ข่าว ข่าวในประเทศ

โลกโซเชียลถามหาความรับผิดชอบ!! กรณีเขื่อนบางลางระบายน้ำ ใต้อ่วม

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ข่าวน้ำท่วมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานีปีนี้หนักมากๆ หลังจากเขื่อนบางลางระบายน้ำจนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหูว่า “น่าจะมีการจัดการน้ำดีกว่านี้ไหม?และสมควรใครจะออกมารับผิดชอบไหม?

ภาพจาก เอก บังเอก เส็นบัตร

#ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ถ้าไม่ปล่อยน้ำแล้วเขื่อนจะแตกแต่ประเด็นอยู่ที่ (จากเพจเศรษฐศาสตร์อิสลาม)
1. ก่อนที่คุณจะกดปุ่มปล่อยน้ำ คุณบริหารจัดการน้ำได้ดีแค่ไหน คุณได้ใช้ความสามารถและตำแหน่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมอบให้อย่างเต็มที่หรือยัง

2. ในขณะที่คุณกำลังจะกดปุ่มปล่อยน้ำ คุณได้ทำการประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ทราบเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะตามมาอย่างทั่วถึงหรือไม่

3. หลังจากที่คุณตัดสินใจกดปุ่มปล่อยน้ำแล้ว คุณได้เตรียมการ เตรียมสถานที่ และเตรียมทรัพยากร เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างครอบคลุมหรือไม่

#นักวิชาการหลาย ท่านสะท้อน เรื่องนี้
เช่น ผศ. ผศ. มัสลัน มาหะมะนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ให้ทัศนะว่า “จริงอยู่
สังคมมุสลิมเรา ถูกสอนให้ยอมรับกับตักดีร (การกำหนดสภาวะการณ์จากพระเจ้า) แต่มิได้หมายความว่าไม่ให้ฝึกฝนให้หาวิธีแก้ปัญหาเพื่อสู่ตักดีรที่ดีกว่า?

หรือใช่ว่า จะพึงพอใจรับสภาพที่เกิดขึ้นโดยอ้างตักดีรอย่างเดียว โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นเพราะการบริหารจัดการที่หย่อนยาน ไม่ใช้ข้อมูลเชิงสถิติที่สะสมมากว่า 40 ปี เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจ ขาดการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ขาดการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ค่อยตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่กระทบในวงกว้าง ไม่ค่อยพูดถึงการคืนความสุขและให้สวัสดิการแก่ประชาชนโดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบ “
อาจารย์รอมฎอน ปัญจอร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ทัศนะว่า “เหตุผลที่แจกแจงมาว่าจำเป็นต้องปล่อยน้ำทะลักบ้านและสวนของชาวบ้านก็เพื่อรักษาความมั่นคงของเขื่อน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือป้องกัน #เขื่อนแตก ที่อาจส่งผลเสียหายมากกว่า ทำไมเราต้องจมอยู่กับคำถามกลืนไม่เข้าคายไม่ออกด้วย ไม่ใช่เพียงแค่การบริหารจัดการไม่ดีเท่านั้น แต่นี่คือข้อจำกัดของโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในอดีต เป็นมรดกตกทอดของการจัดการทรัพยากรแบบรวมศูนย์ข้ามหัวผู้คนและเป็นความอัปลักษณ์ของรัฐราชการไทยและทุนก่อสร้างที่ฮั้วกับราชการมาเนิ่นนาน ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาจึงต้องมีทางเลือกให้พิจารณาครับ ไม่ใช่เชื่อ ๆ กันว่ามันมีอยู่เพียงหนทางเดียว”

ข้อสังเกตเหล่านี้สะท้อนข้อสังเกตเดิมในการบริหารจัดการนำ้ที่อื่นๆของประเทศกล่าวคือ “ตราบใดที่กฟผ.บริหารน้ำด้วยหลักการว่าหน้าที่หลักของน้ำคือเป็นปัจจัยผลิตไฟฟ้า และตราบใดที่วิศวกรชลประทานไม่มีส่วนร่วมบริหารเขื่อนก็ยากที่จะป้องกันน้ำท่วมได้ “(อ่านเพิ่มเติมใน
https://www.isranews.org/community/comm-scoop-documentary/3961-เศรษฐศาสตร์สามัญสำนึก-น้ำท่วม-เขื่อน-และประกันอุทกภัย.html)
ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะของผู้เชี่ยวชาญที่สะท้อนว่า “น้ำท่วมเพราะบริหารจัดการน้ำไม่เป็น (ฟังบทเรียนอดีต #น้ำท่วม…บริหารจัดการไม่เป็น https://www.posttoday.com
#น้ำท่วม : มาจากน้ำที่ปล่อยลงจากเขื่อน
สามารถฟ้องได้ไหม?

น้ำท่วม มาจากน้ำที่ปล่อยลงจากเขื่อนเป็นเหตุให้ทรัพย์สินและชีวิตคนเสียหายทำให้สังคมฉงนว่าเหตุใดผู้มีอำนาจดูแลเขื่อนจึงปล่อยน้ำมหึมาเช่นนั้น? มีการบริหารจัดการน้ำหรือไม่อย่างไร?
“ การที่ปีนี้ฝนตกชุกก็ควรให้น้ำไหลออกทางน้ำล้นหรือสปิลเวย์ (spillway)…ถ้าผู้มีอำนาจ ผู้รับผิดชอบ ดูแลจงใจกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายถือว่า ผู้มีอำนาจดูแลบริหารเขื่อนจงใจทำละเมิดอันเป็นความผิดทั้งอาญาและแพ่ง แต่ถ้าผู้บริหารเขื่อนเห็นว่าในเขื่อนมีน้ำอยู่มากเกรงจะเป็นอันตรายต่อเขื่อนจึงรีบปล่อยน้ำเพื่อมิให้เขื่อนเสียหาย โดยไม่คำนึงถึงผลจะเกิด ถือว่าผู้บริหารเขื่อนประมาทเลินเล่อ การกระทำจึงเป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

ปัญหาสุดท้ายมีว่า จะฟ้องที่ศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

– คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่ง ทางปกครอง ฯลฯ

การที่ผู้มีอำนาจบริหารเขื่อนจงใจ หรือประมาทเลินเล่อปล่อยน้ำออกจากเขื่อนโดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายอันจะเกิดแก่ประชาชนหรือประเทศชาติ จึงเป็นการกระทำละเมิด

หน่วยงานต้นสังกัดไม่ว่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือกรมกองของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับระบบชลประทาน ล้วนมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย จึงต้องฟ้องคดียังศาลปกครอง
อ้างอิง
https://www.isranews.org/isranews-article/4131-หน่วยงานรัฐ-“ปล่อยน้ำเขื่อนเหตุน้ำท่วม”-ฟ้องศาลปกครองได้.html

#ฝากเตือนทุกคนเป็นบทเรียน
อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า “การบ่อนทำลาย ได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากสิ่งที่มือของมนุษย์ได้ขวนขวายไว้เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาลิ้มรสบางส่วนที่พวกเขาประกอบไว้ โดยที่หวังจะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว” (อัร-รูม: 41)

ขออัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตอบแทนผู้ให้ด้วยสิ่งที่ดีกว่า
หมายเหตุ
สมพร ช่วยอารีย์ ให้ข้อมูลว่า

ปริมาณน้ำในเขื่อน 99% ดูได้จาก http://tiwrm.haii.or.th/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html

พื้นที่ฝนตก ดูได้จาก http://www.pbwatch.net/apps/

วันนี้ 10 มกราคม 2564 แรม 12 ค่ำ ครับ วันอังคาร 12 ม.ค. – 15 ม.ค. เจอน้ำทะเลหนุนต่อนะครับ

ดูแนวโน้มฝนตก ได้จาก https://www.windy.com/-Rain-thunder-rain?rain,6.758,101.378,5,i:pressure

ดูแนวโน้มคลื่นลมทะเล ได้จาก http://www.pbwatch.net/apps/ คลิกคลื่นลมทะเล


โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)