การจากไปของเฒ่าทระนง

ชัยค์สุไลมาน อัลฮาซลีน (70 ปี) ชายชราจากเมืองคอลีล ทางตอนใต้เขตเวสต์แบงค์ ได้เสียชีวิตอย่างสงบหลังจากมอบชีวิตทั้งหมดเพื่อต่อสู้กับกองกำลังยิวจอมปล้นแผ่นดิน

เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2022 กองกำลังผู้รุกรานได้เข้าตรวจค้นหมู่บ้าน “อุมมุลคอยร์” ณ เมืองคอลีล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้เขตเวสต์แบงค์ ปาเลสไตน์ โดยอ้างว่าเพื่อตรวจค้นรถยนต์ผิดกฎหมายซึ่งในความเป็นจริงเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชนและเข้าจับกุมชัยค์สุไลมาน อัลฮาซาลีน เฒ่าทระนงผู้ยืนหยัดต่อสู้กับกองกำลังก่อการร้ายในนามรัฐเถื่อนอิสราเอล

ทหารอิสราเอลใช้รถเกราะล้อยางเหยียบร่างของเฒ่าทระนงผู้นี้จนทำให้ศีรษะและร่างกายได้รับบาดเจ็บสาหัส ก่อนถูกนำไปโรงพยาบาลและได้รับชะฮีดในวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2022 ท่ามกลางความเศร้าโศกของชาวปาเลสไตน์ที่ได้สูญเสียบุคคลผู้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับการกดขี่และอธรรมที่รุนแรงที่สุดในโลกปัจจุบัน

ถึงแม้สื่อกระแสหลักจะบอดใบ้เช่นเคยก็ตาม


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

ประกาศผู้ได้รับรางวัลกษัตริย์ไฟศอลประจำปี 2022

เจ้าชายคอลิด อัลไฟศอล อะมีร์มักกะฮ์ ในฐานะองค์ประธานรางวัลกษัตริย์ไฟศอล ได้เป็นองค์ประธานพิจารณาผู้ที่สมควรได้รับรางวัล ใน 5 สาขา โดยในปีนี้มีนักวิชาการระดับโลกได้รับรางวัลจำนวน 8 ท่าน แยกเป็น สาขาวิทยาศาสตร์จำนวน 2 ท่าน สาขาแพทยศาสตร์จำนวน 1 ท่าน สาขาภาษาอาหรับและวรรณคดี จำนวน 2 ท่าน สาขาบริการอิสลามจำนวน 2 ท่าน ส่วนสาขาอิสลามศึกษา ไม่มีผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลกษัตริย์ไฟศอลสาขาบริการอิสลามได้มีมติเลือก Professor Dr. Mahmoud AL Shafei (91 ปี) ชาวอิยิปต์อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ กรุงอิสลามมาบัด อดีตประธานสภาภาษาอาหรับและวรรณคดีประจำกรุงไคโร ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาอุละมาอ แห่งอิยิปต์ ได้รับรางวัลกษัตริย์ไฟศอลสาขาบริการอิสลาม พร้อมด้วย Mr.Hassan Mwinyi (96ปี) อดีตประธานาธิบดีแทนซาเนีย สมัย 1985-1995 ซึ่งคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้คือ อบุล อะอฺลา อัลเมาดูดีย์ นักเคลื่อนไหวอิสลามนามอุโฆษขาวปากีสถานเมื่อ ค.ศ.1979

ผู้ได้รับรางวัลในแต่ละสาขา ได้รับโล่รางวัลพร้อมเช็คเงินสดจำนวน 200,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หากมีผู้ได้รับรางวัลในสาขาเดียวกันมากกว่าหนึ่งคน ก็จะแบ่งเงินรางวัลจำนวนเท่ากัน

ติดตามรายละเอียดได้ที่

https://www.facebook.com/KingFaisalPrize/


โดย Mazlan Muhammad

ประชุมมูลนิธิกษัตริย์ไฟศอลเพื่อการสาธารณกุศล

จันทร์ที่ 3 มกราคม 2565

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีได้เดินทางไปยังกรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมรับรางวัลกษัตริย์ไฟศอล สาขาบริการอิสลามประจำปี 2022 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 5 มกราคม 2565 ณ มูลนิธิกษัตริย์ไฟศอล เพื่อการสาธารณกุศล กรุงริยาด เริ่มเวลา 13.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น โดยจะประกาศผู้ได้รับรางวัลตามสาขาต่าง ๆ พร้อมเลี้ยงรับรองคณะกรรมการฯเวลา 20.00 น.ในวันเดียวกัน

การประชุมครั้งนี้ มีเจ้าชายคอลิด อัลไฟศอล องค์ประธานคณะกรรมการคัดเลือกและประธานมูนิธิ ฯ เป็นองค์ประธานที่ประชุมและเลี้ยงรับรอง

รศ.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา หนึ่งเดียวในระดับอาเซียนและบุคคลแรกในประวัติศาสตร์ปาตานีที่ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกอันทรงเกียรตินี้ ถือเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจของชาวปาตานี โดยเฉพาะชาวมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ซึ่งมีบุคลากรที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกเช่นนี้

ในโอกาสนี้ รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา มีกำหนดเดินทางไปยังมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ เพื่อประกอบพิธีอุมเราะฮ์และซิยาเราะฮ์ ก่อนที่จะเดินทางกลับเมืองไทยในวันที่ 10 มกราคม 2565

ขอให้การเดินทางครั้งนี้ เต็มไปด้วยบารอกัตและสวัสดิภาพ พร้อมกับภารกิจนำความเมตตาแห่งสากลจักรวาลที่สะท้อนถึงความเป็นประชาชาติหนึ่งเดียว “อุมมะฮ์วาฮิดะฮ์” สู่สันติภาพและสันติสุขอันยั่งยืน


โดย Mazlan Muhammad

มัสยิดอานีซอายาโยเฟีย ได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมัสยิดอีกครั้ง

มัสยิดอานีซอายาโยเฟีย ได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมัสยิดอีกครั้งโดยประธานฝ่ายศาสนาอิสลามตุรกีเมื่อ วันศุกร์ที่24 ธค. 2021 หลังจากถูกรัฐบาลสายเคมาลิสต์ปิดนานกว่า 56 ปี

มัสยิดนี้ เดิมคือโบสถ์สมัยไบเซนไทน์ สร้างเมื่อค.ศ. 12 และถูกเปลี่ยนเป็นมัสยิดหลังการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อค.ศ.1456 แต่ถูกรัฐบาลสาวกเคมาลิสต์ปิดถาวรเมื่อ 56 ปีที่ผ่านมา

มัสยิดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมืองเอดีร์เน เมืองทางตะวันตกสุดของประเทศ ติดกับประเทศกรีซ 7 กม. และบัลเกเรีย 20 กม.


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

“Turkish House” ยอดสถาปนิกสินานแห่งออตโตมัน

ในวันจันทร์ 20 กันยายนนี้ ประธานาธิบดีตุรกี ตั้งใจที่จะไปเปิด “”Turkish House”-บ้านตุรกี” ตรงข้ามสำนักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก

แอร์โดฆาน กล่าวในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันศุกร์ ในระหว่างการประชุมปรึกษาหารือของพรรค Justice and Development Party ในจังหวัด Mersin ทางใต้ว่า ตั้งใจจะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในสัปดาห์หน้าในการเยือนอย่างเป็นทางการ

แอร์โดฆานกล่าวเสริมว่า: “วันอาทิตย์นี้ ผมจะไปสหรัฐอเมริกา และในวันจันทร์นี้ เราจะเปิดบ้านตุรกีสูง 36 ชั้นตรงข้ามกับสหประชาชาติ”

พื้นที่ทั้งหมดของ “”Turkish House-บ้านตุรกี” อเนกประสงค์ รวมประมาณ 20,000 ตารางเมตร  35ชั้น ตั้งอยู่ตรงข้ามอาคารสหประชาชาติสูง 171 เมตร และถัดจากนั้นคือจัตุรัสสหประชาชาติและผู้แทนถาวรของสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ

อาคารใหม่นี้สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แทนที่สถานกงสุลตุรกีในนครนิวยอร์ก ซึ่งยังคงเปิดดำเนินการจนถึงปี  2013 อาคารนี้ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ตั้งคณะผู้แทนถาวรและสถานกงสุลใหญ่ของตุรกี การประชุม สัมมนา และห้องนิทรรศการตลอดจนโรงรถสำหรับรถยนต์และที่อยู่อาศัยสำหรับพนักงานที่ชั้นบน

ตุรกีได้ซื้ออาคารจากบริษัทไอบีเอ็ม ยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันที่เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ เป็นจำนวนเงินประมาณ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 1977 โดยได้รับการสนับสนุนจาก Ihsan Sabri Caglienkl รัฐมนตรีต่างประเทศในขณะนั้น  ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้แทนถาวรของตุรกีประจำสหประชาชาติจนถึงปี 2013 

อาคาร “”Turkish House-บ้านตุรกี” เป็นการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐตุรกีในต่างประเทศนับตั้งแต่ก่อตั้ง โดยมีมูลค่ากว่า 291 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการซึ่งประธานาธิบดีแอร์โดฆาน เข้าร่วมในการวางศิลารากฐานในปี 2017 ดำเนินการโดยบริษัท IC İçtaş İnşaat ของตุรกี โดยร่วมมือกับ American Contracting Company (Tishman) ของอเมริกา

● สถาปัตยกรรมแบบเซลจู๊กที่โดดเด่น

บริษัทสถาปัตยกรรม “Perkins Eastman” ซึ่งชนะการประมูลออกแบบอาคาร “Turkish House” ในนิวยอร์กซิตี้ ได้ส่ง Jonathan Stark หัวหน้าสถาปนิกไปตุรกีเพื่อค้นหาและขุดค้นสถาปัตยกรรมตุรกี  เซลจู๊ก  และออตโตมัน  ด้วยการออกแบบที่ดีที่สุดที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณของสถาปัตยกรรมอิสลามตุรกีโบราณในใจกลางเมืองที่สำคัญที่สุดที่แออัดไปด้วยผู้คนและวัฒนธรรมทั่วโลก

หลังจากเสร็จสิ้นการออกแบบเบื้องต้นหลายแบบแล้ว ได้มีการตกลงกันในการออกแบบขั้นสุดท้ายของตึกระฟ้าในรูปของดอกไม้ “ทิวลิป” ของตุรกีที่ล้อมรอบด้วยลวดลายของเซลจุกและออตโตมัน ซึ่งจะเพิ่มสัญลักษณ์ให้กับเส้นขอบฟ้าของนครนิวยอร์กและสะท้อนถึงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของตุรกี และความหลากหลาย

วันนี้ อาคาร “”Turkish House-บ้านตุรกี” มีลวดลายสถาปัตยกรรมตุรกีแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมเซลจู๊ก สามารถเห็นในรูปของดอกทิวลิปสูงเด่นขึ้นไปบนท้องฟ้า จากตัวเมืองแมนฮัตตัน แม่น้ำอีสต์ และเมืองลองไอส์แลนด์

อาคารตุรกีหลังใหม่ได้รับการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านมาตรฐานการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกแบบประตูอาคารได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมของข่านแห่งจักรวรรดิเซลจู๊กและออตโตมัน

● ความหมายแฝงที่ลึกซึ้ง

อาคารสูงอเนกประสงค์ “Turkish House” ในย่านที่มีชื่อเสียงที่สุดของนิวยอร์ก ตรงข้ามกับสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ สื่อสาส์นที่หนักแน่นและลึกซึ้งเกี่ยวกับอิทธิพลของตุรกีต่อนโยบายต่างประเทศ ในเวทีระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติมากมายหลายแห่ง 

อาคารนี้พร้อมที่จะรับบทบาทเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของนโยบายต่างประเทศของตุรกีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่มีบทบาทอย่างแข็งขันในการสนับสนุนผู้อ่อนแอและผู้ถูกกดขี่ทั่วโลก

ตามที่กระทรวงการต่างประเทศตุรกีระบุ “Turkish House” จะสนับสนุนภารกิจของตุรกีที่ปฏิบัติการในนิวยอร์ก ให้ดำเนินกิจกรรมต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพการบริการให้กับพลเมืองตุรกี และเผยแพร่จุดยืนของตุรกี ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนกรณีอันชอบธรรมของผู้ถูกกดขี่ซึ่งตุรกียืนเป็นกองหน้าในการปกป้องคนเหล่านั้นในเวทีระหว่างประเทศ


โดย Ghazali Benmad

แอร์โดอานกับหนังสือเล่มใหม่

แอร์โดอานได้จรดปากกาเขียนหนังสือเล่มใหม่ชื่อว่า “มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างโลกให้ยุติธรรมมากกว่านี้ “ หนังสือได้วางจำหน่ายแล้วเมื่อต้นเดือนกันยายน 2021 ที่ผ่านมา

แอร์โดอานเริ่มอธิบายความพยายามของตุรกียุคใหม่ ที่จะสร้างรัฐสวัสดิการและยุติธรรมแก่มนุษยชาติ พร้อมระบุความท้าทายที่ตุรกีต้องเผชิญ โดยเฉพาะ ความอยุติธรรม ปัญหาผู้อพยพปัญหาก่อการร้ายสากล การเป็นศัตรูต่ออิสลาม (อิสลาโมโฟเบีย) ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และการเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐาน

หนังสือเล่มนี้ ยังแตะประเด็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ของโลกโดยเฉพาะสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บทบาทหน้าที่และการเป็นสมาชิกถาวร ที่ท่านมักพูดอยู่เสมอว่า “โลกนี้ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะถูกควบคุมโดย 5 ประเทศ”

แอร์โดอานได้แสดงความมั่นใจถึงความเป็นไปได้ของโลก ในการสถาปนาสังคมที่ยุติธรรมกว่า โดยมีการจัดระเบียบที่เป็นสัดส่วนและยุติธรรมโดยเฉพาะการยกเลิกการใช้สิทธิ์วีโต้ของชาติมหาอำนาจ

“ไม่มีใครสามารถปัดความรับผิดชอบตราบใดที่ในโลกนี้ ยังมีเด็กๆต้องเสียชีวิตเพราะความรุนแรง”

“ความยุติธรรมเป็น 1 ในข้อเรียกร้องของประชากรโลกมากที่สุดขณะนี้ แต่เสียดาย องค์กรที่ทำหน้าที่ผดุงความยุติธรรม กลับกลายเป็นองค์กรที่มีปัญหาด้านความยุติธรรมมากที่สุด”

“ท่ามกลางโลกที่ขาดแคลนความปรานีจึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ที่จะเป็นตัวแทนผดุงความยุติธรรมและตอบสนองเสียงเรียกร้องของผู้อ่อนแอ”

“เราจะยังคงพูดตลอดเวลาว่า โลกนี้ใหญ่กว่า 5 ประเทศที่จะมาควบคุมได้ จนกว่าจะมีระบบที่สามารถทำให้สัจธรรมคือความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความเข้มแข็งคือสัจธรรม”

“ปัญหาของโลกปัจจุบัน จะไม่ถูกแก้ไขโดยองค์กรที่คำนึงถึงความต้องการในอดีต ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า องค์กรเหล่านี้ได้ก่อปัญหาใหม่เกิดขึ้นมากมาย”

“เราต้องการระเบียบโลกใหม่ที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นความหวังของชาวโลกที่เฝ้าฝันความยุติธรรมมาก กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน”

เป็นเนื้อหาที่กระแทกกล่องดวงใจของเจ้าของระเบียบโลกใหม่ในขณะนี้ และอาจเป็นแรงกระเพื่อมสร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ของโลกในอนาคตอันใกล้ – ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮ์ –

หนังสือเล่มนี้จะถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ อาหรับ เยอรมัน ฝรั่งเศส รัสเซียและสเปน โดยรายได้ทั้งหมดจะมอบให้แก่หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยแห่งตุรกี ( AFAD)


อ้างอิง

https://mubasher.aljazeera.net/news/2021/9/6/%D8%A3%D8%B1%D8%AF%D9%88%D8%BA%D8%A7%D9%86-%D9%8A%D8%B5%D8%AF%D8%B1-%D9%83%D8%AA%D8%A7%D8%A8%D8%A7-%D8%A8%D8%B9%D9%86%D9%88%D8%A7%D9%86-%D9%85%D9%86-%D8%A7%D9%84%D9%85%D9%85%D9%83%D9%86?fbclid=IwAR2gfeh-bk4KPujqW9cXm8dfj4lncRVkAP5SBnsoxfuKHN3-AqT3xGY5Avo

แปลสรุปโดย Mazlan Muhammad

รมว. กิจการศาสนาตุรกีเป็นประธานเชิดชูเด็กและเยาวชน ที่จบการอบรมการอ่านและท่องจำอัลกุรอาน

รมว. กิจการศาสนาตุรกี ศ. อาลี อัรบาช เป็นประธานเชิดชูเด็กและเยาวชนจำนวน 2 ล้านคนทั่วประเทศที่จบการอบรมการอ่านและท่องจำอัลกุรอานช่วงปิดภาคฤดูร้อนที่ผ่านมา พร้อมด้วยครูสอนอัลกุรอานจำนวน 110,000 คน โดยพิธีดังกล่าวจัดขึ้นในมัสยิดอายาโซเฟีย ที่มีการเชิญผู้แทนเด็กๆและครูทั่วประเทศเข้าร่วม

มีบางคนยังตั้งแง่ว่า ตุรกีเป็นรัฐเซคิวล่าร์ ใฝ่ประชาธิปไตย ผู้นำไม่ไว้เครา ยังสนับสนุนกฏหมายเกย์กะเทย ยังมีผับบาร์ แหล่งโสเภณี แหล่งอบายมุขมากมาย

ถึงขนาดฟัตวาผู้นำตุรกีปัจจุบันว่าเป็นหัวหน้ามุนาฟิก และตกมุรตัด

พวกเขาไม่มีวันเข้าใจว่า ชาวตุรกีรับมรดกบาปทีมีการปลูกฝังมายาวนานนับศตวรรษอย่างเป็นระบบ โดยมีอำนาจ “รัฐลึก” คอยปกป้องอย่างแน่นหนาและเข้มแข็ง

พวกเขาไม่มีวันเข้าใจการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ต้องอาศัยความอดทนอดกลั้น การเตรียมการและวางแผนที่รัดกุม การลำดับความสำคัญของปัญหาอันสลับซับซ้อน การวางนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติที่อาศัยวิสัยทัศน์และโลกทัศน์อันเฉียบแหลม

การที่หน่อไม้จะงอกเงยท่ามกลางดงป่าอันหนาทึบ นอกจากต้องต่อสู้ชูกิ่งก้านท่ามกลางต้นไม้อันใหญ่โตแล้ว ยังต้องดิ้นรนปกป้องตัวเองจากเหล่าสัตว์ป่าที่คอยกัดแทะหรือขุดทำลายใช้เป็นอาหารอีกด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลายาวนาน และเผชิญกับความยากลำบากแค่ไหน

#พวกเขาไม่มีวันเข้าใจ


เครดิตภาพและข่าว

Hamza Tekin

https://www.diyanet.gov.tr/ar-SA/%D8%A7%D9%84%D9%85%D8%A4%D8%B3%D8%B3%D9%8A%D8%A9/%D8%A7%D9%84%D8%AA%D9%81%D8%A7%D8%B5%D9%8A%D9%84/32662/———2021—

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

คลองอิสตันบูล…โครงการแห่งศตวรรษ

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 27 มิถุนายน 2564 ประธานาธิบดีแอร์โดอานเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “คลองอิสตันบูล” ใช้งบประมาณ 15,000 ล้านดอลล่าร์ ใช้เวลาดำเนินโครงการ 6 ปี


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ใครคือ ฟาติมา กาวักจี กุลฮาน

ฟาติมา กาวักจี กุลฮาน (Fatima Kavakci Gülhan – Abu Syanab) หญิงสาวตุรกีที่สวมฮิญาบ ซึ่งได้รับเลือกโดยท่านประธานาธิบดีแอร์โดอานให้เป็นล่ามแปลภาษาในการประชุมสุดยอดผู้นำนาโต้ล่าสุด

เธอคือใคร

ฟาติมา เป็นลูกสาวของ นางมัรวะฮ์ ศอฟา กาวักจี (Merve Kavakcı)อดีตนักการเมืองหญิง ผู้สวมผ้าคลุมฮิญาบเข้าสภาในสมัยการปกครองของทายาทเคมาลลิสต์ และต้องถูกไล่ออกจากสภาและโดนเนรเทศเพราะสวมฮิญาบในปี 1999 ต่อมาในปี 2017 นางได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตตุรกีประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์จนกระทั่งปัจจุบัน ส่วนพ่อของเธอเป็นชาวจอร์แดนที่อพยพจากปาเลสไตน์ ซึ่งถือสัญชาติสหรัฐอเมริกา หากจะกล่าวว่า เธอมีเชื้อสายปาเลสไตน์ ก็ไม่ผิดนัก

ฟาติมา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัย George Mason สหรัฐอเมริกา

จากนั้นเธอก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมและคริสเตียนในสาขาวิชาเสรีศึกษาที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์

นอกเหนือจากการศึกษาระดับป. เอกในวอชิงตัน ดี.ซี. เธอยังทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยในสถานที่ต่างๆ เช่นองค์กร Beckettfund เพื่อเสรีภาพทางศาสนา, ศูนย์นักวิชาการ Woodrow Wilson International และรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา  นอกจากนี้เธอยังทำงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสังกัดสำนักงานประธานาธิบดีตุรกีอีกด้วย

การปรากฏตัวของเธอเคียงข้างประธานาธิบดีตุรกี ในช่วงเวลาสำคัญเข่นนี้ เป็นวาระแห่งประวัติศาสตร์ ที่ปธน. แอร์โดอานต้องการสื่อสารไปยังโลก โดยเฉพาะชาวเซคิวล่าร์และสาวกเคมาลิสต์ตุรกีว่า ฮิญาบในตุรกีคือสัญลักษณ์ของเสรีชนเหมือนกับการถอดฮิญาบของชาวเซคิวล่าร์ที่มักอ้างเสรีชนเข่นกัน

ก่อนหน้านี้ 20 ปี ฮิญาบในตุรกีถูกจองจำในบริเวณบ้านและมัสยิดช่วงละหมาด และผู้ใส่ฮิญาบต่อหน้าสาธารณะคืออาชญากรรมรุนแรงที่โดนลงโทษรุนแรงถึงขั้นถูกถอนสัญชาติ บัดนี้ฝันร้ายดังกล่าว ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ยุคแห่งการถูกบังคับให้ปฏิเสธพระเจ้าได้กลายเป็นอดีตอันขมขื่นเท่านั้น  บัดนี้ฮิญาบได้สร้างสีสันทั่วฟ้าตุรกีอีกครา

ลองคิดเล่นๆว่า หากตุรกีออกกฎหมายบังคับให้สตรีมุสลิมะฮ์ตุรกีใส่ฮิญาบ ใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษรุนแรงถึงขั้นถอนสัญชาติ

ถามว่า โลกใบนี้จะเกิดอะไรขึ้น


อ่านเพิ่มเติม

https://www.trtarabi.com/now/%D8%AE%D8%B7%D9%81%D8%AA-%D8%A7%D9%84%D8%A3%D9%86%D8%B8%D8%A7%D8%B1-%D9%85%D9%86-%D8%A7%D9%84%D8%B2%D8%B9%D9%85%D8%A7%D8%A1-%D9%85%D9%86-%D9%81%D8%A7%D8%B7%D9%85%D8%A9-%D9%82%D8%A7%D9%88%D9%82%D8%AC%D9%8A-%D8%A3%D8%A8%D9%88-%D8%B4%D9%86%D8%A8-%D9%85%D8%AA%D8%B1%D8%AC%D9%85%D8%A9-%D8%A3%D8%B1%D8%AF%D9%88%D8%BA%D8%A7%D9%86-5771935

โดย Mazlan Muhammad

ขอบคุณคูเวตจัดโครงการ “อักศอสยอง”

รัฐบาลคูเวตโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับองค์กรและประชาชนชาวคูเวตจัดโครงการ “อักศอสยอง” เพื่อรณรงค์บริจาคช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ ในวันที่ 21/5/2021 ที่ผ่านมา โดยภายในคืนเดียวสามารถระดมเงินบริจาคทั้งสิ้นจำนวน 2,331,267 ดีนาร์คูเวต (1 ดีนาร์ = 104.39 บาท) หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 243,360,962 บาท ขณะนี้ได้ปิดการรับบริจาคแล้ว

การรณรงค์ครั้งนี้มีหน่วยงานรัฐบาลเอกชน บริษัท องค์กร มูลนิธิและบุคคลชาวคูเวตจำนวน 58,965 รายเข้าร่วม โดยเร่งให้ความช่วยเหลือ 3 ด้าน ได้แก่การแพทย์ อาหารและที่อยู่อาศัย ที่ครอบคลุมทั้งในเขตกาซ่าและเวสต์แบงค์ โดยเฉพาะบริเวณอัลกุดส์

นี่คือ 1 ในความดีงามที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นรางวัลให้แก่ชาวปาเลสไตน์ หลังจากถูกโอบล้อมมิให้ส่งความช่วยเหลือใดๆแก่ชาวกาซ่านานกว่า 15 ปี

ต่อไปนี้ชาวกาซ่าจะถูกต่อเครื่องหายใจโดยชาวโลก โดยเฉพาะประชาชาติอิสลามที่มีจำนวนเกือบ 2 พันล้านคน หลังจากที่พวกเขาโดนบีบคอนานกว่า 15 ปี

อัลลอฮ์ให้ทางออกแก่ผู้ศรัทธาเสมอ

ถึงแม้จะใช้เวลานานและผ่านความยากลำบากสักปานใดก็ตาม

https://4aqsa.com/ensan?fbclid=IwAR2vDEtVikDHLhjPU7XPpzRAwbn2A2Jd6UXV0NE4xyovhxa0RCrPcompHFg


โดยทีมข่าวต่างประเทศ