ทำไมประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันมีอคติลึกกับอิสลามและมุสลิม ?

หลังจากก้าวสู่ทำเนียบประธานาธิบดีบาเลเดอลีเซแห่งนครปารีสเมื่อปีพ.ศ. 2560 ดูเหมือนว่า นายเอมานูแอล มาครง ได้ปลุกกระแสความเกลียดชังต่ออิสลามและมุสลิมอย่างต่อเนื่อง

หลังจากใช้วาทกรรม”มุสลิมหัวรุนแรง”ในเวทีต่างๆ ล่าสุดเขาได้ผลิตวาทกรรมใหม่เพื่อตอกย้ำความอคติลึกนี้ด้วยประโยคใหม่ว่า “อิสลามกำลังเผชิญกับวิกฤตทั่วโลก” เขาจึงเสนอร่างกฎหมายโดยเฉพาะเพื่อรับมือกับความเชื่ออันโสโครกของเขา

นายมาครง มองเลบานอนเหมือนประเทศในอาณัติในอดีตและยังคิดว่า ตูนิเซียและเเอลจีเรียเป็นประเทศในอาณานิคมของตน ได้อ้างว่า เขาสามารถแยกแยะระหว่างอิสลามสายกลางกับอิสลามสุดโต่ง ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว เขาเกลียดชังอิสลามทั้งสองสายจนเข้ากระดูกดำด้วยซ้ำ เขาได้เป็นเจ้าภาพผลิตนโยบายสร้าง”ความหวาดกลัว” และลงทุนในธุรกิจการเมืองท่ามกลางสถานการณ์”อิสลาโมโฟเบีย”ที่แพร่กระจายในยุโรปโดยเฉพาะและโลกตะวันตกโดยรวม ด้วยเหตุผลสร้างกระแสนิยมในการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมีขึ้นในปี 2022 นี้ อย่างน้อยเพื่อสกัดกระแสคะแนนนิยมของกลุ่มขวาจัดที่ได้รับการตอบรับดีวันดีคืนในฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสกำลังร่างกฏหมายต่อต้านมุสลิมรุ่น 2 และ 3 ในฝรั่งเศสที่รัฐบาลมาครงออกมายอมรับว่า รัฐบาล ล้มเหลวในการโน้มน้าวมุสลิมทั้งสองรุ่นนี้ให้หลอมละลายในสังคมฝรั่งเศส

ความจริงอิสลามไม่ใช่เป็นต้นเหตุของวิกฤต มาครงต่างหากที่กำลังจมปลักในวิกฤตความคิดที่อคติเช่นเดียวกันกับอีกหลายประเทศในยุโรป

สหรัฐอเมริกาคงได้บทเรียนราคาแพงในกรณีการเหยียดผิวหลังการเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา ซึ่งเสียชีวิตในสภาพที่ถูกใส่กุญแจมือและนอนคว่ำหน้ากับพื้นถนนระหว่างถูกจับกุมโดยตำรวจชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรป ซึ่งใช้เข่ากดคอด้านหลัง ทำให้ฟลอยด์เป็นลม หมดสติและเสียชีวิตอย่างอนาถ

แต่เสียดายที่นายมาครงมองข้ามบทเรียนนี้ และเขากำลังดำเนินนโยบายเหยียดศาสนาอิสลามที่มีชาวฝรั่งเศสกว่า 6 ล้านคน นับถือศาสนานี้ทั่วประเทศ

อิสลามวิกฤตที่นายมาครงหมายถึงน่าจะเป็นอิสลามฉบับถ่ายสำเนาจากสหรัฐอเมริกาที่มีหน่วยข่าวกรอง ซีไอเอและพันธมิตรในยุโรปหนุนหลังอยู่ พวกเขาได้ผลิตและส่งออกอิสลามวิกฤตินี้เข้าไปยังโลกมุสลิมเพื่อปฏิบัติภารกิจความรุนแรงทั้งฆ่าสังหาร ระเบิดพลีชีพและสร้างความปั่นป่วนในสังคมมุสลิมพร้อมสร้างเครือข่ายแห่งความชั่วร้ายอย่างชัดเจนที่สุด

รัฐบาลฝรั่งเศสได้ออกกฏหมายบังคับให้ชุมชนมุสลิมต้องอาศัยอยู่ในสลัมซึ่งเป็นบริเวณเฉพาะที่ถูกตัดขาดจากสังคมภายนอก ทั้งๆ ที่อาศัยอยู่ในชานเมืองนครปารีสก็ตาม ชาวฝรั่งเศสมองพวกเขาเสมือนเป็นเชื้อโรคและปฏิบัติต่อพวกเขายิ่งกว่าราษฎรชั้น 10 ด้วยซ้ำ โดยที่พวกเขาไม่ได้ทำผิดอะไรนอกจากมีสีผิวและความเชื่อที่ต่างกันเท่านั้น แต่แล้ว นายมาครงกล่าวหาพวกเขาว่าไม่สามารถใช้ชีวิตร่วมกันกับชาวฝรั่งเศส

การเหยียดผิวและความเชื่อที่ทำให้ประชาชนต้องแยกสถานที่อยู่อาศัย โรงเรียนและโรงพยาบาลในลักษณะนี้ เราแทบไม่สามารถพบเจอในประเทศยุโรปโดยส่วนใหญ่ แม้กระทั่งเพื่อนบ้านอย่างประเทศอังกฤษยังสร้างที่อยู่อาศัยคนยากจนท่ามกลางชุมชนเมืองเพื่อไม่ให้พวกเขารู้สึกแปลกแยกและมีการเลือกปฏิบัติ แถมอังกฤษยังมีกฎหมายต่อต้านการเหยียดผิวที่เกิดขึ้นตามโรงเรียนหรือสนามกีฬาต่างๆ ทั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่รักษาความรู้สึกของบรรดาผู้อพยพเท่านั้น แต่เพื่อรักษาความสงบสันติในสังคมอีกด้วย ที่เรายกประเด็นนี้ไม่ได้หมายความว่าเห็นด้วยกับพฤติกรรมทุกประการของรัฐบาลอังกฤษในกรณีการเหยียดผิว แต่เพียงจะชี้ให้เห็นว่าเพื่อนบ้านของเขาอย่างฝรั่งเศสกำลังนำพาประเทศเข้าคูคลองแห่งความมืดมนและผิดพลาด

พฤติกรรมการเสพติดความโหดร้ายของอิสลามและชาวมุสลิมของนายมาครง ตลอดจนการโหมโรงโจมตีพวกเขาในโอกาสต่างๆถือเป็นสัญญาณอันตรายต่อความมั่นคงของฝรั่งเศสทัศนคติเชิงลบนี้ทำให้กระแสอิสลาโมโฟเบียและกลุ่มคลั่งลัทธิต่างๆมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเยียวยาโดยด่วน

กลุ่มมุสลิมสุดโต่งที่เลือกใช้วิธีการรุนแรงในฝรั่งเศส เช่นกลุ่มที่บุกโจมตีสำนักพิมพ์นิตยสารชาร์ลี แอ็บโดในปี 2015 ซึ่งเป็นการกระทำที่ถูกประณามจากทุกฝ่ายและทุกศาสนา ก็ถือเป็นปฏิกิริยาโต้กลับที่สืบเนื่องจากพฤติกรรมอันไร้ศีลธรรมของพวกเขา ที่จงใจเติมเชื้อเพลิงด้วยการเขียนภาพการ์ตูนล้อเลียนนบีมูฮัมมัด صلى الله عليه وسلم  ซึ่งแทนที่พวกเขาจะหยุดการกระทำอันไร้จรรยาบรรณนี้ พวกเขากลับเผยแพร่ภาพการ์ตูนล้อเลียนอีกครั้งเมื่อหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา พวกเขาใช้ตรรกะวิบัติในประเด็นอิสรภาพในการจาบจ้วง หาใช่อิสรภาพในการแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด

หากอิสลามตกอยู่ในภาวะวิกฤตจริงสาเหตุหลักคงไม่พ้นการแทรกแซงของชาติตะวันตกต่อกิจการภายในของประเทศอิสลามในรูปแบบการล่าอาณานิคมยุคใหม่ เราลองตั้งชุดคำถามดูว่า

– ใครเล่าที่สนับสนุนรัฐก่อการร้ายอิสราเอล

– ใครเล่าที่คอยเสริมปัจจัยทางวัตถุดิบและเทคโนโลยีให้แก่อิสราเอลเพื่อพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์

– ใครเล่าที่ยึดครองอิรักและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอิรักกว่า 2 ล้านคน พร้อมแปลงอิรักทั้งประเทศให้กลายเป็นประเทศที่ล่มสลายจนราบเป็นหน้ากลอง

– ใครเล่าที่คอยฝึกฝนกองกำลังทหารและสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่กลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มสุดโต่งที่ซีเรีย

– ใครเล่าที่เปลี่ยนลิเบียให้กลายเป็นรัฐล้มเหลวพร้อมขับไล่ประชากรกว่าครึ่งออกนอกประเทศ อีกทั้งยังปล้นสะดมความร่ำรวยของชาวลิเบียแล้วขนกลับไปยังประเทศของตนราวโจรสลัด

หวังว่านายมาครงจะมาให้คำตอบอย่างกระจ่างในเรื่องนี้ ถึงแม้จะเป็นความหวังที่เป็นไปไม่ได้และไม่มีทางเกิดขึ้นก็ตาม


อ่านเอกสารต้นฉบับ

โดยทีมข่าวต่างประเทศ

รากเหง้าความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียกับอาเซอร์ไบจาน

ภูมิภาค “Karabakh” หมายถึง ภูเขาหรือที่ราบสูงของไร่องุ่นสีดำ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศอาเซอร์ไบจาน มีพื้นที่ประมาณ 4,800 ตร. กม. ( ใหญ่กว่าพื้นที่ของจังหวัดยะลาที่มีเนื้อที่ 4,521 ตร. กม. )คิดเป็นประมาณ 20% ของพื้นที่อาเซอร์ไบจาน มีประชากรประมาณ 150,000 คน

ทั้งภูมิภาคตั้งอยู่ในดินแดนของอาเซอร์ไบจาน พลเมืองส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติอาร์เมเนียที่สถาปนาดินแดนของตนเองอย่างผิดกฎหมาย เรียกว่า “สาธารณรัฐอาร์ทซัค”โดยได้รับการสนับสนุนและแทรกแซงโดยตรงจากอาร์เมเนีย ที่ละเมิดมติของสหประชาชาติที่รับรองภูมิภาคนี้เป็นของอาเซอร์ไบจาน และตั้งอยู่ในดินแดนของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องถอนการยึดครองอาร์เมเนียไปในเวลาเดียวกัน

หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 และด้วยการสนับสนุนของรัสเซียและอาร์เมเนีย  กลุ่มกบฏอาร์เมเนียในภูมิภาคนี้ ได้กลายเป็นต้นเหตุของการสังหารหมู่อย่างโหดเหี้ยมจำนวนมากต่อชาวอาเซอร์ไบจาน พวกเขาถูกบังคับอพยพออกจากถิ่นกำเนิด เพื่อหลีกทางให้กับกองกำลังอาร์เมเนียที่เข้ามาใหม่ ซึ่งได้เผาทำลายหมู่บ้านและสังหารผู้หญิง เด็กและผู้สูงอายุ ท่ามกลางสายตาของโลกและสภาความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งไม่สามารถหยุดยั้งการโจมตีที่ดำเนินการโดยกองกำลังหัวรุนแรงเหล่านั้น

การโจมตีที่ไร้มนุษยธรรมนี้ ส่งผลให้ชาวอาเซอร์ไบจานนับล้านคนต้องอพยพออกจากภูมิภาคนี้ แก๊งติดอาวุธหัวรุนแรงของอาร์เมเนีย ใช้ข้ออ้างทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ ในการโจมตีอาเซอร์ไบจานอย่างต่อเนื่องและเป็นครั้งคราว

การโจมตีโดยแก๊งติดอาวุธชาวอาร์เมเนียในภูมิภาค “คาราบัค” ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์และภูมิศาสตร์ขึ้นใหม่ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายผู้ลี้ภัยโดยประมาณกว่า 1.2 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอาเซอร์รี่ ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ในคาราบัค กลายเป็นชาวอาร์เมเนีย

ถือเป็นการปล้นประเทศอีกกรณีหนึ่ง ที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ยิวปล้นปาเลสไตน์จัดตั้งรัฐเถื่อนอิสราเอล เพียงแต่ที่ปาเลสไตน์ โลกปล่อยให้เป็นหน้าที่ของยิว ในขณะที่อาเซอร์ไบจานสหประชาชาตินั่งชมอาร์เมเนีย ซึ่งนับถือคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์จัดตั้งรัฐอันธพาล”สาธารณรัฐอาร์ทซัค” ที่คาราบัค อาเซอร์ไบจาน

นอกจากนี้ กองกำลังกบฏอาร์เมเนียที่ยึดครองภูมิภาคนี้ยังได้รับการสนับสนุนโดยตรงและอย่างมีนัยสำคัญจากประเทศอาร์เมเนียและชุมชนชาวอาร์เมเนียพลัดถิ่น เนื่องจากการล็อบบี้ในสหรัฐอเมริกาทำให้อาร์เมเนียเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากความช่วยเหลือของอเมริกาเป็นอันดับสองของโลก รองจากรัฐบาลยิวไซออนิสต์ ยังไม่รวมรัสเซียที่มีความผูกพันทางศาสนาอย่างแนบแน่นกับชาวอาร์เมเนีย

นี่คือสถานีประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นที่สุดสำหรับภูมิภาคนากอร์โนคาราบัค

● 1922 อดีตสหภาพโซเวียตได้ประกาศให้เอกราชแก่คาราบัค แต่ยังคงยึดครองอาเซอร์ไบจาน

● 1988 กลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกดินแดนที่ผนวกคาราบัคเข้ากับอาร์เมเนีย และเรียกร้องเอกราชจากอาเซอร์ไบจานพร้อมดำเนินการโจมตีอาเซอร์ไบจานอย่างต่อเนื่อง

● 1991 การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและเอกราชของอาเซอร์ไบจานกระตุ้นให้อาร์เมเนียสนับสนุนการเป็นอิสระของภูมิภาคคาราบัคจากอาเซอร์ไบจาน โดยจุดชนวนสงครามด้วยการสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์อาร์เมเนีย

● 1992  อาร์เมเนียโจมตีอาเซอร์ไบจานและประกาศสงครามเพื่อยึดครองภูมิภาคนี้ ซึ่งสงครามดำเนินต่อไปจนถึงปี 1994 คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 30,000 คน

● 2001 สหรัฐอเมริกาประกาศข้อตกลงสันติภาพระหว่างอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียเกี่ยวกับดินแดน “คาราบัค”

● 2008 การโจมตีซ้ำของอาร์เมเนียต่ออาเซอร์ไบจาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บและเกือบจะกลายเป็นสงครามที่ยืดเยื้อครอบคลุม ซึ่งมีการดำเนินการระหว่างประเทศเพื่อหยุดยั้งสงครามดังกล่าว

● 2014 อาร์เมเนียโจมตีอาเซอร์ไบจานอีกครั้ง

● 2016 อาร์เมเนียโจมตีอาเซอร์ไบจานซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตและบาดเจ็บและความพยายามของสหประชาชาติในการหยุดยิง

● ล่าสุด เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2020 ทั้ง 2 ชาติที่เคยเป็นดินแดนบริวารของอดีตสหภาพโซเวียตในภูมิภาคเอเชียกลางนี้ ได้ก่อสงครามอีกครั้ง ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเคลื่อนย้ายอาวุธหนักระดมยิงใส่รวมถึงใช้ปฏิบัติการทางอากาศจากฝูงบินรบต่างๆ ส่งผลให้ทางอาร์เมเนียเรียกร้องให้บรรลุข้อตกลงหยุดยิง แต่นายอิลฮาม อาลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน ยืนกรานว่าสัญญาหยุดยิงจะกระทำได้ต่อเมื่ออาร์เมเนียถอนกำลังออกจากคาราบัคเท่านั้นและจะต้องมีตารางเวลาที่ชัดเจนเพื่อบีบบังคับให้อาร์เมเนียออกจากดินแดนที่ตนยึดครอง

ในขณะที่ นายนิโคล ปาชินยาน นายกรัฐมนตรีอาร์เมเนีย ได้กระตุ้นต่อชาติตะวันตกให้ระดมช่วยเหลืออาร์เมเนียขัดขวางตุรกีที่เข้าแทรกแซงสนับสนุนอาเซอร์ไบจานว่า

“หากโลกไม่แสดงจุดยืนบางอย่างที่จำเป็นต่อตุรกี ก็รอพวกเขาที่จะบุกเข้าประตูเวียนนาอีกครั้งในไม่ช้านี้  เนื่องจากอาร์เมเนียเป็นป้อมปราการสุดท้ายที่ต่อต้านตุรกี  เออร์โดอานสนับสนุนอาเซอร์ไบจานต่อต้านเรา ในความพยายามที่จะฟื้นอาณาจักรบรรพบุรุษของพวกเขา”


สรุปโดย

ทีมข่าวต่างประเทศ

ชีคห์ ซาบาห์ เจ้าผู้ครองรัฐคูเวตสิ้นพระชนม์ พระชนมายุ 91 พรรษา

สำนักพระราชวังคูเวต ออกประกาศเมื่อวันที่ 29 กันยายน ระบุว่า ชีคห์ ซาบาห์ อัล-อาหมัด อัล-ซาบาห์ เจ้าผู้ครองรัฐคูเวต ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้วด้วยพระชนมายุ 91 พรรษา

ชีคห์ ซาบาห์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สถาปนานโยบายต่างประเทศยุคใหม่ของคูเวต มีจุดยืนอันแน่วแน่ในกระบวนการสร้างสันติภาพในภูมิภาคปกป้องมัสยิดอัลอักศอและสิทธิประโยชน์ของชาวปาเลสไตน์ ต้นแบบของการให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณกุศลและมนุษยชนทั่วโลก

ขออัลลอฮ์ทรงโปรดปรานพระองค์ท่าน ทรงอภัยโทษและให้พำนักพระองค์ท่านในสวรรค์ฟิรเดาวส์

إنا لله وإنا إليه راجعون

สรุปความขัดแย้งอาเซอร์ไบจาน – อาร์เมเนีย

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าความขัดแย้งของอาเซอร์ไบจัน – อาร์เมเนีย เป็นความขัดแย้งเรื่องการยึดครองหรือความขัดแย้งด้านพรมแดน

นี่เป็นเพียงความจริงผิวเผินเท่านั้น

และสำหรับผู้ที่ไม่รู้จัก พึงรู้ว่าอาร์เมเนียนั้น ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน การทหารและเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ – ยุโรปมากที่สุดลำดับที่สอง รองจากอิสราเอล แม้ว่าจะอยู่ในอิทธิพลของรัสเซีย โดยที่ล็อบบี้ของอาร์เมเนียมีอิทธิพลมากที่สุดในอเมริกาและยุโรปรองจากล็อบบี้ไซออนิสต์

อาร์เมเนียถูกสถาปนาขึ้นในแถบเทือกเขาคอเคซัสตอนใต้เพื่อเป็นอิสราเอลอีกประเทศหนึ่ง มีจุดประสงค์เพื่อแบ่งภูมิศาสตร์ของโลกมุสลิมสุหนี่ และป้องกันการสื่อสารใด ๆ ระหว่างชนชาติมุสลิมในอนาโตเลีย ตะวันออกกลาง และชนชาติของโลกอิสลามในเอเชียกลางและคอเคซัส

ภัยคุกคามของอาร์เมเนียจึงไม่น้อยไปกว่าอันตรายของอิสราเอล และแม้ว่าจะเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่มีผู้อยู่อาศัยเพียงไม่กี่คน และเป็นประเทศรอบนอกก็ตาม

อาร์เมเนียเป็นเสมอเหมือนหอกข้างแคร่ไซออนิสต์อีกเล่มหนึ่งที่ถูกปักลงในใจกลางโลกอิสลามของเรา โดยมีประเทศรัสเซีย อเมริกา อิสราเอล ยุโรปและอิหร่าน อยู่เบื้องหลัง

สาเหตุและจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างทั้งสองรัฐ ย้อนกลับไปที่ช่วงเวลาการยึดครองของรัสเซียในช่วงยุคของโซเวียต ในปี 2461 โซเวียตได้กำหนดพรมแดนของทั้งสองประเทศ และอพยพชาวอาเซอไบจานบางส่วนออกจากพื้นที่ รวมถึงฆ่าคนหลายพันคน แล้วส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวให้กับกองทหารอาร์เมเนียที่เป็นพันธมิตรกับพวกเขา พร้อมกับนำชาวอาร์เมเนียเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในเวลาเดียวกันพื้นที่เหล่านั้นก็ยังคงอยู่ในเขตแดนของสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน

สถานการณ์นี้ดำเนินต่อไปตลอดช่วงการปกครองของสหภาพโซเวียตที่ยึดครองและปราบปรามชาวอาเซอร์ไบจันที่เรียกร้องเอกราชและห้ามให้อาวุธทุกชนิดแก่พวกเขา

ในทางกลับกันโซเวียตสนับสนุนอาร์เมเนีย ทั้งทางการเงิน ทางทหารและได้ฝึกฝนกองทหารของพวกเขา

หลังจากได้รับเอกราชในปี 1991 รัสเซียได้ส่งมอบดินแดนทั้งหมดที่ชาวอาเซอไบจานอพยพออกไปให้แก่อาร์เมเนีย และตั้งรกรากในที่ของพวกเขา และชาวอาร์เมเนียส่งมอบดินแดนเหล่านั้นให้แก่ประเทศอาร์เมเนียที่เพิ่งตั้งไข่ รวมทั้งภูมิภาคคาราบัค

พร้อมๆการเรียกร้องของอาเซอร์ไบจานในการขอคืนดินแดนที่ถูกแย่งชิงในคาราบัค กองทหารชาวอาร์เมเนียซึ่งประกาศให้ภูมิภาคนี้เป็นรัฐเอกราชโดยการสนับสนุนของประเทศอาร์เมเนียปฏิเสธที่จะคืนพื้นที่ และทำสงครามที่ครอบคลุมกับอาเซอร์ไบจานโดยร่วมกับอาร์เมเนีย พวกเขาได้ฆ่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปหลายพันคน และไร้ที่อยู่อีกหลายหมื่นคน ตลอดจนยึดครองดินแดนอาเซอร์ไบจานประมาณ 20% ของพื้นที่ โดยได้ตั้งเงื่อนไขการคืนดินแดนดังกล่าวแลกกับการที่อาเซอร์ไบจานสละกรรมสิทธิ์ในภูมิภาคคาราบัค

ในความขัดแย้งครั้งนี้ รัสเซียยืนหยัดเคียงข้างอาร์เมเนียและสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ในอาร์เมเนียมีฐานทัพรัสเซียที่ใหญ่ที่สุดนอกอาณาเขตของตน รวมถึงอิหร่านที่สนับสนุนทางการเงินแก่อาร์เมเนีย ตลอดจนน้ำมัน ก๊าซและอาวุธ ในการต่อสู้กับอาเซอร์ไบจาน แม้ว่าอาเซอร์ไบจานจะเป็นรัฐที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชีอะห์ แต่เนื่องจากปฏิเสธที่จะให้คำมั่นว่าจะจงรักภักดีต่อระบบวิลายะตุลฟะกีห์ จึงยืนหยัดต่อต้านอิหร่าน

และเมื่อไม่นานมานี้ประเทศอาหรับที่ต่อต้านตุรกีหลายประเทศก็เข้าร่วมความขัดแย้งด้วยการสนับสนุนอาร์เมเนียในการต่อสู้กับอาเซอร์ไบจาน


เขียนโดย Ghazali Benmad

จับตาการเมืองมาเลเซีย (ตอนที่ 1)

หลังจากนายมุห์ยิดดีน ยาซีน (72ปี) ประธานพรรคเบอร์ซาตู รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของมาเลเซียอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2563 ภายหลังที่ตุนมหาธีร์ โมฮัมมัด (94ปี) ซึ่งตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างกระทันหันเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วิกฤติการเมืองมาเลเซียยังไม่มีวี่แววจะจบท่ามกลางกระแสไม่พอใจบนโลกออนไลน์ในมาเลเซียโดยชาวเน็ตแห่ติด #NotMyPM และมีชาวมาเลเซียกว่า 100,000 คนร่วมลงชื่อออนไลน์เรียกร้องว่าการรับตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีของนายมุห์ยิดดีน คือ “การทรยศเสียงของประชาชน” จากการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ที่พรรคอัมโนพ่ายแพ้ขาดลอย ในขณะที่นายมหาธีร์เรียกรัฐบาลนี้ว่ารัฐบาลประตูหลัง

ล่าสุดมาเลเซียกลับมาอยู่ในสายตาชาวโลกอีกครั้งเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 เมื่อนายอันวาร์ อิบรอฮีม หัวหน้าพรรค PKR ได้แถลงข่าวที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ว่า ตนมีเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นและเข้มแข็งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เพียงพอจัดตั้งรัฐบาลใหม่ พร้อมเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชาธิบดีเพื่อโปรดเกล้าฯแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่โดยตนเองพร้อมเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของมาเลเซีย

“ ข้าพเจ้าได้รับแจ้งจากสำนักพระราชวังให้เข้าเฝ้าฯในวันที่ 21 กันยายน 2563 เวลา11.00 น. แต่เนื่องจากพระองค์ทรงพระประชวรและขณะนี้ทรงรักษาพระอาการที่สถาบันรักษาโรคหัวใจแห่งชาติ ทำให้กำหนดการเข้าเฝ้าฯ ต้องเลื่อนโดยกระทันหัน”  นายอันวาร์กล่าว

อย่างไรก็ตาม นายอันวาร์ยังไม่เปิดเผยตัวเลขว่ารวบรวมเสียงได้เท่าใด ซึ่งการจะตั้งรัฐบาลใหม่ได้ต้องอาศัยเสียงในสภาผู้แทนราษฎรมาเลเซียถึง 112 เสียง จากจำนวนทั้งหมด 222 ที่นั่ง

ขณะนี้แนวร่วมแห่งความหวัง ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของพรรคการเมือง 3 พรรค และที่มีนายอันวาร์เป็นผู้นำอยู่นั้น มีเสียงอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรมาเลเซีย 91 เสียง ประกอบด้วยพรรคยุติธรรมประชาชนของนายอันวาร์ 38 เสียง พรรคปฏิบัติการประชาธิปไตย 42 เสียง และพรรคศรัทธาแห่งชาติ 11 เสียง

นอกจากนี้ นายอันวาร์ยังเปิดเผยอีกว่า ตนยังได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส. กลุ่มอื่นอีกหลายคน ซึ่งรวมถึง ส.ส. จากแนวร่วมพันธมิตรแห่งชาติ ที่เป็นฝ่ายรัฐบาลอยู่ในขณะนี้ และตนจะเปิดเผยจำนวน ส.ส. ให้สาธารณชนทราบหลังจากเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียแล้ว

ส่วนความเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐบาล นายมุห์ยิดดีน ยาซีน นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยืนยันว่า ตนยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีจนกว่านายอันวาร์ อิบรอฮีมจะแสดงหลักฐานว่ามีเสียงสนับสนุนข้างมากจากสมาชิกรัฐสภา พร้อมกล่าวว่ามีหลายฝ่ายที่ต้องการสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล

ทางด้านตุนมหาธีร์ โมฮัมมัด ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่นายอันวาร์ อิบรอฮีม ประกาศว่าตนได้รับเสียงสนับสนุนข้างมากจากส.ส. ในรัฐสภา เพราะในปี 2008 เขาเคยประกาศในทำนองนี้มาก่อนแล้ว แต่ไม่เป็นความจริงแต่ประการใด

ส่วนนายอันวาร์ มูซา แกนนำคนสำคัญของพรรคอัมโนและเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ได้เรียกร้องให้มีการยุบสภาพร้อมคืนอำนาจให้แก่ประชาชนตัดสินใจเลือกผู้นำผ่านสนามเลือกตั้งใหญ่อีกครั้ง


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ตุรกี & กรีซ มหากาพย์แห่งความขัดแย้ง (ตอนที่ 3)

ถึงแม้ทั้งตุรกีและกรีซเป็นสมาชิกขององค์การนาโต้ แต่ทั้งสองก็มีข้อพิพาทกระทบกระทั่งกันมาโดยตลอด ชนวนความขัดแย้งสรุปได้ดังนี้

1. เกาะไซปรัส
ไซปรัสเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก อยู่ทางตอนใต้ของประเทศตุรกีราว 64 ไมล์ ห่างจากเกาะโรดส์และเกาะคาร์ปาทอสของกรีซราว 240 ไมล์ สมัยยุคกลางเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบเซนไทน์ ต่อมาถูกจักรวรรดิอุสมานียะฮ์เข้ายึดครอง หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้เข้ายึดครองจนกระทั่งประกาศเอกราชเมื่อปี 1960 แล้วจัดตั้งเป็นประเทศอย่างเป็นทางการชื่อว่าสาธารณรัฐไซปรัส

ถึงเเม้โดยนิตินัย ไซปรัสเป็นประเทศเดียว แต่โดยพฤตินัย ประเทศนี้ถูกแบ่งเป็นไซปรัสส่วนใต้ มีเนื้อที่ 5,895 ตร. กม. หรือ 65%ของพื้นที่ทั้งหมด ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกรีซ นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกส์ และไซปรัสเหนือ มีเนื้อที่ 3,355 ตร. กม. หรือ 35%ของพื้นที่ทั้งหมด ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม เชื้อสายตุรกี

กรีซและสหประชาขาติให้การรับรองกรีซส่วนใต้ ในขณะที่ตุรกีเพียงประเทศเดียวที่ให้การรับรองกรีซส่วนเหนือ

ปัญหาเกาะไซปรัสเป็นปัญหาที่เปราะบางที่สุดระหว่างตุรกีกับกรีซ ซึ่งในอดีตได้เป็นชนวนทำให้เกิดสงครามกลางเมืองมาแล้ว

2. ปัญหาพรมแดน
ปัญหาพรมแดนระหว่างตุรกีกับกรีซนับเป็นระเบิดเวลาที่กำหนดโดยข้อตกลงในสนธิสัญญาโลซาน ทั้งนี้ในทะเลอีเจียนซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างสองประเทศนี้ ประกอบด้วยหมู่เกาะมากมายกว่า 2,000 เกาะ โดยหมู่เกาะเหล่านี้เกือบทั้งหมดตกเป็นของกรีซ ถึงแม้บางเกาะจะอยู่ติดชายฝั่งของตุรกีเพียง 2 กม. ก็ตาม สถานการณ์ยิ่งตึงเครียด เมื่อกรีซยกประเด็นการครอบครองเขตน่านน้ำห่างจากชายฝั่งของตน 12 ไมล์ แทน 6 ไมล์ตามข้อตกลงสากล ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอีเจียนเป็นกรรมสิทธิ์ของกรีซโดยปริยาย และทำให้ตุรกีประสบปัญหา ไม่มีเส้นทางออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฝั่งตะวันออกเลย ซึ่งตุรกีถือว่า ประเทศอียูโดยเฉพาะฝรั่งเศสและอิตาลี พยายามให้ท้ายกรีซคิดการใหญ่เข่นนี้ ซึ่งตุรกีถือว่าเป็นการประกาศสงครามในภูมิภาคทีเดียว

3. ปัญหาผู้อพยพ
วิกฤติซีเรียและอิรักทำให้ประชาชนหลั่งไหลอพยพหนีตายเข้าไปในตุรกีกว่า 4 ล้านคน บางส่วนได้อพยพเข้าในประเทศสหภาพยุโรปไปแล้วกว่า 1 ล้านคน ทำให้ประเทศอียูได้ทำข้อตกลงกับตุรกีว่าให้ระงับการอพยพของชาวซีเรียเข้าไปในยุโรป โดยที่ประเทศอียูให้สัญญาว่าจะมอบความช่วยเหลือด้านงบประมาณแก่ตุรกี แต่ในความเป็นจริงประเทศอียูไม่เคยปฏิบัติตามสัญญา โดยปล่อยให้เป็นภาระของตุรกีตามลำพัง ทำให้ตุรกีขู่ว่าจะปล่อยผู้อพยพบางส่วนเข้าไปในประเทศยุโรปโดยเฉพาะประเทศกรีซ จนเกิดภาวะความตึงเครียดระหว่างชายแดนของทั้งสองประเทศมาโดยตลอด

4.มัสยิดอายาโซเฟีย
อายาโซเฟียในอดีตคือโบสถ์คริสต์ที่ใหญ่ที่สุดยุคจักรวรรดิไบเซนไทน์ นิกาย ออร์โธดอกส์และเป็นสัญลักษณ์ความยิ่งใหญ่ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลนานกว่า 900 ปี ต่อมาหลังการล่มสลายของอาณาจักรนี้ ก็ถูกเปลี่ยนสถานะเป็นมัสยิดเป็นเวลานานเกือบ 500 ปี ในยุคอุสมานียะฮ์ หลังการล่มสลายของอาณาจักรอุสมานียะฮ์ ถูกเปลี่ยนสถานะเป็นพิพิธภัณฑ์นาน 86 ปี จนกระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 เดือนกรกฎาคม 2020 ประธานาธิบดีแอร์โดอานแห่งตุรกี ได้ลงนามประกาศอายาโซเฟียเป็นมัสยิดอีกครั้ง ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสภาคริสตจักรสากลและผู้นำนานาชาติหลายประเทศที่ถือว่าเป็นการสร้างชนวนความขัดแย้งทางศาสนาที่เปราะบางที่สุด แต่ก็ไม่ทำให้ตุรกีเปลี่ยนจุดยืนแม้แต่น้อย พร้อมตอบกลับอย่างเด็ดเดี่ยวว่า นี่คือกิจการภายในของตุรกี ที่มีอิสระตัดสินใจกระทำตามกระบวนการทางกฎหมายต่างชาติไม่มีสิทธิ์ก้าวก่ายกิจการภายในของตุรกี พร้อมยืนยันว่าตุรกียุคใหม่ไม่ใช่ตุรกียุคเก่าที่คอยปฏิบัติตามคำสั่งของชาติตะวันตกอีกแล้ว

จุดยืนของตุรกีครั้งนี้ สร้างความปิติยินดีเเก่ชาวมุสลิมและผู้ใฝ่หาความยุติธรรมทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกัน ได้ทิ่มแทงแผลเก่าที่เจ็บลึกให้แก่ชาติยุโรป โดยเฉพาะประเทศกรีซ

อายาโซเฟียคือคือชีพจรที่เป็นตัวชี้วัดการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ระหว่างชาติตุรกีกับชาติตะวันตกที่นำโดยประเทศกรีซ

5.ชนกลุ่มน้อย
ตุรกีกล่าวหากรีซว่ารัฐบาลกรีซล้มเหลวในการจัดการปัญหาชนกลุ่มน้อยที่เป็นชาวตุรกีมุสลิมในประเทศกรีซ โดยเฉพาะปัญหาทางการศึกษาและความอิสระในการปฏิบัติตนตามความเชื่อ ประธานาธิบดีแอร์โดอานกล่าวว่า กรุงเอเธนส์ซึ่งเป็นเมืองหลวงกรีก คือเมืองหลวงแห่งเดียวในสหภาพยุโรปที่ไม่มีมัสยิด ในขณะเดียวกันกรีซก็กดดันตุรกีให้เปิดโรงเรียนสอนศาสนานิกายออร์โธดอกส์ที่อิสตันบูล นอกเหนือจากโบสถ์ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งตุรกียังไม่อนุญาต

6.รัฐประหารล้มเหลว
ในค่ำคืนรัฐประหารล้มเหลวที่อิสตันบูลเมื่อปี 2016 มีนายพลจำนวน 8 นายที่หลบหนีไปกบดานที่เกาะกรีซที่อยู่เรียงรายชายฝั่งตุรกี ซึ่งรัฐบาลตุรกีได้ทำหนังสือเรียกร้องให้กรีซส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนทั้ง 8 คนมาดำเนินคดีที่ตุรกี แต่จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่ได้รับความร่วมมือใดๆจากสมาชิกนาโต้ประเทศนี้เลย

ทั้ง 6 ประเด็นนี้ คือระเบิดเวลาที่เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ซึ่งหลายฝ่ายวิตกกังวลว่าอาจบานปลายนำไปสู่สงครามในภูมิภาคโดยเฉพาะหลังการตรวจพบแหล่งพลังงานอันมหาศาลทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันของประเทศตุรกี


โดย Mazlan Muhammad

ดูเพิ่มเติมที่ https://www.aljazeera.net/news/politics/2020/8/29/تركيا-واليونان-تاريخ-طويل-من

ตุรกี & กรีซ มหากาพย์แห่งความขัดแย้ง (ตอนที่ 2)

وَلَن تَرضَى عَنكَ اليَهُودُ وَلَا النَصَارَى حَتٌَى تَتَّبِعَ مِلَّتَهُم (البقرة/120)

ความว่า : และชาวยิวและชาวคริสต์นั่น จะไม่พึงพอใจเจ้า (มุฮัมมัด) เป็นอันขาด จนกว่าเจ้าจะปฏิบัติตามแนวทางของพวกเขา

ตุรกีและกรีซมีปัญหาความขัดแย้งที่ปะทุมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์หากผู้อ่านย้อนอดีตสมัยสุลตานมูฮัมมัด อัลฟาติห์ บุกพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 1453 ซึ่งถือเป็นการสิ้นอำนาจของจักรวรรดิไบเซนไทน์ที่รุ่งเรืองมากกว่า 1,100 ปี ก็สามารถต่อภาพจิ๊กซอว์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะกรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งในปัจจุบันคือกรุงอิสตันบูล ถือเป็นเมืองหลวงของอารยธรรมกรีกที่จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 และสมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ครองราชย์และมีอำนาจในเมืองนี้ หลังการล่มสลาย ชาวกรีกก็อพยพไปยังส่วนต่างๆของยุโรปโดยเฉพาะอิตาลีและกรีซในปัจจุบัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือรัฐกรีซในปัจจุบัน ก็คืออาณาจักรไบเซนไทน์ในอดีตนั่นเอง (ดู https://th.m.wikipedia.org/wiki/การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล)

กาลเวลาผ่านไปเกือบ 600 ปี ไฟแค้นที่มีต่อลูกหลานของสุลตานมูฮัมมัด อัลฟาติห์ยังคงคุกรุ่นตลอดเวลา

สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ได้รับการบันทึกให้ดูเหมือนว่า เกิดขึ้นเพราะชาติยุโรปมีความขัดแย้งกันเอง ซึ่งอาจมีส่วนถูกบ้างเพียงไม่ถึง 10% เท่านั้น เพราะอีกกว่า 90% คือต้องการทำลายอาณาจักรอุษมานียะฮ์ล้วนๆ เพราะฝ่ายที่สูญเสียและได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสงครามโลกครั้งที่ 1 หาใช่ชาติยุโรปที่แพ้สงคราม แต่กลับกลายเป็นอาณาจักรอุษมานียะฮ์ ที่หลังจากถูกเฉือนแบ่งจนแตกเป็นเสี่ยงๆแล้ว ชาติตะวันตกยังวางบ่วงบาศคล้องคอตุรกีใหม่ให้กลายเป็นรัฐอัมพาตนับร้อยปี (ดู https://www.theustaz.com/?p=4287 ) โดยที่ชาติยุโรปอื่นๆที่แพ้สงครามไม่ได้ถูกลงโทษด้วยมาตรการที่รุนแรงเหมือนตุรกีเลย ยิ่งไปกว่านั้นชาติยุโรปโดยผู้นำหุ่นเชิดที่นำโดยมุสตะฟา เคมาลได้บีบบังคับให้ตุรกีปฏิเสธอิสลาม พร้อมถอดคำสอนศาสนาเหมือนถอดเสื้อโต้บที่สวมใส่

หากผู้อ่านศึกษาชะตากรรมของลูกหลานสุลตานอุษมานียะฮ์ ที่ต้องระเหเร่ร่อนเยี่ยงขอทานทั่วยุโรปแล้ว จะรู้เลยว่าความแค้นของพวกเขา มีความรุนแรงและลุ่มลึกแค่ไหน (ดู https://www.facebook.com/groups/422133821263587/permalink/1451275405016085/)

หากชาติตะวันตกที่นำโดยคริสตจักร มีความบริสุทธิ์ใจต่อศาสนาอิสลามและประชาชาติมุสลิม แม้เพียงวันเดียว อัลกุรอานในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์/120 จะกลายเป็นโมฆะทันที ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้โดยเด็ดขาด เพราะอัลกุรอานคือพจนารถแห่งอัลลอฮ์ ผู้ตรัสจริงเสมอ


โดย Mazlan Muhammad

ตุรกี & กรีซ มหากาพย์แห่งความขัดแย้ง (ตอนที่ 1)

1. ภาพแรก เป็นการแสดงแผนที่ของทั้ง 2 ประเทศ โดยประเทศกรีซ คือพื้นที่สีเหลืองทั้งหมด ซึ่งมีเกาะเล็กเกาะน้อยนับสิบกว่าเกาะที่ติดชายแดนตุรกีที่มีสีม่วง แต่เกาะดังกล่าวคือส่วนหนึ่งของประเทศกรีซ ถึงแม้บางเกาะ อยู่ติดชายฝั่งตุรกีเพียง 2 กม. และห่างไกลจากกรีซแผ่นดินใหญ่กว่า 500 กม. สนธิสัญญาโลซานได้วางหมากอัปยศที่เป็นระเบิดเวลานี้ ที่สร้างความเจ็บแค้นแก่ชาวตุรกี ซึ่งมองว่า นอกจากเป็นการตบหน้าชาติตุรกี ด้วยการขีดเส้นพรมแดนที่แปลกประหลาดที่สุดในโลกแล้ว ตะวันตกยังมีเจตนาร้ายที่ต้องการใช้หมู่เกาะเหล่านี้เป็นป้อมยามที่คอยเฝ้าระวังตุรกีทุกฝีก้าวอีกด้วย ชาวตุรกีต้องกัดฟันอย่างอดทนสุดๆมาเกือบร้อยปี

2. ภาพที่ 2 เป็นข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศเรื่องอาณาเขตทางทะเล (Maritime Zone) ตามอนุสัญญาสหประชาขาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งทั้ง 2 ประเทศมีสิทธิ์ใช้ประโยชน์จากทะเลเอเจี้ยนที่ห่างจากชายฝั่งของตนระยะ 6 ไมล์ ในรูป พื้นที่สีฟ้าคืออาณาเขตทางทะเลของกรีซ และพื้นที่สีส้มเข้มคืออาณาเขตทางทะเลของตุรกี ส่วนพื้นที่สีขาวคือเขตน่านน้ำสากล ที่ตุรกีสามารถใช้ประโยชน์ออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

นี่คือข้อตกลงตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล

แต่วันดีคืนดี กรีซเรียกร้องว่าตนมีสิทธิ์ครอบครองอาณาเขตทางทะเลที่ห่างจากฝั่งของตนยาว 12 ไมล์ อาศัยที่กรีซมีเกาะมากมายเรียงรายประชิดชายฝั่งตุรกี ทำให้กรีซมีอาณาเขตทางทะเลเพิ่มขึ้นมากมาย จนไปทับเขตน่านน้ำสากล ทั่วทะเลเอเจี้ยน จึงมีสีฟ้าเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ตุรกีไม่มีเส้นทางออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยปริยาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องการปิดกั้นตุรกีไม่ให้ออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เนียนนั่นเอง

ตุรกีประกาศอยู่ตลอดเวลาว่าพร้อมเจรจาโดยสันติ และพร้อมกางแผนที่แสดงอาณาเขตทางทะเลตามข้อตกลง ตุรกีไม่เคยมีเจตนารุกล้ำเขตเพื่อนบ้านนอกจากปกป้องสิทธิของตนเท่านั้น

แต่ในขณะเดียวกัน ตุรกีพร้อมทำสงครามเพื่อปกป้องอธิปไตยเหนือทะเลเอเจี้ยน และประกาศอย่างดุดันว่า ตุรกีในปัจจุบันไม่ใช่ตุรกีในอดีตที่ชาติตะวันตกสามารถลูบศีรษะได้ตามอำเภอใจ ยุคแห่งการปล้นสะดมของชาติตะวันตกที่มีต่อชาติที่อ่อนแอกว่าได้หมดไปแล้ว

หากคุณเป็นชาติตุรกี
ถามว่าคุณจะมอบกระเช้าดอกไม้ แสดงความยินดีกับประเทศกรีซหรือ


โดย Mazlan Muhammad

น้ำใจจากซาอุฯสู่เลบานอน

ศูนย์บรรเทาทุกข์กษัตริย์ซัลมานได้มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์และยาเวชภัณฑ์แก่โรงพยาบาลในเลบานอนจำนวน 8 แห่ง พร้อมให้การบริการฟรีแก่ผู้มารับบริการ

ประเทศซาอุดิอาระเบียถือเป็นประเทศแรกๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเลบานอนเนื่องจากเหตุระเบิดถล่มเบรุตเมื่อ 4 สิงหาคม 2563

แหล่งข่าว
سفارة المملكة العربية السعودية ، عمان
Royal Embassy of Saidi Arabia,Amman

นักเรียนปอเนาะจะนะเรียกร้องปกป้องสิ่งแวดล้อม

นักเรียนปอเนาะจะนะเรียกร้องปกป้องสิ่งแวดล้อมท่ามกลาง นร.นศ.ส่วนกลางเรียกร้องประชาธิปไตยอุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

ผู้ประสานงานกลุ่มโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม(ปอเนาะ) จะนะ : รายงานจากจะนะ
[email protected]
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก
ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

16 สิงหาคม 2563 และก่อนหน้านี้นักเรียน นักศึกษาส่วนกลางกรุงเทพมหานคร กำลังเรียกร้องรัฐบาล 3 ข้อหรือยกระดับ10ข้อ เกี่ยวกับการปฏิรูปรัฐธรรมนูญให้สู่ประชาธิปไตยตามมาตรฐานสากล และบางเรื่องบางประเด็นที่เป็นเรื่องใต้พรมสู่เวทีสาธารณะจนเป็นประเด็นร้อนที่ทำให้แกนนำสามคนโดนจับและปฏิเสธไม่ได้ว่า กำลังทำให้เกิดข้อถกเถียงในวงกว้างจนนำความแตกแยกสองฝากสองฝั่งของคนในชาติ ในขณะที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตัวแทนนักเรียน ครู อุสตาส โต๊ะครูและผู้บริหารจาก
โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม(ปอนาะ)กว่า 1,000 คน ออกมาแสดงพลัง ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลให้ทบทวนนิคมอุตสาหกรรมจะนะ เพื่อหยุดยั้งความขัดแย้งในชุมชนแม้บางฝ่ายมองว่า “เป็นการเมืองเพราะออกมาเคลื่อนไหวตรงกับเวทีนักศึกษาที่กรุงเทพมหานครที่สำคัญการปราศรัยของนักศึกษาชายแดนภาคใต้ที่ปัตตานีและกทม.ก็มีการพูดถึงจะนะเมืองอุตสาหกรรมในข้อเรียกร้องด้วย”
กล่าวคือ

“วันนี้ 16 สค.63 (10.00 น.) .ณที่ว่าการอำเภอจะนะจังหวัดตัวแทนนักเรียน ครู อุสตาส โต๊ะครูและผู้บริหารจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม(ปอเน๊าะ)กว่า 1,000 คน ออกมาแสดงพลัง ยื่นหนังสือผ่านนายอำเภอจะนะ..ถึงนายกรัฐมนตรี…และเลขาธิการศูนย์อำนายการจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต)…#ให้ทบทวน”#โครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรมต้นแบบ”..ที่ ศอ.บต.ผลักดันให้มีนิคมอุตสาหกรรมจะนะขนาดใหญ่.ซึ่งอาจกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสังคมวัฒนธรรมของประชาชนทุกภาคส่วนในอำเภอจะนะ..

ใน 6 ข้อเสนอแนะโดยเริ่มกระบวนการใหม่อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในอำเภอจะนะ…ตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ..จึงเป็นทางออกที่จะนำมาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของอำเภอจะนะในที่สุด…

ทำไมต้องออกมาขย่มรัฐนี้ช่วงนี้

โครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน แห่งที่ 4 ในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่นำพื้นที่ของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มาพัฒนาเป็น ‘เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต’ ครอบคลุมพื้นที่ 3 ชุมชน เนื้อที่การพัฒนา 16,753 ไร่ ใช้เงินลงทุนกว่า 18,680 ล้านบาท กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนสร้างความแตกแยกของชุมชนตามปรากฎในหน้าสื่ออีกครั้ง หลังข่าวโควิดโดยเฉพาะหลังเวที วันที่11 กรกฎาคม 2563
แม้แต่กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ สภาผู้แทนราษฎร ชี้ชัด “ศอ.บต.” นำงบฯ ประจำไปจัดเวที 11 ก.ค.ดัน “จะนะเมืองอุตฯ ก้าวหน้าแห่งอนาคต” ต้องการเปลี่ยนสีผังเมืองแบบคลุมเครือ ทำผิดทั้งรัฐธรรมนูญปี’60 และขัดระเบียบสำนักนายกฯ มากมายเงื่อนงำ ซับซ้อน ความพิลึกพิลั่น ยันประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ส่อเอื้อแต่ “ทีพีไอ” ยักษ์ใหญ่พลังงานและปิโตรเคมี
(โปรดดู >> https://mgronline.com/south/detail/9630000075633)

อะไรคือบทเรียน

อันเนื่องมาจากชาวจะนะได้บทเรียนโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งคณะนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสันติสุข สถาบันพระปกเกล้าหรือที่เรียกว่า 4 ส รุ่นที่ 8 นำโดยนายแพทย์นันทวัช สิทธิรักษ์ได้สรุป ว่า

1. แก่นหลักที่นำมาสู่ความขัดแย้งและความแข็งขืนต่อต้านโครงการนี้ในนภาพรวมคือ ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน (no trust) ประเด็นหลักที่พบได้แก่ ชุดข้อมูลที่ฝ่ายรัฐและแนวร่วมรัฐหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการมีอยู่มักถูกเผยแพร่สู่สาธารณะในวงจำกัด ไม่เป็นปัจจุบัน และมีการตัดทอนหรือเซ็นเซอร์ ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรืออาจให้ข้อมูลไม่ตรงตามเอกสารจริง ในขณะที่อีกฝ่ายที่เป็นองค์กรเอกชนถูกอีกฝ่ายอ้างด้วยเช่นกันว่าข้อมูลด้านตรงกันข้ามรวมทั้งมีการใช้วาทกรรมสร้างความแตกแยก

2. การไม่ยอมรับผลการประเมิน EIA (Environmental Impact Assessment) คือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” EHIA (Environment and Health Impact Assessment) คือการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ โดยให้มีส่วนร่วมและรับฟังเสียงจากประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียจากหลายเหตุผล

3. กระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่รวบรัด ดำเนินการโดยฝ่ายรัฐหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการแต่เพียงฝ่ายเดียว

4. ความไม่ยืดหยุ่นของเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์โครงการที่สอดรับกับความต้องการของประชาชน

5. กระบวนการลดผลกระทบเชิงลบและการเยียวยาของโครงการที่มีต่อประชาชนที่มิได้ศึกษามิติต่างๆ ทั้งระดับปัจเจก ชุมชน สังคม และจิตวิญญาณ ทั้งที่สามารถตีค่าทางเศรษฐศาสตร์ได้ (tangible) และมีคุณค่าที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (intangible) อย่างรอบด้าน

6. ไม่มีกระบวนการติดตามโครงการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ในส่วนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันสอนศาสนาอิสลามในอำเภอจะนะ ซึ่งมีผู้เรียนประมาณ 20,000 คน ผู้นำศาสนา ครูศาสนาและสามัญ ประมาณ 2,000 คน กำลังกังวลผลกระทบของสถานศึกษา บุคคากร และผู้เรียน วิถีวัฒนธรรมอิสลามอันดีงาม ซึ่งยังมิได้รับการประเมินรวมทั้งมิสามารถประเมินตีค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (intangible) อย่างรอบด้าน

ขนาดโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังไม่ลง มีแหล่งบันเทิง และมีการนำมโหรสพวงดนตรี มาแสดงในชุมชนมุสลิม 100%
อะไรคือทางออก
จากเหตุดังกล่าวข้างต้น
หากจะเดินหน้าทำตาม ปณิธาน “จะนะเมืองน่าอยู่ มั่งคั่ง ยั่งยืน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ กันความไม่ไว้ใจ
ดังนั้น ทางออกที่วินๆ(ชนะ)ทุกฝ่าย ถ้าจะเชื่อใจ บริสุทธิ์ว่า เพื่อประชาชน จึงขอเรียกร้องและเสนอแนะดังนี้
1. ให้มีการทบทวนโครงการนี้ (มติ ครม.เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และ 21 มกราคม 2563 ) เนื่องจากเป็นมติที่อนุมัติโดยรัฐบาล คสช.โดยขาดข้อมูลทางวิชาการ และไม่ได้ฟังเสียงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการมาก่อน
2. ไม่นำผลของการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน(11 กรกฎาคม 2563)เพื่อเปลี่ยนแปลงผังเมือง อันเนื่องมาจากเวทีดังกล่าว มีข้อครหาในความโปร่งใสในการจัดเวที
3. เปิดพื้นที่กลางปลอดภัยการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติวิธี
4. ไม่คุกคามผู้เห็นต่างจากรัฐ
5. ไม่นำอบายมุข มโหรสพ เช่นดนตรีและอื่นๆที่หมิ่นแหม่ผิดหลักศาสนาเข้ามาในชุมชนมุสลิมจะนะ
6. เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน รวมทั้งผู้นำศาสนา ครูและนักเรียนร่วมออกแบบตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากล(ทั้งต้นนำ้ กลางและปลายนำ้)เพื่อพัฒนาจะนะสู่ชุมชนมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอันจะสร้างความชอบธรรมทั้งกระบวนการและกฎหมายซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น ช่วงระยะๆ ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 ก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการต้องเปิดให้มีส่วนร่วมที่น่าเชื่อถืออย่างรอบด้าน

ขั้นตอนที่ 2 การร่วมกำหนดเป้าหมายโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและความจำเป็นของรัฐ

ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการลดผลกระทบโครงการและการเยียวยาอย่างมีส่วนร่วม

ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างมีส่วนร่วม

ปัญหาการประท้วงที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ต่อโครงการลักษณะนี้ซึ่งจะกระทบเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษา วิถีวัฒนธรรมและสิทธิชุมชนจนบานปลายสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือถ้าได้รับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติอย่างไร สังคมในพื้นที่และภายนอกจะยอมรับได้ในกติกานี้ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือหนุนปัญหาการไม่ยอมกันคงมีแต่อาจจะน้อย การประท้วงหน้าทำเนียบก็คงจะลด หรือถ้ามีประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นโล่ให้รัฐเพราะผ่านกระบวนการที่โปร่งใส เป็นธรรม และมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

บาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ผู้บริหารโรงเรียนศาสนบำรุงและที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจังหวัดสงขลา ให้ทัศนะว่า “โครงจะนะเมืองอุตสาหกรรม ในการต่อเพื่อสัจจธรรมนั้น ไม่ว่าจะคว้าชัยหรือเเพ้พ่ายทุกอย่างก้าวคือความรับผิดชอบ ทุกดีตัดสินใจคือตำนานให้รุ่นหลังได้เล่าขาน ว่า เราได้เตือนและชี้แนะตามวิถีของเรา และปกป้องสิ่งที่ควรปกป้อง มิได้เป็นเครื่องมือของผู้ใด ไม่มีเรื่องการเมืองแม้เราจะเคลื่อนช่วงนักเรียน นักศึกษา (นร.นศ.)ส่วนกลางเรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อควำ่รัฐบาล วันนี้เรามาเยอะก็จริงแต่มาแค่ยื่นหนังสือ และถ่ายภาพเชิงสัญญลักษณ์ประกาศให้สังคมภายนอกได้รู้ได้ประจักษ์”
อย่างไรก็แล้วแต่ปัญหาจะที่ชายแดนภาคใต้หรือส่วนกลางที่กำลังเร้าร้อน และเปลี่ยนผ่านจากรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่มันไม่สามารถปราศจากกระบวนการประชาธิปไตยว่าด้วยสงครามความคิดกับการจัดการความขัดแย้งโดยเปิดพื้นที่ปลอดภัยทางการเมืองไทย” (Political Space in Thailand ) ซึ่งอาจต้องในวาระต่อไป

ชมคลิป/ภาพที่นี่