ทูตอังกฤษคนแรกที่ประกอบพิธีฮัจญ์

นายไซมอน คอลลินส์ (Simon Collins) อายุ 64 ปี ถือเป็นเอกอัครราชทูตอังกฤษคนแรกที่ประกอบพิธีฮัจญ์ เมื่อเข้ารับอิสลามหลังจากใช้ชีวิตกับชาวมุสลิมนานกว่า 30 ปี และกล่าวว่า ข้าพเจ้ารับอิสลาม หลังจากได้รับทราบแก่นแกนของอิสลามที่แท้จริง

เข้ารับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษ โดยตลอดชีวิตราชการ เขาต้องไปประจำตำแหน่งที่ประเทศแถบตะวันออกกลางหลายประเทศ เช่น อิรัก ซีเรีย กาตาร์ คูเวต จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน ตูนิเซียและล่าสุดเมื่อปี 2015 รับตำแหน่งเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย จนกระทั่งเขาสามารถพูดและอ่านภาษาอาหรับได้อย่างแตกฉาน ซึ่งทำให้เขาใช้โอกาสศึกษาแก่นแท้ของอิสลามอย่างจริงจัง จนกระทั่งในปี 2011 เขาได้ประกาศรับอิสลามและได้แต่งงานกับสตรีชาวซีเรียชื่อฮูดา

ในปี 2016 ทั้งสองคนได้ประกอบพิธีฮัจญ์ ทำให้นายไซมอน คอลลินส์ กลายเป็นเจ้าหน้าที่ในกระทรวงต่างประเทศอังกฤษตำแหน่งเอกอัครราชทูตคนแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศที่ประกอบพิธีฮัจญ์

ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษก็ได้ยินยันข่าวดังกล่าว และถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่สามารถกระทำได้ โดยกระทรวงการต่างประเทศจะไม่ก้าวก่ายแต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://www.sarayanews.com/print.php?id=387799
https://www.bbc.com/arabic/worldnews/2016/09/160915_uk_ambassador_hajj
https://www.rt.com/uk/359422-saudi-ambassador-muslim-convert/

แผนสกัดตุรกี

บทความร้อนๆ ของอิบรอฮีม กราฆูล บรรณาธิการ yenisafak นสพ.ตุรกี สายนิยมรัฐบาล (ตอนที่ 2)

อิหร่านแบกรับความผิดเท่ากับรัสเซียในการโจมตีอิดลิบและกองกำลังตุรกีที่นั่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ มิหนำซ้ำ ในความเป็นจริง ผู้ที่ดำเนินการโจมตีเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับคำสั่งจากอิหร่านและสมุนในซีเรีย

ไม่มีข้อสงสัยใดๆ สำหรับทุกคนในวันนี้ว่าประเทศทั้งสองใช้ข้อตกลงแอสตานาและโซซี เป็นเครื่องมือประวิงเวลาให้ระบอบอะซัด และเล่นเหลี่ยมกับตุรกี

เหมือนกับที่สหรัฐอเมริกาที่ได้ทำสัญญากับตุรกีหลายครั้ง เพื่อประวิงเวลาให้องค์กรการก่อการร้าย PKK ในซีเรียตอนเหนือ แต่อเมริกาไม่เคยทำตามข้อตกลงดังกล่าว ตอนนี้รัสเซียกำลังใช้กลยุทธ์เดียวกัน พวกเขากำลังล้อเล่นกับตุรกี

• เราจะโจมตีระบอบอะซัดในทุกหนแห่ง

สิทธิ์ของตุรกีในการป้องกันตัวเองไม่อยู่ภายใต้ “การต่อรอง”ใดๆ

ประธานาธิบดีแอร์โดฆานกล่าวว่า “เราจะโจมตีระบอบอะซัดทุกหนทุกแห่ง ถ้าเริ่มการโจมตีเราก่อน” เป็นวลีที่พิสูจน์ว่า เกิด “นิยามใหม่” ในสงครามซีเรีย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการเจรจาทางการเมืองกับรัสเซียเป็นพื้นฐานหลัก และการหารือกับสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องสำคัญ แต่สงครามซีเรียได้กลายเป็นสงครามกับตุรกีไปแล้ว

ขอพูดอย่างตรงไปตรงมา พวกเขาจุดชนวนสงครามในซีเรียโดยมีเป้าหมายที่ตุรกี เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของแผน “กดทับตุรกีไม่ให้โต” พวกเขาวางแผนและดำเนินการตามแผน “ทางผ่านของกลุ่มก่อการร้าย” ที่ทอดยาวจากชายแดนอิหร่านไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาด้วยรถบรรทุกหลายพันคันที่เต็มไปด้วยกระสุนเพื่อสร้าง “แนวหน้าต่อต้านตุรกี”

สำหรับตุรกีนั้น ได้ทำ “ปฏิบัติการโล่ห์ยูเฟรติส Euphrates Shield” “ปฏิบัติการกิ่งมะกอก” และ”ปฏิบัติการต้นน้ำสันติภาพ Spring of Peace” เพื่อปกป้องตัวเองและปกป้องดินแดนของอนาโตเลียเท่านั้น จุดยืนของตุรกีในอิดลิบและดินแดนที่ลึกเข้าไป เป็นการปกป้องตัวเอง และเป็นสิทธิ์ที่ไม่สามารถต่อรองได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

• การปิดล้อมในเขตซีเรีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ทะเลอีเจียนและทะเลดำ

• เราจะไม่ถอย !

ทั้งอเมริกาและรัสเซีย ไม่ควรมองความพยายามของตุรกีในการหาทางออกทางการเมืองว่าเป็น “ความอ่อนแอ” ยุคที่ตุรกีเอาตัวรอดและดำเนินนโยบายกลับไปกลับมาระหว่างอเมริกาและรัสเซีย หรือมหาอำนาจอื่นๆ ได้สิ้นสุดไปแล้ว

แผนที่ของมหาอำนาจทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว เช่นเดียวกับสัญญานของตุรกีในการค้นหาอำนาจ และมุมมองต่อภูมิภาคและต่อโลกได้เปลี่ยนแปลงไป แล้ว เรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ ที่สามารถรักษาความอยู่รอดของเราได้โดยการพัฒนา และเพิ่มความแข็งแกร่ง หรือจะถอยยอมแพ้

ไม่เคยปรากฏในช่วงเวลาใดๆ ในประวัติศาสตร์ของตุรกีว่า ตุรกีรักษาความอยู่รอดของตนโดยการถอย

พวกเขาเหล่านั้นดำเนินแผนการปิดล้อมตุรกีทุกด้าน จากซีเรีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ทะเลอีเจียนและทะเลดำ โดยมีเจตนาเพื่อกดทับตุรกีไม่ให้โต นี่คือจุดประสงค์ของแผนทั้งหมดที่พวกเขาได้ดำเนินการ และดำเนินการผ่านกลุ่ม PKK องค์กรก่อการร้ายกูเลน และฝ่ายการเมืองที่พวกเขาจัดตั้งขึ้นในตุรกี

อ่านตอนที่ 1 คลิ๊ก > https://www.theustaz.com/?p=2909

อ่านบทความต้นฉบับ https://m.yenisafak.com/ar/columns/ibrahimkaragul/2042780

โดย Ghazali Benmad

พวกเขาต้องการซีเรียเป็นแบบไหนกัน

อ่านความคิดเติร์ก ต่อจุดยืนตุรกีในอิดลิบ จากบทความร้อนๆ ของอิบรอฮีม กราฆูล บรรณาธิการ yenisafak นสพ.ตุรกี สายนิยมรัฐบาล (ตอนที่ 1)

ด้วยเหตุนี้กระมัง ที่โลกทั้งผองกำลังโดดเดี่ยวตุรกีและชี้หน้าตุรกีว่าเป็นประเทศก่อการร้าย


ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีและรัสเซียได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในอิดลิบ
ผู้มีอำนาจในอเมริกา อังกฤษและอิสราเอล ได้รีบเร่งการเคลื่อนไหวทันที และไปถึงจุดที่เกือบจะทำให้พวกเขาพูดว่า “มาๆ เรามายิงเครื่องบินรัสเซียลำใหม่และเข้าสู่การทำสงครามต่อต้านรัสเซียเลย”

อย่าลืมว่า อเมริกาและอิสราเอลเคยมีการปฏิบัติเช่นนี้ ผ่านองค์กรก่อการร้ายกูเลน ก่อนการก่อกบฏเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม

พวกเขาต้องการให้ตุรกี-รัสเซีย เข้าสู่สงครามที่ใกล้เข้ามา ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป้าหมายไม่ใช่ซีเรีย แต่เพื่อจุดชนวนสงครามระหว่างตุรกีและรัสเซีย และเมื่อสงครามครั้งนี้ระเบิดขึ้น ตะวันตกจะเริ่มต้นจู่โจมตุรกีเพื่อจัดตั้งรัฐสำหรับองค์กรก่อการร้ายกูเลน

• อเมริกาและอังกฤษสนับสนุนฝ่ายไหน ?

ในทุกวันนี้ อเมริกาและสหราชอาณาจักรยังไม่ยอมแพ้ที่จะให้การสนับสนุนกลุ่มดังกล่าวในลักษณะเดียวกับในอดีต ผ่านแถลงการณ์ต่อเนื่องเพื่อจุดชนวนวิกฤติระหว่างตุรกีและรัสเซีย แผนการที่วางอยู่บนโต๊ะมีการแทนที่องค์กรก่อการร้ายกูเลนด้วยตัวเลือกอื่น ๆ โดยเฉพาะตัวเลือกที่มีลักษณะอนุรักษ์นิยม

เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะวิเคราะห์ทุกอย่างตามขนาด ผลกระทบและฐานะที่แท้จริง เพราะตุรกีเคยเสียหายสำหรับการยอมจำนนต่อบางฝ่ายที่มีวาระซ่อนเร้น บางคนจุดชนวนสงครามในซีเรียและโยนมันลงในความรับผิดชอบของตุรกี และผู้ที่ปลุกระดมความคิดเห็นของสาธารณะชนเกี่ยวกับสงครามในเวลานั้น กลับซุกหัวในความเงียบหลังจากที่ตุรกีอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก

• สำหรับสถานการณ์ตอนนี้เป็นดังนี้

ปัญหาของอิดลิบเป็นปัญหาของผู้ลี้ภัยชาวอาหรับสุหนี่หลายล้านคน ที่ได้รับการทอดทิ้งจากระบอบการปกครองของซีเรีย “เขตลดระดับความรุนแรง” เกิดขึ้นจากการบรรลุข้อตกลงระหว่างตุรกีและรัสเซีย จากนั้นอิหร่านและระบอบการปกครองของดามัสกัสก็ได้ให้สัตยาบัน ซึ่งการกำหนดเขตลดระดับความรุนแรงเป็นวิธีในการปกป้องพลเรือนนับล้าน

• ทำไมรัสเซียและอิหร่านไม่ออกมาพูดแม้แต่คำเดียวเพื่อต่อต้านสิ่งที่อเมริกาและ PKK กำลังทำ ?

ทำไมอิหร่านถึงเงียบเฉยต่อการกระทำของอิสราเอล?

ดูเหมือนว่ารัสเซียและอิหร่านเชื่อว่าความแข็งแกร่งของระบอบการปกครองดามัสกัสเพิ่มมากขึ้น พวกเขาจึงเรียกร้องให้ตุรกีถอนตัวจากภูมิภาคดังกล่าว โดยการเรียกร้องสู่ “ความเป็นหนึ่งเดียวของซีเรีย” แต่ในขณะที่พวกเขาทำเช่นนั้น พวกเขาไม่พูดอะไรเลยเพื่อต่อต้านสิ่งที่อเมริกาและ PKK กำลังทำอยู่ ทั้งๆที่พวกเขาสามารถควบคุมดินแดนได้ถึงหนึ่งในสามของพื้นที่ซีเรียทั้งหมด

ทั้งรัสเซียและอิหร่านหรือแม้แต่ระบอบการปกครองของซีเรีย ไม่มีการต่อต้านการยึดครองของอเมริกาและกลุ่ม PKK และพวกเขาไม่เคยพูด – โดยเฉพาะอิหร่าน- เกี่ยวกับการโจมตีของอิสราเอลต่อดามัสกัส

• พวกเขาต้องการซีเรียแบบไหน รัฐสำหรับชนกลุ่มน้อยทางนิกาย? สถานะของชาวอาหรับสุหนี่หลายล้านอยู่ที่ไหน ?

พวกเขากำลังพูดถึงซีเรียหนึ่งเดียวอะไร ? ซีเรียแบบไหน ? พวกเขากำลังพูดถึงชนกลุ่มน้อยในนิกายที่ระบอบการปกครองของดามัสกัสสนับสนุน? ชะตากรรมของผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัยหลายล้านคนในอิดลิบ และผู้ลี้ภัยอื่น ๆ อีกหลายล้านคนในตุรกีเป็นอย่างไร ?

ซีเรียสำหรับคนเหล่านี้อยู่ที่ไหน ระบอบการปกครองของดามัสกัสเป็นรัฐบาลชนกลุ่มน้อยซึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากประชากรส่วนใหญ่ ซีเรียหนึ่งเดียวแบบไหนที่รัสเซียและอิหร่านต้องการ

อ่านตอนที่ 2 คลิ๊ก > https://www.theustaz.com/?p=2949

ถอดความโดย Ghazali Benmad

อ่านบทความต้นฉบับ https://m.yenisafak.com/ar/columns/ibrahimkaragul/2042780

ตุรกี-รัสเซีย ใกล้ถึงจุดแตกหัก

อัลจาซีร่าวิเคราะห์ ตุรกี-รัสเซีย ใกล้ถึงจุดแตกหัก

รัฐบาลอะซัดและรัสเซีย ยังคงเดินหน้าถล่มเมืองอิดลิบ หวังขยี้ที่มั่นสุดท้ายของฝ่ายต่อต้าน ในขณะที่ตุรกีกร้าว อิดลิบเป็นเขตหวงห้ามตามข้อตกลงโซกี และแอสตานา เพราะพัวพันความมั่นคงภายในของตุรกี พร้อมส่งทหารเข้าเสริมกำลังตลอดเวลา

ในขณะที่รัสเซียอ้างว่าไม่ได้โจมตีฝ่ายต่อต้านแต่โจมตีกลุ่มก่อการร้าย

การถล่มของอะซัดและรัสเซียในครั้งนี้ ทำให้ชาวซีเรียนับล้านต้องอพยพมุ่งหน้าไปยังตุรกี

ต่อมาวานนี้ 16/2/2563 ประธานาธิบดีรัสเซียและตุรกีได้ต่อสายเจรจากัน แต่ไร้ผล หลังจากนั้น ประธานาธิบดีตุรกีออกมาแถลงยืนยัน ระบอบอะซัดต้องออกไปจากเขตลดความรุนแรงในอิดลิบ ตามข้อตกลงเดิมภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ หาไม่แล้วตุรกีจะบังคับให้ออกไปเอง

ในขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียยังคงยืนกราน ต้องใช้การทูตมาเจรจาหาแนวทางแก้ปัญหาอิดลิบ

ด้วยจุดยืนที่ขัดแย้งกันอย่างสุดขั้วและยังหาทางออกไม่ได้ นับเป็นความขัดแย้งครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติซีเรีย และมีแนวโน้มการปะทะกันโดยตรงครั้งแรกระหว่างตุรกีกับรัสเซีย ( อัลจาซีร่า )

โดย Ghazali Benmad

เว็บไซต์ต้านข่าวลือภาคภาษาอาหรับ

เว็บไซต์ fatabyyano.net ก่อตั้งเมื่อปี 2014 มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบข่าวปลอมหรือข่าวลือที่เผยแพร่ในโชเชียลภาคภาษาอาหรับ พร้อมนำเสนอข่าวคราวที่ถูกต้องและมีแหล่งข้อมูลที่เป็นที่น่าเชื่อถือ

เว็บไซต์ดังกล่าวได้ระบุว่า ตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 (ไวรัสโคโรน่า) แพร่ระบาดในประเทศจีน มีข่าวเท็จมากมายที่ถูกนำเผยแพร่ในโลกโชเชียลภาคภาษาอาหรับที่ถูกเชื่อมโยงกับไวรัสร้ายนี้ ส่วนหนึ่งได้แก่

⁃ รัฐบาลจีนสั่งฆ่าผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อป้องกันการแพร่ขยายเนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถรักษาได้

⁃ ชาวจีนจำนวน 20 ล้านคนรับอิสลาม หลังพบว่าชุมชนมุสลิมในประเทศจีนไม่มีการติดเชื้อไวรัสร้ายดังกล่าว

⁃ รัฐบาลจีนอนุญาตให้มีการอาซาน และละหมาดในมัสยิดทั่วประเทศ เพื่อให้มุสลิมขอพรระงับการเผยแพร่ของไวรัสร้ายนี้

⁃ ประธานาธิบดีจีนได้ตะเวนเยี่ยมมัสยิดต่างๆทั่วประเทศจีน เพื่อรณรงค์ให้ชาวมุสลิมขอพรต่อพระเจ้า

⁃ รัฐบาลจีนสั่งฆ่าสุกรและนกจำนวนมาก เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ข่าวในลักษณะนี้ถูกนำเสนอโดยมีภาพและคลิปวิดีโอประกอบ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ แต่ในความเป็นจริง ข่าวดังกล่าวล้วนเป็นข่าวปลอมที่ไม่มีแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนเลย

จึงขอความร่วมมือจากมุสลิมทุกคน ได้ระมัดระวังในการเสพข้อมูลต่างๆ และควรมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารตามคำสอนของหลักการอิสลามที่ได้กำชับมิให้มุสลิมตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอม เพราะจะนำไปสู่การเป็นบุคคลที่เป็นจอมโกหกโดยไม่รู้ตัว

ทีมข่าวต่างประเทศ

Fake news | ชาวจีน 20 ล้านคนรับอิสลามหลังพบว่าชุมชนมุสลิมไม่มีใครติดไวรัสโควิด-19 (โคโรน่า)

สื่ออาหรับเผยแพร่ข่าวชาวจีนจำนวน 20 ล้านคน รับอิสลามหลังพบว่าชุมชนมุสลิมไม่มีใครติดเชื้อไวรัสซึ่งถือเป็นข่าวปลอมที่ไม่มีแหล่งข่าวทางการใดๆนำเสนอ

ในความเป็นจริงเชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถติดเชื้อไปยังทุกคนโดยไม่เกี่ยวกับภาษา ศาสนาและชาติพันธ์ุแต่อย่างใด

ก่อนหน้านี้ สื่ออินโดนีเซียเผยแพร่ข่าวระบุว่าชาวอังกฤษจำนวน 3 ล้านคนรับอิสลามคราวเดียวกัน ซึ่งถือเป็นข่าวลวงเช่นเดียวกัน

มุสลิมทุกคนดีใจเมื่อทราบข่าวการรับอิสลามของพี่น้องทั่วโลก แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจำเป็นต้องรับฟังข่าวปลอมหรือ เป็นผู้เผยแพร่ข่าวปลอมในเรื่องนี้

WHO ตั้งชื่อ”ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่” อย่างเป็นทางการ

WHO ตั้งชื่อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่อย่างเป็นทางการ เพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกชื่อที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แบบเฉพาะเจาะจง

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศอย่างเป็นทางการสำหรับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “โควิด-19” (Covid-19) ย่อมาจาก “coronavirus disease starting in 2019” หรือโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาที่มีการเริ่มต้นในปี 2019

อ้างอิง : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/865929?

สมาชิกรัฐสภาทั่วโลก ร่วมสัมมนาเครือข่ายสมาชิกรัฐสภาเพื่ออัลกุดส์ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์, 8 กุมภาพันธ์ 2563 สมาชิกรัฐสภาโลกและผู้แทนองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกกว่า 500 คน ร่วมสัมมนานานาชาติครั้งที่ 3 “เครือข่ายสมาชิกรัฐสภาเพื่ออัลกุดส์” ระหว่างวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2563 ณ One World Hotel, Petaling Jaya,KL, Malaysia.

Said Ibrahim Said Nuh ประธานจัดสัมมนากล่าวว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้สอดคล้องกับช่วงจังหวะที่ประเทศมาเลเซียและองค์การความร่วมมืออิสลามหรือโอไอซี ได้ประกาศจุดยืนปฏิเสธแผนสันติภาพทรัมป์ที่ประกาศยกปาเลสไตน์ให้แก่อิสราเอล หรือที่เป็นที่รู้จักในนาม”ข้อตกลงแห่งศตวรรษ” (Deal of the Century)

“ในฐานะเจ้าภาพจัดสัมมนาครั้งที่ 3 และครั้งแรกของประเทศมาเลเซีย เราต้องขอขอบคุณที่มาเลเซียได้รับการคัดเลือกเป็นเจ้าภาพจัดสัมมนาครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นโอกาสดีเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์เพื่อหามาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ชาวปาเลสไตน์อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป” Said Ibrahim Said Nuh กล่าว

ดร. ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการมุสลิมศึกษาสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในนักวิชาการจากประเทศไทยที่เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ได้เขียนใน Facebook ส่วนตัว เล่าบรรยากาศตอนเปิดพิธีโดย ตุน ดร. มหาเธร์ โมฮัมมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานในพิธีเปิด ว่า

“มานั่งฟัง “พี่ใหญ่” แห่งอาเซียนพูดถึงสถานการณ์ปาเลสไตน์ หลังทรัมป์เปิดเผยแผนสันติภาพตะวันออกกลาง หรือ Deal of the Century ท่านกล่าวตอนหนึ่งว่า ไม่มีอะไรหรอก แค่ผู้นำสหรัฐอเมริกาชอบทำเรื่องผิดกฏหมายให้เป็นเรื่องถูกกฏหมาย หรือ “Legalize the illegal”

ดร. ศราวุฒิ อารีย์ ได้ยกคำพูดของนายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซียด้วยข้อความภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความหมายว่า

“แผนสันติภาพนี้ เป็นการยอมรับการยึดครองของอิสราเอล แต่เพิกเฉยต่อสิทธิของชาวปาเลสไตน์ผู้ถูกกดขี่”
————–
ตุน ดร. มหาเธร์ โมฮัมมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

นายแพทย์อนันตชัย ไทยประทาน รองประธานสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี เปิดเผยว่า เครือข่ายสมาชิกรัฐสภาเพื่ออัลกุดส์ ก่อตั้งเมื่อปี 2016 มีสมาชิกรัฐสภาทั่วโลกกว่า 70 ประเทศเป็นสมาชิก มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือสมาชิกรัฐสภาทั่วโลก ในการปกป้องกันอัลกุดส์ ช่วยเหลือปัญหาปาเลสไตน์ต่อต้านการยึดครอง และแผนการสถาปนาอัลกุดส์ให้เป็นเมืองยิว ตลอดจนแก้ไขปัญหาการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนที่อัลกุดส์และปาเลสไตน์

“ขอขอบคุณเครือข่ายสมาขิกรัฐสภาเพื่ออัลกุดส์และขอชื่นชมรัฐบาลมาเลเซียที่แสดงความจริงใจปกป้องอัลกุดส์และชาวปาเลสไตน์ด้วยความมุ่งมั่นมาโดยตลอด ในนามสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี จะนำประสบการณ์จากการสัมมนาครั้งนี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับประเทศ ในการทำหน้าที่ปกป้องอัลกุดส์ต่อไป” นายแพทย์ อนันตชัย ไทยประทานกล่าวทิ้งท้าย

หากชาวผิวขาวให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนที่แท้จริง ทำไมชนพื้นเมืองดั้งเดิมต้องสาปสูญไป

ออสเตรเลียเริ่มฟื้นฟูภาษาเเละวัฒนธรรมชาวอะบอริจินหลังจากหายภาษาชนพื้นเมืองสาบสูญไปเเล้วกว่าร้อยภาษา

ในอดีต รัฐบาลออสเตรเลียเคยจงใจที่จะกำจัดภาษาชนพื้นเมืองในประเทศให้หมดไป โดยมองว่าภาษาชนเผ่าของออสเตรเลียต่ำต้อยกว่าภาษาอังกฤษ

ย้อนไปในตอนที่ชาวอังกฤษเข้าไปตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีภาษาชนพื้นเมืองอยู่ถึง 250 ภาษา เเต่มาในปัจจุบัน มีภาษาชนพื้นเมืองหลงเหลืออยู่เพียงเเค่กึ่งหนึ่งเท่านั้น

บรรดานักรณรงค์กล่าวว่า การกอบกู้ภาษาชนพื้นเมืองออสเตรเลียไม่ได้เป็นการย้อนอดีต เเต่เป็นการอนุรักษ์ความภูมิใจทางวัฒนธรรม เเละความเป็นเอกลักษณ์ของชาวอะบอริจิน

Sarah Mitchell รัฐมนตรีด้านกิจการชนเผ่าอะบอริจิน เเห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์กล่าวว่า กฏหมายใหม่ที่ออกมาบังคับใช้จะช่วยให้ภาษาและวัฒนธรรมชนพื้นเมืองได้รับการดูแลเเเละฟื้นฟูขึ้นมาใหม่

กฏหมายใหม่เหล่านี้จะร้องขอให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางภาษาชนพื้นเมืองช่วยให้คำเเนะนำด้านนโยบายของทางการ เเละยังจะมีการตั้งศูนย์เพื่อความยอดเยี่ยมเเห่งใหม่ขึ้นมารองรับอีกด้วย

Ray Kelly นักวิชาการด้านภาษาชนพื้นเมืองอะบอริจิน ที่มหาวิทยาลัย New Castle ในออสเตรเลีย กล่าวว่า นี่เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญมาก เพราะคนในออสเตรเลียได้ถกกันมานานแล้วถึงสิทธิ์ทางภาษา เเละการปกป้องภาษาชนเผ่าอะบอริจิน

เเต่บรรดาคนชาวพื้นเมืองสูงวัยต่างเตือนว่าไม่ควรใช้อำนาจของตนมากเกินไปในการควบคุมการอนุรักษ์ภาษาชนเผ่า

Murray Butcher กล่าวว่าสำคัญมากที่อำนาจในการอนุรักษ์อยู่กับชุมชนของชนพื้นเมือง ไม่ใช่รัฐสภา ออสเตรเลียควรเริ่มต้นทำในสิ่งที่ถูกต้องเสียที
เเละช่วยกันอนุรักษ์ภาษาพื้นเมืองของประเทศ มอบอำนาจให้กับประชาชนทำหน้าที่ปกป้องรักษาภาษาพื้นเมืองของพวกเขา เเละให้อำนาจคนพื้นเมืองมีสิทธิ์ในการตั้งเป้าหมายอนาคตของตนเอง

ภาษาชนพื้นเมืองอะบอริจินมีอายุย้อนไปนับหลายพันปี เเละไม่ได้ใช้เป็นเพียงเเค่เครื่องมือในการสื่อสาร เเต่สะท้อนถึงความเชื่อและธรรมเนียมโบราณ และเป็นส่วนสำคัญมากของประวัติศาสตร์ที่ยังคงอยู่ของคนออสเตรเลียชนเผ่าอะบอริจิน

คนออสเตรเลียเชื้อสายชนพื้นเมืองถูกเรียกว่า First Nations people นับเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดของออสเตรเลีย คนชนเผ่าอะบอริจินประสบกับปัญหาทางสุขภาพมากกว่าคนออสเตรเลียผิวขาว มักเสียชีวิตก่อนวัย ประสบปัญหาว่างงานสูง และมีจำนวนมากที่ถูกจองจำในคุก

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

ที่มา : https://www.voathai.com/a/australia-aboriginal-language/4085134.html?fbclid=IwAR0V8aBBIWfS6pRF1Is5IYUmazEb-ZZZjxL1vw-J2aLZ8hP_nKxGRVhprUc

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ค่าเงินซูดานดิ่งตกเป็นประวัติการณ์

อัลจาซีร่าห์รายงานค่าเงินปอนด์ซูดานดิ่งตกเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 45 ปอนด์ซูดานต่อ 1 ดอลล่าร์ ขณะที่ในตลาดมืด มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่าง 95-100 ปอนด์ซูดานต่อ 1 ดอลล่าร์ ซึ่งถือเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนระดับอ่อนค่าที่สุดในประวัติการณ์ของซูดาน ส่งผลให้สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้นอีกเท่าตัว

ซูดานเกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างหนัก หลังประกาศแยกเป็นประเทศใหม่ของซูดานทางภาคใต้ในปี 2011 พร้อมกับการสูญเสีย 3/4 แหล่งผลิตน้ำมัน ซึ่งถือเป็นรายได้สำคัญของประเทศ

ทางด้านนายกรัฐมนตรีซูดาน นายอับดุลลอฮ์ ฮัมดูกแถลงว่า ประเทศซูดานไม่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันให้กับค่าเงินในประเทศ

ในสมัยรัฐบาลอุมัร บาขีร์ (ปี 2561) ค่าเงินซูดานอยู่ที่ 30 ปอนด์ซูดานต่อ 1 ดอลล่าร์ ขณะที่ในตลาดมืดมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่าง 45-50 ปอนด์ซูดานต่อ 1 ดอลล่าร์ ทำให้ทหารลุกขึ้นปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลอุมัร บาขีร์ โดยอ้างว่าจะแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น แต่ปัจจุบัน ซูดานประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจที่รุนแรงกว่าเดิม

อ้างอิง
http://mubasher.aljazeera.net/news/%D9%84%D9%85%D8%A7%D8%B0%D8%A7-%D9%8A%D8%B3%D8%AA%D9%85%D8%B1-%D8%A7%D9%84%D8%AC%D9%86%D9%8A%D9%87-%D8%A7%D9%84%D8%B3%D9%88%D8%AF%D8%A7%D9%86%D9%8A-%D9%81%D9%8A-%D8%A7%D9%84%D9%87%D8%A8%D9%88%D8%B7%D8%9F