สมาคมจันทร์เสี้ยวฯ ขอรับบริจาคอุปกรณ์การแพทย์หรือเงิน เพื่อดูแลผู้ติดเชื้อ COVID19 ชายแดนใต้

สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข เป็นกลุ่มแพทย์จากโรงพยาบาลใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นศูนย์กลางขอรับบริจาคอุปกรณ์การแพทย์หรือเงินให้กับโรงพยาบาลชุมชนที่ ขาดแคลน เพื่อใช้ดูแลผู้ติดเชื้อ COVID 19 ดังนี้

  • หน้ากาก N95
  • ชัด PPE
  • เจลแอลกอฮอล์
  • Surgical mask
  • Termometer(แบบยิงตรวจ)และอื่นๆ

ติดต่อสอบถาม
นพ.กิฟลัน ดอเลาะ 083-6547989
นพ.โนรมาน อัฮหมัดมูซา 080-5414497
ภก.อิทธิพล แวมิง 085-0789799

ร่วมบริจาคโครงการ “ร่วมห่วงใย สู้ภัยโควิด19”

“ร่วมห่วงใย สู้ภัยโควิด”

รับบริจาค
300 บาท สำหรับถุงยังชีพเพื่อช่วยครอบครัวในภาวะวิกฤติ
15 บาท สำหรับผลิตและแจกหน้ากากแบบผ้า
50 บาทสำหรับเจลล้างมือ ขนาด 50 ml

บริจาคได้ที่
บัญชีเลขที่ 030-1-43378-6 ธนาคารกสิกรไทย
ชื่อบัญชี่ เพื่อ กองทุนเพื่อผู้ประสบภัย

บัญชีเลขที่ 932-1-3-10191-5 ธนาคารกรุงไทย
ชื่อบัญชีสถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

โทร 0895971230 คุณอับดุลการีม อัสมะแอ

ติดตามความเคลื่อนไหว ได้ที่ เพจ พัฒนาสังคมและสวัสดิการ สถาบันอัสสลาม

ยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสะสมในประเทศไทย

“มัสยิดสะอาด ปราศจาก covid-19”

ด้วยสถานการณ์ covid-19 ที่กำลังระบาดอยู่ทั่วโลก

และกำลังเข้าใกล้เรามากขึ้นเรื่อยๆ จนล่าสุดมีกรณีกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่สามจังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

จากข้อมูลทางวิชาการที่เรามีอยู่ ณ ตอนนี้ ทำให้ทางเราเป็นกังวลเรื่อง การติดต่อของโรคในหลายๆสถานที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ปฏิบัติศาสนกิจ ที่เราต่างเข้าออกเป็นประจำโดยเฉพาะในการละหมาดวันศุกร์

หลังจากได้มีการประชุมทีมงานสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุขวาระเร่งด่วน ทางสมาคมจึงคิดว่าจะต้องทำโครงการเชิงรุกเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ covid-19

ทางสมาคมจึงได้ทำโครงการ
“มัสยิดสะอาด ปราศจาก covid-19”

โดยทางสมาคมจะจัดส่งตัวแทนอาสาสมัครที่มีความรู้ทางสาธารณสุขไปให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวตามมัสยิดต่างๆ โดยเน้นพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงก่อน

หลังจากนั้นจะมอบ น้ำยาล้างมือ หัวปั๊มล้างมือ โปสเตอร์การปฏิบัติตัว โปสเตอร์แนะนำการล้างมือที่ถูกต้อง ให้กับมัสยิดดังกล่าว

และหลังจากนั้น จะแนะนำให้มัสยิดดังกล่าว แบ่งเงินบริจาคในช่วงวันศุกร์มาซื้อน้ำยาล้างมือ เพื่อเติมในปั๊มล้างมือ

ตอนนี้ทางสมาคมมีงบประมาณในส่วนนี้จำนวน 30,000 บาท ซึ่งจะสามารถมอบแก่มัสยิดได้เพียง 10 หลังเท่านั้น แต่เป้าหมายของสมาคมคือมัสยิดจำนวน 100 หลัง ซึ่งต้องใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 300,000 บาท และเกิดเป็นกระแสการรักษาความสะอาดตามหลักการทางการแพทย์ที่มัสยิด จนกลายเป็นบรรทัดฐานของมัสยิดในบ้านเรา Inshaa allah

จึงขอสนับสนุนจากพวกเราทุกคน เพื่อจะได้เพิ่มจำนวนมัสยิดที่ร่วมโครงการ และช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ต่อไป

ฝากทุกท่านช่วยแชร์หรือเอารูปไปโพสต์ต่อด้วยนะครับ

ที่มา : https://www.facebook.com/kif.lan.3/posts/10217351968487542

Cr. มัสยิดอัลฟุรกอน เพชรสุภา

มหกรรมแสดงสินค้าไทย – มาเลเซีย 2020 ณ ศูนย์การค้า ASEAN MALL PATTANI

          งานแสดงสินค้าในครั้งนี้เป็นโครงการที่จัดโดยศูนย์การค้า ASEAN Mall ร่วมมือกับกลุ่มบริษัท UNITI.ASIA , UNITI College Resources (M) Sdn Bhd. และได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ FAMA, Kedah Entrepreneur Development Unit (UPUK), MARA Kedah, SME Corp, KEDA, PKNK, Department of agriculture, MADA, Angkasa, และ MTRADE. ศูนย์การค้า ASEAN Mall ได้ถูกเลือกให้เป็นศูนย์กลางในการจัดงานครั้งนี้

          ศูนย์การค้า ASEAN Mall นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการของมาดีนะตุสสลาม (โครงการปัตตานี จายา)  ผลักดันสินค้าขยายสู่ตลาดนานาชาติ

          จังหวัดปัตตานีได้ถูกเลือกเพื่อเป็นสถานที่จัดงาน และพัฒนาตลาดสินค้าฮาลาล ด้วยเหตุผลที่ว่าคนในพื้นที่สามารถพูดภาษามลายู ภาษาไทย และภาษาอาหรับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ หรือแม้กระทั่งอินโดนีเซียได้พัฒนาสินค้าของตัวเองสู่ตลาดในจังหวัดปัตตานีได้

          การจัดมหกรรมแสดงสินค้าในครั้งนี้เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการได้มีโอกาสที่จะแนะนำสินค้าของตัวเองสู่ตลาดท้องถิ่นในประเทศไทยและระดับนานาชาติ นอกเหนือจากนั้นเพื่อรองรับการขยายตัวของสินค้าฮาลาลในภาคใต้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีทางเลือกและเพิ่มความมั่นใจในการบริโภคมากขึ้น ตลอดจนสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการในการขยายตลาดสู่ระดับนานาชาติ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยภาพรวมเข้มแข็งขึ้น

วัตถุประสงค์ของงานแสดงสินค้า

          1.เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการไทย,มาเลเซียและประเทศต่างๆในภูมิภาคอาเซียนในการได้รับความนิยมของลูกค้าในประเทศไทยและจากกลุ่มอื่นในเอเซีย
          2. เพื่อให้ศูนย์การค้าอาเซียนมอลล์เป็นศูนย์กลางของผลิตภัณฑ์ฮาลาลจากสมาชิกประเทศในภูมิภาคอาเซียนและเพื่อผลักดันให้เป็นตลาดนานาชาติ
          3. เพื่อแนะนำศูนย์การค้าอาเซียนมอลล์สู่ตลาดโลก
          4. เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้ามาศึกษาในโปรแกรมการจัดการในระดับนานาชาติ             5.เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาเซียน

กลุ่มเป้าหมาย

          1. ผู้ประกอบการขนาดย่อม SME จากภาคเหนือของมาเลเซีย
          2. ผู้ผลิตสินค้าจากชุมชนในจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส
          3. บริษัทห้างร้านจากประเทศต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน

  ระยะเวลาในการจัดโครงการ

                ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2563

 สถานที่จัดโครงการ

                ณ  ศูนย์การค้า ASEAN MALL PATTANI  ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

 การดำเนินงาน/ลักษณะกิจกรรม

          1. การจัดแสดงร้านค้า จากประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน
          2. การจัดนิทรรศการ ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว Business Talk
          3. การแข่งขันขับร้องอนาชีด ทำอาหาร ระบายสี จาก Gubaha และจาก Artera
          4. กิจกรรมนันทนาการ ได้แก่ อนาชีด ยิงธนู และเตะลูกโทษ
          5. การบรรยายวิชาการ

 โปรแกรม/รูปแบบกิจกรรม

          1.การเจรจาทางธุรกิจ วันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2563
          2. เปิดงานมหกรรมแสดงสินค้าสู่สาธารณะ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2563

          ภาคพิธีการเปิดงาน วันที่ 1 มีนาคม 2563
โดยมีนายนิพนธ์  บุญญามณี เป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิด

หน่วยงานสนับสนุน

          1.สำนักงานพัฒนารัฐเคดาห์ “Kedah Regional Development Authority (KEDA)”
          2.หน่วยงานพัฒนาผู้ประกอบการรัฐเคดาห์ “Kedah Entrepreneur Development Unit (UPUK)”
          3. สำนักงานสภาประชาชนรัฐเคดาห์ “Majlis Amanah Rakyat (MARA) Kedah”
          4.สำนักงานตลาดการเกษตรรัฐเปอร์ลีส “Federal Agricultural Marketing Authority (FAMA)  Perlis”
          5. หน่วยงานวางแผนเศรษฐกิจรัฐเปรัก “Unit Perancangan Ekonomi Negeri (UPEN) Perak”
          6. สำนักงานตลาดการเกษตรสือลายัง “Federal Agricultural Marketing Authority (FAMA) Selayang”

ความเป็นมาของ อาเซียน มอลล์

          ประวัติความเป็นมา หรือ แนวคิดในการจัดตั้งธุรกิจ ประวัติความเป็นมาของโครงการ ประวัติของกิจการ/ผู้เริ่มกิจการ

แนวความคิดในการก่อตั้งกิจการ การเปลี่ยนแปลงของกิจการ ความสำเร็จ/อุปสรรคที่ผ่านมา

          โครงการปัตตานีจายา(โครงการมะดีนะตุสสลาม) เป็นแผนพัฒนาที่รอบคลุมตามรูปแบบทางเศรษฐกิจที่รวม วากัฟ และการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นของจังหวัดปัตตานีโดยเฉพาะในภาคใต้ของประเทศไทย

          แนวคิดแรกของโครงการปัตตานีจายา(โครงการมะดีนะตุสสลาม)ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ในปี พ.ศ.2548 โดยเป็นแผนขยายมหาวิทยาลัยซึ่งรวมถึงคณะต่างๆ ที่ยังไม่เพียงพอและรวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น โรงพยาบาลและสำนักงาน หลังจากที่เริ่มต้น การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้รับมอบหมายให้บริษัท ปัตตานีจายาคอมเมอร์เซียล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างนักลงทุนชาวมาเลเซียและนักลงทุนชาวไทย

รูปแบบของห้างมีอะไรบ้างในการให้บริการ

          1.Super market
          2.Food Court
          3.Brand Shop
          4.พื้นที่เช่างานEvent
          5.พื้นที่เช่าห้องประชุม
          6.ร้านค้าเช่า

          จึงขอเรียนเชิญทุกท่าน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานภาคีเครือข่าย สถานศึกษา และพี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่า เข้าร่วมงานประวัติศาสตร์ครั้งนี้ตามวันเวลาดังกล่าวโดยพร้อมเพรียงกัน