ประธานาธิบดีซีเรียและภรรยาติดเชื้อโควิด-19

Breaking News

AlJazeera.net แพร่ข่าวระบุว่า สำนักประธานาธิบดีซีเรียแถลงว่านายบัชชาร์ อะสัด ประธานาธิบดีซีเรียและภรรยาติดเชื้อโควิด-19 และถูกกักตัวในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงดามัสกัส


แหล่งข่าว AlJazeera

ชาวฝรั่งเศสประท้วงต่อต้านความรุนแรงของบิดาและการละเลยต่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ

ชาวฝรั่งเศสนับหมื่นรวมตัวกันที่กรุงปารีส เพื่อประท้วงความรุนแรงในครอบครัว โดยเฉพาะจากบิดา นอกจากนี้พวกเขายังชูป้ายประท้วงการละเลยของศาลที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อคดีการล่วงละเมิดทางเพศ

นี่คือวิกฤตของสังคมยุโรปที่สำลักอาการประชาธิปไตยอย่างไร้ของเขตและมัวเมาในกามารมณ์ พวกเขาใช้ประชาธิปไตยเพื่อบูชาอารมณ์และกดขี่ผู้อ่อนแอภายใต้วาทกรรมสิทธิ์เสรีภาพเท่านั้น

น่าแปลกที่ชาวโลกพากันยกย่องคุณค่าที่ยืนอยู่บนขาเดียว (โลกนิยม) ทั้งๆ ที่มนุษย์ปกติต้องยืนอยู่บนสองขา (โลกนี้และโลกอาคิเราะฮ์)


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ออสเตรเลียฆ่าอูฐกว่า 10,000 ตัวอ้างดื่มน้ำมากเกินไป

อูฐนับ 10,000 ตัว กำลังถูกฆ่าตายในเขตภัยแล้งของประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากอูฐกำลังเป็นอันตรายต่อชาวบ้าน

สำนักข่าว CNN รายงานว่า เจ้าหน้าที่ชาวอะบอริจินในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐเซาท์ออสเตรเลียอนุมัติให้มีการฆ่าอูฐ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 5 วันในการฆ่าอูฐกว่า 10,000 ตัว ซึ่งอูฐเหล่านี้จะถูกยิงโดยนักยิงปืนมืออาชีพบนเฮลิคอปเตอร์ ในพื้นของ Anangu Pitjantjatjara Yankunytjatjara (AYP)  เนื่องจากอูฐ ดื่มน้ำมากจนเกินไปในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญทั้งไฟป่าและแห้งแล้งแบบนี้

อาลี สุลฏอนอัลฮาจิรีย์ ชาวกาตาร์ ได้เดินทางไปยังออสเตรเลียเพื่อค้นหาคำตอบที่แท้จริงของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ประชากรอูฐ ณ แดนจิงโจ้

เขาเล่าถึงตัวเองว่า ได้จบการศึกษาสาขาบัญชีจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสสหรัฐอเมริกา และบรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งนักบัญชี แต่เขายังหลงเสน่ห์กับอูฐและการใช้ชีวิตในทะเลทราย เขายังผูกพันกับอูฐหลายร้อยตัวที่เขาเลี้ยงอย่างเอาใจใส่ ชนิดที่อูฐแต่ละตัวมีชื่อเรียกเฉพาะของมัน

อัลฮาจิรีย์เล่าว่า เมื่อเขาทราบว่าที่ออสเตรเลียมีการฆ่าอูฐนับ 10,000 ตัวต่อปี ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางหาความจริงที่ออสเตรเลียทันที

เขาพบว่า ประชากรอูฐที่ออสเตรเลียถูกนำเข้าครั้งแรกจากปากีสถานกลางศตวรรษที่ 19 พร้อมคนเลี้ยง เพื่อใช้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้าและเป็นสัตว์พาหนะ แต่เมื่อประเทศมีความเจริญและมีระบบขนส่งเหมือนปัจจุบัน อูฐจึงเป็นสัตว์ที่ไม่มีประโยชน์อีกต่อไป จึงถูกปล่อยโดยไม่มีการเลี้ยงดู ทำให้อูฐต้องอาศัยตามทะเลทรายและมีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ที่ประมาณกันว่า ในรัฐเซาท์ออสเตรเลียมีประชากรอูฐจำนวนกว่า 1 ล้านตัว บางครั้งฝูงอูฐได้ทำลายไร่สวนของชาวบ้านและดื่มน้ำจากต้นลำธารที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ทำให้รัฐบาลออสเตรเลียใช้มาตรการกำจัดอูฐด้วยการร่างกฎหมายให้ฆ่าอูฐได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

อัลฮาจิรีย์กล่าวว่า  มาตรการกำจัดประชากรอูฐของรัฐบาลออสเตรเลีย เป็นมาตรการที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากอูฐให้คุณค่ามหาศาลทางเศรษฐกิจ อาหารสุขภาพและประโยชน์อื่นๆมากมาย แต่รัฐบาลออสเตรเลียกลับมองข้ามเรื่องนี้และถือว่าเป็นตัวสร้างปัญหาให้กับประเทศชาติ

ยุคนบีศอลิห์ ชาวษะมูดได้ท้าทายนบีศอลิห์ด้วยการให้ท่านขอพรจากพระเจ้าให้ประทานอูฐที่มาจากก้อนหินขนาดใหญ่ตามคุณสมบัติที่พวกเขากำหนด เมื่ออูฐได้ปรากฏตัวจริงตามคำขอ พวกเขาถูกกำชับให้เลี้ยงดูอูฐตัวเมียตัวนั้นอย่างดี แต่แทนที่พวกเขาจะปฏิบัติตาม พวกเขาฆ่าอูฐตัวนั้น ด้วยเหตุผลว่าอูฐแย่งน้ำดื่มของพวกเขา ทำให้พวกเขาประสบภาวะขาดแคลนน้ำเพื่อบริโภคและอุปโภค

อูฐออสเตรเลีย ก็โดนข้อหาใกล้เคียงกัน ทั้งๆที่ในอดีต รัฐบาลออสเตรเลียได้นำเข้าประชากรอูฐที่ขนย้ายไกลมาจากปากีสถาน

https://www.youtube.com/watch?fbclid=IwAR3v4fW5Q22-et2bYa705Fv-6rETWyMUivailHE2uHmZUJ6zvCeR-aGuP0E&v=KQz2k86frs4&feature=youtu.be

อ้างอิง

https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/117354?fbclid=IwAR2NAxOV7Zr29pHsdAxBoRWM7iVbUpMKeiEPXZbrDm0RhJ8rpaAqPy30qn4

โดย Mazlan Muhammad

ตุรกีเชิดชูตำรวจ 3 นายปฏิเสธเงินใต้โต๊ะจากแก๊งค์อาชญากรรม

สถานีตำรวจภูธรจังหวัดโกลาจี เมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือตุรกี ได้เชิดชูตำรวจ 3 นายที่ปฏิเสธรับเงินสินบนจำนวน 7 แสนลีร่า ( ประมาณ 3.5 ล้านบาท) จากแก๊งค์อาชญากรรม

ผู้ต้องหารายหนึ่งถูกจับกลุ่มในข้อหาปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารทางการเงิน ซึ่งได้ติดสินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยเงินสดจำนวน 3 แสนลีร่าและเรือมูลค่า 4 แสนลีร่า เพื่อแลกกับการปล่อยตัว

สถานีตำรวจภูธร ได้เปิดคลิปเสียงบันทึกการสนทนา ซึ่งผู้ต้องหาพูดว่า “ผมไม่ใช่ผู้ร้าย ผมไม่ขโมยและไม่เคยค้ายาเสพติด มันเป็นเรื่องของธนาคารปล่อยผมและผมจะบอกว่าผมหนีจากการคุมตัว ผมจะโอนเข้าบัญชีของพวกคุณทันที”

ตำรวจนายหนึ่งตอบว่า “เราจะไม่แตะต้องเงินบาปนี้ ผมจะบอกอะไรคุณ หากเรารับเงินนี้ เราไม่มีเกียรติใดๆเลย

จากนั้น ชายคนนั้นถูกนำตัวไปโรงพักและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อมา สถานีตำรวจภูธรจังหวัดโกลาจี ได้จัดพิธีเชิดชูตำรวจทั้ง 3 นายดังกล่าว พร้อมมอบรางวัลและเกียรติบัตรเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป


อ้างอิง

โดยทีมงานต่างประเทศ

เหตุการณ์ผ่านไป 1 ปี เหยื่อแผ่นดินไหวมีบ้านพักฟรี

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2021 เป็นวันครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเอลาซิก เมืองทางภาคตะวันออกของตุรกี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาคารบ้านเรือนเสียหายยับเยิน

รัฐบาลตุรกีประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติพร้อมระดมความช่วยเหลือทั้งด้านการแพทย์ หน่วยกู้ภัยและอาสาสมัครต่างทำงานหนักเพื่อบรรเทาทุกข์แก่เพื่อนร่วมชาติที่ประสบภัยครั้งนี้

ประธานาธิบดีแอร์โดอานประกาศว่ารัฐบาลจะสร้างที่พักใหม่ให้แก่ผู้ประสบภัยภายใน 1 ปี และในวันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2021 รัฐบาลได้ปฏิบัติตามสัญญาด้วยการมอบบ้านใหม่ฟรีให้แก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวครั้งนี้จำนวน 8,000 ยูนิค

เหตุร้ายผ่านไปแล้ว ความสูญเสีย ไม่มีวันกลับคืน แต่ชีวิตที่ปลอดภัย ก็ต้องต่อสู้ต่อไป

ปลื้มใจแทนชาวตุรกีจริงๆ


อ้างอิง

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีหญิงสหรัฐคนใหม่ผู้เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์การเมือง ของสหรัฐฯ

ชัยชนะของพรรคเดโมแครตทำให้แฮร์ริสสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่กว่า 200 ปีของสหรัฐไปโดยสิ้นเชิง ด้วยการเป็นผู้หญิงคนแรกและคนผิวสีชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียคนแรก ที่ได้รับเลือกให้เป็นรองประธานาธิบดีของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา

รองประธานาธิบดีวัย 56 ปีเกิดที่เมืองโอคแลนด์ในรัฐแคลิฟอร์เนียในครอบครัวผู้อพยพ มีแม่ชาวอินเดียและ พ่อชาวจาไมกาที่เป็นศาสตรจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ หย่าร้างกันเมื่อเธออายุเพียง 5 ขวบ

และหลังจากนั้นแฮร์ริสก็ได้รับการเลี้ยงดูโดย คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่พ่วงด้วยตำแหน่งนักวิจัยมะเร็งและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนมาตลอด ซึ่งต่อมาแม่เธอเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อปี 2009

หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลับฮาวเวิร์ดในกรุงวอชิงตันดีซีในปี 1986 และโรงเรียนกฎหมายแฮสติงส์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในปี 1989 แฮร์ริสก็สอบผ่านเนติบัณฑิตในปีต่อมาและเข้าทำงานเป็นอัยการผู้ช่วยในเขตแอละมีดาในรัฐแคลิฟอร์เนียบ้านเกิด

เส้นทางสู่สายการเมืองของแฮร์ริสได้เริ่มขึ้น ณ ที่แห่งนี้

ปี 2003 แฮร์ริสได้รับเลือกให้เป็นอัยการเขตของซานฟรานซิสโก กลายเป็นผู้หญิงผิวดำคนแรกในแคลิฟอร์เนียที่ได้รับตำแหน่งนี้

ต่อมาในปี 2010 เธอเป็นผู้หญิงผิวสีคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นอัยการสูงสุดรัฐแคลิฟอร์เนีย และปี 2016 เธอเป็นผู้หญิงผิวสีคนที่สองและเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียใต้คนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นวุฒิสมาชิกของสหรัฐ

โจ ไบเดนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 20 มกราคม 2021 ในวัย 78 ปี ถือเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ที่หลายฝ่ายเชื่อว่าเขาน่าจะอยู่ในตำแหน่งนี้เพียงแค่วาระเดียว โดยที่นางแฮร์ริส อาจเป็นประธานาธิบดีหญิงผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ ในกรณีที่โจ ไบเดนเสียชีวิตหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยใช้บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ 25 เปิดทางโอนอำนาจให้รองประธานาธิบดีไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือตลอดไป


ขอบคุณข้อมูล

https://www.posttoday.com/world/637506?fbclid=IwAR3SqV4zFBObKhhwnINJMjX-yo7OTw_quFg0p5v_1A2oZCESe53TuWd7dZ0

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

16 คุณูปการของทรัมป์ต่ออิสราเอล 16 ความอัปยศของประชาชาติมุสลิม

ตลอดระยะเวลา 4 ปี ในตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายโดนัลด์ ทรัมป์ได้สร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงให้แก่อิสราเอล 16 ประการ ซึ่งเป็น 16 ประการของความอัปยศของประชาชาติมุสลิมโดยเฉพาะชาวปาเลสไตน์และชาวซีเรีย ทั้ง 16 ประการนี้ นอกจากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ยังเป็นการทำลายศักดิ์ศรีของชาวปาเลสไตน์และขาวซีเรียโดยสิ้นเชิง

16 ประการนี้ได้แก่

          1.      การรับรองอัลกุดส์เป็นเมืองหลวงอิสราเอล

เมื่อ 6 ธันวาคม 2017 โดนัลด์ ทรัมป์ประกาศรับรองอัลกุดส์เป็นเมืองหลวงอิสราเอลอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชาติมุสลิมทั่วโลก

          2.      ยุติการเรียก”แผ่นดินที่ถูกยึดครอง”ในเขตเวสต์แบงค์และฉนวนกาซ่า

เมื่อ 20 เมษายน 2018 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯได้ประกาศยกเลิกการเรียก”แผ่นดินที่ถูกยึดครอง” โดยเรียกเขตเวสต์แบงค์และฉนวนกาซ่าแทน

          3.      ย้ายสถานทูตสหรัฐฯจากเทลอาวีฟไปยังอัลกุดส์

เมื่อ 14 พฤษภาคม 2018 ทรัมป์ออกคำสั่งย้ายสถานทูตสหรัฐฯจากเทลอาวีฟไปยังอัลกุดส์ ซึ่งถือเป็นสถานทูตต่างชาติแห่งแรกที่ได้รับการสถาปนาที่เมืองอัลกุดส์

          4.      ยุติความช่วยเหลือด้านการเงินแก่รัฐบาลปาเลสไตน์

เมื่อ 2 สิงหาคม 2018 รัฐบาลสหรัฐฯประกาศยุติการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลปาเลสไตน์ โดยทรัมป์อ้างว่า เพื่อกดดันให้รัฐบาลปาเลสไตน์ยอมรับมาตรการของอิสราเอลที่สร้างนิคมตนเองในพื้นที่ชาวปาเลสไตน์

          5.      ตัดงบประมาณความช่วยเหลือทางการเงินแก่ UNRWA

เมื่อ 3 สิงหาคม 2018 รัฐบาลสหรัฐฯประกาศตัดงบประมาณสนับสนุนสำนักงานบรรเทาทุกข์และจัดหางานแห่งสหประชาชาติสำหรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้ (UNRWA) ซึ่งสหรัฐฯคือผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดที่ให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรนี้ โดยสหรัฐฯสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้สวัสดิการด้านการศึกษา พยาบาลและอื่นๆ กว่า 300 ล้านดอลล่าร์ต่อปี

          6.      ตัดงบประมาณให้ความช่วยเหลือแก่โรงพยาบาลชาวปาเลสไตน์ที่อัลกุดส์ตะวันออก

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2018 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศยุติการสนับสนุนทางการเงินแก่โรงพยาบาลปาเลสไตน์จำนวน 6 แห่งที่ให้บริการแก่ชาวปาเลสไตน์ ในเขตอุลกุดส์ตะวันออก

          7.      ปิดสำนักงาน องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ PLO ที่กรุงวอชิงตัน

วันที่ 10 กันยายน 2018 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศปิดสำนักงานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ PLO ที่กรุงวอชิงตันพร้อมขับไล่เจ้าหน้าที่และคนงานออกจากสำนักงาน

          8.      ยุบสถานกงสุลสหรัฐฯที่เมืองอัลกุดส์

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2019 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศยุบสถานกงสุลสหรัฐฯ ที่อัลกุดส์ โดยผนวกรวมให้อยู่ภายใต้การบริหารของสถานทูตสหรัฐฯที่เมืองอัลกุดส์แทน

          9.      รับรองอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลเหนือที่ราบสูงโกลาน

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2019 ทรัมป์ประกาศรับรองอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลเหนือที่ราบสูงโกลานที่อิสราเอลยึดครองจากซีเรียเมื่อสงคราม 6 วัน ปีค.ศ. 1967 และในโอกาสนี้อิสราเอลได้เปลี่ยนชื่อที่ราบสูงโกลานเป็นที่ราบสูงทรัมป์ทรัมป์แทน

          10.    ยกเลิกนับจำนวนนิคมอิสราเอลที่ผิดกฎหมาย

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2019 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ออกประกาศว่าจะไม่มีการนับจำนวนนิคมสร้างตนเองอิสราเอลที่สร้างขึ้นอย่างผิดกฎหมายในบริเวณที่อยู่อาศัยของชาวปาเลสไตน์

          11.    ประกาศแผนสันติภาพข้อตกลงแห่งศตวรรษ

วันที่ 28 มกราคม 2020 ทรัมป์ประกาศแผนสันติภาพ”ข้อตกลงแห่งศตวรรษ” ที่มีเป้าหมายยุติความขัดแย้งและกดดันให้ชาวปาเลสไตน์ยอมรับอธิปไตยของอิสราเอลเหนืออัลกุดส์ฝั่งตะวันออกและพื้นที่อีก 30 % ในเขตเวสต์แบงค์

          12.    รณรงค์แผนดำเนินงาน “การรื้อฟื้นความสัมพันธ์อย่างปกติ”ระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอล

เดือนกันยายน 2020 ทรัมป์ประกาศแผนสันติภาพ “การรื้อฟื้นความสัมพันธ์อย่างปกติ” ระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอลโดยมีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์บาห์เรน ซูดานและมอร็อกโก เป็น 4 ชาติอาหรับนำร่องจับมือกับอิสราเอลดำเนินตามแผนสันติภาพนี้

          13.    ให้ความคุ้มครองเขตนิคมสร้างตนเองของอิสราเอล

วันที่ 28 ตุลาคม 2020 อิสราเอลและสหรัฐอเมริกาได้บรรลุข้อตกลงให้ความคุ้มครองเขตนิคมสร้างตนเองของอิสราเอลที่สร้างขึ้นในเขตเวสต์แบงค์ฝั่งตะวันตกและที่ราบสูงโกลาน

          14.    อนุญาตให้ชาวสหรัฐฯที่อาศัยที่เมืองกุดส์แจ้งเกิดลูกว่าถือกำเนิดที่ประเทศอิสราเอล

วันที่ 29 ตุลาคม 2020 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐประกาศอนุญาตให้ทารกแรกเกิดของชาวสหรัฐอเมริกาที่ถือกำเนิดที่เมืองอัลกุดส์ ให้สามารถระบุในหนังสือเดินทางว่ากำเนิดที่ประเทศอิสราเอล

          15.    ประกาศว่า กิจกรรมที่ดำเนินการโดยกลุ่มเคลื่อนไหวทั่วโลกเพื่อรณรงค์คว่ำบาตร ลดการลงทุนและลงโทษต่อประเทศอิสราเอล (Boycott,Divestment and Sanction)

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐประกาศว่าแคมเปญ ที่ดำเนินการโดยกลุ่มเคลื่อนไหวทั่วโลกเพื่อรณรงค์คว่ำบาตร ลดการลงทุนและลงโทษต่อประเทศอิสราเอล (Boycott,Divestment and Sanction) จนกว่าอิสราเอลจะยอมปฏิบัติตามกฏหมายระหว่างประเทศและยอมรับสิทธิของชาวปาเลสไตน์ที่ริเริ่มโดยชาวปาเลสไตน์ในปี ค.ศ. 2005 ว่า เป็นมาตรการที่ไร้จรรยาบรรณและถือเป็นกิจกรรมที่เป็นศัตรูต่อคุณค่าอันสูงส่ง

          16.    ติดสติ๊กเกอร์บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในเขตนิคมสร้างตนเองว่าผลิตจากอิสราเอล

วันที่ 24 ธันวาคม 2020 สหรัฐอเมริกาเริ่มใช้สติ๊กเกอร์บนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในเขตนิคมสร้างตนเองว่าผลิตมาจากอิสราเอล ทั้งๆที่เขตนิคมดังกล่าวถูกสร้างบนพื้นที่ของชาวปาเลสไตน์ที่อิสราเอลยึดครองอย่างผิดกฎหมายสากล

https://www.facebook.com/masjidabibakrphatna/videos/504118867390503

อ้างจาก

https://www.aljazeera.net/news/2021/1/20/هذه-مكاسب-إسرائيل-في-عهد-ترامب-على-حساب?fbclid=IwAR1zZgc7ouAv1JqO3S-mJ8cupCOOR_0X364aWDCHphZIuaK2tKgc2cztKcc

โดย Mazlan Muhammad

อาคารครอบครัวอิบรอฮีม ศูนย์กลางศาสนาสากล

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สร้างศาสนสถานสำคัญ 3 ศาสนา อิสลาม คริสต์และยิวโดยตั้งชื่อว่า อาคารครอบครัวอิบรอฮีม (Abrahamic Family House) ประกอบด้วยมัสยิดที่หันไปทางกะอฺบะฮ์ โบสถ์ที่หันไปทางทิศตะวันออก และซินนะกอก(โบสถ์ยิว)ซึ่งหันไปทางกรุงเยรูซาเลม โดยทั้ง 3 อาคารครอบด้วยหลังคาที่มีลักษณะเหมือนกัน เริ่มก่อสร้างปี 2019 และคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2022 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี นอกจากนี้ยังมีอาคารแสดงนิทรรศการและประชุมสัมมนาอีก 1 อาคาร

คณะกรรมการภราดรภาพมนุษย์ (The Higher Committee of Human Fraternity) ได้ฉลองครบรอบ 1 ปี แห่งการลงนามแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยภราดรภาพมนุษย์ ณ กรุงอาบูดาบี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2020 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสแห่งศาสนจักรโรมันคาทอลิกและอิมามใหญ่แห่งอัลอัซฮัร ชัยค์อาห์มัด ตอยยิบ โดยมีชัยค์อับดุลลอฮ์บินซัยด์ อัลนะห์ยาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ให้เกียรติเป็นสักขีพยาน

คณะกรรมการภราดรภาพมนุษย์เป็นองค์กรอิสระที่ประกอบด้วยผู้นำทางศาสนา นักวิชาการด้านการศึกษา และผู้นำทางวัฒนธรรมจากทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมภราดรภาพมนุษย์ต่อคนทุกหมู่เหล่า มีภารกิจในการปฏิบัติตามปณิธานที่ระบุไว้ในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยภราดรภาพมนุษย์ทั่วโลก ด้วยการจัดการประชุมร่วมกับผู้นำทางศาสนา ผู้นำขององค์กรระหว่างประเทศ และอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อส่งเสริมการดำเนินการที่จะสร้างโลกที่มีสันติภาพมากขึ้น เพื่อมนุษยชาติทั้งปวง คณะกรรมการภราดรภาพมนุษย์ยังจะทำงานเคียงข้างฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดตัวบทกฎหมายระดับประเทศ ที่เสริมสร้างความสำคัญของการเคารพซึ่งกันและกันและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ นอกจากนี้ ทางคณะกรรมการยังจะเข้ามาดูแลโครงการริเริ่มต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อปฏิบัติตามปณิธานที่ระบุไว้ในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยภราดรภาพมนุษย์ เช่น อาคาร Abrahamic Family House ซึ่งเป็นศูนย์กลางของศาสนาต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นที่กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

อาคารครอบครัวอิบรอฮีม ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั่วโลก โดยเฉพาะนักวิชาการอิสลามสายอนุรักษ์ ที่มีทัศนะว่า การเชิญชวนให้ผู้คนมีความรักและปรองดองกัน ถือเป็นเจตนารมณ์ร่วมของชาวโลกและเป็นคำสอนหลักของศาสนา แต่การโน้มน้าวให้ผู้คนปฏิบัติตนในลักษณะเดียวกัน เป็นสิ่งที่ฝืนกับธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอิสลามที่มีคำสอนในเรื่องเอกานุภาพของพระเจ้า ในขณะที่อาคารครอบครัวอิบรอฮีมได้แสดงถึงการมีต้นกำเนิดอันเดียวกันของศาสนา ทั้งๆที่ในความเป็นจริงนบีอิบรอฮีมไม่เคยเผยแพร่ให้มนุษย์สร้างภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้า

ในขณะที่นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่าอาคารครอบครัวอิบรอฮีมเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้ผู้คนยอมรับความแตกต่าง ใช้ชีวิตอย่างเป็นพี่น้องที่มีความรักและความเมตตาระหว่างกัน


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

อ้างอิง https://www.ryt9.com/s/anpi/3092709

5 เหตุผลที่โลกควรสนใจตุรกี

1. ตุรกีเคยเป็นเมืองหลวงโลกอิสลามยุคอุษมานียะฮ์ที่ครอบคลุม 3 ทวีป มีเคาะลีฟะฮ์ปกครอง 36 พระองค์ นานกว่า 600 ปี และเพิ่งล่มสลายไปไม่ถึง 100 ปี

2. ตุรกีกำลังเข้าสู่อ้อมกอดของอิสลามในทุกมิติอีกครั้ง หลังจากถูกบังคับให้ถอดถอนอิสลามชนิดถอนรากถอนโคนด้วยวิธีเผด็จการและโหดร้ายที่สุด

3. ตุรกีปัจจุบัน มีศักยภาพในการแข่งขันกับสังคมโลกได้อย่างน่าทึ่ง และสามารถพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

4. ตุรกีคือแหล่งพักพิงของผู้อพยพจำนวนมากกว่า 5 ล้านคน และกลายเป็นที่พึ่งพาของของผู้ถูกอธรรมและผู้เดือดร้อนจากทั่วทุกมุมโลก

5. ตุรกีคือ 1 ในสมาชิกนาโต้ที่มีกองกำลังใหญ่โตมากเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ แต่กำลังถูกสมาชิกนาโต้และสหภาพยุโรปกดดันเพื่อให้ตุรกีกลายเป็นเด็กใต้โอวาทตลอดไป


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

คนแรกในประวัติศาสตร์ผู้นำสหรัฐฯที่ถูกร้องถอดถอนจำนวน 2 ครั้ง

สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯมีมติด้วยคะแนนเสียง 232 ต่อ 197 ถอดถอนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ด้วยความผิดในข้อหาปลุกระดมมวลชนบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาเมื่อวันพุธที่ 6 ม.ค. ที่ผ่านมา เพื่อขัดขวางกระบวนการประกาศรับรองชัยชนะของนายโจ ไบเดนในการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยจะส่งญัตตินี้ให้กับวุฒิสภาสหรัฐฯเพื่อพิจารณาเป็นลำดับต่อไปว่าจะเห็นชอบหรือคัดค้าน

15 มกราคม 2564