รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯรับรองการโจมตีของรัฐเถื่อนต่อชาวปาเลสไตน์

รัฐบาลอเมริกาออกมาปกป้องอิสราเอล แม้ว่าการโจมตีของอิสราเอล จะทำให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไปแล้วกว่า  25,000 ราย มากกว่าครึ่งเป็นเด็กและสตรี  และผู้บาดเจ็บมากกว่า 60,000 ราย   แต่บลิงเกน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ   ถือว่าคำฟ้องของแอฟริกาใต้เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่กระทำโดยอิสราเอลนั้น “ไม่มีมูลความจริง”!!

จุดยืนนี้เป็นจุดยืนเดียวกันกับประธานาธิบดีเฮอร์ซ็อกของอิสราเอลที่อธิบายว่า เป็นคำฟ้องที่ไร้สาระ

เอกสารเปล่าที่ลงนามโดยฝ่ายบริหารของอเมริกาทั้งหมดมอบให้อิสราเอล

การคุ้มครองนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเนทันยาฮู  แต่เป็นการให้การสนับสนุนและความคุ้มครองตลอดกาลแก่อิสราเอล

การคุ้มครองที่สมบูรณ์นี้ทำให้อเมริกากลายเป็นสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมของอิสราเอลที่กำลังดำเนินอยู่ และผลักดันให้อิสราเอลก่ออาชญากรรมต่อไป และปฏิเสธแรงกดดันหรือแนวทางแก้ไขใด ๆ ที่อาจจะมีจากคำวินิจฉัยจากศาลโลก ที่จำกัดโครงการยึดครองและขยายที่จะดำเนินการจนกว่าจะสิ้นสุด

รัฐบาลอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ไม่เคยเรียกร้องให้หยุดยิง!!

แต่ความโหดร้ายของอิสราเอลที่กระทำต่อพลเรือนชาวปาเลสไตน์  ปลุกความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนทั่วไป และทำให้ผู้คนหลายล้านคน ลุกขึ้นจากความอบอุ่นจากเตียงที่แสนสบายไปสู่ความหนาวเย็นของท้องถนน ทั้งในยุโรปและอเมริกา


Cerdit : Ghazali Benmad

ภารกิจส่งมอบความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่กาซ่ารอบสอง

25 พ.ย. 2566 เวลา 11.00 ตามเวลาท้องถิ่น(มาเลเซีย)

ผศ. มัสลัน มาหะมะ ประธานมูลนิธิเรือนร่างเดียวกันพร้อมด้วยทีมงานและตัวแทนภาคีเครือข่ายได้เดินทางไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์  มาเลเซีย เพื่อภารกิจส่งมอบความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่กาซ่า (Gaza Emergency Appeal) รอบ 2 จำนวน 21,000 ดอลล่าร์ ( 741,000 บาท) ผ่าน Yayasan Al-Quds  Malaysia  โดยมี Dr. Syareef Abu Syamala ประธาน Yayasan ฯ เป็นผู้รับมอบและบรรยายสรุปที่สำนักงานใหญ่ ณ Taman Danau Kota , Setapak, Kuala Lumpur.

Dr. Syareef กล่าวขอบคุณพี่น้องชาวไทยที่ยื่นมือช่วยเหลือชาวก า ซ าที่ประสบกับความหายนะครั้งยิ่งใหญ่ในสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้ พร้อมเปิดเผยผลกระทบที่หนักหน่วงทั้งชีวิต ทรัพย์สิน บ้านเรือน หน่วยงานราชการ โรงเรียน มัสยิด โรงพยาบาลและระบบสาธารณูปโภค รวมทั้งสภาพจิตใจของผู้สูญเสีย

“ ความหายนะแห่งมนุษยชาติในครั้งนี้ ทำให้บ้านเรือนกว่า  300,000 หลังคาเรือนเสียหายทั้งหลัง 500,000 หลังคาเรือนที่ไม่สามารถพักอาศัยได้ มีผู้ได้รับชะฮีด 20,000 คน 70% เป็นเด็กและสตรี “ Dr.Syareef กล่าว

“การปกป้องมัสยิดอักศอ ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของฮา มาสหรือชาวกา ซ่าเพียงฝ่ายเดียว  แต่พวกเขากำลังทำหน้าที่แทนประชาชาติ 2 พันล้านคน จึงเป็นไปไม่ได้ที่ประชาชาติ 2 พันล้านจะลอยแพชาวกาซ่าที่มีเพียง 2 ล้านคน” Dr. Syareef ทิ้งท้าย

Dr.Syareef ยังกล่าวแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ตัวประกันคนงานไทยที่ถูกควบคุมตัวในช่วงสงครามที่ผ่านมา ได้รับการปล่อตัวจำนวน 12 คน พร้อมยืนยันว่า ตัวประกันเหล่านี้ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากกลุ่ม ฮา mas ตามจรรยาบรรณและคุณค่าแห่งอิสลาม

ผศ. มัสลัน มาหะมะ  กล่าวว่า มูลนิธิเรือนร่างเดียวกันได้รณรงค์ระดมบริจาคผ่านสื่ออนไลน์ อ่านคุตบะฮ์และบรรยายตามชุมชนต่าง ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องต่อวิกฤตความขัดแย้งที่ปาเลสไตน์ เริ่มรณรงค์ตั้งแต่วันที่ 12 คุลาคม 2566 โดยข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566  มีพี่น้องทั่วประเทศร่วมระดมบริจาคเพื่อภารกิจนี้จำนวนทั้งสิ้น  2,571,248 บาท  ผ่านธนาคารอิสลาม หมายเลขบัญชี  0541257633 ในนาม #กองทุนเรือนร่างเดียวกันเพื่อมนุษยธรรม ( The One Body Foundation) โดยเงินจำนวนดังกล่าว ได้ทยอยมอบในรอบแรกให้แก่  Ghirass for Society Development ที่เมืองอิสตันบูล เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2566 จำนวน 800,000 บาทถ้วน  และมอบอีกในรอบที่สองผ่าน Yayasan Al-Quds Malaysia จำนวน  741,000 บาท เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 โดยคงเหลือในบัญชีธนาคาร จำนวน 1,030,248 บาท  ซึ่งจะมอบเป็นรอบที่ 3 เร็ว ๆ นี้

การเดินทางมอบความช่วยเหลือครั้งนี้ มีผู้แทนองค์กรต่าง ๆ ที่เข้าร่วมอาทิ ศปง.ยะลา  มูลนิธิสงเคราะห์เด็กกำพร้าและการกุศล มูลนิธิอัสสลามเพื่อเยาวชน สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฟาฏอนี องค์กร JABIM ชมรมอัลฮูดาเบตง  มัสยิดตะลุบันและสื่อ theustaz.com

ลิ้งค์มอบเงินช่วยเหลือที่ Al-Quds Foundation Malaysia

https://www.facebook.com/theustazdotcom/videos/723582752572825


ทีมข่าวต่างประเทศ

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา ได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในแขกพิเศษกษัตริย์โมร็อกโก

#Alhumdulilah🤲🏼

# เกือบ 60ปี วิถีปฏิบัติอันทรงเกียรติเเห่งพระราชวังกาซาบลังกา โมร็อกโก

🕌

เป็นเวลา เกือบ 60 ปีแล้ว ที่เดือนรอมฎอนทุกๆปี ณ พระราชวังประเทศโมร็อกโก กลายเป็นสถานที่ที่มีการชุมนุมของนักวิชาการมุสลิมจากทั่วโลกที่ได้รับเกียรติเข้าร่วมงานบรรยายศาสนาต่อหน้ามหากษัตริย์

🇲🇦

 الدروس الحسنية الرمضانية

เป็นการเรียนการสอนในเดือนรอมฎอนประจำปีต่อหน้ากษัตริย์ของประเทศโมร็อกโก มีการเชิญนักวิชาการระดับโลกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก มาเป็นผู้บรรยายวิชาการศาสนา

🌼งานอันทรงเกียรตินี้เป็นพระราชดำริของกษัตริย์ฮะซันที่ 2 ผู้ล่วงลับ – ขอพระเจ้าทรงเมตตาเขา – ในเดือนรอมฎอน ปีฮ.ศ. 1382 ซึ่งตรงกับปี ค.ศ. 1963 และยังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ เริ่มด้วยการอ่านอัลกุรอาน บรรยายศาสนาและจบลงด้วยการดุอาของกษัตริย์ หรืออะมีรุลมุอฺมีนีน (แต่เมื่อครั้งที่มีการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส ได้มีการหยุดจัดงานนี้ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับกิจกรรมอื่นๆ ในประเทศ)

☑️ในปีนี้ สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมหมัดที่ 6 -ขอพระเจ้าทรงให้ชัยชนะเเละคุ้มครอง- พร้อมด้วยมกุฎราชกุมาร อัลหะซัน เจ้าชาย ราชิด และเจ้าชาย อิสมาอีล เสด็จเป็นประธานเปิดงานบรรยายศาสนาประจำเดือนรอมฎอน 1444 ในวันพุธที่ 21 รอมฎอน 1444 ตรงกับ 12 เมษายน 2023 ณ พระราชวังในคาซาบลังกา

🌺 สำหรับประเทศไทย มี รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในเเขกพิเศษของงานในปีนี้

👉 ในวันอาทิตย์ที่ 26 รอมฎอน 1444 เวลา 16:30-17:30 ตามเวลาท้องถิ่น ท่านได้เข้าเฝ้ากษัตริย์/อะมีรุลมุอฺมีนีน มูฮัมหมัด ที่6 ณ พระราชวังในกรุงกาซาบลังกา พร้อมร่วมงานบรรยายศาสนาในวันดังกล่าวเเละได้รับเกียรติเข้าพบเเละสลามจับมืออย่างใกล้ชิดกับพระองค์อีกด้วย

🇹🇭🇲🇦

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ

ที่มา : Bamrong Islam School Pattani – โรงเรียนบำรุงอิสลามปัตตานี


โดยทีมข่าว theustaz

มอบความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตุรเคียและซีเรีย

ในนามมูลนิธิเรือนร่างเดียวกัน ขอขอบคุณชาวมือบนทุกท่านที่ร่วมสมทบความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตุรเคียและซีเรีย 2023 ซึ่งองค์กรภาคีในพื้นที่อิดลิบ ซีเรียได้นำแจกจ่ายถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัยครั้งนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน 100 ครอบครัวๆ ละ 1,000 บาท ส่วนเงินที่เหลืออีก 55,555 บาทจะมอบเงินให้แก่เด็กเพื่อเป็นของขวัญวันอีดจำนวน 110 คน ๆ ละ 500 บาท

ส่วนเงินสมทบให้แก่สภาเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี  จำนวน 40,000 บาท ทางสภาฯ ได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน

الحمد لله الذي بنعمته تتم الصالحات

وجزاكم الله خيرا


โดย ทีมข่าว theustaz.com

‘ซัลมาน รุชดี’ นักเขียนชื่อดัง ถูกมือมีดจ้วงแทงกลางเวทีที่นิวยอร์ก

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (12 ส.ค. 2565) ตามเวลาในสหรัฐฯ รุชดีมีกำหนดขึ้นบรรยายที่เทศกาลวรรณกรรมของสถาบันชูโทกัว (Chautauqua Institution) ในขณะที่กำลังจะเริ่มพูดนั้น ชายผู้ก่อเหตุก็บุกทำร้าย ผู้เห็นเหตุการณ์อ้างว่า เขาถูกแทงถึง 10-15 ครั้ง ในเวลาไม่ถึง 20 วินาที ในส่วนลำตัวและคอ

หลังจากนั้น รุชดีถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในรัฐเพนซิลเวเนียด้วยเฮลิคอปเตอร์ ก่อนจะเข้ารับการผ่าตัด แพทย์พบตับและเส้นประสาทในแขนเสียหาย ขณะที่ผู้สัมภาษณ์บนเวที ราลฟ์ เฮนรี รีส ซึ่งถูกทำร้ายในเหตุการณ์เดียวกัน ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย และออกจากโรงพยาบาลแล้ว

ซัลมาน รุชดี วัย 75 ปีชาวอังกฤษ เชื้อสายอินเดีย ได้สร้างความโกรธแค้นในโลกมุสลิมด้วยงานเขียนของเขา เคยถูกขู่ฆ่าหลายครั้งหลังจากที่ตีพิมพ์นวนิยายที่ชื่อ ‘The Satanic Verses’ หรือ ‘โองการปีศาจ’ เมื่อปี 2531 ซึ่งมีเนื้อหาที่มุสลิมบางส่วนมองว่าเป็นการลบหลู่ศาสนาจนไม่อาจยอมรับได้

ทำให้ อยาตุลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านในขณะนั้น สั่งแบนหนังสือ และออก ‘ฟัตวา’ หรือคำวินิจฉัย ให้สังหารรุชดี พร้อมกับตั้งค่าหัวเป็นจำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ซัลมาน รุชดีได้รับการอารักขาแน่นหนาจากรัฐบาลอังกฤษ เขาไม่ค่อยปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน ยกเว้นในช่วงปลายศตวรรษที่ผ่านมา หลังจากอิหร่านประกาศยกเลิกคำฟัตวามรณะดังกล่าว

ทั้งนี้ นายซัลมาน รุชดี พลเมืองสัญชาติอเมริกัน-อังกฤษ เกิดมาในครอบครัวมุสลิมที่ไม่เคร่งครัดศาสนาในอินเดีย และประกาศตัวเป็นผู้ไม่มีศาสนา และกลายเป็นแกนนำผู้เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก โดยเฉพาะงานเขียนของเขาที่มีเจตนาจาบจ้วงศาสนาอิสลามตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา

อ้างอิง

https://www.aljazeera.net/news/2022/8/12/%D8%B4%D8%A7%D9%87%D8%AF-%D8%B3%D9%84%D9%85%D8%A7%D9%86-%D8%B1%D8%B4%D8%AF%D9%8A-%D9%8A%D8%AA%D8%B9%D8%B1%D8%B6-%D9%84%D9%84%D8%B7%D8%B9%D9%86-%D8%AE%D9%84%D8%A7%D9%84


โดย Mazlan Muhammad

อาลัยฮีโร่ที่ไม่มี “รางวัลโนเบล”

สรรสาระวันหยุด : อาลัยฮีโร่ที่ไม่มี “รางวัลโนเบล” ทีมนักเตรียมสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีเออร์โดกันของตุรกี

เมื่อวันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ตุรกีกล่าวคำอำลาเมาลานา อิดรีสเซงเกน Maulana Idris Zengin นักกวีและนักเขียนวรรณกรรมเด็กที่   เสียชีวิต ในวัย 56 ปี ขณะเข้ารับการรักษาในจังหวัด Kahramanmaraş (ทางใต้) เพื่อผ่าตัดหัวใจและเปลี่ยนตำแหน่งของหลอดเลือดทั้ง 4 เส้น  แม้ว่าแพทย์จะพยายามช่วยเหลืออย่างเต็มที่ก็ตาม และผู้ติดตามงานเขียนของเขาหลายพันคนเข้าร่วมพิธีศพที่มัสยิดสุลต่านอัยยูบ อันเก่าแก่ในอิสตันบูล

เมาลานา อิดรีสเซงเกน นักเขียนวรรณกรรมเด็กที่โดดเด่นคนหนึ่งในไม่กี่คนที่เติบโตขึ้นมาในตุรกีในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา  เกิดในปี 1966 ในเขต Andreen ของ Kahramanmaraş  เป็นผู้แต่งหนังสือสำหรับเด็กมากกว่า 70 เล่ม และหนังสือของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาเยอรมัน อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ อูรดู และฮังการี  และงานเขียนบางส่วนของเขาได้กลายเป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่ฉายทางช่องทีวี

สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งในเยอรมนีดูแลการแปลหนังสือที่เขาเขียนในชุด “Stranger Men” เป็น 9 ภาษาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการออกเป็นหนังสือ

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลวรรณกรรมสำหรับเด็ก ที่มอบให้โดย Gokyuzo Publishing House ในปี 1987 จากหนังสือกวีนิพนธ์เรื่อง “My Childhood in the Colours of Birds” รวมถึงรางวัลวรรณกรรมสำหรับเด็กจากสหภาพนักเขียนชาวตุรกีในปี 1998 จากผลงานเขียนหนังสือ “ร้านสยองขวัญ” รวมถึงรางวัลระดับนานาชาติที่นำเสนอโดยนิตยสาร “ภาษาตุรกีของฉัน” ที่ตีพิมพ์ในโคโซโว / พริซเรนในปี 2008 ที่เป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้มีส่วนสนับสนุนภาษาตุรกี

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ยังได้รับรางวัล “นักเขียนวรรณกรรมเด็กที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด” ในปี 2011 จากมูลนิธิ Berikim Foundation for Education และเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาและจัดพิมพ์หนังสือเด็ก ซึ่งก่อตั้งขึ้นภายใต้การนำของมุสตาฟา รูฮิ ชีริน หนึ่งในนักเขียนวรรณกรรมเด็กที่มีชื่อเสียงที่สุดในตุรกี

งานเขียนของเซงเกนได้รับการศึกษาวิจัยในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในกรุงไคโร  เบอร์ลิน  อิสตันบูล ชานัคคาเล และเออร์ซูรุมในตุรกี

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ได้เข้าร่วมในการประชุมและกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับวรรณกรรมสำหรับเด็กในหลายเมืองทั่วโลก รวมถึงแฟรงก์เฟิร์ต ดามัสกัส โคโลญ บูดาเปสต์  พริสตินา   ลอนดอน และปักกิ่ง และยังทำงานเป็นที่ปรึกษาและผู้แต่งสารคดีหลายเรื่อง และเป็นหนึ่งในผู้เตรียมสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีเออร์โดกันของตุรกี

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเยาวชนคนรุ่นใหม่และการปกป้องสิทธิของพวกเขา แทนที่จะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องของผู้ใหญ่  และยังได้ออกนิตยสารสำหรับเด็กชื่อ “Cheto” พร้อมหนังสือนิทาน 

นิตยสารดังกล่าวมีการตีพิมพ์บทความ บทกวี เรื่องราว ความทรงจำ และภาพวาดของเยาวชนในระดับมัธยมต้น  มัธยมปลาย และมหาวิทยาลัย โดยมีสโลแกนว่า “หากคุณมีปัญญา ก็อย่าอวดดีเลย”

อิดรีสเซงเกนเชื่อว่าจิตใจของเด็กและคนหนุ่มสาวควรถูกหล่อหลอมผ่านเรื่องราว เกมการละเล่น และแอนิเมชั่นที่สะท้อนถึงค่านิยมเฉพาะในภูมิภาคของเรา

เด็ก ๆ ของตุรกี ตลอดจนผู้ใหญ่ที่คงมีหัวใจอยู่ในวัยเด็กต่างเสียใจกับการสูญเสียอิดรีสเซงเกน ผู้มีจิตวิญญาณที่สงบ  จริงใจและสวยงาม

อิดรีสเซงเกนขึ้นครองบัลลังก์แห่งหัวใจนับพันๆดวง ด้วยบทกวีและเรื่องเล่าของเขา และมีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อวรรณกรรมสำหรับเด็กในโลกนี้ จนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายและจากโลกนี้ไป

เราสามารถสรุปบุคลิกของอิดรีสเซงเกนได้ในลักษณะเหล่านี้ : สงบ เศร้า  ใจกว้าง ร่าเริง มีสติสัมปชัญญะ ขี้อาย ฉลาด หน่อมแน้ม กังวล ล้อเล่น ใจดี และสง่างาม…

ผู้มีบุคลิกที่สวยงามมากมายเช่นเมาลานา อิดรีสเซงเกนซึ่งตะวันออกอำลาสู่ปรโลก วีรบุรุษตะวันออกที่โลกไม่รู้จักเหล่านี้ทุ่มเทความพยายามอย่างไม่ลดละเพื่อสร้างผลงานในโลกนี้ แต่น่าเสียดายที่พวกเขาจากเราไว้อย่างเงียบ ๆ โดยปราศจากการได้รับสถานะที่เหมาะสมในระดับโลก

นักเขียนชาวตะวันตกคนหนึ่งบอกว่า: “ถ้าเมาลานา อิดรีสเซงเกน เป็นนักเขียนชาวตะวันตก เขาได้รับรางวัลโนเบลสำหรับนิทานมหัศจรรย์เหล่านี้ตั้งนานแล้ว”

เช่นเดียวกับนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งตะวันออกจำนวนมาก น่าเสียดายที่ เมาลานา อิดรีสเซงเกน อพยพไปพำนักยังโลกของความเป็นอมตะ  โดยไม่ได้รับรางวัลใดๆ ในระดับโลก แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังคงเป็นวีรบุรุษในสายตาของผู้คนมากมายตลอดไป


Credit: Ghazali Benmad

งานประชุมพบปะศาสนสัมพันธ์ หัวข้อ ค่านิยมร่วมระหว่างศาสนิกชน

กรุงริยาด 11 พฤษภาคม 2565

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี เเละประธานร่วมศาสนาเพื่อสันติภาพ สภาศาสนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย เป็นตัวเเทนประเทศไทยร่วมงานประชุมพบปะศาสนสัมพันธ์ ณ กรุงริยาด ซาอุดิอาระเบีย จัดโดยองค์การสันนิบาตโลกมุสลิม

โดยงานนี้จัดขึ้นเป็นครั้งเเรก ณ กรุงริยาด มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการตกผลึกถึงมุมมองเเละวิสัยทัศน์ที่ดีทางอารยธรรมมนุษยชาติ สร้างความตระหนักร่วมกันถึงคุณค่าของดุลยภาพในสังคมมนุษย์ ส่งเสริมให้เกิดมิตรภาพ ภราดรภาพ เเละประสานความร่วมมือกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ทั้งปวง ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ส่งผลให้เกิดความขัดเเย้งกันในหมู่ศาสนิกชน อีกทั้งสร้างความตระหนักร่วมกันเเก่บรรดาผู้นำศาสนาเเละผู้นำทางความคิดทั่วโลกให้มีความเข้าใจในเรื่องสันติภาพ สมานฉันท์ เอื้ออาทรกันเเละกันของมนุษย์ชาติทุกศาสนาในโลกนี้ เพื่อพัฒนาสังคมมนุษย์ให้ดำรงอยู่กันอย่างสุขสันติที่ยั่งยืน

ในงานนี้ถือเป็นการรวมตัวของผู้ทรงคุณวุฒิจากบรรดาผู้นำศานาทุกศาสนา เช่น อิสลาม คริสต์ ยิว ฮินดู พุทธ เเละอื่นๆ ตลอดจนผู้นำทางความคิดที่ทรงอิทธิพลเเละตัวเเทนองค์กรขับเคลื่อนงานศาสนาชื่อดังจากทั่วโลก

ขอขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อ H.E. Dr. Muhammad bin Abdulkarim Al-Issa  เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลกและคณะทีมงานที่ให้เกียรติต้อนรับเเละรับรองเเขกในงานทุกท่านอย่างสมเกียรติ


Credit : A Fattah Lutfy Japakiya

การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ขั้นปกติระหว่างซาอุดิอาระเบียกับประเทศไทยสู่ศักราชแห่งมิตรภาพใหม่ที่ครอบคลุมทุกมิติแห่งความร่วมมือ

⁃          ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างสองประเทศนี้เริ่มตั้งแต่พ.ศ. 2500 โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศได้มีการเยี่ยมเยียนแลกเปลี่ยนเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี

            ⁃          การเยี่ยมเยียนของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาในวันที่ 25 มกราคม 2565 เป็นไปตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัดบินซัลมานบินอับดุลอาซีซอัลซะอูด มกุฏราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย เพื่อเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์ที่ดีที่ครอบคลุมทุกมิติแห่งความร่วมมือทั้งในเวทีระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

            ⁃          ซาอุดิอาระเบียร์มีความยินดีรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศนี้และยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตโดยจะมีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำเมืองหลวงของทั้งสองประเทศในอนาคตอันใกล้

            ⁃          ประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ฉันมิตรครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ ที่ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราชอาณาจักรทั้งสอง

            ⁃          การรื้อฟื้นความสัมพันธ์อย่างปกติระหว่างสองประเทศนี้ได้ส่งสัญญาณให้ส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ครอบคลุมทุกสาขา ได้แก่ด้านการเมือง ความมั่นคง อุตสาหกรรมการค้า เศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวและเกษตรกรรม รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมและการขนส่งเพื่อการค้าและการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาล การเปิดโอกาสด้านการลงทุนให้เป็นไปตามพระราชวิสัยทัศน์ 2030 อันเข้มแข็งของประเทศซาอุดีอาระเบียและสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติและวาระการพัฒนาแห่งชาติของประเทศไทย

            ⁃          รัฐบาลซาอุดิอาระเบียตระหนักและให้ความสำคัญกับกิจการของชาวมุสลิมในประเทศไทยโดยเฉพาะเรื่องการสร้างมัสยิด ศูนย์อิสลาม การพิมพ์แจกอัลกุรอาน โครงการละศีลอด การแจกจ่ายอินทผาลัมและมอบทุนการศึกษา

            ⁃          ซาอุดิอาระเบียสนับสนุนด้านงบประมาณโครงการผู้พิทักษ์สองมัสยิดอันทรงเกียรติกษัตริย์ซัลมาน บินอับดุลอาซีซอัลซะอูด ที่เมืองมะดีนะตุสสลาม จังหวัดปัตตานี

            ⁃          ซาอุดิอาระเบียได้ส่งออกสินค้าเข้าประเทศไทยในปี 2020 มูลค่า 4,000 ล้านดอลล่าร์ ในขณะที่ประเทศไทยได้ส่งออกสินค้าไปยังซาอุดิอาระเบียมูลค่า 1.65 พันล้านดอลล่าร์ 

            ⁃          ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนสินค้าของทั้งสองประเทศนี้ มีมูลค่าสูงถึง 18,000 ล้านดอลล่าร์

ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online
ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online
ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online
ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online

ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online

อ่านข่าวเพิ่มเติม


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

นสพ. อังกฤษโจมตีแอร์โดอาน

หนังสือพิมพ์อังกฤษ Financial Times 

ฉบับวันที่ 29 พ.ย. 64 กล่าวโจมตีแอร์โดอาน เนื่องจากค่าเงินลีร่าดิ่งต่ำเป็นประวัติการณ์ หลังแบงค์ชาติตุรกีหั่นดอกเบี้ย ทำให้เงินลีร่าทรุดตัวลงกว่า 40 % นับตั้งแต่ต้นปีนี้

หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ได้พาดหัวข้อข่าวกล่าวถึงแอร์โดอานว่า “ จะอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีนานแค่ไหน”

ปธน. แอร์โดอานได้ออกมาหนุนนโยบายดอกเบี้ยต่ำ และปกป้องการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของรัฐบาล

ปธน.เออร์โดอาน กล่าวว่า ตุรกีจำเป็นต้องมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นการส่งออก การลงทุน และการจ้างงาน แม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นเกือบ 20% และค่าเงินลีราดิ่งลงก็ตาม

ปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อในตุรกีพุ่งขึ้นแตะระดับ 19.89% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี และสูงกว่าระดับเป้าหมาย 5% ที่ธนาคารกลางกำหนดไว้ถึง 4 เท่า

สถานการณ์ในตุรกีทำให้หุ้นธนาคารในยุโรปพากันร่วงระนาวเมื่อต้นสัปดาห์เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลว่า วิกฤตค่าเงินตุรกีอาจลุกลามประเทศอื่น ๆ ในยุโรป

แหล่งข้อมูล


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

สหรัฐฯ เชิญ 110 ชาติ ร่วมซัมมิตประชาธิปไตย

สหรัฐฯ ส่งเทียบเชิญ 110 ประเทศและดินแดนทั่วโลก รวมถึงไต้หวัน เข้าร่วมประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย สร้างความไม่พอใจให้จีน ขณะที่การเชิญครั้งนี้ไม่มีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย ในขณะที่โลกอาหรับมีเพียงประเทศอิรักที่ได้รับเชิญ

สำนักข่าว CNN รายงานว่า กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยรายชื่อประเทศและดินแดนที่ได้รับเทียบเชิญเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย (Summit for Democracy) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณค่าทางประชาธิปไตย และการยกระดับสิทธิมนุษยชนทั่วโลก โดยมีการทยอยส่งบัตรเชิญออนไลน์ให้แก่ผู้เข้าร่วม 110 คน มีทั้งผู้นำและตัวแทนระดับสูงแทนผู้นำ

รายชื่อดังกล่าวประกอบด้วย 110 ประเทศและดินแดน รวมทั้งไต้หวัน แต่ไม่มี จีนกับรัสเซีย โดยจะเป็นการประชุมทางไกลในวันที่ 9-10 ธ.ค. 2564

อนึ่ง สำหรับในทวีปเอเชีย สหรัฐฯ เชิญพันธมิตรอย่าง ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ แต่ไม่มีประเทศไทยและเวียดนาม นอกจากนั้นยังไม่มีชื่อของอียิปต์ และชาติสมาชิกนาโตอย่างตุรกีด้วย ขณะที่ในตะวันออกกลาง มีเพียงอิรักและอิสราเอลที่ได้รับการเทียบเชิญ

รายชื่อประเทศ

https://www.state.gov/participant-list-the-summit-for-democracy/

อ้างอิง

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2250061


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ