โลกมุสลิม 20 ประเทศและองค์กร ประนามโฆษกพรรคบีเจพี พรรครัฐบาลอินเดีย

โลกมุสลิมและองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ 20 ประเทศและองค์กร ร่วมกันประนามโฆษกพรรคบีเจพี พรรครัฐบาลอินเดีย และขอให้อินเดียจัดการกับผู้กระทำการดังกล่าว

ประเทศที่แถลงประนามในนามรัฐบาล ประกอบด้วย คูเวต กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย  สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรต  บาห์เรน  โอมาน   ปากีสถาน  มาเลเซีย   อัฟกานิสถาน อินโดนีเซีย  จอร์แดน  มัลดีฟส์  อิรัก  และลิเบีย

โดยมี 4 ประเทศที่เรียกทูตอินเดียหรือตัวแทนสูงสุดของอินเดียเข้าพบเพื่อประท้วงและประนาม ได้แก่  คูเวต  กาตาร์  อินโดนีเซียและมาเลเซีย

ส่วนตุรกีออกแถลงการประนามโดยพรรคเอเค พรรครัฐบาลของตุรกี  ในขณะที่อียิปต์ออกแถลงการณ์ประนามโดยสถาบันอัซฮัร และสำนักมุฟตีย์แห่งอียิปต์

ส่วนระดับองค์กรระหว่างประเทศที่แถลงประนามได้แก่องค์กรความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี)  องค์กรความร่วมมืออ่าวอาหรับ(จีซีซี)  และฟอรัมเยาวชนโอไอซี (OIC Youth Forum)

ไม่นับรวมองค์กรนักวิชาการอิสลามที่ต่างออกมาประนามกันมากมาย

พรรคเอเคของตุรกีประณามคำหยามหมิ่นนาบีมุฮัมมัด ของโฆษกพรรคบีเจพี พรรครัฐบาลอินเดีย

เมื่อ 7 มิถุนายน อุมัร ซีลิก โฆษกพรรคยุติธรรมและการพัฒนาของตุรกี (พรรค AK) ประณามการหมิ่นหยามต่อท่านศาสดามุฮัมหมัด  ศอลฯ โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่พรรคดังกล่าวได้ถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่แล้ว พร้อมขอให้รัฐบาลอินเดีย “ดำเนินมาตรการ ที่จำเป็น” เพื่อต่อสู้กับการเพิ่มขึ้นของกระแสอิสลามโมโฟเบียใน ประเทศ

อุมัร ซีลิก กล่าวในแถลงการณ์ว่า: “เราขอประณามอย่างรุนแรงคำกล่าวดูถูกของเจ้าหน้าที่จากพรรครัฐบาลอินเดีย (BJP) ต่อท่านศาสดามุฮัมมัดด”  และว่า “นี่เป็นการดูถูกไม่เฉพาะกับชาวมุสลิมในอินเดียเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวมุสลิมทั่วโลกอีกด้วย”

“เรายินดีที่นักการเมืองดังกล่าวถูกไล่ออกจากตำแหน่งในพรรค เนื่องจากคำพูดของเขาและการประณามคำพูดเหล่านี้โดยทางการอินเดีย  แนวทางนี้ควรเป็นแบบอย่าง  เราคาดหวังให้รัฐบาลอินเดียใช้มาตรการที่จำเป็นในการเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของโรคกลัวอิสลามและเสริมสร้าง เสรีภาพทางศาสนาของชาวมุสลิม”

ในขณะเดียวกัน ฟอรัมความร่วมมืออิสลามสำหรับเยาวชน (OIC Youth Forum) ได้ออกแถลงการณ์ประณามอย่างรุนแรงต่อคำพูดที่ไม่เหมาะสมต่อศาสดามูฮัมหมัดโดยพรรคบีเจพี พรรครัฐบาลของอินเดีย”

ทางรัฐบาลอินเดียได้ออกมาแถลงว่า คำเหยียดหยามดังกล่าวเป็นเรื่องบุคคลนอกรัฐบาล โฆษกพรรคบีเจพี ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และได้พักงานโฆษกที่เกี่ยวข้อง 1 ราย และปลดออก 1 ราย


Credit : Ghazali Benmad

ปากีสถานได้นายกคนใหม่

( สนข.อัลจาซีร่าและอื่นๆ )  ฝ่ายนิติบัญญัติของปากีสถานเลือก ชาห์บาซ ชารีฟ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในการประชุมวานนี้ 11/4/2022 หลังจากที่อิมราน ข่าน ผู้ดำรงตำแหน่งคนก่อนถูกขับออกจากตำแหน่ง ซึ่งแสดงอารยะขัดขืนลาออกจากที่นั่งในรัฐสภาพร้อมกับสมาชิกพรรคส่วนใหญ่ของพรรคก่อนลงคะแนนเสียง

ชาห์บาซ ชารีฟ  ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี” ด้วยคะแนนเสียง 174 จาก 342 ในรัฐสภา  เท่ากับคะแนนเสียงที่ชนะข่าน ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจล่าสุด

ทั้งนี้ เอพีรายงานว่า ฝ่ายค้านของปากีสถานได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งเพียง 2 เสียง  โดยได้ 174 เสียงจากที่นั่ง 342 ที่นั่งในรัฐสภา  เพื่อสนับสนุนการไม่ไว้วางใจต่อรัฐบาลของอิมราน ข่าน ในการลงคะแนนตามข้อเสนอของฝ่ายค้านเมื่อวันที่ 8 มีนาคม

ชารีฟ วัย 70 ปี แกนนำกลุ่มพันธมิตรฝ่ายค้านที่ลงมติไม่ไว้วางใจข่านในรัฐสภาหลังเกิดความวุ่นวายทางการเมืองหลายสัปดาห์

บรรดา สส. จากพรรคของอิมรอน ข่าน (พรรคอินซอฟ) ได้แสดงอารยะขัดขืน โดยการยื่นใบลาออกจากสภาล่างเพื่อประท้วงการจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของพวกเขา

“เราขอประกาศว่าเราทุกคนลาออก” ชาห์ มาห์มูด กูเรชี อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศและรองประธานพรรคของข่าน กล่าวในสุนทรพจน์ก่อนการลงคะแนนเสียง

ไม่มีนายกรัฐมนตรีคนใดที่มาจากการเลือกตั้งครบวาระตั้งแต่ปากีสถานได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี 2490

ในขณะที่ผู้สนับสนุนข่านหลายๆพันคนเดินขบวนในเมืองหลวง อิสลามาบัด และเมืองใหญ่ๆ ในปากีสถานอีกหลายแห่ง รวมถึงในประเทศต่างๆ ในยุโรป โดยที่ผู้เข้าร่วมแสดงการสนับสนุนต่ออิมราน ข่าน โดยปฏิเสธสิ่งที่พวกเขาอธิบายว่าเป็นการแสดงอำนาจของอเมริกา

หลังแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ชารีฟจะต้องจัดตั้งรัฐบาลจากสันนิบาตมุสลิมปากีสถาน (กลาง) พรรคประชาชนปากีสถาน (กลางซ้าย) และสมาคมอุลามาอ์อิสลาม ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมขนาดเล็ก


โดย Ghazali Benmad

อิมรอน ข่าน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปากีสถาน

(อัลจาซีร่า) รัฐสภาปากีสถานลงมติไม่ไว้วางใจ นายกฯรัฐมนตรีอิมรอน ข่าน  9 เมษายน วานนี้ ด้วยคะแนน 174 เสียง จากเสียง สส.ทั้งหมด 342 เสียง  ส่งผลทำให้หลุดจากตำแหน่ง

การอภิปรายกินเวลา 14 ชั่วโมง ประธานรัฐสภาและรองประธาน ซึ่งเป็นคนของพรรคของอิมรอน ข่าน  ร่วมมือกับฝ่ายค้าน พากันลาออก ทำให้ฝ่ายค้านได้เป็นประธานแทน อีกทั้ง สส.พรรคของอิมรอน ข่าน บางส่วน งดออกเสียง และออกจากรัฐสภาไป

ทั้งนี้ รัฐสภาจะเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไป คาดว่าจะเป็นนายชาห์บาซ ชารีฟ น้องของนาวาซ ชารีฟ อดีตนายกรัฐมนตรี

ขอบคุณและขอให้อัลลอฮ์ตอบแทนความดีในผลงานที่ท่านได้ทำเพื่อประชาชาติอิสลาม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

https://www.aljazeera.net/news/politics/2022/4/9/%D8%B9%D8%A7%D8%AC%D9%84-%D8%A7%D8%B3%D8%AA%D9%82%D8%A7%D9%84%D8%A9-%D8%B1%D8%A6%D9%8A%D8%B3-%D8%A7%D9%84%D8%A8%D8%B1%D9%84%D9%85%D8%A7%D9%86


แปลโดย Ghazali Benmad

การจากไปของเฒ่าทระนง

ชัยค์สุไลมาน อัลฮาซลีน (70 ปี) ชายชราจากเมืองคอลีล ทางตอนใต้เขตเวสต์แบงค์ ได้เสียชีวิตอย่างสงบหลังจากมอบชีวิตทั้งหมดเพื่อต่อสู้กับกองกำลังยิวจอมปล้นแผ่นดิน

เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2022 กองกำลังผู้รุกรานได้เข้าตรวจค้นหมู่บ้าน “อุมมุลคอยร์” ณ เมืองคอลีล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้เขตเวสต์แบงค์ ปาเลสไตน์ โดยอ้างว่าเพื่อตรวจค้นรถยนต์ผิดกฎหมายซึ่งในความเป็นจริงเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชนและเข้าจับกุมชัยค์สุไลมาน อัลฮาซาลีน เฒ่าทระนงผู้ยืนหยัดต่อสู้กับกองกำลังก่อการร้ายในนามรัฐเถื่อนอิสราเอล

ทหารอิสราเอลใช้รถเกราะล้อยางเหยียบร่างของเฒ่าทระนงผู้นี้จนทำให้ศีรษะและร่างกายได้รับบาดเจ็บสาหัส ก่อนถูกนำไปโรงพยาบาลและได้รับชะฮีดในวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2022 ท่ามกลางความเศร้าโศกของชาวปาเลสไตน์ที่ได้สูญเสียบุคคลผู้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับการกดขี่และอธรรมที่รุนแรงที่สุดในโลกปัจจุบัน

ถึงแม้สื่อกระแสหลักจะบอดใบ้เช่นเคยก็ตาม


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

ประกาศผู้ได้รับรางวัลกษัตริย์ไฟศอลประจำปี 2022

เจ้าชายคอลิด อัลไฟศอล อะมีร์มักกะฮ์ ในฐานะองค์ประธานรางวัลกษัตริย์ไฟศอล ได้เป็นองค์ประธานพิจารณาผู้ที่สมควรได้รับรางวัล ใน 5 สาขา โดยในปีนี้มีนักวิชาการระดับโลกได้รับรางวัลจำนวน 8 ท่าน แยกเป็น สาขาวิทยาศาสตร์จำนวน 2 ท่าน สาขาแพทยศาสตร์จำนวน 1 ท่าน สาขาภาษาอาหรับและวรรณคดี จำนวน 2 ท่าน สาขาบริการอิสลามจำนวน 2 ท่าน ส่วนสาขาอิสลามศึกษา ไม่มีผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลกษัตริย์ไฟศอลสาขาบริการอิสลามได้มีมติเลือก Professor Dr. Mahmoud AL Shafei (91 ปี) ชาวอิยิปต์อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ กรุงอิสลามมาบัด อดีตประธานสภาภาษาอาหรับและวรรณคดีประจำกรุงไคโร ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาอุละมาอ แห่งอิยิปต์ ได้รับรางวัลกษัตริย์ไฟศอลสาขาบริการอิสลาม พร้อมด้วย Mr.Hassan Mwinyi (96ปี) อดีตประธานาธิบดีแทนซาเนีย สมัย 1985-1995 ซึ่งคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้คือ อบุล อะอฺลา อัลเมาดูดีย์ นักเคลื่อนไหวอิสลามนามอุโฆษขาวปากีสถานเมื่อ ค.ศ.1979

ผู้ได้รับรางวัลในแต่ละสาขา ได้รับโล่รางวัลพร้อมเช็คเงินสดจำนวน 200,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หากมีผู้ได้รับรางวัลในสาขาเดียวกันมากกว่าหนึ่งคน ก็จะแบ่งเงินรางวัลจำนวนเท่ากัน

ติดตามรายละเอียดได้ที่

https://www.facebook.com/KingFaisalPrize/


โดย Mazlan Muhammad

ประชุมมูลนิธิกษัตริย์ไฟศอลเพื่อการสาธารณกุศล

จันทร์ที่ 3 มกราคม 2565

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีได้เดินทางไปยังกรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมรับรางวัลกษัตริย์ไฟศอล สาขาบริการอิสลามประจำปี 2022 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 5 มกราคม 2565 ณ มูลนิธิกษัตริย์ไฟศอล เพื่อการสาธารณกุศล กรุงริยาด เริ่มเวลา 13.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น โดยจะประกาศผู้ได้รับรางวัลตามสาขาต่าง ๆ พร้อมเลี้ยงรับรองคณะกรรมการฯเวลา 20.00 น.ในวันเดียวกัน

การประชุมครั้งนี้ มีเจ้าชายคอลิด อัลไฟศอล องค์ประธานคณะกรรมการคัดเลือกและประธานมูนิธิ ฯ เป็นองค์ประธานที่ประชุมและเลี้ยงรับรอง

รศ.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา หนึ่งเดียวในระดับอาเซียนและบุคคลแรกในประวัติศาสตร์ปาตานีที่ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกอันทรงเกียรตินี้ ถือเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจของชาวปาตานี โดยเฉพาะชาวมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ซึ่งมีบุคลากรที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกเช่นนี้

ในโอกาสนี้ รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา มีกำหนดเดินทางไปยังมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ เพื่อประกอบพิธีอุมเราะฮ์และซิยาเราะฮ์ ก่อนที่จะเดินทางกลับเมืองไทยในวันที่ 10 มกราคม 2565

ขอให้การเดินทางครั้งนี้ เต็มไปด้วยบารอกัตและสวัสดิภาพ พร้อมกับภารกิจนำความเมตตาแห่งสากลจักรวาลที่สะท้อนถึงความเป็นประชาชาติหนึ่งเดียว “อุมมะฮ์วาฮิดะฮ์” สู่สันติภาพและสันติสุขอันยั่งยืน


โดย Mazlan Muhammad

มัสยิดอานีซอายาโยเฟีย ได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมัสยิดอีกครั้ง

มัสยิดอานีซอายาโยเฟีย ได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมัสยิดอีกครั้งโดยประธานฝ่ายศาสนาอิสลามตุรกีเมื่อ วันศุกร์ที่24 ธค. 2021 หลังจากถูกรัฐบาลสายเคมาลิสต์ปิดนานกว่า 56 ปี

มัสยิดนี้ เดิมคือโบสถ์สมัยไบเซนไทน์ สร้างเมื่อค.ศ. 12 และถูกเปลี่ยนเป็นมัสยิดหลังการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อค.ศ.1456 แต่ถูกรัฐบาลสาวกเคมาลิสต์ปิดถาวรเมื่อ 56 ปีที่ผ่านมา

มัสยิดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมืองเอดีร์เน เมืองทางตะวันตกสุดของประเทศ ติดกับประเทศกรีซ 7 กม. และบัลเกเรีย 20 กม.


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

“Turkish House” ยอดสถาปนิกสินานแห่งออตโตมัน

ในวันจันทร์ 20 กันยายนนี้ ประธานาธิบดีตุรกี ตั้งใจที่จะไปเปิด “”Turkish House”-บ้านตุรกี” ตรงข้ามสำนักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก

แอร์โดฆาน กล่าวในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันศุกร์ ในระหว่างการประชุมปรึกษาหารือของพรรค Justice and Development Party ในจังหวัด Mersin ทางใต้ว่า ตั้งใจจะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในสัปดาห์หน้าในการเยือนอย่างเป็นทางการ

แอร์โดฆานกล่าวเสริมว่า: “วันอาทิตย์นี้ ผมจะไปสหรัฐอเมริกา และในวันจันทร์นี้ เราจะเปิดบ้านตุรกีสูง 36 ชั้นตรงข้ามกับสหประชาชาติ”

พื้นที่ทั้งหมดของ “”Turkish House-บ้านตุรกี” อเนกประสงค์ รวมประมาณ 20,000 ตารางเมตร  35ชั้น ตั้งอยู่ตรงข้ามอาคารสหประชาชาติสูง 171 เมตร และถัดจากนั้นคือจัตุรัสสหประชาชาติและผู้แทนถาวรของสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ

อาคารใหม่นี้สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แทนที่สถานกงสุลตุรกีในนครนิวยอร์ก ซึ่งยังคงเปิดดำเนินการจนถึงปี  2013 อาคารนี้ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ตั้งคณะผู้แทนถาวรและสถานกงสุลใหญ่ของตุรกี การประชุม สัมมนา และห้องนิทรรศการตลอดจนโรงรถสำหรับรถยนต์และที่อยู่อาศัยสำหรับพนักงานที่ชั้นบน

ตุรกีได้ซื้ออาคารจากบริษัทไอบีเอ็ม ยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันที่เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ เป็นจำนวนเงินประมาณ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 1977 โดยได้รับการสนับสนุนจาก Ihsan Sabri Caglienkl รัฐมนตรีต่างประเทศในขณะนั้น  ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้แทนถาวรของตุรกีประจำสหประชาชาติจนถึงปี 2013 

อาคาร “”Turkish House-บ้านตุรกี” เป็นการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐตุรกีในต่างประเทศนับตั้งแต่ก่อตั้ง โดยมีมูลค่ากว่า 291 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการซึ่งประธานาธิบดีแอร์โดฆาน เข้าร่วมในการวางศิลารากฐานในปี 2017 ดำเนินการโดยบริษัท IC İçtaş İnşaat ของตุรกี โดยร่วมมือกับ American Contracting Company (Tishman) ของอเมริกา

● สถาปัตยกรรมแบบเซลจู๊กที่โดดเด่น

บริษัทสถาปัตยกรรม “Perkins Eastman” ซึ่งชนะการประมูลออกแบบอาคาร “Turkish House” ในนิวยอร์กซิตี้ ได้ส่ง Jonathan Stark หัวหน้าสถาปนิกไปตุรกีเพื่อค้นหาและขุดค้นสถาปัตยกรรมตุรกี  เซลจู๊ก  และออตโตมัน  ด้วยการออกแบบที่ดีที่สุดที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณของสถาปัตยกรรมอิสลามตุรกีโบราณในใจกลางเมืองที่สำคัญที่สุดที่แออัดไปด้วยผู้คนและวัฒนธรรมทั่วโลก

หลังจากเสร็จสิ้นการออกแบบเบื้องต้นหลายแบบแล้ว ได้มีการตกลงกันในการออกแบบขั้นสุดท้ายของตึกระฟ้าในรูปของดอกไม้ “ทิวลิป” ของตุรกีที่ล้อมรอบด้วยลวดลายของเซลจุกและออตโตมัน ซึ่งจะเพิ่มสัญลักษณ์ให้กับเส้นขอบฟ้าของนครนิวยอร์กและสะท้อนถึงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของตุรกี และความหลากหลาย

วันนี้ อาคาร “”Turkish House-บ้านตุรกี” มีลวดลายสถาปัตยกรรมตุรกีแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมเซลจู๊ก สามารถเห็นในรูปของดอกทิวลิปสูงเด่นขึ้นไปบนท้องฟ้า จากตัวเมืองแมนฮัตตัน แม่น้ำอีสต์ และเมืองลองไอส์แลนด์

อาคารตุรกีหลังใหม่ได้รับการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านมาตรฐานการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกแบบประตูอาคารได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมของข่านแห่งจักรวรรดิเซลจู๊กและออตโตมัน

● ความหมายแฝงที่ลึกซึ้ง

อาคารสูงอเนกประสงค์ “Turkish House” ในย่านที่มีชื่อเสียงที่สุดของนิวยอร์ก ตรงข้ามกับสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ สื่อสาส์นที่หนักแน่นและลึกซึ้งเกี่ยวกับอิทธิพลของตุรกีต่อนโยบายต่างประเทศ ในเวทีระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติมากมายหลายแห่ง 

อาคารนี้พร้อมที่จะรับบทบาทเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของนโยบายต่างประเทศของตุรกีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่มีบทบาทอย่างแข็งขันในการสนับสนุนผู้อ่อนแอและผู้ถูกกดขี่ทั่วโลก

ตามที่กระทรวงการต่างประเทศตุรกีระบุ “Turkish House” จะสนับสนุนภารกิจของตุรกีที่ปฏิบัติการในนิวยอร์ก ให้ดำเนินกิจกรรมต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพการบริการให้กับพลเมืองตุรกี และเผยแพร่จุดยืนของตุรกี ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนกรณีอันชอบธรรมของผู้ถูกกดขี่ซึ่งตุรกียืนเป็นกองหน้าในการปกป้องคนเหล่านั้นในเวทีระหว่างประเทศ


โดย Ghazali Benmad

แอร์โดอานกับหนังสือเล่มใหม่

แอร์โดอานได้จรดปากกาเขียนหนังสือเล่มใหม่ชื่อว่า “มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างโลกให้ยุติธรรมมากกว่านี้ “ หนังสือได้วางจำหน่ายแล้วเมื่อต้นเดือนกันยายน 2021 ที่ผ่านมา

แอร์โดอานเริ่มอธิบายความพยายามของตุรกียุคใหม่ ที่จะสร้างรัฐสวัสดิการและยุติธรรมแก่มนุษยชาติ พร้อมระบุความท้าทายที่ตุรกีต้องเผชิญ โดยเฉพาะ ความอยุติธรรม ปัญหาผู้อพยพปัญหาก่อการร้ายสากล การเป็นศัตรูต่ออิสลาม (อิสลาโมโฟเบีย) ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และการเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐาน

หนังสือเล่มนี้ ยังแตะประเด็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ของโลกโดยเฉพาะสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บทบาทหน้าที่และการเป็นสมาชิกถาวร ที่ท่านมักพูดอยู่เสมอว่า “โลกนี้ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะถูกควบคุมโดย 5 ประเทศ”

แอร์โดอานได้แสดงความมั่นใจถึงความเป็นไปได้ของโลก ในการสถาปนาสังคมที่ยุติธรรมกว่า โดยมีการจัดระเบียบที่เป็นสัดส่วนและยุติธรรมโดยเฉพาะการยกเลิกการใช้สิทธิ์วีโต้ของชาติมหาอำนาจ

“ไม่มีใครสามารถปัดความรับผิดชอบตราบใดที่ในโลกนี้ ยังมีเด็กๆต้องเสียชีวิตเพราะความรุนแรง”

“ความยุติธรรมเป็น 1 ในข้อเรียกร้องของประชากรโลกมากที่สุดขณะนี้ แต่เสียดาย องค์กรที่ทำหน้าที่ผดุงความยุติธรรม กลับกลายเป็นองค์กรที่มีปัญหาด้านความยุติธรรมมากที่สุด”

“ท่ามกลางโลกที่ขาดแคลนความปรานีจึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ที่จะเป็นตัวแทนผดุงความยุติธรรมและตอบสนองเสียงเรียกร้องของผู้อ่อนแอ”

“เราจะยังคงพูดตลอดเวลาว่า โลกนี้ใหญ่กว่า 5 ประเทศที่จะมาควบคุมได้ จนกว่าจะมีระบบที่สามารถทำให้สัจธรรมคือความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความเข้มแข็งคือสัจธรรม”

“ปัญหาของโลกปัจจุบัน จะไม่ถูกแก้ไขโดยองค์กรที่คำนึงถึงความต้องการในอดีต ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า องค์กรเหล่านี้ได้ก่อปัญหาใหม่เกิดขึ้นมากมาย”

“เราต้องการระเบียบโลกใหม่ที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นความหวังของชาวโลกที่เฝ้าฝันความยุติธรรมมาก กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน”

เป็นเนื้อหาที่กระแทกกล่องดวงใจของเจ้าของระเบียบโลกใหม่ในขณะนี้ และอาจเป็นแรงกระเพื่อมสร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ของโลกในอนาคตอันใกล้ – ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮ์ –

หนังสือเล่มนี้จะถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ อาหรับ เยอรมัน ฝรั่งเศส รัสเซียและสเปน โดยรายได้ทั้งหมดจะมอบให้แก่หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยแห่งตุรกี ( AFAD)


อ้างอิง

https://mubasher.aljazeera.net/news/2021/9/6/%D8%A3%D8%B1%D8%AF%D9%88%D8%BA%D8%A7%D9%86-%D9%8A%D8%B5%D8%AF%D8%B1-%D9%83%D8%AA%D8%A7%D8%A8%D8%A7-%D8%A8%D8%B9%D9%86%D9%88%D8%A7%D9%86-%D9%85%D9%86-%D8%A7%D9%84%D9%85%D9%85%D9%83%D9%86?fbclid=IwAR2gfeh-bk4KPujqW9cXm8dfj4lncRVkAP5SBnsoxfuKHN3-AqT3xGY5Avo

แปลสรุปโดย Mazlan Muhammad

รมว. กิจการศาสนาตุรกีเป็นประธานเชิดชูเด็กและเยาวชน ที่จบการอบรมการอ่านและท่องจำอัลกุรอาน

รมว. กิจการศาสนาตุรกี ศ. อาลี อัรบาช เป็นประธานเชิดชูเด็กและเยาวชนจำนวน 2 ล้านคนทั่วประเทศที่จบการอบรมการอ่านและท่องจำอัลกุรอานช่วงปิดภาคฤดูร้อนที่ผ่านมา พร้อมด้วยครูสอนอัลกุรอานจำนวน 110,000 คน โดยพิธีดังกล่าวจัดขึ้นในมัสยิดอายาโซเฟีย ที่มีการเชิญผู้แทนเด็กๆและครูทั่วประเทศเข้าร่วม

มีบางคนยังตั้งแง่ว่า ตุรกีเป็นรัฐเซคิวล่าร์ ใฝ่ประชาธิปไตย ผู้นำไม่ไว้เครา ยังสนับสนุนกฏหมายเกย์กะเทย ยังมีผับบาร์ แหล่งโสเภณี แหล่งอบายมุขมากมาย

ถึงขนาดฟัตวาผู้นำตุรกีปัจจุบันว่าเป็นหัวหน้ามุนาฟิก และตกมุรตัด

พวกเขาไม่มีวันเข้าใจว่า ชาวตุรกีรับมรดกบาปทีมีการปลูกฝังมายาวนานนับศตวรรษอย่างเป็นระบบ โดยมีอำนาจ “รัฐลึก” คอยปกป้องอย่างแน่นหนาและเข้มแข็ง

พวกเขาไม่มีวันเข้าใจการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ต้องอาศัยความอดทนอดกลั้น การเตรียมการและวางแผนที่รัดกุม การลำดับความสำคัญของปัญหาอันสลับซับซ้อน การวางนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติที่อาศัยวิสัยทัศน์และโลกทัศน์อันเฉียบแหลม

การที่หน่อไม้จะงอกเงยท่ามกลางดงป่าอันหนาทึบ นอกจากต้องต่อสู้ชูกิ่งก้านท่ามกลางต้นไม้อันใหญ่โตแล้ว ยังต้องดิ้นรนปกป้องตัวเองจากเหล่าสัตว์ป่าที่คอยกัดแทะหรือขุดทำลายใช้เป็นอาหารอีกด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลายาวนาน และเผชิญกับความยากลำบากแค่ไหน

#พวกเขาไม่มีวันเข้าใจ


เครดิตภาพและข่าว

Hamza Tekin

https://www.diyanet.gov.tr/ar-SA/%D8%A7%D9%84%D9%85%D8%A4%D8%B3%D8%B3%D9%8A%D8%A9/%D8%A7%D9%84%D8%AA%D9%81%D8%A7%D8%B5%D9%8A%D9%84/32662/———2021—

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ