิรักที่มีความยาวกว่า 300 กม.

พวกเขาตั้งชื่อกลุ่มหลอกลวงชาวโลกว่าเป็นกลุ่มประชาธิปไตย แต่อุดมการณ์จริงๆคือสังคมนิยมซ้ายจัดที่เลื่อมใสอุดมการณ์มาร์กซ์-เลนิน ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการให้การสนับสนุนทั้งอาวุธและสรรพกำลังอย่างเต็มรูปแบบ

สหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปจึงทำตัวเป็นคนเกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง ด้วยการสนับสนุนและฝึกอาวุธให้กับ YPG และ YPD โดยเฉพาะเยอรมันและฝรั่งเศส ทั้งๆที่รู้ๆกันอยู่ว่า พวกเขาคือสองด้านของเหรียญอันเดียวกันกับกลุ่มยี่ห้อ PKK

แต่ที่แย่ไปกว่านั้น เวลานึกชอบปลาไหลขึ้นมา ก็เรียกปลาไหลเป็นปลาทู แล้วนำไปกินทั้งตัวทั้งน้ำ ทั้งๆที่เป็นปลาไหลเดิมๆ

ระหว่างปี 2012-2015 กลุ่ม PKK ประกาศ 16 จังหวัดทางตอนใต้ตุรกีเป็นเขตปกครองพิเศษ ทำให้ตุรกียกกองกำลังปราบปรามอย่างหนักจนหมดพิษสง แต่พวกเขาไปก่อตัวใหม่ที่แนวตะเข็บชายแดนตุรกี-ซีเรีย ในนามกลุ่ม PYD จนกระทั่งสามารถครอบครองดินแดนซีเรียตามชายแดนตุรกีราว 1/3 ของซีเรียทีเดียว น่าแปลก ที่บัชชาร์ อะสัดไม่ได้แสดงอาการตกใจแต่อย่างใด แถมยังเปิดไฟเขียวให้กลุ่มนี้ขนย้ายอาวุธสงครามได้อย่างอิสระ เพราะในความเป็นจริง PYD ไม่ได้มีเป้าหมายยึดครองซีเรีย แต่ต้องการสั่นคลอนตุรกีและเฉือนแบ่งแผ่นดินตุรกีตามอุดมการณ์ของ PKK ต่างหาก

ตุรกีจึงประกาศปฏิบัติการกิ่งมะกอก ( Operation Olive Branch) ในปี 2018 โดยกองกำลังตุรกีผสมกับกองกำลังปลดแอกซีเรียบุกทำลายฐานที่มั่นของกลุ่ม PYD อย่างราบคาบพร้อมขับไล่กองกำลังก่อการร้ายนี้ออกจากพรมแดนตามแผนของตุรกี น่าแปลกที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปรวมทั้งซีเรียไม่พอใจแผนปฏิบัติการของตุรกีครั้งนี้อย่างยิ่ง

 เช่นเดียวกันที่ ก่อนหน้านี้ระหว่างเดือนสิงหาคม 2016 – มีนาคม 2017 กองกำลังตุรกีได้ปฏิบัติการโล่ห์ยูเฟรทีส (Operation Euphrates Shield) ทางภาคเหนือซีเรีย จนสามารถขับไล่กองกำลัง YPG/PYD รวมทั้ง IS ได้สำเร็จ โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือนกว่า ทั้งๆที่ชาติพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกาหลายสิบประเทศปราบปรามกลุ่มนี้มา 4 ปีกว่าแล้ว

สาเหตุประการเดียวเพราะ ผู้ปราบและผู้ถูกปราบคือกลุ่มเดียวกัน  แทนที่หมอจะรักษาคนป่วย แต่กลับเป็นคนแพร่เชื้อโรคด้วยตนเอง เชื้อร้ายจึงระบาดไปทั่ว

TRT World  สำนักข่าวตุรกีได้เผยแพร่ภาพที่อธิบายเรื่องราวของผู้ปกครองชาวตุรกีเชื้อสายเคิร์ด ซึ่งได้สูญเสียลูกหลานทั้งชายหญิง อายุระหว่าง 14-25 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ที่จังหวัดดิยาร์ บักร์ ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของกลุ่ม PKK ที่ได้ลักพาตัวหนุ่มสาวและล้างสมองพวกเขาให้หลงเชื่อตามอุดมการณ์อันตรายของพวกเขา จนหลายคนต้องเสียชีวิตในปฏิบัติการพลีชีพเเละเหตุปะทะกับเจ้าหน้าที่ ทำให้พ่อแม่ต้องสูญเสียลูกรักก่อนวัยอันควร

บรรดาผู้ปกครองจึงได้รวมตัวพร้อมถือรูปถ่ายของลูกหลานที่ถูกลักพาตัวพร้อมเรียกร้องให้กลุ่มก่อการร้ายนี้ส่งตัวลูกให้อยู่ในอ้อมกอดของแม่อีกครั้ง พวกเขาได้รวมตัวมานานกว่า 400 วันแล้ว ถึงแม้ความหวังจะริบหรี่ก็ตาม

Hamza Tekin นักเขียนและนักข่าวตุรกีกล่าวว่า ในขณะที่ผู้ปกครองชาวตุรกีนับร้อยพากันรวมตัวชุมนุมเรียกคืนลูกหลานที่ถูก PKK ลักพาตัว แต่สื่อทั่วโลกทั้งสื่ออาหรับและต่างชาติพากันเงียบกริบ พวกเขาไม่เคยเขียนข่าวและพูดถึงเรื่องนี้แม้แต่ครั้งเดียว ทั้งๆ ที่เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นทุกวันนานกว่า 400 วันแล้ว

“หากมีชาวตุรกี 10 -20 คน ลุกขึ้นประท้วงรัฐบาลแอร์โดอาน พวกเขาจะต้องกระพือข่าวใหญ่โตเสมือนโลกจะแตกแน่นอน นี่คือตัวอย่างของความปลิ้นปล้อนและไร้จรรยาบรรณของสื่อยุคปัจจุบัน” นาย Hamza Tekin กล่าวทิ้งท้าย

PKK, PYD,YPG รวมทั้ง กลุ่มรัฐอิสลาม IS ถึงแม้จะมีชื่อที่ต่างกัน แต่สุดท้าย สถานีปลายทางของพวกเขาคือสั่นคลอนประเทศตุรกี ที่มีผู้นำอย่างแอร์โดอาน

ฝากท่านผู้อ่านคิดต่อว่า หากไม่ใช่เพราะแอร์โดอาน และหากไม่ใช่เพราะตุรกีได้นำความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติของการพัฒนาเหมือนปัจจุบัน ถามว่า ชาติตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา มีความจำเป็นสร้างตัวละครเหล่านี้หรือไม่ ?


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

กษัตริย์ซัลมานทรงบัญชาให้ความช่วยเหลือเหยื่อแผ่นดินไหวที่อิซมีร์ ประเทศตุรกี

6 พฤศจิกายน 2563

กษัตริย์ซัลมานแห่งซาอุดิอาระเบียทรงบัญชามอบความช่วยเหลือแก่เหยื่อแผ่นดินไหวที่ถล่มจังหวัดอิซมีร์ ประเทศตุรกี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา

สำนักข่าวซาอุดิอาระเบีย WAS แถลงว่า ผู้อุปถัมภ์สองแดนหะรอมอันทรงเกียรติกษัตริย์ซัลมาน บินอับดุลอาซีซ อาลซะอูด ได้ทรงบัญชาให้ศูนย์กษัตริย์ซัลมานเพื่อการช่วยเหลือและงานด้านมนุษยธรรม ยื่นมือให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ มนุษยธรรมและที่อยู่อาศัยอย่างเร่งด่วน แก่เหยื่อแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่อิซมีร์ เมื่อ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

ถ้อยแถลงดังกล่าว ยังระบุอีกว่าการช่วยเหลือครั้งนี้ สืบเนื่องที่กษัตริย์ซัลมานทรงห่วงใยพี่น้องประชาชนชาวตุรกีและมุ่งมั่นบรรเทาทุกข์ผู้เดือดร้อนจากภัยพิบัติครั้งนี้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลซาอุดีอาระเบียที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยทั่วโลกในทุกครั้งที่เกิดภัยพิบัติ

ในโอกาสนี้ รัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ส่งสารแสดงความเสียใจต่อรัฐบาลอังการ่า ที่ประสบภัยพิบัติครั้งนี้ ในขณะที่ประธานาธิบดีแอร์โดอานได้กล่าวขอบคุณมิตรประเทศทั่วโลกที่ยื่นมือให้ความช่วยเหลือและยืนเคียงข้างตุรกีด้วยดีมาโดยตลอด

แหล่งข่าว http://www.turkpress.co/node/75351


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ละหมาดครั้งแรก ในรอบ 75 ปีที่มัสยิด Kariya ที่อิสตันบูล

หลังจากปิดไป 75 ปี จะมีการละหมาดครั้งแรกที่มัสยิดการียา Kariya ในอิสตันบูล เร็วๆนี้

มุสลิมหลายพันคนกำลังเตรียมการเพื่อทำการละหมาดวันศุกร์แรกที่มัสยิด Kariya ในอิสตันบูลประเทศตุรกี ที่คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ หลังจากเสร็จสิ้นการเตรียมการซึ่งใช้เวลาประมาณสองเดือนเพื่อเปิดเป็นมัสยิดอีกครั้งหลังจากที่เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ในปีค.ศ. 1945

ประธานาธิบดีแอร์โดฆานได้ออกคำสั่งให้เปิดมัสยิดการียาในเขตฟาติห์ กรุงอิสตันบูลเพื่อการละหมาดครั้ง หลังจากรัฐบาลตุรกีตัดสินใจจัดสรรมัสยิดให้กระทรวงศึกษาธิการในปีค.ศ. 1945

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม คำสั่งประธานาธิบดีมีผลบังคับใช้หลังจากมีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐตุรกี ให้ยกเลิกคำตัดสินของคณะรัฐมนตรีตุรกีในปี 1945 และตัดสินใจที่จะส่งมอบอาคารดังกล่าวให้กับประธานฝ่ายศาสนาและเปิดให้เข้าละหมาดอีกครั้ง

คาดว่าประธานาธิบดีแอร์โดกันจะเข้าร่วมละหมาดวันศุกร์แรกในมัสยิดซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากในหมู่ชาวมุสลิมและคริสเตียน

อาคารนี้เป็นโบสถ์ในสมัยไบแซนไทน์ที่รู้จักกันในชื่อ “โบสถ์ Chora” และ “โบสถ์แห่งพระผู้ช่วยให้รอด” ประมาณ 50 ปีหลังจากชาวมุสลิมยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล Atiq Ali Pasha อาติก อาลีปาชา รัฐมนตรียุคสุลต่านบายะซีด 2 สั่งให้เปลี่ยนอาคารเป็นมัสยิด

สภาแห่งรัฐตุรกีซึ่งเป็นศาลปกครองที่สูงสุดในประเทศ ได้มีคำสั่งในดือนพฤศจิกายนปี 2019 ให้ยกเลิกคำตัดสินที่ออกในปี 1945 โดยมีเหตุผลว่าอาคารแห่งนี้เป็นหนึ่งในทรัพยฟ์สินวะกัฟของสุลต่านออตโตมัน

มัสยิดจะเปิดให้เข้าละหมาดและให้แก่นักท่องเที่ยวทุกศาสนาเช่นเดียวกับกรณีของสุเหร่าใหญ่แห่งฮาเกียโซเฟีย ในขณะที่ผู้ดูแลการบูรณะมัสยิดได้ดำเนินการโดยใช้ระบบม่านพิเศษเพื่อปกปิดไอคอนบนผนังด้านใน


อ่านข่าวต้นฉบับ https://www.aljazeera.net/news/politics/2020/8/21/تركيا-مرسوم-متحف-جامع

โดย Ghazali Benmad

จากโซเฟียแห่งคริสเตียน สู่มัรยัมแห่งอิสลาม ลูกศรที่ปักกลางหัวใจฝรั่งเศส

โซเฟีย เพโทรนีน สตรีเหล็กชาวฝรั่งเศสวัย 75 ปีเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลเด็กกำพร้าขององค์กรสาธารณกุศลแห่งหนึ่งของฝรั่งเศสในประเทศมาลี ถูกกลุ่มก่อการร้ายที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศมาลีจับเป็นตัวประกันตั้งแต่ปลายปี 2016 ทำให้ครอบครัวของนางและรัฐบาลฝรั่งเศสใช้ความพยายามในการเจรจาให้ปล่อยตัวเธอแต่ก็ไร้ผล จนกระทั่งในปี 2018 ได้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอเพื่อยืนยันว่านางปลอดภัยดี สร้างความดีใจแก่ครอบครัวเธอเป็นอย่างยิ่ง แต่หลังจากนั้น ข่าวคราวเกี่ยวกับเธอก็เงียบหายไป และในปี 2019 กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสได้ยินยันว่านางยังมีชีวิตและปลอดภัยดี

หลังจากใช้ความพยายามมาอย่างยาวนานและใช้งบประมาณนับสิบล้านดอลล่าร์ เพื่อช่วยเหลือตัวประกันคนสุดท้ายของฝรั่งเศส ปรากฎว่าเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2020 นางโซเฟียถูกส่งกลับตัวไปแผ่นดินเกิด โดยประธานาธิบดีมาครงแห่งฝรั่งเศสได้ไปต้อนรับนางที่สนามบินแห่งหนึ่งในกรุงปารีส หลังจากที่นางใช้เวลาเกือบ 4 ปี ที่มาลีในฐานะตัวประกัน

สิ่งที่น่าประหลาดใจคือเมื่อ “โซเฟีย เพโทรนิน” เดินทางมาถึงฝรั่งเศส   ผ้าคลุมศีรษะของเธอ ได้จุดประกายความขัดแย้งมากมายในสื่อฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากได้รับการยืนยันว่า เธอเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามและเปลี่ยนชื่อจาก “โซเฟีย” เป็น “มัรยัม” ตามรายงานของนักข่าวทีวีฝรั่งเศส Wasim Al-Ahmar ผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวของเขา

ตามธรรมเนียม ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะพูดหลังจากตัวประกันได้รับการปล่อยตัว แต่ในกรณีของแมรี่  มาครงได้ยกเลิกกล่าวสุนทรพจน์ต่อสื่อมวลชน

หนังสือพิมพ์อัลชัรก์ ของกาตาร์  กล่าวว่า การที่แมรี่ประกาศอิสลาม ได้สร้างความตกใจให้กับมาครง หลังจากคำพูดฉาวของมาครงเกี่ยวกับศาสนาอิสลามเมื่อไม่กี่วันก่อน  ซึ่งเขากล่าวหาว่า ศาสนาอิสลามกำลังประสบกับวิกฤตทั่วโลก

ในทางกลับกัน หนังสือพิมพ์ของฝ่ายขวาสุดโต่ง  ได้โจมตีนางแมรี่ ว่าเธอเป็นพวกนิยมอิสลามกลุ่มใหม่ในประเทศฝรั่งเศส  ดังปรากฏในหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส Le Figaro

มาครงกล่าวในสุนทรพจน์ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า อิสลามกำลังประสบกับวิกฤตทั่วโลกในปัจจุบัน และฝรั่งเศสต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่เขาอธิบายว่าเป็น “ลัทธิแยกตัวของอิสลามที่พยายามสร้างระบบคู่ขนานและปฏิเสธสาธารณรัฐฝรั่งเศส”

สื่อฝรั่งเศสรายงานภาพถ่ายและวิดีโอของช่วงเวลาการมาถึงของตัวประกันชาวฝรั่งเศสวัย 75 ปี ซึ่งเธอได้พูดคุยกับมาครง เป็นเวลา 2-3 นาที ก่อนที่จะสวมกอดครอบครัวของเธอ ที่มาร่วมต้อนรับที่สนามบินหลังจากพรากจากกันยาวนาน

เครื่องบินที่บรรทุกโซเฟีย เพโทรนิน มาถึงปารีสพร้อมกับแพทย์ ลูกชายของเธอและนักการทูตจำนวนหนึ่ง และการต้อนรับของประธานาธิบดีฝรั่งเศส

นายมาครงได้โจมตีอิสลามอย่างรุนแรงโดยเฉพาะประเด็นฮิญาบของมุสลิมะฮ์เพื่อสร้างกระแสอิสลาโมโฟเบียในฝรั่งเศส เขายังออกกฎหมายห้ามมุสลิมะฮ์สวมใส่ฮฺิญาบในที่สาธารณะ แต่สุดท้าย เขากลับต้อนรับสตรีชาวฝรั่งเศสที่รัฐบาลต้องลงทุนมหาศาลเพื่อนำกลับตัวเธอ ในสภาพที่ใส่ผ้าคลุมและประกาศตนเป็นมุสลิมะฮ์ในนามมัรยัม

“ พวกเขาได้วางแผนร้าย และอัลลอฮ์ก็วางแผนเพื่อสกัดแผนชั่วของพวกเขา เพราะอัลลอฮ์คือผู้วางแผนที่ดีที่สุด” (อัลอันฟาล/30)


อ้างจาก http://mubasher.aljazeera.net/news/اسمي-مريم-ماكرون-يستقبل-رهينة-فرنسية-محررة-أعلنت-إسلامها-فيديو

โดย ทีมงานต่างประเทศ

รากเหง้าความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจาน

ภูมิภาค “Karabakh” หมายถึง ภูเขาหรือที่ราบสูงของไร่องุ่นสีดำ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศอาเซอร์ไบจาน มีพื้นที่ประมาณ 4,800 ตร. กม. ( ใหญ่กว่าพื้นที่ของจังหวัดยะลาที่มีเนื้อที่ 4,521 ตร. กม. )คิดเป็นประมาณ 20% ของพื้นที่อาเซอร์ไบจาน มีประชากรประมาณ 150,000 คน

ทั้งภูมิภาคตั้งอยู่ในดินแดนของอาเซอร์ไบจาน พลเมืองส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติอาร์เมเนียที่สถาปนาดินแดนของตนเองอย่างผิดกฎหมาย เรียกว่า “สาธารณรัฐอาร์ทซัค”โดยได้รับการสนับสนุนและแทรกแซงโดยตรงจากอาร์เมเนีย ที่ละเมิดมติของสหประชาชาติที่รับรองภูมิภาคนี้เป็นของอาเซอร์ไบจาน และตั้งอยู่ในดินแดนของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องถอนการยึดครองอาร์เมเนียไปในเวลาเดียวกัน

หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 และด้วยการสนับสนุนของรัสเซียและอาร์เมเนีย  กลุ่มกบฏอาร์เมเนียในภูมิภาคนี้ ได้กลายเป็นต้นเหตุของการสังหารหมู่อย่างโหดเหี้ยมจำนวนมากต่อชาวอาเซอร์ไบจาน พวกเขาถูกบังคับอพยพออกจากถิ่นกำเนิด เพื่อหลีกทางให้กับกองกำลังอาร์เมเนียที่เข้ามาใหม่ ซึ่งได้เผาทำลายหมู่บ้านและสังหารผู้หญิง เด็กและผู้สูงอายุ ท่ามกลางสายตาของโลกและสภาความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งไม่สามารถหยุดยั้งการโจมตีที่ดำเนินการโดยกองกำลังหัวรุนแรงเหล่านั้น

การโจมตีที่ไร้มนุษยธรรมนี้ ส่งผลให้ชาวอาเซอร์ไบจานนับล้านคนต้องอพยพออกจากภูมิภาคนี้ แก๊งติดอาวุธหัวรุนแรงของอาร์เมเนีย ใช้ข้ออ้างทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ ในการโจมตีอาเซอร์ไบจานอย่างต่อเนื่องและเป็นครั้งคราว

การโจมตีโดยแก๊งติดอาวุธชาวอาร์เมเนียในภูมิภาค “คาราบัค” ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์และภูมิศาสตร์ขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายผู้ลี้ภัยโดยประมาณกว่า 1.2 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอาเซอร์รี่ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ในคาราบัค กลายเป็นชาวอาร์เมเนีย

ถือเป็นการปล้นประเทศอีกกรณีหนึ่ง ที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ยิวปล้นปาเลสไตน์จัดตั้งรัฐเถื่อนอิสราเอล เพียงแต่ที่ปาเลสไตน์ โลกปล่อยให้เป็นหน้าที่ของยิว ในขณะที่อาเซอร์ไบจานสหประชาชาตินั่งชมอาร์เมเนีย ซึ่งนับถือคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์จัดตั้งรัฐอันธพาล”สาธารณรัฐอาร์ทซัค” ที่คาราบัค อาเซอร์ไบจาน

นอกจากนี้ กองกำลังกบฏอาร์เมเนียที่ยึดครองภูมิภาคนี้ยังได้รับการสนับสนุนโดยตรงและอย่างมีนัยสำคัญจากประเทศอาร์เมเนียและชุมชนชาวอาร์เมเนียพลัดถิ่น เนื่องจากการล็อบบี้ในสหรัฐอเมริกาทำให้อาร์เมเนียเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากความช่วยเหลือของอเมริกาเป็นอันดับสองของโลก รองจากรัฐบาลยิวไซออนิสต์ ยังไม่รวมรัสเซียที่มีความผูกพันทางศาสนาอย่างแนบแน่นกับชาวอาร์เมเนีย

นี่คือสถานีประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นที่สุดสำหรับภูมิภาคนากอร์โนคาราบัค

● 1922 อดีตสหภาพโซเวียตได้ประกาศให้เอกราชแก่คาราบัค แต่ยังคงยึดครองอาเซอร์ไบจาน

● 1988 กลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนที่ผนวกคาราบัคเข้ากับอาร์เมเนีย และเรียกร้องเอกราชจากอาเซอร์ไบจานพร้อมดำเนินการโจมตีอาเซอร์ไบจานอย่างต่อเนื่อง

● 1991 การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและเอกราชของอาเซอร์ไบจานกระตุ้นให้อาร์เมเนียสนับสนุนการเป็นอิสระของภูมิภาคคาราบัคจากอาเซอร์ไบจาน โดยจุดชนวนสงครามด้วยการสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์อาร์เมเนีย

● 1992  อาร์เมเนียโจมตีอาเซอร์ไบจานและประกาศสงครามเพื่อยึดครองภูมิภาคนี้ ซึ่งสงครามดำเนินต่อไปจนถึงปี 1994 คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 30,000 คน

● 2001 สหรัฐอเมริกาประกาศข้อตกลงสันติภาพระหว่างอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียเกี่ยวกับดินแดน “คาราบัค”

● 2008 การโจมตีซ้ำของอาร์เมเนียต่ออาเซอร์ไบจาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บและเกือบจะกลายเป็นสงครามที่ยืดเยื้อครอบคลุม ซึ่งมีการดำเนินการระหว่างประเทศเพื่อหยุดยั้งสงครามดังกล่าว

● 2014 อาร์เมเนียโจมตีอาเซอร์ไบจานอีกครั้ง

● 2016 อาร์เมเนียโจมตีอาเซอร์ไบจานซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตและบาดเจ็บและความพยายามของสหประชาชาติในการหยุดยิง

● ล่าสุด เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2020 ทั้ง 2 ชาติที่เคยเป็นดินแดนบริวารของอดีตสหภาพโซเวียตในภูมิภาคเอเชียกลางนี้ ได้ก่อสงครามอีกครั้ง ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเคลื่อนย้ายอาวุธหนักระดมยิงใส่รวมถึงใช้ปฏิบัติการทางอากาศจากฝูงบินรบต่างๆ ส่งผลให้ทางอาร์เมเนียเรียกร้องให้บรรลุข้อตกลงหยุดยิง แต่นายอิลฮาม อาลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน ยืนกรานว่าสัญญาหยุดยิงจะกระทำได้ต่อเมื่ออาร์เมเนียถอนกำลังออกจากคาราบัคเท่านั้นและจะต้องมีตารางเวลาที่ชัดเจนเพื่อบีบบังคับให้อาร์เมเนียออกจากดินแดนที่ตนยึดครอง

ในขณะที่ นายนิโคล ปาชินยาน นายกรัฐมนตรีอาร์เมเนีย ได้กระตุ้นต่อชาติตะวันตกให้ระดมช่วยเหลืออาร์เมเนียขัดขวางตุรกีที่เข้าแทรกแซงสนับสนุนอาเซอร์ไบจานว่า

“หากโลกไม่แสดงจุดยืนบางอย่างที่จำเป็นต่อตุรกี ก็รอพวกเขาที่จะบุกเข้าประตูเวียนนาอีกครั้งในไม่ช้านี้  เนื่องจากอาร์เมเนียเป็นป้อมปราการสุดท้ายที่ต่อต้านตุรกี  เออร์โดอานสนับสนุนอาเซอร์ไบจานต่อต้านเรา ในความพยายามที่จะฟื้นอาณาจักรบรรพบุรุษของพวกเขา”


สรุปโดย

ทีมข่าวต่างประเทศ